[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ตลาดสด => ข้อความที่เริ่มโดย: ใบบุญ ที่ 06 กรกฎาคม 2568 12:39:43



หัวข้อ: แมลงสาบมาดากัสการ์
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 06 กรกฎาคม 2568 12:39:43

(https://lh7-us.googleusercontent.com/docsz/AD_4nXftnQ8kUYn1UezuKlM1pVy-3TNHX14ZjxOApjN0FTtflXg-whwAnubmq8Ii0DwTWMaV4mR94r7U2nnOTGrBsl7jth_D_ADbF0XoYbwzhU7zL2kta9Z6Q7gv5G3RllHCpKSYxKyI2prHT8Rb5uDBAKcQHno?key=qvcsLibeEiEq-mtd5HAFTw)

แมลงสาบมาดากัสการ์

แมลงสาบมาดากัสการ์ (Giant hissing cockroach, Madagascan giant hissing cockroach, เรียกสั้น ๆ ว่า Hissing cockroach หรือ Hisser) เป็นแมลงชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gromphadorhina portentosa อยู่ในวงศ์แมลงสาบยักษ์ (Blaberidae) อันดับแมลงสาบ (Blattodea)

แมลงสาบมาดากัสการ์เป็นแมลงสาบที่ไม่มีปีก ไม่มีแม้แต่แผ่นปีกเล็กปรากฏให้เห็นในระยะใดระยะหนึ่งของชีวิตหลังจากฟักจากไข่ ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลเข้ม และมีสีส้มอมเหลืองพาดอยู่ด้านบนของส่วนท้อง ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวยาวได้ถึง 7-10 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัว 20-25 กรัมโดยประมาณ

เป็นแมลงสาบที่เคลื่อนไหวได้ช้า มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย และไม่ทำร้ายมนุษย์ จึงมีผู้นิยมนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะความแปลก

โดยปกติอาศัยอยู่ใต้ซากใบไม้ที่หล่นปกคลุมผิวดินในป่า อันเป็นแหล่งอาศัยธรรมชาตินอกบ้านที่อยู่อาศัยของมนุษย์ กินซากลูกไม้ ใบไม้ หรือผลไม้ที่หล่นอยู่ในบริเวณป่า อย่างไรก็ตามแมลงสาบชนิดนี้ก็เหมือนแมลงสาบทั่วไป คือ กินอาหารได้เกือบทุกชนิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง กิจกรรมส่วนใหญ่รวมทั้งกิจกรรมออกหาอาหารเกิดขึ้นในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวตามขอนไม้หรือกองใบไม้ในป่า

มีการกระจายพันธุ์บนเกาะมาดากัสการ์ และตามหมู่เกาะใกล้เคียงกัน คือ แถบชายฝั่งทางทวีปแอฟริกาตะวันออก

มีวงชีวิตแบบไม่สมบูรณ์คือ มีระยะไข่, ระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็มวัย ตัวเมียวางไข่หลายใบในถุงไข่ ถุงไข่จะถูกเก็บไว้ภายในลำตัวนานประมาณ 60 วัน จนกระทั่งไข่ฟักออกมาเป็นตัวภายในลำตัวแม่ จากนั้นตัวอ่อนระยะแรกจะออกมาจากลำตัวแม่ ทำให้ดูคล้ายว่าออกลูกเป็นตัว สามารถให้ลูกได้ครั้งละ 30-60 ตัว มีระยะตั้งท้องประมาณ 60 วัน ตัวอ่อนมีรูปร่างคล้ายตัวเต็มวัย ต่างกันที่ขนาดเล็กกว่าลำตัวของตัวอ่อนจะมีรูปร่างเป็นรูปไข่ยาวรีมากกว่า แมลงสาบที่เพิ่งลอกคราบใหม่ ๆ ลำตัวจะมีสีขาว จากนั้นภายใน 2-3 ชั่วโมง สีลำตัวจะค่อย ๆ เข้มขึ้นจนกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มในที่สุด เป็นผลจากการสร้างเม็ดสีเมลานินมาสะสมบนผิว ตัวอ่อนตามปกติลอกคราบ 6 ครั้ง จากนั้นเข้าสู่ตัวเต็มวัย เข้าสู่ตัวเต็มวัยเมื่ออายุได้ 6-7 เดือน สามารถออกลูกได้ 3-4 ครั้งต่อปี มีอายุยืนถึง 2-5 ปี

มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวเต็มวัยของและตัวอ่อนในระยะหลังสามารถทำเสียงได้ เสียงนั้นคล้ายเสียงขู่ของงู อันเป็นที่ชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ อวัยวะที่ให้กำเนิดเสียงของแมลงสาบชนิดนี้อยู่ที่รูหายใจ ที่อยู่บริเวณด้านข้างของท้องปล้องที่ 4 ทั้งสองข้าง การทำเสียงเพื่อใช้ในการเกี้ยวพาราสีก่อนผสมพันธุ์ ตัวผู้จะส่งเสียงขู่เพื่อไล่ตัวผู้อื่น ๆ เพื่อแย่งตัวเมีย นอกจากนี้เสียงขู่ยังใช้สำหรับป้องกันตัวเองจากศัตรูด้วย

ตำแหน่งที่สังเกต   
ตัวผู้ (เต็มวัย)   

อกปล้องแรก ผิวด้านบน pronotum มีโหนกนูนเป็นปุ่มเล็ก 2 ปุ่ม ยื่นออกมา   
หนวด   มีเส้นขนขนาดเล็ก เรียงเป็นแพค่อนข้างหนา ช่วงบริเวณโคนของเส้นหนวด   
ท้อง ปลายท้องแผ่นปิดปล้องท้องอันสุดท้ายด้านล่าง มีลักษณะป้าน

ตัวเมีย (เต็มวัย)
ผิวด้านบนแบนค่อนข้างเรียบไม่เป็นปุ่มโหนก
หนวด   ไม่มีเส้นขนขนาดเล็กเหล่านี้หรือมีน้อยมาก
ท้อง ปลายของแผ่นปิดปล้องท้องอันสุดท้ายด้านล่างมีลักษณะค่อนข้างแคบ

แมลงสาบมาดากัสการ์เคยตกเป็นข่าวตามหน้าสื่อครั้งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าอาจเป็นพาหะนำโรคจากต่างแดนมาสู่ในประเทศไทยได้ จากการมีพบว่าได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่มีรสนิยมเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ เพราะจากผลรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีเชื้อแบคทีเรียถึง 45 ชนิด และยังตรวจพบหนอนพยาธิตัวจี๊ดอีก 22 ชนิด จึงมีการสั่งห้าม และนำตัวที่ยังมีชีวิตอยู่กว่า 500 ตัวไปทำลายโดยการเผา

แมลงสาบมาดากัสการ์มีรายชื่ออยู่ในบัญชีหมายเลข 2 (Appendix II) ตามบัญชีของไซเตส และมีรายชื่อเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535



(https://images.fineartamerica.com/images/artworkimages/mediumlarge/1/a-madagascar-hissing-cockroach-michael-ledray.jpg)