[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 03 เมษายน 2568 00:41:15



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ‘นอมินี-ฮั้วประมูล-วัสดุไม่มาตรฐาน’ สรุป 3 ปมตรวจสอบตึก สตง. ถล่ม ดีเอสไอรับเป็นค
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 03 เมษายน 2568 00:41:15
‘นอมินี-ฮั้วประมูล-วัสดุไม่มาตรฐาน’ สรุป 3 ปมตรวจสอบตึก สตง. ถล่ม ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษแล้ว
 


<span>‘นอมินี-ฮั้วประมูล-วัสดุไม่มาตรฐาน’ สรุป 3 ปมตรวจสอบตึก สตง. ถล่ม ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษแล้ว</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2025-04-02T22:43:48+07:00" title="Wednesday, April 2, 2025 - 22:43">Wed, 2025-04-02 - 22:43</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>การพังถล่มลงมาของอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางในประเทศพม่า เมื่อบ่ายวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา นำมาซึ่งคำถามที่ว่า การก่อสร้างตึกแห่งนี้มีความโปร่งใสหรือไม่ ทำไมโครงการของรัฐที่ใช้งบประมาณหลักพันล้านบาทจึงกลายเป็นอาคารแห่งเดียวในประเทศไทยที่ถล่มลงมา</p><p>ประเด็นความโปร่งใสของการก่อสร้างที่กำลังถูกตรวจสอบ แบ่งออกเป็น 3 เรื่องหลัก ได้แก่</p><ul><li aria-level="1">ทำไม&nbsp;บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย)&nbsp;ที่อยู่เบื้องหลังการก่อสร้างตึกแห่งนี้ จึงคว้างานก่อสร้างภาครัฐไปได้เพียบ</li><li aria-level="1">บริษัทดังกล่าว อาจมีการใช้คนไทย 3 คนเป็นนอมินีถือหุ้นแทนหรือไม่</li><li aria-level="1">ในการก่อสร้าง พบว่ามีการใช้ชิ้นส่วนเหล็กจากจีนที่ไม่ได้มาตรฐานจาก&nbsp;บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกกรมโรงงานอุตสาหกรรมสั่งปิดชั่วคราวไปแล้วตั้งแต่เมื่อเดือนธันวาคมปี 2567</li></ul><p>ประชาไทรวบรวมการตรวจสอบในแต่ละประเด็น โดยรวบรวมข้อมูลจากที่ปรากฏในสื่อมวลชน</p><h2>ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ ปม ‘นอมินี-ฮั้วประมูล-มอก.’</h2><p>ในวันนี้ (2 เม.ย.) หลายสำนักข่าว ได้แก่&nbsp;ไทยรัฐ (https://www.thairath.co.th/news/crime/2850767),&nbsp;ไทยโพสต์ (https://www.thaipost.net/hi-light/766536/) และผู้จัดการออนไลน์ (https://mgronline.com/crime/detail/9680000031336) รายงานตรงกันว่า&nbsp;พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยืนยันว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รับคดีตึก สตง.ถล่มเป็นคดีพิเศษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว&nbsp;&nbsp; โดยใช้อำนาจของอธิบดี เป็นความผิดท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษในการพิจารณา และจากการรวบรวมพยานหลักฐานพบว่า บริษัทดังกล่าวมีพฤติกรรมการเป็นนอมินี ซึ่งปกติบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยจะต้องมีการแบ่งสัดส่วนผลประโยชน์ให้คนไทย 51% และเป็นต่างชาติ 49%</p><p>ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษมีหลักฐานมากพอที่จะสามารถเชื่อได้ว่า บริษัทแห่งนี้เข้าข่ายการเป็นนอมินี ประกอบกับมีความเสียหายมูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท ถือได้ว่าเข้าข่ายการเป็นคดีพิเศษ นอกจากความผิดที่มีการรับเป็นนอมินีแล้ว จะมีการขยายผลในคดีเรื่องสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพของ มอก. การฮั้วประมูล และดูคุณภาพเนื้องาน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการที่ทำให้ตึกถล่มลงมา</p><p>พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ไม่ได้รู้สึกถึงความกังวล ในการสอบสวนคดีนี้ถึงแม้ว่า บริษัทดังกล่าวจะเป็นบริษัทลูกของหนึ่งในรัฐวิสาหกิจจีน ตนเองยืนยันว่าจะดำเนินการให้โปร่งใสมากที่สุดถึงแม้ว่าจะเป็นใครก็ตาม และจะมีการตรวจสอบย้อนหลังไปถึง โครงการอีก 10 โครงการ ที่ได้รับการประมูลไปจากทางภาครัฐ รวมไปถึงรายละเอียดเรื่องวิศวกรที่เป็นชาวต่างชาติ ที่ใช้วีซ่านักศึกษาเข้ามาทำงานด้วย นอกจากบริษัทนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษจะทำการตรวจสอบบริษัทอื่นๆ ที่มีลักษณะการร่วมทุนของชาวต่างชาติ ทั่วประเทศ ว่ามีบริษัทใดบ้างที่มีพฤติกรรมการรับเป็นนอมินี เพื่อที่จะขยายผลและดำเนินคดีต่อไป</p><h2>คว้างานก่อสร้างหน่วยงานรัฐเพียบ</h2><p>สำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/politics/1173685)รายงานว่า&nbsp;โครงการนี้มีการชงของบประมาณเพื่อขอก่อสร้างมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 หรือราว 18 ปีก่อน ต่อมามีการขอปรับเปลี่ยนงบประมาณในปี 2563 ออกเป็น 2 แบ่งเป็นงานก่อสร้างอาคารดังกล่าว วงเงิน 2.1 พันล้านบาทเศษ ดำเนินการโดย&nbsp;กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด</p><p>ตามรายงานของไทยพีบีเอส (https://www.thaipbs.or.th/news/content/350854) บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด เป็นบริษัทลูกของ China Railway No.10 Engineering Group หนึ่งในรัฐวิสาหกิจจีนในเครือ China Railway Group Limited (CREC) ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยตั้งแต่ปี 2561 ใช้โมเดลทางธุรกิจแบบ "กิจการร่วมค้า" กับบริษัทเอกชนไทย เพื่อเข้าร่วมประมูลงานก่อสร้างภาครัฐขนาดใหญ่หลายโครงการ ทำให้เกิดคำถามถึงวิธีการเข้าประมูลงานของบริษัท ซึ่งมักเข้าไปซื้อซองเอกสารแต่ไม่ยื่นเสนอราคาเอง และไปจับมือกับเอกชนไทยรายใหญ่เพื่อยื่นซองแทนในนาม "กิจการร่วมค้า"</p><p>จากคลิปข่าว (https://www.youtube.com/watch?v=zoFhwts9TMM)ของเนชั่น ทีวี ระบุว่า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งดูแลโครงการในประเทศไทยนั้น เข้าเป็นกิจการร่วมค้า และได้คว้างานประมูลภาครัฐไปแล้วอย่างน้อย 14 แห่ง รวมมูลค่า 7.2 พันล้านบาท</p><p>ตัวอย่างเช่น</p><ul><li aria-level="1">โครงการก่อสร้างสนามบินนราธิวาส วงเงินกว่า 639 ล้านบาท</li></ul><p>สำหรับโครงการนี้ เว็บไซต์ข่าวหุ้น (https://www.kaohoon.com/news/general/744720) รายงานว่า มีผู้รับจ้าง คือ “กิจการร่วมค้าซีไอเอส” ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ไอเอสโอ เอนจิเนียริ่ง จำกัด และ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในตอนนี้</p><p>วันนี้&nbsp;(2 เม.ย.) มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เนื่องจากงานคืบหน้าน้อยมากและไม่เป็นไปตามกำหนด จึงเตรียมจะยกเลิกสัญญากับทาง “กิจการร่วมค้าซีไอเอส””และขึ้นแบล็กลิสต์</p><ul><li aria-level="1">สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ วงเงินกว่า 146 ล้านบาท</li><li aria-level="1">อาคารชุดพักอาศัยข้าราชการตุลาการ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วงเงิน 386 ล้านบาท</li><li aria-level="1">โครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จ.นนทบุรี วงเงินกว่า 716 ล้านบาท</li></ul><h2>อาจใช้คนไทยเป็นนอมินีถือหุ้นแทน</h2><p>จากรายงานของกรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/politics/1173685)ระบุว่า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด มี ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป คัมปะนี (สัญชาติจีน) ถือหุ้นใหญ่สุด 49% และมี “คนไทย” ร่วมถือหุ้น 3 คน คือ โสภณ มีชัย, มานัส ศรีอนันท์ และประจวบ ศิริเขตร</p><ul><li aria-level="1">“โสภณ-มานัส” ได้ร่วมถือหุ้น “บริษัทในเครือทุนจีน” อีกหลายสิบแห่ง ขณะเดียวกันที่ตั้งของ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด ใช้ที่อยู่เดียวกันกับบริษัทที่ “โสภณ-มานัส” ร่วมถือหุ้นหรือเป็นกรรมการอีก 9 แห่ง</li><li aria-level="1">ส่วนในกรณีของ “ประจวบ” พบว่าเขาเป็นกรรมการบริษัทอย่างน้อย 4 แห่ง (เท่าที่ตรวจสอบพบ) และถือหุ้นอย่างน้อย 8 แห่ง</li><li aria-level="1">จากข้อมูลข้างต้น จะพบว่าทั้ง โสภณ, มานัส และประจวบ ต่างเป็นกรรมการ หรือผู้ถือหุ้น ในบริษัทเครือข่าย “ทุนจีน” ที่เป็นผู้ถือหุ้นร่วมกัน หรือที่ตั้งบริษัทเดียวกันกับ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด</li></ul><p>คลิปข่าวไทยรัฐทีวี (https://www.youtube.com/watch?v=eZ_tNPI12qw)รายงานเกี่ยวกับคนไทยทั้ง 3 คนไว้ว่า ถ้าดูจากอาชีพการงานและพื้นเพของแต่ละคน คงไม่น่าที่จะไปถือหุ้นใหญ่ได้ขนาดนี้</p><p>เพจเฟซบุ๊กดัง&nbsp;CSI LA (https://www.facebook.com/CSILA90210/posts/pfbid0hbEZzhUQtgVFQxx19srBGivyhC3p2vuRsyKzjaiPP6otV7bEzNBkTSWiJuMXxxKzl) โพสต์ตั้งข้อสังเกตว่า คนไทย 3 รายดังกล่าว อาจเข้าไปถือหุ้นแทน (เป็นนอมินี) ให้กับบริษัทจีน ทั้งนี้ ยังไม่มีการตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร</p><h2>ซิน เคอ หยวน : เครนถล่ม โรงงานไฟไหม้ เหล็กไม่ได้คุณภาพ</h2><p>แม้ว่าการถล่มของตึกจะเกิดได้จากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่ถูกจับตาอย่างมากในตอนนี้คือคุณภาพของเหล็กข้ออ้อย 2 ขนาดที่สอบตกมาตรฐานที่ภายหลังมีรายงานว่าเป็นเหล็กยี่ห้อ “SKY” ตัวย่อของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด&nbsp;</p><p>เรื่องการตรวจสอบเหล็กเส้นที่ใช้ก่อสร้าง เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มาติดตามตรวจสอบถึงที่เกิดเหตุเองและมาชี้แจงเป็นระยะตั้งแต่หลังเกิดเหตุเพียง 1 วัน และตอนนี้ก็อยู่ในการติดตามของ “ทีมสุดซอย” หรือคณะกรรมการตรวจสอบการประกอบการอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้ (https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/92270)น ที่เอกนัฏตั้งขึ้นมาติดตามตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรม</p><p>ตามที่มีรายงานข่าว มีเหล็กเส้นจำนวน 28 เส้นจาก 3 บริษัทได้แก่ SKY (บริษัทซินเคอหยวน ซึ่งเป็นผู้ผลิตจากจีน) TATA (บริษัท ทาทา สตีล ผู้ผลิตจากอินเดีย) และ TYS ( เครือบริษัทไทยคูณ ผู้ผลิตจากจีนร่วมทุนกับไทย)&nbsp; ถูกเก็บจากพื้นที่เกิดเหตุแล้วส่งไปตรวจสอบที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย (ITSI) เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ก่อนจะมีการแถลงในช่วงค่ำวันถัดมา</p><p>แต่จากการแถลงข่าวของทีมตรวจสอบก็ทำให้ได้รู้ว่านอกจากข้อกังวลในการเข้าพื้นที่เก็บหลักฐานจะซ้อนกับงานช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ยังเจอปัญหาจากเจ้าของพื้นที่อย่าง สตง.ด้วยและความกังวลของผู้แถลงอย่างนนทิชัย ลิขิตาภรณ์ ผู้อำนวยการกองตรวจการมาตรฐาน 1 ที่กล่าวว่าหากบอกขนาดเหล็กที่เป็นปัญหาแล้ว “ส่งผลให้ที่หน้างานเปลี่ยนแปลงสภาพในบางเรื่อง” และอยากให้การทำงานง่ายกว่าเมื่อวันที่ 30 มี.ค.&nbsp;</p><p>อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการแถลงทำให้ทราบว่าเหล็กที่มีปัญหามีผลตรวจสอบไม่เป็นไปตามมาตราฐานทั้ง 2 ขนาดคือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 มม.มวลต่อเมตรไม่ได้ตามมาตรฐานซึ่งจะทำให้รับ และ 32 มม.มีจุดครากก่อนที่เหล็กจะเกิดการเสียรูปถาวรไม่ได้ตามมาตรฐาน และเอกนัฏได้ระบุว่าเป็นเหล็กจากบริษัท ซิน เคอ หยวน</p><p>แต่ผู้ตรวจสอบก็ยังต้องการตัวอย่างเหล็กจากที่เกิดเหตุเพิ่มเติมแต่ยังไม่สามารถเข้าไปเก็บเพิ่มเติมได้</p><p>ข้อมูลที่ปรากฏจากการให้สัมภาษณ์ของเอกนัฏ ปรากฏว่าบริษัทเจ้าของเหล็กดังกล่าวทางกระทรวงอุตสาหกรรมเพิ่งถูกสั่งปิดชั่วคราวและยึดเหล็กข้ออ้อยของกลางขนาด 16, 25 และ 32 มม.ที่ผลิตเมื่อช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2567 ไปจำนวน 2,441 ตัน มูลค่าราว 49.2 ล้านบาท ไปรอบหนึ่งแล้วตั้งแต่มกราคม 2568 เนื่องจากทีมสุดซอยของกระทรวงพบว่าเหล็กที่บริษัทผลิต “ตกเกณฑ์ที่สำคัญที่ส่งผลโดยตรงกับความแข็งแรงของเหล็ก”</p><p>ผลตรวจสอบเหล็กของบริษัทจากสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย (https://www.industry.go.th/th/secretary-of-industry/15088)ในตอนนั้นที่พบปัญหาคือเหล็กข้ออ้อย ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 2 รายการ คือ ในรายการส่วนสูงของบั้งที่มีผลทำให้ความสามารถในการยึดเกาะระหว่างเนื้อเหล็กและเนื้อคอนกรีตลดลง เมื่อนำไปใช้งาน และรายการธาตุโบรอน มีผลทำให้เนื้อเหล็กเปราะ ความเหนียวของเนื้อเหล็กลดลง ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถรับแรงดึงได้ตามที่มาตรฐานกำหนด</p><p>นอกจากนั้นทางกระทรวงยังดำเนินคดีกับผู้ประกอบการอย่าง เจี้ยนฉี เฉิน, สู้ หลงเฉิน และสมพัน ปันแก้ว เป็นกรรมการด้วยในฐานความผิดผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน</p><p>อย่างไรก็ตาม หลังจากสื่อนำเสนอว่าเหล็กจากบริษัทซิน เคอ หยวนคุณภาพไม่ได้ตามมาตรฐาน&nbsp;วันนี้ทางบริษัทก็ออกมาโต้แย้ง (https://workpointnews.com/around/news/N4131HG)ระหว่างทีมสุดซอยไปตรวจสอบที่โรงงานว่ายังดำเนินการผลิตอยู่หรือไม่ เมื่อทีมตรวจสอบจะเก็บเหล็กตัวอย่างขนาด 32 มม.ไปตรวจสอบก็เกิดการโต้เถียงกันกับตัวแทนของบริษัท</p><p>ทางตัวแทนของบริษัทโต้แย้งว่าค่ามาตรฐานของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าฯ สูงเกินไป จึงจะขอให้นำไปตรวจสอบที่สถาบันยานยนต์อีกแห่งด้วยเนื่องจากมาตรฐานค่าโบรอนของสองสถาบันนี้ต่างกัน แต่ถ้าหากค่าโบรอนในเหล็กของบริษัทตกมาตรฐานทั้งสองสถาบันก็จะยอมรับ และผู้ช่วยผู้บริหารของโรงงานยังบอกกับสื่อด้วยว่าการอายัดเหล็กของของกระทรวงอุตสาหกรรมก่อนหน้านี้ก็ไม่เป็นธรรมกับบริษัทด้วยเพราะนำตัวอย่างไปตรวจแค่ 5 เส้นเท่านั้น</p><p>แต่ไม่ใช่แค่สินค้าที่ผลิตจะไม่ได้คุณภาพ การดำเนินกิจการของบริษัทก็ดูน่าสงสัยถึงมาตรฐานการดำเนินงาน เพราะเหตุที่ทำให้บริษัทถูกกระทรวงเข้าตรวจสอบก็เพราะเหตุไฟไหม้ของโรงงานที่ ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เมื่อเดือนธันวาคม 2567 จนพบว่าบริษัทมีข้อบกพร่องทั้งด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อมด้วย</p><p>แต่ถ้าย้อนไปอีกเมื่อ 1 ปีที่แล้ว 29 มี.ค.2567 โรงงานของบริษัทซิน เคอ หยวนในต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยองที่กำลังก่อสร้าง เกิดเหตุเครนก่อสร้างของโรงงานพังล้มทับคนงานของบริษัทเสียชีวิตไป 7 คน (https://prachatai.com/journal/2024/03/108618) เป็นชาวพม่า 6 คนและคนจีน 1 คน จนคนงานรวมตัวประท้วงเพื่อเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยคนละ 5,000,000 บาท แต่นายจ้างต่อรองจะจ่ายแค่ 500,000 บาท&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าว[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิต[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">แผ่นดินไหวพม่า[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%87" hreflang="th">สตง.[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B8%B6%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%87-%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1" hreflang="th">ตึก สตง. ถล่ม[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99" hreflang="th">ทุนจีน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%97-%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%C2%A010-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94" hreflang="th">บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์&nbsp;10 (ประเทศไทย) จำกัด[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%AD" hreflang="th">ดีเอสไอ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%97-%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%AD-%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%A5-%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94" hreflang="th">บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->

            <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/04/112525