[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 20 ธันวาคม 2567 17:08:44



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (3) ดิ้นรนใช้โควตาลาวส่งออกวัว เวียดนามเป็นทางผ่าน
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 20 ธันวาคม 2567 17:08:44
ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (3) ดิ้นรนใช้โควตาลาวส่งออกวัว เวียดนามเป็นทางผ่าน
 


<span>ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (3) ดิ้นรนใช้โควตาลาวส่งออกวัว เวียดนามเป็นทางผ่าน</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2024-12-13T16:54:14+07:00" title="Friday, December 13, 2024 - 16:54">Fri, 2024-12-13 - 16:54</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>กรรณิกา เพชรแก้ว รายงาน</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p class="text-align-center">&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54191416795_eadfd473af_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">วัวเดินบนถนนในแขวงจำปาสัก ประเทศลาว ที่มา<strong>:&nbsp;</strong>นักข่าวพลเมือง</p><p>จากสองตอนที่แล้ว ในขณะที่ไทยกำลังเจรจากับจีนเพื่อกำหนดแนวทางการส่งออกวัว พร้อมจัดการสารพัดโรคสัตว์ ผู้ประกอบการไทยไม่ได้นั่งรอให้สถานการณ์คลี่คลาย แต่กลับดิ้นรนเพื่อพาตนเองให้อยู่ในห่วงโซ่การค้าวัวข้ามพรมแดน</p><p>โดยมีคู่ค้าหลักเป็นลาวในฐานะทางผ่านส่งวัวสู่จีน และเวียดนามในฐานะผู้ซื้อวัว ที่ประชาชนมีกำลังจ่ายเพิ่มขึ้น จากการที่เศรษฐกิจเติบโตรุดหน้าในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (1) ความเสี่ยงสุขภาพที่ต้องแลกเพราะการควบคุมโรคยังไม่รัดกุม (https://prachatai.com/journal/2024/12/111565)</li><li>ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (2) โรคสัตว์ข้ามพรมแดน ภัยเงียบที่มากับวัวเถื่อน (https://prachatai.com/journal/2024/12/111642)</li></ul></div><p>ในปี&nbsp;2564&nbsp;ภายหลังการเกิดรัฐประหารในพม่าหรือเมียนมาเพียงไม่กี่เดือน รัฐบาลลาวให้ข่าวว่าตนได้บรรลุข้อตกลงกับจีนในการส่งออกวัว&nbsp;500,000&nbsp;ตัวต่อปี โดยมีการพูดคุยเรื่องนี้มาระยะหนึ่งแล้ว</p><p>แม้ข้อมูลจากทางการชี้ว่า ลาวผลิตวัวในประเทศมากกว่า 1&nbsp;ล้านตัวต่อปี แต่กลับสามารถส่งออกวัวได้เพียง&nbsp;3,000&nbsp;ตัวในระหว่างเดือน เม.ย.&nbsp;2563-2564&nbsp;และส่งออกได้เพียง 600&nbsp;ตัวหลังจากนั้น จนถึงเดือน ส.ค. ปีนี้</p><p>สาเหตุหลักเกิดจากขนาดวัวที่ผลิตในลาวมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ที่จีนกำหนด เพราะขาดเทคโนโลยีด้านปศุสัตว์ ขณะที่เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวไม่สามารถทำตามข้อกำหนดกักกันโรคสัตว์ที่เข้มงวด</p><p>จีนกำหนดให้วัวที่ส่งออกต้องเป็นสายพันธุ์ลูกผสมพื้นเมือง แองกัส ชาร์โรเล่ส์ บราห์มัน ซิมเมนทอล แบรงกัส หรือพันธุ์พื้นเมืองของไทย ลาว อินเดีย มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า&nbsp;350-400&nbsp;กก. แต่วัวโดยทั่วไปในลาวมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำกว่านั้น</p><p>วัวต้องแข็งแรง กล้ามเนื้อแน่น แผ่นหลังมีเนื้อเต็ม ผิวลื่นสวย ต้องปลอดโรคปากเท้าเปื่อย และโรคติดต่ออื่น ๆ และต้องนำเข้าผ่านรัฐวิสาหกิจของจีนเท่านั้น</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54190075812_bfe054a378_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">รถขนวัวนำสัตว์มาส่งที่ตลาดนัดปศุสัตว์&nbsp;(ที่มา: ณัฐกิตติ์ มีสกุล)</p><p>ส่วนมาตรการกักกันโรค ผู้ส่งออกต้องกักกันวัวในฟาร์มของเกษตรกร 45 วัน ต่อด้วยในศูนย์กักกันที่ชายแดนลาวอีก 21-30 วัน และศูนย์กักกันในเขตชายแดนจีนอีก 7 วัน ผู้ส่งออกต้องรับผิดชอบค่าอาหารของวัวในระยะเวลานี้ เพื่อให้วัวมีน้ำหนักถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้</p><p>นายหน้าค้าวัวข้ามประเทศรายหนึ่งให้ข้อมูลว่า จีนกำหนดให้วัวทั้งหมดต้องถูกส่งไปเมืองสิง ซึ่งมีจุดกักกันและตรวจโรคจุดสุดท้ายก่อนส่งข้ามแดน ทั้งยังมีมาตรการตรวจตราเข้มงวด ซึ่งเพิ่มต้นทุนให้กับพวกตน</p><p>การต่อรองให้จีนผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวไม่เป็นผล ผู้ส่งออกจำนวนมากจึงเลี่ยงส่งวัวไปเส้นทางบ้านนาเตย ห่างจากเมืองหลวงน้ำทาประมาณ 36 กม. จากนั้นต่อไปยังชายแดนลาว-จีนที่บ้านบ่อเต็นเป็นระยะทาง 20&nbsp; กม.</p><p>อีกเส้นทางมุ่งไปยังเมืองยอดอู แขวงพงสาลี ห่างด่านลานตุ้ยของลาว ซึ่งเชื่อมต่อด่านเมืองคำของจีนเป็นระยะทาง&nbsp; 50 กม.</p><p>“เส้นทางทางพงสาลีสะดวกกว่า ผ่อนคลายกว่า การบังคับให้ต้องกักวัวที่เมืองสิงอย่างน้อย 21 วัน ยากที่ใครจะทำได้ แต่ละวันคือต้นทุนอาหารที่เพิ่มขึ้นวันละ 90 บาท ทั้งที่วัวได้น้ำหนักที่ต้องการแล้ว การป้อนอาหารคือสูญเปล่า ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นก็สูญเปล่า” นายหน้ารายนี้เล่า</p><p>“แน่นอนว่ามันมีค่าเบี้ยบ้ายรายทาง&nbsp; แต่ก็ต่ำกว่าค่าอาหารที่จะต้องเลี้ยงวัว”</p><p>&nbsp;</p><h2><strong>ดีลส่งออกวัวไทยไปลาว</strong></h2><p>พ่อค้าวัวไทยเล็งเห็นถึงข้อจำกัดของเกษตรกรลาว จึงจับมือกับกลุ่มทุนและรัฐบาลลาว ส่งวัวไทยไปสวมโควต้าที่ลาวได้รับจากจีน โดยหนึ่งในนั้นคือกลุ่มของ อุทัย ตันกูล นักธุรกิจส่งออกวัวในไทย</p><p>“ลาวยอมรับว่าศักยภาพเขาจำกัด เราไปให้ความรู้ แนะนำวิธีเลี้ยง วิธีให้อาหาร วิธีป้องกันโรค แล้วใช้โควต้าส่งออกของลาวเป็นช่องทางนำวัวเราเข้าไป ใช้ประโยชน์บนเส้นทางนี้ร่วมกัน “ อุทัยเล่า</p><p>เขาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า วัวจากเครือข่ายของตนถูกส่งเข้าไปขุนต่อในลาวเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1,500 ตัว</p><p>อุตสาหกรรมวัวไทยได้ประโยชน์จากการจำหน่ายอาหารสัตว์ให้แก่ลาวด้วยเช่นกัน รัฐบาลไทยยังเริ่มผ่อนปรนให้มีการส่งออกวัวพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไปลาว เพื่อขยายพันธุ์ให้เกษตกรในลาวเลี้ยง</p><p>“กลุ่มเลี้ยงวัวขุนของเราสามารถเข้าไปร่วมทุนเลี้ยงวัวส่งจีนได้ หรือไม่ก็ขายวัวเราไปให้ลาวเลี้ยงต่อเพื่อส่งออกภายใต้โควต้าลาว“ อำนาจ ศรีสมบัติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์กลางกสิกรรม(ประเทศไทย) จำกัด ยืนยัน</p><p>เขาระบุว่า บริษัทของเขาและเครือข่ายสามารถส่งวัวให้ลาวได้ครบโควต้าส่งออกจีนภายใน 3 ปีข้างหน้า</p><p>นอกจากนี้ เกษตรกรวัวขุนในจังหวัดพะเยาประสบความสำเร็จในการเจรจาส่งออกวัวให้ลาวในปีนี้ โดยมีแผนจะส่งวัวกลุ่มแรก 300 ตัว&nbsp; ตรงจุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก อ.ภูซาง ซึ่งติดต่อแขวงไชยบุรีของลาว</p><p>จากนั้น วัวจะผ่านด่านการค้าสากลปางมอนในลาว นำไปกักกันและขุนต่อที่เมืองคอบ&nbsp; ห่างจากชายแดนไทย-ลาวประมาณ 30 กม. แล้วส่งไปตามเส้นทางบ้านแก่งพาก ระยะทางประมาณ 50 กม. ข้ามแม่น้ำโขงไปยังบ้านหาดดอกแก้ว ต่อด้วยเส้นทางบกอีกประมาณ 240 กม. เพื่อไปยังแขวงหลวงน้ำทา และอีก 64 กม.สุดท้ายไปยังเมืองสิง ซึ่งเป็นกักกันและส่งออกวัวไปยังโรงเชือดที่เมืองหม่าในเขตจีน</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54190971831_fc95c091f4_h.jpg" width="1391" height="1104" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ที่มา:&nbsp;กรรณิกา เพชรแก้ว</p><p>กลุ่มคำไพ ชะนะ (Khamphay Sana Group)&nbsp;ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ในลาว จะเป็นผู้นำเข้าวัวจากไทยเป็นหลัก</p><p>เมื่อกลางเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา คำไพ สมซะนะ ประธานกลุ่มได้พบปะกับตัวแทนภาครัฐและเกษตรกรใน จ.พะเยา พร้อมระบุว่าบริษัทของตนได้รับโควต้าจากรัฐบาลลาวเพื่อส่งออกวัวและกระบือไปจีนอย่างละ 3,000 ตัวภายในปีนี้ เป็นการให้โควต้าครั้งแรกเพื่อทดสอบศักยภาพก่อนพิจารณาประเมินจำนวนวัวส่งออกในปีต่อๆ ไป</p><p>“แต่ลาวจะทำฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างพะเยากับไชยะบุรี” คำไพกล่าวในระหว่างการพูดคุย</p><p>อย่างไรก็ตาม การส่งออกต้องชะลอออกไปก่อน พันเอกสมาน คำน้อย แกนนำเกษตรกรวัวเนื้อจังหวัดพะเยา ระบุว่าเป็นเพราะมีโรคปากเท้าเปื่อยระบาดทั้งในฝั่งไทยและลาว</p><p>รายงานของกรมปศุสัตว์ (https://pvlo-utd.dld.go.th/webnew/index.php/th/news-menu-2/livestock-news-menu/1092-2567)เมื่อวันที่ 15 พ.ย. ระบุว่าพบโรคปากเท้าเปื่อยระบาดใน จ.เชียงใหม่ ลำพูน และพังงา จังหวัดที่พบการระบาดแต่สามารถควบคุมได้และอยู่ในระยะ&nbsp;“เฝ้าระวัง”&nbsp;ได้แก่ ลำพูน เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช ลพบุรี สระบุรี สุโขทัย ชัยนาท และพะเยา</p><p>&nbsp;</p><h2><strong>เวียดนาม หนึ่งในคู่ค้าวัวสำคัญ</strong></h2><p>เวียดนามเป็นคู่ค้าวัวของไทยที่เริ่มมีบทบาทสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีตัวเลขการส่งออกจากไทยเฉลี่ยปีละ&nbsp;50,000-70,000&nbsp;ตัว เท่าๆกับปริมาณที่ส่งออกไปลาว</p><p>ข้อมูลของกรมปศุสัตว์ชี้ว่า ในเดือน ม.ค.-มิ.ย. ปีนี้ ไทยส่งออกวัวมีชีวิตมากกว่า&nbsp;50,000&nbsp;ตัว มูลค่า&nbsp;1,299&nbsp;ล้านบาท ไปมาเลเซียร้อยละ&nbsp;39.25&nbsp;เวียดนามร้อยละ 33.47&nbsp;ลาวร้อยละ 26.63&nbsp;และประเทศอื่นๆ ร้อยละ&nbsp;0.65</p><p>อิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่&nbsp;21<strong>&nbsp;</strong>ต.ค. ที่ผ่านมาว่า ยอดส่งออกวัวมีชีวิตของทั้งปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่&nbsp;120,000<strong>&nbsp;</strong>ตัว</p><p>พ่อค้าวัวรายหนึ่งให้ข้อมูลว่า พ่อค้าชาวเวียดนามเข้ามาซื้อวัวถึงตลาดนัดภายในไทย ก่อนหน้านี้เข้ามาถึงตลาดวัวใน จ.ตาก เน้นวัวที่นำเข้าจากเมียนมา</p><p>แต่เมื่อไทยมีคำสั่งชะลอนำเข้าวัวจากเมียนมา พ่อค้าชาวเวียดนามหันไปซื้อวัวจากตลาดนัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ตลาดวารินชำราบใน จ.อุบลราชธานี<strong>,</strong>&nbsp;ตลาดนาเชือกใน จ.มหาสารคาม<strong>,</strong>&nbsp;ตลาดส้มป่อยน้อย อ.อุทุมพรพิสัย และตลาดแยกการช่าง อ.กันทรลักษณ์ ใน จ.ศรีสะเกษ</p><p>จากนั้น พ่อค้าจะนำวัวข้ามพรมแดนไปลาว และส่งต่อไปยังเวียดนามภายในวันเดียว โดยมี จุดข้ามแดนสำคัญคือด่านลาวบาว หรือเรียกกันว่าแดนสะหวัน ในแขวงสะหวันนะเขต และด่านจอลอในแขวงคำม่วน</p><p>วัวไทยจะถูกนำไปบริโภคภายในเวียดนาม หรือส่งออกไปยังจีนผ่านช่องทางที่ไม่เป็นทางการทางตอนเหนือของประเทศ เพราะจีนและเวียดนามยังไม่มีข้อตกลงด้านการส่งออกวัวอย่างเป็นทางการ</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54191416510_c122f52b2e_k.jpg" width="2048" height="1366" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ตลาดค้าวัว Cao Bang ในเวียดนามใกล้ชายแดนจีน&nbsp;(ที่มา:&nbsp;Chris Trinh)</p><p>“ปกติวัวเข้าไปลาวต้องกักตัวเพื่อดูโรคอย่างน้อย&nbsp;21&nbsp;วัน แล้วจึงส่งต่อ แต่วัวจากไทยมีภาพลักษณ์ว่าถูกดูแลมาดี มีวัคซีนครบ เขาจึงเอาข้ามไปเลย” นายสัตวแพทย์เทิดศักดิ์ ญาโณ จากคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว</p><p>“โดยเมื่อไปถึงลาว พักไม่กี่ชั่วโมงก็เดินทางข้ามด่านจอลอ และด่านลาวบาวเข้าไปในเวียดนาม”</p><p>น.สพ.เทิดศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ลักษณะการขนส่งวัวเช่นนี้สร้างความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรคในประเทศทางผ่านและปลายทาง</p><p>การสำรวจตลาดนัดวัวไทยหลายแห่งพบว่าไม่มีเจ้าหน้าปศุสัตว์ประจำ แม้ว่าจะเป็นสถานที่ที่นายหน้าจากเพื่อนบ้านมาเสาะหาวัว</p><p>การป้องกันโรคดำเนินการโดยเจ้าของตลาด ภายใต้มาตรการที่กำหนดโดยกรมปศุสัตว์ เช่น ต้องพ่นยาฆ่าเชื้อวัวทุกตัวที่ออกจากตลาด แต่พบว่าเจ้าของตลาดใช้วิธีต่อท่อให้ยาพ่นละอองระหว่างที่รถบรรทุกวัวผ่านประตู ซึ่งไม่มีการศึกษาที่แน่ชัดว่าวิธีนี้ป้องกันโรคได้จริงหรือไม่</p><p>ทั้งยังไม่มีการตรวจลักษณะและจำนวนวัวว่าสอดคล้องกับข้อมูลในใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์หรือไม่</p><p>ในฐานข้อมูลของกรมปศุสัตว์ (https://me-qr.com/mobile/pdf/cfa6b6fe-5c23-4e04-9324-ef9313e09916) ไทยมีตลาดนัดวัวและกระบือทั่วประเทศ&nbsp;98 แห่งใน&nbsp;36&nbsp;จังหวัด แต่การตรวจสอบของผู้สื่อข่าวพบว่ามีตลาดจำนวนหนึ่งไม่อยู่ในฐานข้อมูลดังกล่าว เช่น ตลาดนัดวัวเชียงหวาง อ.เมือง จ.ยโสธร, ตลาดวัววังประจบ อ.เมือง จ.ตาก,&nbsp;ตลาดวัวชมภูบุตร อ.เมือง และตลาดวัวโพนทอง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด</p><p>ขณะที่ใน จ.ศรีสะเกษ ซึ่งมีการส่งออกวัวไปลาวและเวียดนามประมาณปีละ 6,000&nbsp;พันตัว และมีวัวในจังหวัดมากกว่า&nbsp;500,000&nbsp;ตัว โดยไม่พบชื่อในฐานข้อมูลแต่กลับมีตลาดค้าสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ตลาดส้มป่อยน้อย อ.อุทุมพรพิสัย และตลาดแยกการช่าง อ.กันทรลักษณ์</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54191225893_7f17f8e5c9_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ที่มา:&nbsp;ณัฐกิตติ์ มีสกุล</p><h2><strong>นายหน้า ผู้ถือบังเหียนตัวจริง</strong></h2><p>รายงานศึกษาพฤติกรรมผู้เคลื่อนย้าย หรือนายหน้าค้าวัวในภูมิภาคนี้ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ หัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่านายหน้าเป็นโซ่ข้อสำคัญสุดของเส้นทางการค้านี้ และไวต่อการเปลี่ยนแปลง</p><p>“พวกเขาพร้อมจะปรับตัวและเปลี่ยนเส้นทางการเคลื่อนย้ายวัว เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคและข้อจำกัดใดๆ ยิ่งมีข้อจำกัดมาก ยิ่งผลักดันให้เขาปรับตัวมาก”</p><p>การปรับตัวที่เห็นชัดประการหนึ่งคือ นายหน้าจำนวนหนึ่งที่หาวัวส่งให้ลาว เลิกคาดหวังกับวัวไทย แต่เปลี่ยนไปนำเข้าวัวจากเมียนมาผ่านบริเวณรัฐฉานตอนใต้ แล้วส่งตรงไปยังลาวเพื่อขุนและส่งออกเข้าจีน</p><p>“ใครว่ามีการสู้รบแล้วทำไม่ได้ อาทิตย์ที่แล้วผมเพิ่งส่งวัวข้ามไปลาว&nbsp;1,200&nbsp;ตัว และจะส่งต่อเนื่อง เพราะลูกค้าในจีนออเดอร์ตลอด ที่จริงเขาอยากได้วัวขุนโตเต็มที่จากไทย เพราะต้นทุนจะถูกกว่านำไปขุนต่อในลาว แต่เมื่อไทยมีปัญหา เราก็เดินหน้าของเราแบบนี้” นายหน้ารายหนึ่งกล่าว</p><p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาโนช โพธาภรณ์ คณะเศรษฐศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่&nbsp;ผู้ร่วมศึกษาเส้นทางการค้าวัว (https://www.twai.it/articles/myanmars-trade-live-cattle-china/)ในเมียนมาและจีนระบุว่า นายหน้าค้าวัวจากพม่าทำกำไรจากวัวตัวหนึ่งที่ประมาณ&nbsp;309&nbsp;ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ&nbsp;10,000 บาท</p><p>ขณะที่เกษตรกรขายวัวได้ในราคาเท่ากัน แต่มีต้นทุนการเลี้ยงวัวที่ตัดกำไรจากราคาขายนี้ ส่วนราคาขายที่หน้าด่านจีนอยู่ที่ประมาณ&nbsp;1,100-1,400&nbsp;ดอลลาร์สหรัฐ&nbsp; หรือประมาณ&nbsp;35,000-45,000&nbsp;บาทต่อตัว</p><p>นั่นสะท้อนว่าธุรกิจนี้ นายหน้าได้กำไรคืนมาสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน จากสถานการณ์การเมืองและการค้าที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอ</p><p>ด้วยการค้าวัวข้ามพรมแดนที่ยังทำกำไรได้ดี แน่นอนว่าผู้ประกอบการไทยยังต้องดิ้นรนหาทางอยู่ในห่วงโซ่การค้าต่อไป ไม่ว่าช่องทางการค้าแบบทางการตรงกับจีนจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้หรือไม่ก็ตาม</p><div class="note-box"><p>รายงานนี้เป็นความร่วมมือระหว่างประชาไท กับ&nbsp;Mekong Eye (https://www.mekongeye.com/) ภายใต้การสนับสนุนจาก Internews' Earth Journalism Network</p></div></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศษ[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทศ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" hreflang="th">สิ่งแวดล้อม[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99" hreflang="th">การค้าชายแดน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C" hreflang="th">ปศุสัตว์[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82" hreflang="th">สาธารณสุข[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7" hreflang="th">กรรณิกา เพชรแก้ว[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1" hreflang="th">เวียดนาม[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ลาว[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%87" hreflang="th">แม่น้ำโขง[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->

            <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/12/111688