[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 27 เมษายน 2568 00:43:53



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ทำไมคนงาน 'ยานภัณฑ์' เสนอใช้งบกลางสำรองจ่ายค่าชดเชย ?
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 27 เมษายน 2568 00:43:53
ทำไมคนงาน 'ยานภัณฑ์' เสนอใช้งบกลางสำรองจ่ายค่าชดเชย ?
 


<span>ทำไมคนงาน 'ยานภัณฑ์' เสนอใช้งบกลางสำรองจ่ายค่าชดเชย ? </span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-04-24T15:19:00+07:00" title="Thursday, April 24, 2025 - 15:19">Thu, 2025-04-24 - 15:19</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ&nbsp;</p><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์&nbsp;</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ตั้งแต่ 11 มี.ค. 2568 คนที่สัญจรผ่านไปผ่านมาบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล คงเห็นกลุ่มแรงงานบริษัทยานภัณฑ์ ปักหลักชุมนุมตรงข้ามทำเนียบฯ เพื่อมาเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเบิกงบกลางสำรองจ่ายค่าชดเชย มูลค่าราว 466 ล้านบาท ให้กับแรงงานที่ถูกลอยแพ 4 บริษัท ได้แก่ บอดี้แฟชั่น, เอเอ็มซี สปินนิ่ง, แอลฟ่า สปินนิ่ง, และยานภัณฑ์</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://prachatai.com/sites/default/files/styles/super_cover_upload/public/files-super-cover-upload/2025/2025-04/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C.jpg.webp?itok=YadV3XtL" width="1400" height="700" loading="lazy">จุดปักหลักประท้วงของคนงานยานภัณฑ์</p><p>หลังจากปักหลักมานานกว่า 1 เดือนดูเหมือนจะมีความคืบหน้า เพราะมีรายงานว่าสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) จะชงเรื่องเข้าที่ประชุม ครม. 29 เม.ย.นี้ แต่คนงานก็ยังต้องจับตาดูกันว่าจะเอาเรื่องเข้าที่ประชุมจริงหรือไม่ อย่างไร</p><p>อีกส่วนที่คู่ขนานไปกับการเรียกร้องของคนงาน คือคอมเมนต์โลกออนไลน์ที่ยังสงสัยว่า ทำไมต้องให้รัฐบาลใช้งบกลางสำรองจ่ายค่าชดเชยไปก่อน แทนที่คนงานจะไปไล่บี้กับนายจ้างให้นำเงินมาจ่ายค่าชดเชย</p><p>เรื่องนี้คนงานยานภัณฑ์ มองว่าการใช้ขั้นตอนตามกฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินใช้เวลานานมาก สะท้อนผ่านกรณีบริษัทบอดี้แฟชั่น ที่ลอยแพคนงานตั้งแต่ปี 2562 แต่ผ่านมา 6 ปี คนงานเกือบพันรายก็ยังไม่ได้เงินชดเชย ดังนั้น ทางคนงานเลยอยากให้รัฐบาลสำรองจ่ายค่าชดเชยก่อนผ่านการใช้งบกลาง แต่ไม่ได้เป็นการให้เปล่า เพราะจะแลกกับทรัพย์สินของนายจ้าง 4 บริษัท หากรัฐบาลเอาทรัพย์สินขายทอดตลาดได้ ก็สามารถเอาเงินกลับเข้ามาในคงคลังภายหลัง&nbsp;</p><p>ส่วนข้อเสนอระยะยาว คนงานยานภัณฑ์และนักสิทธิแรงงานหวังว่า กระทรวงแรงงานจะพิจารณาจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง ซึ่งอาจจะเป็นคีย์แมนในการป้องกันการเลิกจ้างลอยแพคนงานในอนาคต หยุดวิบากกรรมของคนงานที่ต้องมาตามค่าชดเชย</p><h2>จุดเริ่มต้นของปัญหาโรงงานยานภัณฑ์</h2><p>บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2495 โรงงานอยู่ที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เช่น ครัช เบรก และอื่นๆ และเป็นซัปพลายเออร์ให้กับบริษัทรถยนต์ชื่อดังอย่าง อีซูซุ โตโยต้า เป็นต้น</p><p>บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด ได้ปิดกิจการอย่างกะทันหันเมื่อ 26 พ.ย. 2567 เนื่องจากเหตุผลด้านเศรษฐกิจขาดสภาพคล่อง ส่งผลให้คนงาน 859 คนตกงานโดยยังไม่ได้รับเงินค่าชดเชย ราว 250 ล้านบาท&nbsp;</p><p>เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา เมื่อ 29 พ.ย. 2567 มีการประชุมร่วมกันระหว่างกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ ตัวแทนสหภาพแรงงาน และผู้บริหารบริษัทยานภัณฑ์ โดยมี สส.พรรคประชาชนร่วมสังเกตการณ์ การประชุมดังกล่าวได้มีข้อตกลงว่านายจ้างจะแบ่งจ่ายค่าชดเชยออกเป็น 3 งวด ดังนี้</p><ul><li aria-level="1">งวดที่ 1 : วันที่ 20 ธ.ค. 2567 แบ่งจ่าย 70%</li><li aria-level="1">งวดที่ 2 : วันที่ 27 ธ.ค. 2567 แบ่งจ่าย 20%</li><li aria-level="1">งวดที่ 3 : วันที่ 27 ม.ค. 2568 แบ่งจ่าย 10%</li></ul><p>เรื่องราวดูเป็นไปด้วยดีจนกระทั่งเมื่อ 20 ธ.ค. 2567 คนงานยานภัณฑ์ก็รอให้เงินเข้าบัญชีของตัวเอง แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่มีการจ่ายเงินเกิดขึ้น คนงานจึงปักหลักประท้วงหน้าโรงงานยานภัณฑ์ เพราะกลัวว่านายจ้างจะมาขนเครื่องจักรหรือทรัพย์สินออกจากโรงงาน และต้องการกดดันให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยโดยเร็ว นอกจากนี้ พวกเขายังได้เดินทางมาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ&nbsp;ร่วมกับ บริษัท แอลฟ่า สปินนิ่ง เอเอ็มซี สปินนิ่ง และบอดี้แฟชั่น&nbsp;</p><p>ทั้งนี้ บริษัท แอลฟ่า สปินนิ่ง จำกัด <a href="https://www.dataforthai.com/company/0745557005599/" jsname="UWckNb" data-ved="2ahUKEwjF-4jYt_CMAxVXS2cHHaZNL6oQFnoECA4QAQ" ping="/url?sa=t&amp;source=web&amp;rct=j&amp;opi=89978449&amp;url=https://www.dataforthai.com/company/0745557005599/&amp;ved=2ahUKEwjF-4jYt_CMAxVXS2cHHaZNL6oQFnoECA4QAQ">บริษัท เอเอ็มซี สปินนิ่ง จำกัด[/url] และบริษัท บอดี้แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบกิจการอุตสาหกรรมสิ่งทอ&nbsp;</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://prachatai.com/sites/default/files/styles/super_cover_upload/public/files-super-cover-upload/2024/2024-12/54226026143_4a8e8c1300_b.jpg.webp?itok=cn4-3uoo" width="1400" height="700" loading="lazy">บรรยากาศการชุมนุมหน้าโรงงานยานภัณฑ์ เมื่อ 24 ธ.ค. 2567 (ภาพโดย เซีย จำปาทอง (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=8875204715889890&amp;set=pb.100002013503986.-2207520000&amp;type=3))</p><p>ข้อเรียกร้องของคนงาน 4 บริษัทต่อรัฐบาล คือ 1. ให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณรายจ่ายกลางสำรองจ่ายให้กับคนงาน 4 บริษัท รวม 466 ล้านบาท และ 2. การอนุมัติงบประมาณรายจ่ายกลางไม่ได้เป็นการให้เปล่า เพราะเมื่อมีการอนุมัติงบกลางมาสำรองจ่ายให้คนงานแล้ว ทรัพย์สินของนายจ้างทั้ง 4 บริษัทที่กรมบังคับคดียึดไว้ ก็จะตกเป็นของรัฐบาล และเมื่อกรมบังคับคดีสามารถขายทรัพย์สินของนายจ้างได้แล้ว เงินส่วนนี้จะได้คืนเข้าสู่คงคลังเหมือนเดิม ไม่ได้เป็นการให้ฟรี หรือหากกรณีที่นายจ้างเกิดเปลี่ยนใจยอมไกล่เกลี่ยโดยการจ่ายเงิน รัฐบาลก็นำเงินที่นายจ้างจ่ายตรงส่วนนี้กลับเข้าคงคลังได้เช่นกัน&nbsp;</p><p>ธนพร วิจันทร์ สมาชิกเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ที่ช่วยเหลือแรงงานที่ถูกลอยแพจากบอดี้แฟชั่น เอเอ็มซี สปินนิ่ง และแอลฟ่า สปินนิ่ง ตั้งแต่ปี 2566 อธิบายว่า เริ่มแรกเกิดจากทางคนงานยานภัณฑ์ติดต่อมาขอความช่วยเหลือ เลยมีการรวมเคสทั้ง 4 บริษัท เนื่องจากทั้งหมดประสบปัญหาแบบเดียวกันคือถูกเลิกจ้างไม่ได้รับค่าชดเชย และการรวมตัวกันจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มอำนาจต่อรองและเรียกร้องความช่วยเหลือกับทั้งนายจ้างเอกชนและรัฐบาล&nbsp;</p><p>อย่างไรก็ตาม ช่วงระหว่าง 2 เดือนที่ผ่านมา คนงานเดินทางมาเรียกร้องที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นระยะ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าเรื่องการช่วยเหลือ จนเมื่อ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการประชุมระหว่างสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการฝ่ายการเมืองของนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร, สมพาศ นิลพันธ์ รองปลัดสำนักนายกฯ, คนงานยานภัณฑ์ และเครือข่ายแรงงาน ได้อัปเดตความคืบหน้าการช่วยเหลือคนงาน 4 บริษัทว่าเรื่องยังอยู่กับทาง สลค. และกำลังขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน แต่ยังไม่สามารถตอบได้ว่าเรื่องจะเข้าที่ประชุม ครม.เมื่อไร</p><p>ความไม่ชัดเจนที่เกิดขึ้นทำให้คนงานตัดสินใจยกระดับการชุมนุม โดยปักหลักบริเวณพื้นที่ตึกสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล และ 12 มี.ค. มีตัวแทนคนงานรวม 6 คนอาสาอดอาหารประท้วง จนกว่าข้อเรียกร้องจะสัมฤทธิ์ผล</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54393366825_9dbd1b4ba5_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">คนงานยานภัณฑ์ที่ร่วมอดอาหารประท้วง</p><p>หลังคนงานยานภัณฑ์ เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน และ สส.เซีย จำปาทอง จากพรรคประชาชน ร่วมกันติดตามหน่วยงานต่างๆ ให้เร่งรัดส่งความเห็นกลับมาที่ สลค.โดยเร็ว จนเมื่อ 8 เม.ย. 2568 มีข่าวดีในช่วงก่อนสงกรานต์ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ฯ คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ทำความเห็นกลับมาที่ สลค.แล้ว ที่เหลือก็คือรอเอาเรื่องเข้าที่ประชุม ครม. คนงานทั้ง 6 คนจึงยุติการอดออาหารประท้วง หลังอดอาหารมาเกือบ 1 เดือน</p><div class="note-box"><p>อนึ่ง มาลี เตวิชา ประธานสหภาพชิ้นส่วนยานยนต์กรุ๊ป และคนงานที่อาสาอดอาหารประท้วง อัปเดตเมื่อ 22 เม.ย. 2568 ระบุว่า สำหรับตัวเธอเองที่อดอาหารประท้วงมาแล้ว 28 วัน สภาพร่างกายยังอยู่ในระหว่างการฟื้นฟู ส่วนคนที่เหลืออีก 5 คน ตอนนี้เริ่มกลับมาทานอาหารได้บ้างแล้ว</p></div><p>&nbsp;</p><p>ปัจจุบัน มีรายงานว่าเรื่องอนุมัติงบกลางอาจจะได้เข้าที่ประชุม ครม. 29 เม.ย.นี้ เหลือแค่ สลค.ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากกระทรวงแรงงานว่าจะมีมาตรการป้องกันการลอยแพในระยะยาวอย่างไร เพื่อไม่ให้ปัญหาเดิมเกิดขึ้นซ้ำซาก ซึ่งกระทรวงแรงงานเผยว่าเรื่องนี้ได้วางมาตรการไว้แล้ว โดยจะไปแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เพื่อตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงขึ้นมา&nbsp;</p><p>ทั้งนี้ กระบวนการช่วยเหลือของกระทรวงแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม เบื้องต้น เมื่อ 24 ก.พ. 2568 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้มอบเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ให้กับคนงานบริษัทยานภัณฑ์ 859 คน จำนวน 6,940,560 บาท และสำนักงานประกันสังคมได้จ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน และกรณีอื่นๆ ให้แก่ลูกจ้างยานภัณฑ์ จำนวน 32,056,017.74 บาท รวมทั้งหมด 38,996,577.74 บาท โดยลูกจ้างจะได้รับเงินประมาณคนละ 70,000 บาท อย่างไรก็ตาม ถ้าคนงานยานภัณฑ์ได้เงินชดเชยจากนายจ้าง เงินสงเคราะห์ที่ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างก็ต้องคืนให้กองทุนฯ</p><h2>บังคับนายจ้างจ่ายชดเชยใช้เวลานานเกินทน</h2><p>จากการพูดคุยกับคนงานยานภัณฑ์ทำให้ทราบว่า เหตุผลที่พวกเขาอยากให้รัฐบาลยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ เนื่องจากพวกเขามองว่าการเรียกร้องบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินตามกระบวนการทางกฎหมายใช้เวลานานมาก แต่ว่าค่าใช้จ่าย และค่าครองชีพมันยังเดินอยู่ตลอดชนิดไม่มีวันหยุด ดังนั้นจึงเป็นที่มาของเสนอให้รัฐบาลอนุมัติงบกลางสำรองจ่ายให้แรงงานก่อน</p><p>หนึ่งในกรณีที่ต้องเรียกร้องเงินค่าชดเชยมาอย่างยาวนานคือ คนงานของบริษัท บอดี้แฟชั่น (https://prachatai.com/journal/2024/02/108094)&nbsp;(ประเทศไทย) จำกัด&nbsp; (https://prachatai.com/journal/2024/02/108094)ซึ่งเป็นบริษัทประกอบกิจการอุตสาหกรรมสิ่งทอ-ตัดเย็บชุดชั้นในให้หลายแบรนด์ เช่น ‘วิกตอเรียซีเคร็ต’ ‘ไทรอัมป์’ ‘ฮูเบอร์’ เป็นต้น โดยโรงงานมีการทยอยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตั้งแต่ปี 29 ต.ค. 2562 จนถึง 4 ธ.ค. 2563</p><ul><li aria-level="1">มีผู้เสียหายจำนวนประมาณ 945 คนยังไม่ได้รับเงินชดเชยและเงินอื่นๆ ประมาณ 200 ล้านบาท (ไม่รวมดอกเบี้ย) แรงงานส่วนใหญ่ถูกค้างค่าชดเชยอยู่ที่ประมาณ 1-2 แสนบาท</li><li aria-level="1">แรงงานจำนวน 333 คนที่ถูกเลิกจ้างเมื่อ 29 ต.ค. 2562 ได้รับเงินชดเชยเลิกจ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้รับค่าดอกเบี้ยจำนวนกว่า 33 ล้านบาท</li></ul><p>ในปี 2564 ศาลแรงงานมีคำพิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างทั้งหมด แต่ผู้บริหารบริษัทชาวต่างชาติ อลัน อึ้ง ม่าน เหลียง ไม่เคยปฏิบัติตามคำสั่งศาล&nbsp;(มีรายงานว่าเจ้าตัวหนีออกนอกประเทศตั้งแต่ปี 2562 และจนปัจจุบันยังไม่เคยกลับมารับผิดชอบ) คนงานจึงขอให้กรมบังคับคดีสืบทรัพย์สินของนายจ้าง เพื่อยึดทรัพย์สินและนำมาขายทอดตลาด แล้วจะเอาเงินส่วนนี้มาจ่ายให้แรงงานและเจ้าหนี้ แต่ปัญหาก็คือแม้ว่าจะมีการประกาศขายทรัพย์สินนายจ้างอยู่เป็นระยะตั้งแต่ปี 2564 จนถึงล่าสุด 10 เม.ย.ที่ผ่านมา ก็ไม่สามารถหาคนมาซื้อได้เลย&nbsp;</p><p>ดังนั้น หากนับระยะเวลาตั้งแต่ปี 2562 จนถึงตอนนี้ (ปี 2568) รวมเกือบ 6 ปีที่คนงานบอดี้แฟชั่นยังไม่ได้รับค่าชดเชยจากนายจ้าง ได้รับเพียงเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กระทรวงแรงงานเท่านั้น และกรณีนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คนงานยานภัณฑ์ ออกมาเรียกร้องกับรัฐบาล</p><h2>เงินชดเชยยังไม่จ่าย ค่าครองชีพไม่มีวันหยุด</h2><p>มาลี เตวิชา ประธานสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์กรุ๊ป และตัวแทนแรงงานยานภัณฑ์ที่อาสาอดอาหารประท้วงถึง 28 วัน เผยว่า การเลิกจ้างอย่างกะทันหันทำให้แรงงานหลายคนไม่ทันตั้งตัว พวกเขาไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเล่าเรียนของลูก ค่าน้ำ-ไฟ ค่ารักษาพยาบาล หรือมีกรณีที่คนเครียดจนคิดจบชีวิตก็มี แต่จริงๆ ก็พยายามจบชีวิตแล้ว แต่ญาติมาห้ามได้ทัน</p><p>ปีใหม่ รัฐวงษา คนงานจาก 'บอดี้แฟชั่น' ที่ยังถูกค้างค่าชดเชยเลิกจ้าง กล่าวเช่นกันว่า ผลกระทบที่เกิดกับคนงานหนักมาก เพราะบางคนเขาไม่คิดว่าตัวเองจะต้องตกงานกะทันหัน ทำให้ไม่ได้เตรียมตัวเก็บเงินเอาไว้ บางคนผ่อนบ้านใกล้หมดแล้ว กลายเป็นไม่มีเงินจ่าย บ้านก็ต้องถูกยึด รถก็ถูกยึด ค่าเล่าเรียนลูกไม่มีเงินจ่าย บางคนเพื่อความอยู่รอด ก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมา เพื่อประทังชีวิต หรือเป็นทุนประกอบอาชีพ</p><p>"ผลกระทบส่วนตัวพี่ไม่เยอะเท่าไร เพราะพี่ก็ยังอาศัยสามีพี่ที่ยังทำงานอยู่ พี่ก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้ดีกว่าเพื่อน แต่การใช้ชีวิตต้องประหยัดอดออมมากขึ้น เพราะว่าเรามีรายได้ทางเดียวคือทางสามี" ปีใหม่ กล่าว</p><p>ทั้งนี้ คนงานส่วนใหญ่ที่ยานภัณฑ์ และบอดี้แฟชั่น อายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป เมื่อถูกเลิกจ้าง ก็จะหางานใหม่ค่อนข้างยาก ไม่มีใครอยากรับคนงานที่อายุมากขนาดนี้ คนงานก็หวังว่าถ้าได้เงินชดเชยมาแล้ว ก็จะไปเริ่มต้นซื้ออุปกรณ์ทำงาน ทำธุรกิจส่วนตัว ทำไร่ทำนาที่บ้าน ดูแลพ่อแม่ หรือรับจ้างอื่นๆ ที่พอทำได้</p><p>กรรณิการ์ สนาท ชาวจันทบุรี อายุ 40 ปี คนงานยานภัณฑ์ที่ออกมาอดอาหารประท้วง เธอและแฟนถูกโรงงานยานภัณฑ์เลิกจ้างโดยไม่ได้เงินชดเชยพร้อมกัน ก็เล่าว่าถ้าได้รับเงินชดเชยแล้ว จะกลับไปเปิดร้านขายของช่วยแม่ที่บ้านเกิด</p><p>'นุ' (สงวนชื่อ-นามสกุล) ชาวนครพนม คนงานฝ่ายผลิตของยานภัณฑ์ อายุ 47 ปี เล่าให้ฟังว่าตอนที่ถูกเลิกจ้างไม่ได้เงินค่าชดเชย เขากลับมานอนร้องไห้ ไม่กล้าบอกทางบ้าน เพราะว่ากลัวอาการป่วยของผู้ใหญ่ที่บ้านจะทรุดลง เขาเล่าให้ฟังด้วยว่า ถ้าได้รับเงินค่าชดเชย ก็จะแบ่งไปจ่ายผ่อนรถและบ้าน ส่วนที่เหลือจะนำไปเริ่มต้นทำงานใหม่อีกครั้ง</p><h2>กองทุนประกันความเสี่ยง มาตรการกันการลอยแพ (?)</h2><p>ปัญหาเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยดูไม่ได้เป็นปัญหาที่ใหม่ แต่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงที่ผ่านมา&nbsp;สมพาศ นิลพันธ์ (https://prachatai.com/journal/2025/03/112343) รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวระหว่างประชุมกับคนงานยานภัณฑ์ว่า เมื่อ 11 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า กระทรวงแรงงานได้ทำเรื่องขอเบิกงบกลางจำนวน 2 ก้อน แบ่งดังนี้</p><ul><li aria-level="1">จำนวน 466 ล้านบาท เพื่อนำมาสำรองจ่ายให้กับคนงานที่ถูกลอยแพ 4 บริษัท และ</li><li aria-level="1">จำนวน 2,888 ล้านบาท&nbsp;เพื่อเติมเงินในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (ปัจจุบันมีงบฯ เหลือเพียง 135 ล้านบาทเท่านั้น)&nbsp;ช่วยเหลือคนงานที่ถูกลอยแพ ตั้งแต่ปี 2562-2567 โดยมีผู้เสียหายจำนวน 43,690 คนทั่วประเทศ</li></ul><p>ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ฝั่งนักสิทธิแรงงานเสนอให้กระทรวงแรงงานตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงการเลิกจ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลอยแพคนงานอีกในอนาคต</p><p>เซีย จำปาทอง สส.พรรคประชาชน (https://prachatai.com/journal/2025/03/112384) และผู้ที่ติดตามประเด็นปัญหาคนงานถูกลอยแพมาอย่างต่อเนื่อง อธิบายว่า กองทุนประกันความเสี่ยงฯ คือกองทุนที่ในช่วงระหว่างที่นายจ้างยังดำเนินธุรกิจอยู่ ก็ให้นายจ้างแบ่งเงินมาจ่ายเข้าไปที่กองทุน หากธุรกิจไม่มีปัญหาก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเกิดมีปัญหาต้องเลิกจ้างพนักงาน ก็สามารถเอาเงินที่จ่ายเข้ากองทุนฯ มาให้ลูกจ้างเป็นค่าชดเชยได้</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54393594557_5c14332b79_b.jpg" width="1024" height="578" loading="lazy">เซีย จำปาทอง</p><p>ปีใหม่ มองว่าเป็นเรื่องดีถ้ามีการตั้งกองทุนฯ ได้จริง มันช่วยแรงงานรุ่นหลังได้ต่อไป แม้ว่ามันจะไม่ได้ย้อนมาให้ประโยชน์พวกเธอก็ตาม</p><p>ขณะที่ธนพร เผยว่า จากการฟังความเห็นคนส่วนใหญ่ก็ดูเห็นด้วยกับการตั้งกองทุนใหม่ แต่อาจจะเจอแรงต้านจากฝั่งนายจ้าง เนื่องจากพวกเขามองว่าทำไมต้องเอาเงินไปนอนในกองทุนเฉยๆ ประกอบกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเคยนำข้อมูลมาชี้แจงว่า นายจ้างที่ลอยแพคนงานมีจำนวนน้อยกว่านายจ้างที่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย พวกเขาจึงมองว่าภาครัฐควรบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดกับนายจ้างเหล่านี้แทนการตั้งกองทุน</p><p>นอกจากข้อเสนอข้างต้น สส.เซีย ได้เสนอแก้ไขกฎหมายอื่นๆ เพื่อรองรับปัญหา เช่น ระหว่างที่นายจ้างปิดกิจการไม่จ่ายค่าชดเชย ต้องมีเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เพราะมีบางรายออกนอกประเทศแล้วไม่กลับมาอีกเลยก็มี รวมถึงการดำเนินคดีและการยึดทรัพย์นายจ้างต้องเร็วขึ้น</p><p>มาลี ฝากทิ้งท้ายว่าเธออยากฝากไปยังทุกรัฐบาล ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาล ให้ช่วยแก้ไขปัญหาแรงงานให้ดีกว่านี้ และบังคับใช้กฎหมายกับนายจ้างอย่างเด็ดขาด เพื่อที่ว่าเมื่อเลิกจ้างเขาจะได้เงินค่าชดเชยทันที เพื่อที่คนงานคนอื่นๆ จะได้ไม่ต้องมานั่งประท้วงเหมือนพวกเธอ&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศษ[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">แรงงาน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิต[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C" hreflang="th">ยานภัณฑ์[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99" hreflang="th">บอดี้แฟชั่น[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2" hreflang="th">มาลี เตวิชา[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B8%B2" hreflang="th">ปีใหม่ รัฐวงษา[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">เซีย จำปาทอง[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาชน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C" hreflang="th">ธนพร วิจันทร์[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%8B%E0%B8%B5-%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87" hreflang="th">เอเอ็มซี สปินนิ่ง[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87" hreflang="th">แอลฟ่า สปินนิ่ง[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E" hreflang="th">เลิกจ้างลอยแพ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87" hreflang="th">กองทุนประกันความเสี่ยง[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิแรงงาน[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->

            <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/04/112707