หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ปชน.แกะนโยบายพลังงาน เอื้อกลุ่มทุน (?) ทำ ปชช.แบกค่าไฟ 'รัฐบาล' รับกำลังแก้ไข เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 27 มีนาคม 2568 03:27:30 ปชน.แกะนโยบายพลังงาน เอื้อกลุ่มทุน (?) ทำ ปชช.แบกค่าไฟ 'รัฐบาล' รับกำลังแก้ไข
<span>ปชน.แกะนโยบายพลังงาน เอื้อกลุ่มทุน (?) ทำ ปชช.แบกค่าไฟ 'รัฐบาล' รับกำลังแก้ไข</span> <span><span>XmasUser</span></span> <span><time datetime="2025-03-25T10:36:21+07:00" title="Tuesday, March 25, 2025 - 10:36">Tue, 2025-03-25 - 10:36</time> </span> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>24 มี.ค. 2568 ที่รัฐสภา การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ครั้งที่ 26 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 2) เป็นการประชุมในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล ภายใต้รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี</p><p>ประชาไท ประมวลประเด็นที่ 2 สส.พรรคประชาชน อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธาน กพช. ที่มีอำนาจในการแก้ไขนโยบายพลังงานของประเทศ แต่กลับไม่เดินหน้าทำอะไร ปล่อยให้มีโครงการรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนที่มีการซื้อไฟในราคาแพง และมีปัญหาเรื่องความโปร่งใส ทำประชาชนต้องแบกรับค่าไฟเพิ่ม รวมถึงร่างแผน PDP ก็ยังมีแต่ปัญหาอีกมาก โดยเฉพาะการประเมินความต้องการใช้ไฟสูงเกิน เปิดช่องเอื้อธุรกิจพลังงานเข้ามาสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มได้ </p><p>ด้านรัฐบาลมองแผน PDP มีปัญหาจริง และกำลังเร่งแก้ไขตรวจสอบ คนร่างแผนเป็นข้าราชการประจำ แต่รัฐบาลต้องรับดูแล กำลังหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องค่าความพร้อมจ่ายที่สูงอีกด้วย ยืนยันรัฐบาลนี้ยังไม่เคยอนุมัติรับซื้อไฟเพิ่ม เป็นผลสืบเนื่องจากรัฐบาลยุคก่อนๆ </p><p> </p><p>24 มี.ค. 2568 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีวาระอภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจ วรภพ วิริยะโรจน์ สส.พรรคประชาชน อภิปรายถึงการสานต่อการทุจริตเชิงนโยบายในโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจำนวน 3,600 เมกะวัตต์ (MW) เฟส 2 เพื่อเอื้อกลุ่มธุรกิจเจ้าของพลังงาน แต่ประชาชนแบกรับค่าไฟแพงขึ้น</p><p>การอภิปรายครั้งนี้แบ่งปัญหาเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ</p><p>1. ตัวโครงการที่รับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียน 3,600 MW หรือโครงการเฟส 2 แม้ว่าปัจจุบันโครงการนี้ยังชะลออยู่ และยังไม่ถูกยกเลิก แต่ปัญหาของโครงการนี้ 'เคาะราคา' ซื้อไฟแพงกว่าปกติ โดยไม่มีการประมูลแข่งขันราคา ทำให้ประชาชนทั่วประเทศต้องแบกรับค่าไฟตลอดสัญญา 25 ปี แพงขึ้น 100,000 ล้านบาท 2. รัฐบาลมีการสานต่อนโยบายโครงการรับซื้อไฟฟ้า เฟส 1 ที่ริเริ่มในสมัยประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่โครงการมีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสในกระบวนการคัดเลือกเอกชน</p><p>วรภพ กล่าวถึงเหตุที่เรียกว่า ‘ทุจริตเชิงนโยบาย’ เพราะว่าโครงการรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียน 3,600 MW มีการเคาะราคาจากกรรมการพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมีแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ไม่มีการเปิดให้เอกชนแข่งขันประมูลราคา ทั้งที่ปริมาณรับซื้อ 3,600 MW ถือว่าใหญ่มากๆ เพราะเท่ากับ 10% ของการใช้พลังงานทั่วประเทศประมาณ 36,000 MW</p><p>สส.พรรคประชาชน ระบุว่า ราคารับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ของโครงการเฟส 2 อยู่ที่ประมาณ 2.2 บาทต่อหน่วย พลังงานลมอยู่ที่ 3.01 บาทต่อหน่วย ซึ่งราคานี้แพงกว่าราคาที่ประเทศอื่นๆ รับซื้อ อย่างเวียดนามซื้อไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ 1.7 บาทต่อหน่วย มาเลเซีย 1.8 บาทต่อหน่วย และบริษัท GPSC หรือบริษัทลูกของ ปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของไทยอ้างว่าไปประมูลที่อินเดีย ชนะราคาพลังงานแสงอาทิตย์เพียง 1.06 บาทต่อหน่วยเท่านั้น</p><p>วรภพ มองว่า ราคาพลังงานหมุนเวียนที่เตรียมจะซื้อแพงเกินนี้ จะทำให้ค่าไฟของประชาชนแพงขึ้น 4,000 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น 100,000 ล้านบาทตลอดสัญญาโครงการฯ 25 ปี ซึ่งประชาชนไม่ควรจะต้องจ่ายแบกรับต้นทุนตรงนี้</p><p>ทั้งนี้ เวลาพูดถึงราคาค่าไฟถูกกำหนดด้วย 2 ปัจจัยคือ ราคาต้นทุนพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่รัฐบาลควบคุมไม่ได้ ยกตัวอย่าง เมื่อปี 2565 ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลต่อราคาค่าไฟดีดตัวขึ้นเกือบ 3 เท่า คือ 3 บาทต่อหน่วยขึ้นเป็น 5 บาทต่อหน่วย กับปัจจัยที่ 2 คือเชิงนโยบายที่กำหนดราคาโดยรัฐบาล</p><p>นอกจากนี้นี่ยังเป็นปัญหาการทำโครงการทับซ้อนการโครงการรับซื้อไฟฟ้าสะอาด 2,000 MW ที่เคยประกาศก่อนหน้านี้ ทำให้ตอนนี้ประเทศไทยยิ่งมีไฟฟ้าล้นเกินมากขึ้น และประชาชนทั่วประเทศต้องแบกรับค่าไฟมากยิ่งขึ้นไปอีก</p><p>วรภพ ตั้งข้อสงสัยเรื่องความโปร่งใสของโครงการฯ อีกด้วย เนื่องจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียน 3,600 MW มีการล็อกสิทธิโควต้า 2,100 MW ให้กับเอกชนที่เคยเสนอขายไฟให้โครงการรับซื้อไฟจากรัฐบาลช่วงสมัยประยุทธ์ จันทร์โอชา เฟส 1 (จำนวน 5,200 MW เมื่อปี 2566) ที่เหลืออีก 1,500 MW ถึงเปิดให้เอกชนรายใหม่เข้ามาเสนอ ที่สำคัญไม่มีการประกาศว่าเอกชนรายไหนได้รับการคัดเลือกและไม่มีการประกาศวิธีคำนวณคะแนนเชิงเทคนิค เอกชนที่ได้คะแนนเชิงเทคนิคสูงจะได้สิทธิได้รับการคัดเลือกพิจารณาก่อน การล็อกโควต้าแบบนี้เป็นการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เท่าเทียม การไม่ประกาศวิธีคำนวณคะแนน เปิดช่องโหว่ใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวางเลือกกลุ่มทุนพลังงานที่จะขายไฟให้รัฐบาลได้</p><p>ประเด็นต่อมา วรภพ กล่าวต่อว่า นายกฯ ยังมีความผิดที่ 2 คือการสานต่อโครงการเก่าของสมัยประยุทธ์ เฟส 1 ทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่าโครงการมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการคัดเลือกเอกชน และพรรคเพื่อไทยก็ทราบอยู่แล้วว่าโครงการรับซื้อไฟเฟส 1 จำนวน 5,200 MW จะทำให้ค่าไฟแพงขึ้น</p><p>สส.พรรคประชาชน อธิบายว่า วิธีการคัดเลือกโครงการเฟส 1 และ 2 ใช้วิธีการเดียวกัน มีปัญหาเรื่องความโปร่งใส เพราะเคยมีเอกชนที่ยื่นเสนอขายไฟจากพลังงานลมในโครงการเฟส 1 ยื่นฟ้องศาลปกครองให้มีการชะลอโครงการรับซื้อไฟจากพลังงานลม เพราะเขารู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ต่อมา ศาลปกครองเพรชบุรี คดีดำที่ 53/2566 ลงวันที่ 29 ก.ย. 2566 และศาลปกครองกลาง คดีดำที่ 1803/2566 ลงวันที่ 10 ต.ค. 2566 ได้ตัดสินตรงกันให้มีการชะลอโครงการทั้ง 2 ศาลโดยระบุว่า กระบวนการคัดเลือกไม่มีความโปร่งใสและยุติธรรม ทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ได้ </p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54408096502_c716bfdb0e_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ภาพที่ 1 : คำสั่งศาลปกครอง เพชรบุรี และศาลปกครองกลาง (ที่มา: TP Channel)</p><p>แต่ต่อมาเมื่อ 18 ต.ค. 2566 รัฐบาลพรรคเพื่อไทยกลับมีการเร่งรีบเซ็นสัญญากับเอกชนที่ได้รับเลือกกับพลังงานแสงอาทิตย์เฟส 1 ไปเป็นที่เรียบร้อย และเป็นเอกชนที่สนิทกับนายกฯ โดยไม่สนใจคำสั่งศาลปกครอง 2 ศาลที่บอกว่ากระบวนการไม่โปร่งใส และเมื่อลงนามเซ็นสัญญาไปแล้วก็ยกเลิกไม่ได้</p><h2>กกพ. อ้าง รมต.พลังงานไม่มีอำนาจชะลอ</h2><p>พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ก่อนหน้านี้นายกฯ เรียกไปคุย เรื่องปัญหารับซื้อไฟเฟส 2 ต้องหาทางหยุด ไม่เซ็นสัญญาโครงการรับซื้อไฟ เราก็ทำหนังสือถึง กกพ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) แต่เขาก็เดินหน้าต่อ บอกว่า รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ไม่มีอำนาจ ทาง กกพ.เดินหน้า ก็ประกาศเอกชนที่ได้คัดเลือกและเซ็นสัญญา</p><h2>ร่างแผน PDP ปั้นตัวเลข เอื้อกลุ่มทุนพลังงาน</h2><p>ศุภโชค ไชยสัจ อภิปรายไม่ไว้วางใจ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กพช. ที่มีอำนาจในการจัดการบริหารนโยบายพลังงาน โดยการอภิปรายวิจารณ์นโยบายด้านพลังงาน 2 เรื่องใหญ่</p><ol><li>นายกฯ ไม่ยอมแก้ไขสัญญารับซื้อไฟที่มีราคาแพง ทั้งที่มีอำนาจ สามารถทำได้ ทำให้ประชาชนทั่วประเทศแบกค่าไฟแพงขึ้น ประมาณปีละ 25,000 ล้านบาท</li><li>แผน PDP มีการพยากรณ์ ปั้นตัวเลขคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าที่สูงเกินความจริง และอื่นๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนพลังงาน</li></ol><p>ศุภโชค ระบุว่า ปัจจุบันค่าไฟแพงเป็นปัญหาที่สำคัญ และส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างมาก และถ้าแก้ไขปัญหาได้ เชื่อว่าจะทำให้พี่น้องคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีเงินในกระเป๋าเยอะขึ้น หรือทำให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไปได้ และแม้ว่าแพทองธาร จะเคยให้คำมั่นว่าจะลดค่าไฟเหลือ 3.70 บาทต่อหน่วย แต่การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมากลับทำอะไรไม่ได้ โดยเฉพาะการแก้ไขสัญญาแอดเดอร์รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีราคาแพงหน่วยละเกือบ 10 บาท และเป็นสัญญาทาสไม่มีวันหมดอายุ ทำให้ประชาชนแบกรับต้นทุนตรงนี้ปีละ 25,000 ล้านบาท ซึ่งหน่วยงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ก็เคยออกมาบอกด้วยว่าถ้ายกเลิกสัญญาตรงนี้ได้ เชื่อว่าค่าไฟจะลดลงประมาณ 17 สตางค์ต่อหน่วย</p><p>อย่างไรก็ตาม รมต.พลังงาน บอกว่าถ้าไปยกเลิก นายทุนจะไม่พอใจและฟ้องร้องรัฐบาล พอเจอแบบนี้กลายเป็นนายกฯ ไม่แตะเรื่องนี้อีกเลย ทั้งที่นายกฯ เป็นประธาน กพช.มีอำนาจใหญ่สุดในนโยบายด้านพลังงาน แต่กลับไม่แก้ไขสัญญาดังกล่าว ไม่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน</p><p>ประเด็นต่อมา ศุภโชค กล่าวตั้งคำถามถึงระยะเวลาร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan - PDP) ทำไมถึงยังไม่เสร็จ และเลยกำหนดเวลามาแล้วตั้งแต่ปี 2565 ที่เสร็จช้าขนาดนี้ เพราะต้องการเอื้อประโยชน์ให้นายทุนกลุ่มพลังงงานหรือไม่ โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่านายกฯ ต้องการยัดไส้โครงการของนายทุนเข้ามาในแผน เพราะว่าถ้ามันเข้ามาในร่างแผน PDP เมื่อไร หมายความว่าโรงไฟฟ้าสัมปทานได้สร้างแน่นอน</p><p>สส.พรรคประชาชน กล่าวถึงปัญหาร่างแผน PDP โดยวิจารณ์ว่าเป็นร่างพิทักษ์ผลประโยชน์กลุ่มทุนพลังงาน ทั้งนี้ PDP เป็นเหมือนรัฐธรรมนูญนโยบายด้านพลังงานของประเทศไทย จะสร้างโรงไฟฟ้าเมื่อไร หรือยังไง สร้างมากน้อยแค่ไหน ถ้าค่าไฟจะถูกจะแพงขึ้นอยู่กับแผน PDP ซึ่งนายกฯ ในฐานะประธาน กพช. มีอำนาจปรับปรุงแก้ไขแผน PDP ได้เลย</p><p>ศุภโชค กล่าวว่า เนื้อหาร่างแผน PDP ฉบับใหม่มีปัญหา และมองว่าเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย ช่วยเหลือกลุ่มทุนพลังงาน โดยใช้วิธีการคือการปั้นตัวเลขความต้องการใช้ไฟฟ้าให้สูงเกินจริง เพื่อที่จะได้สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54406515952_639481cc05_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ภาพ 2 : สังเกตเส้นกราฟที่ทะยานขึ้น นั่นคือการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า ส่วนกราฟแท่งสีฟ้า เป็นการใช้ไฟฟ้าจริงๆ (ที่มา: TP Channel)</p><p>การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตที่เห็นจากภาพนั้นจะถูกนำมาใช้วางแผนการใช้ไฟฟ้า แต่ว่าหากดูจากภาพจะไม่มีปีไหนเลยที่กราฟแท่ง (สัดส่วนใช้ไฟฟ้าจริง) จะสูงเกินหรือเท่ากับกราฟพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าเลย มันเลยสะท้อนว่าการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้ามันมีปัญหา เพราะสูงเกินความต้องการ แต่เราไปสร้างโรงไฟฟ้าเผื่อรอไว้แล้ว (สังเกตได้จากช่องว่างระหว่างกราฟแท่ง และกราฟเส้น) จนปัจจุบันทำให้เรามีโรงไฟฟ้าล้นเกินความจำเป็น ส่งผลทำให้ประชาชนต้องมาแบกรับค่าความพร้อมจ่ายฟรี 50,000 กว่าล้านบาท</p><div class="note-box"><p>อนึ่ง ค่าความพร้อมจ่ายคือ ปกติเราจะผลิตไฟฟ้าเท่าที่เราใช้ ส่วนที่เหลือจะเป็นไฟสำรอง ยกตัวอย่าง เราผลิตไฟฟ้าได้ทั้งหมด 5,000 MW แต่เราใช้ไฟแค่ 3,000 MW ดังนั้น โรงไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าเพียง 3,000 MW เท่านั้น ส่วน 2,000 MW ที่เหลือเราจะไม่ได้ใช้ แต่เราจะต้องจ่ายค่าความพร้อมให้กับโรงไฟฟ้า เพราะโรงไฟฟ้าเหล่านี้จะต้องสแตนด์บายเพื่อรอผลิตไฟฟ้าให้เรา กรณีที่อาจจะมีโรงไฟฟ้าหลักเกิดขัดข้องขึ้น ดังนั้น เราต้องเสียค่าความพร้อมให้กับโรงไฟฟ้าที่สแตนด์บายรอ ซึ่งจะถูกคำนวณมาอยู่ในบิลค่าไฟนั่นเอง </p></div><p> </p><p>ศุภโชค กล่าวต่อว่า ถ้าดูในรายละเอียด ร่างแผน PDP จะมีการประเมินการการใช้ไฟฟ้ายาวไปอีก 30 ปีข้างหน้า แต่ว่าแค่ระหว่างปี 2565-2567 หรือช่วง 3 ปี เราประมาณการผิดไปแล้ว 3,000 MW ซึ่งถ้าแปลงเป็นโรงไฟฟ้าเราอาจจะได้ประมาณ 5-6 โรงแล้ว</p><p>สส.พรรคประชาชน กล่าวว่า จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลชุดที่แล้ว กล่าวว่า หยุดคิดโง่ๆ รัฐบาลจะเซ็นโรงไฟฟ้าเพิ่มทำไม เพราะเรามีเยอะอยู่แล้ว หมายความว่าท่านทราบอยู่แล้ว แต่กลับไม่มีการแก้ไขแผน PDP ให้ตรงหรือใกล้เคียงกับความต้องการของประชาชน </p><p>ศุภโชค กล่าวว่า ร่างแผน PDP ยังมีการปั้นตัวเลขต่อ บอกว่าไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น และสร้างโรงเก็บก๊าซเพิ่มขึ้น 1 โรง เพราะว่าที่มีอยู่ไม่พอ แต่การประเมินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระบุว่าในอนาคตเราจะนำเข้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มมากสุด 19 ล้านตัน ซึ่งใช้โรงเก็บก๊าซ 2 โรงความจุ 20 ล้านตัน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่กลายเป็นว่ารัฐบาลให้สัมปทานสร้างโรงเก็บก๊าซโรงเพิ่มเป็นโรงที่ 3 ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างกัลฟ์ และ ปตท.</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54409343890_bf6c295099_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ภาพที่ 3 : ภาพแสดงการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ และความจุของโรงเก็บก๊าซ (ที่มา: TP Channel)</p><p>ศุภโชค กล่าวต่อว่า การสร้างโรงเก็บก๊าซใช้งบประมาณ 47,900 ล้านบาท และคนที่แบกรับต้นทุนคือประชาชน ได้จ่ายค่าไฟแพงขึ้นแน่นอนอย่างน้อย 5 สตางค์ต่อหน่วย เพราะว่าสัญญารัฐบาลที่ทำไว้กับโรงเก็บก๊าซ เหมือนกับโรงไฟฟ้าคือมีค่าความพร้อมจ่าย หรือก็คือต่อให้เราสร้างโรงเก็บก๊าซแล้วไม่ได้ใช้ เราก็ต้องจ่ายเงินให้บริษัทอยู่ดี</p><p>ศุภโชค ยังได้วิจารณ์แนวนโยบายรับซื้อไฟจากเขื่อนแม่น้ำโขงของรัฐบาล เพราะว่ารัฐบาลไม่ยอมต่อสัญญาซื้อไฟกับเขื่อนที่มีราคาค่าไฟถูก อย่างเขื่อนน้ำเทิน 2 ราคาหน่วยละ 2.14 บาท เขื่อนน้ำงึม 2 ราคาหน่วยละ 2 บาท หรือเขื่อนห้วยเฮาะ ราคาหน่วยละ 1.63 บาท</p><p>กลับกัน รัฐบาลไปทำสัญญาใหม่ ซื้อไฟจากเขื่อนในราคาแพง อย่างเขื่อนปากแบง เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทเขื่อนจากจีน และบริษัทกัลฟ์ ราคาไฟอยู่ที่หน่วยละ 2.71 บาท เขื่อนปากลาย ร่วมทุนระหว่างบริษัทจากฮ่องกง และบริษัทกัลฟ์ ราคาหน่วยละ 2.69 บาท เขื่อนหลวงพระบาง ร่วมทุนหลายเจ้า ราคาหน่วยละ 2.84 บาททำสัญญา 35 ปี แต่ถ้าเราไปต่อสัญญาเขื่อนอันเก่าที่มีราคาขายไฟถูก เราจะลดการสร้างเขื่อนช่วยให้ประเทศชาติ และช่วยประชาชนประหยัดเงินค่าไฟอีกเท่าไร</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54409138450_5f0d8b2092_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ภาพที่ 4 แผนที่เขื่อนแม่น้ำโขง และราคาซื้อไฟฟ้าในแต่ละแห่ง (ที่มา: TP Channel)</p><p>นอกจากนี้ ศุภโชค มองด้วยว่า ไทยมีทางเลือกในการรับซื้อไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์โซลาร์เซลล์ของประชาชนผ่านแผน PDP เพราะว่าร่างแผน PDP กำหนดสัดส่วนพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ 24,412 MW ซึ่งถ้าเราให้สัดส่วนนี้กับประชาชนทั้งหมด แทนฝั่งนายทุนเพียงไม่กี่ราย เชื่อว่าจะช่วยประหยัดค่าไฟและค่าครองชีพของประชาชนได้ด้วย</p><h2>รัฐบาลพยายามเต็มที่แก้ไขปัญหาค่าไฟ</h2><p>พีระพันธ์ุ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลุกขึ้นอภิปรายชี้แจงในส่วนที่ตนเองได้ถูกกล่าวพาดพิงในช่วงอภิปรายใน 3 ประเด็นดังนี้</p><p>1. สัญญาแอดเดอร์ ที่เป็นสัญญาชั่วนิรันดร์มีมานานแล้วตั้งแต่ปี 2550 แต่รับว่าแปลกใจทำไม กกพ.เพิ่งมาพูดเอาตอนนี้ จึงต้องขอตรวจสอบว่ามีที่มาที่ไป เป็นอย่างไร </p><p>2. ร่างแผน PDP ที่ยังไม่เสร็จ เพราะว่ารัฐบาลไม่ยอม ไม่ใช่ต้องการเอื้อประโยชน์ให้นายทุน ตัวเขาเองก็ไม่เห็นด้วยกับการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟปี 2580 ใช้ไฟ 100,000 MW ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ทำ ข้าราชการประจำเป็นคนทำ แต่เรารับผิดชอบก็ต้องมาดูแล</p><p>3. สัญญาซื้อขายไฟฟ้า รัฐบาลไม่ได้เป็นคนดำเนินการเซ็น แต่คนเซ็นลงนามเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) กับหน่วยงานที่ประมูลโครงการได้ ในรัฐบาลชุดนี้ยังไม่ได้ประมูลได้เลย แม้กระทั่งโครงการรับซื้อพลังงานหมุนเวียน เฟส 2 โควต้า 2,100 MW ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐบาลที่แล้ว เพียงแต่ยังไม่สรุปและยังไม่ประกาศ พอมีปัญหาก็ดำเนินการทันที ตอนนี้ก็กำลังตรวจสอบสอบสวนอยู่ว่าจะทำยังไงต่อไปในส่วนนี้ และเรื่องนี้มีผลกระทบการสำรองไฟฟ้าด้วย</p><h2>'แพทองธาร' ปัญหานโยบายพลังงานที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากรัฐบาลนี้</h2><p>แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงเพิ่มกรณีที่มีผู้อภิปรายเรื่องนโยบายพลังงานว่าไม่ได้เกิดขึ้นในรัฐบาลยุคของเธอ</p><p>นายกฯ กล่าวตอบกรณีปัญหาซื้อไฟฟ้าเพิ่ม และทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นนั้น รัฐบาลชุดนี้ยังไม่เคยอนุมัติซื้อไฟฟ้าเพิ่มกับบริษัทใดๆ เลย</p><p>ส่วนการซื้อขายไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน นายกฯ ระบุว่ามีการทำสัญญามานานหลายปีแล้ว ก่อนที่เธอจะมาดำรงตำแหน่งนายกฯ </p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าว[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิต[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2" hreflang="th">ค่าไฟฟ้า[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99-pdp" hreflang="th">แผน PDP[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">นโยบายพลังงาน[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%87" hreflang="th">เขื่อนแม่น้ำโขง[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%84-%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%88" hreflang="th">ศุภโชค ไชยสัจ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3" hreflang="th">แพทองธาร ชินวัตร[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%9E-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B9%8C" hreflang="th">วรภพ วิริยะโรจน์[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84" hreflang="th">พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">กระทรวงพลังงาน[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%88" hreflang="th">อภิปรายไม่ไว้วางใจ[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> http://prachatai.com/journal/2025/03/112444 |