[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 04 มกราคม 2568 16:20:09



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'ผ่านด่านแรก' แก้ รธน. จับตา 14 ม.ค. สรุปทุกมุม หลังประธานสภาบรรจุวาระ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 04 มกราคม 2568 16:20:09
'ผ่านด่านแรก' แก้ รธน. จับตา 14 ม.ค. สรุปทุกมุม หลังประธานสภาบรรจุวาระ
 


<span>'ผ่านด่านแรก' แก้ รธน. จับตา 14 ม.ค. สรุปทุกมุม หลังประธานสภาบรรจุวาระ</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-01-03T19:02:13+07:00" title="Friday, January 3, 2025 - 19:02">Fri, 2025-01-03 - 19:02</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><div class="summary-box"><ul><li>'ผ่านด่านแรก' ประธานรัฐสภาบรรจุร่างแก้ไข รธน. มาตรา 256 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตั้ง สสร.แล้ว คาดเข้ารัฐสภา 14-15 ม.ค.นี้&nbsp;'พริษฐ์' มองตัวแปรหลักอยู่ที่เสียง สว. 1 ใน 3</li><li>ด้าน ‘ชูศักดิ์’ เผยเตรียมนำฉบับเพื่อไทย ขอความเห็นชอบที่ประชุม สส. 7 ม.ค.นี้ ยืนยันไม่กังวลหากมีคนร้องปฏิบัติหน้าที่มิชอบ</li><li>ส่วน ‘นิกร’ ติงฉบับพรรคประชาชนตัดอำนาจ สว. อาจทำสองสภาร้าวลึก ด้าน ‘จุรินทร์’ ไม่รับปากสนับสนุนหรือไม่ พิจารณาเป็นรายฉบับ แตะหมวด 1- 2 ไม่เห็นชอบ</li></ul></div><p>ถือว่าเป็นกระแสข่าวดีของฝ่ายสนับสนุน&nbsp;ประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ครั้ง&nbsp;หลังจากที่พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.จากพรรคประชาชน เดินสายหารือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายฝ่ายแบบไม่พัก ไม่ว่าจะเป็นชูศักดิ์ ศิรินิล พรรคเพื่อไทย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงคณะกรรมการของประธานรัฐสภา เพื่อผลักดันให้มีการบรรจุวาระร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 เข้าที่ประชุมรัฐสภา หวังเป็นใบเบิกทางสู่การทำประชามติ 2 ครั้ง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จทันก่อนเลือกตั้งปี 2570&nbsp;

ก้าวนี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญ เพราะก่อนหน้านี้มีประเด็นทางกฎหมายที่เห็นไม่ตรงกันหลายฝ่ายว่าจะต้องทำประชามติ 2 หรือ 3 ครั้ง เหตุสืบเนื่องจากในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปลายปี 2563 พรรคการเมืองต่างๆ เคยมีความพยายามยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.256 เพื่อจัดตั้ง สสร.มาแล้ว ทว่า สมชาย แสวงการ สว.ในขณะนั้น และไพบูลย์ นิติตะวัน สส.พรรคพลังประชารัฐ&nbsp; ได้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐสภามีสิทธิแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจัดตั้ง สสร.โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า รัฐสภาสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญ 256 ได้ แต่ต้องทำประชามติถามประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ‘ก่อน’ ซึ่งนำไปสู่การตีความที่ไม่ตรงกันว่าต้องทำกี่ครั้งกันแน่</p><p>นั่นเป็นเหตุให้ก่อนหน้านี้คณะกรรมการของประธานรัฐสภายืนยันไม่ให้บรรจุวาระก่อนหน้านี้ เพราะเกรงว่าหากบรรจุวาระแก้ ม.256 โดยไม่มีการทำประชามติก่อนอาจจะขัดคำวินิจฉัยของศาล</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ลุ้นศึกตีความประชามติ 3 หรือ 2 ครั้ง ก่อนเจอด่านหิน ร่วมกดดัน สว.-ภูมิใจไทย (https://prachatai.com/journal/2024/12/111619)</li></ul></div><p>&nbsp;</p><p>ล่าสุด 3 ม.ค. 2568&nbsp;พริษฐ์&nbsp; (https://www.facebook.com/photo?fbid=1133538381474279&amp;set=a.477705887057535)โพสต์ข้อความยืนยันว่า วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ได้บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 โดยเพิ่มหมวด 15/1 เรื่อง สสร. ซึ่งพรรคประชาชนได้เสนอไว้ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาแล้ว คาดว่าจะมีการพิจารณาประมาณวันที่ 14-15 ม.ค.นี้</p><h2>เปิดเนื้อหา สสร. ฉบับพรรคประชาชน-&nbsp;ตัดเสียง สว. 1 ใน 3</h2><p>เว็บไซต์&nbsp;เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (https://www.matichon.co.th/politics/news_4981576) ได้เปิดเผยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 ว่าด้วยการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอโดย พริษฐ์ และคณะจากพรรคประชาชน ตั้งแต่เมื่อ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา</p><p>โดยมีสาระที่น่าสนใจ คือ การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ระบุว่า การออกเสียงในชั้นรับหลักการ วาระที่ 1 และออกเสียงเห็นชอบร่างกฎหมาย วาระที่ 3 กำหนดให้ใช้เสียง ‘เห็นชอบ’ ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของรัฐสภา <strong>โดยมีการ&nbsp;ตัดเงื่อนไข&nbsp;ออก คือ วาระ 1 และวาระ 3 ไม่ต้องใช้เสียง สว.1 ใน 3&nbsp; แล้ว โดยเปลี่ยนเงื่อนไขเป็น ‘ต้องใช้เสียง สส. ‘เห็นชอบ’ จำนวน 2 ใน 3’ แทน</strong></p><h2>สสร. เลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด</h2><p>ต่อมา ในหมวด 15/1 ว่าด้วยที่มาของ สสร. กำหนดให้มีสมาชิกทั้งหมดจำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนทั้งหมด โดยสามารถแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบ่งเป็นการเลือกตั้งสมาชิกแบบแบ่งเขต 100 คน และการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน อ้างอิงเขตเลือกตั้งจากการเลือกตั้ง กกต. ส่วนทีมที่ลงสมัครต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 20 คน แต่ไม่เกิน 100 คน</p><p>คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นสมาชิก สสร. ต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในส่วนของ&nbsp;ข้อห้ามระบุไว้ 13 ข้อ เช่น เป็นข้าราชการการเมือง เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ เป็นสมาชิกสภาหรือผู้บริหารท้องถิ่น เป็น สส. หรือ สว. หรือรัฐมนตรี ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าทุจริตการเลือกตั้ง เป็นต้น</p><p>ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตในเรื่องข้อห้ามนั้นเป็นการอ้างอิงจากข้อห้ามในลงสมัครรับเลือกตั้ง สส.ครั้งล่าสุด ยกเว้นข้อที่ระบุว่า อยู่ระหว่างต้องห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อยู่ระหว่างถูกระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวหรือถูกถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้ง เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นกิจการสื่อมวลชนและหนังสือพิมพ์</p><p>นอกจากนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่มีเหตุให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง กกต.ต้องรับรองผลภายใน 15 วัน</p><h2>ให้เวลา 360 วันยกร่างรัฐธรรมนูญ</h2><p>ในบทบัญญัติว่าด้วยการทำงานของ ส.ส.ร. ต้องเรียกประชุมภายใน 15 วันหลังจากวันประกาศแต่งตั้ง ส.ส.ร. และให้จัดทำและยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกำหนดเวลาให้ทำเสร็จสิ้นภายใน 360 วันนับจากวันประชุมครั้งแรก</p><p>ในการยกร่างตั้งต้น กำหนดให้ สสร. แต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.)&nbsp; เพื่อทำหน้าที่ยกร่างตามแนวทางที่สสร. กำหนด&nbsp; กมธ.ดังกล่าวให้มีจำนวน 45 คน ในจำนวนี้ 30 คนต้องเป็นสมาชิก สสร. และเปิดให้คนนอกที่เชี่ยวชาญ เหมาะสมอีก 15 คน</p><p>อย่างไรก็ตาม หาก สสร. ทำไม่เสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนดให้สิ้นสุดสมาชิกภาพ แล้วให้รัฐสภาตั้ง สสร.ใหม่ภายใน 60 วัน</p><ul><li aria-level="1">หากสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดอายุ หรือมีการยุบสภาฯ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการของสภาร่างรัฐธรรมนูญ</li><li aria-level="1">การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อการเปลี่ยนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข หรือมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ จะไม่สามารถทำได้</li></ul><p>ในส่วนของขั้นตอนเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้น กำหนดว่า สสร.ต้องเสนอรัฐสภา เพื่อให้มีการอภิปรายแสดงความเห็น&nbsp;แบบไม่ลงมติ&nbsp;ภายใน 7 วันหลังร่างเสร็จ จากนั้น กกต.จะนำร่างดังกล่าวไปจัดทำประชามติ ภายในเวลา 90-120 วัน พร้อมกำหนดการตั้งคำถามประชามติ บนหลักการชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ชี้นำ และเป็นกลางต่อทุกฝ่าย</p><p>กรณีที่ผลประชามติ ‘เห็นชอบ’ ให้ประธาน สสร.นำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่หากประชามติ ‘ไม่เห็นชอบ’ ให้ถือว่าตกไป พร้อมกำหนดบทที่ใช้บังคับกรณีที่การจัดทำรัฐธรรมนูญนั้นตกไปด้วยว่า ให้สิทธิสมาชิกรัฐสภาเสนอญัตติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ 1 ครั้งในสมัยของรัฐสภา โดยใช้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ และต้องมี สส.เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ทั้งนี้ บุคคลที่เป็น สสร.มาแล้ว จะเป็น สสร.อีกไม่ได้</p><p>ส่วนการจัดทำ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ต้องจัดทำทันทีหลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และต้องทำแล้วเสร็จภายใน 180 วัน แต่หากทำไม่เสร็จตามกรอบเวลาให้เป็นอำนาจของรัฐสภาดำเนินการต่อ</p><p>ทั้งนี้ ร่างของพรรคประชาชนยังกำหนดเพิ่มเติมว่า ภายในระยะเวลา 5 ปี ที่สมาชิกภาพ สสร.สิ้นสุดลลง ห้ามดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สส. สว. สมาชิกสภาหรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้พิพากษาศาลฎีกา ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ และอัยการสูงสุด</p><h2>ที่ปรึกษา ‘แพทองธาร’ มองทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอ</h2><p>ช่วงกระแสที่ผ่านมา มีคนการเมืองออกมาร่วมให้ความเห็นเกี่ยวกับการเดินเกมของพรรคประชาชน เพื่อบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เข้าที่ประชุมรัฐสภาหลายส่วน</p><p>ขอย้อนไปเมื่อปี 2566 เริ่มจากคนแรกคือ&nbsp;พงศ์เทพ เทพกาญจนา (https://www.thaipbs.or.th/news/clip/195893) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ‘บ้านพิษณุโลก’&nbsp;เคยเสนอความเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจัดทำฉบับใหม่ ทำประชามติ 2 ยกก็เพียงพอ ซึ่งเป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 พร้อมทั้งลงลึกในรายละเอียดความเห็นเสียงข้างมาก ของตุลาการ 6 เสียง ซึ่งยืนยันเหมือนกันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจัดทำฉบับใหม่ ทำได้ และทำประชามติแค่ 2 รอบก็พอ</p><p>ต่อมา ในช่วงปลาย ธ.ค. 2567 พงศ์เทพ (https://www.facebook.com/photo?fbid=1133538381474279&amp;set=a.477705887057535) ร่วมกับพริษฐ์ ชี้แจงให้คณะกรรมการของประธานรัฐสภา ซึ่งส่งผลให้ท้ายที่สุดประธานสภามีการบรรจุร่างของพรรคประชาชน</p><h2>'นิกร' ให้กำลังใจ แต่หวั่นสงครามสองสภาร้าวลึก เหตุตัดอำนาจ สว.</h2><p>นิกร จำนง (https://www.matichon.co.th/politics/news_4981192) จากพรรคชาติไทยพัฒนา ให้สัมภาษณ์หลังมีข่าวว่าประธานรัฐสภาบรรจุร่างพรรคประชาชนว่า เขาก็เอาใจช่วย แต่มองว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีปัญหาอุปสรรคด้านนิติศาสตร์ และอาจมีสมาชิกรัฐสภายื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าทำได้หรือไม่ เหมือนปี 2563 ที่สมาชิกรัฐสภายื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเนื่องจากกังวลว่า การลงคะแนนสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่หากไม่ทำประชามติก่อน ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัด ก็อาจมีความเสี่ยงถูกร้องมาตรา 157 หรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และผิดมาตรฐานจริยธรรม นำไปสู่การถอดถอนภายหลัง</p><p>นิกร มองฉากทัศน์ว่า ตัวร่างกฎหมายน่าจะผ่านวาระที่ 1 ยาก แต่ถ้าผ่านไปได้ในชั้น กมธ. ก็น่าจะเจอแรงต้านสูง เนื่องจากลดอำนาจการออกเสียงของ สว. นอกจากนี้ เขายังเตือนว่าการยื่นร่างของพรรคประชาชน จะทำให้ความขัดแย้งระหว่าง สส. และ สว.รุนแรง อภิปรายกันหนัก ดังนั้น เขาอยากให้ระวังผลกระทบที่ตามมา นอกจากจะไม่ได้อะไร ยังมีแต่ทำให้เกิดบาดแผลความขัดแย้งที่ลงลึกไปอีก</p><p>อย่างไรก็ดี ในการโหวตของสมาชิกรัฐสภาครั้งนั้นในวาระ 3 ถูก สว.โหวตคว่ำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยใช้ข้ออ้างจากคำวินิจฉัยของศาลนี้เอง</p><h2>'เพื่อไทย' เตรียมหารือที่ประชุม สส. 7 ม.ค.นี้</h2><p>วิสุทธิ์ ไชยณรุณ (https://www.bangkokbiznews.com/politics/1160480) สส.พรรคเพื่อไทย และผู้ประสานงานวิปรัฐบาล ให้สัมภาษณ์ว่า ชูศักดิ์ ศิรินิล หัวหน้าทีมกฎหมายจะนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ฉบับพรรคเพื่อไทย เข้าที่ประชุมและชี้แจงต่อ สส.ในวันที่ 7 ม.ค.นี้ เพื่อขอความเห็นชอบก่อน หากผ่านมติ สส.พรรค จะมีแผนเสนอต่อประธานรัฐสภาในวันที่ 8 ม.ค. ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่ประธานรัฐสภาได้นัดหารือวิป 3 ฝ่าย เพื่อกำหนดวันและกรอบในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ</p><p>ส่วนกรณีที่อาจจะมีคนไปยื่นร้องเรียนมาตรา 157 วิสุทธิ์ มองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะว่าเป็นการตรวจสอบถ่วงดุลตามกฎหมาย และรัฐบาลยินดีให้ตรวจสอบ</p><p>เช่นเดียวกับชูศักดิ์ ที่ให้สัมภาษณ์สื่อไปในแนวทางเดียวกับวิสุทธ์ว่า ถ้าบรรจุไปแล้ว แล้วมีคนไปร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็ถือเป็นเรื่องที่ดี จะได้ชัดเจนไปเลยว่าต้องทำประชามติ 2 หรือ 3 ครั้ง และหากทำ 2 ครั้ง ก็จะมีโอกาสแก้รัฐธรรมนูญเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้&nbsp;</p><p>ทั้งนี้ เมื่อต้นปี 2567 พรรคเพื่อไทยเคยพยายามขอมติรัฐสภาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ชัดเจนว่า ประธานสภาฯ สามารถบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 โดยที่ไม่ต้องทำประชามติก่อนได้หรือไม่ แต่เมื่อไปถึงที่ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ เม.ย. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ไม่รับพิจารณา เพราะเคยมีคำวินิจฉัยไปแล้ว</p><p>เมื่อถามถึงกรณีนิกร จำนง ให้ความเห็นว่า การแก้มาตรา 256 โดยไม่ทำประชามติก่อนเสี่ยงจะถูกร้องกฎหมายอาญามาตรา 157 นั้น ชูศักดิ์ ตอบว่า เราทำตามอำนาจหน้าที่ของสภา ไม่ต้องวิตกกังวล ที่ผ่านมาเราคิดเรื่องนี้กันมาก แต่ลืมไปว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของสภา เราก็ทำโดยสุจริตไม่ต้องกลัวอะไร ใครจะร้องก็ว่ากันไป</p><h2>'จุรินทร์' ขอดูก่อน แตะหมวด 1 กับ 2 หรือไม่</h2><p>จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (https://www.facebook.com/photo/?fbid=957275689927800&amp;set=a.534942252161148) สส.พรรคประชาธิปัตย์ หนึ่งในคนที่ถูกสื่อถามความเห็นหลังประธานรัฐสภาบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เขามองว่า ต้องพิจารณาเป็นรายฉบับ และต้องดูหลายส่วนประกอบกัน</p><p>ประการแรก ดูว่าเรื่องขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาโดยไมทำประชามติ</p><p>ประการที่สอง ต้องดูว่าการแก้ไขแตะหมวด 1 และ 2 (หมวดพระมหากษัตริย์) หรือไม่ หากแตะก็ไม่เห็นชอบ</p><p>ประการที่สาม ดูเนื้อหาว่ามีความเหมาะสมและนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นหรือไม่</p><p>ประการที่สี่ แก้แล้วทำให้มาตรฐานเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตและมาตรฐานจริยธรรมหรือมาตรฐานทางการเมืองของประเทศลดต่ำลงหรือไม่</p><p>ต่อประเด็นที่สื่อถามว่าคิดเห็นอย่างไรกับ สว.ที่อาจจะไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจุรินทร์ เชื่อว่า วุฒิสมาชิกจะลงมติอย่างไรก็ต้องมีเหตุผลอยู่แล้ว</p><p>จุรินทร์ กล่าวด้วยว่า ส่วนเรื่องพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญควรเป็นสิทธิของแต่ละพรรค เพราะว่าแต่ละพรรคอาจมีจุดยืนเรื่องรัฐธรรมนูญที่แตกต่างกัน ส่วนจะมีคนไปร้องเรียนหรือไม่ ไม่อาจคาดเดาได้</p><h2>ตัวแปรหลักยังอยู่ที่เสียง สว.</h2><p>พริษฐ์ มองว่า ต้องจับตาดูวันที่ 14-15 ม.ค.นี้ เพราะฝั่งสนับสนุนประชามติ 2 ครั้ง จะต้องเผชิญด่าน 2 คือ การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวในวาระที่ 1 ต้องอาศัยเสียงสนับสนุนจาก สส. และเสียง สว.อย่างน้อย 1 ใน 3 (67 เสียง)</p><p>พริษฐ์ ประเมินว่า การได้เสียงสนับสนุนจาก สส.ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะมีแนวร่วมจากฝั่งรัฐบาล และการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่เป็นนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อประชาชนไว้แล้ว&nbsp; แต่การได้เสียงสนับสนุนจาก สว. เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ยากกว่า หรือมีความท้าทายมากกว่า</p><p>"มารอดูกันว่าใน 12 วันข้างหน้านี้ นายกฯ จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำและความจริงใจต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร เพื่อทำให้พรรคร่วมรัฐบาลร่วมกันผลักดันนโยบายเรือธงของรัฐบาลเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้ประสบความสำเร็จตามที่ได้เคยสัญญาไว้กับประชาชน" พริษฐ์ กล่าว&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศษ[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8" hreflang="th">พริษฐ์ วัชรสินธุ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A5" hreflang="th">ชูศักดิ์ ศิรินิล[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%B2" hreflang="th">พงศ์เทพ เทพกาญจนา[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C-%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93" hreflang="th">วิสุทธ์ ไชยณรุณ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคเพื่อไทย[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C" hreflang="th">พรรคประชาธิปัตย์[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2" hreflang="th">พรรคชาติไทยพัฒนา[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%87" hreflang="th">นิกร จำนง[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาชน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">แก้รัฐธรรมนูญ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4-2-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87" hreflang="th">ประชามติ 2 ครั้ง[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">สภาร่างรัฐธรรมนูญ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%A3" hreflang="th">ส.ส.ร.[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->

            <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/01/111896