[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ) => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 12 มิถุนายน 2553 15:01:38



หัวข้อ: อริยสัจ ๔ บนเวทีการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 12 มิถุนายน 2553 15:01:38
[ จากบอร์ดเก่า โดย อ.มดเอ็กซ์ ]


อริยสัจ ๔ บนเวทีการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
 
 
เมื่อการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนแบบเดิมไม่ได้ผล จึงมีการนำหลักในศาสนาพุทธมาใช้ในการแก้ปัญหา

คงเป็นเพราะการขาดความรู้ ความเข้าใจถึงภัยในภาวะโลกร้อน คนส่วนใหญ่จึงยังเห็นว่าภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องไกลตัว และขาดการกระทำที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง

(http://gotoknow.org/file/nadrda/HWDryLand.JPG)


 
โรคความจำเสื่อมอันเนื่องมาจากอากาศที่ร้อนมากขึ้น การแพร่กระจายของโรคระบาดที่รวดเร็วขึ้น ความอบอ้าว น้ำท่วม พายุที่ทวีความรุนแรง ฤดูกาลที่เปลี่ยนไป แผ่นดินที่ถูกกลืนด้วยผืนน้ำ จนโฉนดที่ดินเป็นเพียงเศษกระดาษ และเจ้าของที่ต้องเดือดร้อนเพราะไร้ที่อยู่อาศัย การขาดแคลนน้ำจืด การแก่งแย่งอาหารระหว่างสัตว์ป่ากับมนุษย์ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เหล่านี้เป็นเรื่องที่มนุษย์ต้องเผชิญเมื่อโลกร้อนมากขึ้น

 
(http://gotoknow.org/file/nadrda/HWIndustry.JPG)


(โรงงานปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ)

 
ประเทศไทยจัดเป็นอันดับต้นๆของประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ปี 2004 ไทยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุ่ชั้นบรรยากาศเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยมีกรุงเทพมหานครปล่อยก๊าซเป็น 40 % ของทั้งหมด

 
แล้วคนไทย ให้ความสำคัญกับปัญหาโลกร้อนมากน้อยแค่ไหน

(http://gotoknow.org/file/nadrda/HWIceA.JPG)(http://gotoknow.org/file/nadrda/HWIceAA.JPG)


( ธารน้ำแข็งในเปรู เมื่อปี 1978เปรียบเทียบกับปี 2000 น้ำแข็งละลายจนลดระดับลงถึง 1,100 เมตร )

 
ต่างชาติให้การยอมรับว่าวิธีที่เคยใช้ในการแก้ไขปัญหาไม่ได้ผล และเห็นว่าหลักอริยสัจ 4 ในพุทธศาสนา มีความเป็นวิทยาศาสตร์พอที่จะเป็นวิธีอันสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้

 
1.3 การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวปฏิบัติพุทธศาสนา
การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวความคิดของสหประชาชาติที่เกิดขึ้นจากการประชุมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ให้ไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 ในแผนปฏิบัติการที่ 21 ของแผนปฏิบัติการโลกไว้ว่า “ การพัฒนาที่ยั่งยืนคือ การพัฒนาที่บรรลุความต้องการในการดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันโดยต้องไม่ทำให้ความสามารถในการที่จะบรรลุความต้องการในการดำรงชีวิตของอนุชนในอนาคตลดลง ” ( WCED,1987 และ Kirkpatrick, C., and Norman, L. ( eds.) ม 1997 : 63 – 64 ) นี้ สามารถนำมาปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาที่เรียกว่าอริยสัจสี่ประการอันประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางสายกลางคือ มัชฌิมาปฏิปทา หรืออริยมรรคแปด ได้อย่างเป็นรูปธรรม ( WCED, 1987; Kirkpatrick, C., and Norman, L. ( eds.) , 1997 : 63-64 และพระธรรมปิฏก (ประยุทธ ปยฺโต), 2543)

เหล่านี้คือ ถ้อยความในหนังสือ “ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา เล่ม 1 ” ที่ ดร.นงนภัส คู่วรัญญู เที่ยงกมล ได้แต่งไว้เมื่อปี 2551

 
(http://gotoknow.org/file/nadrda/HWIceB.JPG)(http://gotoknow.org/file/nadrda/HWIceBB.JPG)

(ยอดเขาคิริมันจาโร ในปี 2000 สูญเสียน้ำแข็งที่ปกคลุม ลดลงจากปี 1912 ถึง 82%)

 
ีการเสนอความเห็นว่าควรนำหลักธรรมในศาสนาพุทธ คือ อริยสัจ ๔ มาใช้ในการแก้ปัญหาอริยสัจ 4 เป็นหลักการปฏิบัติที่เป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน อันก่อให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้อง ความสำนึกรับผิดชอบ และการกระทำ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน

 
อริยสัจ 4 อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

 
ทุกข์ คือภาวะบีบคั้นที่มนุษย์ได้รับในปัจจุบัน และจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต

 
สมุทัย คือ ทางดับทุกข์ ที่ผ่านมามนุษย์แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ คือนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่มาสนองความต้องการ ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์ เพื่อให้บรรลุมาตรฐานการเป็นอยู่คือมีคุณภาพชีวิตที่ดี หากแต่การนำสิ่งดังกล่าวมาใช้ ไม่สามารถสนองความต้องการมนุษย์ทุกคนได้ มีเพียงประชากร 20 % ของโลกเท่านั้นที่ได้รับการตอบสนอง แต่อีก 80 % แค่ปัจจัยพื้นฐาน ยังไม่สามารถมีให้ครบได้ จึงเกิดความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างมาก

ดังนั้น ถ้าจะแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน เมื่อมนุษย์เป็นผู้ก่อ ก็ต้องแก้ที่มนุษย์ นั่นคือลดกิเลส ลดความต้องการอย่างฟุ่มเฟือยลง มาเป็นความต้องการที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น


(http://gotoknow.org/file/nadrda/HWPlane.JPG)


นิโรธ การสิ้นสุดของปัญหา เป็นที่ยอมรับว่า ปัญหาโลกร้อนนั้นแก้ได้ยาก และปัจเจกชนไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่ในระดับท้องถิ่น ยังพอแก้ไขได้ และยังมีความหวังว่า เมื่อมีการแก้ไขในระดับท้องถิ่น จนเกิดจิตสำนึกร่วมกัน อาจขยายวงไปสู่ระดับชาติ ระดับนานาชาติได้
 
มรรคมีองค์แปด หมายถึงวิธีทั้ง 8 ที่รวมเป็นหนึ่งทางในแก้ปัญหานั้นคือ

 
1 สัมมาทิษฐิ ความเห็นชอบ มนุษย์ต้องมีทัศนคติต่อทรัพยากรโลก การใช้ทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร สาเหตุของปัญหา และการแก้ไขอย่างถูกต้อง

 
2 สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ มีความคิดอันถูกต้อง ในการที่จะแก้ปัญหา และไม่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างปัญหา เช่น มีความคิดที่จะลดการใช้พลังงาน มีความคิดที่จะใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

 
3 สัมมาวาจา เจารจาชอบ คือสื่อสารในอันที่เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นความจริง ในอันที่จะช่วยลด หรือแก้ปัญหา เช่น บอกแม่ค้าว่าไม่ขอรับถุงพลาสติกใส่สินค้า บอกสมาชิกในบ้านให้ช่วยประหยัดพลังงาน เป็นต้น

 
4 สัมมากัมมันตะ การงานชอบ หรือการกระทำชอบ มีการกระทำที่ช่วยในการแก้ปัญหา และไม่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เช่น ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลม เพราะการผลิตน้ำเปล่าใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า เลือกอาหารสดมาปรุงรัปประทานแทนอาหารแช่แข็ง เพราะอาหารแช่แข็งใช้พลังงานในการรักษาคุณภาพอาหารมากกว่าอาหารสดถง 10 เท่า นำสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกจากหลังรถเพื่อลดน้ำหนักบรรทุก อันเป็นการช่วยประหยัดน้ำมัน นำปิ่นโตไปใส่อาหารเมื่อจะซื้ออาหารสำเร็จรูป เพื่อช่วยลดการใช้ถุงพลาสติก

หรือมีการกระทำที่ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ในวงกว้าง ชักชวนผู้เผากระดาษเงินกระดาษทองสำหรับบรรพบุรุษให้ลดจำนวนกระดาษลง เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ (งานนี้เสี่ยงถูกดุ) ชักชวนลูกออกไปเดินเล่นในสวนสาธารณะเพื่อแยกเด็กจากการเล่นเกมในคอมพิวเตอร์อันช่วยประหยัดพลังงาน ชักชวนเด็กๆสังเกตธรรมชาติรอบตัว เช่น ลักษณะของใบไม้ ดอกไม้ เพื่อบ่มเพาะความรัก และหวงแหนในธรรมชาติ เหล่านี้เป็นต้น

(http://gotoknow.org/file/nadrda/HWLeafs.JPG)

(ตัวอย่างรูปร่างใบไม้แบบต่างๆ)

(http://gotoknow.org/file/nadrda/HWLeafArrange.JPG)


(ตัวอย่างการจัดเรียงของใบไม้)

5 สัมมาอาชีวะ ประกอบอาชีพชอบ ไม่ประกอบอาชีพที่มีผลต่อการลดลงของทรัพยากระรรมชาติ เช่น เผาป่าเพื่อทำไร่ คนบางกลุ่ม อาจต้องลดความต้องการในการหารายได้โดยมิชอบลง เช่นการตัดไม้ทำลายป่า

(http://gotoknow.org/file/nadrda/HWFire.JPG)


6 สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือพยายามละ ลด พฤติกรรมที่ทำร้ายโลก และพยายามเพิ่ม และรักษา พฤติกรรมในการเยียวยาโลกที่ได้ริเริ่มทำขึ้นแล้ว

7 สัมมาสติ ระลึกชอบ มีสติระลึกรู้อยู่เสมอ ว่าการกระทำใดๆที่กำลังจะกระทำ หรือกระทำอยู่จะมีผลต่อโลกอย่างไร เช่น เมื่อจะออกจากห้อง ให้ระลึกว่าควรทำอะไรก่อนเดินออกจากห้องไป นั่นคือ ปิดไฟ ปิดแอร์ ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น


(http://gotoknow.org/file/nadrda/HWSwitch.JPG)


8 สัมมาสมาธิ มีสมาธิชอบ หรือตั้งมั่นชอบ มั่นใจว่าทำในสิ่งที่ถูกต้องไม่หวาดเสียวต่อคำนินทาจากสังคมที่ยังไม่เห็นความสำคัญอันเนื่องเพราะการกระทำที่ผิดแผกจากผู้อื่น อีกทั้งการมีสมาธิ จะช่วยให้จิตมีพลังเพียงพอที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น นำไปใช้คิดหาหนทางแก้ไขปัญหาต่อไป

ปัญหาโลกร้อน เป็นปัญหาของเราทุกคน เราทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไข เพราะมหันตภัย อาจไม่ได้มาถึงในรุ่นลูกหลานอย่างที่เราเคยได้ยิน หากเรายังบริโภคกันอย่างฟุ่มเฟือย และขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ขาดการกระทำในทางแก้ไข มหันตภัยอาจมาถึงเราไวกว่าที่เราคาดการณ์ไว้

กรุงเทพจมอยู่ใต้น้ำ แผ่นดินในจังหวัดชายทะเลสูญหายเพราะถูกน้ำทะเลท่วมถึงถาวร สินค้าเกษตรราคาสูงขึ้นเนื่องจากขาดแคลนพื้นที่เพาะปลูก สิ่งเหล่านี้ เราอาจได้เห็นในรุ่นอายุเรานี้เอง
.............................................

อ้างอิงเรื่องและรูป

วันฟ้าใส มหันตภัยโลกร้อนฉบับเยาวชน พิมพ์ครั้งที่2 สำนักพิมพ์ฟรีมายด์ 27/33 ซ.ศรีบำเพ็ญ ถ.พระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธทร กรุงเทพ

ดร.นงนภัส คู่วัญญู เที่ยงกมล สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 2 ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพ
Cristina Brodie Drawing and Painting Plants Timber Press Inc. The Haseltine Building 133 S.W. Second Avenue, Suite 450 Portland, Oregon 97204-3527, U.S.A.


http://gotoknow.org/blog/nadrda/289875 (http://gotoknow.org/blog/nadrda/289875)