หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - รัฐแจงปม กม.บำนาญ 3 ฉบับตก เหตุใช้งบ 4 แสนล้าน หน่วยงานไม่เอาด้วย เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 13:50:19 รัฐแจงปม กม.บำนาญ 3 ฉบับตก เหตุใช้งบ 4 แสนล้าน หน่วยงานไม่เอาด้วย
<span>รัฐแจงปม กม.บำนาญ 3 ฉบับตก เหตุใช้งบ 4 แสนล้าน หน่วยงานไม่เอาด้วย</span> <span><span>See Think</span></span> <span><time datetime="2025-02-21T12:01:26+07:00" title="Friday, February 21, 2025 - 12:01">Fri, 2025-02-21 - 12:01</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพปก: แฟ้มภาพ</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>สมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ชี้แจงกรณีตีตกร่างกฎหมายเกี่ยวกับเงินบำนาญจำนวน 3 ฉบับ ระบุว่าไม่ได้เป็นการเล่นการเมืองตามที่ฝ่ายค้านกล่าวหา แต่เป็นเพราะการทำบำนาญ 3,000 บาทต่อเดือนต้องใช้งบมหาศาลถึง 4 แสนล้านบาท หน่วยงานและรัฐบาลจึงไม่สามารถทำได้ ขณะที่ภาคประชาชนมองว่ารัฐบาลคงไปทุ่มแจกเงินหมื่นดิจิทัลวอลเล็ต รวมถึงมีแนวโน้มที่จะทำนโยบายหวยเกษียณ</p><p>21 ก.พ. 2568 สมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง กล่าวถึงกรณีพรรคฝ่ายค้านแสดงความผิดหวังที่รัฐบาลตีตกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า, พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติและสวัสดิการผู้สูงอายุ และ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ ว่า กรณีฝ่ายค้านกล่าวหานายกรัฐมนตรีว่าการที่ไม่รับร่างดังกล่าวเป็นเรื่องการเมือง ว่า ข้อเท็จจริงคือ พ.ร.บ.ทั้งหมดเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน เมื่อมีการส่งมาเราจึงได้ส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกกระทรวง ทุกหน่วยงาน ไม่ให้การรับรอง เนื่องจากการทำบำนาญประชาชน 3 พันบาท ต้องใช้งบประมาณมหาศาลถึง 4 แสนล้านบาท ทางหน่วยงานและรัฐบาลไม่สามารถทำให้ได้ ไม่ใช่ว่าไม่เห็นด้วยกับกฎหมายแบบนี้ แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถได้ด้วยกรอบจำกัดทางการเงิน</p><p>สมคิดยืนยันว่าไม่ใช่เกมการเมือง เพราะปัจจุบันมี พ.ร.บ.ผู้สูงอายุอยู่แล้วที่จะแก้ไขเพื่อจะให้ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปได้ 1 พันบาท โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เห็นด้วย</p><p>สมคิดยืนยันด้วยว่า ไม่ใช่กฎหมายของฝ่ายค้านอย่างเดียวที่รัฐบาลไม่รับร่าง กฎหมายของรัฐบาลก็มี ยกตัวอย่าง ร่างกฎหมายของ สส.พรรคเพื่อไทย ทั้งกฎหมายกฐานะ อบต.เป็นเทศบาล หรือ พ.ร.บ.ยกระดับเศรษฐกิจภาคเหนือ เมื่อหน่วยงานหลักไม่เห็นด้วยก็ตีตกไปด้วยเหตุผลเดียวกัน ไม่ว่าจะฝ่ายไหน</p><p>สืบเนื่องจาก แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ให้คำรับรองร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับบำนาญประชาชน 3 ฉบับ และกฎหมายสหภาพแรงงาน (https://www.parliament.go.th/section77/survey_detail.php?id=394)อีก 1 ฉบับ</p><p>เว็บไซต์รัฐสภารายงานสถานะของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีบำนาญประชาชน 3 ฉบับจากทั้งหมด 4 ฉบับ ประกอบด้วย</p><ol><li aria-level="1">ร่าง (https://www.parliament.go.th/section77/survey_detail.php?id=347) พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติและสวัสดิการผู้สูงอายุ พ.ศ. .... เสนอโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์</li><li aria-level="1">ร่าง (https://www.parliament.go.th/section77/survey_detail.php?id=314) พ.ร.บ.บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าฯ เสนอโดย เซีย จำปาทอง</li><li aria-level="1">ร่าง (https://www.facebook.com/photo/?fbid=657376936646361&set=a.210980394619353) พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. .... เสนอโดย ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์</li></ol><p>ปัจจุบันจึงเหลือเพียง ร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ ซึ่งมีรายชื่อของภาคประชาชนสนับสนุน 43,826 รายชื่อ ที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะถูกปัดตกด้วยหรือไม่</p><p>โดยหลักการกฎหมายฉบับประชาชน คือ รัฐต้องจัดสรรบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป อัตราไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจนที่กำหนดโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรับเพิ่มทุกสามปี จ่ายตรงให้ประชาชน</p><h2>ภาคประชาชนมองทุ่มแจกเงินหมื่น</h2><p>“ถ้าเขาปัดตกมาสามฉบับ ฉบับที่สี่ (เสนอโดยภาคประชาชน) น่าจะไม่เหลือแหละ”</p><p> สุรีรัตน์ ตรีมรรคา หนึ่งในผู้ริเริ่มผลักดันให้รัฐจัดสวัสดิการในรูปแบบของบำนาญประชาชน เพื่อมาเป็นหลักประกันด้านรายได้ให้กับผู้สูงอายุในนาม ‘เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ’ มาตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน กล่าวกับประชาไทหลังจากที่มีการตีตกร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับว่า ไม่แปลกใจกับผลที่ออกมาในครั้งนี้ เพราะเป็นกฎหมายที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก ส่วนอีกร่างฯ ที่เสนอโดยภาคประชาชนก็น่าจะถูกตีตกเช่นเดียวกัน แต่ว่าจดหมายแจ้งยังมาไม่ถึง</p><p>“ (รัฐบาล) เขาไม่ทําอยู่แล้ว เพราะว่ามันเป็นกฎหมายที่ต้องใช้เงินเยอะ…เขาไม่อยากทําเพราะว่านโยบายเขาก็ไม่ได้คิดจะทํา เขาจะแจกเงินหมื่นซึ่งเขาก็ทําไปแล้ว แล้วก็ใช้เงินเท่ากัน แล้วก็จบ จ่ายเงินเรียบร้อยซื้อเสียงอะไรได้ ได้ใจคนไปเรียบร้อยแล้วก็จบแล้วไม่ต้องทํา” </p><p>สุรีรีตน์ กล่าวอีกว่า การทําบํานาญถ้วนหน้าในฐานะสวัสดิการเป็นเรื่องที่ต้องทําระยะยาว และถ้าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นๆ บํานาญพื้นฐานตรงนี้ก็จะเพิ่มขึ้น พอใช้งบมหาศาล รัฐบาลก็อาจไม่อยากทำ เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้กำลังทำนโยบายเงินหมื่นดิจิทัลวอลเล็ต และมีแนวโน้มจะทำนโยบายหวยเกษียณ</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>สุรีรัตน์ ตรีมรรคา: รัฐต้องมีนโยบายหนุนการทำงาน-สวัสดิการที่ดีให้คนสูงอายุ (https://prachatai.com/journal/2022/10/101130)</li><li>'หยุดส่งต่อความยากจน' ประชาชนรวมตัวหน้ารัฐสภา ผลักดัน 'บำนาญแห่งชาติ' (https://prachatai.com/journal/2022/05/98803)</li></ul></div><p> </p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าว[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" hreflang="th">เศรษฐกิจ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคม[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชน[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิต[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2" hreflang="th">บำนาญถ้วนหน้า[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8" hreflang="th">บำนาญผู้สูงอายุ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B2" hreflang="th">สุรีรัตน์ ตรีมรรคา[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%87" hreflang="th">สมคิด เชื้อคง[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> http://prachatai.com/journal/2025/02/112192 |