หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เด็กๆ เมียนมาหนีสงคราม การโอบรับและข้อท้าทายโรงเรียนชายแดน เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 06 มกราคม 2568 00:43:13 เด็กๆ เมียนมาหนีสงคราม การโอบรับและข้อท้าทายโรงเรียนชายแดน
<span>เด็กๆ เมียนมาหนีสงคราม การโอบรับและข้อท้าทายโรงเรียนชายแดน </span> <span><span>XmasUser</span></span> <span><time datetime="2025-01-04T14:43:06+07:00" title="Saturday, January 4, 2025 - 14:43">Sat, 2025-01-04 - 14:43</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงาน ณัฐพล เมฆโสภณ</p><p>ภาพประกอบ คชรักษ์ แก้วสุราช </p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><div class="summary-box"><ul><li aria-level="1">เวลาพูดถึง อ.แม่สอด จ.ตาก หลายคนนึกถึงเมืองเศรษฐกิจชายแดนด้านตะวันตก เชื่อมต่อนครย่างกุ้ง ของเมียนมา แต่อีกด้านหนึ่ง จ.ตาก เป็นจังหวัดที่มีศูนย์การเรียนลูกหลานแรงงานข้ามชาติที่มากที่สุดในประเทศไทย</li><li aria-level="1">3 ปีหลังรัฐประหารในเมียนมาและผลกระทบจากสงครามกลางเมือง ทำให้จำนวนนักเรียนในศูนย์การเรียนเพิ่มขึ้น และผู้ปกครองชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ เริ่มคิดถึงการอยู่ในประเทศไทยในระยะยาว ทั้ง 2 ปัจจัยเป็นข้อท้าทายสำหรับผู้ให้บริการด้านการศึกษาในแม่สอด</li><li aria-level="1">แม้ว่าศูนย์การเรียนเข้าถึงง่าย แต่การสอนในหลักสูตรพม่าก็ทำให้นักเรียนศึกษาในมหาวิทยาลัยไทยได้ยาก ขณะที่การเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐ ข้อดีคือสามารถเข้ามหาวิทยาลัยไทย แต่ต้องมีความรู้ภาษาไทย ทำให้เด็กๆ ชาวเมียนมาเข้าถึงยาก</li><li aria-level="1">ช่วงที่ผ่านมาศูนย์การเรียนพยายามปรับตัว โดยการเพิ่มวิชาภาษาไทย และโปรแกรมอาชีวศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เด็กที่จบออกมามีงานทำและปรับตัวในสังคมไทยได้ง่ายขึ้น แต่ข้อจำกัดสำคัญยังคงอยู่ที่งบประมาณในการจ้างอาจารย์สอนภาษาไทย</li><li aria-level="1">‘สุรพงษ์ กองจันทึก' จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เสนอปรับมุมมองของภาครัฐ ผลักดัน และสนับสนุนการศึกษาของแรงงานข้ามชาติ</li></ul></div><p>ช่วงกลางปีถือเป็นฤดูเปิดเทอมของศูนย์การเรียนรู้ลูกหลานแรงงานข้ามชาติ ที่ตั้งใน อ.แม่สอด จ.ตาก เช่นเดียวกับที่ศูนย์การเรียน ‘นิวโซไซตี้’ ทุกเย็นจะมีผู้ปกครองมายืนออกันหน้าตึกแถวสีเขียว ส่วนหนึ่งเพื่อรอรับลูก อีกส่วนเพื่อมารอคุยกับครูใหญ่ขอให้ลูกได้เข้ามาเรียน</p><p>ศูนย์แห่งนี้มีนักเรียนประมาณ 190 คน เปิดสอนการเรียนหลักสูตรของพม่า ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงเกรด 8 หรือเทียบเท่ากับระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของไทย มีสอนด้วยกัน 3 ภาษา คือภาษาพม่า ไทย และอังกฤษ และมีสอนหลักสูตร กศน. ฟังดูแล้วคล้ายโรงเรียนนานาชาติไม่ใช่น้อย</p><p>บรรยากาศการเรียนเต็มไปด้วยความคึกคัก ห้องเรียนดูแน่นขนัดไปด้วยนักเรียน เด็กๆ พยายามพูดตามที่อาจารย์สอนกันเสียงดัง</p><p>วาวามยิด ครูใหญ่ประจำศูนย์ฯ อายุ 63 ปี เล่าให้ฟังว่า นักเรียนที่มาเรียนบางส่วนอาศัยอยู่ในแม่สอด และบางคนก็อพยพมาจากฝั่งพม่า ตอนนี้มีเด็กจากฝั่งพม่าสมัครเรียนเข้ามาเยอะ ทำให้ต้องมีการประเมินว่าศูนย์ฯ สามารถรับเด็กเพิ่มได้หรือเปล่า ถ้าไม่ไหว ก็จะแนะนำให้ไปสมัครศูนย์การเรียนอื่นๆ ที่ไม่ไกลจากบ้านของเด็ก</p><p>สถานการณ์หลังการทำรัฐประหารล่าสุด เมื่อปี 2564 และการประกาศบังคับใช้มาตรการบังคับเกณฑ์ทหารของพม่าเมื่อต้นปี 2567 ส่งผลให้มีผู้อพยพจากพม่าเข้ามาฝั่งไทยจำนวนมาก ทำให้ตัวศูนย์การเรียนฯ ในแม่สอดเผชิญปัญหาในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและโอบอุ้มลูกหลานแรงงานข้ามชาติให้ได้ทุกคน</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54225801033_4ba0551675_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">บรรยากาศช่วงหลังเลิกเรียนของศูนย์การเรียน "นิวโซไซตี้" ที่แม่สอด จ.ตาก อาคารของศูนย์การเรียนฯ เป็นตึกแถวทาด้วยสีเขียว โดยทางศูนย์ฯ เช่ามาจากเจ้าของคนไทยที่เห็นด้วยกับการศึกษาของลูกหลานแรงงานข้ามชาติ</p><h2>'เด็กล้น' ข้อท้าทายในการโอบอุ้มนักเรียนข้ามชาติ</h2><p>จำนวนเด็กที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่ที่ศูนย์การเรียน นิวโซไซตี้ เท่านั้น ‘ราตรี’ จากมูลนิธิคณะกรรมการด้านการศึกษาแรงงานข้ามชาติพม่า (BMWEC) ซึ่งบริหารจัดการศูนย์การเรียนในจังหวัดตาก ประมาณ 25 แห่งก็ระบุว่า มีจำนวนนักเรียนเพิ่มจากเดิมประมาณ 5,000 คน แต่ปีนี้คาดว่าเพิ่มมาเป็น 6,000-7,000 คน</p><p>ขณะที่เมื่อคุยกับนักจัดการศึกษาหลายคนในแม่สอด ก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่ามีนักเรียนเข้าสมัครที่ศูนย์การเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก</p><p>สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ระบุว่า เราสามารถจำแนกผู้ลี้ภัยเมียนมาออกเป็น 2 ช่วง คือ</p><p>1. กลุ่มผู้ลี้ภัยเก่าที่เดินทางมาประเทศไทยตั้งแต่ปี 2527 ปัจจุบันมีจำนวนประชากรประมาณ 80,000 คน กระจายตัวอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวของกระทรวงมหาดไทย 9 แห่งใน 4 จังหวัด ได้แก่ ตาก แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี และราชบุรี</p><p>2. กลุ่มผู้ลี้ภัยใหม่หลังรัฐประหารปี 2564 เฉพาะกลุ่มเด็กก็นับแสนคน</p><p>ข้อมูลจากศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าว (MECC) ดำเนินงานภายใต้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 (สพป.ตาก เขต 2) เปรียบเทียบตั้งแต่ ธ.ค. 2565 จนถึง ธ.ค. 2567 พบว่า</p><ul><li aria-level="1">ธ.ค. 2565 (https://www.facebook.com/photo?fbid=1321026395418405&set=a.112699156251141) มีจำนวนเด็กนักเรียนที่ศูนย์การเรียนฯ อยู่ที่ 11,156 คน จากจำนวน 65 แห่ง</li><li aria-level="1">ธ.ค. 2566 (https://www.facebook.com/photo?fbid=877962970785887&set=a.569253274990193) มีจำนวนนักเรียนที่ศูนย์การเรียนฯ อยู่ที่ 14,627 คน จากจำนวน 64 แห่ง</li><li aria-level="1">ธ.ค. 2567 (https://lookerstudio.google.com/u/0/reporting/2ddc672e-7bb6-4a06-b69e-bb316845b95c/page/aU5hD) มีจำนวนนักเรียนที่ศูนย์การเรียนฯ อยู่ที่ 17,824 คน จากจำนวน 63 แห่ง</li></ul><p>ดังนั้น ภาพรวมตั้งแต่ปลายปี 2565-2567 มีนักเรียนเพิ่มขึ้น 6,668 คน ขณะที่จำนวนศูนย์การเรียน กลับลดลงเหลือ 63 แห่ง</p><p>ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (https://myanmar.un.org/sites/default/files/2024-12/UNHCR%20RBAP%20Myanmar%20Emergency%20Update%20%28end%20November%202024%29.pdf) (UNHCR) เผยว่า นับตั้งแต่มีการรัฐประหารเมื่อ 1 ก.พ. 2564 จนถึง 30 พ.ย. 2567 มีจำนวนผู้ลี้ภัยเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้าน (อินเดีย และไทย) จำนวน 1,183,300 คน</p><div class="note-box"><h2>รู้จักศูนย์การเรียนในแม่สอด</h2><p>ศูนย์การเรียนในแม่สอด เป็นสถาบันการศึกษาที่ไม่ได้จดทะเบียนภายใต้กระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลไทย แต่ดำเนินการโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อจัดการศึกษาให้กับลูกหลานแรงงานข้ามชาติเมียนมาที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งจะนำไปสู่ใบเบิกทางชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการด้านการศึกษาก็หวังอย่างยิ่งว่า ศูนย์การเรียนจะเป็นพื้นที่ปลอดภัย และเป็นเกราะป้องกันปัญหาอื่นๆ อย่างยาเสพติด เหยื่อค้ามนุษย์ หรือการใช้แรงงานเด็ก</p><p>ศูนย์การเรียนจะเปิดสอนหลักสูตรด้วยกัน 3 หลักสูตร แต่ขึ้นอยู่กับศักยภาพของศูนย์การเรียนฯ คือ 1. ‘หลักสูตรพม่า’ ซึ่งมีข้อดีคือเด็กสามารถกลับไปเรียนต่อที่พม่าได้ 2. หลักสูตร กศน. หรือการศึกษานอกระบบ ข้อดีคือ เด็กเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในไทยได้ และ 3. บางแห่งจะมีติวสอบ GED (General Education Development) ของสหรัฐอเมริกา สำหรับเด็กเกรด 9-12 ดีสำหรับคนที่วางแผนเรียนต่อเฉพาะหลักสูตรนานาชาติในมหาวิทยาลัยไทย หรือผู้ลี้ภัยที่ได้ไปประเทศที่ 3 และไปเรียนต่อในประเทศตะวันตก</p><p>ยกตัวอย่างที่ นิวโซไซตี้ จะเปิดสอนหลักสูตรพม่าตั้งแต่อนุบาลถึงเกรด 8 และหลักสูตร กศน. ขณะที่บางศูนย์การเรียนอย่าง "Children's Development Center: (CDC) ที่ ต.แม่ตาว จะมีหลักสูตร กศน. และติวสอบ GED ด้วย </p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54225566991_066562f04c_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">การสอนภาษาอังกฤษของ นิวโซไซตี้</p><p>ส่วนเหตุผลที่ทำให้พ่อแม่แรงงานข้ามชาติส่งเด็กเรียนที่ศูนย์การเรียนมีหลายปัจจัย เช่น อยากให้ลูกเรียนต่อในประเทศเมียนมา มีความรู้ด้านภาษาพม่าอ่านพูดภาษาพม่าได้ ค่าเล่าเรียนถูกแรงงานข้ามชาติเอื้อมไหว สมัครเข้าเรียนง่าย และอื่นๆ</p><p>แม้ว่าศูนย์การเรียนฯ จะไม่ได้จดทะเบียนภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ แต่รัฐไทยก็อะลุ่มอล่วยให้ศูนย์การเรียนเปิดสอนได้ เพื่อให้เด็กๆ เข้าถึงการศึกษา และไม่ก่อปัญหากับสังคมไทย</p><p>พงศ์ศาสตร์ ไพรสินธุ์ อดีตรองผู้อำนวยการ สพป.ตาก เขต 2 กล่าวว่า การมีศูนย์การเรียนที่สอนลูกหลานแรงงานข้ามชาติเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจในพื้นที่ของไทย และต่อแรงงานข้ามชาติ เนื่องจากพวกเขาจะมีสภาพจิตใจที่มั่นคง ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังเรื่องลูก ทำให้ทำงานได้อย่างเต็มที่</p><p>“แรงงานต่างด้าวถ้าลูกหลานของเขาไม่มีที่เรียน การทำงานของเขาก็ด้อยประสิทธิภาพลง แต่ตราบใดที่เขาไม่ห่วงแล้ว ลูกของเขาได้เข้าเรียนโรงเรียนรัฐบาล หรือศูนย์การเรียนมันก็จะส่งผลต่อสภาพจิตใจ เขาจะได้ไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ของไทย” พงศ์ศาสตร์ กล่าว</p><p>ปัจจุบัน ใน 5 อำเภอของจังหวัดตาก มีศูนย์การเรียนที่ขึ้นทะเบียนกับ สพป.ตาก เขต 2 ประมาณ 63 ศูนย์ ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีศูนย์การเรียนเยอะที่สุดในประเทศไทย </p></div><h2>ขาดแคลนบุคลากร ครูมีภาระสอนเพิ่ม</h2><p>มูลนิธิ BMWEC ระบุว่า ผลจากนักเรียนที่เพิ่มขึ้นทำให้ศูนย์การเรียนมีอาจารย์ไม่พอสอน และทางศูนย์การเรียนก็ไม่มีงบประมาณในการจ้างอาจารย์เพิ่ม ทำให้อาจารย์บางคนทำงานลักษณะอาสาสมัคร อาจได้ค่าจ้างไม่เต็มจำนวน หรือบางทีได้ค่าตอบแทนเป็นข้าวสาร</p><p>ขณะเดียวกัน อาจารย์ที่มีอยู่เดิมก็ต้องแบกรับภาระการสอนนักเรียนมากขึ้น เมื่อก่อนครูคนหนึ่งอาจสอนนักเรียนประมาณ 30-40 คน แต่ตอนนี้ห้องเรียนหนึ่งครูต้องสอนนักเรียนไม่ต่ำกว่า 40-45 คน อีกทั้งสถานที่ก็เริ่มไม่พอรองรับเช่นกัน</p><p>"เรารับไม่ไหว ห้องเรียนไม่พอ ความเครียดของอาจารย์จะเยอะมาก อุปกรณ์การเรียนก็ขาดด้วย ค่าตอบแทนครูต้องพยายามหาให้ แต่ไม่ได้เต็มจำนวนอยู่แล้ว ตอนนี้ก็แย่ลง การบริหารยากขึ้น จะทำให้แบบคุณภาพของการเรียนจะลดลง" ราตรี กล่าวถึงปัญหา</p><p>นอพอรี อายุ 61 ปี ครูใหญ่ของศูนย์การเรียน 'ซาทูเหล่' ตั้งอยู่ใน อ.แม่สอด เริ่มให้บริการด้านการศึกษามาตั้งแต่ปี 2542 เผยว่า เธอพยายามปรับเปลี่ยนห้องเก็บของทำเป็นห้องเรียน เพื่อรองรับนักเรียนเพิ่มขึ้น</p><p>กลับกัน ถ้าศูนย์การเรียนที่เช่าตึกเจ้าของคนไทย อย่าง ‘นิวโซไซตี้’ ก็จะไม่สามารถปรับปรุงอาคารเพื่อขยายห้องเรียนได้ โดยทั้งนอพอรี วาวามยิด รวมถึงครูคนอื่นๆ จะใช้วิธีการแก้ไขปัญหาโดยการเฉลี่ยๆ เด็กไปที่ศูนย์การเรียนฯ อื่นให้ช่วยรับนักเรียน</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54225801628_8550cb1437_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ซาทูเหล่พยายามปรับเปลี่ยนจากห้องเก็บของ และห้องอ่านหนังสือมาทำเป็นห้องเรียนใหม่ เพื่อรองรับนักเรียนที่เพิ่มขึ้น</p><h2>งบประมาณเพื่อการจัดการศึกษายังไม่เสถียร</h2><p>นอกจากปัญหาข้างต้น ศูนย์การเรียนมีภาระที่ต้องหางบประมาณมาดูแลการจัดการศึกษาเพิ่มเติม ปกติศูนย์การเรียนจะได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ หรือใครก็ตามที่ต้องการช่วยเหลือ เพราะไม่ได้เป็นสถาบันการศึกษาที่สังกัดกระทรวงศึกษาฯ ของไทย ทำให้ไม่ได้รับการช่วยเหลือเรื่องเงินจากรัฐบาลไทย ขณะเดียวกัน พวกเขาก็ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลพม่าอีกด้วย</p><p>ศิราพร แก้วสมบัติ จากมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน หนึ่งในมูลนิธิฯ ที่บริหารศูนย์การเรียนฯ ในแม่สอด มองว่า ศูนย์การเรียนฯ เหล่านี้อยู่ได้โดยการพึ่งพิงเงินบริจาคและทุนสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ และองค์กร NGO เป็นหลัก แต่ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา เงินสนับสนุนเหล่านี้น้อยลงไป เนื่องด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทำให้ศูนย์การเรียนบางแห่งต้องปิดตัวลงเพราะแบกรับปัญหาด้านการเงินไม่ไหว</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>'กว่าจะได้เรียน' เด็กชายแดนไทย-เมียนมา ต้องผ่านอะไรบ้าง (https://prachatai.com/journal/2023/04/103738)</li></ul></div><p> </p><p>ราตรี กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือให้เงินสนับสนุนลดลง เพราะผู้ให้บริจาคต้องแบ่งเงินไปช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบจากสงครามในฝั่งพม่า</p><p>“ต้องให้แรงงานจ่ายเงินค่าลงทะเบียนเยอะขึ้น ทั้งปีเราให้นักเรียนเสียค่าใช้จ่ายแค่ 1,000 กว่าบาท เขาก็เข้าใจ เวลาเราขาดทุน เราจะหาเงินจากข้างนอก” ราตรี กล่าว</p><h2>'เบาะ' รองรับลูกหลานแรงงานที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาไทย</h2><p>สมาชิกมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เผยว่า ช่วงที่ผ่านมาผู้ปกครองชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์เริ่มมองโลกในความเป็นจริง หลังการทำรัฐประหารของ พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ส่งผลให้เกิดการสู้รบบ่อยครั้งและไม่รู้ว่าสถานการณ์แบบนี้จะยาวนานอีกเท่าไร ทำให้แรงงานข้ามชาติสรุปว่า อนาคตทำกินที่พม่าไม่ได้แน่นอน และก็หวังว่าประเทศไทยจะเป็นที่อยู่กึ่งถาวรของพวกเขา</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54224659902_02a4983dd0_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ภาพวาดของนักเรียนที่ Sunset Night School</p><p>สุรพงษ์ ระบุด้วยว่า การอพยพของชาวพม่าในช่วงหลังจะแตกต่างจากเมื่อ 4-5 ปีก่อน สมัยก่อนชาวพม่าเวลาอพยพ เขาจะเดินทางหอบของและอาหารเข้ามาในไทย พอเหตุการณ์การสู้รบสงบ ก็จะเดินทางกลับไปทำมาหากินที่เดิม แต่ตอนนี้ชาวพม่าอพยพก็จะหอบเอาเสื้อผ้า และพาลูกหลานมาด้วย อย่างในจังหวัดสมุทรสาคร แรงงานข้ามชาติเวลาเข้ามาทำงาน เขาจะฝากญาติผู้ใหญ่ในเมียนมาช่วยเลี้ยงลูก แต่ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว</p><p>สุรพงษ์ ให้ความเห็นว่า การนำเด็กแรงงานข้ามชาติพม่าเข้าระบบการศึกษาไทยจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุด เนื่องจากพวกเขาจะต้องอยู่และเติบโตในไทย ค่าใช้จ่ายในการเรียนระดับอุดมศึกษามีราคาถูกกว่า แต่ปัญหาก็คือบางครั้งผู้บริหารโรงเรียนก็ไม่รับเด็กข้ามชาติถ้าไม่มีเอกสาร และนักเรียนต้องได้ภาษาไทย</p><p>"รัฐควรผลักดันให้ทุกคนมีโอกาสเข้าเรียนมหาวิทยาลัยอย่างเสมอภาค แต่ปัจจุบันนี้เด็กเหล่านี้ถูกจำกัดสิทธิการเข้าถึงระบบการศึกษา เขามีสิทธิเรียนในโรงเรียนไทย เราไปจำกัดสิทธิเขา พอเข้าระบบไทยไม่ได้ เขาต้องไปหาระบบอื่น แต่ระบบอื่นทางมันก็แคบ เราพยายามผลักเขาไปทางที่ยากลำบาก" สุรพงษ์ กล่าว</p><p>ทั้งนี้ แม้ว่าเมื่อ 5 ก.ค. 2548 จะมีมติคณะรัฐมนตรี ว่าด้วยเรื่อง ‘การศึกษาเพื่อปวงชน’ (Education for all) เปรียบเสมือนประตูที่ทำให้เด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 15 ปี โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ หรือสถานะทางกฎหมาย ดังนั้น ถ้าลูกหลานแรงงานข้ามชาติต้องการเรียนในโรงเรียนไทยก็สามารถทำได้ แต่ในทางปฏิบัติขึ้นอยู่กับผู้บริหารของแต่ละโรงเรียนจะตัดสินใจรับเด็กหรือไม่</p><p>ครูใหญ่จากซาทูเหล่กล่าวตรงกันว่า จากการคุยกับผู้ปกครอง หลายคนมองว่ารัฐประหารมันกินเวลายาวนาน และครั้งล่าสุดไม่รู้ว่าจะนานอีกเท่าไร ผู้ปกครองเลยคิดว่าเข้าเรียนในไทยดีกว่า ถ้ามีคนมาปรึกษาเราจะแนะนำให้เขาไปสมัครเรียนมากขึ้น แต่ถ้าถูกโรงเรียนปฏิเสธ ก็จะให้ศูนย์การเรียนรับเด็กไปดูแลแทน</p><p>“ถ้าเป็นคนที่พ่อแม่อยู่ที่นี่ เด็กอาจจะไม่มีใบเกิด แต่พ่อแม่มีเอกสาร โรงเรียนเขาก็รับบ้าง แต่พ่อแม่และเด็กไม่มีเอกสารเลย โรงเรียนรัฐเขาก็ไม่อยากรับ” ครูใหญ่ของซาทูเหล่กล่าว</p><h2>เพิ่มวิชา ‘อาชีวะ-ภาษาไทย’ ช่วยเด็กปรับตัวกับชีวิตใหม่</h2><p>สุรพงษ์ มองว่า ต่อไปศูนย์การเรียนอาจจะต้องมีการปรับตัว เพราะการสอนในหลักสูตรพม่าอาจทำให้เด็กไม่ได้รับประโยชน์เท่าเดิม ด้านผู้อำนวยการ BMWEC อธิบายว่า ศูนย์การเรียนเริ่มมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่ ‘กลับไม่ได้’ ของนักเรียนชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างการเพิ่ม โปรแกรมเรียนวิชาชีพ</p><p>เมื่อปี 2566 มูลนิธิ BMWEC เผยว่า ศูนย์การเรียนฯ ทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาไทย ส่งเด็กไปเรียนอาชีวศึกษา เช่น ฝึกทำขนม ซ่อมโทรศัพท์ ซ่อมมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น เพื่อให้เด็กที่จบจากหลักสูตรพม่าแล้วไม่สามารถกลับไปเรียนต่อที่ประเทศต้นทาง รวมถึงเด็กที่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอจะสอบ GED สามารถหางานทำต่อไปได้</p><div class="note-box"><p>ข้อเสียของการสอบ GED คือต้องใช้เงินเยอะ ไม่ใช่ใครก็ได้ที่เข้าถึง การสอบ GED มีทั้งหมด 4 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ ต้องใช้ค่าใช้จ่ายวิชาละ 3,000 บาท รวมทั้งหมด 12,000 บาท สมมติว่านักเรียนสอบได้คะแนนดี ก็ยังไม่ได้แปลว่าเข้าเรียนได้ทุกคณะ/สาขาวิชา เข้าได้เฉพาะหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งค่าเทอมอาจมีราคาแพงมากหากเทียบกับหลักสูตรไทย </p></div><p>ซูซานดา ครูใหญ่จากศูนย์การเรียน 'Sunset Night School' ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนที่เปิดสอนเฉพาะช่วงเย็นและวันหยุด โดยเน้นการเรียนพิเศษวิชาภาษาพม่า อังกฤษ คอมพิวเตอร์ และศิลปะ บอกว่า ที่นี่เคยมีเรียนภาษาไทยช่วงเสาร์-อาทิตย์ด้วย แต่ครูผู้สอนต้องเรียนต่อมหาวิทยาลัย ทำให้ยังไม่มีอาจารย์มาสอนภาษาไทยให้</p><p>"พ่อแม่ทุกคนคิดว่าเราอยู่ในประเทศไทย ถ้าลูกหลานเรียนภาษาไทยเขียนได้ พูดได้ หรือเรียนในระดับสูง เขาจะมีงานที่ดี ถ้าเรียนจบของพม่า แม้ว่าจะเรียนจบ งานก็ไม่ค่อยมีถ้าอยู่ที่นู่น ถ้าเด็กได้เรียนทั้งหลักสูตรพม่า-ไทย เขาจะมีงานที่ดี พ่อแม่ทุกคนคาดหวังแบบนี้ ครูก็แนะนำให้นักเรียนไปเรียนภาษาไทยด้วย" ซูซานดา กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54225566971_d2551cf2d7_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">บรรยากาศการเรียนที่นิวโซไซตี้</p><p>คนองฤทธิ์ สิงหบุตร เจ้าหน้าที่จาก MECC เคยให้สัมภาษณ์กับทางประชาไท มองว่า ช่วงที่ผ่านมาศูนย์การเรียนต่างๆ เริ่มเห็นความสำคัญของการสอนภาษาไทย และมีการบรรจุวิชาเรียนภาษาไทยในหลักสูตรมากขึ้นจากเดิมที่เน้นภาษาพม่าอย่างเดียว ตรงนี้จะช่วยให้เด็กได้เรียนในหลักสูตร กศน.หลักสูตรพิเศษ</p><p>เจ้าหน้าที่ MECC เผยต่อว่า หลักสูตรพิเศษนี้สามารถเรียนไปพร้อมๆ กับการเรียนในศูนย์การเรียน และหากสอบผ่าน เด็กนักเรียนพม่าสามารถศึกษาต่อในโรงเรียนหลักสูตรไทย ซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญต้องได้ภาษาไทยในระดับที่อ่านออก พูด และเขียนได้ และจะเป็นใบเบิกทางการศึกษาในระดับสูงต่อไป อย่างไรก็ดี การเข้าโรงเรียนไทยไม่ได้บังคับว่า เด็กนักเรียนต้องอ่านออกเขียนได้ แต่ครูโรงเรียนไทยไม่ใช่ครูพม่าที่สื่อสารได้ 2 ภาษา ทำให้เด็กนักเรียนต้องเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเรียนและสื่อสารกับอาจารย์</p><p>เจ้าหน้าที่ MECC มองว่าไม่ใช่ทุกที่ๆ สามารถอำนวยวิชาภาษาไทยให้กับนักเรียนได้ เหตุเพราะบางศูนย์ฯ ยังขาดงบประมาณในการจ้างบุคลากรการศึกษาที่จะมาสอน ส่งผลให้ครูสอนภาษาไทยอาจมีแค่ในเฉพาะศูนย์การเรียนที่มีงบจำนวนมากเท่านั้น</p><h2>โมเดลครูภาษาพม่า-ไทย ดึง นร.ข้ามชาติเข้าระบบ</h2><p>จากการสำรวจยังมีคนทำงานภาคประชาสังคมคือ ‘มูลนิธิเพื่อการศึกษาแบบเรียนรวม’ (InEd Foundation) ที่มีโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ และภาคประชาสังคม โดยจะมีการส่งครูพี่เลี้ยง หรือผู้ช่วยครู ไปช่วยโรงเรียนรัฐสอน ครูพี่เลี้ยงจะมีบทบทหน้าที่เสมือนล่ามสื่อสารระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง โดยแลกกับการที่โรงเรียนต้องรับเด็กข้ามชาติเป็นนักเรียนเพิ่มขึ้น</p><p>‘โน’ อายุ 21 ปี ครูพี่เลี้ยงโรงเรียนบ้านหัวฝาย อ.แม่สอด มองว่า การที่มีครูที่สื่อสารได้ทั้งภาษาพม่า กะเหรี่ยง และไทย ทำให้ผู้ปกครองมั่นใจที่จะส่งเด็กมาเรียนมากขึ้น พวกเขามีคนที่คอยให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ ซึ่งเธอพยายามอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ </p><p>ปัจจุบันโรงเรียนบ้านหัวฝายส่วนใหญ่เต็มไปด้วยนักเรียนข้ามชาติจำนวนมากโดยเฉพาะในระดับอนุบาลที่โน ช่วยดูแล </p><p>โครงการที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะช่วยทลายข้อจำกัดของโรงเรียนรัฐ เพราะเมื่อมีครูพี่เลี้ยงเข้ามาช่วยหนุนเสริม ก็ทำให้เด็กข้ามชาติสามารถเข้าเรียนหนังสือในโรงเรียนรัฐได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวไม่ได้มีทุกโรงเรียน</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54224659697_6c03035de4_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ครูพี่เลี้ยง 'โน' อายุ 21 ปี</p><p>ในอีกทางหนึ่ง สุรพงษ์ เสนอให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนการสอนภาษาไทยให้กับศูนย์การเรียน เพิ่มขึ้น เพราะว่าเขามองว่าภาษาไทยจะจำเป็นสำหรับเด็กที่จะต้องอยู่ในไทยอีกนาน เขาสะท้อนด้วยว่าถ้าดูจากที่จังหวัดสมุทรสาคร เด็กที่จบจากศูนย์การเรียนจะมีกลับบ้านเกิดเพียง 10% ส่วนที่เหลือคือใช้ชีวิตในประเทศไทย </p><p>"ผมเชื่อว่าศูนย์การเรียนจำนวนมากอยากสอนภาษาไทย ภาษาไทยจำเป็นสำหรับเด็ก แต่ว่าเขาไม่มีความพร้อม กศน.เข้ามาเสริมเขาได้ไหม ทำงานประสานกัน" ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ระบุ</p><p>ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เชื่อว่า การที่รัฐเข้าไปส่งเสริมองค์กรเอกชน หรือองค์กรภาคประชาชนเพื่อให้จัดการศึกษา รัฐจะใช้งบประมาณในจำนวนน้อยกว่าการจัดการศึกษาด้วยตัวเอง ดีกว่าไปแบกรับภาระไว้คนเดียว </p><h2>ความหวังถึงภาครัฐ</h2><p>ราตรี มีความคิดส่วนตัวว่าเธออยากผลักดันให้ศูนย์การเรียนเข้าไปอยู่ในระบบกระทรวงศึกษาไทย โดยไม่ต้องมีทุนสนับสนุนจากภาครัฐก็ได้ เหตุผลหลักเพราะเธออยากให้เด็กที่เรียนจบสามารถเรียนต่อมหาวิทยาลัยไทยที่ไหนก็ได้ และเธอมองด้วยว่าภาครัฐก็ได้ประโยชน์ ในการเข้ามาควบคุมตรวจสอบเนื้อหาการสอนของศูนย์การเรียน แต่เธอก็ยังไม่เคยคุยกับภาครัฐมาก่อนเรื่องนี้ </p><p>เมื่อถามว่ากังวลหรือไม่ว่ากระแสชาตินิยมจะส่งผลกระทบต่อศูนย์การเรียนฯ ราตรี มองว่า เรื่องนี้มีมานานแล้วจากประวัติศาสตร์ชาติพม่า-ไทย เรื่องเล่าจากผู้ใหญ่ แต่ตอนนี้คนรุ่นใหม่เริ่มเปลี่ยนไป หรือคนไทยบางส่วนอาจมองว่าคนเข้ามาผิดกฎหมายทำไมต้องช่วย กังวลว่าจะสร้างปัญหาหรือเปล่า เราไม่อยากให้มองแบบนั้น</p><p>"สถานการณ์การเมือง และเศรษฐกิจทำให้พวกเขาอยู่ที่นี่ (ประเทศไทย) จริงๆ คือไม่ต้องพูดถึงว่าไปสร้างปัญหา ขนาดพวกเขายังกลัวว่าตำรวจจะจับกุม ตม.จะจับ ไม่กล้าออกไปข้างนอกแม้ว่าจะป่วย หรือไม่กล้าแม้แต่จะไปส่งเด็กเรียน ต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ พวกเขาไม่มีเอกสาร แต่พวกเขาก็ไม่สร้างปัญหาเลย ไม่อยากให้มองว่าพวกเขาเป็นคนร้าย หรือต้องการมาแย่งอะไรจากคนไทย" ราตรี กล่าว</p><p>ซูซานดา เสนอว่า เธออยากให้ภาครัฐมีมาตรการสำหรับผู้ลี้ภัยเด็ก สามารถอาศัยอยู่ในไทยชั่วคราวจนกว่าเหตุการณ์ในประเทศเมียนมาจะดีขึ้น เพราะว่าเดิม MECC จะช่วยออกบัตรประจำตัวนักเรียนให้ แต่บัตรไม่สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานกับทางตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ได้ หาก ตม.พบว่าเข้าเมืองผิดกฎหมาย เด็กจะต้องถูกผลักดันกลับประเทศต้นทาง ซึ่งเธอมองว่าจะเป็นอันตรายสำหรับเด็ก และเสี่ยงถูกจับไปเป็นทหาร แต่ถ้ามีมาตรการให้เด็กอยู่ได้ชั่วคราว พวกเขาจะกล้าออกมาเรียนข้างนอกมากขึ้นด้วย </p><p>ขณะที่อาจารย์คนอื่นๆ ระบุด้วยว่า ถ้าเป็นไปได้พวกเขาอยากให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนด้านเงินเดือนให้กับอาจารย์ในศูนย์การเรียน ด้านวาวามยิด ขอแค่ศูนย์การเรียนฯ สามารถเปิดต่อไปได้ เพราะเธออยากช่วยชุมชนตรงนี้</p><h2>รัฐต้องเปลี่ยนจากผู้ควบคุม สู่ผู้สนับสนุน</h2><p>สำหรับข้อเสนอของสุรพงษ์ มองว่ารัฐต้องมีหน้าที่สนับสนุนการศึกษาของลูกหลานแรงงานข้ามชาติอย่างเต็มที่ แทนการตั้งเงื่อนไขและกีดกัน ขณะเดียวกัน ภาครัฐต้องทำให้นโยบายการศึกษาเพื่อปวงชนทำงานได้เต็มที่ กระทรวงศึกษาธิการต้องกล้าลงโทษเจ้าหน้าที่หรือผู้บริหาการศึกษาบางคนที่ทำขัดมติ ครม. หรือกีดกันไม่ให้เด็กนักเรียนได้รับการศึกษา</p><p>สุรพงษ์ ยกตัวอย่างกรณีของ สพป.ตาก เขต 2 (https://www.thaipbs.or.th/news/content/325697) เคยมีประกาศเมื่อปี 2566 ว่าห้ามโรงเรียนในสังกัดรับเด็กที่อาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวหรือผู้ลี้ภัย เด็กที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย และเด็กที่มีภูมิลำเนาบริเวณชายแดน ซึ่งหลังประกาศดังกล่าวออกมาไม่นาน ก็ถูกภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านสิทธิการศึกษาของลูกหลานแรงงานข้ามชาติ วิจารณ์และตั้งคำถามว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ และขัดกับมติ ครม. เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2548 หรือไม่ เขามองว่าเรื่องนี้ส่วนกลางทราบ แต่ไม่ทำอะไร ซึ่งจะทำให้โรงเรียนอื่นๆ กล้าขัดมติ ครม. </p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54245435681_7d75b6017f_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">สุรพงษ์ กองจันทึก</p><p>ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม มองว่ารัฐไทยต้องยอมรับการมีอยู่ของ ‘ผู้ลี้ภัย’ หากเรายังไม่ยอมรับว่าการมีตัวตนของพวกเขา เราบอกว่าประเทศเราไม่มีผู้ลี้ภัย สุดท้ายการแก้ไขอย่างจริงๆ จังๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น และท้ายที่สุด การแก้ไขปัญหาการเข้าสิทธิการศึกษาของลูกหลานแรงงานข้ามชาติ เป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องมาช่วยกันส่งเสียง และแก้ไขปัญหาร่วมกัน</p><p>"การศึกษามันเป็นเรื่องของการพัฒนามนุษย์ โดยสัญชาตญาณของมนุษย์จะสนับสนุนเรื่องการศึกษาให้กันอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันปัญหาเรื่องรัฐธรรมนูญยังมีข้อจำกัดเรื่องการศึกษา รวมถึงกฎหมายจำนวนมาก สังคมต้องช่วยกัน เพื่อให้มนุษย์เราเข้าถึงธรรมชาติปกติ" สุรพงษ์ ทิ้งท้าย </p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศษ[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคม[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2" hreflang="th">การศึกษา[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชน[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิต[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทศ[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">แรงงานข้ามชาติ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81" hreflang="th">สิทธิเด็ก[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ศูนย์การเรียนรู้ลูกหลานแรงงานต่างด้าว[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%94" hreflang="th">แม่สอด[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">ชายแดนไทย-พม่า[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2" hreflang="th">เมียนมา[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81" hreflang="th">ตาก[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B4" hreflang="th">นอพอริ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/bmwec" hreflang="th">BMWEC[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%8C" hreflang="th">ซาทูเลย์[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B8%81" hreflang="th">สุรพงษ์ กองจันทึก[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95-2" hreflang="th">สพป.ตาก เขต 2[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">กระทรวงศึกษาธิการ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">นโยบายการศึกษาเพื่อปวงชน[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99" hreflang="th">มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">สงครามกลางเมือง[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2" hreflang="th">รัฐประหารเมียนมา[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> http://prachatai.com/journal/2025/01/111902 |