[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 07 เมษายน 2567 03:51:50



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - วงเสวนา 'ความจำเป็นต้องมี กม.คุ้มครองสื่อหรือไม่' ยอมรับกำหนดนิยาม 'สื่อ'
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 07 เมษายน 2567 03:51:50
วงเสวนา 'ความจำเป็นต้องมี กม.คุ้มครองสื่อหรือไม่' ยอมรับกำหนดนิยาม 'สื่อ' ยาก
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-04-06 12:43</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>วงเสวนาเรื่อง 'จำเป็นหรือไม่? ที่จะต้องมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ตามมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญ 2560' ยอมรับกำหนดนิยาม “สื่อ” ยาก แต่หากชัดเจนจะมีผลต่อการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญในอนาคต</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53634892553_764281e706_o_d.png" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพ: สำนักข่าวไทย</span> (https://tna.mcot.net/politics-1346305)</p>
<p>สำนักข่าวไทย (https://tna.mcot.net/politics-1346305) รายงานว่าเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2567 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา จัดเสวนาเรื่อง "จำเป็นหรือไม่? ที่จะต้องมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ตามมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญ 2560" โดยเชิญบุคคลในแวดวงสื่อฯ ร่วมแสดงความเห็น</p>
<p>นายนิพนธ์ นาคสมภพ ประธานคณะอนุกรรมาธิการสิทธิเสรีภาพ ด้านสื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ เป็นประธานเปิดการเสวนาว่าการเสวนาครั้งนี้ เป็นการทำความเข้าใจระหว่างเรื่องสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน  เพราะเรื่องเหล่านี้ มีเส้นบางๆ ระหว่างเสรีภาพของสื่อมวลชนกับบุคคล ซึ่งต้องหาคำนิยามที่ชัดเจน</p>
<p>นายจิระ ห้องสำเริง อดีตบรรณาธิการบริหารสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ที่มองว่า ขณะนี้สังคมเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีในรูปแบบออนไลน์เข้ามามีบทบาท และถูกใช้เป็นเครื่องมือมากขึ้น ทำให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย  ดังนั้นการกำหนดความเป็นสื่อ โดยใช้บรรทัดฐานจากสื่อเก่าจึงเป็นเรื่องยาก ที่ทุกคนต้องมานั่งถกเถียงกันต่อ</p>
<p>นางชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การกำหนดนิยาม สื่อ มีเป้าหมายเพื่อบังคับใช้กฎหมาย และกำกับดูแลให้เกิดความชัดเจน เช่น การพิจารณาจากการประกอบอาชีพสื่อ มีทักษะในอาชีพ มีเป้าหมายการดำรงอยู่ เพื่อให้สื่อสารไปถึงประชาชนได้ตามวัตถุประสงค์</p>
<p>นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ มองว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับสื่อมวลชน เพราะเป็นประเทศเดียวในอาเซียน ที่ระบุการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพผู้ประกอบวิชาชีพ ไว้ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ คือรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน</p>
<p>นางสาวฐปณีย์ เอียดศรีไชย สื่อมวลชน มองเหตุผลที่จำเป็นต้องมีการนิยามคำว่า สื่อมวลชนว่า เกิดจากปัญหาสังคม ที่สื่อถูกละเมิด หรือถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง  พร้อมตั้งคำถามว่า หากสังคมมีเสรีภาพ เราจำเป็นต้องตั้งคำถามเรื่องนี้กันหรือไม่  ย้ำว่า รัฐธรรมนูญเป็นคำใหญ่ที่ให้ความคุ้มครองอยู่แล้ว  และแม้จำเป็นจะต้องถกเถียงเพื่อหาคำตอบ แต่ส่วนตัวเชื่อว่า จริยธรรม คือกรอบ แต่สิ่งสำคัญมากที่สุด คือ จิตสำนึกในการทำหน้าที่มากกว่า</p>
<p>ด้านนายยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า สื่อมวลชน กับ วิชาชีพสื่อมวลชน ไม่เหมือนกัน เพราะสื่อมวลชนเป็นหนึ่งในอาชีพที่ถูกกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ทั้งในปัจจุบัน ยังมีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงต้องตีความระหว่างสื่อดั้งเดิมกับสื่อใหม่ ที่แม้จะมีเส้นบางๆ ไม่ชัดเจน แต่หากจำแนกได้ จะทำให้เห็นภาพความชัดเจนเรื่องการคุ้มครองในอนาคต</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ไอซีที[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สื่อมวลชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108711