หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - การบริหารจังหวัดชายแดนใต้: สับสน ซ้ำซ้อน ยุ่งเหยิง เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 25 กรกฎาคม 2567 22:48:27 การบริหารจังหวัดชายแดนใต้: สับสน ซ้ำซ้อน ยุ่งเหยิง
<span>การบริหารจังหวัดชายแดนใต้: สับสน ซ้ำซ้อน ยุ่งเหยิง</span> <span><span>user8</span></span> <span><time datetime="2024-07-25T16:14:04+07:00" title="Thursday, July 25, 2024 - 16:14">Thu, 2024-07-25 - 16:14</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>อาทิตยา เพิ่มผล รายงาน</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและบางส่วนของจังหวัดสงขลา ตกอยู่ในสถานการณ์ความรุนแรงมาเป็นเวลาถึง 20 ปีแล้ว ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนไปจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “ค่ายปิเหล็ง” อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้รายงานว่า นับแต่วันนั้นเป็นต้นมาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวันนับได้มากถึง 22,621 เหตุการณ์ จนมีผู้เสียชีวิตถึง 7,611 ราย บาดเจ็บ 14,208 คน</p><p>สถานการณ์เช่นนั้นทำให้ทั้งภาครัฐและประชาชนในพื้นที่อยู่ไม่เป็นสุข ชีวิตหาความสงบไม่ได้ ตกอยู่ในความหวาดหวั่นตลอดเวลาว่าจะเกิดเหตุขึ้นมาอีกเมื่อไหร่ รัฐบาลในกรุงเทพฯ ดิ้นรนหาหนทางที่จะสร้างสันติภาพมาตลอด 2 ทศวรรษ มีการออกกฎหมายมากมายหลายฉบับ ตั้งและยุบองค์กรหลายครั้งหลายครา ซ้ำซ้อนกับหน่วยทางการปกครองที่มีอยู่เดิมทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน เพื่อควบคุมและบริหารสถานการณ์ แต่ดูเหมือนว่าจะอยู่ในอาการจับต้นชนปลายไม่ถูก ความรุนแรงอาจจะลงบ้างบางเวลา แต่ก็เป็นบางเวลา สถานการณ์โดยรวมยังอยู่ในสภาพที่ห่างไกลจากสันติสุข ไม่นับว่าความเป็นอยู่ของประชาชนยิ่งนับแต่จะย่ำแย่</p><p>รายงานนี้ทำการสำรวจสภาพปัญหาของการบริหารสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อค้นหาว่า รูปแบบ หน่วยงาน และโครงสร้าง ที่มีอยู่อย่างซ้ำซ้อนกันในปัจจุบันจะสามารถตอบสนองการแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างไร</p><h2>หลายองค์กรทับซ้อน ซ้ำซ้อน</h2><p>โครงสร้างในการบริหารสถานการณ์จังหวัดชายแดนใต้ได้รับการปรับเปลี่ยนหลายครั้ง ทั้งเปลี่ยนชื่อ กฎหมายที่ใช้กำกับ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ โดยแปรตามอำนาจและนโยบายทางการเมืองของรัฐบาลในกรุงเทพฯมากกว่าจะปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ในยุคปลายสงครามเย็นคือช่วงทศวรรษ 1980 สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี การบริหารสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ อยู่ภายใต้การดูแลของ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ตั้งขึ้นในปี 2524 เป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี เพื่อรับผิดชอบงานด้านการพัฒนาและประสานงานทางด้านการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบกับกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 (พตท. 43) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านความมั่นคงที่ตั้งขึ้นในปีเดียวกันภายใต้การบังคับบัญชาของแม่ทัพภาคที่ 4 ต่อมาในสมัยทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีเห็นว่าสถานการณ์ค่อนข้างสงบ นอกจากอาชญากรรมทั่วไปแล้วบางเวลาแทบไม่มีเหตุการณ์ก่อความไม่สงบเลย จึงได้มีคำสั่งยุบ ศอ.บต. และ พตท. 43 ในปี 2545 แล้วโอนย้ายอำนาจหน้าที่ในการบริหารสถานการณ์ให้ไปอยู่ในความดูแลของ สภาความมั่นคงแห่งชาติ</p><p>แต่หลังเหตุการณ์ปล้นปืนแล้ว กลุ่มอำนาจเก่าโทษรัฐบาลทักษิณว่าประเมินสถานการณ์ผิดพลาดจนมีการยุบโครงสร้างการบริหารสถานการณ์ซึ่งเคยทำงานได้ผลดีมาแล้วทิ้งไป ทักษิณ จึงได้มีคำสั่งจัดตั้งกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.) รับผิดชอบเป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนมีนาคม 2547 ซึ่งก็แก้ไขสถานการณ์อะไรไม่ได้แม้แต่น้อย ความรุนแรงยิ่งเพิ่มทวีขึ้นอย่างมาก หลังการรัฐประหารโค่นล้มทักษิณแล้ว รัฐบาลที่มีพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีจึงได้รื้อฟื้น ศอ.บต.และ พตท. 43 ขึ้นมาใหม่ในเดือนตุลาคม 2549 แรกๆให้อยู่ภายใต้การกำกับของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี</p><p>หลังจากนั้นมีการปรับโครงสร้าง ศอ.บต. ใหม่ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2553 โดยกำหนดให้ ศอ.บต. เป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง แต่ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเช่นกัน</p><p>ดูเหมือนองค์กรหลักทั้งสองจะรวมศูนย์อยู่ที่นายกรัฐมนตรี แต่ในการปฏิบัติงานจริงนั้นนายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้ง เลขาธิการ คนหนึ่งซึ่งแต่เดิมกำหนดให้ต้องเป็นข้าราชการพลเรือน ทำหน้าที่ในการประสานงานและบริหารงานพัฒนาในพื้นที่ ส่วน กอ.รมน. นั้นแท้จริงแล้วขับเคลื่อนโดยกองทัพบก โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นรองผู้อำนวยการ และ เสนาธิการทหารบกเป็นเลขานุการ นอกจากนี้ ยังมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานอีกเช่นกัน ทำหน้าที่ในการวางนโยบายและกำหนดแนวทางอันเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงในจังหวัดชายแดนใต้ </p>(https://live.staticflickr.com/65535/53880172036_fabc71f8a3_b.jpg)<p class="text-align-center picture-with-caption">รอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (แฟ้มภาพ)</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53880180366_385eea83b8_h.jpg" width="1477" height="1108" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ดุลยรัตน์ บูยูโส๊ะ ประธานคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ (แฟ้มภาพ)</p><p>รอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เห็นว่า นายกรัฐมนตรีในฐานะกำกับดูแลหน่วยงานทั้งสาม ควรจะมีวิสัยทัศน์ในการกำหนดนโยบายและทิศทางในการบริหารสถานการณ์ที่ชัดเจนกว่านี้ อย่างไรก็ตาม โครงการสร้างการปกครองทั่วไปในสามจังหวัดภาคใต้ ก็ไม่ได้แตกต่างจากที่อื่น กล่าวคือ ยังมีจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ซึ่งเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค แล้วก็ยังมี องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เหมือนที่อื่น</p><p>ดุลยรัตน์ บูยูโส๊ะ ประธานคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ กล่าวว่า แม้ ศอ.บต. และ องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) มีส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่มาก เหมือนไปด้วยกันได้ หนุนเสริมกันได้ แต่ที่ทับซ้อนคืองานของ กอ.รมน. กับ ศอ.บต. งานหลักจริงแยกส่วนกันชัดเจน คืองานความมั่นคงกับงานพัฒนา แต่เวลานี้ ทั้งสองยังแบ่งภาระงาน งบประมาณไม่ลงตัวเท่าไหร่ ทำให้มีการทับซ้อนกันอยู่ </p><p>“ต้องยอมรับว่างบประมาณส่วนใหญ่ตอนนี้อยู่ที่ ศอ.บต. แต่บางครั้ง แต่ละปี ใช้เงินไม่หมด ไม่รู้จะไปทำอะไรที่ไหน ยังไม่ทั่วถึง” ดุลยรัตน์ กล่าว และว่า ศอ.บต. มีงานหลักอยู่ในตัวของเขา งานแต่ละปีที่ทำประจำ แต่งานที่เป็นนโยบายเชิงรุก อาจจะเพราะขาดสภาที่ปรึกษา ไปมันก็เลยไม่มีงานใหม่ๆ ที่จะเข้าถึงประชาชนได้ดีกว่าเดิม ของที่ทำอยู่เข้าถึงประชาชนนั่นแหละในเรื่องการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ก็ยังทำอยู่</p><h2>ทหารหรือพลเรือนเป็นใหญ่</h2><p>สมัยรัฐบาลที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็ยึดอำนาจมาจากรัฐบาลพลเรือน มีการปรับเปลี่ยนการบริหารสถานการณ์ในจังหวัดภาคใต้อย่างมาก เขาอาศัยอำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญในสมัยรัฐบาลทหาร ออกคำสั่งหลายฉบับเพื่อรวมศูนย์อำนาจและให้บทบาทฝ่ายทหารอย่างมาก ตัวอย่างเช่น กฎหมาย ปี 2553 กำหนดให้เลขาธิการ ศอ.บต. ต้องเป็นพลเรือนเท่านั้น สมัยประยุทธ์สามารถแต่งตั้งนายทหารมาดำรงตำแหน่งนี้ได้ รอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ในคำสั่งคณะรักษาความงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 14/2559 สมัยประยุทธ์ ระบุว่างดเว้นการบังคับใช้พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2553 ที่ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการบริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผลผลิตที่มาจากความขัดแย้ง ที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2547 รัฐบาลในช่วงเวลานั้น พยายามที่จะสถาปนาหน่วยงานพลเรือนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง</p><p>สภาที่ปรึกษามีอำนาจหน้าที่แยกเฉพาะ ทั้งในการให้ความคิดเห็นกับร่างนโยบายที่ทางความมั่นคงแห่งชาติยกร่างขึ้นมา ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาต่อนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการ ศอ.บต. ตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นปัญหาที่ได้รับเรื่องร้องเรียน แสดงความเห็นในการโยกย้ายข้าราชการพลเรือนที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม ที่ประชาชนร้องเรียนมาอันเป็นผลผลิตจากการบริหารที่รวมศูนย์อำนาจ</p><p>“การมีสภานี้ก็เป็นพื้นที่ของประชาชนที่น้อยนิด พอ คสช.มาปี 2557 มีการยกเลิกสภาที่ปรึกษานี้ โดยเฉพาะที่มา ซึ่งมาจากกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่มีการเลือกกันเอง ให้ทางราชการเป็นคนคัดสรร อำนาจหน้าที่ที่สามารถถ่วงดุลเลขาธิการ การบริหารราชการในพื้นที่ก็ถูกตัดไป ซึ่งเราก็พยายามผลักดันให้มีการฟื้นคืนสภาที่ปรึกษาขึ้นมา” รอมฎอน สส.จากพรรคฝ่ายค้านกล่าว</p><p>ดุลยรัตน์ ประธานคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า สภาที่ปรึกษาซึ่งเปรียบเหมือนกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนของหลายๆอาชีพที่เข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการวางนโยบายต่างๆ เหมือนมีตัวแทนประชาชนเข้าไปคุยกับข้าราชการ ไปเสนอแนะ แต่รูปแบบหลังๆ เป็นการคัดเลือกกันเองมากกว่า ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ต้องผ่านการคัดสรรมาเยอะ </p><p>มาในสมัยรัฐบาลที่มีเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี นั้นมีความพยายามกลับไปหาหลักการเดิม เริ่มต้นการนำเจ้าหน้าที่จากกระทรวงยุติธรรม คือ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อดีตรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ศอ.บต. โดยรอมฎอน เห็นว่า กอ.รมน. ดูจะมีบทบาทในพื้นที่ค่อนข้างเด่นชัดเพราะเคยมีอำนาจมาตลอด ส่วน ศอ.บต. นั้นเพิ่งจะเปลี่ยนเลขาธิการอาจจะยังจับต้นชนปลายไม่ถูก</p><p>ดุลยรัตน์ มีความเห็นเพิ่มเติมว่า “ช่วงดังกล่าวเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านด้วย ในขณะที่ตอนนี้มีการเรียกร้องจากนักการเมืองหลายๆ ท่านต้องการปลดล็อคคำสั่งมาตรา 44 ของ พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อให้ ศอ.บต.กลับไปอยู่สภาพแบบเดิม เพราะโครงสร้าง ศอ.บต. เคยถูกเปลี่ยนแปลง ไม่มีความอิสระในการทำงานเท่าที่ควร ไม่มีการเข้าถึงประชาชนสักเท่าไหร่ ผิดกับ กอ.รมน. ซึ่งเป็นหน่วยงานกองกำลัง มีหน่วยงานภาคสื่อมวลชน ประชาสัมพันธ์อยู่เต็มในพื้นที่ เลยกลายเป็นว่าภาพของ กอ.รมน.เลยดีกว่า ศอ.บต.เสียอีก”</p><p>รอมฎอน กล่าวเสริมว่า “ผมก็ใช้โอกาสนี้ในการตั้งคำถามว่าท่าน (เศรษฐา ทวีสิน) ดูเหมือนจะไม่แยแสปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากพอ เป็นไปได้ว่ารัฐบาลจะปล่อยให้เป็นการดูแลภายใต้กองทัพ หรือ กอ.รมน. ต่อไป เพราะไม่เห็นการกำหนดทิศทางว่าจะแก้ปัญหาหรือสร้างสันติภาพด้วยแนวทางแบบไหน ในทางตรงข้ามท่านนายกฯ ลงไปในพื้นที่สามจังหวัด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ก็ไม่พูดถึงเรื่องความมั่นคงหรือสันติภาพ แต่พูดในประเด็นการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ ซึ่งเราคาดหวังว่าผู้นำฝ่ายรัฐบาลจะมีแนวทางในการแก้ปัญหานี้ ซึ่งคนขัดแย้งกันโดยมีการใช้กำลัง มันต้องการพลังทางการเมืองของฝ่ายบริหารในการชี้ว่ารัฐบาลจะไปทางไหน มีคำสั่งสานต่อการพูดคุยสันติภาพ ซึ่งดำเนินไปอย่างที่รัฐบาลก็ระมัดระวังที่จะไม่พูดถึง การขยายอายุพระราชกำหนดบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่เอง ก็ไม่ต่างจากรัฐบาลก่อนหน้านี้ มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน แต่เราคาดหวังให้นายกรัฐมนตรีทำงานให้เป็นรูปธรรมมากกว่านี้”</p><h2>งบประมาณหลายแสนล้านบริหารสถานการณ์ใต้</h2><p>ความซ้ำซ้อนในโครงสร้างและหน่วยงานราชการในการบริหารสถานการณ์ภาคใต้ เป็นที่มาของความสับสนในการใช้จ่ายงบประมาณที่มาจากเงินภาษีของประชาชน โดยประเทศไทยใช้งบประมาณไปแล้วเกือบ 5.4 แสนล้านบาทเพื่อควบคุมและบริหารสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา</p><p>ดุลยรัตน์ กล่าวว่าหน่วยราชการในเขตจังหวัดชายแดนใต้ดูเหมือนจะมีเสรีภาพในการใช้จ่ายมากกว่าที่อื่น “คือมันมีอะไรพิเศษอยู่หลายอย่าง โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างไม่ต้องเข้าประมูลทางเว็บไซต์ สัญญาจะทำแบบไหนก็ทำได้เลย สะดวกกว่า กลไกของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็เหมือนปกติ งบประมาณจะลงมาเยอะจากกระทรวงหลัก ส่วนงบประมาณจากท้องถิ่นก็ยังขาดแคลนเหมือนเดิม มีแต่ภาระงาน ยังไม่ถึง 30 % ด้วยซ้ำ ต้องมีการกระจายอำนาจมากกว่านี้”</p><p>ในขณะที่ผู้แทนราษฎรอย่าง รอมฎอน กล่าวว่า คนทั่วไปมักจะตั้งคำถามว่าที่เหตุการณ์ไม่สงบ เพราะเอาไว้ใช้งบประมาณด้วหรือเปล่า ก็เป็นคำถามที่คนอยากรู้ “ไปดูเนื้อในจริงๆ มันน่าตกใจมากกว่านั้น ในรอบ 20 ปี ใช้จ่ายงบประมาณ 5.4 แสนล้านบาทในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรามีต้นทุนเยอะมาก ใช้ทรัพยากรสาธารณะในแก้ไขปัญหา แต่คุณภาพชีวิตค่อนข้างต่ำมาก และอัตราการว่างงานสูง ยังไม่นับรวมว่าสถานการณ์ความขัดแย้งยังอยู่ มีการทำแผนบูรณาการก็เริ่มในรัฐบาลคสช แต่ข้อสังเกตคือเพื่อแก้ปัญหาต่างคนต่างทำ เนื่องจากแต่ละหน่วยงานก็มีแผนการทำงาน หลายๆโครงการที่มาแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ โดยมากำหนดตัวชี้วัดร่วมกัน”</p><p>“แต่ข้อค้นพบที่สำคัญที่ผมเจอคือมีงบประมาณนอกแผนบูรณาการเต็มไปหมด โดยเฉพาะงบที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ซึ่งควรจะต้องอยู่ในแผน แต่การเอาออกไปทำให้เราไม่เห็นต้นทุนที่แท้จริงที่สังคมไทยสูญเสียไปกับการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณที่มีปัญหาคืองบกำลังพลและการดำเนินการ ซึ่งปีนึงอยู่ที่ 3-4 พันล้านบาท เป็นเบี้ยเลี้ยงให้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำงาน ซึ่งก็มีข้อสงสัยนะครับว่าจำนวนอัตราที่ตั้งไว้เพื่อของบประมาณกับอัตราจริงที่ปฏิบัติงานในพื้นที่อาจจะไม่เท่ากัน มีหลายคนก็วิจารณ์ว่านี่คือที่มาที่ไปของบัญชีผีที่ กอ.รมน.” รอมฎอน กล่าว</p><p>บัญชีผีที่ว่าหมายถึงกรณีที่เคยมีข่าวเมื่อ 2 ปีก่อน ที่พบว่ามีสิบตำรวจตรีหญิง ซึ่งตัวอยู่ที่ราชบุรีแต่ว่าชื่อสังกัด กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถตรวจสอบได้ แล้วก็พยายามจะตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ กรณีนี้ไม่ได้ซ้ำซ้อน แต่ไม่โปร่งใส มีความจำเป็นการใช้งบประมาณขนาดนั้นไหม ส่วนที่มันซ้ำซ้อนจริงๆ มีความพยายามอย่างยิ่งในการที่จะคัดกรองงานที่ซ้ำซ้อนออกไปแต่ ก็พบว่าภารกิจที่ว่าไม่ใช่ภารกิจของทหาร </p><p>"ซึ่งบางภารกิจยิ่งทำยิ่งแย่ เช่นภารกิจด้านการเมือง ในการทำงานกับเครือข่ายประชาชนยิ่งทำยิ่งสร้างความไม่ไว้วางใจ มันมีโครงการอะไรแบบนี้เยอะ ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเรา ที่จะต้องตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณนี้" รอมฎอนกล่าว</p><p>ความจริง สำนักงบประมาณก็เปิดให้ดาวน์โหลดเอกสารงบประมาณประกอบร่างพระราชบัญญัติได้ เพียงแต่อยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF อีกทั้งผู้ที่เข้าไปตรวจสอบก็ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างของการจัดงบประมาณอยู่พอสมควรจึงจะสามารถค้นเข้าไปดูไว้ว่างบประมาณที่ใช้จ่ายในพื้นที่ จังหวัด หรือภารกิจอยู่ตรงไหน “ซึ่งเรื่องนี้เรียนรู้กันได้”</p><p>รอมฎอน กล่าวด้วยว่า “จริงๆ ความรู้แบบนี้มันเป็นความรู้ที่พลเมืองเรียนรู้ได้นะครับ เพียงแต่รัฐอาจจะต้องเอื้ออำนวยให้เอาถึงได้ง่าย ซึ่งถ้าเอกสารพวกนี้มันสามารถย่อยง่ายนะครับ ประชาชนก็จะมีส่วนร่วมในการติดตามข้อมูล ไม่ต้องรอคนที่จะมานั่งอภิปรายนะครับ เราสามารถที่จะเข้าถึงแล้วก็ทำการวิเคราะห์ แชร์แลกเปลี่ยนกันได้”</p><h3>งบประมาณรายจ่ายในการบริหารจังหวัดชายแดนใต้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (พ.ศ. 2563-2567)</h3><p> หน่วย: ล้านบาท</p><table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr><td width="123"><strong>ปีงบประมาณ</strong></td><td width="85"><strong>2563</strong></td><td width="104"><strong>2564</strong></td><td width="104"><strong>2565</strong></td><td width="104"><strong>2566</strong></td><td width="104"><strong>2567</strong></td></tr><tr><td width="123">งบบูรณาการ</td><td width="85">10,654</td><td width="104">9,563</td><td width="104">6,912</td><td width="104">6,208</td><td width="104">6,574</td></tr><tr><td width="123">ศอ.บต.</td><td width="85">318</td><td width="104">353</td><td width="104">618</td><td width="104">618.5</td><td width="104">685</td></tr><tr><td width="123">กอ.รมน.</td><td width="85">9,774</td><td width="104">6,150 (1,709)</td><td width="104">5,480 (1,357)</td><td width="104">5,435 (1,404)</td><td width="104">4,977 (1,409)</td></tr><tr><td width="123">สมช.</td><td width="85">130</td><td width="104">106 (68)</td><td width="104">87 (49.1)</td><td width="104">92 (52)</td><td width="104">154 (55)</td></tr><tr><td width="123">จังหวัดปัตตานี</td><td width="85">133</td><td width="104">155</td><td width="104">60</td><td width="104">238</td><td width="104">275</td></tr><tr><td width="123">จังหวัดยะลา</td><td width="85">131</td><td width="104">143</td><td width="104">54</td><td width="104">217</td><td width="104">234</td></tr><tr><td width="123">จังหวัดนราธิวาส</td><td width="85">133</td><td width="104">119</td><td width="104">87</td><td width="104">246</td><td width="104">238</td></tr><tr><td width="123">จังหวัดสงขลา</td><td width="85">268</td><td width="104">271</td><td width="104">146</td><td width="104">257</td><td width="104">295</td></tr><tr><td width="123">อบจ.ปัตตานี</td><td width="85">227</td><td width="104">242</td><td width="104">137</td><td width="104">270</td><td width="104">688</td></tr><tr><td width="123">อบจ.ยะลา</td><td width="85">169</td><td width="104">187</td><td width="104">109</td><td width="104">110</td><td width="104">255</td></tr><tr><td width="123">อบจ.นราธิวาส</td><td width="85">201</td><td width="104">195</td><td width="104">103</td><td width="104">107</td><td width="104">340</td></tr><tr><td width="123">อบจ.สงขลา</td><td width="85">310</td><td width="104">352</td><td width="104">131</td><td width="104">227</td><td width="104">276</td></tr><tr><td width="123">เทศบาลในพื้นที่ชายแดนใต้</td><td width="85">ไม่มีข้อมูล</td><td width="104">1,380</td><td width="104">465</td><td width="104">1,368</td><td width="104">1550</td></tr></tbody></table><p>ที่มา: สำนักงบประมาณ</p><p>หมายเหตุ: งบของ กอ.รมน. และ สมช. ในวงเล็บคือส่วนที่ใช้ในการบริหารสถานการณ์ใต้ ซึ่งจะรวมอยู่ในงบบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้</p><h2>ประชาชนมีส่วนร่วม?</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53880805310_bc17fe7942_k.jpg" width="2047" height="946" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">รอมฎอน ปันจอร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 20 มิถุนายน 2567 เสนอแผนบูรณาการชายแดนใต้ด้วยบันได 5 ขั้น เพื่อปลดพันธนาการของ คสช. ตั้งเป้ายุติข้อขัดแย้งให้ได้ในปี 2570 </p><p>ดุลยรัตน์ มองว่ามีทิศทางที่ไปสู่สันติสุขได้หากภาครัฐโดยเฉพาะ ศอ.บต. และ กอ.รมน. ควรพยายามปรับบทบาท ให้ประชาชนเข้ามาแสดงความผิดเห็นต่อโครงการหรือนโยบายต่างๆมากขึ้น ความผิดพลาดจากอดีต “เขายอมรับนะครับว่า จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งในยุค 20 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐเองก็มีส่วนทำให้เกิดขึ้นในการใช้ความรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น คนที่เขาโดนคดี 20 กว่าคดี ต้องเข้ามาร่วมโครงการมาตรา 21 ใน พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งกำหนดให้ศาลสามารถสั่งให้บุคคลเข้ารับการฝึกอบรมอยู่ภายใต้การดูแลของ กอ.รมน. ได้เป็นเวลานานถึง 6 เดือน แต่บางคนหายไปเลยเพราะเจอ 10 คดี ทั้งที่คดีหลักๆ คือคดีเดียว ที่เหลือคือตีความรวมๆ ไปก่อน บ่อยครั้งเกิดกรณีแบบนี้ กอ.รมน.เลยเข้ามามีส่วนรับผิดชอบ ทำงานให้รัดกุม และเข้าเป้ามากขึ้น"</p><p>ประธานคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ กล่าวว่า นี้คือเสียงสะท้อนจากพื้นที่และความโหยหาในสันติภาพ โดยเนื้อในคนภาคใต้ไม่ได้มีความรุนแรง ไม่ได้มีการก่อการร้ายขนาดนั้น อยากให้ส่วนอื่นๆ ของได้เห็นมุมนี้ เพราะการพัฒนาประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคนในประเทศ ตอนนี้ที่พยายามเรียกร้องคือให้ทาง สส.เข้าไปผลักดัน พ.ร.บ.สันติภาพให้เกิดขึ้นมาให้ได้</p><p>รอมฎอน กล่าวว่า ท้ายสุดแล้วการบรรลุข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN น่าจะเป็นแกนกลางสำคัญของการแก้ไขปัญหา “หมายความว่า เราต้องแสวงหาข้อตกลงสันติภาพที่มาจากการเห็นพ้องกันของประชาชนในพื้นที่ด้วย ที่จะเป็นหลักประกันได้ว่าเราจะบรรลุสันติภาพที่ยั่งยืนได้ เป็นจุดตั้งต้นบนเงื่อนไขที่ว่า ผ่านมา 20 ปี ไม่ใช่อยู่ๆ แต่ละฝ่ายสามารถใช้กำลังห้ำหั่นอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างเด็ดขาด มันต้องผ่านกระบวนการในการเจรจาต่อรองกัน ต้องนั่งคุยกัน”</p><p>การใช้กำลังในมันไม่สามารถตอบโจทย์ได้ ผลกระทบต่อประชาชนพลเมืองมือเปล่ามันสูงมาก การพิจารณาพิทักษ์ปกป้องอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของรัฐไทย หรือการพยายามปลอดปล่อยปัตตานีให้เป็นอิสระจากรัฐไทย เป้าหมายทั้ง 2 อันนี้มันอาจจะมีจุดอยู่ตรงกลาง</p><p>“ผมคิดว่าทางที่ไปใกล้เคียงที่สุดทางการเมือง คือจะต้องมานั่งลงคุยกันเรื่องการปรับความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้างใหม่ของการบริหารปกครองในพื้นที่ว่าเราจะสามารถกระจายอำนาจให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ขนาดไหนในขณะเดียวกันก็มีสายสัมพันธ์ที่ผูกพันต่อรัฐด้วย โดยต้องไปในทิศทางใหญ่ทั้งประเทศด้วยที่มีการเคลื่อนไหวเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เรื่องการปฏิรูปโครงสร้างของชุมชน เป็นประเด็นที่พรรคอื่นๆ ก็ดูจะเห็นพ้องกันในหลายๆ เรื่อง” รอมฎอน กล่าว</p><p>สังคมไทยโดยรวมมันก็กำลังเคลื่อนตัวไปสู่การพยายามจะคลายอำนาจหาทางออกแบบแบ่งปันอำนาจกัน (Power Sharing) คือการแบ่งปันอำนาจกันระหว่างรัฐส่วนกลางกับผู้คนในท้องถิ่น “ผมเองสนใจศึกษาเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 52 ร่วมกับเครือข่าย Deep South Watch มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกระจายอำนาจหรือการปรับโครงสร้างทางการเมืองการปกครองชายแดนใต้มากกว่า 10 ตัวแบบด้วยซ้ำ บางแบบก็ตอบสนองต่อวัฒนธรรมที่คนส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นมุสลิม หรือกรณีที่ชนกลุ่มน้อยในพื้นที่อย่างชาวพุทธที่จะต้องมีที่มีฐานมีหลักประกันว่าเสียงของพวกเราจะสำคัญ จะอยู่ในสภาจะอยู่ในฝ่ายบริหารอย่างไร อาจจะไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่มาจากการคัดสรรหรือว่าการมีโควตา ทั้งหมดนี้เราสามารถกเถียงกันได้” รอมฎอน กล่าว</p><div class="note-box"><h3>ดุลยรัตน์ บูยูโส๊ะ ประธานคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่</h3><p><strong>การศึกษา</strong></p><p>ปริญญาตรี การจัดการทั่วไป ม.ราชภัฎยะลา ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น กำลังศึกษา ปริญญาเอก บริหารการศึกษา University College Bestari มาเลเซีย</p><p><strong>ประสบการณ์การทำงาน</strong></p><p>รองนายกเทศมนตรีตำบลนาทวีนอก 14 ปี ปัจจุบัน เป็นผู้บริหารโรงเรียนมิฟตาฮุดดีน (บ้านพลีใต้) อ.นาทวี จ.สงขลา</p><p><strong>ความไม่สงบมาจากไหน สันติภาพจะเริ่มได้ยังไง</strong></p><p>จุดเริ่มผมจะมองว่าเป็นเรื่องของการปกครอง เรื่องชาติพันธุ์มากกว่าซึ่งต้องยอมรับในพื้นที่เหล่านี้มีชาติพันธุ์มลายูไปถึงนครศรีธรรมราช ถ้าดูประวัติศาสตร์แล้ว ต้นกำเนิดมาจากความเชื่อเดียวกัน เชื่อผีสางนางไม้มาก่อนเปลี่ยนมาเป็นพราหมณ์ พุทธ อิสลาม ปัญหาก็คือมีกลุ่มคนบางกลุ่มในการรวมศูนย์ เมื่อมีการปกครองส่วนภูมิภาคเข้ามา ส่วนกลางก็ต้องส่งคนเข้ามาดูแล กลุ่มคนที่อยู่เป็นคนดั้งเดิม ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาเป็นความบิดเบี้ยวของประวัติศาสตร์แต่ละฝั่ง ใครจะเขียนให้เข้าข้างตัวเองก็เขียนไป ตามความเข้าใจของตัวเองว่าคนในพื้นที่อพยพมาจากอินโดนีเซียมั้ง ไม่ใช่นะ เป็นคนดั้งเดิม แผ่นดินของเขา แต่มารวมให้เป็นหนึ่งเดียวกับประเทศไทย คนที่เขาเสียอำนาจไปอาจจะพยายามปลุกแนวคิดนี้อยู่ อีกส่วนก็คือความต่างในเรื่องของความเชื่อ ถ้าได้เข้าไปสอบถาม คนในภาคใต้ 100 คน กว่า 90% ไม่มีการแบ่งแยกประเทศแน่นอน</p><p>อย่างการตั้งนโยบายผิดพลาดเรื่องการกดทับวัฒนธรรมที่มีตั้งแต่สมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม อันนั้นก็มีส่วนเยอะที่บังคับที่ให้เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย ภาษามลายูห้าม ต้องใช้ภาษาไทย ก็เลยเกิดการทับถมมาเรื่อยๆ จนเกิดกลุ่มที่เห็นต่าง</p><p>สันติสุขชายแดนใต้ ต้องไปหาตัวชี้วัดว่าวัดว่าวัดจากส่วนไหน ส่วนของเรื่องนโยบายสาธารณะ รัฐบาลจะมีผลการต่อชาวบ้านตรงๆ ถ้าวัดจากความรู้สึกของชาวบ้านเนี้ย ต้องลองมาสัมผัสดูว่าสันติภาพสันติสุขก็คุยกันอยู่ในส่วนตัวของเขาเอง เขาไม่ได้มองเรื่องแบ่งแยกดินแดน เขาไม่ได้มองเรื่องอะไรที่มันใหญ่ๆ นอกจากมีคุณภาพชีวิตที่ดี เศรษฐกิจที่ดีขึ้น ลูกหลานมีการศึกษาที่ดีขึ้น ที่ไปทำเวทีมานะ ประเด็นผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นประเด็นหนึ่งที่ต้องไปทำนโยบายสาธารณะ</p></div><div class="note-box"><h2>รอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล</h2><p><strong>การศึกษา</strong></p><p>ปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ (การปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p><p><strong>ประสบการณ์ทำงาน</strong></p><p>นักกิจกรรม (2544, 2554, 2559, 2560, 2564) ผู้สื่อข่าว (2547) นักวิจัย (2558) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2566 ถึงปัจจุบัน)</p><p><strong>เกี่ยวข้องกับปัญหาภาคใต้อย่างไร?</strong></p><p>ด้วยความที่ผมก็เป็นลูกครึ่ง เรียกได้ว่าสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นบ้าน พ่อเป็นคนสตูล แม่เป็นคนยะลา เรียนม.ต้นที่ยะลา เรียนม.ปลายที่ปัตตานี มีความคุ้นเคยความใกล้ชิด ความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับพื้นที่และผู้คน ก่อนหน้านี้เป็นนักข่าวในทีมข่าวพิเศษ ทำข่าวเจาะ ข่าวเฉพาะกิจ ของผู้จัดการรายวัน หลายครั้งก็ถูกส่งไปสัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนใต้ เจอเรื่องราวต่างๆที่นำมาเขียนบทวิเคราะห์ ตั้งแต่ปี 2547 มาอยู่ชายแดนใต้นานหน่อย ปี 2548 ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ จัดตั้ง”ศูนย์ข่าวอิศรา” ซึ่งเป็นการรวมตัวของนักข่าวส่วนกลางจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับลงไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อนำเสนอข่าวสารใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงที่สถานการณ์ความไม่สงบมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก พอปี 2549 ร่วมกับนักข่าวและนักวิชาการในพื้นที่ตั้ง Deep South Watch หรือศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ เพื่อเก็บข้อมูล สนับสนุนการทำข่าวด้วย </p><p>ผมทำงานที่เกี่ยวข้องกับการติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพในชายแดนใต้มาหลายปี ได้รับการทาบทามให้มาช่วยงานทางการเมืองและตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็น สส. เพื่อที่จะผลักดันนโยบายในการแก้ไขปัญหา ปัจจุบันดูแลเรื่องสันติภาพชายแดนใต้ในปัตตานี อยู่ในกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ มีหลายงานที่เกี่ยวกับชายแดนใต้ด้วย เกี่ยวกับความมั่นคงในหลากมิติ เคยเสนอญัติให้มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ศึกษาติดตามกระบวนการสันติภาพ ที่ประชุมของส.ส.มีมติตั้งเมื่อตุลาคม ปีที่แล้ว ก็ยังทำงานอยู่ในโค้งสุดท้ายที่ต้องจัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร</p><p>มันก็เกิดคำถามถึงสถานการณ์ในปี 2547 คือตอนนั้นเราใช้ชีวิตหรือว่าอยู่ในพื้นที่ เราไม่ได้สัมผัสว่ามันมีสัญญาณของความรุนแรงเลย เกิดคำถามว่ามันเกิดอะไรขึ้น ที่เราคุ้นเคยนี่มันเกิดอะไรขึ้น มันมีคำถามแบบนั้น เราเชื่อว่าถ้าเราพอเข้าใจมากขึ้น คุยกับผู้คนที่ส่วนหนึ่งอยู่กับรัฐไทยไม่ได้แล้ว พูดถึงประวัติศาสตร์ อีกฝั่งคือเราก็เห็นความจริงจังของฝั่งรัฐบาลในการจัดการมากกว่าที่เราคิด โดยเฉพาะเหตุการณ์ตากใบ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน เราสามารถเดินไปในฐานะคนในออกมาในแต่ละคนนอกเข้าไปในฐานะคนนอกออกมามันอยู่ในจังหวะน่าจะทำอะไรได้บ้าง ตรงนั้นทำให้เราเห็นโอกาสในการที่จะเข้าใจ คิดเรื่องทางออก และทำงานร่วมกับคนได้ คิดว่าไม่ใช่แค่รายงานข่าวเฉยๆ แต่เราน่าจะทำอะไรได้มากกว่านั้น</p><p>ผมซึ่งมีฐานะเป็นนักวิจัย เรียนปริ |