หัวข้อ: นางผีเสื้อสมุทร เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 กรกฎาคม 2567 16:27:38 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83904444881611_12_Copy_.jpg) นางผีเสื้อสมุทร ภาพจาก : อุทยานเขาแหลมหญ้า ต.บ้านเพ จ.ระยอง นางผีเสื้อสมุทร ผีเสื้อสมุทร หรือ นางผีเสื้อสมุทร หรือบางทีก็เรียกว่า ผีเสื้อยักษ์ แปลตามศัพท์ว่า “นางยักษ์ที่อยู่ในทะเล” เป็นยักษ์เพศหญิง รูปร่างใหญ่มหึมา ถ้ามิได้อยู่ในน้ำก็จะเป็นนางยักษ์ที่มีหน้าที่คุ้มครองเมืองอยู่บนบก ในพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๒ เรียกว่าผีเสื้อเมืองหรือปีศาจเสื้อเมือง ชื่อนางอากาศตะไล อย่างไรก็ดี การกล่าวถึงนางผีเสื้อหรือผีเสื้อสมุทร มักจะเป็นการกล่าวอย่างประชดหรือดูหมิ่นดูแคลนว่า “ผู้หญิงคนนั้นรูปร่างใหญ่โต หน้าตาน่าเกลียด” เช่นกล่าวว่า “หน้าตายังกะนางผีเสื้อ” บ้าง “รูปร่างใหญ่โตราวกะนางผีเสื้อสมุทร” บ้าง ในเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑ และที่ ๒ กล่าวข้อความตรงกันว่า นางผีเสื้อสมุทรเป็นนางยักษ์ที่พิทักษ์ท้องทะเล มีหน้าที่ป้องกันข้าศึกทางทะเล มิให้เข้ามาตีบ้านเมืองเอาได้ ในพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑ กล่าวถึงการสู้รบระหว่างหนุมานกับนางผีเสื้อสมุทรที่รักษาทะเลเมืองลังกา ว่าดังนี้
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86798680863446_444488684_1854908431691495_540.jpg) พระอภัยมณี ภาพจาก : หาดแม่รำพึง จังหวัดระยอง อย่างไรก็ดี เรื่องของนางผีเสื้อสมุทรบางทีก็เป็นเรื่องโรแมนติก มีลักษณะบางอย่างเป็นแบบรักโลภโกรธหลงเหมือนมนุษย์ทั่วไปก็มี ดังในเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ นางยักษิณีผีเสื้อสมุทรเป็นบุคคลที่มีอารมณ์เหมือนมนุษย์ทุกอย่าง จึงมีบทบาทที่เข้ากับตัวบุคคลอื่นๆ ในเรื่องได้กลมกลืนที่สุด จะขอยกเรื่องของนางผีเสื้อสมุทรมากล่าวอย่างสั้นๆ ดังคำกลอนต่อไปนี้
เรื่องของนางผีเสื้อสมุทรดำเนินต่อไปยืดยาว เป็นที่สนุกสนานตื่นเต้นจนถึงวาระสุดท้ายของนางที่ต้องตายด้วยเสียงปี่ แม้พระอภัยมณีจะเกลียดชังนางมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่อนางตายแล้วก็หวนคิดถึงความดีของนางและคร่ำครวญด้วยความเสียดายว่า
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : “ผีเสื้อสมุทร” สารานุกรมไทยภาคกลาง หน้า ๓๗๘๘-๓๗๙๐ มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ พิมพ์เผยแพร่ |