หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เลขาฯ ก้าวไกล ชี้ปัญหาที่ดินซับซ้อน ต้องรับฟังผู้ได้รับผลกระทบ แนะเร่งกระบวนก เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 05 มีนาคม 2567 08:54:55 เลขาฯ ก้าวไกล ชี้ปัญหาที่ดินซับซ้อน ต้องรับฟังผู้ได้รับผลกระทบ แนะเร่งกระบวนการพิสูจน์สิทธิประชาชน
<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2024-03-05 01:15</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>อภิชาติ ศิริสุนทร เลขาธิการพรรคก้าวไกล ชี้ปัญหาที่ดินซับซ้อน ต้องรับฟังผู้ได้รับผลกระทบ แนะเร่งกระบวนการพิสูจน์สิทธิประชาชน ตอกรัฐบาล ตอนหาเสียงบอกจะออกโฉนด 50 ล้านไร่ ไม่มีคำว่าเช่าสักคำ</p> <p>4 มี.ค.2567 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล รายงานต่อสื่อมวลชนว่า อภิชาติ ศิริสุนทร เลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แสดงความเห็นว่าพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล พูดถึงปัญหาที่ดินในพื้นที่ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ว่าเป็นการพูดเพื่อใช้ในทางการเมือง ควรไปดูรายละเอียดก่อนมาวิจารณ์ </p> <p>อภิชาติกล่าวว่า พรรคอนาคตใหม่ต่อเนื่องถึงพรรคก้าวไกล เราตามเรื่องที่ดินมาตลอด ตนทำงานเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ดินมาเกือบ 5 ปี พิธาอภิปรายในสภาฯ ครั้งแรกก็พูดว่าเรื่องที่ดินเป็นกระดุมเม็ดแรกในการแก้ปัญหาเกษตรกรของไทย ดังนั้นถ้าคุณภูมิธรรมได้ติดตาม จะเห็นว่าเรื่องที่ดิน เราศึกษาข้อมูลมานานและเสนอแนวทางแก้ไขด้วย </p> <p>สำหรับกรณีหนองวัวซอ จากการลงพื้นที่จริง พูดคุยสอบถามและตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ พบว่ามีข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณา คือมีหลักฐานการมีอยู่ของชุมชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2468 และพื้นที่บางแปลงมีเอกสารแจ้งการครอบครองทำประโยชน์ (ส.ค.1) โดยออกเมื่อปี พ.ศ. 2498 ที่ระบุว่ามีการครอบครองทำประโยชน์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ด้วยการบุกเบิก </p> <p>พื้นที่หนองวัวซอ ประชาชนคัดค้านการเป็นที่ดินของทหารมาตลอด เรียกร้องการพิสูจน์สิทธิ์มาตลอด แต่ไม่เคยมีกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์จากรัฐ ที่ผ่านมาเคยมีกระบวนการขึ้นทะเบียนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) ใน พ.ศ. 2529 และ ใบขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินราชพัสดุในความดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เมื่อ พ.ศ. 2553 ก็มีหลักฐานว่าประชาชนคัดค้านทั้ง 2 กระบวนการมาตลอด</p> <p>ที่ดินที่ทหารครอบครอง (ตามแผนที่แนวเขต) 39,235 ไร่ พื้นที่ที่จะนำมาเข้าร่วมโครงการซึ่งซ้อนทับกับที่ดินของประชาชนมีอยู่ 9,255 ไร่ มีประชาชนใช้ประโยชน์อยู่ 1,597 ราย การมอบสัญญาเช่าโดยนายกรัฐมนตรี พบว่าผู้มีสิทธิ์เช่าตามโครงการกว่า 1,597 ราย/แปลง มีการเซ็นสัญญาเพียง 400 กว่าฉบับ แต่วันที่จัดพิธีรับสัญญาเช่าจริงปรากฏว่ามีคนมารับ 290 กว่าคนเท่านั้น อยากถามกลับไปถึงรัฐบาลว่า นี่คือข้อมูลตัวเลขที่ตรงกับข้อเท็จจริงในพื้นที่หรือไม่ และตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่าโมเดลนี้สำเร็จจริงหรือ</p> <p>เลขาธิการพรรคก้าวไกลกล่าวว่า มุมมองของพรรคก้าวไกลต่อการดำเนินนโยบายนี้ของรัฐบาล ประเด็นไม่ได้อยู่ที่การเหมารวมประชาชนทุกคนในพื้นที่ เอาที่ดินไปเช่าแล้วจบๆ กันไป แต่ประเด็นสำคัญคือการ “พิสูจน์สิทธิ์” </p> <p>การพิสูจน์สิทธิ์ที่ล่าช้าคือความไม่เป็นธรรมต่อประชาชน การรวบรัดตัดความตัดสิทธิ์การพิสูจน์ของประชาชนไม่ได้ทำให้ปัญหาจบ ในฐานะที่ท่านเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล เราเรียกร้องให้อย่าลืมหลักการของนโยบายที่ดินที่พรรคของท่านใช้ในการหาเสียงว่า “จะออกโฉนด 50 ล้านไร่ ให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการพิสูจน์สิทธิ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งโฉนดอย่างถูกต้องและเป็นธรรม” ตรงนี้ขอให้ท่านดำเนินนโยบายอย่างตรงไปตรงมาตามที่ท่านสัญญาไว้กับประชาชน </p> <p>“ในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดิน ตอนหาเสียงผมก็ไม่ได้ยินคำว่า ‘เช่า’ สักคำ ในมุมมองของผม ปัญหาที่ดินนั้นมีความซับซ้อนและมีความเป็นมาที่ยาวนาน นโยบายการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ดีจึงต้องเข้าใจรากฐานความเป็นมาของปัญหา รับฟังข้อเท็จจริงของผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายในพื้นที่จริงด้วยตัวเอง ไม่รีบด่วนสรุป และยัดเยียดวิธีการใดวิธีการหนึ่งให้ประชาชน ด้วยการตัดเสื้อโหลทางนโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่ดินที่มีบริบทเฉพาะในแต่ละพื้นที่” อภิชาติกล่าว</p> <p>อภิชาติ กล่าวว่า ที่ดินในเขตทหารเป็นที่ดินของรัฐ จัดอยู่ในประเภทที่ราชพัสดุ อยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์มีพื้นที่ 12.51 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.83 ของพื้นที่ประเทศไทย โดยที่ดินในเขตทหาร (กระทรวงกลาโหม) คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 47 ของพื้นที่ราชพัสดุทั้งหมดและอีกส่วนหนึ่งเป็นการขอใช้ประโยชน์หรือเช่าจากหน่วยงานภายนอก </p> <p>กองทัพบก เนื้อที่ประมาณ 4,600,000 ไร่เศษ แบ่งเป็นที่ราชพัสดุ 3,800,000 ไร่ พื้นที่ขอใช้หน่วยงานอื่น (ป่าไม้) ประมาณ 550,000 ไร่ และขอใช้หน่วยงานอื่น ๆ ประมาณ 50,000 ไร่ โดยมีพื้นที่ที่มีปัญหาขัดแย้งกับราษฎรประมาณ 1 ล้านไร่ อ้างอิงข้อมูลจาก กมธ.วิสามัญที่ดินฯ สภาชุดที่ 25 </p> <p>อภิชาติกล่าวว่า ก่อนจะดำเนินการใดๆ รัฐบาลควรทบทวนการถือครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินราชพัสดุและที่ดินรัฐอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่หรือเป็นการสวมสิทธิการถือครองที่ดินราชพัสดุโดยหน่วยงานราชการบางแห่งที่มีเป็นล้าน ๆ ไร่ เพื่อเหตุผลด้านความมั่นคงหรือการราชการลับ อาจเกินความจำเป็นและไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ต้องพิจารณาทบทวน ควรส่งมอบคืนกรมธนารักษ์ เพื่อให้กรมฯ พิจารณาแนวทางในการให้ชุมชนในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตทหารของพรรคก้าวไกล การจัดทำหลักฐานการถือครองที่ดินของรัฐทุกประเภท และจัดทำแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจน </p> <p>ดำเนินการผลักดันการพิสูจน์สิทธิให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ที่ผ่านมากระบวนการพิสูจน์สิทธิของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) จังหวัด มีความล่าช้าในหลายพื้นที่ ทำให้มีผลกระทบกับราษฎรที่ยังไม่กล้าตัดสินใจว่าจะไปทางใด เช่น จะขอเช่าที่ก็ไม่กล้าเพราะกลัวว่าผลการพิสูจน์สิทธิออกมาแล้วมีผลบวกต่อตนเอง เมื่อไปเช่าแล้วจะทำให้ราษฎรรายนั้นหมดสิทธิในการจะได้ที่ดินมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง เร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าราษฎรได้ครอบครองทำประโยชน์มาก่อนและรัฐควรเร่งดำเนินการสำรวจแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจน </p> <p>ที่ดินที่ส่วนราชการได้มาควรกำหนดแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างชัดเจน และต้องมีการประกาศแผนการใช้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผน ซึ่งส่วนใหญ่ที่ดินที่ส่วนราชการได้มา ไม่มีแผนการใช้ประโยชน์ จึงทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกและไม่มีทิศทางในการแก้ไขที่ดินที่ประกาศสงวนหวงห้ามแต่ไม่ใช้ประโยชน์เต็มพื้นที่ ให้ส่วนราชการส่งคืนเพื่อให้กรมธนารักษ์มาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ต่อไป</p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิ่งแวดล้อม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%8B%E0%B8%AD" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">หนองวัวซอ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">หนองวัวซอโมเดล[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กรมธนารักษ์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ที่ดินที่ทหาร[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ที่ดิน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อภิชาติ ศิริสุนทร[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2024/03/108313 |