[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 19:31:59



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ฝ่ายอนุรักษนิยมไทยมองอย่างไร หลังบังคับใช้ 'สมรสเท่าเทียม'
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 19:31:59
ฝ่ายอนุรักษนิยมไทยมองอย่างไร หลังบังคับใช้ 'สมรสเท่าเทียม'
 


<span>ฝ่ายอนุรักษนิยมไทยมองอย่างไร หลังบังคับใช้ 'สมรสเท่าเทียม'</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2025-02-14T16:18:09+07:00" title="Friday, February 14, 2025 - 16:18">Fri, 2025-02-14 - 16:18</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>จ่อ ซวา รายงาน</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ขณะที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยกเลิกโครงการด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และความเปิดกว้างโอบรับ (Diversity, Equity, and Inclusion หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ DEI) ซึ่งถูกมองว่ามีลักษณะ 'woke' ทั้งในและต่างประเทศ ไทยกลับดูเหมือนจะมุ่งไปในทิศทางตรงกันข้าม หลังจากเฉลิมฉลองการบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม เมื่อ 23 มกราคมที่ผ่านมา น่าสนใจว่าสถาบันจารีตของสังคมไทยก็ร่วมแสดงความยินดีกับความรักของกลุ่มหลากหลายทางเพศด้วย แม้ฝ่ายอนุรักษนิยมบางคนจะยังพยายามปรามๆ สิ่งที่คนเหล่านี้ถกเถียงว่าล้นเกินอยู่บ้างก็ตาม</p><p>หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ภายใต้ความเห็นชอบของรัฐสภา ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อกฎหมายสมรสเท่าเทียมในเดือนกันยายน 2567 ส่งผลให้กฎหมายมีกำหนดมีผลบังคับใช้ 120 วันหลังจากนั้น ประเทศไทยกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศที่สองในเอเชียต่อจากไต้หวัน ที่ให้การรับรองการแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันอย่างถูกกฎหมาย</p><p>ในวันแรกของการบังคับใช้กฎหมาย มีคู่รักจดทะเบียนสมรสทั้งสิ้น 2,792 คู่ โดยในจำนวนนี้ 1,832 คู่เป็นคู่รักเพศเดียวกัน แบ่งเป็นคู่รักชายรักชาย 616 คู่ และคู่รักหญิงรักหญิง 1,216 คู่ ซึ่งบางคู่มาจากครอบครัวที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมมากกว่า ต่างจากสหรัฐฯ ที่มีเจ้าหน้าที่รัฐปฏิเสธการจดทะเบียนสมรสโดยอ้างความเชื่อทางศาสนา เจ้าหน้าที่ไทยใน 878 อำเภอปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีรายงานเหตุวุ่นวาย ภายใต้แนวคิด“กรมการปกครองยินดีเป็นนายทะเบียนให้กับทุกความรัก”</p><p>ในการจดทะเบียนสมรสระหว่างคุณกำพล วงษ์นารี ข้าราชการในพระองค์ สังกัดกองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 กับคุณณัฐภูมิ แถนสีแสง "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เชิญช่อดอกไม้และของขวัญไปพระราชทานแก่ทั้งคู่ในโอกาสพิเศษนี้ด้วย” ในการรายงาน (https://www.facebook.com/photo/?fbid=1034849248676026&amp;set=a.2282931891811851)ของ Royal World Thailand พร้อมรูปภาพคุณกำพลแต่งกายในชุดเครื่องแบบอย่างสง่างามยืนเคียงข้างคู่สมรส</p><p>ด้านความเคลื่อนไหวอื่นๆ ของฝ่ายความมั่นคง พบว่าเว็บไซต์ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) นำเสนอข่าวในประเด็นนี้ตามปกติ ขณะที่บัญชี X (Twitter) ของมณฑลทหารบกที่ 27 ได้เผยแพร่ถ้อยแถลงของแพทองธาร ชินวัตร ระบุว่า "กฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นจุดเริ่มต้นความตระหนักรู้ของสังคมไทยในการเคารพความหลากหลายทั้ง เพศสภาพ เพศวิถี เชื้อชาติ และศาสนา ที่ทุกคนมีสิทธิ์และศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันค่ะ”</p><p>แม้แต่ สนธิ ลิ้มทองกุล นักอนุรักษนิยมก็ใช้โอกาสนี้สนับสนุนการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันผ่านรายการสนธิ ทอล์ค หลังวิจารณ์ "พรรคเพื่อไทย ที่พยายามโปรโมตเหลือเกินเรื่อง LGBTQ+ จัด Pride Month สมรสเท่าเทียม โปรโมตมากเสียจนเหมือนยัดเยียดให้คนที่เขาเฉยๆ หรือเห็นต่างเขารู้สึกหมั่นไส้ เพราะรู้สึกว่าเป็นการบีบบังคับให้คนอื่นต้องให้สิทธิพิเศษกับพวก LGBTQ+ มากเกินไป” สนธิอธิบายต่อ(ในการเสนอข่าวของผู้จัดการออนไลน์ (https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000008114)) ว่า</p><p>“ตัวผมเองมีพี่น้อง เพื่อนฝูง ลูกน้อง ที่เป็นตุ๊ด เกย์ เลสเบี้ยน กะเทย เยอะแยะ แต่ผมเปิดรับเรื่องนี้มานานแล้ว หนังสือพิมพ์ผู้จัดการก็รับนักข่าว LGBTQ มานานแล้ว ไม่เคยกีดกัน ไม่เหมือนบางสำนักข่าวที่แม้แต่เด็กฝึกงานก็ไม่ยอมรับ แต่ท่านผู้ชมครับ การผลักดันเรื่องนี้ที่เกินพอดี และเรียกร้องสิทธิพิเศษมากมายเกินไป ผมเห็นว่าเราต้องระมัดระวังและทำให้เกิดความสมดุลด้วย"</p><p>“ในเมื่ออเมริกาที่ใครหลายคนนับถือเขาเป็นพ่อ พอเปลี่ยนยุคมาเป็นยุคนายทรัมป์ มันกลับหลังหัน 180 องศา เรื่องนี้พวกคุณ พรรคประชาชน คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะว่าอย่างไร พวกพรรคประชาชน เด็กสามกีบ คุณพิธา น่าจะเดินทางไปยื่นหนังสือเรียกร้องที่สถานทูตอเมริกานะ บอกว่านโยบายทรัมป์ เป็นการลิดรอนสิทธิพลเมือง จำกัดสิทธิเสรีภาพ ล้าหลัง พวกคุณกล้าไหม ตอบผมหน่อยซิ ถ้าไม่กล้ามันก็เป็นข้อเท็จจริงว่าคุณเป็นแค่ทาสรับใช้นักการเมืองและทุนนิยมของตะวันตก”</p><p>ในงาน "Marriage Equality Day" จัดขึ้นที่ชั้น 5 ห้างสยามพารากอน มติชนรายงาน (https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_5012884)ว่า ส.ต.อ.พิสิษฐ์ สิริหิรัญชัย และชนาธิป สิริหิรัญชัย พนักงานบริษัทเอกชน ได้จดทะเบียนสมรสในวันแรกที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ หลังจากที่ใช้ชีวิตร่วมกันมาเป็นเวลา 6 ปี ก่อนมาจดทะเบียนสมรสได้มีการแจ้งกับเจ้านายแล้ว และได้รับคำอวยพรมาเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ตำรวจทุกคนที่ยินดีกับข่าวดังกล่าว</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54282606276_e85286c95b_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ชนาธิป สิริหิรัญชัย (ซ้าย) และ พิสิษฐ์ สิริหิรัญชัย (ขวา) ในงานอีเวนต์จดทะเบียนสมรสเท่าเทียมวันแรก</p><p>"เท่าเทียมก็เท่าเทียมไปสิผมไม่ว่า แต่อย่าเสือกเอาเครื่องแบบตำรวจไป เห็นแล้วทุเรศขยะแขยง โพสต์หอมแก้มลงโซเชียล" พล.ต.ท.เรวัช กลิ่นเกษร อดีตผู้บัญชาการสำนักงานปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) แสดงความเห็น หลังมองว่าการ "แต่งเครื่องแบบตำรวจ" ไป "ทำท่าจูบกันหอมกัน" ทำให้ "เสื่อมเสียเกียรติและศักดิ์ศรีในวิชาชีพ ผู้บังคับบัญชาควรตั้งคณะกรรมการสอบทางจริยธรรมและวินัย" เนื่องจาก "ประพฤติตนไม่เหมาะสม” แม้ "ไม่ได้ผิดร้ายแรง" ตามรายงานข่าวของผู้จัดการออนไลน์</p><p>"ผมโทรไปต่อว่าอย่าทำอย่างนี้ ไม่ดี ไม่เหมาะ ผมเห็นด้วยกับสมรสเท่าเทียม ไม่ได้ว่าคนอื่นแต่ว่าน้องตำรวจคนนั้น ทุกอย่างจะดีจะสวยแล้ว เขาดันไปแต่งเครื่องแบบตำรวจ ถ้าไม่แต่งทุกอย่างสดชื่นสมูทมาก"</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>'สมรสเท่าเทียม' กทม.จดทะเบียนสมรสคึกคัก (https://prachatai.com/journal/2025/01/112014)</li><li>กฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้แล้ว ต้องทำอะไรต่อ? | หมายเหตุประเพทไทย EP.561 (https://prachatai.com/journal/2025/02/112116)</li></ul></div><h2>“เขาอาจจะรู้สึกหมั่นไส้”</h2><p>น่าสนใจว่าฝ่ายอนุรักษนิยมมีปฏิกิริยาออกมาในลักษณะอิหลักอิเหลื่อ หลังการบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม ด้านหนึ่งเห็นด้วยและยินดี (ต่างจากฝ่ายขวาอเมริกาที่ต่อต้านเรื่องนี้อย่างเข้มข้น) แต่อีกด้านก็ห้ามปรามการรณรงค์และการแสดงออก (ต่างจากฝ่ายขวาอเมริกาที่ดูจะต่อต้านเรื่องเหล่านี้น้อยกว่า โดยเฉพาะในประเด็นที่ตัวเองผลักดัน) คำถามจึงมีอยู่ว่าเพราะเหตุใดฝ่ายอนุรักษนิยมไทยจึงมีปฏิกิริยาออกมาในลักษณะดังกล่าว</p><p>รายงานของ BBC Thai ระบุว่าเดิมทีสังคมไทยเคยให้การยอมรับกลุ่มคนหลากหลายทางเพศมาก่อน เพราะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมและไม่ได้ซึมซับอคติทางเพศมาจากเจ้าอาณานิคมเหมือนกับชาติเพื่อนบ้าน ในประวัติศาสตร์ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเคยมีส่วนร่วมในขนบการแสดงละครต่างๆ รวมถึงพิธีกรรมล้านนามาตลอด อย่างไรก็ตาม ทัศนะต่อต้าน LGBT ดูเหมือนจะเข้ามาแผ่ซ่านอยู่ช่วงหนึ่ง ภายใต้ระบอบทหารของจอมพล ป. พิบูลสงคราม</p><p>เมื่อเวลาผ่านไป สังคมไทยยอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้นตามลำดับ จะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า สังคมไทยคุ้นเคยกับคู่รัก LGBT มานานแล้ว แต่ความก้าวหน้าสำคัญเกิดขึ้นหลังการเคลื่อนไหวของ LGBT ในการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในปี 2562-2563 จนกลายเป็นกฎหมายสมเท่าเทียมอย่างที่เห็นในปัจจุบัน</p><p>ความก้าวหน้าดังกล่าวอาจถูกขัดขวางจากกลุ่มอนุรักษนิยมได้ทุกเมื่อ เนื่องจากสถาบันจารีตเป็นผู้กุมอำนาจชี้ขาด อย่างไรก็ตาม พวกเขากลับไม่ได้มองว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อผลประโยชน์หรือระบบความเชื่อของพวกเขามากนัก ด้วยเหตุนี้พรรคการเมืองอนุรักษนิยมจึงร่วมกับพรรคการเมืองอื่นๆ ในการสนับสนุนประเด็นนี้</p><p>“เรายังเหมือนกับว่าเป็นสังคมที่ยังยืดหยุ่น เลยทำให้เวลาต่อสู้เรื่อง LGBT เนี่ย ฝ่ายขวา กลาง หรือว่าฝั่งซ้าย มีบางเรื่องที่ยังไปด้วยกันได้” จะเด็จกล่าวหลังอธิบายเปรียบเทียบกับสังคมมุสลิมซึ่งมีมักลงโทษคู่รักเพศเดียวกันอย่างรุนแรง</p><p>"เรื่อง LGBT มันไม่ได้ไปแก้โครงสร้างมาก คือถ้าเป็นอย่างเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ คุณก็ต้องไปแก้หลายเรื่อง ซึ่งฝั่งอนุรักษ์อาจจะรับไม่ได้ เช่น เข้าไปทำให้อำนาจของทหารมีปัญหา ระบบราชการลดลง แบบนี้เขารับไม่ได้"</p><p>“ดังนั้น ผมคิดว่า LGBT ในสังคมไทยที่ยอมรับเนี่ย มันมาจากการที่ไม่ไปแตะผลประโยชน์เชิงโครงสร้าง ซึ่งทำให้เขาเสียผลประโยชน์มากมายนัก เพียงแต่ว่าเขาอาจจะรู้สึกหมั่นไส้ ถูกไหมครับ มันถึงได้ออกมาแบบแซว ออกมาพูดอะไรบ้าง</p><p>"อันนี้เราก็ต้องมองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่มันเป็นการถกเถียงแนวคิด สิ่งที่เราควรจะออกมาแลกเปลี่ยนก็คือเราต้องเอาเหตุผล แล้วก็จุดยืนที่เรามีอยู่ออกมาลบล้าง อย่างเช่นบอกว่าคุณจะไปห้ามตำรวจแต่งเป็นเครื่องแบบ แต่งตัว สำหรับผมแล้วมันเป็นเรื่องธรรมดามาก มันจะยิ่งทำให้วงการตำรวจดูก้าวหน้าด้วยซ้ำ"</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ครบรอบ 10 ปี กม.สมรสเท่าเทียม อังกฤษและแคว้นเวลส์ มีคู่แต่งงาน LGBTQ+ ไปแล้วกี่คู่ (https://prachatai.com/journal/2024/03/108640)</li></ul></div><h2>ทางข้างหน้ายังอีกไกล</h2><p>แม้การสมรสเท่าเทียมจะเป็นสัญญาณที่ดี แต่จะเด็จเห็นว่าขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBT ยังมีประเด็นต้องผลักดันอีกมาก ในสถาบันจารีต เช่น ตำรวจและทหารซึ่งแนวคิดชายเป็นใหญ่ยังยึดกุมแน่นหนา ก้าวต่อไปอาจเป็นการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพการแสดงออกอัตลักษณ์ทางเพศในที่ทำงานมากขึ้น</p><p>"คุณให้เขาแต่งกายตามเพศสภาพได้ไหม อันนี้สเต็ปหนึ่งเลยนะครับ ต้องสู้เรื่องนี้ให้ขาดให้ได้ ไม่ว่าตำรวจหรือทหาร คุณก็ต้องยอมรับ ยังไงก็ต้องสู้เรื่องนี้ อันนี้ผมมองว่ามันเป็นสัญลักษณ์ เหมือนกับตอนนี้มหา’ลัยเขาก็ยอมแล้ว"</p><p>แทนที่จะยึดติดกับแนวคิดชายเป็นใหญ่เหมือนในอดีต ฝ่ายความมั่นคงควรส่งเสริมนโยบายโอบรับความหลากหลาย และส่งเสริมการแข่งขันโดยมุ่งเน้นไปที่ความสามารถของบุคลากรแทนการด่วนตัดสินผ่านอคติทางเพศ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการบริการประชาชน</p><p>"ไม่ว่าเพศไหน ถ้ามีปัญหาเรื่องบทบาทหน้าที่การงานก็ต้องถูกจัดการหมด ไม่ใช่ว่าเฉพาะเพศหญิง หรือ LGBT เท่านั้นที่ทำให้ภาพพจน์เสีย เพศชายที่อยู่ในตำรวจภาพพจน์ก็แย่อยู่แล้ว ดังนั้น มีหลากหลายเพศแล้วอาจจะช่วยกันทำให้ตำรวจได้รับการยอมรับมากขึ้นก็ได้" จะเด็จกล่าว</p><p>"ถ้ามีเพศที่เป็น LGBT หรือมีเพศหญิงมากๆ ในวงตำรวจ แล้วก็มีลักษณะการที่จะรับใช้ประชาชน แล้วเค้ามีความหลากหลาย คนที่เป็นเพศหญิง คนที่เป็น LGBT เขาก็อยากไปใช้บริการ คุณควรจะสนับสนุนด้วยซ้ำใช่ไหมครับ มันจะทำให้ตำรวจเข้าถึงประชาชนมากขึ้น มากกว่าที่จะมีเฉพาะเพศชาย ซึ่งมีอำนาจเยอะ แล้วก็คนก็กลัว บางทีก็ไปแสดงอำนาจกับประชาชน"</p><p>การกำหนดโควตาให้แก่ผู้หญิงและกลุ่มผู้มีความหลากหลายเพศในระยะแรกอาจช่วยเปิดโอกาสให้คนเหล่านี้เข้ามาพิสูจน์ศักยภาพของตัวเองได้มากขึ้น จากนั้นจึงค่อยละทิ้งมาตรการเหล่านี้เมื่อสังคมให้การยอมรับแล้วอย่างกว้างขวาง</p><p>"ผมเชื่อว่าทุกคนอาจจะมี LGBT หรือเพศหญิงเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือเป็น ผบ.ทบ. ในอนาคต มันก็เป็นได้ถูกมั้ยครับ เพราะว่าอะไร เพราะว่าต่อให้คุณเป็นเพศไหน คุณก็สามารถที่จะบริหารงานและดูแลประชาชนได้อยู่แล้ว หรือสามารถที่จะทำให้ประชาชนปลอดภัยจากปัญหาเรื่องอาชญากรรมได้ มันไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศไง เรื่องภาระหน้าที่มันเป็นเรื่องของความสามารถ ศักยภาพ ซึ่งไม่จำกัดเรื่องเพศ"</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ทำไมต้องมี พ.ร.บ.คำนำหน้านาม? สิทธิอินเตอร์เซ็ก คนข้ามเพศ นอนไบนารี (https://prachatai.com/journal/2025/01/112019)</li></ul></div><h2>ไปให้ไกลกว่าสมรสเท่าเทียม</h2><p>จะเด็จกล่าวถึงข้อเสนอในการคุ้มครองสิทธิ LGBT ที่ยังต้องผลักดันต่อไป แม้ว่าจะมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว</p><p>“คุณต้องอย่าลืมว่า LGBT ไม่ได้มีแค่ชนชนชั้นกลางอย่างเดียว LGBT ยังมีคนยากคนจน มีกลุ่มชาติพันธุ์ มีคนงาน มีกลุ่มพนักงานบริการ มีกลุ่มต่างๆ หลากหลาย ฉะนั้นเนี่ย LGBT ก็ต้องเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการทางสังคม ที่ขับเคลื่อนไปกับขบวนการทางสังคม ไม่ว่าเรื่องสวัสดิการทางสังคม ไม่ว่าเรื่องประเด็น sex worker หรือประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำอื่นๆ”</p><p>"ตอนนี้มูลนิธิเรารับเคสที่เค้ามีชีวิตคู่แบบชายรักชายทำร้ายกัน คุณก็ต้องปกป้องเค้าถูกไหมครับ ดังนั้น LGBT บางคนก็มีลักษณะของชายเป็นใหญ่ อำนาจนิยม ทำร้ายชีวิตคู่ เรื่องนี้ก็ต้องออกมาเคลื่อนว่าทำแบบนี้มันไม่ได้"</p><p>หลังสมรสเท่าเทียมแล้ว คู่รัก LGBT ก็ยังต้องฝ่าฟันมายาคติอีกหลายอย่าง เช่น ความเชื่อว่าครอบครัว LGBT ไม่สามารถมีลูกได้

“การที่มีสมรสเท่าเทียมเนี่ยไม่ได้หมายความว่ามีข้อจำกัดว่าเขาจะมีลูกไม่ได้ เขาก็สามารถมีลูกได้ เขาก็สามารถที่จะเอาเด็กมาเลี้ยงได้ใครับ เราก็เห็นมีเด็กกำพร้าเยอะ มีหลายคู่เขาก็ต้องการที่จะมีเด็กที่เขาเลี้ยงแล้วก็สืบทอดครอบครัว ผมคิดว่าสังคมก็ต้องเปิดกว้างแล้วก็เข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น”</p><p>กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศยังต้องเผชิญความท้าทายอีกมาก ตั้งแต่ปัญหาเรื่องการยอมรับไปจนถึงปัญหาเรื่องความยากจนและความรุนแรง เมื่อยังมีประเด็นที่ต้องผลักดัน การแสดงออกอย่างกระมิดกระเมี้ยนตามข้อเสนอของฝ่ายอนุรักษ์นิยมคงไม่ใช่ทางออก</p><p>“เราจะมาหยุดยั้งหรือจะมาบอกว่ามันเวอร์ไม่ได้ครับ เพราะว่าต้องอย่าลืมว่าที่ผ่านมา LGBT ถูกกดทับ ถูกกดดันมาก เพราะงั้นการแสดงออกของเขาก็คือเป็นการแสดงออกถึง ซึ่งเสรีภาพของเขา ที่อยากจะบอกว่าเขามีอัตลักษณ์ มีความเป็นเพศของเขายังไง ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เขาแต่งสมรสแล้ว แล้วเขาก็ออกมาพูดเรื่องนี้ มาแสดงออกว่า เออ ชีวิตคู่เขา”</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าว[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคม[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิต[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทศ[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1" hreflang="th">สมรสเท่าเทียม[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E" hreflang="th">เพศสภาพ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/lgbtq" hreflang="th">LGBTQ+[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B4-%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5" hreflang="th">สนธิ ลิ้มทองกุล[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88" hreflang="th">ตำรวจ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">ฝ่ายขวาไทย[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%A5" hreflang="th">จะเด็จ เชาวน์วิไล[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->

            <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/02/112148