[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 12:57:07



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 4 ปีรัฐประหารพม่า เสนอไทย 'ตัวกลาง' เจรจาหยุดยิง เพื่อพม่าและไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 12:57:07
4 ปีรัฐประหารพม่า เสนอไทย 'ตัวกลาง' เจรจาหยุดยิง เพื่อพม่าและไทย
 


<span>4 ปีรัฐประหารพม่า เสนอไทย 'ตัวกลาง' เจรจาหยุดยิง เพื่อพม่าและไทย</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-02-04T11:47:20+07:00" title="Tuesday, February 4, 2025 - 11:47">Tue, 2025-02-04 - 11:47</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p><p>สัมภาษณ์/เรียบเรียง: ณัฐพล เมฆโสภณ&nbsp;</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>เมื่อปี 2566 ได้มีจุดเปลี่ยนสำคัญของสถานการณ์ในพม่า จากยุทธการ 1027 นำโดยกลุ่มกองกำลังพันธมิตร 3 พี่น้อง (Three Brotherhood Alliance - 3BHA) ประกอบด้วย กองกำลังโกก้าง MNDAA กองกำลังตะอางหรือปะหล่อง TNLA และกองกำลังอาระกัน AA จนสามารถยึดกุมเมืองเศรษฐกิจชายแดนรัฐฉานเหนือสำคัญเอาไว้ได้ ขณะที่กองกำลังอาระกัน AA ยังคงขยายอิทธิพลออกไปยังภูมิภาครัฐยะไข่ ฝั่งตะวันตกของประเทศพม่าในปีที่ผ่านมาอีกด้วย</p><p>ฝ่ายต่อต้านที่นำโดยรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) และกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (PDF) ออกมารายงานความคืบหน้าทางการทหารเมื่อปี 2567 อ้างว่าขณะนี้ฝ่ายตนเองสามารถควบคุมพื้นที่ได้ 177 อำเภอจาก 330 อำเภอทั่วประเทศแล้ว หรือมากกว่า 1 ใน 3 ขณะที่ฝ่ายกองทัพพม่า สามารถคุมพื้นที่ได้เต็มที่แค่ 107 เขตอำเภอเท่านั้น</p><p>สัญญาณแห่งความถอยของอิทธิพลกองทัพพม่า นำมาสู่คำถามสำคัญว่ากองทัพพม่าจะยังสามารถจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2568 ตามแผนที่วางไว้ได้หรือไม่ และอะไรอยู่เบื้องหลังการพยายามจัดการเลือกตั้งของกองทัพพม่า หรือคำถามที่ว่าทำไมจีนถึงเปลี่ยนจุดยืนทางการทูตกลับมาสนับสนุนกองทัพพม่าอีกครั้ง</p><p>ประชาไทหอบหิ้วเอาคำถามเหล่านี้ไปคุยกับ&nbsp;อาจารย์ลลิตา หาญวงษ์&nbsp;ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การเมืองพม่า จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำให้พบคำตอบว่า เรื่องการเลือกตั้งครั้งนี้ ยังไม่แน่ชัดว่ากองทัพพม่าจะสามารถจัดเลือกตั้งไหวหรือไม่ หรือจะต้องเลื่อนไปปีถัดไป</p><p>นอกจากนี้ ลลิตายังได้เสนอให้รัฐบาลปรับกระบวนทัศน์ทางการทูตต่อพม่า ในฐานะบทบาทตัวกลางเจรจาหยุดยิง และตีความ ‘รัฐกันชน’ แบบใหม่ เพื่อลดกระทบจากสงครามกลางเมืองในมิติต่างๆ</p><h2>เลือกตั้งพม่าส่อเค้าเลื่อน 'ทางลง' ที่ดีที่สุดของกองทัพ</h2><p>เริ่มจากคำถามแรก คือ กองทัพพม่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปีนี้ (2568) สำเร็จหรือไม่&nbsp; ลลิตา กล่าวว่า การเลือกตั้งทั่วไปที่กองทัพพม่าอยากจะจัดในปีนี้ ข่าวล่าสุดบอกว่าอาจจะเลื่อนออกไปในปี 2569</p><p>“รัฐบาลทหารเขารัฐประหารมายึดอำนาจจากรัฐบาล NLD มา มันก็อาจจะฟังดูแปลกๆ ว่าทำไมเขาอยากผลักดันให้มีการเลือกตั้ง แต่เหตุผลง่ายๆ ที่พม่าต้องมีเลือกตั้ง ในมุมมองของกองทัพ มันจะเป็นทางลงทางการเมือง เป็นเหตุผลที่ดีที่จะนำไปสู่การ ‘เจรจาหยุดยิงทั่วประเทศต่อไป’ (National Ceasefire Agreement - NCA) ที่อาจจะมี” ลลิตา กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54295201687_e1a836778c_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ลลิตา หาญวงษ์</p><p>ผู้เชี่ยวชาญด้านพม่า ให้มุมมองว่า แม้ว่ากองทัพพม่าจะคาดหวังให้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศก็ตาม แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ง่าย และสร้างสันติภาพที่แท้จริงไม่ได้ เพราะว่าขัดแย้งแค่นิดเดียวก็กลับมารบใหม่แล้ว</p><p>อีกปัจจัยหนึ่ง บริบทการเมืองพม่าเต็มไปด้วยกองกำลังชาติพันธุ์จำนวนมาก อาจจะมากกว่า 10 กลุ่มที่ยังปฏิบัติการอยู่ แต่ละกลุ่มก็มีข้อเรียกร้องและจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน มีขนาดและความเคลื่อนไหวที่แตกต่างกัน ดูอย่างกองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) มีทั้งหมด 7 กองพลน้อย ซึ่งแต่ละกองพลก็เคลื่อนไหวและมีจุดหมายไม่เหมือนกัน กองทัพไทใหญ่ก็แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายกองทัพรัฐฉานเหนือ (SSPP/SSA) และกองทัพรัฐฉานใต้ (RCSS/SSA) ดังนั้น เราเลยไม่เห็นภาพว่าข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศที่จะรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือรวมคู่ขัดแย้งทุกฝ่าย มันแทบจะไม่มีโอกาสเป็นไปได้เลย</p><p>ดังนั้น กองทัพพม่าเขาจึงคิดว่าทางลงที่ดีของสภาบริหารแห่งรัฐ (State Administration Council - SAC) แล้วให้มีรัฐบาลกึ่งทหารกึ่งพลเรือนเข้ามาแทน แต่ยังต้องย้ำว่า กองทัพพม่ายังไงก็ต้องมีบทบาททางการเมือง ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญพม่า ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) ที่กำหนดให้ผู้แทน 1 ใน 4 ของสภามาจากกองทัพ หรือให้พรรคนอมินีของกองทัพพม่า อย่างพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ออกไป กองทัพพม่าจะไม่มีวันยอมรับเด็ดขาด เพราะกองทัพพม่าเขาเชื่ออย่างหนักแน่นว่าเขาคือผู้พิทักษ์ไม่ให้ประเทศเมียนมาแตกสลาย ยังไงก็ต้องมีทหารอยู่ในการเมือง</p><h2>ทำไมจีนต้องสนับสนุนการเลือกตั้งพม่า</h2><p>ต่อคำถามว่า ทำไมจีนถึงเปลี่ยนนโยบายกลับมาสนับสนุนการเลือกตั้งทั่วไปพม่า ลลิตาให้ความเห็นว่า ส่วนหนึ่งมาจากจีนมองว่า พม่ามีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ชายแดน เนื่องจากมีโครงการ “One Belt One Road Initiative (BRI) หรือเส้นทางสายไหม ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นเส้นทางที่เชื่อมจากเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน วิ่งลงมาที่รัฐฉานเหนือ ผ่านภูมิภาคมัณฑะเลย์ ตอนกลางของพม่า และสิ้นสุดที่ท่าเรือน้ำลึก 'เจาก์ผิ่ว (Kyaukphyu) ในรัฐอาระกัน ทางตะวันตกของประเทศพม่า เพื่อที่จีนจะใช้เป็นทางออกทะเลให้กับมณฑลยูนนาน ทางใต้ของจีน นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวยังมีท่อส่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันของจีนส่งต่อไปที่คุนหมิงอีกด้วย ดังนั้น ความมั่นคงทางพลังงานของจีนทางตอนใต้ เส้นทางการค้าทางทะเล มันจะอยู่ที่รัฐอาระกันทั้งหมด</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54306485310_a223098186_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ภาพเส้นทางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และท่อส่งน้ำมัน จากตะวันตกของพม่าวิ่งผ่านไปยังเมืองคุนหมิง ประเทศจีน (ที่มา: เว็บไซต์ Earth Rights International (https://earthrights.org/photo-essay-selected-impacts-of-the-shwe-natural-gas-myanmar-china-oil-transport-projects/?fbclid=IwY2xjawIOljhleHRuA2FlbQIxMAABHWj38Nnnk24Fwwi7wKKw1AGs1K4kDejvA37FJBmA-5gVfuUmx8G1k5ZIOA_aem_WzfzAr7KfBT95tzMvS_2iQ))</p><p>ลลิตา อธิบายต่อว่า หลังรัฐประหารพม่า และสงครามกลางเมือง ทำให้จีนรู้สึกว่าตัวเองเริ่มจะควบคุมเกมนี้ไม่ได้ รัฐบาลปักกิ่งเลยเลือกไปสนับสนุนกลุ่มกองกำลังชาติพันธุ์บางกลุ่ม ซึ่งเราอาจจะเคยได้ยินปฏิบัติการ 1027 นำโดย ‘กลุ่มพันธมิตร 3 พี่น้อง’ จีนให้กองกำลังเหล่านี้ช่วยกันดูแลผลประโยชน์ของจีน ตั้งแต่รัฐฉานเหนือ ลงมาที่ท่าเรือน้ำลึกเจาก์ผิ่ว รัฐอาระกัน แต่ท้ายที่สุดจีนก็พบว่าวิธีนี้ไม่สมบูรณ์แบบ และวิธีการที่เขาจะรักษาผลประโยชน์ของจีนได้ คือการกลับไปคุยกับรัฐบาลทหารพม่า</p><p>“กองกำลังชนกลุ่มน้อยไม่ได้มีเอกภาพ และการตัดสินใจว่าจะช่วยรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และธุรกิจจีนในพม่า จีนเขาประเมินแล้วว่าถ้าปล่อยให้ชนกลุ่มน้อยทำ เขาก็ไม่ได้รับประโยชน์ 100% แต่ถ้าเป็น ‘ตัวกลาง’ ให้ชนกลุ่มน้อยมาคุยกับ SAC สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับจีนคือมีความสงบเกิดขึ้นในพื้นที่ เพราะถ้ามันมี Airstrike (การโจมตีทางอากาศ) แล้วมันไปเข้าใกล้ Pipeline (ท่อส่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน) ของจีน คือแค่โจมตีแค่ครั้งเดียว ท่อส่งก๊าซก็เป็นอัมพาตไปจนถึงคุนหมิง เมื่อจีนเขารู้สึกว่าเขาเปราะบาง การสนับสนุนกองกำลังชาติพันธุ์ไม่ได้ผล SAC ยังทำสงคราม ยังโจมตีทางอากาศมากขึ้น จีนก็ต้องหันไปหามินอ่องหล่าย ให้ช่วยกันการรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศที่ 3 คือการให้ทุกฝ่ายมาเจรจากัน ไม่มีสงครามในพื้นที่ตรงนั้น คือสิ่งที่ดีที่สุด ดีกว่ายุให้คนนี้ตีกับคนนี้” ผู้เชี่ยวชาญด้านพม่า กล่าว</p><h2>กองทัพพม่าอ่อนแอ แต่ไม่พ่ายแพ้ในเร็ววัน</h2><p>กองทัพพม่ามีทัศนคติที่ยึดมั่นอย่างมาก นอกจากการป้องกันไม่ให้ประเทศเมียนมาแตกสลาย คือการป้องกันภัยคุกคามจากภายนอก เช่น ประเทศโลกตะวันตก สหรัฐฯ จีน และอื่นๆ ชนิดที่ว่าใครจะมาสั่งก็ไม่ได้</p><p>ถ้าอย่างนี้การเพิ่มขึ้นทางด้านอิทธิพลของรัฐบาลปักกิ่งเหนือดินแดนลุ่มน้ำอิระวดี ถือเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนความอ่อนแอของกองทัพพม่าได้หรือไม่ อาจารย์ลลิตาประเมินว่า กองทัพพม่าอ่อนแอลงจริง ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนผ่านมาตรการบังคับการเกณฑ์ทหารอย่างเร่งด่วนในช่วงที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มกำลังพลรับมือกับสงคราม แต่ถ้าถามว่าจะล่มสลายเร็วๆ นี้ไหม คำตอบคือ ไม่</p><p>ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองพม่า มองว่า ปัจจัยแรกคือ SAC ยังมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ดีกว่ากองกำลังชาติพันธุ์โดยเฉพาะหมัดเด็ดคือ ‘การโจมตีทางอากาศ’ โดยเขาจะใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดใส่แบบไม่เลือกเป้าหมาย อย่างโรงเรียน โรงพยาบาล หรือตลาด ก่อนหน้านี้เขาเคยทิ้งระเบิดใส่โบสถ์ทำให้คนเสียชีวิตนับร้อยคน หรือล่าสุดใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดใส่ตลาดในรัฐยะไข่ ก็เพื่อข่มขู่กองกำลังอาระกัน AA ที่กำลังเข้มแข็งขึ้น ดังนั้น ถ้าตราบใดที่กองกำลังชาติพันธุ์ยังรับมือตรงนี้ไม่ได้ เหยื่อก็คือประชาชน</p><p>“ตราบใดก็ตามที่ SAC ยังมีอาวุธเข้ามาเติมเรื่อยๆ คงมีไม้ตายเป็นการโจมตีทางอากาศ โอกาสที่สงครามมันจะจบ กองกำลังชาติพันธุ์จะไปโชว์สัญลักษณ์ victory (ชัยชนะ) หรือว่าไปปักธงว่าฉันชนะ SAC โอกาสมันเป็นไปได้ยาก” ลลิตากล่าว</p><p>อีกปัจจัยที่ทำให้ฝ่ายต่อต้านยังไม่สามารถโค่นรัฐบาลทหารพม่าได้อย่างเบ็ดเสร็จ คือ การขาดความเป็นเอกภาพ หรือต่อให้กองกำลังชาติพันธุ์รวมตัวกันได้ อย่างก่อนหน้านี้เคยมีกลุ่ม K3C ซึ่งเป็นการจับมือกันระหว่างสหภาพกะเหรี่ยงแห่งชาติ (KNU) กองกำลังปลดแอกกะฉิ่น (KIA) พรรคกะเรนนีก้าวหน้าแห่งชาติ (KNPP) และแนวร่วมแห่งชาติชิน (Chin National Front) ต้องการร่วมกันโจมตี SAC เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด เพราะกองทัพพม่ายังมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่าในทุกๆ ทาง และกองกำลังชาติพันธุ์ยังขาดการสนับสนุนจากภายนอก แน่นอนว่ามันมีอาวุธที่เข้ามาจากชายแดนทุกทาง แต่ก็ไม่พอให้สามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้</p><h2>เงื่อนไขที่ไม่ลงตัว สันติภาพที่ไกลออกไป</h2><p>ฉากทัศน์ในปี 2568 นี้ ลลิตาประเมินว่า สันติภาพในพม่าจะเข้าใกล้เฉพาะกองกำลังชาติพันธุ์บางกลุ่มเท่านั้นด้วยการเจรจาสันติภาพ กองกำลังชาติพันธุ์อาจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่พอจะคุยได้บ้าง อย่างกองกำลังโกก้าง MNDAA และกองกำลังตะอาง TNLA ที่เคยเจรจาหยุดยิงกับพม่าโดยมีจีนเป็นตัวกลาง (โบรกเกอร์) กลุ่มนี้คุยง่ายกว่า</p><p>ส่วนกลุ่มที่เจรจายาก คือกลุ่มที่ปฏิบัติการหลังพิงชายแดนไทย อย่างกองกำลัง KNU บางกองพลน้อย หรือ KNPP ของรัฐกะเรนนี เพราะว่ากลุ่มนี้มีความขัดแย้งกันมา 80 ปีนับตั้งแต่พม่าได้เอกราช อยู่ดีๆ โยนกระดาษมาให้เขาเซ็นมันก็ยาก หรือบางกลุ่มอย่างกองกำลัง AA รัฐอาระกัน กลุ่มนี้มีข้อเรียกร้องต้องการระบอบสหพันธรัฐ และมีอำนาจปกครองตนเอง ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่กองทัพพม่าไม่ยอมรับเด็ดขาด</p><p>ส่วนโจทย์ที่ยากที่สุดคือฝ่ายต่อต้านอย่างรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) และกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (People's Defense Force - PDF) ที่พร้อมจะสู้จนกว่าจะพิชิตกองทัพพม่า</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54305132987_d8c0e23f0d_b.jpg" width="1024" height="770" loading="lazy">(ซ้าย) ดูหว่า ละชิละ รักษาการประธานาธิบดี รัฐบาล NUG ปรากฏตัวเมื่อ 30 พ.ค. 2565 (เผยแพร่ทางเพจเฟซบุ๊ก National Unity Government of Myanmar (https://www.facebook.com/photo/?fbid=324286329874597&amp;set=pcb.324288296541067))</p><p>"จากประสบการณ์ที่เคยคุยกับคนเหล่านี้ (ผู้สื่อข่าว - คนจากทางฝั่ง NUG และ PDF) มา เขาไม่ยอมเจรจากับ SAC เลย อาจจะมีเงื่อนไขบ้าง เงื่อนไขแรก SAC ต้องยอมวางอาวุธ แต่เราเห็น SAC ยอมวางอาวุธหรือไม่เอาเครื่องบินไปถล่มหมู่บ้านไหม ตรงนี้เราไม่เห็นจาก SAC และอีกเงื่อนไขคือฝ่ายต่อต้านให้ความสำคัญกับความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน ไม่ว่าใครก็ตามที่เป็นอาชญากรสงคราม หรือคนที่มีส่วนร่วมกับการโจมตีหมู่บ้าน ทำให้ประชาชนต้องเสียชีวิต ก็ต้องรับโทษ เอาตัวขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศในฐานะอาชญากรสงคราม เราเห็น SAC รับเรื่องพวกนี้ไหม มันเป็นไปไม่ได้ …พวกเขามองไปถึงชัยชนะเหนือ SAC หรือกองทัพพม่าอย่างเบ็ดเสร็จ ตราบใดก็ตามที่เขายังไม่มีชัยชนะเหนือ SAC ได้ สงครามจะเป็นแบบนี้ต่อไป" ลลิตา กล่าว</p><p>เมื่อทุกคนมีผลประโยชน์ส่วนตัว ทุกคนมีข้อเสนอของตัวเอง ทุกคนมีข้อจำกัดว่า รับได้เท่านั้นเท่านี้ ถ้ามากไปกว่านี้ฉันจะไม่รับ ดังนั้น การทำข้อตกลงหยุดยิง ทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค หรือในระดับเขตพื้นที่อำเภอ จำเป็นต้องมี ‘คนกลาง’ การเจรจา และต้องเป็นคนต่างชาติ</p><h2>ถึงเวลาที่ไทยต้องคิดถึงการเป็น 'ตัวกลาง' หรือยัง</h2><p>ย้อนไปเมื่อปี 2558 สมัยรัฐบาลพลเรือนนำโดยพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) สามารถเจรจาหยุดยิงทั่วประเทศ หรือข้อตกลงปางหลวง ศตวรรษที่ 21 ส่วนหนึ่งมาจากการที่อองซานซูจี นั่งเก้าอี้เป็นคนกลาง แต่ในปัจจุบันบริบทและเงื่อนไขเปลี่ยนไป อองซานซูจีตอนนี้ก็ถูกกองทัพพม่ากักบริเวณภายในบ้านพัก ตำแหน่ง ‘คนกลาง’ เกิดภาวะสุญญากาศขึ้นมา</p><p>อาจารย์จาก ม.เกษตร ให้ความเห็นว่า ถ้าเราให้คนพม่าเป็นคนกลาง เรื่องนี้จะไม่มีวันจบสิ้น เพราะจะมีข้อครหาว่าทำไมคนพม่าต้องเป็นกรรมการ คนพม่าได้ประโยชน์ พอกะเหรี่ยงมาเป็นกรรมการ ก็จะมีการตั้งคำถามว่าทำไมต้องเป็นคนกะเหรี่ยง ทำไมไม่ใช่คนกะเรนนี หรือคนยะไข่ ที่สูญเสียหนักสุดตอนนี้ ดังนั้น คนต่างชาติจึงเหมาะสมที่สุดในกรณีนี้ ซึ่งลลิตาเสนอว่า ไทยควรเป็น ‘ผู้นำบทบาทตัวกลางเจรจา’ ในพม่า</p><p>ลลิตาเสนอเช่นนี้ เนื่องจากไทยได้รับผลกระทบจากสงครามกลางเมือง และปัญหาชายแดนโดยเฉพาะปัญหาสแกมเซ็นเตอร์และการอพยพเข้ามาของชาวพม่า ประกอบกับ บุคลากรของไทยมีความพร้อมและศักยภาพอย่างมากที่จะทำงานในฐานะตัวกลาง</p><p>“เรากล้าพูดได้เลยทรัพยากรบุคคลของไทยในการเป็นตัวกลางในการเจรจาได้ เรามีคนเก่งๆ เรามีคนที่เข้าใจบทบาทชายแดน เรามีคนที่เข้าใจชาติพันธุ์อย่างถ่องแท้เยอะ รัฐบาลจะดึงคนที่มีศักยภาพเหล่านี้อย่างไร นั่นคือโจทย์ใหญ่ที่สุดของรัฐบาล” ลลิตา ระบุ</p><p>ผู้เชี่ยวชาญด้านพม่า มองว่า โจทย์ใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ไทยต้องนำคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายมาคุยกันให้ได้เท่านั้น แต่ยังอยู่ที่ทัศนคติของรัฐไทยเองที่มองว่าการแก้ไขปัญหาใดๆ ในเมียนมาจะต้องเป็น ‘กระบวนการที่คนเมียนมาเป็นผู้นำ และเป็นเจ้าของกระบวนการเหล่านี้’ หรือที่เรียกว่า ‘Myanmar led, Myanmar own’ แนวความคิดที่เป็นมรดกตกทอดมาจากสมัยเริ่มมีองค์กรอาเซียนเรื่องนี้ควรจะเปลี่ยนไปได้แล้ว</p><p>“ส่วนตัวมองว่าเราท่องคำศัพท์นี้มานานเกินไป”</p><p>"เราลองนึกดูว่าถ้าเราเข้าไปเป็นตัวกลางในการเจรจา เราสามารถช่วยชีวิตประชาชน ทำให้สถานการณ์ชายแดนของไทย-เมียนมามันดีขึ้น เราสามารถป้องกันไม่ให้คลื่นมนุษย์กี่หมื่นกี่แสนคนเข้ามาในฝั่งประเทศไทย คุณจะต้องออกจาก mindset (ทัศนคติ) ตรงนี้ก่อน ถ้าคุณปล่อยให้กระบวนการนี้ทำโดยคนภายในพม่า มันจะไม่มีวันจบ แล้วไทยเราจะกลายมาเป็นผู้รับกรรม หรือผู้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบจากสงครามกลางเมือง" ลลิตา กล่าว</p><p>ลลิตา มองว่า การเป็นตัวกลางอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นการเจรจาข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ เพราะว่ายากที่จะให้คู่ขัดแย้งมาร่วมโต๊ะเดียวกัน แต่เป็นไปได้ไหมที่อย่างน้อย พื้นที่ชายแดนปฏิบัติการทิ้งระเบิดทางอากาศจะต้องหยุด ความรุนแรงที่มีต่อประชาชนจะต้องหยุด และไทยก็ต้องหันไปคุยกับกองกำลังชาติพันธุ์กับฝ่ายต่อต้านว่าการรบทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ไทยได้รับผลกระทบ เธอเน้นย้ำว่าไทยควรเล่นบทบาทนี้ในฐานะผู้นำ 'อย่าเหนียมอาย' ที่จะเป็นผู้นำในการเจรจาแก้ไขปัญหา เพราะว่าเราได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสงครามกลางเมืองพม่า และเชื่อว่าอาเซียนจะสนับสนุนเรื่องนี้</p><p>"เราแก้ไขปัญหานี้ไม่ใช่เพราะว่าเราอยากจะเป็นฮีโร่ หรือไม่ใช่เพราะว่าเราหิวแสง แต่เราอยากจะแก้ไขปัญหาภายในของเรา เราอยากจะแก้ปัญหาข้ามแดนต่างๆ เช่น ปัญหาสแกมเซ็นเตอร์ด้วย" อาจารย์ ม.เกษตร กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54306275338_f01f7cd0c2_b.jpg" width="1023" height="682" loading="lazy">แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบ พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ผู้นำ SAC ระหว่างการประชุม Greater Mekong Subregion and the Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Co-operation Strategy หรือ ACMECS ที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน (ที่มา: Tachilek News Agency (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=968318505341467&amp;id=100064899781683&amp;set=a.588245110015477))</p><h2>สร้างแนวคิด 'รัฐกันชน' ใหม่</h2><p>ลลิตาเสนอต่อว่า นอกจากบทบาทตัวกลางการเจรจาที่ไทยสามารถทำได้แล้ว ไทยต้องพิจารณาการทูต 2 ระดับ คือ กลไกในระดับรัฐต่อรัฐ และกลไกระดับประชาชนต่อประชาชนตามแนวชายแดน</p><p>ลลิตาเสนอว่า รัฐไทยต้องตีความ ‘รัฐกันชน’ (Buffer State) ใหม่ ซึ่งไม่ใช่ในมุมมองด้านความมั่นคงหรือการทหาร เพราะว่ามันหมดยุคที่เราจะมองรัฐนู้นรัฐนี้เป็นคอมมิวนิสต์ไปแล้ว แต่เราจะทำยังไงที่จะไปพัฒนาพื้นที่ชายแดนฝั่งพม่าให้ดีขึ้น เพื่อที่เมื่อมีปัญหาแล้ว เขาจะไม่ต้องอพยพเข้ามาฝั่งไทย หรือไทยจะพัฒนาระบบสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อนบ้านอย่างไร เพื่อไม่ให้โรงพยาบาลอุ้มผางหรือโรงพยาบาลแม่สอดต้องรับภาระ เวลาเราพูดเราไม่ได้หมายถึงว่าเราจะต้องปกป้องสิทธิคนจากเมียนมา 100% แต่เราพูดถึงว่าเราจะป้องกันรัฐไทยไม่ให้สูญเสียไปมากกว่านี้</p><p>“รัฐกันชนมันจะต้องถูกตีความใหม่ เพื่อให้สอดรับกับบริบทในปัจจุบันว่า เราอยากจะเห็นรัฐเพื่อนบ้านของเราดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐพม่า อาจจะเป็นกะเหรี่ยง อาจจะเป็นกะเรนนี อาจจะเป็นฉานใต้ หรือว้า หรืออะไรก็แล้วแต่ที่อยู่ติดกับเรา เราจะไปทำยังไงและเราจะมีแผนในเชิงบูรณาการอย่างไร เพื่อทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในฝั่งนู้นไม่เป็นภาระกับรัฐไทยมากจนเกินไป เราต้องกลับมาคิดกันอย่างจริงจัง มิเช่นนั้นถ้าเราไม่มีแผนบูรณาการกันระหว่างกระทรวงต่างๆ หรือหน่วยงานความมั่นคงต่างๆ ก็จะกลับมาเรื่องเดิมคือเราจะรับมือกับภัยคุกคามอย่างไร” ลลิตา กล่าว</p><p>ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐก็ยังต้องคงไว้ อาจารย์ ม.เกษตร มองว่า คนไทยบางส่วนมักมีแนวคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องคุยกับ ‘มินอ่องหล่าย’ แต่ในความเป็นจริงมันยังมีกลไกรัฐต่อรัฐที่ต้องคุยกัน ยกตัวอย่างกรณีการเปิด-ปิดด่านชายแดน การเจรจาให้ปล่อยตัวลูกเรือประมงไทยที่ถูกทางการพม่าควบคุมตัว เมื่อเกิดกรณีแบบนี้ขึ้น ยังไงกลไกระดับรัฐต่อรัฐมันก็ต้องกลับมา แต่มันก็มีมิติที่เราต้องคุยกับกองกำลังชาติพันธุ์ตามชายแดน เช่น กรณีที่ค่ายทหารกองทัพสหรัฐว้า (UWSA) รุกล้ำเขตแดนไทย ถ้ารัฐบาลไทยเรียกร้องไปทางรัฐบาลเนปิดอ เขาก็ไม่มาจัดการให้ เพราะทหารพม่าเองก็ไม่อยากมีปัญหากับ UWSA</p><h2>ผู้กำหนดนโยบายต้องชัดเจน ลงพื้นที่จริง</h2><p>ผู้เชี่ยวชาญด้านพม่ามีมุมมองว่า นโยบายชายแดนของรัฐบาลไทยต้องมีความชัดเจน ชัดเจนว่าปัญหาคืออะไร เราต้องการหรืออยากเห็นอะไร เช่น มาตรการปิดกั้น (seal) ชายแดน เพราะว่าเราต้องการป้องกันคนลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายหรือเปล่า แต่เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องง่ายดาย เพราะว่าเราไม่ได้มีกำแพงกั้น มีแต่ชายแดนธรรมชาติ เราจะเอาทหารมาเดิน 2,400 กว่ากิโลเมตรก็ไม่ไหว มันก็ต้องมาพูดถึงเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับแค่หน่วยงานหรือองค์กรเดียว มันเกี่ยวกับหลายฝ่าย หรือคุณจะไปพัฒนาสถานีอนามัยเพื่อไม่ให้มีคนข้ามมาคลอดฝั่งเรา มันมีนโยบายหลากหลายที่จะทำ สำคัญที่สุดคือนโยบายจากส่วนกลางต้องมีแผนปฏิบัติงานและมีโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจน และแผนตรงนี้ต้องมาจากการลงพื้นที่ดูสถานการณ์จริงในชายแดน&nbsp;</p><p>“ส่วนตัวเราไม่อยากให้นโยบายมันออกมาจากการนั่งโต๊ะในกรุงเทพฯ ถามกันทางไลน์ว่าสถานการณ์มันเป็นยังไง แต่การเรียกทุกฝ่ายมานั่งคุยกันโดยไม่มีสิ่งที่เรียกว่าผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชามันเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ที่จะทำให้ผู้บังคับบัญชาเองได้รับรู้ข้อเท็จจริงว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้างตามแนวชายแดน แต่หลายครั้งแม้ผู้บังคับบัญชาเข้าไปสัมผัสในพื้นที่ แต่ไม่ได้เห็นสถานการณ์จริง” ลลิตากล่าว</p><h2>คนเดียวทำไม่ไหว ต้องบูรณาการการทำงาน</h2><p>ท้ายที่สุด ลลิตามองว่าการแก้ไขปัญหาในพม่าไม่มีหน่วยงานไหนทำงานคนเดียวได้ ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน</p><p>“กระทรวงการต่างประเทศไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง สมช.ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง เขาอาจจะมีหน่วยงานออกนโยบาย แต่เขาไม่มีกองกำลังของตัวเอง ท้ายที่สุดแล้วหน่วยงานความมั่นคงทุกแห่ง ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องจะต้องมานั่งคุยกัน ทำให้ทุกอย่างเป็นหน้ากระดาษเปล่าก่อนว่าปัญหาคืออะไร และสิ่งที่เราอยากจะเห็นคืออะไร แต่ละกระทรวงทำอะไรได้บ้าง คุณระดมทุกทรัพยากรที่คุณมี คนที่เก่งๆ คนที่ไม่มีผลประโยชน์ส่วนบุคคล คนที่ต้องการจะเห็นสงครามตรงนี้มันจบ และรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ เอามารวมกัน แล้วนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง ไม่ใช่ว่าตำรวจทำอย่างหนึ่ง ทหารทำอย่างหนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศทำอีกแบบหนึ่ง" ลลิตา กล่าว</p><p>ต่อประเด็นทิ้งท้ายว่ากรณีของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของ อันวาร์ อิบบราฮิม นายกรัฐมนตรีของมาเลเซียและเป็นประธานอาเซียนคนปัจจุบัน จะทำให้ปัญหาวิกฤตการเมืองในพม่าดีขึ้นหรือไม่</p><p>เรื่องนี้ลลิตา ให้ความเห็นว่า เธอก็ยังตอบไม่ได้ เพราะว่าไม่รู้ว่าอดีตนายกฯ จะทำอะไรบ้าง แต่ถ้าลองสังเกตการณ์จากสถานการณ์พรรคร่วมรัฐบาลที่เกิดขึ้น เวลาจะทำอะไร อีกฝ่ายก็จะมีการคัดง้างกันตลอด ซึ่งส่วนตัวเธอไม่อยากให้เรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องทางการเมือง แต่อยากให้เป็นวาระของรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขปัญหาจริงๆ เพราะว่าเรื่องนี้ไม่ได้อาศัยเฉพาะฝ่ายการเมือง แต่ยังมีฝ่ายราชการอีกหลายฝ่ายที่ต้องร่วมทำงานกัน&nbsp;</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54306493400_bed7257988_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">(ขวา) อันวาร์ อิบบราฮิม นายกรัฐมนตรี มาเลเซีย พบ (ซ้าย) ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน เมื่อ 3 ก.พ. 2568 (ที่มา: เพจเฟซบุ๊ก Voice TV (https://www.facebook.com/VoiceOnlineTH/videos/1824494191639905/))</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สัมภาษณ์[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทศ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87" hreflang="th">ความมั่นคง[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C" hreflang="th">ลลิตา หาญวงษ์[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">พม่า[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2" hreflang="th">เมียนมา[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99" hreflang="th">จีน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">รัฐประหารพม่า[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">ชายแดนไทย-พม่า[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93-%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3" hreflang="th">ทักษิณ ชินวัตร[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/nug" hreflang="th">NUG[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/pdf" hreflang="th">PDF[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C" hreflang="th">กองกำลังชาติพันธุ์[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3" hreflang="th">แพทองธาร ชินวัตร[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->

            <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/02/112088