หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ลุ้นศึกตีความประชามติ 3 หรือ 2 ครั้ง ก่อนเจอด่านหิน ร่วมกดดัน สว.-ภูมิใจไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 21 ธันวาคม 2567 17:01:53 ลุ้นศึกตีความประชามติ 3 หรือ 2 ครั้ง ก่อนเจอด่านหิน ร่วมกดดัน สว.-ภูมิใจไทย
<span>ลุ้นศึกตีความประชามติ 3 หรือ 2 ครั้ง ก่อนเจอด่านหิน ร่วมกดดัน สว.-ภูมิใจไทย</span> <span><span>XmasUser</span></span> <span><time datetime="2024-12-07T13:07:11+07:00" title="Saturday, December 7, 2024 - 13:07">Sat, 2024-12-07 - 13:07</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>สถานการณ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนนี้ มีแววว่าอาจถูกยืดเวลาออกไป หลัง กมธ.ประชามติ มีความเห็นว่าให้กลับไปใช้หลักเกณฑ์ทำประชามติแบบ 2 ชั้น (Double Majority) และสภาฯ มีแนวโน้มสูงจะไม่เอาหลัก 2 ชั้นโดยจะเอากลับไปใช้หลักเกณฑ์ 1 ชั้น (Single Majority) หาก 2 สภาโหวตออกมาไม่ตรงกัน ตามหลักกฎหมายต้องยุติการพิจารณากฎหมายดังกล่าว 6 เดือน จากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงจะโหวตยืนยันได้</p><p>คำถามใหญ่ตอนนี้คือทางเลือกในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ทันสมัยรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ยังพอเป็นไปได้ไหม</p><p>'นิกร จำนง' จากพรรคชาติไทยพัฒนา ยืนยันว่าจากการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ต้องทำประชามติ 3 ครั้ง และมองว่าแก้รัฐธรรมนูญไม่ทันสมัยรัฐบาลนี้แน่นอน แต่คาดหวังเบื้องต้นว่าจะตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ให้ได้ภายในปี 2570 ขณะที่ 'พริษฐ์ วัชรสินธุ' จากพรรคประชาชน เสนอต่างออกไปคือ ทำประชามติ 2 ครั้ง ‘ตอนแก้ ม. 256 ตั้ง สสร.-ครั้งท้าย’ ก็เพียงพอ อีกทั้งไม่ได้ขัดกับคำวินิจฉัย ถ้าทำได้ก็จะได้รัฐธรรมนูญใหม่ก่อนการเลือกตั้งหน้า</p><p>ด้านภาคประชาสังคมเชียร์ทำประชามติ 2 ครั้งเช่นกัน และมองไปไกลด้วยว่าด่านสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่แท้จริง คือ สว.ที่ส่วนใหญ่มีข้อวิจารณ์ว่าถูกฉาบด้วย 'สีน้ำเงิน' เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตั้ง สสร.รัฐธรรมนูญฉบับบนี้ล็อคไว้ว่า ต้องได้เสียง สว.มากกว่า 1 ใน 3</p><h2>เบื้องหลังคำวินิจฉัยเจ้าปัญหา ตีความ 'ประชามติ 3 ครั้ง'</h2><p>ก่อนหน้านี้ในสมัยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อปลายปี 2563 พรรคการเมืองต่างๆ เคยมีความพยายามยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด 7 ฉบับ โดย 3 ฉบับเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 เข้ามาที่รัฐสภาแล้วครั้งหนึ่ง คือ ร่างของภาคประชาชน ร่างของพรรคพลังประชารัฐ และร่างของพรรคเพื่อไทย (ฝ่ายค้าน) แต่ทว่า สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา และไพบูลย์ นิติตะวัน สส.พรรคพลังประชารัฐในขณะนั้น ได้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ารัฐสภามีสิทธิแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจัดตั้ง สสร.หรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า รัฐสภาสามารถแก้ไขได้ แต่ต้องทำประชามติถามประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ‘ก่อน’ ซึ่งนำไปสู่การตีความที่ไม่ตรงกันว่าต้องทำกี่ครั้งกันแน่ อย่างไรก็ดี ในการโหวตของสมาชิกรัฐสภาครั้งนั้นในวาระ 3 ถูก สว.โหวตคว่ำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยใช้ข้ออ้างจากคำวินิจฉัยของศาลนี้เอง</p><p>ทั้งนี้ หากดูใสรายละเอียดคำวินิจฉัยดังกล่าว (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564) จะพบว่า ‘คำวินิจฉัยส่วนตัว’ ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 6 คน จาก 9 คน มองว่าทำประชามติแค่ 2 ครั้งก็เพียงพอ</p><p>ในเวลานั้น เว็บไซต์ iLaw (https://www.ilaw.or.th/articles/43547)ระบุว่า ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 (8) กำหนดไว้แล้วว่า หากแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 โดยเพิ่มหมวด 15/1 เรื่องจัดตั้ง สสร. หลังจากผ่านวาระ 3 แล้ว ก่อนจะบังคับใช้ต้องทำประชามติเสียก่อน เพื่อถามว่าประชาชนว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขตามที่รัฐสภาเห็นชอบหรือไม่ หมายความว่าไม่จำเป็นต้องทำประชามติ ‘ก่อน’ วาระ 1 ตามที่ สว. สมชายและไพบูลย์ กล่าวอ้าง</p><h2>พรรคร่วมเสียงแตก ‘นิกร’ มองต้องประชามติก่อน</h2><p>สำหรับการตีความคำวินิจฉัย 4/2564 ของศาลรัฐธรรมนูญ แม้แต่ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลเองก็มีการตีความที่แตกต่างกัน</p><p>นิกร จำนง สส.จากพรรคชาติไทย พัฒนาเคยให้สัมภาษณ์รายการเจาะลึกทั่วไทย เมื่อ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา อ้างอิงถึงกรณีพริษฐ์ เดินหน้าคุยประธานศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อหาข้อสรุปว่าต้องทำประชามติกี่ครั้งกันแน่ แม้ว่าพริษฐ์ ให้สัมภาษณ์สื่อว่า ระหว่างหารือไม่มีใครพูดถึงการทำประชามติ 3 ครั้ง แต่นิกร เห็นว่าต้องทำประชามติถามประชาชนก่อนว่ามีความประสงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อประชาชน ‘เห็นชอบ’ แล้วจึงค่อยยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มเติมหมวด 15/1 เข้าสภาฯ ดังนั้น เขาจึงสรุปว่าไม่น่าจะได้รัฐธรรมนูญใหม่ภายในสมัยรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร อย่างแน่นอน แต่คาดหวังว่าจะได้ สสร.ภายในปี 2570 ซึ่งต่อให้มีการยุบสภาหรือหมดวาระรัฐบาล สสร.ก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53257907208_57cb2a25b4_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">นิกร จำนง (แฟ้มภาพ เมื่อ 15 ต.ค. 2566)</p><h2>ไทม์ไลน์ประชามติ 3 ครั้ง</h2><p>นิกร นำเสนอไทมไลน์ประชามติ 3 ครั้ง ไว้ดังนี้</p><p><strong>เดือน ธ.ค. 2567</strong> : มติ กมธ.ร่วม 2 สภาคงหลักเกณฑ์ประชามติ 2 ชั้น จะถูกส่งไปยังแต่ละสภา ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา หากสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบกับมติ กมธ.ร่วมฯ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกพับเก็บไว้เป็นระยะเวลา 180 วัน หรือ 6 เดือน หลังครบระยะเวลาดังกล่าว สภาผู้แทนราษฎรสามารถนำกฎหมายมาพิจารณาใหม่ เพื่อยืนยันอีกครั้ง</p><p><strong>กลางปี 2568</strong> : คาดว่า สส.จะผ่านร่างแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ โดยใช้หลักเกณฑ์เพียงชั้นเดียว (Simple Majority)</p><p><strong>ปลายปี 2568-ม.ค.2569</strong> : ทำประชามติครั้งที่ 1 ถามประชาชนว่ามีความประสงค์จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่</p><p><strong>กลางปี 2569-2570</strong> : ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 เรื่อง สสร.</p><p>ประชามติ ครั้งที่ 2 ถามประชาชน รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่อง สสร. ของรัฐสภาหรือไม่</p><p>เลือกตั้ง สสร. และยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่</p><p><strong>ปลายปี 2571</strong> : ทำประชามติครั้งที่ 3 ถามว่าประชาชนว่ารับรองร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่จัดทำโดย สสร.หรือไม่ และคาดว่าจะได้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่</p><h2>'พริษฐ์' ขอลองประชามติ 2 ครั้ง เดินสายคุยหลายฝ่าย</h2><p>หลังมติ กมธ.ร่วมประชามติสภาล่างไม่อาจเอาชนะสภาสูงได้ ทำให้กลับไปเป็นเสียงข้างมาก 2 ชั้นอีกครั้ง พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.พรรคประชาชน ก็ได้เริ่มเดินเกมคุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เริ่มจากหารือประธานศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2567</p><p>พริษฐ์ ให้สัมภาษณ์ถึงการพูดคุยกับตัวแทนศาลรัฐธรรมนูญว่า เป็นการประชุมอย่างเป็นทางการ มีเพียงประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวม 2 คนร่วมประชุมด้วยเท่านั้น ไม่สามารถเป็นบทสรุปจากศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53878854807_9407538435_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">พริษฐ์ วัชรสินธุ (แฟ้มภาพ 25 ก.ค. 2567)</p><p>"ในการหารือนี้ ไม่มีความเห็นเลยว่าต้องทำประชามติ 3 ครั้ง” พริษฐ์กล่าวและเสริมว่า เขาได้ฉายภาพชัดเจนว่าจะทำประชามติหลังการแก้ไข ม.256 เพิ่มหมวด 15/1 จัดตั้ง สสร.ผ่านวาระ 3 ของรัฐสภา และอีกครั้งหนึ่งคือการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหลัง สสร.ยกร่างเสร็จแล้ว</p><p>หลังจากนั้นพริษฐ์ ได้นำข้อหารืออย่างไม่เป็นทางการกับ 2 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไปคุยกับฝั่งประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อโน้มน้าวให้ประธานสภาฯบรรจุวาระการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2 ร่าง คือ ร่างของพรรคก้าวไกล (ปัจจุบันเป็นพรรคประชาชน) และพรรคเพื่อไทย ยื่นไว้เมื่อปี 2567</p><p>ก่อนหน้านี้ประธานสภาระบุว่า เหตุที่ยังไม่บรรจุวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการทำตามคำแนะนำของคณะกรรมการประสานงานและเสนอความเห็นเพื่อประกอบการวินิจฉัยของประธานสภาฯ ซึ่งมีมติเสียงข้างมากไม่ให้บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าต้องทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่อง สสร. ตั้งแต่ก่อนเข้าสภาฯ วาระ 1</p><p>พริษฐ์ กล่าวว่า ตอนนั้นคณะกรรมการที่ให้ความเห็นกับประธานสภาฯ วิเคราะห์เพียงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ‘ฉบับกลาง’ เราเลยบอกกับเขาว่ามันมี 2 ข้อมูลใหม่ที่ควรคำนึงถึงคือ</p><p>1. คำวินิจฉัยรายบุคคลของตุลาการ 9 คน เป็นข้อมูลทางการเผยแพร่ในศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่าความเห็นส่วนใหญ่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมองว่าทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอ</p><p>2. ข้อหารือที่ได้จากประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่เป็นทางการ ที่เพิ่งไปหารือมา</p><p>“ประธานสภาและคณะกรรมการแจ้งมาว่า ถ้าอยากจะให้ประธานสภาวินิจฉัยใหม่ว่าบรรจุได้หรือไม่ ให้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพิ่มหมวด 15/1 เรื่อง สสร.เข้ามาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยด้วยข้อมูลใหม่”</p><p>“สิ่งที่ผมจะทำคือจะนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง สสร.เข้าไปอีกรอบหนึ่ง เพื่อจะเข้าสู่กระบวนการที่ประธานสภามาวินิจฉัยอีกครั้ง แต่ว่ารอบนี้จะมีการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่เข้ามา คือความเห็นรายบุคคลตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และข้อมูลการประชุมประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการ อย่างไม่เป็นทางการ” พริษฐ์ กล่าว</p><p>อย่างไรก็ดี บีบีซีไทย (https://www.bbc.com/thai/articles/c8rlzy0xnrko) สัมภาษณ์ ว่าที่ ร.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานและเสนอความเห็นเพื่อประกอบการวินิจฉัยของประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า จะนำข้อมูลใหม่ที่ได้จากพริษฐ์ไปประกอบการพิจารณา ข้อมูลที่ได้รับมาทั้ง 2 ส่วน มีโอกาสที่คณะกรรมการฯ จะกลับมติ เพราะข้อมูลใหม่นี้ทำให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีความกระจ่างมากยิ่งขึ้น</p><h2>กลัวทดลองไม่ได้ผล เสียเวลาตั้ง สสร.ไม่ทันรัฐบาลนี้</h2><p>ด้าน นิกร ได้แสดงความเป็นห่วงว่า การทดลองของพริษฐ์ที่จะผลักดันการทำประชามติ 2 ครั้ง อาจซ้ำรอยเหตุการณ์สมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วโดนคว่ำ ต้องเสียเวลา 4 เดือน และอาจทำให้กระบวนการต้องวนใหม่ ซึ่งจะพลาดพลั้งตั้ง สสร.ไม่ทันภายใน 2570 ไปด้วย</p><p>ขณะที่พริษฐ์ชี้แจงว่า การผลักดันประชามติ 2 ครั้ง จะไม่มีเสียเวลาเพิ่ม แต่จะ ‘เท่าทุน’ และแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เร็วขึ้น หากประชามติ 2 ครั้ง โดยให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 คู่ขนานไปกับร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งกำลังถูกเก็บเข้ากรุ 6 เดือน มีโอกาสที่จะทำประชามติครั้งแรกภายในปลายปี 2568 เพื่อถามประชาชนจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 โดยเพิ่มหมวด 15/1 หรือไม่ ซึ่งหากสำเร็จหมายความว่าจะประหยัดเวลาไปประมาณ 1 ปี แต่ถ้าหากไม่สำเร็จ ก็สามารถกลับมาใช้ประชามติ 3 ครั้งเหมือนเดิม</p><h2>ไทม์ไลน์ประชามติ 2 ครั้ง</h2><p>ประชามติ 2 ครั้งจากข้อเสนอภาคประชาชนมีไทมไลน์ ดังนี้ <strong>ปลายปี 2567-กลางปี 2568</strong> : สภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นด้วยกับมติของ กมธ.ร่วมฯ ทำให้ร่างกฎหมายประชามติถูกดอง 180 วันก่อนสภาผู้แทนหยิบมาพิจารณาได้ใหม่ ในเวลาเดียวกันนี้ ให้มีการยื่นบรรจุวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 เรื่อง สสร.</p><p><strong>ปลายปี 2568</strong> : หลัง พ.ร.บ.ประชามติผ่านสภาฯ และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 ผ่านวาระ 3 แล้ว ให้เริ่มทำประชามติครั้งแรก โดยถามประชาชนว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 เรื่องการจัดตั้ง สสร. หรือไม่</p><p><strong>ปี 2569</strong> : หากประชาชน ‘เห็นชอบ’ ให้มีการเลือกตั้ง สสร. เพื่อมาทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยใช้เวลาตลอดทั้งปี</p><p><strong>ปี 2570</strong> : ทำประชามติอีกครั้ง เพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญใหม่จาก สสร. ซึ่งจะเสร็จก่อนเลือกตั้ง</p><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54218265305_f6221f4534_b.jpg" width="819" height="1024" loading="lazy">กราฟิกเทียบกันระหว่าง การทำประชามติ 2 และ 3 ครั้ง</p><h2>เตรียมเผชิญด่าน สว. เมื่อต้องแก้รัฐธรรมนูญ ตั้ง สสร.</h2><p>ไม่ว่าจะประชามติ 3 หรือ 2 ครั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อให้มี สสร.ก็ต้องการเสียงสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 3 หรือ 67 เสียง ขณะที่เป็นที่กล่าวถึงกันทั่วว่า สว.ส่วนใหญ่เอนเอียงไปในทางเดียวกับจุดยืนพรรคภูมิใจไทย จนสื่อมวลชนขนานนาม ‘สว.สีน้ำเงิน’</p><p>สส.พรรคประชาชน ยอมรับว่า เรื่อง สว.จะเป็นด่านถัดไป และไม่ปฏิเสธว่าเป็นด่านสำคัญ โดย กมธ.พัฒนาการเมืองฯ จะมีการออกหนังสือขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อหารือให้เห็นตรงกันกับแนวทางการทำประชามติ 2 ครั้ง หากสำเร็จจะได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา และหวังด้วยว่าหัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลจะไปคุยกับ สว. ให้เห็นตรงกัน และช่วยโหวตสนับสนุน</p><p>“ผมเชื่อว่าหัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลบางพรรค อาจจะมีความสามารถในการโน้มน้าว สว.ได้ดีกว่าผม” พริษฐ์ กล่าว</p><p>ณัชปกร นามเมือง สมาชิกคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (CALL) ให้ความเห็นว่า ตัวอย่างกรณีที่เห็นชัดคือท่าทีของตัวแทนของ สส.พรรคภูมิใจไทย 2 คนใน กมธ.ร่วมกันพิจารณา พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งตั้งแต่การประชุมครั้งแรก สส.พรรคภูมิใจไทย ยกมือให้ สว.ได้เป็นประธาน กมธ.ร่วมฯ ขณะที่ในการลงมติตัดสินว่าจะเลือกระหว่างหลักเกณฑ์ 2 ชั้น หรือ 1 ชั้น สส.พรรคภูมิใจไทย ก็ ‘งดออกเสียง’</p><p>สมาชิก CALL ประเมินท่าทีพรรคภูมิใจไทยว่า เรื่องนี้อาจจะไม่ได้หมายความว่าพรรคภูมิใจไทย ไม่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ เขาเชื่อว่าภูมิใจไทยก็อยากแก้ เนื่องจากพรรคใดก็ตามที่ขึ้นมาเป็นรัฐบาล ก็จะเผชิญปัญหาเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐบาลเหมือนกันหมด แต่สิ่งที่ภูมิใจไทยพยายามทำคือ ทำยังไงที่จะเข้าไปแทรกแซงกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านการใช้กลไกวุฒิสภา</p><p>"ผมกลัวว่ามันจะเกิดเหมือนกับสมัยที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ คือมี สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งจริง แต่ว่ามีแต่งตั้งผสมมาด้วย และมีช่องทางให้พลพรรคของตัวเองเข้าช่องมาได้ ซึ่งมันจะทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่กลายเป็นเพียง 'พิธีกรรม'" ณัชปกร กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53138474864_9f465430e5_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ณัชปกร นามเมือง (แฟ้มภาพ เมื่อ 23 ส.ค. 2566)</p><h2>‘รัฐบาล-ประชาชน’ ต้องร่วมกันกดดันพรรคภูมิใจไทย</h2><p>ณัชปกร กล่าวว่า เขาเสนอว่าพรรคร่วมรัฐบาลอื่นต้องกดดันให้พรรคภูมิใจไทยเอาด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดย สสร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% หากภูมิใจไทยไม่ร่วมสังฆกรรม ก็ต้องยื่นเงื่อนไขปรับคณะรัฐมนตรี แต่จะสำเร็จไม่ ยังไม่ทราบ</p><p>ณัชปกร เสนอเพิ่มว่า อีกคีย์แมนสำคัญคือ 'ประชาชน' ที่จะต้องมาร่วมกดดัน สว. และทุกองคาพยพ โหวตลงมติ ‘เห็นชอบ’ แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยผ่านการเลือกตั้ง สสร. 100% แต่การกดดันที่ผ่านมาอาจยังไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนัก</p><p>ณัชปกร มองว่า ส่วนหนึ่งประชาชนทั่วไปอาจยังไม่เห็นปัญหาของ สว. ไม่เหมือนสมัย 250 สว.ที่แต่งตั้งจากคณะรัฐประหาร และปัญหาความไม่เป็นเอกภาพระหว่างผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย และผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกล ทั้งที่ทุกคนต่างได้รับผลกระทบจากรัฐธรรมนูญชุดนี้</p><p>"ผมคิดว่าการเคลื่อนไหวของประชาชนคนทั่วไป ภาคประชาสังคม หรือสื่อมวลชน อันนี้แหละเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่มันเดินหน้า เพราะคาดหวังกับพรรคเพื่อไทยตอนนี้ก็ยากเพราะว่าเขาก็เปราะบาง จะไปเจรจาต่อรองกับภูมิใจไทยก็ยากเพราะรู้สึกว่าเขาถือไพ่เหนือกว่า ครั้นเราจะไปคาดหวังกับพรรคฝ่ายค้าน ก็ยากเข้าไปใหญ่ เพราะว่ามีจำนวน สส.มากจริง แต่ไม่มีอำนาจมากขนาดนั้น เพราะฉะนั้น ประชาชนทุกภาคส่วนต้องจับมือกันและกดดันให้ 3 องคาพยพ มันเดินหน้าต่อไปได้" ณัชปกร กล่าวทิ้งท้าย </p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศษ[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%87" hreflang="th">นิกร จำนง[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8" hreflang="th">พริษฐ์ วัชรสินธุ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">ณัชปกร นามเมือง[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">ประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">แก้รัฐธรรมนูญ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคภูมิใจไทย[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาชน[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/call" hreflang="th">CALL[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2" hreflang="th">สมาชิกวุฒิสภา[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> http://prachatai.com/journal/2024/12/111619 |