[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 01 กรกฎาคม 2568 21:16:41



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - กัมพูชางดนำเข้าน้ำมันไทย กระทบยุทธศาสตร์ ‘บ้านหลังที่ 2’ ปตท. OR
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 01 กรกฎาคม 2568 21:16:41
กัมพูชางดนำเข้าน้ำมันไทย กระทบยุทธศาสตร์ ‘บ้านหลังที่ 2’ ปตท. OR
 


<span>กัมพูชางดนำเข้าน้ำมันไทย กระทบยุทธศาสตร์ ‘บ้านหลังที่ 2’ ปตท. OR</span>
<span><span>auser15</span></span>
<span><time datetime="2025-06-29T19:10:01+07:00" title="Sunday, June 29, 2025 - 19:10">Sun, 2025-06-29 - 19:10</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>คำสั่งรัฐบาลกัมพูชาระงับการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซทุกประเภทจากประเทศไทยเริ่มตั้งแต่เที่ยงคืนของวันที่ 23&nbsp;มิ.ย. อาจไม่ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้พลังงานเชื้อเพลิงของกัมพูชา แม้ผู้เล่นที่มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ&nbsp;2&nbsp;อย่าง ปตท. OR&nbsp;หายไป แต่การนำเข้าน้ำมันจากไทยอยู่ที่ประมาณ&nbsp;29%&nbsp;เท่านั้น&nbsp;สามารถหาแหล่งนำเข้าชดเชยได้จากเวียดนาม อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ทั้งยังมีแบรนด์น้ำมันอีกหลายเจ้า โดยเฉพาะเจ้าใหญ่&nbsp;Kampuchea Tela ที่ใกล้ชิดรัฐบาล และมีโอกาสครองตลาดเพิ่ม</p><p>ในขณะที่ยุทธศาสตร์ “บ้านหลังที่ 2” หรือแผนขยายการลงทุนในกัมพูชาของ ปตท.&nbsp;OR&nbsp;ต้องสะดุด หากไม่มีการนำเข้าน้ำมันจากฝั่งไทยเพิ่มเติม ปั๊มน้ำมัน&nbsp;PTT&nbsp;ในกัมพูชาที่มีมากกว่า 186 สาขาจะทำได้เพียงระบายน้ำมันในสต็อกที่เหลือจนหมด เหลือแต่การดำเนินธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับน้ำมันอย่าง&nbsp;Café Amazon&nbsp;ร้านสะดวกซื้อ ร้านสะดวกซัก ฯลฯ ขณะที่สื่อกัมพูชาระบุมีปั๊มพาร์ทเนอร์&nbsp;PTT&nbsp;บางสาขาระบุว่าจะหันมานำเข้าน้ำมันจากแหล่งอื่น</p><p class="picture-with-caption">&nbsp;<img src="https://live.staticflickr.com/65535/54615078983_d096c1931e_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy"></p><p class="picture-with-caption">ณัฐพงศ์ แก้วตระกูลพงษ์&nbsp;Managing Director&nbsp;บริษัท ปตท. (กัมพูชา) จำกัด (PTTCL),&nbsp;Cheap Sour&nbsp; (คนที่&nbsp;2&nbsp;จากซ้าย) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน รัฐบาลกัมพูชา, ตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูต&nbsp;สถานเอกอัครรราชทูต ณ กรุงพนมเปญ, หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)&nbsp;และคณะผู้บริหารจาก&nbsp;OR และบริษัท ปตท. (กัมพูชา) จำกัด ร่วมพิธีเปิดสถานีบริการน้ำมัน&nbsp;PTT&nbsp;สาขา&nbsp;Neak Vorn&nbsp;กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 | ที่มาภาพ: Facebook/ต้น ปีกทอง -&nbsp;Tone Peekthong (https://www.facebook.com/share/p/1AK7zZVS7J)&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54615079348_db5a03acb0_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ พร้อมด้วย&nbsp;Cheap Sour&nbsp;รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเหมืองแร่และ และ ม.ล. ปีกทอง ทองใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด ได้ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสถานีบริการน้ำมัน&nbsp;PTT&nbsp;สาขา&nbsp;Neak Vorn&nbsp;เมื่อ 21 มีนาคม 2568 | ที่มาภาพ:&nbsp;Facebook/Royal Thai Embassy, Phnom Penh (https://www.facebook.com/share/p/1F6eW7QWip/)&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54614860611_c1d3f74fe4_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">เอกอัครราชทูตฯ พร้อมด้วย ม.ล. ปีกทอง ทองใหญ่ และทีมผู้บริหารของบริษัท ปตท. (กัมพูชา) จำกัด ได้ร่วมพิธีเปิดร้าน&nbsp;Café Amazon Concept Store Store&nbsp;สาขาตวลโก๊ก บนถนนหมายเลข&nbsp;528&nbsp;เป็นร้านคอนเซ็ปต์สโตร์ร้านแรกในกัมพูชา เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 | ที่มาภาพ:&nbsp;Facebook/Royal Thai Embassy, Phnom Penh (https://www.facebook.com/share/p/1F6eW7QWip/)&nbsp;</p><h2><strong>ปักหมุดกัมพูชา “บ้านหลังที่&nbsp;2” ของ&nbsp;OR</strong></h2><p>ย้อนกลับไปเมื่อ&nbsp;3 เดือนที่แล้ว&nbsp;21 มีนาคม&nbsp;2568 ที่ย่านธุรกิจ ใจกลางกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ พร้อมด้วยชีพ ซัว (Cheap Sour)&nbsp;รมช.กระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน รัฐบาลกัมพูชา หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด หรือ&nbsp;OR&nbsp; ร่วมกับคณะผู้บริหารจาก&nbsp;OR&nbsp;และบริษัท ปตท. (กัมพูชา) จำกัด ร่วมพิธีเปิดสถานีบริการน้ำมัน&nbsp;PTT&nbsp;สาขา&nbsp;Neak Vorn&nbsp;ในกรุงพนมเปญ</p><p>ทั้งนี้PTT&nbsp;สาขา&nbsp;Neak Vorn&nbsp;บนถนน&nbsp;Russian Blvd.&nbsp;เป็นสาขาที่เพิ่งปรับปรุงใหม่ เพิ่มพื้นที่จอดรถ เพิ่มสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV Station)&nbsp;ขยายพื้นที่&nbsp;Café Amazon&nbsp;และเพิ่มบริการใหม่ๆ ในเครือของปตท. อาทิ ร้านสะดวกซัก&nbsp;Otteri Wash &amp; Dry&nbsp;ร้านสะดวกซื้อ&nbsp;7-Eleven และร้านอาหาร&nbsp;Mike’s Burger โดยทั่วประเทศกัมพูชามีสถานีบริการน้ำมัน&nbsp;PTT&nbsp;ทั้งสิ้น&nbsp;186&nbsp;สาขา</p><p>ในช่วงบ่าย เอกอัครราชทูตฯ พร้อมด้วย ม.ล. ปีกทอง ทองใหญ่ และทีมผู้บริหารของบริษัท ปตท. (กัมพูชา) จำกัด ได้เข้าร่วมพิธีเปิดร้าน&nbsp;Café Amazon Concept Store&nbsp;สาขาตวลโก๊ก (Toul Kork)&nbsp;บนถนนหมายเลข 528&nbsp;ซึ่งเป็นร้านกาแฟแบบคอนเซ็ปต์สโตร์แห่งแรกของ ปตท. ในกัมพูชา และเป็น&nbsp;Café Amazon&nbsp;สาขาที่&nbsp;254 ที่เปิดในกัมพูชา</p><p>ในจดหมายข่าวของ OR (https://www.pttor.com/or_news/or-%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94-cafe-amazon-concept-store-%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b9)&nbsp;หม่อมหลวงปีกทอง เปิดเผยว่า&nbsp;OR&nbsp;เล็งเห็นถึงศักยภาพของประเทศกัมพูชา ทั้งด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและโอกาสทางธุรกิจ&nbsp;OR&nbsp;จึงวางกลยุทธ์ให้ประเทศกัมพูชาเป็น “บ้านหลังที่สอง” (Second Homebase)&nbsp;ด้วยการนำธุรกิจของ OR&nbsp;จากประเทศไทยสู่ตลาดกัมพูชา โดยดำเนินธุรกิจที่ประเทศกัมพูชาภายใต้บริษัท&nbsp;PTT Cambodia Limited (PTTCL)&nbsp;พร้อมเสริมสร้างความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนร่วมกับประเทศกัมพูชาตามแนวคิด “They Grow – We Grow”&nbsp;ซึ่งเป็นแนวทางที่ OR&nbsp;ยึดถือในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ</p><p>โดย&nbsp;Café Amazon Concept Store&nbsp;สาขาตวลโก๊ก เป็นร้านรูปแบบคอนเซ็ปต์สโตร์ร้านแรกในกัมพูชา ใช้แนวคิด People Concept&nbsp;ที่ต้องการให้ Café Amazon&nbsp;ที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นตามพื้นที่ต่างๆ สามารถเป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราว โดยได้นำไอเดียและความหลากหลายทาง&nbsp;Lifestyle&nbsp;ของคนแต่ละวัย รวมถึงที่ตั้งของร้านมาผสานกับการดำเนินธุรกิจ และออกแบบพื้นที่นั่งหลากหลายรูปแบบเพื่อรองรับทุกกลุ่มลูกค้า ตั้งแต่คนทำงาน นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงครอบครัว มีเครื่องดื่มฟิวชันที่หยิบยกวัฒนธรรมท้องถิ่นขึ้นมาเป็นจุดเด่น มีเครื่องดื่มสูตรพิเศษ (Signature Menu)&nbsp;ที่นำเอาวัตถุดิบจากชุมชนที่ตั้งของร้านมารังสรรค์เป็นเมนูพิเศษที่มีจำหน่ายเฉพาะสาขานั้นๆ&nbsp; เช่น “Komlos Srok Yerng” (กัมเลาะ สรก เยิง) เมนูที่ได้แรงบันดาลใจจากข้าวต้มมัดกล้วยซึ่งเป็นขนมประจำงานมงคลของกัมพูชา โดยใช้กาแฟ&nbsp;Amazon House Blend&nbsp;ผสมผสานกับไซรัปกล้วยและท็อปปิ้งด้วยข้าวต้มมัดกล้วย และ “Nary Smai Thmey” (นารี สมัย ทไม) เมนูปั่นที่ใช้ฝรั่งชมพูซึ่งเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของกัมพูชาเป็นส่วนประกอบ โรยด้วยผงบ๊วย ทานแล้วได้ความเปรี้ยวหวานและสดชื่น นอกจากนี้ยังมี&nbsp;Concept Bar&nbsp;ให้บริการกาแฟจากเมล็ดคัดพิเศษและเมล็ดกาแฟเฉพาะฤดูกาล และบริการอาหารหลากหลายตอบโจทย์คนทำงานในย่านตวลโก๊ก ฯลฯ</p><p>ในโพสต์เฟซบุ๊คของสถานทูตไทย กรุงพนมเปญ (https://www.facebook.com/share/p/1BpbCeV2AE/) ระบุด้วยว่า การเปิดสถานีบริการน้ำมัน&nbsp;PTT Flagship Station&nbsp;แห่งแรกและร้าน Café Amazon Concept Store&nbsp;แห่งแรกในกัมพูชา มีขึ้นในปีอันสำคัญฉลองครบรอบ&nbsp;75&nbsp;ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและกัมพูชา และครบรอบ&nbsp;30&nbsp;ปี ของความสำเร็จของบริษัท ปตท. (กัมพูชา) จำกัด ในการดำเนินธุรกิจในกัมพูชา</p><p>ในรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (https://investor.pttor.com/storage/document/shareholder-meetings/agm2025/or-agm2025-minutes-th.pdf)บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR)&nbsp;เมื่อวันที่&nbsp;4 เม.ย.&nbsp;2568 ตอนหนึ่งเปิดเผยผลการดำเนินงานในรอบปี&nbsp;2567 ซึ่งมียุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มธุรกิจหลักทั้ง&nbsp;4 ด้าน ได้แก่&nbsp;1. Seamless Mobility, 2. All Lifestyles, 3. Global Market&nbsp;และ&nbsp;4. OR Innovatio</p><p>โดยในส่วนของ&nbsp;Global Market&nbsp;มุ่งขยายฐานธุรกิจเพื่อสร้างความสำเร็จและการยอมรับในตลาดโลก โดย&nbsp;OR&nbsp;ดำเนินธุรกิจใน&nbsp;11 ประเทศทั่วโลก และปักหมุด "กัมพูชา" เป็นบ้านหลังที่&nbsp;2 พร้อมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและขยายตลาดผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ</p><p>ทั้งนี้&nbsp;Café Amazon&nbsp;เริ่มเปิดตัวในกัมพูชามาตั้งแต่ปี&nbsp;2556&nbsp;โดยอยู่ภายในสถานีบริการน้ำมัน ก่อนที่จะเริ่มเปิดเฉพาะร้านกาแฟแบบสแตนด์อโลนในปี&nbsp;2558</p><p>อย่างไรก็ตามความชื่นมื่น ภายใต้ยุทธศาสตร์บ้านหลังที่&nbsp;2&nbsp;ของ ปตท. และความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-กัมพูชาครบรอบ&nbsp;75&nbsp;ปี กลับชะงักงันลงเมื่อเกิดข้อพิพาทชายแดนล่าสุดระหว่างไทยและกัมพูชา และหลังจากที่ ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา&nbsp;โพสต์เฟซบุ๊ก (https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0HS7gUfSnTvcdmmZFaDMMom1ngT7we3DrURRBnuHr5nDzLdHmDUrKjQcJsTmkHLoml&amp;id=100069511484329)แจ้งว่าตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนเข้าสู่วันที่ 23&nbsp;มิ.ย.&nbsp;“การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซทุกประเภทจากประเทศไทยจะถูกระงับทั้งหมด”&nbsp;โดยระบุว่า&nbsp;“บรรดาบริษัทจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในกัมพูชา มีความสามารถในการนำเข้าน้ำมันและก๊าซจากแหล่งอื่นได้อย่างเพียงพอ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ภายในประเทศของประชาชน ไม่เพียงแค่เดือนเดียว แม้จะเป็นระยะยาวก็ไม่เป็นปัญหา”</p><h2><strong>กัมพูชาไม่มีโรงกลั่น นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากไทย เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย</strong></h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54615175995_e2b1fd2491_c.jpg" width="533" height="800" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">“ฮุนมาเนต” นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สั่งระงับนำเข้าน้ำมันไทยหลังเที่ยงคืนเข้าสู่วันที่&nbsp;23&nbsp;มิ.ย.&nbsp;2568&nbsp;| ที่มาภาพ:&nbsp;Facebook/Hun Manet (https://www.facebook.com/share/p/16zhZzbVPL/)</p><p>มาตรการระงับนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภทจากไทยอาจไม่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความต้องการใช้เชื้อเพลิงในกัมพูชา เนื่องจากกัมพูชายังมีแหล่งนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปหลายแหล่ง โดยรายงานในพนมเปญโพสต์ (https://phnompenhpost.com/business/cambodia-confident-no-supply-disruptions-after-thai-fuel-gas-imports-halted)&nbsp;เมื่อ&nbsp;23&nbsp;มิ.ย. อ้างถึง เคซีย์ บาร์เนตต์ ประธานหอการค้าอเมริกันในกัมพูชา&nbsp;(AmCham) เปิดเผยผ่านโซเชียลมีเดียเมื่อไม่นานมานี้ว่า ประเทศไทยและเวียดนามเป็นแหล่งจัดหาน้ำมันให้กับกัมพูชาราวร้อยละ 29 เท่ากัน ขณะที่สิงคโปร์มีสัดส่วนร้อยละ 13 และอินโดนีเซียร้อยละ 11&nbsp;แม้น้ำมันดิบส่วนใหญ่จะมาจากซาอุดีอาระเบียและประเทศในตะวันออกกลาง แต่กระบวนการกลั่นน้ำมันนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยและเวียดนาม เนื่องจากในปัจจุบัน กัมพูชายังไม่มีโรงกลั่นน้ำมันเป็นของตนเอง</p><p>จากข้อมูลของหอการค้าอเมริกันในกัมพูชา สัดส่วนนำเข้าน้ำมันและก๊าซจากไทยถือว่าต่ำกว่าข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ซึ่งอ้างอยู่ในเว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ (https://www.thansettakij.com/economy/631005)ระบุว่า กัมพูชานำเข้าน้ำมันจากไทยถึงร้อยละ 67.4</p><p>บาร์เนตต์เสนอว่า กัมพูชาสามารถกระจายแหล่งนำเข้าน้ำมันที่ผ่านการกลั่นแล้วได้ โดยอาจหันไปซื้อน้ำมันจากสิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญของน้ำมันกลั่นจากประเทศอย่างซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอเมริกา</p><p>และในขณะที่มาตรการระงับนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภทจากไทยมีผลมาตั้งแต่เที่ยงคืนเข้าสู่วันที่ 23&nbsp;มิ.ย. แต่ในเพจ&nbsp;CFILA (https://www.facebook.com/photo/?fbid=1241187214057223&amp;set=a.571757874333497) โพสต์ว่ามีเรือบรรทุกน้ำมันชื่อเชษฐ์ธนบดี&nbsp;6 (CHETTHANABODI&nbsp;6) เดินทางออกจากท่าเรือศรีราชาถึง “ท่าสีหนุวิลล์” จังหวัดพระสีหนุ ตั้งแต่ 24 มิ.ย. และมีสถานะเทียบท่า ก่อนเดินเรือเข้าสู่น่านน้ำไทย ทั้งนี้ Khmer Times (https://www.khmertimeskh.com/501708507/cambodian-navy-expels-thai-oil-tanker-for-illegally-entering-cambodian-national-waters/) รายงานด้วยว่ากองทัพเรือกัมพูชาได้ขับไล่เรือเชษฐ์ธนบดี 6 ออกจากน่านน้ำของกัมพูชาเมื่อวันศุกร์ที่ 27 มิ.ย. หลังตรวจพบว่าเรือลำดังกล่าวได้เข้ามาในเขตน่านน้ำจังหวัดพระสีหนุโดยผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามการขับไล่เกิดขึ้นหลังจากเรือจอดเทียบท่า และออกจากท่าสีหนุวิลล์มาแล้วหลายวัน ส่วน เขียว รัตนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า นับตั้งแต่มาตรการของรัฐบาลมีผลบังคับใช้ จะไม่มีการอนุญาตให้นำเข้าน้ำมันหรือก๊าซจากไทยไม่ว่ากรณีใดๆ</p><p>ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวประชาไทไม่สามารถตรวจสอบจากแหล่งข้อมูลอิสระได้ว่าเรือบรรทุกน้ำมันดังกล่าวได้ขนถ่ายสินค้าระหว่างเทียบท่าสีหนุวิลล์หรือไม่ ส่วนสถานะของเรือเชษฐ์ธนบดี&nbsp;6 (CHETTHANABODI&nbsp;6) สามารถเข้าถึงได้จากเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบสถานะเดินเรือ เช่น&nbsp;vesselfinder (https://www.vesselfinder.com/vessels/details/9112844) หรือ&nbsp;marinetraffic (https://www.marinetraffic.com/th/ais/details/ships/shipid:668555/mmsi:567073600/imo:9112844/vessel:CHETTHANABODI_6) ฯลฯ</p><h2><strong>ปีที่แล้วนำเข้าน้ำมันและก๊าซ&nbsp;2.69&nbsp;พันล้านเหรียญสหรัฐฯ</strong></h2><p>สำนักข่าวซินหัว (https://english.news.cn/20250121/ea1f7b3c3ed8415b87c8c304b74c5a06/c.html) ของทางการจีน อ้างรายงานของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ระบุว่า การนำเข้าน้ำมันดีเซล น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซของกัมพูชาในปี&nbsp;2567&nbsp;ที่ผ่านมา มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ&nbsp;12 โดยมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดีเซล น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซในปีที่แล้วรวมอยู่ที่&nbsp;2.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก&nbsp;2.4 พันล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า โดยจำแนกเป็น น้ำมันดีเซล&nbsp;1.41 พันล้านดอลลาร์ น้ำมันเบนซิน&nbsp;946 ล้านดอลลาร์ และก๊าซธรรมชาติ&nbsp;334 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ&nbsp;7, 11 และ&nbsp;42 ตามลำดับ</p><p>ปัจจุบันกัมพูชายังต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและก๊าซทั้งหมด เนื่องจากแหล่งปิโตรเลียมใต้ทะเลของประเทศยังไม่ได้รับการพัฒนา โดยในปี&nbsp;2547&nbsp;เชฟรอนค้นพบแหล่งน้ำมันอัปสรา (https://en.wikipedia.org/wiki/Apsara_field) ห่างจากชายฝั่งจังหวัดพระสีหนุราว 150 กิโลเมตร เคยมีบริษัทขุดเจาะน้ำมันสิงคโปร์คริสเอ็นเนอร์ยี&nbsp;(KrisEnergy)&nbsp;เข้ามาดำเนินการ ประเมินเอาไว้ว่าอาจผลิตน้ำมันได้ราว 7,500 บาร์เรลต่อวัน แต่ผลิตได้จริง&nbsp;2,800&nbsp;บาร์เรลต่อวัน&nbsp;คริสเอ็นเนอร์ยีดำเนินการขุดเจาะจนหมดเงินทุนและยื่นขอล้มละลายในปี&nbsp;2564&nbsp;นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับไทยที่รอการสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอีก</p><p>ส่วนโรงกลั่นน้ำมันพระสีหนุ-กัมปอต ที่ร่วมทุนระหว่าง&nbsp;CPC&nbsp;กัมพูชา กับ Sinomach ของจีนซึ่งวางศิลาฤกษ์ในปี&nbsp;2560&nbsp;ก็ไม่มีความคืบหน้าและเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จมาตลอด ส่วน&nbsp;Guanzun Energy จากจีนก็สนใจลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันเช่นกันโดยระบุว่าจะเริ่มสร้างในปี&nbsp;2569</p><p>กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชาคาดการณ์ว่า ความต้องการใช้น้ำมันในประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็น&nbsp;4.8 ล้านตันในปี&nbsp;2573 จาก&nbsp;2.8 ล้านตันในปี&nbsp;2563</p><h2><strong>ความต้องการใช้รถยนต์สันดาปยังสูง การใช้รถ&nbsp;EV&nbsp;ยังไม่มาก</strong></h2><p>กัมพูชายังคงมีความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซทุกประเภท เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเพิ่มจำนวนของยานพาหนะบนท้องถนน&nbsp;Kiripost (https://kiripost.com/stories/challenges-and-opportunities-in-the-automotive-sector-in-2025)&nbsp;สื่อกัมพูชา รายงานว่า ละ วิบล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและฝึกอบรมวิชาชีพของกัมพูชา เปิดเผยว่าในเดือนมีนาคม&nbsp;2568 กัมพูชามียานพาหนะที่จดทะเบียนแล้วมากกว่า&nbsp;7.7&nbsp;ล้านคัน โดยเป็นรถจักรยานยนต์ถึงร้อยละ&nbsp;85&nbsp;รถยนต์นั่งส่วนบุคคลร้อยละ 10&nbsp;และรถบรรทุกกับรถจักรกลร้อยละ 5</p><p>Khmer Times (https://www.khmertimeskh.com/501624421/cambodias-ev-registration-sees-big-jump-in-2024/)&nbsp;อ้างข้อมูลของกระทรวงโยธาธิการและขนส่งระบุว่า ในปี&nbsp;2567&nbsp;มียานพาหนะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจดทะเบียนใหม่จำนวน 413,067 คัน ในจำนวนนี้รถจักรยานยนต์มีสัดส่วนมากที่สุดคือ&nbsp; 353,603&nbsp;คัน ตามด้วยรถยนต์นั่งส่วนบุคคล&nbsp;54,692&nbsp;คัน และรถบรรทุกกับรถจักรกล&nbsp;5,841&nbsp;คัน</p><p>ในขณะเดียวกัน ยานพาหนะไฟฟ้า (EV)&nbsp;เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยในปี 2567 มีการจดทะเบียน&nbsp;EV&nbsp;ใหม่จำนวน 2,253 คัน อย่างไรก็ตาม ตลาด&nbsp;EV ในกัมพูชายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2568 ระบุว่ามีสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับ&nbsp;EV เพียง 21 แห่งทั่วประเทศ</p><p>สำหรับจำนวน&nbsp;EV ทั้งหมดในประเทศ ข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2567 ระบุว่ามียานพาหนะ&nbsp;EV&nbsp;จดทะเบียนแล้วรวม 4,320 คัน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันตัวเลขยานพาหนะ&nbsp;EV&nbsp;ในกัมพูชาน่าจะสูงกว่านี้</p><p>ทั้งนี้ทางการกัมพูชา ตั้งเป้าหมายการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและรถโดยสารในเขตเมืองให้ได้ร้อยละ 40 และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ร้อยละ 70 ภายในปี&nbsp;2593 เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์</p><h2><strong>“OR”&nbsp;กระทบสุด ส่วนเจ้าใหญ่&nbsp;“Kampuchea Tela”&nbsp;มีโอกาสครองตลาดเพิ่ม</strong></h2><p>การระงับนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภทจากไทย ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับสถานีบริการน้ำมันของบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ&nbsp;OR ซึ่งดำเนินธุรกิจในกัมพูชาผ่านบริษัท&nbsp;PTT (Cambodia) ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับสอง&nbsp;โดยมีสถานีบริการน้ำมันในกัมพูชา 186&nbsp;แห่ง</p><p>ในรายงานของกรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1186235) เมื่อ&nbsp;24&nbsp;มิ.ย. 2568&nbsp;&nbsp;อ้างแหล่งข่าวจาก ปตท. ระบุถึงมาตรการของ&nbsp;OR&nbsp;ต่อสถานีบริการน้ำมัน PTT ในกัมพูชาว่าเปิดดำเนินการสถานีน้ำมันตามปกติ โดยจะจำหน่ายน้ำมันที่คงค้างสต๊อกในคลังน้ำมันและในสถานีบริการน้ำมันแต่ละแห่งจนหมด นอกจากนี้ได้เรียกพนักงานที่เป็นคนไทยให้เดินทางออกจากกัมพูชาตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย. เหลือแต่พนักงานส่วนใหญ่ที่เป็นชาวกัมพูชา</p><p>ขณะที่ผู้สื่อข่าว&nbsp;CamboJA News (https://cambojanews.com/cambodia-bans-import-of-thai-fuel-as-more-borders-close/)&nbsp;ไปสำรวจสถานีบริการน้ำมัน PTT&nbsp;หลายแห่งในพนมเปญเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (23&nbsp;มิ.ย.) พบว่ายังคงเปิดให้บริการได้ โดยพนักงานระบุว่ามีจำนวนผู้มาเติมน้ำมันลดลงหลังการระงับการนำเข้าน้ำมันและก๊าซจากไทย และเกิดกระแสรณรงค์ออนไลน์ให้ประชาชนคว่ำบาตรสถานีบริการน้ำมัน&nbsp;PTT</p><p>ส่วนหัวหน้าคนงานสถานีบริการน้ำมัน PTT&nbsp;สาขาบกกอ ที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกถนนมณีวงศ์ตัดกับถนนเหมาเจ๋อตงกล่าวว่า “เราจะหยุดให้บริการทั้งหมดไม่ได้ เพราะสถานีนี้ไม่ได้เป็นของบริษัท&nbsp;PTT ทั้งหมด และเราสามารถนำเข้าน้ำมันจากแหล่งอื่นได้”</p><p>และถึงแม้&nbsp;OR จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจสถานีบริการน้ำมันต่อไปได้เมื่อน้ำมันในคลังหมดลง&nbsp;แต่ในกัมพูชายังมีผู้เล่นในธุรกิจสถานีบริการน้ำมันอีกหลายเจ้า โดยเฉพาะเจ้าใหญ่ที่มีส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งอย่าง&nbsp; Kampuchea Tela&nbsp;ซึ่งมีสถานีบริการน้ำมันมากกว่า&nbsp;2,000&nbsp;แห่ง และคู่แข่งที่เหลืออย่าง&nbsp;Caltex (Chevron Cambodia),&nbsp;Total Cambodge (TotalEnergies),&nbsp;SOKIMEX (Sok Kong Import Export Co., Ltd.),&nbsp;Bright Victory Mekong Petroleum ฯลฯ&nbsp;ซึ่งทั้งหมดยังคงดำเนินธุรกิจตามปกติ</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54613998002_20b7f31640_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">เพจ&nbsp;Kampuchea Tela&nbsp;โพสต์คลิปขบวนรถบรรทุกน้ำมันเตรียมออกจากคลังน้ำมัน แสดงความพร้อมบริการน้ำมันและเชื้อเพลิงในกัมพูชา เมื่อเที่ยงวันที่&nbsp;23&nbsp;มิ.ย. หรือ&nbsp;12&nbsp;ชั่วโมงหลังคำสั่งระงับนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากไทยมีผล | ที่มาภาพ: Facebook/Kampuchea Tela (https://www.facebook.com/share/v/16kxXtjNXu/)</p><p>สำหรับธุรกิจน้ำมันเจ้าใหญ่อย่าง&nbsp;Kampuchea Tela&nbsp;ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2542 ทุนจดทะเบียน 1 พันล้านเรียล หรือประมาณ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐตามอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น แบ่งเป็น 1,000 หุ้น หุ้นละ 1 ล้านเรียล โดยมีชุน ออน ผู้ก่อตั้งบริษัท เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่</p><p>แม้ไม่ใช่เครือญาติกับฮุน เซน แต่ชุน ออนก็เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเครือข่ายชนชั้นนำภายในพรรครัฐบาลอย่างพรรคประชาชนกัมพูชา และเคยยังตกเป็นเป้าโจมตีจากพรรคฝ่ายค้านกัมพูชา โดยในจดหมายข่าวที่เผยแพร่โดยอดีตพรรคสม รังสี สาขาสหรัฐฯ/แคนาดา เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2548 ได้กล่าวอ้างว่า&nbsp;Kampuchea Tela&nbsp;มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับครอบครัวของสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรี โดยระบุว่าทั้งภรรยาและบุตรสาวของฮุน เซนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่</p><p>ในจดหมายข่าวได้อ้างถึง "หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท" ซึ่งในเวลานั้นระบุว่า “บุน สมเฮียง” หรือ “บุน รานี” ภริยานายกรัฐมนตรี ถือหุ้นร้อยละ 22 และ “ฮุน มานา” บุตรสาว ถือหุ้นร้อยละ 10 ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายอื่น เช่น ชุน ออน,&nbsp;เต็บ งอน,&nbsp;ปรัก จำเรือน และ งวน เลง ถูกอดีตพรรคสม รังสี กล่าวหาว่าเป็นเพียงตัวแทนในนามหรือนอมินี ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้บ่อยในเครือบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP)&nbsp;และยังระบุว่าบริษัทดังกล่าวเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจของพรรคประชาชนกัมพูชาและเครือข่ายฮุน เซน</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศษ[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" hreflang="th">เศรษฐกิจ[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทศ[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2" hreflang="th">กัมพูชา[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99" hreflang="th">น้ำมัน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">พลังงาน[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/or" hreflang="th">OR[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97-%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%81" hreflang="th">ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2" hreflang="th">ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2" hreflang="th">แบนสินค้า[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97" hreflang="th">ปตท.[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/kampuchea-tela" hreflang="th">Kampuchea Tela[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AE%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%95" hreflang="th">ฮุนมาเนต[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->

 

http://prachatai.com/journal/2025/06/113516