หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - มุนินทร์ พงศาปาน : มองอนาคตการเสนอแก้ไขมาตรา 112 ที่อยู่ไกลออกไป หลังศาล รธน.ยุบ ' เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 30 สิงหาคม 2567 17:34:25 มุนินทร์ พงศาปาน : มองอนาคตการเสนอแก้ไขมาตรา 112 ที่อยู่ไกลออกไป หลังศาล รธน.ยุบ 'ก้าวไกล'
<span>มุนินทร์ พงศาปาน : มองอนาคตการเสนอแก้ไขมาตรา 112 ที่อยู่ไกลออกไป หลังศาล รธน.ยุบ 'ก้าวไกล'</span> <span><span>XmasUser</span></span> <span><time datetime="2024-08-22T19:02:16+07:00" title="Thursday, August 22, 2024 - 19:02">Thu, 2024-08-22 - 19:02</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>สัมภาษณ์ : ณัฐพล เมฆโสภณ</p><p>กราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>มุนินทร์ พงศาปาน อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ให้สัมภาษณ์ประชาไท หลังเมื่อ 7 สิงหาคม 2567 ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล จากการหาเสียงเสนอแก้ไขมาตรา 112 ในการเลือกตั้งทั่วไป สะท้อนการข้ามเส้นอำนาจของตุลาการเหนืออำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ผ่านการสร้างเงื่อนไขที่ไม่ชัดเจนในการเสนอกฎหมาย</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53930866835_ba3a7a30f1_b.jpg" width="1024" height="682" loading="lazy">มุนินทร์ พงศาปาน (ที่มา: เพจเฟซบุ๊ก Munin Pongsapan)</p><p>มุนินทร์ มองผลกระทบเรื่องนี้ว่าจะทำให้สมาชิกสภาในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติเกิดความกังวลในการเสนอกฎหมาย ไม่สามารถใช้อำนาจนิติบัญญัติได้อย่างเต็มที่ และผลสุดท้าย จะไม่มีใครกล้าแตะกฎหมายมาตรา 112 ทำให้ปัญหาซุกอยู่ใต้พรมต่อไป</p><p>ในส่วนข้อเสนอนั้น อาจารย์นิติฯ มธ. ยกบทเรียนในสหราชอาณาจักร และสิงคโปร์ ที่ผู้พิพากษามีอำนาจอย่างมาก แต่แทบไม่เคยก้าวล้ำเขตแดนฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะอำนาจ ‘ศาล’ ในฐานะฝ่ายตุลาการ และ ‘สภา’ ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ มีศักดิ์เสมอกัน</p><h2>2 ผลกระทบในทางกฎหมาย การล้ำแดนอำนาจนิติบัญญัติ</h2><p>มุนินทร์ กล่าวว่า เขาขอแบ่งผลกระทบในทางกฎหมายจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคก้าวไกล จากกรณีหาเสียงแก้ไขมาตรา 112 ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2566 โดยแบ่งผลกระทบออกเป็น 2 ส่วน คือ ด้านที่เกี่ยวกับกฎหมาย และผลกระทบที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ศาล รธน.มติเอกฉันท์ 9-0 ยุบ 'ก้าวไกล' ตัดสิทธิ์การเมืองกรรมการ 11 คน 10 ปี (https://prachatai.com/journal/2024/08/110242)</li><li>ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย "ยุบพรรคก้าวไกล" [คลิป] (https://prachatai.com/journal/2024/08/110249)</li><li>อ.มหิดลชี้คำสั่งยุบ ‘ก้าวไกล’ ศาล รธน.แทรกแซงแบ่งอำนาจ 3 ฝ่าย อาจทำเพื่อทำลายความหวัง (https://prachatai.com/journal/2024/08/110396)</li></ul></div><p> </p><p>มุนินทร์ คิดว่า เบื้องต้น จะมีผลในทางกฎหมาย 2 เรื่อง เรื่องแรก มันเป็นการส่งสัญญาณว่าศาลรัฐธรรมนูญกำลังใช้อำนาจตุลาการข้ามเส้นแบ่งแยกอำนาจไปยังพรมแดนของฝ่ายนิติบัญญัติ หมายความว่า นโยบายในการเสนอกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมาย ซึ่งควรเป็นการกระทำในทางนิติบัญญัติโดยแท้ ถูกตรวจสอบได้โดยศาลรัฐธรรมนูญตามอำนาจในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อันตรายต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ</p><p>“ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยในทางนิติบัญญัติและทางบริหาร รวมถึงองค์กรอิสระอื่นๆ นี่เป็นสัญญาณอันตราย อาจจะไม่ใช่แค่เฉพาะกรณีการแก้ไขมาตรา 112 แต่รวมถึงกรณีอื่นๆ หากศาลสามารถตีความให้เข้าเหตุ ศาลก็อาจจะใช้อำนาจเข้าไปตรวจสอบได้ นั่นคือผลทางกฎหมายประการที่หนึ่ง” มุนินทร์ กล่าว</p><h2>ผลทางกฎหมายประการที่ 2 สร้างเงื่อนไขแก้กฎหมายโดยเฉพาะมาตรา 112</h2><p>ผลทางกฎหมายประการที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องกับมาตรา 112 นั้น มุนินทร์ มองว่า จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 31 ม.ค. และ 7 ส.ค. 2567 ศาลไม่ได้บอกว่า ไม่สามารถแก้ไขมาตรา 112 ได้ ศาลไม่ได้ปิดประตูห้าม แต่สิ่งที่ศาลทำ ก็คือการไปกำหนดเงื่อนไขการเสนอแก้ไขมาตรา 112 บางอย่าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องแรก ‘ว่าด้วยการข้ามเส้นอำนาจนิติบัญญัติ’ ก็คือถ้าไปแตะเรื่องนี้ จะทำได้ก็ต่อเมื่อมันเข้าเงื่อนไขนี้เท่านั้น</p><p>มุนินทร์ กล่าวว่า ถ้าเราจับคำวินิจฉัยเมื่อ 31 ม.ค. มาดู ศาลบอกว่ามันแก้ไขถ้าผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยชอบ ซึ่งตรงนี้เป็นเงื่อนไขที่ศาลกำหนด และเมื่อไปดูองค์ประกอบส่วนอื่นที่ศาลยกขึ้นมา เช่น การเสนอแก้ไขมาตรา 112 โดยการเปลี่ยนหมวด ลดโทษ และอื่นๆ ซึ่งตรงนี้ไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ชัดเจนว่า ‘กระบวนการนิติบัญญัติโดยชอบ’ คืออะไร มีอะไร เราไม่เห็นรายละเอียดตรงนี้</p><p>อาจารย์นิติศาสตร์ กล่าวว่า พอศาลกำหนดเงื่อนไข แต่เงื่อนไขไม่ชัดเจน ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีปัญหาเรื่องการเสนอกฎหมายตามอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะไม่ทราบว่าจะต้องแก้ไขอย่างไร เพราะเงื่อนไขไม่ชัดเจน และจะชัดเจนต่อเมื่อมีคนร้องศาลรัฐธรรมนูญ</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/52768599199_00b82aa41c_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ติดสติกเกอร์บนโพลสำรวจความเห็นเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 ระหว่างปราศรัยหาเสียงที่ชลบุรี เมื่อปี 2566 (ถ่ายโดย แมวส้มประชาไท)</p><h2>เมื่อมาตรา 112 ถูกซุกไปอยู่ใต้พรม จนสะสมความขุ่นข้องมากยิ่งขึ้น</h2><p>อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวต่อว่า ผลกระทบในความเป็นจริงเมื่อเงื่อนไขการแก้กฎหมายไม่ชัดเจน และผลร้ายแรงมากก็คือถูกยุบพรรคการเมือง ถูกตัดสิทธิ์เป็นระยะเวลานานถึง 10 ปีถือว่าร้ายแรงและยาวนานมาก แม้ศาลจะบอกว่าปราณีแล้วก็ตาม จะทำให้ไม่มีใครอยากแตะมาตรา 112 นักการเมืองที่มีนโยบายชัดเจนก็คงจะยืนยันทำเรื่องนี้ แต่แน่นอนว่าเขาจะต้องหยุดคิด และหาวิธีที่ปลอดภัยทึ่สุด ในขณะที่พรรคการเมืองที่กล้าๆ กลัวๆ อยู่แล้วอาจตัดสินใจไม่แตะดีกว่า พักเอาไว้ก่อน</p><p>“เราคงอยู่ในสถานการณ์นี้สักพักใหญ่ๆ ว่าอะไรก็ตามที่มันเกี่ยวกับมาตรา 112 และไม่ใช่แค่เรื่องกฎหมายมาตรา 112 อาจจะมีคนลังเลในฝ่ายการเมืองและงดออกเสียง อาจจะมีคนรวบรวมความกล้าหาญขอนิรโทษกรรมมาตรา 112 แต่เวลาโหวตจริงๆ ในสภาฯ มันน่าจะทำให้คนเหล่านั้นกังวลมากขึ้น และก็ไม่อยากไปแตะเลย นี่เป็นผลในความจริง มันเป็นการทำให้ปัญหาเรื่องมาตรา 112 ซุกอยู่ใต้พรมต่อไป ความรู้สึกที่มันกลบไว้ มันถูกปิดบังไว้ ไม่มีเวทีที่เหมาะสมในการพูดคุยกัน มันสร้างความขุ่นข้องหมองใจมากขึ้นเรื่อยๆ” มุนินทร์ กล่าว </p><p>เมื่อถามถึงกรณีวันเปิดตัวพรรคประชาชนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2567 ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ (https://www.youtube.com/watch?v=RCHczSkkmUE) หัวหน้าพรรคประชาชน ตอบคำถามสื่อเรื่องนโยบายมาตรา 112 ว่า ที่ผ่านมาไม่ได้สื่อสารว่าจะลดเพดาน และยืนยันว่าเสนอแก้ไขมาตรา 112 เพื่อไม่ให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมือง ส่วนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เพราะฉะนั้น ก็ต้องกลับมาศึกษาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และทางพรรคยังคงผลักดันการแก้ไขกฎหมายส่วนนี้</p><p>มุนินทร์ เห็นว่านี่เป็นผลกระทบให้พรรคประชาชนในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติต้องมาคิดว่า เขาต้องดำเนินการด้วยวิธีการไหนที่จะถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งไม่ควรจะเป็นแบบนั้น กฎหมายควรจะทำให้คนเข้าใจว่าเรามีสิทธิแค่ไหน และหน้าที่อย่างไร ไม่ใช่ต้องมานั่งคาดเดา</p><p>อาจารย์นิติศาสตร์ ย้ำปัญหาว่า ความไม่แน่นอนจากระบบกฎหมาย ทำให้ตอนนี้หากผู้ใดต้องการเสนอหรือแก้ไขกฎหมายอื่นๆ ต้องมายื่นถามหรือปรึกษาองค์กรอิสระ เช่นกรณีของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบนโยบายหาเสียง ซึ่งให้นโยบายผ่านไปแล้ว ก็ควรจะจบว่าทำได้ แต่กลายเป็นว่า มีอีกองค์กรมาตีความทีหลังว่าทำไม่ได้ หรือให้ทำได้ แต่มาเปลี่ยนใจตอนหลังว่าทำไม่ได้แล้ว นี่เป็นปัญหาภาพรวมทางกฎหมาย ยิ่งกรณีที่มีความอ่อนไหวสูงอย่างมาตรา 112 มันก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหานี้ชัดเจนยิ่งขึ้น</p><h2>มาตรา 112 หลังการวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล มันทำให้กฎหมายพิเศษโดยปริยาย</h2><p>อาจารย์มุนินทร์ กล่าวว่า มาตรา 112 หลังการวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล ทำให้กฎหมายมีสถานะพิเศษไปโดยปริยายในทางกระบวนการนิติบัญญัติ ที่มีเงื่อนไขในการเสนอร่างกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญปี’60 ไม่ได้กำหนด และไม่ได้ยกเว้นไว้ ว่ากฎหมายฉบับไหนที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ยกเว้น ร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงิน ที่ต้องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาก่อน</p><p>มุนินทร์ กล่าวว่า สังคมไทยพยายามจะสร้างกระบวนการยุติธรรม ‘เฉพาะ’ มาตรา 112 ทำให้คนที่มีคดีหรือถูกกล่าวหาด้วยมาตรานี้ ได้รับการปฏิบัติต่ำกว่ามาตรฐานทางกฎหมาย ทั้งการดูแลในเรือนจำราชทัณฑ์ ซึ่งสะท้อนผ่านกรณีของ บุ้ง-เนติพร เสน่ห์สังคม เราไม่ได้บอกว่าเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์อยากให้ผู้ถูกกล่าวหาเสียชีวิต แต่มันเกิดจากผลกระทบมาตรา 112 ทำให้บุคลากรราชทัณฑ์ไม่ใส่ใจ กลัว และไม่อยากมีปัญหา ทำให้พวกเขาปฏิบัติต่อนักโทษคดีการเมืองต่ำกว่ามาตรฐาน เพราะว่าถ้าปฏิบัติตามปกติแล้วจะถูกเพ่งเล็ง หรือถูกลงโทษ</p><p>กระบวนการดำเนินคดีก็ได้รับผลกระทบ เราเห็นการใช้หลักการสันนิษฐานว่าเป็น ‘ผู้กระทำผิดไว้ก่อน’ จนกว่าจะพิสูจน์ว่าเป็น ‘ผู้บริสุทธิ์’ กระบวนการชั้นพนักงานสอบสวน อัยการ พวกเขากลัวและไม่มีใครดูพยานหลักฐานจริงๆ ว่ามันเป็นการกลั่นแกล้งรึเปล่า หรือถึงกับต้องออกความผิดไหม ทำๆ ไปก่อน และส่งๆ กันไปต่อเรื่อยๆ ให้ศาลเป็นคนพิจารณา นี่เป็นทัศนคติของกระบวนการยุติธรรมของคนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมคดีมาตรา 112 คือเรากำลังสถาปนากระบวนการยุติธรรมเฉพาะมาตรา 112 ทำให้คนที่อยู่ในกระบวนการนี้ คนที่ถูกกล่าวหาในกระบวนการนี้ได้รับการปฏิบัติไม่เหมือนกับกระบวนการยุติธรรมปกติ นักโทษที่ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างที่ควรจะเป็น และสิทธิขั้นพื้นฐานไม่มี</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53502342486_fdf74fd810_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ภาพสแตนดี้ตัวการ์ตูน "เนติพร สเน่ห์สังคม" ทำออกมาในช่วงการรณรงค์ผลักดันร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมคดีการเมือง ฉบับประชาชน ซึ่งมีการรวมมาตรา 112 เข้าไปด้วย (ถ่ายแมวส้มประชาไท)</p><h2>ศาลรัฐธรรมนูญกับแนวโน้มขยายขอบเขตอำนาจอย่างไม่รู้จบ</h2><p>อาจารย์ประจำนิติศาสตร์ กล่าวต่อว่า มันน่ากังวลไปหมด แต่ไม่แปลกใจ เพราะพูดมาตลอดว่า อำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่กว้างขวาง และไม่พยายามจำกัดอำนาจตัวเอง จะอันตรายต่อทุกเรื่อง ไม่ใช่แค่เรื่องมาตรา 112 เพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่าง หากมีคนเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ และยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญอาจบอกว่าเป็นการแก้ไขไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ตามหลักการแล้วไม่ควรทำ เพราะว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) แต่ไม่มีใครทราบ เพราะศาลรัฐธรรมนูญเขามีแนวโน้มขยายขอบเขตอำนาจตัวเองตลอด</p><p>ยกตัวอย่างเช่นหลักกระบวนการทางกฎหมาย (Due Process) ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญหาเหตุผลให้ความชอบธรรมกรณีของ กกต. ที่ส่งเรื่องร้องเรียนถึงศาลฯ โดยไม่ได้มีการไต่สวนผู้ถูกกล่าวหา หรืองดเว้นหลักการพื้นฐานต่างๆ นี่เป็นเรื่องน่าแปลกในทางกฎหมาย เขาคิดว่าด้วยความที่มีอำนาจมากเกินไปของศาลรัฐธรรมนูญ มันเป็นเรื่องที่น่ากังวลกับทุกๆ เรื่องไม่ได้แค่เรื่อง มาตรา 112 อย่างเดียว</p><div class="note-box"><p>“ศาลเปิดโอกาสให้ได้มายื่นและชี้แจงกับทางศาลเป็นเอกสาร และระบุว่ายิ่งเป็นการให้ความเป็นธรรมมากกว่ากระบวนการสอบสวนของ กกต.ด้วยซ้ำ” บางส่วนของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ระบุถึงการให้ความชอบธรรม กกต.ไม่ต้องทำการไต่สวนพรรคก้าวไกล ก่อนยื่นเรื่อง</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>‘ชัยธวัช’ ชี้ กกต.ยื่นยุบพรรคก้าวไกลไม่เป็นตามขั้นตอนกฎหมายหลักฐานไม่ครบก็ยื่นแล้ว (https://prachatai.com/journal/2024/07/109950)</li></ul></div></div><h2>บทเรียนจากสหราชอาณาจักรประเทศอังกฤษและสิงคโปร์ที่ศาลแทบไม่แทรกแซงการทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ</h2><p>มุนินทร์ ยกบทบาทศาลของอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศต้นกำเนิดระบบกฎหมาย ‘common law’ ซึ่งศาลมีอำนาจมาก แต่แม้ว่ากฎหมายที่ออกมาโดยสภาฯ (House of Commons) จะขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน แต่ศาลจะค่อนข้างจำกัดอำนาจตนเอง การประกาศว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อสิทธิมนุษยชนหรือหลักการพื้นฐานต้องเป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ อย่างยิ่งยวด ศาลไม่ไปก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะว่าฝ่ายนิติบัญญัติใช้อำนาจอธิปไตยในฐานะผู้แทนประชาชน ซึ่งศักดิ์เสมอกัน ดังนั้น กรณีส่วนใหญ่เขาจะใช้คำแนะนำเวลามีคนมาฟ้องศาล โดยจะแนะนำว่ากฎหมายนี้มีปัญหาอย่างไร เพื่อที่จะให้ฝ่ายนิติบัญญัติไปจัดการเอาเอง</p><p>มุนินทร์ กล่าวตัวอย่างที่ชัดเจนอีกประเทศคือสิงคโปร์ โดยชี้ว่า ไม่เคยมีกรณีไหนที่ศาลฎีกาสิงคโปร์ประกาศว่า กฎหมายของนิติบัญญัติเป็นโมฆะหรือไม่มีผลใช้บังคับ แต่มีกฎหมายกรณีหนึ่งที่ศาลบอกว่าน่าจะขัดหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งมันคือการส่งสัญญาณให้ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติไปหาทางแก้ไข โดยเราจะเห็นได้ว่าในประเทศที่ใช้ระบบ ‘common law’ ที่ผู้พิพากษาเป็นใหญ่ ผู้พิพากษาพยายามอย่างมากที่จะกำกับบทบาทตนเอง เพื่อไม่ให้ไปก้าวล่วงเข้าไปในพรมแดนของอำนาจนิติบัญญัติที่เป็นผู้แทนประชาชน</p><p>มุนินทร์ เสริมถึงกรณีการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทสถาบันกษัตริย์ในต่างประเทศว่า ศาลจะไม่เข้าไปยุ่ง โดยเฉพาะเรื่องการล้อเลียน เพราะต่างประเทศมองว่า การเข้าไปยุ่งมันส่งผลกระทบต่อสถาบันกษัตริย์มากกว่าไม่ทำอะไรเลย ฉะนั้น เราควรเรียนรู้จากประเทศที่สถาบันกษัตริย์เข้มแข็งมาก และดำรงอยู่ได้ค่อนข้างกลมกลืนกับสถาบันทางการเมือง และประชาชน โดยเฉพาะในอังกฤษ และญี่ปุ่น</p><p>“ของเราศาลรัฐธรรมนูญคิดว่าการวินิจฉัยแบบนี้คือการพิทักษ์สถาบันกษัตริย์อย่างดีที่สุด แต่มันเป็นการสร้างความขุ่นข้องหมองใจ เพราะเหตุของการยุบพรรคการเมืองเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และเหตุผลต่างๆ ที่ศาลให้ ประชาชนรู้สึกว่าไม่มีน้ำหนัก จึงเลี่ยงไม่ได้ที่สถาบันพระมหากษัตริย์มันจะอยู่บนบทสนทนาของคนจำนวนมากในสังคม ฝังรากอยู่ในหัวเรื่องนี้ตลอด และไม่ช่วยรักษาสถาบันกษัตริย์ให้มั่นคงตามที่ศาลรัฐธรรมนูญบอก” มุนินทร์ กล่าวเสริม</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53940365950_5c6cc10d66_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2567 (ที่มา: ยูทูบประชาไท (https://www.youtube.com/watch?v=5PLd8SOdVCQ&t=1s))</p><h2>ลดอำนาจ 'องค์กรอิสระ' แก้รัฐธรรมนูญ 2560 คือทางออก</h2><p>‘ผมคิดว่ามันยังไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ถ้าหากตัวต้นเหตุของปัญหายังคงเป็นแบบนี้อยู่ ผมคิดว่ารากเหง้าของปัญหาในทางกฎหมาย ก็คือรัฐธรรมนูญปี 2560’</p><p>มุนินทร์ กล่าวว่า สิ่งให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญคือรัฐธรรมนูญปี 2560 ดังนั้น วิธีการจัดการปัญหาคือรัฐธรรมนูญ และเสนอว่า สังคมไทยยังไม่พร้อมมีองค์กรอิสระที่มีอำนาจมากขนาดนี้ ควรลดอำนาจขององค์กรอิสระ และเพิ่มอำนาจของผู้แทนประชาชนมากกว่านี้</p><p>"ผู้แทนประชาชนเราก็เปลี่ยนตัวได้ แต่ประชาชนมีโอกาสเลือกองค์กรอิสระน้อยมาก และรัฐธรรมนูญปี 2560 ก็เอากลไกตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระออกไปแล้ว" มุนินทร์ กล่าว </p><p>อาจารย์ธรรมศาสตร์ กล่าวต่อว่า เขาเริ่มเห็นด้วยว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นต้นตอของปัญหา เพราะว่าองค์กรอิสระทั้งหลายมาจากรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว เราอาจต้องย้อนกลับไปในยุคที่ไม่มีองค์กรอิสระจำนวนมาก เรื่องวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ บางประเทศก็ให้รัฐสภาลงมติได้เลย หรือใช้วิธีการตั้งคณะตุลาการพิเศษวินิจฉัยเป็นครั้งๆ เวลามีเรื่องสำคัญจริงๆ</p><p>"ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 มีเพื่อจำกัดอำนาจของนิติบัญญัติ เพราะว่าเรากังวลเรื่องนักการเมืองทุจริตคอร์รัปชัน และจะคุมไม่ได้ เลยตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาเยอะแยะเต็มไปหมด แต่กลายเป็นว่า องค์กรอิสระเองมันเกิดการคอร์รัปต์ฯ ขึ้นมา เราคุมมันไม่ได้เลย และไปไกลกว่าด้วย คุมการใช้อำนาจก็ไม่ได้ เปลี่ยนตัวก็ไม่ได้จนกว่าจะถึงวาระ เพราะฉะนั้น ต้องไปคิดกันใหม่เรื่ององค์กรอิสระ" มุนินทร์ กล่าว </p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ประจักษ์ ก้องกีรติ: หาฉันทามติทางการเมืองหยุดยั้ง 'ตุลาการธิปไตย' (https://prachatai.com/journal/2024/08/110368)</li><li>'มุนินทร์' มอง ป.ป.ช.ไต่สวนคดี 44 สส.ก้าวไกล เสนอแก้ ม.112 ไม่ถูกผูกมัดด้วยคำวินิจฉัยศาล รธน. (https://prachatai.com/journal/2024/08/110397)</li><li>'ศาลรัฐธรรมนูญ' วินิจฉัย 'เศรษฐา' พ้นจากตำแหน่งนายกฯ คดี 40 สว. ร้องถอดถอน (https://prachatai.com/journal/2024/08/110339)</li></ul></div><p> </p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สัมภาษณ์[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชน[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">มุนินทร์ พงศาปาน[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112" hreflang="th">มาตรา 112[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">ศาลรัฐธรรมนูญ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5" hreflang="th">ยุบพรรคก้าวไกล[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3" hreflang="th">สหราชอาณาจักร[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99" hreflang="th">ญี่ปุ่น[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%8C" hreflang="th">สิงคโปร์[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">แก้ไขรัฐธรรมนูญ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0" hreflang="th">องค์กรอิสระ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">กระบวนการยุติธรรม[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> http://prachatai.com/journal/2024/08/110435 |