[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 02 กรกฎาคม 2567 19:02:43



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ท้องถิ่นจัดการป่า (1) ปัญหาการจัดการ ‘ป่าไม้’ ในไทย และตัวอย่างจากต่างประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 02 กรกฎาคม 2567 19:02:43
ท้องถิ่นจัดการป่า (1) ปัญหาการจัดการ ‘ป่าไม้’ ในไทย และตัวอย่างจากต่างประเทศ
 


<span>ท้องถิ่นจัดการป่า (1) ปัญหาการจัดการ ‘ป่าไม้’ ในไทย และตัวอย่างจากต่างประเทศ</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-07-02T13:50:47+07:00" title="Tuesday, July 2, 2024 - 13:50">Tue, 2024-07-02 - 13:50</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>THE GLOCAL – ท้องถิ่นเคลื่อนโลก</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ตอนแรกของข่าวเจาะชุด "ท้องถิ่นจัดการป่า" เมื่อนโยบายและกฎหมายการจัดการป่าไม้ในไทยถูกกำหนดมาจากราชการส่วนกลางมาเป็นระยะเวลาช้านาน ทั้งยังถูกครอบด้วยแนวคิด ‘ทรัพย์สินของรัฐ-อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ’ ที่มักจะกีดกันประชาชนจากการใช้ประโยชน์จากป่า โดยพบว่ามีหน่วยงานราชการอย่างน้อย 7 แห่งที่มีหน้าที่บริหารจัดการป่าไม้ แต่โดยหลักๆ แล้วมี 2 หน่วยงานคือ ‘กรมป่าไม้’ และ ‘กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช’ พร้อมสะท้อนประสิทธิภาพของการจัดการป่าไม้ในไทย อาจสะท้อนผ่านปัญหาต่างๆ อย่างพื้นที่ป่าไม้ลดลง และความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ</p><div class="more-story"><p><strong>ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ</strong></p><ul><li>ธรรมาภิบาล กระจายอำนาจ ความหวังของ “คนไร้ที่พึ่ง” (1) กลับไม่ได้เพราะไม่มีบ้านให้กลับ,  (https://prachatai.com/journal/2024/05/109222)ภัทรภร ผ่องอำไพ รายงาน</li><li>ธรรมาภิบาล กระจายอำนาจ ความหวังของ “คนไร้ที่พึ่ง” (2) ได้เวลาผ่าตัดความเหลื่อมล้ำ,  (https://prachatai.com/journal/2024/05/109403)ภัทรพร ผ่องอำไพ รายงาน</li><li>เคว้งคว้างอยู่กลางเมืองใหญ่ด้วยสถานะของ ‘คนไร้บ้าน’, (https://prachatai.com/journal/2024/02/108013) วรรณรี ศรีสริ รายงาน</li><li>สภาเด็กและเยาวชน? อะไร อย่างไร ทำไมไม่รู้ [ส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยด้วยนะ รู้ยัง],  (https://prachatai.com/journal/2024/02/108010)อาทิตยา เพิ่มผล รายงาน</li><li>‘บึงห้วยโจด’ เมื่อแหล่งน้ำธรรมชาติกลายเป็นบ่อบำบัดน้ำเสีย, (https://prachatai.com/journal/2023/12/107309) ตติยา ตราชู รายงาน</li></ul></div><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53827816609_e95a6f1f7d_k.jpg" width="2047" height="1071" loading="lazy"><h2>สถานการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย</h2><p>ป่าไม้เป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลกใบนี้ ช่วยควบคุมสมดุลของวัฏจักรน้ำและคาร์บอน รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด นอกจากนี้ยังมีบทบาทป้องกันการพังทลายของดิน ลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ป่าไม้ทั่วโลกกำลังลดลงจากการบุกรุกเพื่อทำเกษตรและการพัฒนาเมือง</p><p>ตามคำนิยามของกรมป่าไม้ "พื้นที่ป่าไม้" คือ “พื้นที่ปกคลุมของพืชพรรณที่สามารถจำแนกได้ว่าเป็นไม้ยืนต้นปกคลุมเป็นผืนต่อเนื่องขนาดไม่น้อยกว่า 3.125 ไร่ และหมายรวมถึงทุ่งหญ้าและลำนหินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ที่ปรากฏล้อมรอบด้วยพื้นที่ที่จำแนกได้ว่าเป็นพื้นที่ป่าไม้ โดยไม่รวมถึงสวนยูคาลิปตัสหรือพื้นที่ที่มีต้นไม้ แต่ประเมินได้ว่าผลผลิตหลักของการดำเนินการไม่ใช่เนื้อไม้ ได้แก่ พื้นที่วนเกษตร สวนผลไม้ สวนยางพารา และสวนปาล์ม”</p><p>ในปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ เหลืออยู่เป็นจำนวน 101,818,155.76 ไร่ หรือคิดเป็น 31.47% ของพื้นที่ประเทศ &nbsp;แบ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ในภาคกลาง 12,263,466.16 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15,608,130.07 ไร่ ภาคตะวันออก 4,703,353.52 ไร่ ภาคตะวันตก 20,033,806.37 ไร่ ภาคใต้ 11,232,880.27 ไร่ และภาคเหนือ 37,976,519.37 ไร่ ทั้งนี้มี 3 จังหวัดที่ไม่พบพื้นที่ป่าไม้ ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และอ่างทอง และมีพื้นที่ป่าไม้ที่ปรากฏนอกขอบเขตการปกครองอีกจำนวน 91,949.22 ไร่</p><table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0"><caption>ตารางที่ 1. พื้นที่ป่าไม้แยกตามภูมิภาค</caption><tbody><tr><td width="208"><strong>ภูมิภาค</strong></td><td style="vertical-align:top;" width="131"><strong>พื้นที่ทั้งหมด (ไร่)</strong></td><td style="vertical-align:top;" width="131"><strong>พื้นที่ป่าไม้ (ไร่)</strong></td><td style="vertical-align:top;" width="131"><strong>สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้</strong></td></tr><tr><td width="208">ภาคเหนือ</td><td style="text-align:right;" width="131">60,048,349.14</td><td style="text-align:right;" width="131">37,976,519.37</td><td style="text-align:right;" width="131">63.24%</td></tr><tr><td width="208">ภาคตะวันตก</td><td style="text-align:right;" width="131">34,038,210.43 &nbsp;</td><td style="text-align:right;" width="131">20,033,806.37</td><td style="text-align:right;" width="131">58.86%</td></tr><tr><td width="208">ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ</td><td style="text-align:right;" width="131">104,823,709.22</td><td style="text-align:right;" width="131">15,608,130.07</td><td style="text-align:right;" width="131">14.89%</td></tr><tr><td width="208">ภาคกลาง</td><td style="text-align:right;" width="131">56,912,645.90</td><td style="text-align:right;" width="131">12,263,466.16</td><td style="text-align:right;" width="131">21.55%</td></tr><tr><td width="208">ภาคใต้</td><td style="text-align:right;" width="131">46,154,901.40</td><td style="text-align:right;" width="131">11,232,880.27&nbsp;</td><td style="text-align:right;" width="131">24.34%</td></tr><tr><td width="208">ภาคตะวันออก</td><td style="text-align:right;" width="131">21,550,883.56</td><td style="text-align:right;" width="131">4,703,353.52</td><td style="text-align:right;" width="131">21.82%</td></tr><tr><td width="208">รวมทั้งประเทศ</td><td style="text-align:right;" width="131">323,528,699.65</td><td style="text-align:right;" width="131">101,818,155.76 &nbsp;</td><td style="text-align:right;" width="131">31.47%</td></tr><tr><td>พื้นที่ป่าไม้นอกเส้นขอบเขตการปกครอง ของกระทรวงมหาดไทยปี พ.ศ. 2563</td><td style="text-align:right;vertical-align:top;">91,949.22</td><td>&nbsp;</td><td>&nbsp;</td></tr></tbody></table><p>ที่มา: โครงการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ปี พ.ศ. 2566 (กรมป่าไม้)</p><p>&nbsp;</p><p>ทั้งนี้ไทยถือว่าอยู่ในกลุ่มประเทศที่พื้นที่ป่าลดลง โดยมีแนวโน้มลดลงมาเป็นเวลานานแล้ว ข้อมูลจากรายงานโครงการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ปี พ.ศ. 2566 โดยกรมป่าไม้ ชี้ว่าในปี พ.ศ. 2516 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด 138,566,875 ไร่ หรือคิดเป็น 43.21% ของพื้นที่ประเทศ แต่ในปี พ.ศ. 2565 มีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่เพียง 101,818,155.76 ไร่ หรือคิดเป็น 31.47% ของพื้นที่ประเทศเท่านั้น</p><h2>การจัดการป่าไม้ในประเทศไทย</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53828992052_b29766f0ca_k.jpg" width="2048" height="1360" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ป่าไม้ในประเทศไทย ที่มา: แฟ้มภาพ/ดลวรรฒ สุนสุข</p><p>ในการจัดการป่าไม้ในประเทศไทย พบว่าใช้นโยบายและกฎหมายด้านการจัดการป่าไม้จากหน่วยงานส่วนกลางมาเป็นระยะเวลาช้านาน นอกจากนี้ยังเคยมี นักวิชาการให้มุมมองไว้ว่า ป่าอนุรักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทยที่ถูกจัดตั้งขึ้นในยุคของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. 2505 นั้นเป็นการจัดการป่าที่ลอกเลียนโมเดลมาจากอุทยานแห่งชาติ Yellow Stone ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นโมเดลป่าอนุรักษ์ที่ไล่คนออกจากป่า</p><p>จากการรวบรวมข้อมูลโดย Open Development Thailand พบว่าปัจจุบันมี 7 หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อป่าไม้ในประเทศไทย แต่โดยหลัก ๆ แล้วมี 2 หน่วยงานหลักภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบ่งหน้าที่รับผิดชอบการจัดการป่าไม้ คือ กรมป่าไม้ ดูแลป่าสงวนและกำกับสวนป่าเชิงพาณิชย์ของภาคเอกชน และ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดูแลบริหารอุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ทั้ง 2 หน่วยงานแบ่งความรับผิดชอบพร้อมทำงานร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางอาญา</p><div class="note-box"><h2>หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อป่าไม้</h2><p>กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กำกับการทำงานของ 3 กรมหลัก คือ กรมป่าไม้ (ปม.) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) และ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.)</p><p>กรมป่าไม้ (ปม.) หน่วยงานสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบดูแลภาคป่าไม้และจัดการป่าที่รัฐเป็นเจ้าของ และอยู่นอกพื้นที่อนุรักษ์</p><p>องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) รัฐวิสาหกิจดำเนินธุรกิจทำไม้สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ดูแลจัดการสวนป่า</p><p>กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) หน่วยงานสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดการป่าสงวนของประเทศ</p><p>กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ดูแลสวนยางพาราเชิงพาณิชย์</p><p>กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)&nbsp;กรมศุลกากรตรวจสอบความถูกต้องของการนำเข้า-ส่งออกไม้</p><p>กระทรวงมหาดไทย (มท.) ดูแลหน่วยงานระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดที่มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และมีหน่วยสืบสวนในสังกัดที่ตรวจสอบรายงานการตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย</p><p>ที่มา: Open Development Thailand (https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/forestry-policy-and-administration/)</p></div><p>ทั้งนี้การเข้าครอบครองที่ดินสาธารณะใด ๆ ถือเป็นสิ่งต้องห้าม แต่ในทางปฏิบัติ จะห้ามการถือครองพื้นที่ในป่าที่ยังไม่ได้รับรองเป็นเขตอนุรักษ์ตามกฎหมาย โดยเฉพาะตามเนินเขา ภูเขา และในระยะที่ 40 เมตรจากเชิงเขาหรือภูเขาเท่านั้น พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ระบุว่าการตัดไม้และการเก็บของป่าทุกชนิดจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายเท่านั้น พ.ร.บ.ป่าไม้ปี พ.ศ. 2484 ได้กำหนดไม้หวงห้ามทั่วประเทศไว้ 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา (รวมถึงไม้สัก) ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และประเภท ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ ซึ่งไม่อนุญาตให้ทำไม้ เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้อนุญาตในกรณีพิเศษ อย่างไรก็ตาม การทำไม้ในพื้นที่สาธารณะทุกประเภทมีผลยุติลงทันทีตั้งแต่มีประกาศใช้มติ ครม.ปิดป่าสัมปทาน พ.ศ. 2532</p><p>นอกจากนี้ การครอบครองหรือใช้ที่ดินในป่าสงวนแห่งชาติเพื่อการเกษตรถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แม้จะมีข้อยกเว้นบางประการ แต่เมื่อคำนึงถึงขนาดประชากรที่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และภายใต้ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ห้ามมิให้มีการจัดเก็บหรือทำอันตรายต่อทรัพยากรธรรรมชาติ ซึ่งรวมถึงพืชพันธุ์ต่าง ๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติ และไม่อนุญาตให้ประกอบอาชีพใด ๆ ในพื้นที่เขตอุทยาน นับได้ว่าการบังคับใช้กฎหมายนี้มีความเข้มงวดและมีความท้าทายเป็นอย่างมาก เนื่องจากคาดการณ์ว่ามีประชากรกว่า 1 ล้านคนที่อยู่อาศัยทำกินในเขตอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ</p><h2>ตัวอย่างปัญหาป่าไม้ในประเทศไทย</h2><h3>พื้นที่ป่าไม้ลดลง</h3><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53830121870_955121e88f_b.jpg" width="914" height="454" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยปี พ.ศ. 2516-2541 และ ปี พ.ศ. 2543-2566 | ที่มาภาพ: โครงกำรจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ปี พ.ศ. 2566 (กรมป่าไม้)</p><p>ปัญหาการจัดการป่าไม้ที่สำคัญของประเทศไทยคือ "พื้นที่ป่าไม้ลดลง" ซึ่งมีสาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (land use change) จากพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่าไม้ เช่น พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง หรือเกิดจากปัญหาไฟป่า (forest fire) นอกจากนี้ข้อมูลจากกรมป่าไม้ยังระบุว่าสถานการณ์ความร้อนในช่วงต้นปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นที่ของป่าผลัดใบและสวนป่าเกิดการร่วงหล่นของใบอย่างมาก</p><p>การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516-2566 สามารถพิจารณาเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2516-2541 และช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2543-2566 เนื่องจากมาตราส่วนที่ใช้ในการปฏิบัติงานมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ก่อนปี พ.ศ. 2543 ข้อมูลพื้นที่ ป่าไม้ของกรมป่าไม้ ถูกจัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลภาพดาวเทียมที่มาตราส่วน 1:250,000 ภายหลังจาก ปี พ.ศ. 2543 มีการเปลี่ยนแปลงมาตราส่วนที่ใช้สำหรับการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้เป็น 1:50,000 และมี การนําระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (geographic information system : GIS) มาใช้ในการจัดทำข้อมูลสภาพ พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย ดังนั้นผลจากการกําหนดมาตราส่วนของภาพดาวเทียมที่แตกต่างกันดังกล่าวทำให้ตัวเลขพื้นที่ป่าไม้ของประเทศมีความแตกต่างกันชัดเจน</p><p>ช่วงที่ 1 (พ.ศ. 2516-2541: รวมระยะเวลา 26 ปี): พื้นที่ป่าไม้ลดลงจาก 138,566,875.00 ไร่ ใน ปี พ.ศ. 2516 เหลือ 81,076,250.00 ไร่ ใน ปี พ.ศ. 2541 หรือคิดเป็นอัตราการลดลงของพื้นที่ป่าไม้เท่ากับ 2,211,177.88 ไร่ต่อปี</p><p>ช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2543-2566: รวมระยะเวลา 24 ปี): พื้นที่ป่าไม้ลดลงจาก 106,319,237.50 ไร่ ใน ปี พ.ศ. 2543 เหลือ 101,818,155.76 ไร่ ใน ปี พ.ศ. 2566 หรือคิดเป็นอัตราการลดลงของพื้นที่ป่าไม้เท่ากับ 187,545.07 ไร่ต่อปี</p><p>การจัดการพื้นที่ป่าของไทยถือว่าล้มเหลว หากใช้ตัวชี้วัดจากแผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2564-2565 ได้กำหนดกิจกรรมปฏิรูปในการเพิ่มและพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ตามเป้าหมายที่ระบุไว้ในนโยบายป่าไม้แห่งชาติปี พ.ศ. 2562 ตั้งเป้าไว้ว่าในปี พ.ศ. 2565 มีพื้นที่ป่าไม้ไม่น้อยกว่า 33.04% ปี พ.ศ. 2570 มีพื้นที่ป่าไม้ไม่น้อยกว่า 35.35% ปี พ.ศ. 2575 มีพื้นที่ป่าไม้ไม่น้อยกว่า 37.67% และปี พ.ศ. 2580 มีพื้นที่ป่าไม้ไม่น้อยกว่า 40%</p><p>จะเห็นได้ว่าในปี พ.ศ. 2566 ไทยมีพื้นที่ป่าเพียง 31.47% พลาดจากเป้าที่ตั้งไว้ในปี พ.ศ. 2565 ที่ 33.04% และถ้าหากจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าไทยจะต้องมีพื้นที่ป่าไม้อย่างน้อย 40% ของพื้นที่ประเทศ หรือเท่ากับ 129,411,479.86 ไร่ ภายในปี พ.ศ. 2580 จากนี้ไปอีก 13 ปี (พ.ศ. 2567-2580) จะต้องเพิ่มพื้นที่ป่าอย่างน้อย 27,057,995.10 ไร่ หรือเฉลี่ย 3,517,539.36 ไร่ต่อปี -- ในขณะที่ความเป็นจริงทุกวันนี้พื้นที่ป่าไม้กลับลดลงเฉลี่ย 187,545.07 ไร่ต่อปี</p><h3>ปัญหาจากแนวนโยบายของรัฐภายใต้แนวคิด ‘ทรัพย์สินของรัฐ-อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ’</h3><p>การจัดการป่าไม้ของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันถูกครอบงำด้วยแนวคิดที่ว่า "ป่าไม้เป็นทรัพย์สินของรัฐ" และ "ต้องอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ" ซึ่งทำให้รัฐกลายเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน เนื่องจากการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจัดการพื้นที่ป่า ทำให้รัฐถูกมองว่าเป็นผู้มีอำนาจในการกีดกันประชาชนจากการใช้ประโยชน์จากป่า แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความต้องการของประชาชนได้ จึงเกิดการละเมิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้พยายามใช้ประโยชน์จากพื้นที่หรือผลผลิตจากป่าไม้มักถูกตีตราว่าเป็น "ผู้ร้าย" โดยเฉพาะ “ชาวบ้านผู้ยากไร้” และ “กลุ่มนายทุน”</p><p>ความขัดแย้งระหว่างรัฐและประชาชนผู้พยายามใช้ประโยชน์จากพื้นที่หรือผลผลิตจากป่าไม้เกิดขึ้นมาทุกยุคทุกสมัย ข้อมูลจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พบว่าช่วงระยะเวลา 9 ปี (ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2566) มีคดีเกี่ยวกับป่าไม้ทั้งหมด (ประกอบด้วย คดีบุกรุกพื้นที่ป่า, คดีลักลอบเผาป่า, คดีทำไม้, &nbsp;คดีเกี่ยวกับสัตว์ป่า และคดีเกี่ยวกับของป่า) รวม 28,986 คดี เฉลี่ยแล้วปีละ 3,221 คดี มีผู้กระทำผิดรวม 15,589 คน เฉลี่ยแล้วปีละ 1,403 คน ส่วนข้อมูลล่าสุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ณ วันที่ 30 เมษายน 2567) มีคดีเกี่ยวกับป่าไม้ทั้งหมด 1,104 คดี ผู้กระทำผิดรวม 725 คน</p><p>&nbsp;</p><table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0"><caption><strong>ตารางที่ 2. สรุปสถิติการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2566</strong></caption><tbody><tr><td rowspan="2" width="67">ปีงบประมาณ</td><td colspan="2" width="134">คดีเกี่ยวกับป่าไม้ทั้งหมด*</td><td colspan="2" width="134">คดีบุกรุกพื้นที่ป่า</td><td colspan="2" width="134">คดีลักลอบเผาป่า**</td><td colspan="2" width="134">คดีทำไม้</td></tr><tr><td width="67">คดี</td><td width="67">ผู้กระทำผิด</td><td width="67">คดี</td><td width="67">ผู้กระทำผิด</td><td width="67">คดี</td><td width="67">ผู้กระทำผิด</td><td width="67">คดี</td><td width="67">ผู้กระทำผิด</td></tr><tr><td width="67">2558</td><td style="text-align:right;" width="67">6,062</td><td style="text-align:right;" width="67">2,716</td><td style="text-align:right;" width="67">3,478</td><td style="text-align:right;" width="67">451</td><td style="text-align:right;" width="67">-</td><td style="text-align:right;" width="67">-</td><td style="text-align:right;" width="67">2,031</td><td style="text-align:right;" width="67">1,535</td></tr><tr><td width="67">2559</td><td style="text-align:right;" width="67">4,321</td><td style="text-align:right;" width="67">2,289</td><td style="text-align:right;" width="67">2,208</td><td style="text-align:right;" width="67">427</td><td style="text-align:right;" width="67">-</td><td style="text-align:right;" width="67">-</td><td style="text-align:right;" width="67">1,487</td><td style="text-align:right;" width="67">1,189</td></tr><tr><td width="67">2560</td><td style="text-align:right;" width="67">4,221</td><td style="text-align:right;" width="67">2,057</td><td style="text-align:right;" width="67">2,068</td><td style="text-align:right;" width="67">411</td><td style="text-align:right;" width="67">-</td><td style="text-align:right;" width="67">-</td><td style="text-align:right;" width="67">1,603</td><td style="text-align:right;" width="67">1,090</td></tr><tr><td width="67">2561</td><td style="text-align:right;" width="67">3,337</td><td style="text-align:right;" width="67">2,099</td><td style="text-align:right;" width="67">1,544</td><td style="text-align:right;" width="67">272</td><td style="text-align:right;" width="67">-</td><td style="text-align:right;" width="67">-</td><td style="text-align:right;" width="67">1,224</td><td style="text-align:right;" width="67">1,207</td></tr><tr><td width="67">2562</td><td style="text-align:right;" width="67">2,633</td><td style="text-align:right;" width="67">1,575</td><td style="text-align:right;" width="67">1,074</td><td style="text-align:right;" width="67">214</td><td style="text-align:right;" width="67">-</td><td style="text-align:right;" width="67">-</td><td style="text-align:right;" width="67">837</td><td style="text-align:right;" width="67">642</td></tr><tr><td width="67">2563</td><td style="text-align:right;" width="67">2,716</td><td style="text-align:right;" width="67">1,546</td><td style="text-align:right;" width="67">811</td><td style="text-align:right;" width="67">199</td><td style="text-align:right;" width="67">485</td><td style="text-align:right;" width="67">-</td><td style="text-align:right;" width="67">550</td><td style="text-align:right;" width="67">358</td></tr><tr><td width="67">2564</td><td style="text-align:right;" width="67">1,970</td><td style="text-align:right;" width="67">1,312</td><td style="text-align:right;" width="67">525</td><td style="text-align:right;" width="67">190</td><td style="text-align:right;" width="67">144</td><td style="text-align:right;" width="67">-</td><td style="text-align:right;" width="67">626</td><td style="text-align:right;" width="67">376</td></tr><tr><td width="67">2565</td><td style="text-align:right;" width="67">1,505</td><td style="text-align:right;" width="67">894</td><td style="text-align:right;" width="67">625</td><td style="text-align:right;" width="67">128</td><td style="text-align:right;" width="67">6</td><td style="text-align:right;" width="67">-</td><td style="text-align:right;" width="67">433</td><td style="text-align:right;" width="67">286</td></tr><tr><td width="67">2566</td><td style="text-align:right;" width="67">2,221</td><td style="text-align:right;" width="67">1,101</td><td style="text-align:right;" width="67">743</td><td style="text-align:right;" width="67">170</td><td style="text-align:right;" width="67">377</td><td style="text-align:right;" width="67">4</td><td style="text-align:right;" width="67">524</td><td style="text-align:right;" width="67">307</td></tr><tr><td colspan="9" width="601"><p>หมายเหตุ</p><p>* ตัวเลขของคดีเกี่ยวกับป่าไม้ทั้งหมดนั้นประกอบด้วย คดีบุกรุกพื้นที่ป่า,&nbsp;คดีลักลอบเผาป่า,&nbsp;คดีทำไม้,&nbsp; คดีเกี่ยวกับสัตว์ป่า และคดีเกี่ยวกับของป่า ส่วนตัวอย่างคดีที่ยกมาในตารางนี้นำมาเพียง คดีบุกรุกพื้นที่ป่า,&nbsp;คดีลักลอบเผาป่า และคดีทำไม้ เท่านั้น</p><p>** ก่อนปีงบประมาณ&nbsp;2563 คดีลักลอบเผาป่าถูกรวมอยู่ในคดีบุกรุกพื้นที่ป่า</p><p>ที่มา: เรียบเรียงข้อมูลจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช</p></td></tr></tbody></table><p>ข้อมูลจากงานวิจัยหัวข้อ 'การแย่งยึดที่ดินจากนโยบายป่าไม้ในยุคทหาร คสช. กับการผลิตซ้ำความจนเรื้อรัง กรณีป่าสงวนแห่งชาติดงหมู แปลง 2' (https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2024/03/c4753788-เอกสารประกอบชิ้นที่_1สรุปรายงานการวิจัย-2.pdf) โดยกิติมา ขุนทอง และธนพร สีสุขใส เผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคม 2567 ชี้ว่า "การทวงคืนผืนป่า" คือวาทกรรมของรัฐบาล คสช. ในการ สร้างความชอบธรรมในการแย่งยึดที่ดินของประชาชนเพื่อเปลี่ยนที่ดินและพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เชิงเศรษฐกิจ เปิดโอกาสให้ทุนเข้ามาเปลี่ยนทรัพยากรไปเป็นสินค้าหรือ “การทำให้ธรรมชาติกลายเป็นทุน” (Capitalisation of nature) ไม่ว่าจะเป็นการใช้พื้นที่ป่าเพื่อทำเหมืองหินทรายอุตสาหกรรมและโครงการไฟฟ้าพลังงานลม เป็นต้น โดยใช้ความคลุมเครือของเอกสารสิทธิ์ กรณีพื้นที่ประกาศเขตป่าทับซ้อนที่ยังอยู่ระหว่างกระบวนการพิสูจน์สิทธิ หรือกรณีพิพาทระหว่างรัฐและชุมชน และอำนาจกฎหมายตลอดจนการใช้ความรุนแรงมาบีบบังคับ แย่งยึดเอาที่ดินให้อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ นโยบายทวงคืนผืนป่าในยุค คสช. ไม่เพียงเป็นการแย่งยึดที่ดินทำกินแต่ยังเปลี่ยนชาวบ้านจากผู้บุกเบิก ผู้อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์ให้กลายเป็น “นอมินี” หรือ ตัวแทนผู้กระทำการแทนนายทุนในการเข้าบุกรุกทำลายป่า เป็นการสร้างสำนวนโวหารใหม่ในการพรากที่ดินจากประชาชน และเพื่อซ่อนเร้นผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวจากการรับรู้ของสาธารณะ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายป่าไม้ในยุค คสช.เกือบทั้งหมดไม่ใช่นายทุนหรือผู้มีอิทธิพล เป็นเพียงเกษตรกรที่พยายามดิ้นรนเพื่อให้หลุดพ้นจากความยากจนและต้องการจะมีชีวิตที่ดีกว่าเดิม</p><h3>ปัญหาการจัดการป่าไม้ของหน่วยงานรัฐ</h3><p>ตัวอย่างการตรวจสอบโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ซึ่งได้ทำการตรวจสอบการดำเนินงานบางกิจกรรมของ “สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้” ในภาคเหนือและภาคอีสาน 4 แห่ง (<a href="https://www.audit.go.th/sites/default/files/files/inspection-results/121366  บทสรุปผู้บริหาร สร้างป่าสร้างรายได้.pdf">[1][/url] <a href="https://www.audit.go.th/sites/default/files/files/inspection-results/บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การบริหารจัดการป่าไม้ สจป.7 ขอนแก่น.pdf">[2][/url] <a href="https://www.audit.go.th/sites/default/files/files/inspection-results/การบริหารจัดการป่าไม้ ของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 สาขาอุบลราชธานี_removed.pdf">[3][/url] <a href="https://www.audit.go.th/sites/default/files/files/inspection-results/การบริหารจัดการป่าไม้ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 สาขานครพนม.pdf">[4][/url]) ซึ่งเป็นหน่วยงานของ “กรมป่าไม้” สตง. พบข้อค้นพบที่น่าสนใจ เช่น</p><ul><li>กิจกรรมโครงการสร้างป่าสร้างรายได้แห่งหนึ่งในภาคเหนือ ที่ดำเนินการในพื้นที่ 4,711 แปลง รวม 32,200 ไร่ วงเงินงบประมาณรวม 182,600,000 บาท สตง. พบว่ามีการดำเนินโครงการขาดประสิทธิภาพ ไม่บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยไม่สามารถฟื้นฟูป่าตามแนวทางสร้างป่าสร้างรายได้ในพื้นที่ที่ประชาชนอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ป่าไม้ ไม่สามารถทำให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้อย่างต่อเนื่องและสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน ไม่สามารถสร้างจิตสำนึกแก่เกษตรกรในการมีส่วนร่วมดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ได้</li><li>การบริหารจัดการป่าไม้ของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งหนึ่งในภาคอีสาน สตง. พบว่าการจัดการพื้นที่กันคืนกรมป่าไม้ และพื้นที่ตรวจยึดคดีป่าไม้มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่กันคืนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ พื้นที่ตรวจยึดจากคดีป่าไม้ถูกบุกรุกซ้ำ</li><li>การบริหารจัดการป่าไม้ของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งหนึ่งในภาคอีสาน สตง. พบว่าพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี และแม้จะมีการใช้นโยบายการทวงคืนผืนป่า แต่พื้นที่ป่าไม้ไม่เพิ่มขึ้นเลย</li><li>การบริหารจัดการป่าไม้ของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งหนึ่งในภาคอีสาน สตง. พบว่าไม่สามารถป้องกันการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่าได้, ไม่สามารถป้องกันและจัดการไฟไหม้ป่าได้, ไม่สามารถจัดการที่ดินป่าไม้เพื่อชุมชนให้ป่าไม้เพิ่มขึ้นได้ และไม่สามารถฟื้นฟูป่าไม้ที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์ได้ เป็นต้น</li></ul><p>อีกหนึ่งหน่วยงานสังกัด “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” คือ "องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้" (ออป.) ที่เป็นรัฐวิสาหกิจดำเนินธุรกิจทำไม้ที่ดูแลจัดการสวนป่านั้น เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (https://prachatai.com/journal/2024/01/107674)ได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาขององค์กรนี้ ไว้อาทิเช่น</p><ul><li>สถานภาพของ ออป.ในทางเศรษฐกิจถือว่าประสบความล้มเหลวในการประกอบการอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังเป็นภาระของสังคมที่ต้องจัดหางบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาษีประชาชนมาใช้จ่ายในองค์กรแห่งนี้&nbsp;</li><li>กระบวนการปลูกสร้างสวนป่าของ ออป. จะมีลักษณะเป็นสวนป่าขนาดใหญ่ (Plantation) โดยการปลูกไม้เศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ซึ่งต้องเตรียมแปลงโดยการไถปรับพื้นที่ ทำให้เกิดการทำลายไม้ธรรมชาติเดิมหมดไป ในหลายพื้นที่ เช่น สวนป่าคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ จะพบว่าเจ้าหน้าที่สวนป่าได้ทำลายไม้ธรรมชาติบางแห่ง เช่น ประดู่ แดง ไผ่ ฯลฯ เพื่อปลูกยางพารา เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ ทำให้พื้นที่เสื่อมสภาพ อีกทั้งในหลายพื้นที่ เจ้าหน้าที่มีพฤติกรรมในการลักลอบนำไม้ธรรมชาติในเขตสวนป่าออกไปจำหน่ายเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว</li><li>การทำไม้จากสวนป่าที่กำลังดำเนินการอยู่ของ ออป. จะทำให้พื้นที่ป่าของประเทศไทยลดลงจากเดิม และ ในสายตาของประชาชนในท้องถิ่นมองว่า ออป. คือผู้ทำลายป่าไม้ ไม่มีภาพลักษณ์ของผู้ทำหน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากปลูกแล้วตัด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “โครงการปลูกไม้ ทำลายป่า”</li><li>พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ ออป. ดำเนินการปลูกสร้างสวนป่าเป็นการปลูกสร้างตามเงื่อนไขสัมปทานตัดไม้ แต่ในทางข้อเท็จจริง กลับพบว่าในหลายพื้นที่เป็นที่ดินที่ชาวบ้านถือครองทำประโยชน์มาก่อนการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ จากนั้นกรมป่าไม้ได้ให้อนุญาต ออป.เข้าดำเนินการปลูกสร้างสวนป่า กระทั่งเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งสภาพเช่นนี้เป็นมาโดยตลอด กระทั่งปัจจุบัน</li></ul><h2>ตัวอย่างการจัดการป่าไม้ในต่างประเทศ</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53830138980_5d44375a50_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ตัวอย่างการจัดการป่าไม้ตามแนวทาง Satoyama ในประเทศญี่ปุ่น | ที่มาภาพ: Wikipedia</p><p>ข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) (https://www.seub.or.th/document/สถานการณ์ป่าไม้ไทย/2023-235/) ชี้ว่า ณ ช่วงปี ค.ศ. 2020 ทั่วโลกมีพื้นที่ที่คงสภาพป่าไม้อยู่ประมาณ 30.8% หรือคิดเป็น 25,375 ล้านไร่ พื้นที่มากกว่าครึ่งของพื้นที่ป่าไม้ในโลกมีการกระจุกตัวมากที่สุดใน 5 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย บราซิล แคนาดา สหรัฐอเมริกา และประเทศจีน โดยในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมาสัดส่วนของพื้นที่ป่าไม้ลดลงจาก 32.5% เหลือ 30.8% สาเหตุหลักของการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่คือการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม</p><p>จากข้อมูล 135 ประเทศ พบว่า 60 ประเทศ จะมีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้มากกว่า 1% ของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศ ซึ่งประเทศที่มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้มากสุด ได้แก่ บราซิล แคนาดา คองโก และปารากวัย ในขณะที่มีเพียง 17 ประเทศเท่านั้น ที่มีพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นมากกว่า 1%</p><p>หลายประเทศได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ ดังนั้น จึงได้มีการปรับปรุงนโยบายการจัดการป่าไม้ให้เหมาะสมกับบริบทสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิประเทศของแต่ละประเทศ เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนและสมดุล ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการจัดการป่าไม้ในบางประเทศ</p><h2>เยอรมนี</h2><p>ป่าไม้ในเยอรมนีครอบคลุมพื้นที่กว่า 114,000 ตารางกิโลเมตร (71.25 ล้านไร่) หรือกินพื้นที่ 1 ใน 3 ของประเทศ มีความสำคัญทั้งในแง่ของระบบนิเวศ การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ การจัดการป่าไม้ในเยอรมนีมีพื้นฐานมาจากแนวคิดแบบบูรณาการที่มุ่งเน้นการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและหลากหลาย ป่าไม้เป็นทั้งส่วนหนึ่งของธรรมชาติและเศรษฐกิจ โดยมีการจ้างงานกว่า 1.1 ล้านคนในอุตสาหกรรมป่าไม้และไม้แปรรูป ไม้เป็นวัสดุหมุนเวียนที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ไม้ยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการจัดการสภาพภูมิอากาศของรัฐบาลกลางและการเปลี่ยนแปลงระบบพลังงานของประเทศ</p><p>อย่างไรก็ตาม ป่าไม้ในเยอรมนียังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ เช่น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านการจัดการสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ธรรมชาติ การปกป้องสิ่งแวดล้อม การพักผ่อนหย่อนใจ และการล่าสัตว์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในบางพื้นที่ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังส่งผลกระทบต่อการจัดการป่าไม้</p><p>กลยุทธ์ป่าไม้ 2020 (Forest Strategy 2020) (https://www.bmel.de/SharedDocs/Downloads/EN/Publications/ForestStrategy2020.pdf?__blob=publicationFile&amp;v=4) ของเยอรมนี เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการจัดการป่าไม้ทั้งในด้านธรรมชาติและเศรษฐกิจ โดยมี 9 แนวทางปฏิบัติเพื่อรับมือกับความท้าทายและโอกาสที่เกิดขึ้น ได้แก่ การบรรเทาและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการทรัพย์สิน การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การปลูกป่า การล่าสัตว์ การปกป้องดินและการจัดการน้ำ การพักผ่อนหย่อนใจ สุขภาพ และการท่องเที่ยว และการศึกษา</p><p>กลยุทธ์นี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างสมดุลระหว่างความต้องการที่เพิ่มขึ้นของป่าไม้และการผลิตที่ยั่งยืน โดยเน้นการวิจัยและการให้ข้อมูลเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ เช่น การปรับตัวของป่าไม้ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการป่าไม้และการอนุรักษ์ธรรมชาติ การใช้ประ