หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ประวัติศาสตร์ 24 มิถุนา การต่อสู้ผ่านหลาย ‘เรื่องเล่า’ ตีความจุดกำเนิดประชาธิปไ เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 24 มิถุนายน 2568 19:57:09 ประวัติศาสตร์ 24 มิถุนา การต่อสู้ผ่านหลาย ‘เรื่องเล่า’ ตีความจุดกำเนิดประชาธิปไตย
<span>ประวัติศาสตร์ 24 มิถุนา การต่อสู้ผ่านหลาย ‘เรื่องเล่า’ ตีความจุดกำเนิดประชาธิปไตย</span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>เรื่อง: ภัททิยา โอถาวร</p><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p></div> <span><span>See Think</span></span> <span><time datetime="2025-06-24T18:20:57+07:00" title="Tuesday, June 24, 2025 - 18:20">Tue, 2025-06-24 - 18:20</time> </span> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>“ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475” ต้องเป็นสิ่งที่เด็กไทยทุกคนครั้งหนึ่งต้องท่องจำให้เเม่นเพื่อสอบในวิชาประวัติศาสตร์ การเปลี่นเเปลงการปกครองเกิดขึ้นโดยกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า ‘คณะราษฎร’ ตลอด 93 ปีที่ผ่านมาภาพจำคณะราษฎรในเเต่ละยุคสมัยล้วนมีความเตกต่างกันในยุคหนึ่งพวกเขาถูกกล่าวหาว่าคือทรราช เเต่ในอีกยุคชื่อของพวกเขาถูกหยิบมาใช้ในจุดตั้งต้นของอุดมการณ์ อุดมคติ ในการเรียกร้องประชาธิปไตย </p><h2>Introduction to ‘คณะราษฎร’</h2><p>คณะราษฏร (https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3_%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3#%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81_6_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3)เริ่มเเรกมีสมาชิกเพียง 7 คน ล้วนเป็นนักเรียนหรืออาศัยในประเทศยุโรปทั้งสิ้น สมาชิกผู้ก่อตั้งที่คนหมู่มากรู้จักได้เเก่ ปรีดี พนมยงค์ เเละ เเปลก ขีตตะสังขะ (พิบูลสงคราม) ภายในคณะราษฎรเเบ่งเป็นทั้งหมด 4 สายคือ สายนายทหารชั้นยศสูง สายนายทหารบกชั้นยศน้อย สายทหารเรือ สายพลเรือน หลังจากการอ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 บริเวณพระบรมทรงม้า ภายในประกาศระบุถึงหลัก 6 ประการ (https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81_6_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3) หลักเอกราช หลักความปลอดภัย หลักเศรษฐกิจ หลักเสมอภาค หลักเสรีภาพ หลักการศึกษา ภายหลังได้กลายเป็นหลักในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลคณะราษฎร</p><h2>มุมมองต่อ 2475 ในยุค 14 ตุลา</h2><p>การเรียกร้องทางการเมืองที่ผ่านมามักจะเห็นการหยิบยกเหตุการณ์ในปี 2475 มาเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเรียกร้อง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงการปกครองถูกช่วงชิงโดยหลายฝ่าย มีการนำมาอธิบายทั้งในเชิงบวกเเละเชิงลบอย่างน่าสนใจ</p><p>เมื่อพูดถึงการชุมนุมทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย หลายคนต้องนึกถึง ‘14 ตุลา’ (https://www.silpa-mag.com/history/article_40175)</p><p>14 ตุลา 2516 ซึ่งเริ่มจากการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ หลังจากอยู่ภายใต้เผด็จการตั้งเเต่รัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนถึงรัฐบาลถนอม กิตติขจร เเละการค่อยๆ ขึ้นมามีอำนาจของประภาส จารุเสถียร - ณรงค์ กิตติขจร หรือที่เรียกกันว่า ‘3 ทรราช’ (https://progressivemovement.in.th/article/common-school/5931/) จากการเรียกร้องรัฐธรรมนูญเริ่มยกระดับมากขึ้น เมื่อนิสิต นักศึกษา อาจารย์ นักการเมือง ถูกจับกุมฐานเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เเต่หลังจากนั้นรัฐบาลตั้งข้อหากบฏภายในราชอาณาจักร เเละมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์</p><p>13 ตุลา 2516 ประชาชนจำนวนมากจึงเดินขบวนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เเละในวันที่ 14 ตุลาก็เกิดการปราบปรามการชุมนุม ท้ายที่สุดถนอมลาออกจากตำเเหน่งนายกรัฐมนตรี </p><p>ประจักษ์ ก้องกีรติ (https://www.bbc.com/thai/thailand-54491617)อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงมุมมองที่ขบวนการนักศึกษายุค 14 ตุลามองคณะราษฎรว่า พวกเขาเห็นว่า 3 ทรราชคือมรดกจากพระยาพหลพลพยุหเสนา จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งคือกลุ่มทหารในคณะราษฎร ประจักษ์ยังกล่าวต่อว่า ขบวนการนักศึกษาอยู่ภายใต้กรอบเเนวคิดเเบบ ‘ราชาชาตินิยม’ เห็นได้จากการหยิบยกข้อความในพระราชหักถเลขาสละราชย์ของรัชกาลที่ 7 ใจความว่า ‘ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเปนของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยฉะเพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร…’ มาใช้ในหน้าปกจุลสารของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จัดทำโดย ธีรยุทธ บุญมี หนึ่งในเเกนนำขบวนการนักศึกษา</p><img src="http://farm8.staticflickr.com/7241/7335937956_f5f5d1ac79.jpg" width="353" height="499" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">จุลสารกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญซึ่งปรากฏข้อความบางส่วนของพระราชหัตถเลขา ร.7 (ที่มาภาพกดที่นี่ (https://prachatai.com/journal/2012/06/40839))</p><p>เช่นเดียวกับสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงจุลสารข้างต้นในหนังสือ ‘ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง’ ว่า สารที่เเอบเเฝงอยู่คือกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญจะขอทวงคืนสิ่งที่มีคนพรากไปจากพระมหากษัตริย์ รัฐบาลทหารในปี 2516 เป็นสิ่งตกทอดมากจากคณะราษฎร สมศักดิ์ยังกล่าวว่า ปัญญาชนสมัยนั้นมองว่า 2475 คือการชิงสุกก่อนห่าม ในอีกนัยหนึ่งเหตุการณ์ 14 ตุลา คือการที่ราษฎรชิงอำนาจจากรัฐบาลทหาร เเละถวายอำนาจคืนพระมหากษัตริย์ได้สำเร็จ</p><h2>2475 ในห้วงคำนึงของปัญญาชนในเเต่ละยุค </h2><p>งานเขียนเเต่ละยุคล้วนตีความ ‘2475’ ไม่เหมือนกัน เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ประจำ ภาควิชาสังคมวิทยาเเละมนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาในงาน ‘สถานะวิวาทะว่าด้วย การเปลี่ยนรูปของรัฐภายหลัง 2475’ (https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:174342) ระบุว่า</p><p>ภายหลัง 2516 ชัยอนันต์ สมุทวณิช นักรัฐศาสตร์สายพัฒนาทางการเมืองได้เขียนงานร่วมกับขัตติยา กรรณสูตร ชื่อ ‘เอกสารการเมืองการปกครองไทย พ.ศ. 2471-2477’ งานชิ้นนี้ได้เสนอข้อวิเคราะห์ว่า 2475 ไม่ใช่การปฏิวัติที่เเท้จริง เป็นเพียงการเปลี่ยนรูปเเละกลุ่มบุคคลผู้ถืออำนาจ เเละเป็นการ ‘ชิงสุกก่อนห่าม’ ของพวกข้าราชการ เพราะเเท้จริงเเล้วรัชกาลที่ 7 กำลังจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เเละ 2475 ก่อให้เกิด ‘อำมาตยาธิปไตย (https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2)’ ซึ่งคือการปกครองที่ถูกครอบงำโดยระบบราชการทหารเเละพลเรือนที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2501 - 2519 เช่นเดียวกับงานเขียนเฟรด ดับบลิว. ริกส์ ที่มีชื่อว่า ‘Thailand: The Modernization of a Bureaucratic Polity’ ที่มองว่า อำมาตยาธิปไตยคือมรดกของ 2475 </p><p>มากไปกว่านั้น ศราวุฒิ วิสาพรม (https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244353/165700) ได้กล่าวถึงงานของชัยอนันต์ที่เผยเเพร่ภายหลัง 2525 ว่า ทัศนะของชัยอนันต์ที่ประเมินการเปลี่ยนเเปลง 2475ในทางลบ เช่น คณะราษฎรชิงสุดก่อนห่าม รัชกาลที่ 7 กำลังจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ตัวงานมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงวิชาการเพราะเกิดการผลิตซ้ำชุดความรู้ดังกล่าว เห็นได้จากงานของสนธิ เตชานันท์ ที่รวบรวมเอกสารชั้นต้นไว้ใน ‘แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2469-2475)’ ศราวุฒิได้ยกตัวอย่างงานอีกชิ้นของชัยอนันต์ ซึ่งเขียนในปี 2530 เรื่อง ‘100 ปี แห่งการปฏิรูประบบราชการ: วิวัฒนาการของอำนาจรัฐและอำนาจการเมือง’ งานชิ้นนี้ให้ความสำคัญกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 (https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระบบข้าราชการพลเรือนสมัยใหม่ ชัยอนันต์ มองว่านี่คือความพยายามในการปฏิรูประบบราชการของชนชั้นนำ เเละประสบความสำเร็จก่อนที่คณะราษฎรจะทำการปฏิรูประบบราชการภายหลัง 2475 </p><p>เก่งกิจยังกล่าวถึงนักคิดคนสำคัญของพรรคคอมมิวนิสตร์เเห่งประเทศไทย (พคท.) อาทิ อรัญญ์ พรหมชมภู เจ้าของงาน ‘เส้นทางสังคมไทย’ เเละจิตร ภูมิศักดิ์ เจ้าของผลงาน ‘โฉมหน้าศักดินาไทย’</p><p>ทั้งสองงานมองว่าการเปลี่ยนเเปลงการปกครอง 2475 ไม่ได้ทำให้เกิดการเเปลงจากรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นรัฐชาติได้อย่างสมบูรณ์ และคณะราษฎรล้มเหลวในการทำลายระบอบดังกล่าว</p><p>สำหรับทศวรรษ 2520 เก่งกิจพูดถึงงานของ สมเกียรติ วันทะนะ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เเละประทีป นครชัย คนรุ่นใหม่ในยุคนั้นมองว่า 2475 เป็นจุดสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญษสิทธิราชย์ และเป็นจุดเริ่มต้นของ‘รัฐชาติ’ (https://mgronline.com/daily/detail/9520000048092) คือการผสมผสานระหว่างการสร้าง ‘รัฐ’ เเละ ‘ชาติ’ การสร้างรัฐต้องสร้างการรวมศูนย์กลางผ่านการตั้งรัฐบาลกลางรวมศูนย์ ขณะที่ ‘ชาติ’ คือการทำให้กลุ่มคนที่อยู่ภายในรัฐมีเเนวคิดร่วมกันในการเป็นสมาชิกของหน่วยการเมือง นครินทร์เรียก 2475 ว่า ‘การปฏิวัติ’ เพราะคนส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ได้รัฐประหารโดยคนส่วนน้อยที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนเเปลงที่สำคัญ ถึงเเม้ว่าทั้งสามคนใช้กรอบการวิเคราะห์เเละหลักฐานที่เเตกต่างกันเเต่มีข้อเสนอเดียวกัน เเละเป็นการโต้เเย้งงานของชัยอนันต์เเละข้อเสนอของอรัญญ์กับจิตร</p><p>ในปี 2525 ซึ่งเป็นวาระครบ 50 ปีการเปลี่ยนเเปลงการปกครอง 2475 ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (https://www.the101.world/2475-past-present-future/)เขียนเล่าว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดงานเพื่อเฉลิมฉลอง มีระยะเวลายาวนานถึง 4 วัน มีวัตถุประสงค์เพื่อระลึกคุณงามความดีของคณะราษฎร ขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ตีพิมพ์บทความขนาดยาวของนครินทร์ลงวารสารธรรมศาสตร์ ซึ่งชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นบรรณาธิการอยู่ เก่งกิจระบุว่าในปีดังกล่าวชาญวิทย์ได้นำการถกเถียงเรื่อง 2475 กลับมาอีกครั้ง งานที่นครินทร์ได้เผยเเพร่ลงวารสารธรรมศาสตร์มีชื่อว่า ‘การเปลี่ยนเเปลงการปกครอง 2475 ของสยาม: พรมเเดนความรู้’ เก่งกิจกล่าวว่า นครินทร์พยายามก้าวข้ามการอธิบาย 2475 ว่าเป็นการชิงสุกก่อนห่ามและเป็นการเปลี่ยนเเปลงที่ไม่สมบูรณ์ ถัดมา 2 ปี นครินทร์ได้ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ต่อมาได้พัฒนาเป็นหนังสือ ‘การปฏิวัติสยาม 2475’ ในงาน “พลังของแนวคิดชาติ-ชาตินิยมกับการเมืองไทยในสมัยแรกเริ่มของรัฐประชาชาติ” นครินทร์ ชี้ให้เห็นว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีความขัดเเย้งสูงมาก โดยเฉพาะช่องว่างทางสังคม กล่าวคือรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต้องการสามัญชนจำนวนมากเพื่อเข้ามาทำงานในระบบข้าราชการสมัยใหม่ เเต่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ได้อนุญาตให้สามัญชนเหล่านั้นขึ้นมามีอำนาจ อำนาจนั้นถูกสงวนให้ชนชั้นนำเจ้านายจำนวนน้อย</p><p>เก่งกิจระบุว่าทศวรรษ 2520 จบลงด้วยข้อสรุปของทั้งสามคนนี้ โดยเฉพาะงานของนครินทร์ซึ่งเสนอว่า 2475 คือการปฏิวัติที่คนส่วนมากมีส่วนร่วม </p><h2>ฟื้น 2475 หลังรัฐประหาร 19 กันยา</h2><p>การถกเถียงเรื่องการเปลี่ยนรูปของรัฐไทยกลับมาอีกครั้งภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 พร้อมกับการตั้งคำถามถึงบทบาทของสถาบันพระมหากษัติรย์ เก่งกิจได้เเบ่งข้อเสนอเกี่ยวกับ 2475 ในช่วงนี้เป็น 2 กลุ่มได้เเก่ กลุ่มที่เสนอว่ารัฐไทยเป็นมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น ธงชัย วินิจจะกูล เบเนดิก เเอนเดอร์สัน กับกลุ่มที่มองว่า 2475 เป็นการเข้าสู่ภาวะการเป็นรัฐชาติ เเต่สถานะของสถาบันเป็นสิ่งที่เพิ่งสร้างช่วงสงครามเย็น อาทิ กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด ณัฐพล ใจจริง </p><p>เก่งกิจหยิบยกงาน ‘ศึกษารัฐไทย: วิพากษ์ไทยศึกษา’ ของเบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน ถึงเเม้งานของเบเนดิกต์ชิ้นนี้จะตีพิมพ์ก่อนปี 2549 เเต่เเนวคิดของเบเนดิกต์ถูกนำกลับมาภายหลังรัฐประหาร 2549 ผ่านปัญญาชนฝั่งก้าวหน้าโดยเฉพาะธงชัย เก่งกิจอธิบายว่างานชิ้นนี้โต้เเย้งเเนววิเคราะห์ของสังคมไทยซึ่งบอกว่าสังคมไทยมีลักษณะพิเศษ เบเนดิกต์เสนอว่าสยามไม่ได้เป็นรัฐอาณานิคมโดยตรงเเต่ปรับตัวให้ตัวเองเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ส่งผลให้อายุของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยามมีอายุสั้นมาก ทำให้ไม่ได้สร้างความเปลี่ยนเเปลงมากพอเเละเกิดกลุ่มกบฏขึ้น อาทิ การเปลี่ยนเเปลง 2475 ปัญหาทางการเมืองของสยามคือการไม่มีการเเตกหักอย่างเด็ดขาดกับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เก่งกิจมองว่าข้อเสนอของธงชัยคล้ายกับของเบเนดิก โดยธงชัยระบุว่า คณะราษฎรไม่ได้เเตะต้องมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่าที่ควร</p><p>ขณะที่งานของของกุลลดาที่มีชื่อว่า ‘The Rise and Decline of Thai Absolutism’ มองว่ารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สร้างระบบข้าราชการสมัยใหม่ที่ดึงเอาสามัญชนเข้ามาในระบบ เเต่รัฐกลับใช้อำนาจบุญบารมีเเละชาติกำเนิดเป็นเครื่องตัดสิน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงการปกครองโดยคณะราษฎรซึ่งเป็นสามัญชน เเละนั่นคือการสิ้นสุดของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แล้วสถาปนารัฐชาติขึ้นมาเเทน ส่วนบทบาทของสถาบันกลับมาในช่วงสงครามเย็นที่อเมริกาเข้ามามีบทบาทในไทย เช่นเดียวกับณัฐพลที่มองว่าบทบาทของพระมหากษัตริย์กลับเข้ามามีบทบาทช่วงสงครามเย็น </p><p>อย่างไรก็ดี เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาคณะราษฎรถูกดึงเข้ามาสู่ความสนใจทางสังคมอีกครั้ง และไม่ได้จำกัดอยู่ในข้อถกเถียงเชิงวิชาการ แต่อยู่ในกลุ่มเรียกร้องทางการเมือง</p><h2>คณะราษฎรเเละการเกิดใหม่ (เกิดใหม่จริงหรือ) </h2><p>ปี 2563 ได้เกิดการเเพร่ระบาดของโควิด-19 การยุบพรรคอนาคตใหม่ เเละกรณีการหายตัวไปของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยการเมืองชาวไทยที่ไปอยู่ในประเทศกัมพูชา ภายใต้บรรยากาศเช่นนี้นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยนำโดยเยาวชนคนรุ่นใหม่ การชุมนุมครั้งเเรกๆ เกิดขึ้นภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคอนาคตใหม่ กลุ่มนิสิต นักศึกษา ในสถาบันการศึกษาต่างๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมกันจัด ‘เเฟลชม็อบ (https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9A)’ ซึ่งคือการรวมตัวกันอย่างฉับพลันไม่ยืดเยื้อ การชุมนุมดำเนินเรื่อยมา จนในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 มีการชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อกำเนิด ‘คณะราษฎร 2563’ (https://www.bbc.com/thai/thailand-54741254) ที่เป็นการรวมตัวของกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ อาทิ เเนวร่วมธรรมศาสตร์เเละการชุมนุม เยาวชนปลดเเอก กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย เป็นต้น การใช้ชื่อคณะราษฎร (https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3_2563)นั้นเพื่อบอกว่าคณะราษฎร 2563 มีเป้าหมายเดียวกับคณะราษฎร คือการสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย อำนาจการปกครองเป็นเรื่องของประชาชน โดยมีข้อเรียกร้องหลัก 3 ข้อคือ นายกฯ ลาออก (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา), ร่างรัฐธรรมนูญใหม่, ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/50483151072_60819d9e3f_b.jpg" width="1023" height="682" loading="lazy">ภาพการชุมนุมในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 (จากแฟ้มภาพประชาไท (https://prachatai.com/journal/2020/10/89949))</p><p>ประจักษ์ อธิบายปรากฏการณ์นี้ว่า นักศึกษาในปัจจุบันได้เชื่อมโยงตัวเองกับคณะราษฎรอย่างใกล้ชิด มองว่าตัวเองเป็นลูกหลานของคณะราษฎร ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่คณะราษฎรมีภาพจำในเชิงบวกมากที่สุดเเล้วในหน้าประวัติศาสตร์ไทย เเละยังทำให้คณะราษฎรกลับมามีที่ยืนในสังคมไทยอีกครั้ง</p><h2>2475 ยังคงอยู่ เเต่จะอยู่อย่างไรในยุคดิจิทัล </h2><p>เเน่นอนว่าการพูดถึงหรือตีความ 2475 ไม่ได้จบลงเพียงเเค่ ‘คณะราษฎร 2563’ ในปัจุบันเรื่องราวเหตุการณ์ 2475 ถูกนำมาตีความเเละผลิตเป็นสื่อในรูปเเบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เเอนิเมชัน ‘๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ (https://youtu.be/rmNvPB6Jxzo?si=qPv6lwVYwu72xcHD) หนังสือการ์ตูน ‘2475 นักเขียนผีเเห่งสยาม’ ของ ‘สะอาด’ ซึ่งทั้งสองส่วนให้ภาพคณะราษฎรที่เเตกต่างกันอย่างยิ่ง</p><p>พนารัตน์ อานามวัฒน์ (https://www.the101.world/panarat-anamwathana-interview/) อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่าการใช้ชื่อคณะราษฎร 2563 คือการดึงประวัติศาสตร์ของคณะราษฎรมาใช้ในการเรียกร้องทางการเมือง ทำให้ทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยม เเละฝ่ายประชาธิปไตยต่อสู้ในสนามเดียวกัน เพราะหากโน้มน้าวคนไทยได้ว่า 2475 เป็นเรื่องผิด การเรียกร้องในปัจจุบันที่รับเอาอุดมการณ์เดิมก็ไม่มีความชอบธรรมไปด้วยเพราะมันผิดมาตั้งเเต่ 2475</p><p>อย่างไรก็ดี พนารัตน์ยังกล่าวว่าในยุคปัจจุบันการตีความประวัติศาสตร์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเเวดวงวิชาการ ประวัติศาสตร์ถูกนำไปทำเป็นการ์ตูนหรือมังงะ ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ไม่ได้อ่านประวัติศาสตร์เพียงเเค่ในบทเรียน คนรุ่นใหม่ยังนำข้อมูลเหล่านั้นมาตีความหรือเขียนทำให้เกิดประวัติศาสตร์เเบบใหม่ พนารัตน์มองว่าที่ผ่านมาสังคมไทยมองประวัติศาตร์เเบบนิทานอีสป คือเเบ่งข้างคนดีกับคนเลวชัดเจน ซึ่งสิ่งนี้ยังคงตกทอดมาถึงการตีความประวัติศาสตร์ของคนรุ่นใหม่ด้วยเช่นกัน เช่นการยกย่องคณะราษฎรหรือปรีดี พนมยงค์ มากจนเกินไป มุมมองเช่นนี้ก็อาจทำให้ละเลยบางสิ่งหรือหลายสิ่งไป </p><p><strong>บรรณานุกรม</strong></p><p>หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2556). จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 16</p><p>มิถุนายน 2555-พฤษภาคม 2556. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.</p><p>wisaprom, sarawudhi . (2020). 80 ปี การปฏิวัติสยาม 2475:</p><p>ย้อนพินิจพรมแดนความรู้การปฏิวัติสยาม 2475 (อีกครั้ง). King Prajadhipok’s Institute</p><p>Journal, 11(1), 5–37. retrieved from</p><p>https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244353</p><p>ปิยะวรรณ ปานโต. คณะราษฎร คือใคร. สถาบันพระปกเกล้า.</p><p>https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=คณะราษฎร_คือใคร#เป้าหมายหลัก_6_ประการ (https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3_%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3#%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81_6_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3)</p><p>อรรถสิทธิ์ พานแก้ว. หลัก 6 ประการ. สถาบันพระปกเกล้า</p><p>https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=หลัก_6_ประการ (https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81_6_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3)</p><p>ชาญวิทย์ เกษตรสิริ. เกิดอะไรใน “14 ตุลา” ก่อนมาสู่ชัยชนะสำคัญของประชาชนลุกฮือต้าน</p><p>“คณาธิปไตย”. ศิลปวัฒนธรรม https://www.silpa-mag.com/history/article_40175 (https://www.silpa-mag.com/history/article_40175)</p><p>Commom School. ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนผ่านหลัง 14 ตุลา. คณะก้าวหน้า</p><p>ประจักษ์ ก้องกีรติ. 14 ตุลา : ประจักษ์ ก้องกีรติ มองการเกิดใหม่ของ “คณะราษฎร”</p><p>กับภารกิจคืนศักดิ์ศรีให้เสื้อแดง คืนความจริงให้ 6 ตุลา. บีบีซี. </p><p>https://www.bbc.com/thai/thailand-54491617 (https://www.bbc.com/thai/thailand-54491617)</p><p>สุมาลี พันธุ์ยุรา. ระบอบอำมาตยาธิปไตย. สถาบันพระปกเกล้า.</p><p>https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ระบอบอำมาตยาธิปไตย (https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2)</p><p>บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. ระบบข้าราชการพลเรือน. สถาบันพระปกเกล้า.</p><p>https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ระบบข้าราชการพลเรือน (https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99)</p><p>ลิขิต ธีรเวคิน. การสร้างรัฐ (State Building) และการสร้างชาติ (Nation Building). MGRONLINE.</p><p>https://mgronline.com/daily/detail/9520000048092 (https://mgronline.com/daily/detail/9520000048092)</p><p>ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. 2475 : อดีต ปัจจุบัน อนาคต. 1O1.world.</p><p>https://www.the101.world/2475-past-present-future/ (https://www.the101.world/2475-past-present-future/)</p><p>ศุทธิกานต์ มีจั่น. เเฟลชม็อบ. สถาบันพระปกเกล้า.https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=เเฟลชม็อบ (https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9A)</p><p>บีบีซีไทย. แฟลชม็อบนักศึกษา ถึง ชุมนุมใหญ่ของ "คณะราษฎร 2563" ลำดับเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองปี 2563. บีบีซี. https://www.bbc.com/thai/thailand-54741254 (https://www.bbc.com/thai/thailand-54741254)</p><p>นิยม รัฐอมฤต. คณะราษฎร 2563. สถาบันพระปกเกล้า.</p><p>https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=คณะราษฎร_2563 (https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3_2563)</p><p>พิมพ์ชนก พุกสุข. “ประวัติศาสตร์ไม่ใช่นิทานอีสป”</p><p>เมื่อการอ่านและตีความประวัติศาสตร์ใหม่ยังแบ่งขาว-ดำ : พนารัตน์ อานามวัฒน์. 1O1.world.</p><p>https://www.the101.world/panarat-anamwathana-interview/ (https://www.the101.world/panarat-anamwathana-interview/)</p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าว[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2" hreflang="th">การศึกษา[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-2475" hreflang="th">การปฏิวัติ 2475[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3" hreflang="th">คณะราษฎร[/url]</li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87-24-%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99-2475" hreflang="th">การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475[/url]</li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> http://prachatai.com/journal/2025/06/113444 |