[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 05 กุมภาพันธ์ 2568 22:05:47



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - คุยกับภาค ปชช. ทำไมพื้นที่คุ้มครองวิถีชาติพันธุ์ ควรงดเว้นจาก กม.ที่เป็นอุปสรร
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 05 กุมภาพันธ์ 2568 22:05:47
คุยกับภาค ปชช. ทำไมพื้นที่คุ้มครองวิถีชาติพันธุ์ ควรงดเว้นจาก กม.ที่เป็นอุปสรรค
 


<span>คุยกับภาค ปชช. ทำไมพื้นที่คุ้มครองวิถีชาติพันธุ์ ควรงดเว้นจาก กม.ที่เป็นอุปสรรค</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-02-05T14:51:00+07:00" title="Wednesday, February 5, 2025 - 14:51">Wed, 2025-02-05 - 14:51</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพปก: บรรยากาศชุมนุมของเครือข่ายชาติพันธุ์และ P-move&nbsp;</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ประชาไทคุยกับกลุ่มภาคประชาสังคม-เครือข่ายชาติพันธุ์ ที่มาร่วมผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์ หน้ารัฐสภา โดยเฉพาะประเด็นที่มีการถกเถียงอย่างหนัก คือพื้นที่วิถีชีวิตชาติพันธุ์ควรได้รับการยกเว้นจากกฎหมายป่าไม้ กฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และกฎหมายอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาในพื้นที่หรือไม่</p><p>&nbsp;</p><p>5 ก.พ. 2568 ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) และเครือข่ายชาติพันธุ์ต่างๆ ได้นัดชุมนุมหน้ารัฐสภา เพื่อผลักดันให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร รับรองมติแก้ไขรายมาตรา ของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ชั้นวาระที่ 2 โดยประเด็นที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดช่วงที่ผ่านมาคือมาตรา 27 หรือพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตชาติพันธุ์</p><p>ข้อความเดิมของ หมวด 5 มาตรา 27 ระบุว่า แผนแม่บทและแผนที่ที่จัดทำขึ้นตามความตกลงวรรค 2 ต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่&nbsp;โดยไม่ต้องนำหลักเกณฑ์การอยู่อาศัยและการใช้ประโยชน์ตามกฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ มาบังคับใช้กับพื้นที่ดังกล่าว เท่าที่ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ สุขภาพของประชาชน หรือกระทบต่อระบบนิเวศหรือความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต</p><p>ในส่วนประเด็นที่ให้พื้นที่เขตคุ้มครองวิถีชีวิตชาติพันธุ์ ได้รับการยกเว้นกฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ&nbsp;ได้ถูก สส.บางส่วนคัดค้านอย่างหนัก โดยอ้างว่าอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ และไม่เหมาะสมเนื่องจากมีประโยคที่ยกเว้นไม่ต้องนำกฎหมายมาใช้ในพื้นที่คุ้มครอง ส่งผลให้เกิดการเลื่อนพิจารณากฎหมายฉบับนี้ถึง 2 ครั้ง และมาพิจารณาวาระที่ 2 อีกครั้งในวันนี้ (5 ก.พ.)&nbsp;</p><h2>ภาคประชาชนไม่ถอยให้แล้ว</h2><p>ที่หน้ารัฐสภา พชร คำชำนาญ สมาชิกของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move) และในฐานะสมาชิก กมธ.ร่างกฎหมายฯ ให้สัมภาษณ์ก่อนการพิจารณาร่างกฎหมายวาระที่ 2 ถึงที่มาที่ไปของพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตชาติพันธุ์ว่า จริงๆ นโยบายเขตวิถีชีวิตชาติพันธุ์ต่อสู้มานานมาก แต่มาเป็นรูปธรรมชัดเจนในมติ ครม. 2 มิ.ย. 2553 เรื่องการคุ้มครองวิถีชีวิตของชาวเล และมติ ครม. 3 ส.ค. 2553 เรื่องการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เพราะรัฐบาลในตอนนั้นถือว่ากลุ่มชาติพันธุ์ 2 กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเปราะบางที่สุด โดยเฉพาะสิทธิที่ดินทำกินที่พวกเขาถูกรัฐประกาศทับที่ หรือนายทุนออกเอกสารสิทธิทับที่ดิน โดยมติ ครม. เมื่อปี 2553 ระบุว่าสามารถให้ชุมชนประกาศเขตพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษได้ รวมถึงมีมาตรการว่าถ้าชุมชนอยู่มาก่อนเขตป่า ให้มีการเพิกถอนเขตป่า</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54308390880_a3171ded6e_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">พชร คำชำนาญ</p><p>พชร ระบุต่อว่า แม้ว่าจะมีมติ ครม. แต่ไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ เพราะช่วงปลายปี 2553 ก็เกิดยุทธการตะนาวศรี ไล่ที่เผาบ้านชาวบ้านบางกลอย ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามติ ครม.ถึงจะเป็นแนวนโยบายของรัฐ ก็ไม่มีผลในทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของรัฐ</p><p>ในยุคประยุทธ์ จันทร์โอชา ปี 2561-2562 มีแผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม ซึ่งระบุว่ากฎหมายชาติพันธุ์เป็นกฎหมายเร่งด่วน ตอนแถลงนโยบายปี 2562 ก็พูดว่าจะทำกฎหมายชาติพันธุ์ ต่อมาภาคประชาชนก็มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศ ได้ทำร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ส่วน P-move มีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง แต่กฎหมาย 2 ฉบับนี้ถูกดองตลอดสมัยประยุทธ์ เพราะประธานสภาตอนนั้นบอกว่าเป็นร่างการเงิน ต้องให้นายกฯ เซ็นก่อน ซึ่งก็ไม่เซ็นจนหมดสมัย</p><p>พอมาถึงรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ก็มีการมาชุมนุมที่ทำเนียบ 2 ครั้ง (ต.ค. 2566 และ ก.พ. 2567) กว่าเศรษฐา จะเซ็นรับรองร่าง 2 ฉบับนี้ก็ได้ประกบไปกับร่างของ ครม. พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล เท่ากับว่าผ่านไป 5 ร่าง</p><p>หลังจากนั้นก็มีการตั้งคณะกรรมาธิการฯ ทำงานกันมาตั้งแต่ มี.ค. 2567 จนถึงวันนี้กฎหมายพิจารณาเสร็จแล้ว แต่ยังติดในวาระ 2 ว่าสภาฯ จะเห็นชอบมั้ย มีหลายมาตราที่สำคัญมาก แต่ถูกปัดตกไปแล้ว เช่น คำว่า “ชนเผ่าพื้นเมือง” ที่ไม่มีอยู่เลยในกฎหมายฉบับนื้ หรือเรื่องบทลงโทษสำหรับคนที่ละเมิดสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ ก็ถูกตัดออก ก็เลยเหลือแค่เรื่องพื้นที่คุ้มครองวัฒนธรรมที่เราคงยอมถอยไม่ได้อีกแล้ว</p><p>"เราคงยอมถอยไม่ได้อีกแล้ว เพราะการถอยเรื่องนี้คือการถอยเพื่อตกเหวแล้ว ไม่มีที่ทางให้พวกเราถอยอีกแล้ว นอกจากจะไม่มีที่ยืนในสังคมในเชิงนามธรรมแล้ว ในเชิงรูปธรรมเราก็จะไม่มีที่ดินทำกิน" พชร กล่าว</p><h2>ทำไมการมีพื้นที่คุ้มครองชาติพันธุ์ถึงสำคัญ</h2><p>พชร กล่าวว่า การมีพื้นที่คุ้มครองฯ จะทำให้พี่น้องมีสิทธิในการจัดการที่ดินและทรัพยากร ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่มีความผูกพันกับที่ดินและฐานทรัพยากร เช่น ดิน น้ำ ป่า และทะเล เพียงแค่เขามีสิทธิเพิ่มขึ้นในการจัดการ เขาก็จะมีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น คราวนี้ก็จะไม่เปลืองงบประมาณที่รัฐจะต้องเอาไปอุดในส่วนที่ด้อยโอกาส สมมติว่าประสบภัยพิบัติ หรืออยู่ในช่วงที่มีโรคระบาดอย่างโควิด-19 ถ้าเขามีสิทธิที่จะสามารถจัดการตนเอง มีความมั่นคงในชีวิตและความมั่นคงทางอาหารได้ มันก็จะเป็นการงบประมาณที่ต้องใช้ในการให้ความช่วยเหลือ</p><p>เรื่องที่ 2 คือเป็นเรื่องของความเสมอภาค สถานการณ์เรื่องที่ดินที่เขาเจออยู่ไม่ใช่สถานการณ์ที่คนทั่วไปเจอ ไม่มี สส.สักคนในสภาฯ ที่อยู่ในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ อยู่ในที่ของรัฐที่จะถูกไล่เมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้น ต้องเข้าใจว่าเขาไม่ใช่อภิสิทธิ์ชน เขาไม่เท่าเราตั้งแต่แรก แค่บ้านของเขายังเป็นของรัฐ เพราะที่ดินถูกประกาศให้เป็นของรัฐ เท่ากับว่าเขาไม่มีที่ดินอยู่เลย ถ้ามีพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิต ก็จะเป็นการสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม</p><p>เรื่องที่ 3 คือคิดว่ามันสำคัญมากในแง่ของการต่อยอดและส่งเสริมศักยภาพของพี่น้องให้เป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญมากๆ ของประเทศ เราไม่สามารถพูดได้ว่าเรื่องที่ดินและเรื่องวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มันแยกจากกัน ถ้าทำให้เขามีสิทธิ มีความเสมอภาค เขาก็จะสามารถเอาทุนทางภูมิปัญญาของเขาไปพัฒนาประเทศได้ด้วย ซึ่งก็ตรงกับแนวนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ (soft power) ของรัฐบาล ยังไม่รวมถึงเรื่องทรัพยากร ถ้าพี่น้องมีสิทธิในการจัดการทรัพยากร เขาก็จะมีสิทธิเต็มที่ตามกฎหมายฉบับนี้ในการปกป้องผืนดินตรงนั้นจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่อย่างเหมือง อุโมงค์ผันน้ำ หรือเขื่อน ที่จะไปทับที่เขา แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีกฎหมายฉบับไหนให้สิทธิเขา</p><h2>กฎหมายไม่มีผลเพิกถอนพื้นที่อุทยาน</h2><p>พชร กล่าวต่อว่า กฎหมายไม่ได้จะไปเพิกถอนพื้นที่อุทยาน เรารู้ว่ายังไงก็จะโดนคัดค้าน เราแค่อยากสร้างความร่วมมือ ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ‘เราไม่ได้มองเจ้าหน้าที่รัฐเป็นศัตรูในแง่นี้’ หลักเกณฑ์ที่เราพยายามทำเป็นการยกเว้นหลักเกณฑ์บางประการที่จะมีผลกระทบกับชาวบ้านในพื้นที่คุ้มครอง คือ กฎหมายป่าไม้ กฎหมายอุทยาน กมฎหมายเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งก็ยกเว้นแค่บางประการ เช่นเรื่องที่ดินทำกินที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น จำกัดเขตพื้นที่และเวลาทำกิน ห้ามทำไร่หมุนเวียน หรือห้ามส่งต่อที่ดินของบรรพบุรุษ ไม่ได้เพิกถอนสภาพ แต่ซ้อนทับเข้าไปจัดการในพื้นที่ตรงนี้ ไม่ได้ถึงกับยกเลิกพื้นที่อุทยาน แค่ยกเว้นกฎหมายบางตัว แต่การทำพื้นที่คุ้มครองมันยากมาก ต้องทำแผนแม่บทโดยมีการตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชาวบ้านว่าเขาจะใช้พื้นที่ตรงนั้นอย่างไร ต้องมีคณะกรรมการกลางที่เข้ามากลั่นกรองอีกว่าพื้นที่นั้นเหมาะสมหรือไม่ และถ้าชาวบ้านทำผิดหลักเกณฑ์ เขาอาจจะถูกเพิกถอนพื้นที่คุ้มครองได้ หรือถ้าทำผิดมากๆ เช่นบอกว่าห้ามตัดไม้ แต่ว่าไปตัดไม้ไปขาย ก็จะมีความผิดตามกฎหมายของพื้นที่นั้น เช่น พ.ร.บ.ป่าสงวน ฯลฯ เราพยายามบูรณาการร่วมกัน ไม่ได้ไปขัดแย้ง แต่ต้องยอมรับว่ากฎหมายที่ผ่านมาไม่ได้ให้สิทธิเขา</p><p>“สภาฯ จะปรับมุมมองต่อกลุ่มชาติพันธุ์ใหม่ เราควรยอมรับว่าเขาเป็นคนติดแผ่นดิน เป็นคนไทยเหมือนพวกเรา ต่างกันที่เขามีความเป็นเผ่าพันธ์ที่เขาสืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญามาและเขาแสดงออกมาผ่านร่างกาย ภาษา เครื่องแต่งกาย การทำกิน ต้องเข้าใจว่าเขาไม่ใช่อภิสิทธิชน เขาเป็นกลุ่มเปราะบาง ซึ่งเป็นไปตามที่รัฐบาลแถลงไว้ทั้งหมดว่ากลุ่มชาติพันธุ์คือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่รัฐบาลจะต้องคุ้มครอง อยากให้ปรับมุมมองต่อการจัดการพื้นที่ตามวิถีชาติพันธุ์ เรื่องนี้ไม่ได้กระทบทรัพยากรหรือความมั่นคง ไม่มีใครอยากประกาศพื้นที่คุ้มครองเพื่อจะแบ่งแยกดินแดนหรือปกครองตัวเอง ทำพื้นที่ปกครองพิเศษ ถ้าเทียบกันก็ถามว่าทำไมพื้นเขตเศรษฐกิจพิเศษมัน overrule (ลบล้าง) ได้ทุกกฎหมาย แต่ทำไมเวลาทำเหมือง สามารถเข้า ครม.แล้วเพิกถอนความเป็นพื้นที่ป่าสงวนได้ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ก็แค่ดูแลและจัดการมัน อยากให้ สส. ปรับมุมมองและทำให้สภาเป็นที่ปลอบประโลมความเจ็บปวดความทุกข์ยากของพี่น้อง” พชร สะท้อนความหวังถึงสภาฯ&nbsp;</p><h2>เขตคุ้มครองชาติพันธุ์ไม่ไปไหน เพราะติด กม.</h2><p>นิราพร จะพอ อายุ 23 ปี ชาวชุมชนปกาเกอะญอบ้านห้วยหินลาด จ.เชียงราย กล่าวว่า สำหรับเธอที่อยู่ในพื้นที่คุ้มครองวัฒนธรรม มองว่าถ้าไม่มีพื้นที่ตรงส่วนนี้ วัฒนธรรมและความเชื่อของชาวชาติพันธุ์จะไม่มีความยั่งยืน มีพื้นที่ให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกับป่า และดูแลรักษาป่า ซึ่งก็จะทำให้ป่ายั่งยืนด้วย แต่ปัญหาช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าบ้านห้วยหินลาดในจะได้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ตามมติ ครม.เมื่อปี 2553 แต่ว่าการพัฒนาในพื้นที่กลับติดพัน พ.ร.บ.ป่าสงวน พ.ร.บ.อุทยาน พ.ร.บ.พวกนี้จำกัดการพัฒนา ถึงมติ ครม.จะเขียนเรื่องการพัฒนาศักยภาพต่างๆ แต่ทำไม่ได้จริง เราถึงหวังว่ามาตรา 27 เรื่องพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตชาติพันธุ์ จะมีการยกเว้น พ.ร.บ. อุทยาน ป่าสงวน อนุรักษ์สัตว์ป่าต่างๆ เพราะถ้ายังมีกฎหมายพวกนี้ทับเราอยู่ ในฐานะที่เป็นพื้นที่คุ้มครอง เราไม่สามารถพัฒนาได้เลย ทำอะไรไม่ได้เลย</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54308212203_910fe64f8c_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">นิราพร จะพอ</p><p>นิราพร กล่าวต่อว่า อยากให้กฎหมายผ่านและใช้ได้จริง แต่ถ้าผ่านโดยใช้ไม่ได้จริงก็ไม่อยากได้ ถ้าไม่ผ่านมาตรา 27 ก็ใช้ไม่ได้แน่นอน เพราะมันก็เหมือนมติ ครม.ที่มีในอดีต แต่ว่าทำอะไรไม่ได้ มาตรา 27 คือหัวใจสำคัญของชาติพันธุ์</p><p>"กฎหมายนี้เขียนมาเพื่อให้เราเท่าเทียมกับคนในเมืองเฉยๆ ไม่ใช่อภิสิทธิชน ไม่ได้เหนือกว่าใคร เพราะที่ผ่านมาเราก็ต่ำกว่าทุกคนมาตลอด เราแค่ทำกฎหมายนี้เพื่อให้เรากลับไปเท่ากับคนในเมือง อยากให้คนในเมืองที่เห็นถึงสิทธิและความเท่าเทียม ถ้าอยากเห็นสังคมไทยที่ทุกคนเท่ากันก็ต้องช่วยกันผลักดัน พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้ชาติพันธุ์เท่าเทียมกับคนไทยทุกคน" นิราพร กล่าว</p><p>สุพรรณษา จันทร์ไทย ผู้ประสานงานเครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมืองชาวไททรงดำ จ.เพชรบุรี เผยว่า พื้นที่คุ้มครองฯ มันเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชนเผ่าพื้นเมืองในทุกพื้นที่ ทุกชนเผ่ามีพื้นที่ที่เขาแสดงออกถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิต รวมถึงเป็นที่ทำกินและอยู่อาศัยด้วย ถ้าพื้นที่ตรงนั้นมันหายไป เราก็กังวลว่าวัฒนธรรมและตัวตนทั้งหมดของชนเผ่าพื้นเมืองมันหายไปด้วย หากว่ากฎหมายผ่านและใช้ได้จริง มันก็จะเป็นการคืนชีวิตให้พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองและชาติพันธุ์ เขาจะสามารถดำเนินชีวิตตามวิถีของตัวเองได้</p><p>"มันไม่ใช่การที่เราคืนพื้นที่ให้เขาแล้วประเทศจะล้าหลัง แต่จะเป็นการปรับวิถีชีวิตเข้ากับกระแสยุคใหม่ เขาจะกลายเป็นคน 2 วัฒนธรรมที่มีคุณภาพและยังมีวิถีชีวิตดั้งเดิม และพื้นที่คุ้มครองตรงนี้ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศให้ยั่งยืน เพราะว่าชนเผ่าพื้นเมืองมีภูมิปัญญาดั้งเดิมในการรักษาทรัพยากรให้อยู่กับเขามาได้เรื่อยๆ ช่วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งชุมชนและภาครัฐที่ต้องการอนุรักษ์" สุพรรณษา กล่าว</p><p>สุพรรณษา ระบุต่อว่า มันมีความยั่งยืนและประสบความสำเร็จอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือมันมี พ.ร.บ.ต่างๆ ของอุทยานหรือพื้นที่ป่าสงวน ทำให้ชุมชนไม่สามารถจัดการตัวเองในการดูแลรักษาพื้นที่ตรงนั้นไว้ได้ ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนในพื้นที่คุ้มครองตรงนี้ได้ เกิดการเสียสมดุลของการรักษาทรัพยากรตรงนี้ไว้ เห็นมาตลอดว่าวิถีชีวิตของชุมชนสามารถรักษาพื้นที่ตรงนี้ไว้ได้อย่างดีมาโดยตลอด ถ้ามาตรา 27 ผ่านและชุมชนสามารถกลับมารักษาวิถีชีวิตของตัวเองไว้ได้ จัดการทรัพยากรในพื้นที่ของตัวเองได้ ทรัพยากรของเราก็จะยังอยู่ไปเรื่อยๆ ส่งต่อกันไปรุ่นสู่รุ่นได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น</p><p>"อยากให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านเข้าไปได้จริงๆ และพอกฎหมายตัวนี้ออกมา มันสามารถเข้าถึงและใช้ได้จริงในทุกชุมชน เท่าเทียมกันในทุกพื้นที่ของชนเผ่าพื้นเมือง ไม่ว่าจะเป็นภูมิภาคไหนหรือประเด็นไหนที่อาจจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่กฎหมายฉบับนี้จะครอบคลุม บังคับใช้ในทุกพื้นที่ และทำให้พี่น้องได้มีตัวตนในการแสดงออกทางอัตลักษณ์ วิถีชีวิตของตัวเองได้ชัดเจนมากขึ้น</p><p>"อยากบอกว่าชนเผ่าพื้นเมืองอาจจะดูมีอคติบางอย่างที่คนภายนอกมอง เช่นมองว่าเป็นภัยความมั่นคง แต่จริงๆ เราแยกตัวออกไปจัดการตัวเองไม่ได้จริงๆ คำว่าจัดการตัวเองหมายถึงการที่เราจะมีสิทธิในการดูแลจัดการพื้นที่ วิถีชีวิตของตัวเองในพื้นที่ของตัวเองได้อย่างชัดเจน โดยที่ไม่ผิดกฎหมายใดๆ อยากให้มองว่าจริงๆ แล้วชนเผ่าพื้นเมืองไม่ได้มีสิทธิพิเศษกว่าคนไทยคนอื่น อยากให้มองว่าทุกคนเป็นคนไทยเท่าเทียมกัน และกฎหมายฉบับนี้จะเข้ามาตอบโจทย์เรื่องซอฟต์พาวเวอร์อย่างหนึ่ง จะได้เห็นว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์และวิถีชีวิต ทำให้คนภายนอกเห็นความสำคัญของไทยมากขึ้นและเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น และจะเป็นการรักษาวิถีชีวิตและทรัพยากรในประเทศของเราได้ดีมากขึ้น" สุพรรณษา กล่าว</p><h2>สภาฯ มีมติใช้มาตรา 27 ตาม กมธ.เสียงข้างน้อย</h2><p>ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อเวลาประมาณ 14.26 น. ที่ประชุมสภาฯ ได้ลงมติ 'ไม่เห็นชอบ' การแก้ไขมาตรา 27 ว่าด้วยพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตชาติพันธุ์ ฉบับ กมธ.เสียงข้างมาก ด้วย 152 คะแนน ต่อ 246 คะแนน งดออกเสียง 2 คน และไม่ลงคะแนนเสียง 4 คน จากจำนวนผู้ลงมติ 422 คน เป็นผลให้ใช้ข้อความในมาตรา 27 ตามข้อเสนอของ กมธ.เสียงข้างน้อย&nbsp;</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54307218097_5369a855f4_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ที่มา: TP Channel (https://www.youtube.com/watch?v=Ss4TmWPg5vE)</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าว[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิต[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C" hreflang="th">พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8D" hreflang="th">พชร คำชำนาญ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%AD" hreflang="th">นิราพร จะพอ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C" hreflang="th">ชาติพันธุ์[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C" hreflang="th">พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->

            <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/02/112092