หัวข้อ: พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๙๐ กุททานชาดก : กุททาลมหาบัณฑิต เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 พฤษภาคม 2567 17:05:10 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13576513404647__500_320x200_.jpg) พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๙๐ กุททานชาดก กุททาลมหาบัณฑิต พระจิตหัตถสารีบุตร เป็นเด็กที่เกิดในตระกูลผู้หนึ่งในนครสาวัตถี อยู่มาวันหนึ่งไถนาแล้ว ขากลับเข้าไปสู่วัด ได้โภชนะอาหารประณีตอร่อยมีรสสนิทจากบาตรพระเถระองค์หนึ่ง คิดว่า ถึงแม้เราจะกระทำงานต่างๆ ด้วยมือของตนตลอดคืนตลอดวันก็ยังไม่ได้อาหารอร่อยอย่างนี้ แม้เราก็สมควรจะเป็นสมณะ ดังนี้ เขาบวชแล้วอยู่มาได้ประมาณครึ่งเดือน เมื่อไม่ใส่ใจโดยแยบคาย ตกไปในอำนาจกิเลส สึกไป พอลำบากไม่มีอาหารจะกิน ก็มาบวชอีก เรียนพระอภิธรรมด้วยอุบายนี้ สึกแล้วบวชถึง ๖ ครั้ง ในความเป็นภิกษุครั้งทึ่ ๗ เป็นผู้ทรงพระอภิธรรม ๗ พระคัมภีร์ ได้บอกธรรมแก่ภิกษุเป็นอันมาก บำเพ็ญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ครั้งนั้นภิกษุผู้เป็นสหายของท่านพากันเยาะเย้ยว่า อาวุโส จิตหัตถ์ เดี๋ยวนี้กิเลสทั้งหลายของเธอ ไม่เจริญเหมือนเมื่อก่อนดอกหรือ? ท่านตอบว่า “ผู้มีอายุ ตั้งแต่บัดนี้ไป ผมไม่เหมาะเพื่อความเป็นคฤหัสถ์” ก็เมื่อท่านบรรลุพระอรหัตถ์อย่างนี้แล้ว เกิดโจทย์กันขึ้นในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่ออุปนิสัยแห่งพระอรหันต์เห็นปานนี้มีอยู่ ท่านพระจิตหัตถสารีบุตรต้องสึกถึง ๖ ครั้ง โอ! ความเป็นปุถุชนมีโทษมากดังนี้ พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า “ขึ้นชื่อว่าจิตของปุถุชนข่มได้ยากคอยไปติดด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ ลงติดเสียครั้งหนึ่งแล้วก็ไม่อาจปลดเปลื้องได้โดยเร็ว การฝึกฝนจิตเห็นปานนี้เป็นความดี จิตที่ฝึกฝนดีแล้วเท่านั้น จะนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้” แล้วตรัสว่า “การฝึกฝนจิต ที่ข่มได้ยาก มีปกติตกไปตามอารมณ์ที่ปรารถนาเป็นการดี เพราะจิตที่ฝึกฝนแล้วย่อมนำสุขมาให้ ” มุ่งบรรพชา เสด็จออกทรงผนวชพร้อมด้วยพลนิกาย พวกเราจักทำอะไรกันในเมืองนี้ ดังนี้แล้ว บรรดาผู้อยู่ในพระนครทั้งนั้นต่างพากันเดินทางออกจากกรุงพาราณสี อันมีระยะทางประมาณได้ ๑๒ โยชน์ บริษัทก็ได้มีระยะทาง ๑๒ โยชน์ พระโพธิสัตว์พาบริษัทนั้นเข้าป่าหิมพานต์ ในขณะนั้นอาสนะที่ประทับนั่งของท้าวสักกเทวราชสำแดงอาการร้อน ท้าวเธอทรงตรวจดูทอดพระเนตรเห็นว่า กุททาลบัณฑิตออกสู่มหาภิเนกษกรม แล้วทรงพระดำริว่า จักเป็นมหาสมาคม ควรที่ท่านจะได้สถานที่อยู่ แล้วตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมา ตรัสสั่งว่า พ่อวิสสุกรรม กุททาลบัณฑิตกำลังออกสู่มหาภิเนกษกรม ท่านควรจะได้ที่อยู่ ท่านจงไปป่าหิมพานต์ เนรมิตอาศรมบถยาว ๓๐ โยชน์ กว้าง ๑๕ โยชน์ ณ ภูมิภาคอันราบรื่น วิสสุกรมเทพบุตร รับเทวบัญชรว่า “ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำให้สำเร็จดังเทวบัญชา” แล้วไปทำตามนั้น ฝ่ายวิสสุกรรมเทพบุตร เนรมิตบรรณศาลาในอาศรมบถแล้วก็ขับไล่ เนื้อ นก และอมนุษย์ที่มีเสียงชั่วร้ายไปเสี่ย แล้วเนรมิตหนทางเดินแคบๆ ตามทิสาภาคนั้นๆ เสร็จแล้ว เสด็จกลับไปยังวิมานอันเป็นสถานที่อยู่ของตนทันที ฝ่ายกุททาลบัณฑิตพาบริษัทเข้าสู่ป่าหิมพานต์ ลุถึงอาศรมบถที่ท้าวสักกะทรงประทาน ถือเอาเครื่องบริขารแห่งบรรพชิตที่วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ให้ บวชตนเองก่อนให้บริษัทบวชทีหลัง จัดแจงแบ่งอาศรมบถให้อยู่กันตามสมควร มีพระราชาอีก ๗ พระองค์ สละราชสมบัติ ๗ พระนคร (ติดตามมาทรงผนวชด้วย) อาศรมบถ ๓๐ โยชน์ เต็มบริบูรณ์ กุททาลบัณฑิตทำบริกรรมในกสิณที่เหลือ เจริญพรหมวิหารธรรม บอกกรรมฐานแก่บริษัท บริษัททั้งปวงล้วนได้สมาบัติ เจริญพรหมวิหารแล้วพากันไปสู่พรหมโลกทั่วกัน ส่วนประชาชนที่บำรุงพระดาบสเหล่านั้น ก็ล้วนได้ไปสู่เทวโลก นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “เป็นคนควรฝึกหัดพัฒนาตนจนเอาดีให้ได้” พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย ชนะตนนั่นแหละประเสริฐที่สุด (๒๕/๒๔) อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา บัณฑิตย่อมฝึกตน (๓๕/๒๒) อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ มีตนที่ฝึกดีแล้วนั่นแหละ คือได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก (๒๕/๓๑) ที่มา : นิทานชาดกจากพระไตรปิฎก : พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ ฉบับสมบูรณ์ จัดพิมพ์เผยแพร่ธรรมโดยธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม |