หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - รวมข้อเสนอเด่น สภาถกด่วน รับมือทรัมป์ขึ้นภาษีไทย 36% เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 09 เมษายน 2568 22:06:43 รวมข้อเสนอเด่น สภาถกด่วน รับมือทรัมป์ขึ้นภาษีไทย 36%
<span>รวมข้อเสนอเด่น สภาถกด่วน รับมือทรัมป์ขึ้นภาษีไทย 36%</span> <span><span>See Think</span></span> <span><time datetime="2025-04-09T19:16:29+07:00" title="Wednesday, April 9, 2025 - 19:16">Wed, 2025-04-09 - 19:16</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>อินโฟกราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>9 เม.ย.2568 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 30 มีพิจารณาญัตติด่วนหามาตรการรองรับกรณีสหรัฐอเมริกาขึ้นภาษี</p><p>ระหว่างการประชุม มี สส.จากทั้งพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน เสนอญัตติด่วนในประเด็นดังกล่าวรวม 10 ญัตติ และที่ประชุมมีมติเห็นด้วยให้พิจารณาเรื่องนี้</p><p>จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าเขาได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีเข้าร่วมรับฟังและชี้แจงเรื่องนี้</p><h2>‘ศิริกัญญา’ ย้ำรอบนี้หนัก ยอมให้กู้เพิ่ม แต่ต้องใช้พัฒนาผู้ประกอบการ</h2><p>ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อจากพรรคประชาชน อภิปรายว่า การขึ้นกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยและโลกอย่างลึกซึ้ง ทั้งกว้างและยาว เพราะเป็นการขึ้นกำแพงภาษีที่สูงที่สุดในรอบร้อยปี และรุนแรงกว่าช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) อาจการตอบโต้การค้าไปมาจนเกิดผลกระทบวงกว้างทั่วโลก และจะกระทบกับประเทศไทยจากการเข้าไปเป็นห่วงโซ่อุปทานของโลกและของจีนที่กำลังจะเจอกำแพงภาษีจากสหรัฐฯ สูงที่สุด 104% ที่จะเริ่มในวันพรุ่งนี้</p><p>ศิริกัญญากล่าวต่อว่า ผลกระทบระลอกต่อมาเมื่อไม่มีตลาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ จะเกิดการแข่งขันสูงขึ้นโดยการตัดราคาและแสวงหาตลาดใหม่ สินค้าราคาถูกจะไหลเข้าไทยมาในฐานะเป็นตลาดใหม่ เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวอย่างรุนแรง ไทยจะส่งออกได้น้อยลงและนักท่องเที่ยวก็จะน้อยลง กำลังซื้อในไทยก็จะแย่ลงไปอีก</p><p>สส.พรรคประชาชนกล่าวถึงสินค้าไทยที่จะได้รับผลกระทบมีอยู่ค่อนข้างมาก โดยยกตัวอย่างในกลุ่มที่กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าส่งออกเป็นอันดับ 1 คืออุปกรณ์รับส่งสัญญาณ WiFi และบลูทูธในโทรศัพท์มือถือเป็นสัดส่วน 12.3% ของมูลค่าส่งออก รองลงมาเป็นฮาร์ดดิสก์ 8.7% ของมูลค่าส่งออก ตามมาด้วยยางล้อรถยนต์และรถบรรทุก</p><p> </p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54440439034_12b77d3930_b.jpg" width="1024" height="558" loading="lazy"><p> </p><p>ศิริกัญญากล่าวว่า อุตสาหกรรมเหล่านี้มีแรงงานอยู่เป็นแสนคน และเสี่ยงที่จะถูกลดชั่วโมงทำงาน เลิกจ้าง ทั้งอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์มีการจ้างคนอยู่ราว 100,000 คน ยางล้อรถมีแรงงานอยู่ราว 40,000 คน</p><p>นอกจากนั้นในแต่ละอุตสาหกรรมยังมีผู้ประกอบการรายย่อยที่เป็นอยู่ในห่วงโซ่อุปทานอยู่อีกนับพันราย อยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบในหลายจังหวัด ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการส่งออกเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังรวมไปผู้ประกอบการรายย่อย คู่ค้าของผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้าที่ขายของในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมก็จะกระทบด้วย ไปจนถึงชาวนา เกษตรกรที่ผลิตสินค้าส่งออก</p><p>สส.พรรคประชาชนกล่าวว่า ผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้จะทั้งกว้างและยาว เพราะไทยจะอยู่ในระเบียบโลกใหม่ที่สหรัฐฯ สร้างขึ้นมาไปอีกซักระยะ และไม่รู้ว่าสงครามการค้านี้จะยาวนานแค่ไหน การเจรจาที่จะเริ่มต้นในอีกเดือนหรือสองเดือนข้างหน้าก็ยังไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ เพราะสหรัฐฯ ก็บอกว่ามีประเทศที่ต่อคิวเข้าเจรจาถึง 70 ประเทศ เพื่อขอลดกำแพงภาษี</p><p>ศิริกัญญากล่าวถึงสถานการณ์การตอบโต้ไปมาระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศอื่นๆ จะดำเนินต่อไป และไทยจะเจอลูกหลงไปด้วย เพราะไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของจีนแล้ว ถ้าจะส่งสินค้าไปสหรัฐฯ ก็ต้องเจอผลการขึ้นภาษีตอบโต้กันไปมาครั้งนี้แน่นอน ถ้าสหรัฐฯ ไม่ลดการสั่งซื้อก็เลิกการสั่งซื้อ จะกระทบกับผู้ผลิตไทยแน่ๆ ยอดขายจะหายทันทีทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี และผลิตภัณฑ์</p><p>ศิริกัญญา กล่าวถึงมาตรการของรัฐบาล 5 ด้าน คือ</p><p><strong>มาตรการที่ 1 หาโอกาสนำเข้าพืชผลทางการเกษตร คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์</strong> </p><p>ศิริกัญญาเห็นว่าเรื่องนี้ต้องคุยกับเกษตรกรด้วย เพราะการนำเข้าข้าวโพดเพิ่มขึ้น 4.5 ล้านตัน โดยที่ราคาน้อยกว่าที่ผลิตในไทยเกือบครึ่ง ย่อมกระทบกับราคาข้าวโพดในประเทศแน่นอน แม้ว่าจะนำเข้าในช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวแล้วก็ตาม การนำเข้ามาจะช่วยให้ไทยเกินดุลสหรัฐฯ ลดลงราว 10,000 ล้านบาท ดังนั้นเราก็คงต้องเจรจาให้โปร่งใส หารือกับเกษตรกรปลูกข้าวโพดในไทยก่อนที่รัฐบาลจะไปเจรจากับสหรัฐ</p><p><strong>มาตรการที่ 2 การผ่อนคลายภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ</strong> </p><p>เรื่องนี้ศิริกัญญามองว่าไม่น่าจะส่งผลต่อการลดการเกินดุลกับสหรัฐฯ</p><p><strong>มาตรการที่ 3 ลดมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการภาษี</strong> </p><p>ศิริกัญญาเห็นว่า เรื่องนี้เกี่ยวพันกับการลดกฎระเบียบขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนจำนวนมาก แต่มาตรการนี้มีคำถามว่าจะมีสินค้านำเข้าอันไหนบ้างที่ต้องเปิดตลาดเพิ่มหรือไม่ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ ไปจนถึงเอทานอล</p><p><strong>มาตรการที่ 4 การคัดกรองสินค้าเพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีของสหรัฐฯ</strong> </p><p>ศิริกัญญาอธิบายว่าจากการประมาณการณ์ มีสินค้าที่ใช้วิธีการโยกย้ายฐานการผลิตมาไทยเพื่อเลี่ยงภาษีของสหรัฐฯ อยู่ 23% ของยอดส่งออกทั้งหมดของไทย ถ้าไทยสามารถจัดการเรื่องนี้ได้ทั้งหมดก็จะสามารถลดการเกินดุลกับสหรัฐฯ ได้อีกราว 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐด้วย แต่เธอประเมินว่าคงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำได้ทั้ง 23% และดีที่สุดอาจจะลดลงได้ราวครึ่งหนึ่ง</p><p><strong>มาตรการที่ 5 การหาโอกาสลงทุนในสหรัฐฯ </strong></p><p>ศิริกัญญาเห็นว่า เป็นเรื่องที่หลายประเทศเห็นตรงกันในการเข้าไปร่วมลงทุนในท่อก๊าซธรรมชาติในอลาสก้า แต่ถ้าไทยจะเข้าไปเจรจาเรื่องนี้ เราได้เริ่มหารือกับประเทศอื่นๆ ที่จะลงทุนด้วยหรือยัง เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ว่า เราจะเข้าไปร่วมลงทุนเท่าไหร่</p><p>ศิริกัญญากล่าวว่า มีบางแนวทางที่หายไปจากการแถลงของรัฐบาล ทั้งที่เคยมีการเสนอไว้ก่อนหน้านี้ เช่น การซื้อเครื่องบินหรืออาวุธยุทโธปกรณ์ จึงอยากสอบถามรัฐบาลว่าเรื่องนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาหรือไม่ เพราะเครื่องบินรบที่กองทัพใช้ก็เพิ่งซื้อกริพเพนจากสวีเดน ทำให้จะเปลี่ยนไปใช้ของสหรัฐฯ แทนคงไม่ได้แล้ว แต่ยังคงมีเครื่องบินลำเลียงอื่นๆ ที่รัฐบาลสามารถที่จะใช้เป็นข้อเจรจาได้</p><p>ศิริกัญญากล่าวว่ามาตรการทั้ง 5 ไม่ได้ให้ความรู้สึกว่าน่าอัศจรรย์พอในสายตาทรัมป์อย่างที่ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กล่าวไว้ และแต้มต่อที่ไทยมีจากการเป็นมิตรประเทศกับสหรัฐฯ ก็หายไปทุกวัน และกำลังทำให้สหรัฐฯ กลายเป็นศัตรู ทั้งจากการที่รัฐบาลไทยส่งตัวชาวอุยกูร์ 40 คนกลับไปให้ทางการจีน การใช้มาตรา 112 ดำเนินคดีกับกับ พอล แชมเบอร์ส นักวิชาการชาวสหรัฐฯ แล้วยังจะไม่ให้ประกันตัวด้วย</p><p>“การที่ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ยังรับสายรัฐบาลไทยอยู่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจมาก ยังสงสัยอยู่ว่าจะยังคงเจรจากับเราหลังจากที่มีเรื่องนี้อยู่หรือไม่” ศิริกัญญากล่าว</p><p>สส.พรรคประชาชนกล่าวว่า ตัวเธอเองและพรรคประชาชนไม่ได้ติดใจท่าทีของรัฐบาลที่ไม่ได้เร่งรีบเจรจาแล้วใช้กลยุทธ์รอดูท่าที และไม่คิดว่าจะมีใครสนับสนุนให้รัฐบาลเร่งเข้าไปเจรจาโดยผลีผลามอยู่แล้ว พร้อมทั้งเสนอว่ารัฐบาลจะต้องเยียวยา พยุงและกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ เพราะการค้าการส่งออกที่จะหดตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ หากการเจรจายิ่งกินเวลาต่อเนื่องยาวนานก็ยิ่งกระทบกับปากท้องของประชาชนในไทยมากขึ้นเท่านั้น ภาคเอกชนที่เติบโตต่ำและหดตัวมาก่อนหน้านี้จะยิ่งชะงักมากขึ้น สุดท้ายก็จะกระทบกับรายได้ของประชาชน</p><p>ศิริกัญญากล่าวถึงการประเมินการเติบโตของ GDP ของไทยจากหน่วยงานต่างๆ ที่ประเมินว่าอาจจะเติบโตเพียง 1% และสูงที่สุดจะไม่เกิน 2.3% เท่านั้น แต่มาตรการช่วยเหลือของไทยมีการพูดถึงเพียงการให้สินเชื่อผ่านกองทุนการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศซึ่งมีเม็ดเงินอยู่ราว 3,000 ล้านบาท</p><p>สส.พรรคประชาชนยกตัวอย่างถึงมาตรการรองรับผู้ประกอบการของแต่ละประเทศต่างๆ เช่น</p><ul><li aria-level="1">เกาหลีใต้ : มีแพ็คเกจเยียวยาฉุกเฉินให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไปแล้วราว 2.3 ล้านล้านบาท</li><li aria-level="1">สิงคโปร์ : ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อเยียวยาภาคเอกชนและแรงงานที่ได้รับผลกระทบ คณะทำงานนี้มีทั้งภาครัฐ ธุรกิจ และสภานายจ้างและสหภาพแรงงานร่วมด้วย</li><li aria-level="1">ญี่ปุ่น : ประกาศให้สินเชื่อและมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศที่ได้รับผลกระทบเพราะภาษียานยนต์ขึ้นไปก่อนแล้ว 25 %</li><li aria-level="1">สเปน : เยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยให้ความช่วยเหลือทางการเงินมูลค่า 538,000 ล้านบาท</li><li aria-level="1">ออสเตรเลีย : ออกสินเชื่อ 0% ให้กับบริษัทเอกชนเพื่อหาตลาดใหม่และแสวงหาการส่งออกใหม่</li><li aria-level="1">ไต้หวัน : ออกมาตรการสนับสนุนการส่งออกเป็นมูลค่า 94,000 ล้านบาทเพื่อให้อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ</li></ul><p>ศิริกัญญา เรียกร้องรัฐบาลว่า การเยียวยาเฉพาะหน้าแบบฉุกเฉินเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำโดยเร่งด่วนเช่นกัน อีกทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยก็ได้รับผลกระทบไปแล้วตั้งแต่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์ 25% ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นมาตรการที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐ</p><p>สส.พรรคประชาชนกล่าวว่าอยากให้รัฐบาลและ BOI เร่งหารือช่วยเหลือภาคเอกชนที่กำลังระส่ำและกำลังคิดถึงการย้ายฐานการผลิตไปสหรัฐฯ เรื่องนี้ไม่ใช่แค่บริษัทสัญชาติอเมริกันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบริษัทประเทศอื่นๆ ที่พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ด้วย เช่น บริษัทผลิตแผงวงจรที่มีมูลค่าส่งออกถึง 20,000 ล้านบาท เพราะกังวลว่าจะกระทบกับยอดขายของบริษัทที่ทุกวันนี้ส่งออกไปสหรัฐฯ ถึง 20% ของยอดขายทั้งหมด แต่เอกชนเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับการติดต่อจากรัฐบาลที่จะเข้าไปพูดคุยให้คลายกังวล สร้างความเชื่อมั่น หากบริษัทเหล่านี้ย้ายฐานการผลิตก็จะกระทบกับแรงงานไทยอีกหลายพันชีวิตที่จะตกงาน</p><p>ศิริกัญญายกตัวอย่างอุตสาหกรรมยางพาราที่แม้จะอยู่ในลิสต์สินค้ายกเว้นภาษีนำเข้าก็ตาม แต่ไทยก็แปรรูปเป็นยางรถยนต์และรถบรรทุกเพื่อส่งออกจนติดอันดับต้นๆ ในการส่งออกไปสหรัฐฯ แต่เมื่อเจอกำแพงภาษีก็ทำให้ตอนนี้ราคายางตก 10-12 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว และรอให้รัฐบาลเข้าไปสื่อสารและเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรยางพารา</p><p>สส.พรรคประชาชนกล่าวว่า GDP ของไทยที่เติบโตต่ำอยู่แล้ว มาเจอปัญหาเฉพาะหน้าที่ใหญ่ การลงทุนกำลังจะหยุดชะงัก คนงานกำลังเสี่ยงตกงาน พรรคประชาชนจึงเรียกร้องให้มีมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจที่จะทำเฉพาะหน้าในระยะสั้น กลาง และยาว ไปในเวลาเดียวกัน</p><p>อย่างไรก็ตาม ศิริกัญญาก็เห็นว่าสถานการณ์การคลังและงบประมาณของประเทศเหลืออยู่น้อยมาก หนี้สาธารณะกำลังชนเพดาน ภาระดอกเบี้ยต่อรายได้เกินกรอบกฎหมายไปแล้ว เหลือพื้นที่ที่จะกู้เพิ่มได้อีกในปีงบประมาณ 2568 เหลืออยู่ราว 4-5 แสนล้านบาทเท่านั้น หากรัฐบาลตัดสินใจจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูเศรษฐกิจครั้งใหญ่โดยการขยายเพดานหนี้สาธารณะก็สมเหตุสมผล แต่ต้องไม่ใช่การกู้มาเพื่อแจกเงินสะเปะสะปะอย่างที่ผ่านมา</p><p>ศิริกัญญากล่าวว่า สส.ในสภาก็พร้อมสนับสนุน ถ้ารัฐบาลมีแผนชัดเจนว่าจะใช้งบประมาณเพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้เลวร้ายไปกว่านี้ และฟื้นฟูประเทศก็กู้ได้เลย ถ้าเอาไปฟื้นฟูเยียวยาอุตสาหกรรมและแรงงานที่ได้รับผลกระทบหรือปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ หรือเพิ่มความสามารถการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยผลิตสินค้าได้เก่งขึ้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนที่ไทยตกต่ำมานาน หรือเอาไปเป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ต้องการสภาพคล่องระหว่างเผชิญความเสี่ยงเพื่อแสวงหาตลาดใหม่ๆ หรือนำไปฝึกอบรมแรงงานให้มีทักษะใหม่ที่ถูกเลิกจ้างหลังจากนี้ ไปจนถึงเพื่อทำให้ตลาดภายในประเทศเข้มแข็งขึ้นมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยการส่งออกที่จะลดความสำคัญลง</p><h2>เจรจาฝากนึกถึง ‘เกษตรกร’ ให้มาก</h2><p>อรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา พรรคกล้าธรรม นำเสนอรัฐบาลใน 4 ประเด็น คือ <strong>ประเด็นแรก</strong> การเจรจาขอให้รัฐบาลคำนึงถึงภาคการเกษตร การเสียดุลทางการค้าด้านเกษตร ขอให้เสียเปรียบน้อยที่สุดและคิดถึงพี่น้องเกษตรกรก่อนภาคอื่นๆ</p><p><strong>ประเด็นที่สอง</strong> ข้อเสนอต่างๆ ของรัฐบาลที่ปรากฏในสื่อ โดยเฉพาะการอนุญาตนำเข้า สินค้าเกษตรบางชนิดถ้าปล่อยให้เข้ามาอาจทำให้ราคาสินค้าตกต่ำมากกว่าเดิม หรือขัดต่อกฎหมายที่ไทยบังคับใช้อยู่</p><p><strong>ประเด็นที่สาม</strong> คำนึงถึงความสัมพันธ์ประเทศอื่นนอกจากสหรัฐฯ ด้วย เรายังมีคู่ค้าที่มีศักยภาพอยู่อีกหลายประเทศ การกำหนดนโยบายการค้ากับสหรัฐฯ ก็จะกระทบกับมาตรการที่ใช้กับประเทศอื่นด้วยเช่นกัน</p><p><strong>ประเด็นที่สี่</strong> ไทยยังได้รับผลกระทบในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น ลาว เวียดนาม กัมพูชา แต่บางประเทศก็โดนภาษีน้อยกว่าไทย เรื่องนี้จะทำให้การแข่งขันระหว่างประเทศในอาเซียนเปลี่ยนโฉมหน้าไป ต้องไปวิเคราะห์ว่าประเทศคู่แข่งของไทยโดนภาษีมากหรือน้อยกว่าไทย</p><p>อรรถกรยังเสนอ 3 แนวทางในการรับมือสถานการณ์สหรัฐฯ ขึ้นภาษีกับไทยไว้ 3 ข้อคือ</p><ol><li>หาทางลดความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดกับเกษตรกร</li><li>กระจายความเสี่ยงโดยการหาประเทศคู่ค้าเพิ่ม สินค้าอะไรที่เราไม่สามารถส่งออกหรือนำเข้าจากสหรัฐฯ ได้ต้องมีสถานที่อื่นที่ไทยจะเอาสินค้าไปปล่อยแทนได้</li><li>มาตรการรองรับสินค้าจากประเทศที่โดนขึ้นภาษีจากสหรัฐฯ จนส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ ได้น้อยลง สินค้าจากประเทศเหล่านี้อาจไหลทะลักเข้ามาไทย ขอให้หาทางดูแลพี่น้องเกษตรกรให้ดีที่สุด</li></ol><h2>แนะดูสินค้ารายประเภทเทียบกับคู่แข่ง</h2><p>สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวว่า สงครามการค้าระลอกใหม่ได้เริ่มต้นแล้ว ครั้งนี้จะรุนแรงกว่าครั้งไหนๆ มันคือการหันหัวกลับของยุคโลกาภิวัฒน์ ของระบบการค้าโลก และระบบการค้าเสรีที่เรายึดถือกันมา หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าทุกประเทศทั่วโลกในอัตรา 10% และใช้มาตรการภาษีตอบโต้แต่ละประเทศในอัตราที่แตกต่างกันไป สินค้าส่วนใหญ่ของไทยไปสหรัฐฯ โดนภาษีเกือบ 50% ในฐานะที่สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 5 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดที่เราส่งออกไปต่างประเทศ ดังนั้นผลกระทบทางตรงที่เกิดขึ้นจึงเกิดกับผู้ผลิตและส่งออกที่พึ่งพาสหรัฐฯ ตลอดจนแรงงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง</p><p>สิทธิพลอภิปรายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น แบ่งได้เป็น 2 มิติ คือ ผลกระทบในตลาดส่งออก และตลาดในประเทศ</p><p>ผลทางตรงก็คือกลุ่มสินค้าหลักที่เราส่งออกไปสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ยางรถยนต์ เหล่านี้ได้รับผลกระทบทันที จึงขอให้รัฐบาลไปดูในรายการสินค้าว่า สินค้าประเภทไหนได้รับผลกระทบสูง ในส่วนภาษี 10% ที่ทุกประเทศโดนเหมือนกัน คงไม่ได้ทำให้เราได้เปรียบหรือเสียเปรียบเท่าใด แต่ว่าต้องไปดูภาษีตอบโต้รายประเทศด้วย</p><p>เช่น สินค้าประเภทยางรถยนต์ที่เราส่งไปสหรัฐฯ มาเลเซียก็ส่งไปเหมือนกัน เราโดนภาษีตอบโต้ที่ 36% แต่มาเลเซียโดนแค่ 24% ตรงนี้จะทำให้สินค้าไทยเสียเปรียบเมื่อเทียบกับคู่แข่ง</p><p>หรืออย่างผลไม้ที่เราส่งไปสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ก็ส่งเหมือนกัน สัปปะรด มะพร้าว กล้วย ผลไม้แปรรูปต่างๆ เราโดนภาษีตอบโต้ 36% ฟิลิปปินส์โดน 17% พูดง่ายๆ ว่าถ้าแต่เดิมราคาพอๆ กัน เราจะแพงกว่าฟิลิปปินส์ราวๆ 20% ถ้าเป็นแบบนี้ผลไม้จากไทย เมื่อเข้าไปสหรัฐฯ ก็จะขายยากขึ้นแน่นอน</p><p>ผู้ประกอบการในกลุ่มเกษตรกร ผู้ปลูกยาง โรงงานยาง ผู้ปลูกผลไม้ โรงงานแปรรูป จะได้รับผลกระทบแน่นอน จะต้องมีการเตรียมรับมืออย่างไร ยังไม่นับแรงงานที่อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านี้ สิ่งที่รัฐบาลควรต้องทำทันที คือไปดูเลยว่าในตลาดอเมริกาที่เราส่งออกไป ดูรายสินค้าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ในแง่ภาษีตอบโต้ มีสินค้าอะไรที่เสียเปรียบคู่แข่งบ้าง รัฐบาลจะได้เตรียมช่วยเหลือผู้ประกอบการถูก</p><p>ผลทางอ้อมในมิติส่งออกก็มีหลายอย่าง เศรษฐกิจไทยทั้งระบบถ้าคิดว่ามี 100 บาท เราพึ่งพาการส่งออกไปแล้วประมาณ 60 บาท หมายความว่าถ้าการค้าโลกหดตัว ไทยก็จะส่งออกได้น้อยลง และต้องเจอกับผลกระทบในภาพรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้</p><p>ถ้าไปดูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนต่อเศรษฐกิจโลก พวกเขามีส่วนแบ่งในเศรษฐกกิจโลกมากกว่า 40% ฉะนั้น ในแง่ผลกระทบจึงจะกระทบไทยแน่นอน</p><p>อยากฝากการบ้านถึงรัฐบาลว่ามีตลาดอื่นๆ ที่ท่านจำเป็นต้องไปศึกษารับมือ ทุกประเทศที่เป็นตลาดนำเข้าสินค้าของเราเพื่อไปผลิต ประกอบ แล้วส่งไปขายสหรัฐฯ ประเทศเหล่านี้ถูกสหรัฐฯ ขึ้นภาษีเหมือนกัน ทำให้เขาจะนำเข้าสินค้าจากไทยน้อยลง </p><ol><li aria-level="1">ในมิติที่ไทยส่งสินค้าขั้นกลางไปให้ประเทศอื่นผลิต: ตัวอย่างเช่น เม็กซิโก ญี่ปุ่น ที่เราส่งชิ้นส่วนรถยนต์ไปหลายหมื่นล้านต่อปี วันนี้สหรัฐฯ ขึ้นภาษี เขาจะซื้อของเราน้อยลง หรือแคนาดา เราส่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไป เขาเอาไปประกอบแล้วส่งไปขายสหรัฐฯ แต่วันนี้สหรัฐฯ ขึ้นภาษีเขา เขาก็จะขายน้อยลง และซื้อเราน้อยลง</li><li aria-level="1">ในมิติส่งออก ทุกตลาดที่เราเคยส่งออกได้แล้วมียอดขายเยอะๆ กำลังจะเจอการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น จากสินค้าจากทุกชาติที่หนีตายจากสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นตลาดออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เพราะฉะนั้นในการที่รัฐบาลจะหาตลาดใหม่มารองรับสงครามการค้าครั้งนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายจริงๆ อีกทั้งการเจรจาไม่รู้จะเสร็จเมื่อไหร่</li></ol><h2>หวั่นสินค้านอก ราคาถูกทะลัก ทวง 3 ข้อปกป้องทุนในประเทศ</h2><p>สิทธิพลกล่าวต่อไปว่า มีมาตรการที่รัฐบาลทำได้ตอนนี้เลย คือ การปกป้องผู้ประกอบการในประเทศ เพราะเมื่อสินค้าต่างชาติล้วนหนีตาย ตลาดหนึ่งที่จะเข้ามาแน่ๆ คือไทย ผลกระทบจากสินค้าราคาต่ำจากต่างชาติที่ไทยเจอมา 2-3 ปี แล้ว เช่น สินค้าจากจีน ส่วนหนึ่งเพราะสงครามการค้ารอบแรก ส่วนรอบนี้ มีการขึ้นภาษีมากกว่าเดิม ครอบคลุมหลายประเทศมากกว่าเดิม</p><p>ถ้าผู้ประกอบการ SME ไทยรู้สึกว่าที่ผ่านมา แข่งขันกับสินค้าต่างชาติราคาถูกเหนื่อยขนาดไหน รอบนี้จะหนักไปอีก 3-4 เท่า ข้อมูลจากแบงค์ชาติ ผู้ประกอบการขนาดกลาง-เล็ก รายย่อยที่เน้นผลิตเพื่อขายในประเทศจะได้รับผลกระทบหนัก เช่น กลุ่มผู้ผลิตพลาสติก ยาง เฟอรนิเจอร์ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม กลุ่มเหล่านี้เตรียมตัวรับแรงกระแทก</p><p>ในโอกาสนี้จึงขอทวงสิ่งที่รัฐบาลบอกว่าจะทำ แต่ยังไม่ได้ทำ เพื่อปกป้องผู้ประกอบการ-ผู้บริโภคในประเทศจากสินค้าต่างชาติราคาถูก โดยมีอย่างน้อย 3 เรื่อง ซึ่งหลายเรื่องเป็นมติคณะรัฐมนตรีตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว แต่ยังไม่มีการออกมาตรการเป็นกฎหมาย</p><p>1. การกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล เพื่อให้รัฐกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงคุณภาพ ถ้าทำผิดสามารถลงโทษได้ เก็บภาษีได้ แต่ผ่านมา 6 เดือน เรื่องนี้ก็ยังไม่เกิดขึ้นจริง</p><p>2. มาตรการตอบโต้ทางการค้า ถ้าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูกเราพร้อมเปิดรับ เพราะว่าผู้บริโภคก็ได้ประโยชน์ แต่ก็มีสินค้าบางกลุ่มเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือเป็นสินค้าที่เอามาทุ่มตลาด ขายต่ำกว่าทุน ไทยจะมีมาตรการรับมืออย่างไร เช่น ภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด รัฐบาลเคยพูดว่าจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการเข้าถึงมาตรการเหล่านี้ จะทำอย่างไร</p><p>3. ป้องกันการสวมสิทธิ์สินค้า หรือการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้า ตัวอย่าง ประเทศเวียดนามที่โดนอัตราภาษีสูง ส่วนหนึ่งเพราะสหรัฐฯ พบว่ามีการสวมสิทธิ์สินค้าจากต่างประเทศ เช่น สินค้าจีน-โรงงานจีน เอาเข้าไปประกอบในเวียดนามแล้วส่งไปขายสหรัฐฯ ทำให้สหรัฐฯ รู้สึกไม่เป็นธรรม เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา แม้เวียดนามจะยอมลดภาษีเหลือ 0% สหรัฐฯ ก็ยังบอกว่าไม่พอใจ</p><p>ฉะนั้น รัฐบาลไทยจำเป็นต้องเร่งตรวจสอบว่ามีสินค้าลักษณะใดบ้างที่มีปัญหานี้ ในการตรวจสอบ กรมศุลกากรมีข้อมูลเพียงพอในการติดตามการสวมสิทธิ์ได้ โดยดูจากสินค้ากลุ่มเสี่ยง เอามาเทียบพิกัดกันทั้งขาเข้าและออก</p><h2>รมช.คลังรับมาตรการภาษีทรัมป์เกินคาดเดา</h2><p>จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ตอบข้ออภิปรายต่างๆ ของ สส.ที่ร่วมอภิปรายเรื่องการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ว่า เหตุการณ์ที่ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษี แม้รัฐบาลจะเตรียมการเป็นเวลานาน มีคณะทำงานที่นำโดย พันศักดิ์ วิญญรัตน์ เพื่อประเมินมาตรการว่าจะเกิดแบบใดบ้าง คณะทำงานประชุมกันหลายครั้งและมีฉากทัศน์หลายแบบ แต่คงไม่มีหน่วยงานใดในโลกคาดคำนวณได้เพราะสูตรที่สหรัฐฯ ใช้คำนวนหลุดไปจากหลักการเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน คิดคำนวนอย่างแปลกประหลาดที่เอาการขาดดุลการค้ามาหารด้วยจำนวนสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ อย่างไทยที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ อยู่ 45,000 ล้านเหรียญ มีการส่งออกไปสหรัฐฯ 65,000 ล้านเหรียญ เอามาหารกันได้ 72% แล้วหาร 2 อีกรอบ เพื่อปรับมาเป็นอัตราภาษีที่จะเพิ่มขึ้น</p><p>หลักการคิดคำนวนทางเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถเชื่อมโยงได้โดยตรง ทำให้การคาดคำนวนของใครก็ตามต่างไม่ได้คิดว่าจะออกมาสูงขนาดนี้ แต่ก็สะท้อนได้หลายอย่าง เช่น แนวความคิดที่สหรัฐฯที่มองโดยเน้นความต้องการลดการขาดดุล ก็เป็นโจทย์ที่รัฐบาลดูโดยละเอียด วิธีการแก้ก็คือ นำเข้าจากสหรัฐมากขึ้น และลดปริมาณการส่งออก แต่เมื่อรัฐบาลพิจารณาแล้วว่าการลดการส่งออก ไม่ใช่ทางเลือกของไทย เพราะว่าการส่งออกเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจมาโดยตลอด และอุตสาหกรรมในประเทศพึ่งพาการส่งออกมาตลอด การเพิ่มปริมาณการส่งออกไปสหรัฐฯ และเพิ่มการนำเข้าบางประเภทก็เป็นโจทย์ที่นำมาพิจารณา</p><p>จุลพันธ์กล่าวถึงข้อห่วงใยที่มีต่อภาคเกษตรกร ประชาชนและ SME ในประเทศ หากเกิดการนำเข้าสินค้าเข้ามาจะต้องไปกระทบราคาสินค้าในประเทศ เรื่องนี้เป็นโจทย์ที่รัฐบาลให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน และสิ่งที่ทีมเจรจาจะนำไปเจรจาด้วยคือ ความเข้าใจและความเป็นพันธมิตรทางการค้าที่มีมาอย่างยาวนานและอยู่เคียงข้างกันในเวทีโลกกับสหรัฐฯ</p><p>นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมอย่างอื่นที่ต้องดูเพิ่มเติมด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องความเร็ว แต่เป็นความแม่นยำตามที่สหรัฐฯ ตั้งโจทย์ไว้ เพราะเห็นประเทศตัวอย่างในภูมิภาคเดียวกันที่ประกาศจะลดอัตราภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์ เราก็ต้องมาดูของไทยเองว่านอกจากเรื่องอัตราภาษีและลดการขาดดุลของสหรัฐฯ แล้วยังมีเรื่องอะไรอีกบ้าง</p><p>จุลพันธ์กล่าวถึงการตรวจสอบสินค้าสวมสิทธิแหล่งกำเนิดที่ถูกส่งออกไปสหรัฐฯ หรือสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ที่ต้องเข้มงวดกวดขันไม่ให้เกิดขึ้นอีก หรือลดมาตรการนำเข้าที่ไม่ใช่แค่เรื่องภาษี แต่รวมถึงการเพิ่มความง่ายต่อการดำเนินธุรกิจการค้าก็เป็นกลไกที่ต้องนำมาประกอบกันทั้งหมดเพื่อให้การเจรจาเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด</p><p>รมช.คลัง กล่าวอีกว่า หลายเรื่องเคยมีการพูดถึง แต่ไม่สามารถทำได้ อย่างการเพิ่มความหลากหลายในการส่งออกไปประเทศต่างๆ ในโลก เพราะพฤติกรรมการส่งออกขึ้นอยู่กับความสะดวกและเม็ดเงิน ที่ไหนยังขายได้ก็ส่งออกไปที่เดิมๆ มากขึ้นเรื่อยๆ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องพูดคุยกันอย่างจริงจังกับภาคเอกชนให้การส่งออกสินค้าไปหลากหลายที่มากขึ้น</p><p>นอกจากนั้นการส่งเม็ดเงินไปลงทุนในต่างประเทศ จากนี้สหรัฐฯ ก็อาจเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ต้องพิจารณาว่าจะไปลงทุนแล้วจะมีศักยภาพมากขึ้นที่นอกจากจะเกิดประโยชน์กับนักลงทุนแล้วจะเกิดประโยชน์กับแรงงานของไทยอย่างไรได้บ้าง ประเด็นเหล่านี้จะต้องนำพิจารณาอย่างรอบคอบ</p><p>รมช.คลังกล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะทำงานและนายกฯ ประชุมกันหลายครั้ง มีการพิจารณาไม่ใช่แค่ระดับรายเซคเตอร์ แต่ลงรายละเอียดในสินค้าแต่ละประเภท อย่างไรก็ตามแม้จะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมาก็ยังไม่ได้คิดว่าสหรัฐฯ จะถอนกลไกที่เคยดำเนินการมา แต่เมื่อดุลการค้าของโลกเปลี่ยนแล้ว ไทยก็ต้องปรับตัวให้ได้และเป็นสิ่งสำคัญรัฐบาลก็ต้องมาช่วยปรับเปลี่ยน</p><p>ตอนนี้ไทยเตรียมเงินไว้ 5,000 ล้านบาทผ่านทางธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) ที่จะช่วยเหลือบริษัทส่งออกและนำเข้าจากสหรัฐฯ เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้น และจะมีมาตรการตามมาสำหรับภาคการเกษตร สุดท้ายหลังการเจรจาจะพิจารณาอีกทีว่า ภาวการณ์จะเปลี่ยนอย่างไร มีใครได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน และจะเข้าไปช่วยเหลือเยียวยาอย่างไร</p><p>จุลพันธ์กล่าวถึงสถานการณ์นี้ว่า ในการปรับเปลี่ยนดุลการค้าโลกยังคงมีโอกาสอยู่บ้าง ถ้าหาเจอก็จะเป็นประโยชน์กับไทย เรื่องนี้สร้างปัญหากับไทยแน่นอน แต่ก็ยังมีวิธีการตอบโต้อยู่หลายวิธี บางประเทศขึ้นภาษีแข่งกัน เช่น จีน สถานการณ์นี้จะทำให้เกิดช่องโหว่ทางการค้า เพราะสินค้าบางประเทศที่ไม่สามารถเดินทางผ่านไปด้วยความคุ้มค่า แต่ประชาชนในประเทศนั้นๆ ก็ยังต้องบริโภคอยู่ หากไทยเจรจาได้สำเร็จและเรามีสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาด ก็อาจเป็นช่องว่างให้กับสินค้าไทยได้ บางประเทศออกมาตรการภาษี ไทยจะมองช่องว่างนี้อย่างไรให้เกิดประโยชน์กับประเทศ หรือมีประเทศที่ใช้มาตรการตัดการลงทุน เรื่องนี้ไทยเองก็มีศักยภาพมีความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานจะทำอย่างไรให้เม็ดเงินลงทุนเข้ามาในไทยแทนและเกิดการจ้างงาน</p><p>รมช.คลังกล่าวถึงประเด็นตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือ GDP ว่า ช่วงต้นปีที่ผ่านมาเติบโตถึง 3 % แต่เขายอมรับว่าการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ นี้ก็สร้างผลกระทบต่อ GDP ของไทยแน่นอน แต่คงไม่สามารถตอบคำถามว่าเป้าหมายการเติบโต GDP ยังเท่าเดิมหรือไม่ ส่วนตัวเลขการเติบโตของ GDP จากหลายสถาบันที่ต่างกันเยอะมากนั้น ก็เพราะว่าสมมติฐานยังไม่ชัดพอที่จะนำไปเข้าแบบจำลองและนำเสนอ จึงยังเชื่อถือไม่ได้มากนัก แม้กระทั่งกระทรวงการคลังก็ยังไม่มีตัวเลขประเมินเพราะสมมติฐานยังไม่ครบ แต่ขึ้นกับวิธีการที่จะนำไปเจรจาและผลการเจรจาที่จะออกมา จึงจะสามารถนำไปใส่สมการแล้วคำนวนออกมา เพื่อที่จะได้รู้ว่าผลกระทบเชิงลบที่จะเกิดขึ้นมีมากน้อยแค่ไหน เป็นโจทย์ที่รัฐบาลจะรับไว้ เพราะรัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ</p><p>จุลพันธ์ยังได้กล่าวขอบคุณ สส.จากฝ่ายค้านที่เอื้อเฟื้อข้อเสนอกับรัฐบาล หากถึงเวลาและมีความจำเป็นในการดำเนินการบางอย่างเพื่อให้มีกรอบนโยบายทางการคลังมากขึ้นในการดำเนินการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจก็ต้องนำมาพูดคุยกันในสภาผู้แทนราษฎร </p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าว[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" hreflang="th">เศรษฐกิจ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิต[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทศ[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2" hreflang="th">ภาษีนำเข้า[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2" hreflang="th">สงครามการค้าจีน-สหรัฐอเมริกา[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรค |