หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 25 สส.ประชาชน เสี่ยงถูกตัดสิทธิตลอดชีวิต ลุ้นคดี ‘ฝ่าฝืนจริยธรรม’ เหตุเสนอแก้ 112 เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 21:43:10 25 สส.ประชาชน เสี่ยงถูกตัดสิทธิตลอดชีวิต ลุ้นคดี ‘ฝ่าฝืนจริยธรรม’ เหตุเสนอแก้ 112
<span>25 สส.ประชาชน เสี่ยงถูกตัดสิทธิตลอดชีวิต ลุ้นคดี ‘ฝ่าฝืนจริยธรรม’ เหตุเสนอแก้ 112</span> <span><span>See Think</span></span> <span><time datetime="2025-02-18T20:07:09+07:00" title="Tuesday, February 18, 2025 - 20:07">Tue, 2025-02-18 - 20:07</time> </span> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ป.ป.ช. ส่งหนังสือแจ้งข้อกล่าวหา ‘ผิดจริยธรรมร้ายแรง’ จากการเสนอแก้ไขมาตรา 112 กับ 44 อดีต สส.พรรคก้าวไกลแล้ว ตอนนี้ผู้ถูกกล่าวหาทยอยแจ้งการได้รับเอกสารและเตรียมเข้าชี้แจงข้อกล่าวหา ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เอกสารดังกล่าว ส่งให้ทั้งอดีต สส. ทั้ง 44 คนหรือไม่ เนื่องจากกรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/politics/1166879#google_vignette)รายงานว่า มี สส. และเป็นอดีต สส. ได้ถูกเชิญเข้าให้ถ้อยคำกับ ป.ป.ช. โดยอาจมีบางรายถูกกันไว้เป็นพยานในการไต่สวน ทำให้ไม่ถูกแจ้งข้อกล่าวหา</p><p><strong>รังสิมันต์ โรม</strong> สส.พรรคประชาชน ตั้งคำถามว่า ทำไม ป.ป.ช. ต้องรีบขนาดนี้ ยอมรับว่าการแจ้งข้อกล่าวหาตอนนี้ทำให้เสียสมาธิในการเตรียมอภิปรายไม่ไว้วางใจ สส.บางคนก็ต้องถอนตัวจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ <strong>ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ</strong> หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวว่า จะขอขยายกรอบเวลาการเข้าชี้แจง ที่ ป.ป.ช.กำหนดเบื้องต้น 15 วันออกไป เนื่องจากต้องเตรียมการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นอกจากนี้ ยังหวังว่า ป.ป.ช.จะใช้มาตรฐานเดียวกันในการดำเนินคดี เพราะคดีดังกล่าวไม่ใช่คดีชุด เป็นคดีที่ต้องดูตามการกระทำเป็นรายบุคคล ไม่ควรมีการมัดรวมเป็นคดีชุดเพื่อเร่งรัดกระบวนการ และใช้เวลาในกระบวนการไต่สวนอย่างเป็นธรรม</p><p><strong>อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล</strong> อดีต สส.ก้าวไกล ตั้งคำถามว่า การแก้กฎหมายเป็นอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ และมาตรา 112 เคยถูกแก้มาแล้ว 2 ครั้ง นอกจากนี้นโยบายเสนอแก้ 112 กกต.เป็นผู้อนุญาตให้ใช้เป็น 1 ใน 300 นโยบายหาเสียงของพรรคก้าวไกลได้ เหตุใดจึงกลายเป็นความผิด</p><p>ทั้งนี้ คดีนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก ‘ธีรยุทธ สุวรรณเกษร’ ทนายความผู้ใกล้ชิดพุทธอิสระ ยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. เมื่อเดือน ก.พ.2567 ให้ดำเนินคดีกับ สส.พรรคก้าวไกล (ขณะนั้น) จำนวน 44 คน ฐานฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง เพราะร่วมกันเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการล้มล้างการปกครองระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข</p><h2>โทษตัดสิทธิตลอดชีวิต</h2><p>หาก ป.ป.ช. ชงเรื่องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และศาลฎีกามีคำตัดสินว่าการกระทำดังกล่าวฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงจริง โทษสูงสุดคือการตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีพ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต, เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปี และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ คล้ายกรณีของช่อ-พรรณิการ์ วานิช อดีต สส. พรรคอนาคตใหม่ และล่าสุด อดีตนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ก็หลุดจากเก้าอี้นายกฯ เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามีพฤติกรรมฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงเช่นกัน</p><p>แต่ปัจจุบันเริ่มมีประเด็นให้ต้องจับตาเพิ่มขึ้นว่า หากศาลตัดสินว่ามีความผิด จะครอบคลุมทั้ง 44 คน หรือจะแยกเป็นรายบุคคล เมื่อคลี่ดูอดีต สส.พรรคก้าวไกลที่อยู่ในสำนวนคดีนี้ จะพบว่า</p><ul><li aria-level="1">17 คน ดำรงสถานะ สส.บัญชีรายชื่อ อยู่ในพรรคประชาชน</li><li aria-level="1">8 คน ดำรงสถานะ สส.เขต อยู่ในพรรคประชาชน</li><li aria-level="1">8 คน ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปีไปแล้วจากกรณียุบพรรคก้าวไกล</li><li aria-level="1">11 คน เป็นอดีต สส. ที่ไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมืองแล้ว</li></ul><p> </p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54335496076_b9c1c42b08_b.jpg" width="819" height="1024" loading="lazy"><p> </p><p>ทั้งนี้ รวมแล้ว สส.ที่ยังมีตำแหน่งในพรรคประชาชนและมีบทบาทในสภาขณะนี้มีอยู่ 25 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็น ‘ตัวเด็ด’ ของพรรคในหลายด้าน ได้แก่ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรค, ศิริกัญญา ตันสกุล แกนหลักด้านนโยบายการคลัง เศรษฐกิจมหภาค, วิโรจน์ ลักขณาอดิศร แกนนำฝีปากกล้าที่เปิดประเด็นหลายเรื่อง, รังสิมันต์ โรม มือหนึ่งด้านคุ้ย ‘จีนเทา’ และเป็นประธาน กมธ.ความมั่นคงฯ, เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ผู้ผลักดันเรื่องสุราพื้นบ้านและทำงานร่วมผลักดันกฎหมายสุรากับพรรคเพื่อไทยได้อย่างดี, ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ผู้ผลักดันประเด็น LGBT+, วรภพ วิริยะโรจน์ มืออภิปรายด้านพลังงาน, มานพ คีรีภูวดล ผู้ผลักดันสิทธิชาติพันธุ์, วรรณวิภา ไม้สน มือผลักดันสิทธิแรงงาน, ส่วนอีกหลายชื่อที่คุ้นชื่อด้วยการอภิปรายเผ็ดร้อนในหลายประเด็น ไม่ว่า ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล, สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ, ณัฐวุฒิ บัวประทุม, วาโย อัศวรุ่งเรือง, ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์, ธีรัจชัย พันธุมาศ, จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์, ญาณธิชา บัวเผื่อน, รวมไปถึงกลุ่มที่อาจไม่ได้ปรากฏชื่อตามหน้าสื่อมากเท่าสองกลุ่มแรก คือ คำพอง เทพาคำ, นิติพล ผิวเหมาะ, วุฒินันท์ บุญชู, ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์, ศักดินัย นุ่มหนู, จรัส คุ้มไข่น้ำ, สุรวาท ทองบุ, องค์การ ชัยบุตร </p><p>ทั้งนี้ หากเราย้อนดูหลายปีที่ผ่านมา ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 มีนักการเมืองถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต (https://voicetv.co.th/read/If2ly-ote)แล้วอย่างน้อย 6 ราย</p><p>1. ปารีณา ไกรคุปต์ อดีต สส.พรรคพลังประชารัฐ</p><p>กรณีเข้ายึดถือ ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก.โดยมิชอบเมื่อ 18 ปีก่อน 25 มี.ค. 2564 ศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้งตลอดชีวิต และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี รวมถึงไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ</p><p>2. กนกวรรณ วิลาวัลย์ อดีต รมช.กระทรวงศึกษาธิการ</p><p>พรรคภูมิใจไทย จากกรณีสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รัฐออกโฉนดที่ดินรุกป่าเขาใหญ่ซึ่งกรณีเกิดขึ้นนานแล้ว เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 ศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้งตลอดชีวิต และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี รวมถึงไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ</p><p>3. ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ อดีต สส.พรรคพลังประชารัฐ</p><p>กรณีถูกกล่าวหาเสียบบัตรลงคะแนนแทนผู้อื่น เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 ศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี รวมถึงไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ</p><p>4. อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ อดีต สส.มุกดาหาร พรรคเพื่อไทย</p><p>กรณีเรียกรับเงิน 5 ล้านบาท จากอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลแลกกับการผ่านงบประมาณ 6 ม.ค. 2566 ศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งตลอดไป และไม่มีสิทธิ์ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี</p><p>5. พรรณิการ์ วานิช อดีต สส.พรรคอนาคตใหม่</p><p>กรณีโพสต์ภาพและข้อความลงเฟซบุ๊กพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ในแง่ร้าย เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2566 ศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แต่ไม่เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง</p><p>6. เศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย</p><p>กรณีแต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งๆ ที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าพิชิตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้เศรษฐาพ้นจากตำแหน่งนายกฯ คำวินิจฉัยดังกล่าวมีผลให้เศรษฐาและคณะรัฐมนตรีพ้นสภาพจากตำแหน่งโดยทันที</p><h2>ย้อนรอยคดี ‘จริยธรรม’ ผลพวงคดี ‘ล้มล้างการปกครอง’</h2><p><strong>31 ม.ค. 2567</strong> - ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเสนอแก้ไขกฎหมาย ม.112 โดย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล เป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญ ม.49 ศาลเห็นว่า พรรคก้าวไกลร่วมกับพิธายื่นร่างแก้กฎหมายดังกล่าว รวมถึงเนื้อหาเป็นพฤติการณ์ที่ต้องการลดทอนการคุ้มครองสถาบัน ใช้กระบวนการนิติบัญญัติเป็นวิธีการเพื่อซ่อนเร้น มีพฤติการณ์รณรงค์หาเสียงต่อเนื่อง การใช้เป็นนโยบายพรรคหาเสียงเลือกตั้งและกระทำต่อเนื่องเป็นการนำสถาบันลงมาเพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกตั้ง</p><p><strong>12 มี.ค. 2567</strong> - คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเอกฉันท์เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคก้าวไกล และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 10 ปี ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) มีหลักฐานเชื่อว่าพรรคก้าวไกลมีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ และเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง อันเป็นเหตุให้มีคำสั่งยุบพรรค</p><p><strong>7 ส.ค. 2567</strong> - ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคก้าวไกล ด้วยมติ 9 ต่อ 0 พร้อมเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคในช่วงระยะเวลา 10 ปี และห้ามมิให้มีส่วนร่วมในการตั้งพรรคการเมืองใหม่</p><h2>รธน. 60 นวัตกรรมให้อำนาจศาลกำหนดจริยธรรมนักการเมือง</h2><p>รัฐธรรมนูญ 2560 ที่ร่างโดยคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ซึ่ง มีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน ได้บัญญัติถึงมาตรฐานจริยธรรมไว้ในหมวดองค์กรอิสระ มาตรา 219 โดยกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระร่วมกันกําหนดมาตรฐานทางจริยธรรม ขึ้นใช้บังคับแก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ทั้งนี้ มาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าวต้องครอบคลุมถึงการรักษาเกียรติภูมิและผลประโยชน์ ของชาติ และต้องระบุให้ชัดแจ้งด้วยว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมใดมีลักษณะร้ายแรง</p><p>ในการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง ให้รับฟังความคิดเห็นของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีประกอบด้วย และเมื่อประกาศใช้บังคับแล้วให้ใช้บังคับแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีด้วย แต่ไม่ห้ามสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะรัฐมนตรีที่จะกําหนดจริยธรรมเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับมาตรฐานทางจริยธรรม ตามวรรคหนึ่ง และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา</p><p>แปลความได้ว่า รัฐธรรมนูญกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระเป็นผู้จัดทำ ‘มาตรฐานจริยธรรม’ ที่จะคลุมไปถึง สส. สว. ครม. ด้วย ท้ายที่สุดออกมาเป็น ‘มาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561’</p><p>โดยมีการแบ่งจริยธรรมออกเป็น 3 หมวดด้วยกันคือ</p><p>หมวด 1 มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์</p><p>หมวด 2 มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก</p><p>หมวด 3 จริยธรรมทั่วไป</p><p>การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวด 1 ให้ถือว่ามีลักษณะร้ายแรง ส่วนการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวด 2 และหมวด 3 จะถือว่า มีลักษณะร้ายแรงหรือไม่ ให้พิจารณาถึงพฤติกรรมของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ เจตนาและความร้ายแรงของความเสียหายที่เกิดจากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ</p><p>ขณะที่ ป.ป.ช. มีบทบัญญัติดำเนินการไว้เฉพาะแล้วใน ม.236 กรณีที่มีเหตุอันสมควรสงสัยหรือการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีพฤติการณฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างรายแรง ให้ ป.ป.ช.ไต่สวนข้อเท็จจริง และมีมติด้วยคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หากเห็นว่ามีมูลให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย</p><p>กรณีที่ศาลฎีกามีคําพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามที่ถูกกล่าวหา ให้ผู้ต้องคําพิพากษานั้นพ้นจากตำแหน่ง นับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ (วันที่ศาลฎีกาประทับรับฟ้อง) และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น และจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดเวลาไม่เกิน 10 ปีด้วยหรือไม่ก็ได้ โดยผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้นั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผูแทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ</p><h2>พรรคการเมืองพยายามแก้ไข ‘โทษประหารทางการเมือง’</h2><p>ปฏิเสธไม่ได้ว่า เรื่องจริยธรรมนี้ทำให้สภาพของ ‘นักการเมือง’ สุ่มเสี่ยงมากๆ ต่อการหลุดจากตำแหน่งหรือตัดสินทางการเมืองตลอดชีวิต และทำให้การเมืองในภาพรวมทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น ทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน (https://prachatai.com/journal/2024/09/110736) ต่างมีความพยายามในการเสนอแก้รัฐธรรมนูญแบบรายมาตรา โดยรวมประเด็นจริยธรรมเข้าไปด้วย เพื่อหยุดยั้งการทำให้การเมืองสะดุดอย่างที่ไม่ควรสะดุด</p><p><strong>พรรคประชาชน</strong> - เรียกร้องให้ยกเลิกอำนาจศาลในการตีความเรื่องจริยธรรมทางการเมือง เสนอให้มีการกำกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ ด้วยความรับผิดชอบทางการเมือง และใช้การเลือกตั้งผ่านประชาชนเป็นเครื่องมือในการตัดสินตัวนักการเมือง</p><p><strong>พรรคเพื่อไทย</strong> - เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญกำหนดรายละเอียดของกฎหมายให้ชัดเจน อาทิ ม.160 คุณสมบัติของรัฐมนตรี (5) ไม่มีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยแก้ไขให้ชัดเจนว่า ต้องเป็นคดีที่อยู่ระหว่างการดำเนินการในศาลฎีกา</p><p>แต่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราเหล่านี้ก็ยังไม่ได้มีความคืบหน้าใดๆ และโดยแนวโน้มก็ไม่น่าจะผ่าน สว.เสียงส่วนใหญ่ไปได้</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง เปิดไทม์ไลน์ - ที่มา ‘ดาบใหม่’ ก่อน ป.ป.ช. ชี้ชะตา 44 สส. ก้าวไกล (https://prachatai.com/journal/2025/01/111954)</li></ul></div><p> </p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าว[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาชน[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9D%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87" hreflang="th">ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9D%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">คดีฝ่าฝืนจริยธรรม[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112" hreflang="th">มาตรา 112[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D-2560" hreflang="th">รัฐธรรมนูญ 2560[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5" hreflang="th">พรรคก้าวไกล[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> http://prachatai.com/journal/2025/02/112178 |