หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ชายแดนใต้: 'พูดคุยสันติสุขยังมี แต่ไม่ใช่รูปแบบเดิม' พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ว่า เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 11 เมษายน 2568 23:06:02 ชายแดนใต้: 'พูดคุยสันติสุขยังมี แต่ไม่ใช่รูปแบบเดิม' พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ว่าที่หัวหน้าคณะพูดคุยฯ ยืนยัน
<span>ชายแดนใต้: 'พูดคุยสันติสุขยังมี แต่ไม่ใช่รูปแบบเดิม' พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ว่าที่หัวหน้าคณะพูดคุยฯ ยืนยัน</span> <span><span>See Think</span></span> <span><time datetime="2025-04-11T20:55:42+07:00" title="Friday, April 11, 2025 - 20:55">Fri, 2025-04-11 - 20:55</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>มูฮำหมัด ดือราแม</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ถูกวางตัวเป็นหัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้คนใหม่ ซึ่งจะเป็นคนที่ 6 นับตั้งแต่เริ่มมีการพูดคุยฯ ครั้งแรกกับขบวนการบีอาร์เอ็นในปี 2556 ในสมัยนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งครั้งนั้น พล.อ.นิพัทธ์ ก็ร่วมโต๊ะพูดคุยด้วย</p><p>พล.อ.นิพัทธ์ หรือ ‘บิ๊กแป๊ะ’ เคยมีประสบการณ์ในงานด้านสันติภาพมาก่อน คือ รองอาวุโสหัวหน้าภารกิจควบคุมการหยุดยิงในอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย (Principal Deputy Head of Mission of the Aceh Monitoring Mission) กระทั่งมีข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซียกับขบวนการอาเจะห์เสรี (Gerakan Aceh Merdeka) เมื่อ 15 สิงหาคม 2548 ยุติความขัดแย้งละความรุนแรงยาวนานเกือบสามทศวรรษ</p><h2>เดินตามยุทธศาสตร์ใหม่ดับไฟใต้ มุ่งสร้างสันติภาพสันติสุข</h2><p>ในขณะที่ยังไม่ได้รับการแต่งตั้ง พล.อ.นิพัทธ์ ให้เรียกตนเองว่า “ผู้ประสานงาน” โดยในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เขาได้เดินสายลงมาในพื้นที่ชายแดนใต้ในช่วงเดือนรอมฎอน เพื่อพบปะพูดคุยกับประชาชนทั้งพุทธและมุสลิม รวมทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง ผู้นำศาสนา และภาคประชาสังคม ตามที่ได้รับมอบหมายมา เพื่อเก็บข้อมูลทำการบ้านก่อนจะถูกแต่งตั้งอย่างเป็นทางการและเดินงานตามใต้ยุทธศาสตร์ดับไฟใต้ใหม่ที่รัฐบาลยังไม่เปิดเผยออกมา</p><p>พล.อ.นิพัทธ์ ระบุว่า ในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เมื่อเดือนมกราคม 2568 ได้ให้ปรับแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาใหม่ให้ดีขึ้น เพราะที่ผ่านมามีทั้งเรื่องดีและที่อยากให้ดีขึ้นกว่านี้ โดยมุ่งไปที่การสร้างสันติภาพ/สันติสุข ซึ่งทาง สมช.นำเสนอยุทธศาสตร์ใหม่ให้รองนายกฯ ภูมิธรรม แล้ว</p><p>ดังนั้น การลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นงานหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหม่ ซึ่งตนและทีมงานจาก สมช. ตั้งใจทำในช่วงเดือนรอมฎอนอันประเสริฐเพื่อสร้างความเข้าใจในเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่ต้องการสร้างความสงบสุข สาระสำคัญคือมารับฟังข้อมูลและความคิดเห็นจากข้างล่าง โดยย้ำว่าเป็นการทำงานที่ถือปรัชญา เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา</p><p>“น่าดีใจที่ทุกคนทุกฝ่ายที่เราพบมีความเห็นตรงกันว่า 21 ปีแล้วที่อยู่ในสภาวะความรุนแรง ทุกฝ่ายต้องการเร่งที่จะสร้างสันติภาพสันติสุขให้เกิดกับพื้นที่ ต้องการเห็นทุกคนปลอดภัย มีอนาคตที่ดี โดยเฉพาะเยาวชนที่ตื่นตัวมากแล้ว” รวมทั้งปัญหายาเสพติดซึ่งหนักมาก ชุมชนทั้งหลายเรียกร้องให้ปราบปรามอย่างจริงจัง ซึ่งทีมงาน สมช.จะนำไปปรับนโยบายด้วย</p><h2>การพูดคุยสันติสุขยังมีอยู่ แต่ไม่ใช่รูปแบบเดิม</h2><p>อย่างไรก็ตาม ขณะนี้โต๊ะพูดคุยสันติสุขได้หยุดชะงักมาเกือบปีแล้ว จนถูกมองว่ารัฐบาลอาจจะยกเลิกการแก้ปัญหาในแนวทางนี้แล้ว แต่ พล.อ.นิพัทธ์ ยืนยันว่า การพูดคุยสันติสุขยังมีอยู่ แต่อาจจะเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม ส่วนจะเป็นรูปแบบใดนั้นต้องรอติดตาม</p><p>จากข้อสังเกตว่า เหตุรุนแรงจะมีมากขึ้นในช่วงไม่มีการพูดคุย โดยเฉพาะช่วงรอมฎอนที่ผ่านมานั้น พล.อ.นิพัทธ์ มองว่าให้แยกเป็น 2 ประเด็น คือ </p><p>ประเด็นที่ 1 ขอยืนยันว่า รัฐบาลสั่งการชัดเจนว่าการพูดคุยยังดำรงอยู่ในขณะนี้ แต่อาจจะไม่ใช่รูปแบบเดิม</p><p>“การพบผู้นำศาสนา รวมทั้งภาคประชาสังคมต่างๆ นี่คือการพูดคุย ซึ่งผมเชื่อว่าผู้ใหญ่ทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้นำศาสนาที่เราได้พบ จะได้สื่อสารลงไปในชุมชน... สิ่งเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดไปยังตัวบุคคล กลุ่มคนต่างๆ (รวมทั้งบีอาร์เอ็น) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพูดคุยซึ่งยังมีอยู่ แต่ยังไม่ถึงกับต้องนั่งโต๊ะคุยกัน”</p><p>พล.อ.นิพัทธ์ ระบุว่า การพูดคุยรูปแบบใหม่ได้เริ่มทำไปแล้ว โดยให้ความสำคัญกับการพูดคุยกับผู้นำศาสนา/ผู้นำจิตวิญญาณในพื้นที่</p><p>ประเด็นที่ 2 เรื่องการก่อเหตุ ยอมรับว่ามีจริงซึ่งทุกฝ่ายผิดหวังและเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งที่เราตั้งใจจะให้เดือนรอมฎอนปีนี้เป็นรอมฎอนสู่สันติสุข 2568/ฮิจเราะห์ศักราช 1446 ทั้ง 30 วัน ยอมรับว่ายังมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่ยังมีแนวคิดลักษณะนี้อยู่ ซึ่งต้องแก้ไขและติดตามจับกุมต่อไป</p><p>คำถามคือ เมื่อเน้นการพูดคุยกับประชาชนแล้วจะสื่อสารไปยังบีอาร์เอ็นได้อย่างไร พล.อ.นิพัทธ์ ตอบว่า นี่คือหน้าที่รับผิดชอบของรัฐ ในเวลาเดียวกันก็ร้องขอจากประชาชนช่วยกันบอกแจ้งถึงเรื่องที่เกิดขึ้น ประชาชนจะเป็นพลังที่จะทำให้ทุกอย่างคลี่คลาย</p><p>“สิ่งที่ได้มีการพูดคุยกันมาแล้วอาจไม่มีการสานต่อนั้น ขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิง”</p><p>พล.อ.นิพัทธ์ กล่าวว่า สิ่งที่หัวหน้าคณะพูดคุยทุกคณะได้พูดคุยกันมาแล้วเป็นประโยชน์ทั้งหมด ไม่มีอะไรที่ต้องหักล้าง ไม่มีการตำหนิใดๆ ถือว่าทุกอย่างคือรากฐานการทำงาน อะไรที่ได้ผลมากหรือน้อยเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น</p><h2>ทำไมต้องสนใจรัฐกลันตัน</h2><p>พล.อ.นิพัทธ์ ยังเรียกร้องให้ความสนใจไปที่รัฐกลันตันของมาเลเซีย เพราะเชื่อว่าจะมีส่วนสำคัญต่อการแก้ปัญหาชายแดนใต้เนื่องจากพื้นที่ติดกัน และเชื่อว่าเป็นที่พำนักของแกนนำขบวนการบีอาร์เอ็น แต่เขาก็เน้นว่า “เราจะมุ่งเน้นความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ” เป็นหลัก</p><p>พล.อ.นิพัทธ์ มักเขียนถึงรัฐกลันตันอยู่บ่อยบนเฟซบุ๊ก ซึ่งเขาให้เหตุผลว่า เหตุการณ์ต่างๆ ไม่ได้จำกัดที่เส้นเขตแดนไทย-มาเลเซีย วันนี้ทุกฝ่ายรวมทั้งทางทหารพูดถึงรัฐกลันตันว่า ทุกคนต้องสนใจเพราะการเคลื่อนไหวทางภูมิสังคมที่ประชาชนทั้งในฝั่งไทยและในรัฐกลันตันเป็นพี่น้องกัน</p><p>“รัฐกลันตันถูกกล่าวถึงในหลายๆ เรื่องโดยเฉพาะเศรษฐกิจการค้าที่เชื่อมโยงกัน อะไรที่มีอยู่ในรัฐกลันตันส่งผลต่อชายแดนภาคใต้มากน้อยแค่ไหน บทความที่ผมเขียนสะท้อนให้เห็นว่า ระบบการปกครองของรัฐกลันตันที่มีสุลต่านและมุขมนตรี การตัดสินใจในบางเรื่องมันจะจบอยู่แค่ในรัฐกลันตันเท่านั้น”</p><p>โดย พล.อ.นิพัทธ์ เรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐทั้งทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และส่วนราชการในพื้นที่ที่ติดกับรัฐกลันตัน “สนใจพูดคุยกับเขาหน่อย เพื่อจะให้พี่น้องทั้งสองฝั่งได้มีความเข้าอกเข้าใจกัน อะไรที่มันร้อนหนาวก็ต้องมาบอกกัน”</p><h2>เข้าถึงพรรคปาส (PAS) เพื่อเข้าถึงบีอาร์เอ็น?</h2><p>ส่วนการเป็นแหล่งพักพิงของแกนนำบีอาร์เอ็นนั้น พล.อ.นิพัทธ์ บอกว่า เรายังไม่ไปก้าวล่วงขนาดนั้น หมายความว่าเรารู้จริงแล้วหรือยัง</p><p>อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ที่ระดับหน่วยในพื้นที่ก็ทำกันอยู่แล้ว แต่ที่ตนสะท้อนออกมานั้น เป็นการบอกตัวเองว่า เราไม่เคยรู้จักมาก่อนว่ารัฐกลันตันเป็นอย่างไร ตนพยายามบอกว่า บ้านเมืองติดกันอย่ามองข้ามกัน</p><p>คำถามคือ การที่ต้องสนใจรัฐกลันตันนั้นก็เพื่อเข้าถึงพรรคปาส (PAS) ซึ่งปกครองรัฐกลันตันอยู่ ก็เพื่อเป็นช่องทางเข้าถึงระดับนำของบีอาร์เอ็นใช่หรือไม่ พล.อ.นิพัทธ์ ตอบว่า “เป็นทั้งคำถามและเป็นแนวที่เราต้องพึ่งตระหนักในการทำงานครั้งนี้”</p><p>“20 กว่าปีมาแล้ว มีอะไรที่พูดถึงก็ถูกทั้งหมด แต่สิ่งที่ต้องเน้นย้ำสำหรับรัฐกลันตันคือการสร้างความสัมพันธ์ ความเข้าใจที่ดี และผลประโยชน์ร่วมกัน แต่ตรงนี้เราไม่ก้าวล่วงไปในเรื่องของพรรคการเมือง รวมทั้งพรรคการเมืองต่างๆ ในกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียด้วย”</p><p>พล.อ.นิพัทธ์ กล่าวว่า งานตรงนี้เราไม่ค่อยพูดถึงกัน แต่หน่วยงานในพื้นที่ทำกันอยู่แล้ว ตนและทีมงานได้ฟังข้อมูลแล้วคิดว่า เราควรยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกลันตันกับพื้นที่ประเทศไทย เน้นเรื่องเศรษฐกิจ เพราะประชาชนได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งเดิมๆ เราอยู่กันอย่างมีความสุขก็อยากจะให้หยุดความรุนแรง</p><h2>รัฐบาลยืนยันในความจริงจัง ขอให้ฝ่ายเห็นต่างแสดงตัวมา</h2><p>สำหรับข้อเรียกร้องของภาคประชาสังคมที่ต้องการให้รัฐบาลมีเจตจำนงทางการเมืองในการแก้ปัญหาอย่างจริงจังนั้น พล.อ.นิพัทธ์ กล่าวว่า เป็นความจริงที่มีการเรียกร้องและมีการตั้งข้อสังเกตเรื่องความจริงจังของรัฐบาล</p><p>“ยืนยันว่าจริงจัง รัฐบาลยืนยันในความจริงจัง แต่ย้ำว่ารูปแบบที่เราเคยเห็นมา คือการนั่งโต๊ะคุยกันแล้วมีการแถลงข่าวอย่างที่ทำมานั้นไม่ได้ผิดอะไร มันคือการทำงานร่วมกัน แต่เมื่อผมมารับผิดชอบตรงนี้ตามที่ได้รับมอบหมาย ผมก็จะทำสไตล์ของผม นี่คือรูปแบบที่จะทำ”</p><p>คำถาม รูปแบบการพูดคุยสันติสุขจะเป็นไปในทางลับมากขึ้นใช่หรือไม่ พล.อ.นิพัทธ์ กล่าวว่า ไม่มีอะไรเป็นความลับเลย ไปไหนมาไหนมีข้าราชการ ในพื้นที่มีภาคประชาสังคมคอยสนับสนุน</p><p>ส่วนการพูดคุยกับขบวนการบีอาร์เอ็นมีคนที่รับผิดชอบในส่วนนี้อยู่แล้ว ถ้าใช้คำว่าการคุยในทางลับมันก็เป็นอะไรที่ดูเหมือนว่ามีอะไรซ่อนอยู่</p><p>“ผมอยากให้ฝ่ายที่เห็นต่างหรืออะไรต่างๆ บอกและแสดงตัวมา เพราะรัฐบาลก็เปิดเผยทุกอย่างว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร อยากจะให้ส่งเสียงมาชัดๆ ... ว่าตัวตนของคุณมันจริงแค่ไหน อย่างไร นี่น่าจะเป็นเวลาที่เราควรจะได้ทำความเข้าใจกันในเรื่องความสงบสุขและอนาคตที่ดีงาม” พล.อ.นิพัทธ์ กล่าวทิ้งท้าย</p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สัมภาษณ์[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87" hreflang="th">ความมั่นคง[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" hreflang="th">ชายแดนใต้[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E" hreflang="th">กระบวนการพูดคุยสันติภาพ[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C-%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81" hreflang="th">พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%AE%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1" hreflang="th">มูฮำหมัด ดือราแม[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> http://prachatai.com/journal/2025/04/112596 |