หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ‘แบมบู ภัคภิญญา’ อดีตบรรณารักษ์ เหยื่อ ม.112 สู่ผู้ลี้ภัยในออสเตรเลีย เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 14 มิถุนายน 2567 15:46:26 ‘แบมบู ภัคภิญญา’ อดีตบรรณารักษ์ เหยื่อ ม.112 สู่ผู้ลี้ภัยในออสเตรเลีย
<span>‘แบมบู ภัคภิญญา’ อดีตบรรณารักษ์ เหยื่อ ม.112 สู่ผู้ลี้ภัยในออสเตรเลีย</span> <span><span>Pazzle</span></span> <span><time datetime="2024-06-12T20:11:13+07:00" title="Wednesday, June 12, 2024 - 20:11">Wed, 2024-06-12 - 20:11</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ศิชา รุ่งโรจน์ธนกุล : สัมภาษณ์/เรียบเรียง</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ชวนรู้จัก ‘แบมบู ภัคภิญญา’ อดีตบรรณารักษ์ห้องสมุดที่ตกเป็นเหยื่อ ม.112 และต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัย ประชาไทพูดคุยกับภัคภิญญาถึงตัวตน มุมมองการต่อสู้ในแบบคนธรรมดา และชีวิตก้าวใหม่ที่กำลังเริ่มขึ้นในออสเตรเลีย </p><p>12 มิ.ย. 2567 การปราบปรามการชุมนุมประท้วงภายใต้การนำของคนรุ่นใหม่เมื่อปี 2563 เป็นต้นมา ทำให้มีนักกิจกรรมทางการเมืองและประชาชนอย่างน้อย 30 ราย จำนวนมากเป็นคนหนุ่มสาว ตัดสินใจหนีไปแสวงหาเสรีภาพยังนอกประเทศ และต้องกลายเป็น ‘ผู้ลี้ภัยทางการเมือง’ ทั้งด้วยเหตุผลเรื่องการถูกตั้งข้อหามาตรา 112 ที่มองไม่เห็นหนทางสู้คดี และความหวาดกลัวจากการถูกข่มขู่คุกคามสารพัดรูปแบบ</p><p dir="ltr">แบมบู ภัคภิญญา (สงวนนามสกุล) อดีตบรรณารักษ์ วัย 34 ปี เป็นหนึ่งในนั้นที่กำลังเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ออสเตรเลีย และอยู่ในระหว่างเข้าสู่กระบวนการขอสถานะผู้ลี้ภัย</p> <p dir="ltr">“สวัสดีค่ะ แบมบูนะคะ อยู่ไทยก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่งเลย กลางวันทำงานออฟฟิศ กลางคืนเป็นนักดนตรีค่ะ ชีวิตก็เหมือนทั่วๆ ไป สนุกกับการทำงานทั้งสองของตัวเอง” แบมบู กล่าว</p><p dir="ltr">งานออฟฟิศที่เธอว่าหมายถึงงานบรรณารักษ์ของห้องสมุดในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ส่วนงานดนตรี ก็มีทั้งทำเพลงและออกงาน ซึ่งแรกเริ่มทำเป็นงานอดิเรกต่อมาก็กลายเป็นรายได้อีกทาง</p><p dir="ltr">ขณะนี้ เธออาศัยอยู่ที่เมืองเมลเบิร์น เลี้ยงชีวิตด้วยงานด้านดนตรีเต็มตัว รายได้หลักเพียงทางเดียวก็เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายทั่วๆ ไป แม้ยังไม่มีเงินเก็บมากนัก</p> <p dir="ltr">“เรารู้แค่ว่าเราเกิดมาไม่ค่อยมี ก็ต้องขยันเรียนเพื่อไปหางาน ได้เงินมาใช้จ่าย” แบมบู กล่าว</p><p dir="ltr">ด้วยความที่เติบโตมาในครอบครัวชนชั้นกลางล่างที่ง่วนอยู่กับการหารายได้ให้ทันในแต่ละเดือน ตอนที่มีเหตุการณ์รัฐประหารปี 2557 หรือเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ภัคภิญญายังใช้ชีวิตตามปกติ และไม่รู้สึกว่าต้องสนใจการเมือง</p><p dir="ltr">เธอจบการศึกษาด้านบรรณารักษ์โดยตรง ชอบอ่านหนังสือหลายประเภท ทั้งนิยายสืบสวน หนังสือพัฒนาตัวเอง ที่ไม่ค่อยได้แตะคือพวกประวัติศาสตร์และการเมือง</p><p dir="ltr">จนกระทั่งมีการก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ที่มากระตุ้นความสนใจ บวกกับได้ตามข่าวสารในโซเชียลมีเดีย ทำให้เริ่มสงสัยและตั้งคำถามเชื่อมโยงเรื่องการเมืองกับชีวิตที่ต้องดิ้นรน</p><p dir="ltr">ต่อมาในปี 2562 ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค จุดชนวนความไม่พอใจจนลุกลามไปเป็นการชุมนุมทั่วประเทศ ภัคภิญญาในวัย 20 ปลายๆ ก็เป็นพลังเล็กๆ ในคลื่นความเคลื่อนไหวนั้น</p> <p dir="ltr">“ตั้งแต่โดนคดี เหมือนเราไม่มีอนาคต เราอยากทำอะไรก็ต้องเบรกตัวเองไว้ก่อน ไม่รู้ว่าถึงจุดนั้นไหมแต่ก็ไม่ถึงกับไม่ทำอะไรเลย เราทำแหละ แต่เราทำในสิ่งที่ตอนนี้เรายังมองเห็น อย่างเล่นดนตรี เราก็ฝึกทักษะเราให้ดีขึ้น หาคอนเนกชัน เพราะไม่รู้ว่าจะต้องออกมาเมื่อไหร่ เราก็ทำในสิ่งที่เราพอทำได้ไปก่อน แต่ถ้างานอื่นๆ ที่คิดว่าเราอยากทำ ความฝันตรงนั้นก็ต้องตัดออกเลย เพราะไม่รู้จะทำได้ไหม” แบมบู อธิบาย</p><p dir="ltr">สภาพชีวิตที่มองไม่เห็นอนาคต ที่ภัคภิญญาเปรียบเปรยว่า “เหมือนขับรถแล้วเห็นแค่ฝากระโปรงรถ” คือผลกระทบทางใจที่หนักที่สุด หลังจากเมื่อปี 2564 เธอถูกดำเนินคดี ม.112 จากการถูกกล่าวหาว่าแชร์ข้อความในโซเชียลมีเดียที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทกษัตริย์</p> <p dir="ltr">“ตอนที่เราโดน เราไม่ใช่แกนนำ ไม่ใช่คนที่อยู่ข้างหน้า เราก็เป็นผู้ทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นเวลาเขามีกิจกรรมอะไร เราไปได้ เราก็ไป ช่วยแชร์ข้อมูล ที่เราโดนก็ไม่ใช่ที่เราเขียนนะ เรากดแชร์ข้อมูลเป็นโพสต์สาธารณะ เราก็โดนโพสต์นั้น หลังจากโดนคดีก็ยังแชร์อยู่เหมือนเดิม เราไม่มองว่าการแชร์มันร้ายแรงอะไร เราไม่ได้ฆ่าใคร” แบมบู กล่าว</p><p dir="ltr">คดีนี้เริ่มจากประชาชนคนหนึ่งที่ชื่อว่า พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับภัคภิญญา ที่ สภ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส นั่นจึงทำให้เธอต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปสู้คดีไกลถึงที่นั่น</p> <p dir="ltr">“เครื่องบินมีแค่รอบเดียว ต้องไปก่อน 1 วันล่วงหน้า เพราะไม่รู้ศาลจะเสร็จกี่โมง ไม่มีขนส่งสาธารณะ โดนที่อำเภอสุไหงโก-ลก ต้องนั่งรถจากตัวเมืองนราธิวาสไปอีกชั่วโมงหนึ่ง แต่ไปสุไหงฯ แค่ครั้งเดียว ที่เหลือก็ขึ้นมาที่นราฯ ก็ต้องหารถเช่าเพื่อเอาตัวเองไปถึงศาล” แบมบู กล่าว</p><p dir="ltr">การเดินทางไปศาลในแต่ละครั้งต้องลางานอย่างน้อย 3 วัน และมีค่าใช้จ่ายสูงราวหนึ่งหมื่นบาท เธอเก็บวันลาทั้งหมดไว้ใช้กับเรื่องคดี ต่อมาตัดสินใจลาออกจากงานประจำ ในช่วงก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำตัดสิน ด้วยความกังวลว่าอาจทำให้องค์กรและคนรอบข้างเดือดร้อน</p><p dir="ltr">เดือนตุลาคม ปี 2565 ศาลจังหวัดนราธิวาสพิพากษาจำคุก 9 ปี ถือได้ว่าเป็นคดี ม.112 ที่มีการพิพากษาลงโทษจำคุกสูงที่สุดแล้วในปีนั้น</p><p dir="ltr">ในตอนนั้นจุดยืนของภัคภิญญาคือการสู้คดีจนถึงที่สุด เพราะเชื่อว่าตนเองไม่ได้ทำอะไรผิดและยังคงมีหวังกับกระบวนการยุติธรรม จนกระทั่งเดือนสิงหาคมปี 2566 มีจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้วที่นำโดยพรรคเพื่อไทย ภัคภิญญาตั้งข้อสังเกตว่า อาจมีส่วนทำให้สถานการณ์คดีการเมืองมีแนวโน้มเลวร้ายลง พร้อมยกตัวอย่างกรณีของหนุ่มโรงงานชาวปราจีนบุรีที่ชื่อ อุดม ซึ่งเป็นจำเลยคดี ม.112 ที่นราธิวาสเช่นเดียวกับเธอ โดยมีคนชื่อ พสิษฐ์ เป็นผู้แจ้งความดำเนินคดีเช่นกัน</p> <p dir="ltr">“ตอนแรกอยากสู้ถึงฎีกาไปเลย มัน 9 ปี เหมือนเราฆ่าคนตาย เพราะเราแชร์ข้อความ 3 โพสต์ ก็เลยตั้งใจจะสู้ถึงฎีกา แต่ปี 66 เปลี่ยนรัฐบาล ปกตินราธิวาสไม่ขังใครเลย ถ้ามาปกติ รายงานตัว ก็ให้ประกันตัวได้…ปลายเดือนสิงหาคม พี่อุดมไปฟังอุทธรณ์ ศาลไม่ให้ประกันตัว ศาลอุทธรณ์ยืนยันคำพิพากษาเดิม โทษเดิม คือศาลอุทธรณ์ไม่ได้ใช้คำสั่งตัวเอง ให้ศาลฎีกาสั่งว่าจะให้ประกันตัวไหม แต่ก็ต้องอยู่ในคุกก่อน ศาลฎีกาก็สั่งไม่ให้ประกันตัว เราก็คิดว่ามันเกี่ยวข้องกันไหม พอเปลี่ยนรัฐบาลปุ๊บก็เข้มขึ้นเลย” แบมบู กล่าว</p><p dir="ltr">เมื่อไม่เห็นความหวังในการสู้คดี ภัคภิญญาเร่งจัดการชีวิตทั้งหมดที่ไทยด้วยความคิดที่ว่าคงไม่น่าจะได้กลับมาอีกแล้ว จากนั้นก็บินมายังออสเตรเลียอย่างฉุกละหุก โชคดีที่มีคนรอบตัวและเพื่อนๆ คอยช่วยเหลือ</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>Stand Together ส่งใจให้ผู้ต้องหา ก่อนเผชิญคำพิพากษา 112 ในเดือน ต.ค. 66 [คลิป] (https://prachatai.com/journal/2023/10/106287)</li><li>ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกหนุ่มโรงงาน 4 ปี คดีม.112 ถูกขังรอประกันชั้นฎีกาที่นราฯ (https://prachatai.com/journal/2023/08/105692)</li></ul></div><p> </p><h3>มุมมองเรื่องการต่อสู้-การกลับบ้าน</h3><p dir="ltr">สำหรับกระแสผู้ลี้ภัยทยอยกันกลับบ้านและความหวังต่อพรรคการเมือง ภัคภิญญากล่าวว่า เธอไม่ดูถูกการต่อสู้ทุกรูปแบบ แต่ละคนมีเส้นทางหรือวิธีการต่อสู้ที่อาจจะไม่ได้พูดออกมา</p><p dir="ltr">เธอในฐานะคนธรรมดาที่ชอบอ่านหนังสือก็สามารถทำสิ่งเล็กๆ ที่มีพลังได้ เช่น บอกเล่าเรื่องราวของตัวเองผ่านงานเขียน หรือพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนใกล้ตัว</p><p dir="ltr">อย่างกรณีของ “บัสบาส” (มงคล ถิระโคตร จำเลยคดี ม.112 ปัจจุบันถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำกลางเชียงราย) ที่ก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสคุยกันบ้าง เขาเลือกต่อสู้ในเรือนจำเพื่อให้โลกรู้ว่ามีคนถูกจำคุก 50 ปี จากการแชร์โพสต์ในโซเชียลมีเดีย ฉะนั้นแต่ละคนมีเส้นทางของตัวเองอยู่แล้ว อาจจะมีพักบ้าง แต่สุดท้ายปลายทางก็ที่เดียวกัน</p> <p dir="ltr">“ถ้าเราจะเป็นต้นแบบของอะไรก็เป็นของประชาชนคนหนึ่งเลย เพราะบูเป็นประชาชนเลยค่ะ ไม่มียศ ตำแหน่งอะไรเลย เป็นเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ก็แค่เอ๊ะ อยากรู้ มีคำถาม พอได้เห็นว่าประเทศตัวเองมีการเคลื่อนไหวทางการเมือง เราเริ่มสนใจแล้วก็เริ่มออกไปและแสดงความคิดเห็น</p><p dir="ltr">เราเป็นคนหนึ่งที่เป็นเหยื่อ จะบอกว่าก็เราทำตัวเอง การทำตัวเองในแง่นี้คืออะไร เราไปชี้หน้าแล้วด่าแบบนี้เหรอ ไม่ใช่นะ เราแสดงความคิดเห็นและแชร์ในพื้นที่ของเรา คุณอาศัยช่องว่างกฎหมายมาแจ้งความ แล้วคุณบอกว่าอ่านเจอของเราที่นราธิวาส แล้วคุณก็แจ้งความที่นราธิวาส ประเทศไทยไม่สามารถยกคดีทำที่อื่นได้ ต้องไปรายงานตัวที่นั่นเท่านั้น ไม่สามารถรายงานตัวทางไกลได้ อันนี้เราไม่เป็นเหยื่อแล้วเรียกว่าอะไร” แบมบู กล่าว</p><p dir="ltr">ภัคภิญญาเป็นคนสดใสร่าเริงที่เด็ดเดี่ยวและมองโลกตามความเป็นจริง วันที่มีความสุขก็ดื่มด่ำ วันที่ทุกข์ก็อนุญาตให้ตัวเองเศร้าได้ แม้ภาพอนาคตจะยังไม่แน่นอน แต่ก็พยายามทำปัจจุบันให้ดีเท่าที่จะทำได้</p> <p dir="ltr">“เราอยากกลับบ้านอยู่แล้ว มันมีทุกอย่างที่เราสร้างมา แต่ถ้าเขายกโทษให้แต่ทุกอย่างยังเหมือนเดิม บูก็ยังไม่กลับ เราสู้มันมา ถ้าเราอยู่ข้างนอกแล้วทำให้มันดีกว่านี้ได้ เราก็จะอยู่จนกว่ามันจะดีขึ้น จนกว่ามันจะไม่ใช่แบบนี้ ไม่ใช่ความทุเรศ” เธอให้ความเห็นเรื่องนิรโทษกรรมทิ้งท้าย</p><p dir="ltr"> </p><p dir="ltr"> </p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สัมภาษณ์[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชน[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9-%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2" hreflang="th">แบมบู ภัคภิญญา[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A1112" hreflang="th">คดีม.112[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2" hreflang="th">ผู้ลี้ภัย[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">ผู้ลี้ภัยทางการเมือง[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%99" hreflang="th">พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2-%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5" hreflang="th">ศิชา รุ่งโรจน์ธนกุล[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0" hreflang="th">ข่าวเจาะ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> http://prachatai.com/journal/2024/06/109527 |