หัวข้อ: ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ "เภสัชกรยิปซี" ผู้ปิดทองหลังพระ เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 21:16:38 ชื่อยาต้านไวรัสเอดส์อย่าง AZT (Zidovudine) และ GPO-Vir ที่เราคุ้นเคยกันดี จะมีใครรู้บ้างว่า ยานี้ได้รับการคิดค้นจากองค์การเภสัชกรรมของไทย โดยมีเภสัชกรหญิงผู้หนึ่งเป็นผู้ปิดทองหลังพระกับความสำเร็จนี้ คนที่ว่านี้ ก็คือ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เจ้าของฉายา เภสัชกรยิปซี
(http://www.vcharkarn.com/uploads/166/166584.jpg) ภาพ AZT, the first approved treatment for HIV/AIDS จาก www.avert.org (http://www.avert.org/) (http://www.vcharkarn.com/uploads/166/166585.jpg) ภาพ GPO-VIR จาก mat.or.th เภสัชกรหญิง ดร. กฤษณา ไกรสินธุ์ เกิดเกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 มีพื้นเพเป็นชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพี่น้อง 2 คน เติบโตในครอบครัวซึ่งบิดาและมารดาทำงานทางสาธารณสุขทั้งคู่ บิดาเป็นแพทย์และมารดาเป็นพยาบาล และนี่คือแรงบันดาลใจที่ทำให้ ดร. กฤษณาก้าวสู่เส้นทางสาธารณสุข ในวัยเยาว์ได้รับการศึกษาที่เกาะสมุยบ้านเกิด แล้วย้ายมาศึกษาระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนราชินี เมื่อจบก็เอ็นทรานซ์เข้าศึกษาต่อใน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นจึงต่อปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตรัชคไลด์ และปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ ประเทศอังกฤษ ภายหลังสำเร็จการศึกษา ดร. กฤษณาได้นำความรู้ที่เรียนเล่าเรียนกลับมาทำงานเป็น อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี แต่ในขณะนั้นศาสตร์ด้านเภสัชเคมีไม่เป็นที่สนใจเท่าใดนักจึงเป็นอาจารย์อยู่ได้สักพักก็ลาออก มาทำงานที่สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2532 เพราะอยากผลิตยาที่มีคุณภาพให้กับคนไทย โดยเป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ในประเทศไทย จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ ยาเอดส์ ได้เป็นครั้งแรกในประเทศกำลังพัฒนา และได้รับเลือกเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ด้วยอายุเพียง 37 ปี แรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้ ดร. กฤษณา มุ่งมั่นในการพัฒนายาเอดส์นั้นก็เพราะ ความรู้สึกสงสารเมื่อต้องรับรู้เรื่องราวของเด็กๆ ที่ต้องติดเชื้อเอดส์จากแม่ โดยเฉพาะ ตั้งแต่ปีปี พ.ศ. 2535 ที่พบผู้ป่วยเอดส์ในไทยเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ ทำให้เธอสงสารที่ผู้หญิงและเด็กต้องมารับเคราะห์จากการที่ส่วนใหญ่แม่ติดเชื่อมาจากสามี ดร. กฤษณา ใช้เวลาคิดค้นคว้าตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ผ่าอุปสรรคทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัตถุดิบ แรงต้านจากบริษัทยา ในระยะแรกต้องอดทนทำโดยลำพัง แต่ก็ด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ คณะสื่อมวลชน กลุ่ม NGO ทั่วโลก รวมทั้งพันธมิตรต่างประเทศจำนวนมากที่คอยช่วยเหลือส่งข้อมูล จนในที่สุดสามารถผลิตยาสามัญ ยาเอดส์ ได้ในปี พ.ศ. 2538 โดยยาตัวแรกที่ผลิตได้คือ ZIDOVUDINE หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า AZT คือยาที่ลดการติดเชื่อจากแม่สู่ลูก ซึ่งมีราคาเพียง7-8 บาท จากราคาท้องตลาดที่ แคปซูลละ 40 บาท หรือยาบางตัวที่บริษัทหนึ่งขายที่แคปซูลละ 284 บาทแต่ ดร. กฤษณา ทำให้เหลือเพียงแค่ 8 บาทเท่านั้น ดร. กฤษณาได้ริเริ่มผลิตยาอีกหลายชนิด และยาตัวที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันมากนั้นก็คือ GPO-VIR หรือยาต้านเอดส์สูตรคอกเทลล์ ซึ่งเป็นการรวมตัวยารักษาโรคเอดส์กว่า 3 ชนิดในเม็ดเดียวเป็นครั้งแรกในโลก ทำให้ผู้ป่วยเอดส์ในไทยไม่ต้องกินยาหลายชนิดช่วยลดค่าใช้จ่ายลง และเพิ่มจำนวนผู้ที่สามารถเข้าถึงยานี้ได้นับหมื่นคน ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนในประเทศด้อยพัฒนาทำให้ องค์การอนามัยโลกเชิญกฤษณาไปที่ทวีปแอฟริกา ทวีปที่มีผู้ป่วยเอดส์เป็นจำนวนมากโดยร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื่อเอดส์ทั่วโลกอยู่ที่นี่ เพื่อช่วยเหลือด้านเภสัชกรรม คอยถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีวิธีผลิตยาไวรัสเอดส์ ในปี พ.ศ. 2542 ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ดร. กฤษณา เห็นว่าสถานการณ์ในไทยได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ มีคนพร้อมที่จะสานต่อได้ จึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม และเดินทางไปช่วยคนที่แอฟริกาตามสัญญา ที่เคยมีการประกาศในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก เป็นการไปแบบเด็ดเดี่ยวมาก ไม่มีใครเห็นด้วย ไม่มีผู้สนับสนุน ใช้ทุนส่วนตัว เสมือนน่าไปตายเอาดาบหน้า (http://www.vcharkarn.com/uploads/166/166586.jpg) ภาพ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรยิปซี ในแอฟริกา ที่มา www.pochnews.com (http://www.pochnews.com/) ประเทศคองโก คือประเทศแรกที่ ดร. กฤษณา เดินทางไป และประสบความสำเร็จสามารถจัดตั้งโรงงานเภสัชกรรมแห่งแรกที่ใช้เวลาก่อสร้างร่วม 3 ปีจึงจะสำเร็จ และสามารถผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ชื่อ AFRIVIR ในประเทศที่มีความขัดแย้งมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกได้ในปี พ.ศ. 2548โดยมีส่วนผสมของตัวยาเหมือนยาที่ผลิตในประเทศไทยแต่ต่างกันก็ที่วัตถุดิบ การที่มีโรงงานและได้รับการถ่ายทอดที่ดีนี่เองทำให้คนในท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน เสมือนเป็นการสอนคนตกปลาเพื่อหาเลี้ยงตนเอง ไม่ใช่แค่การนำยาไปบริจาคหรือจำหน่าย และเมื่อครั้งที่อยู่ที่ประเทษแทนซาเนีย ก็ได้วิจัยและผลิตยาที่ชื่อ Thai-Tanzunate เพื่อรักษาโรคมาลาเรีย ยาเหน็บทวาร อาร์เตซูเนท เพื่อรักษาโรคมาลาเรียในเด็ก ซึ่งเป็นโรคระบาดในทวีปแอฟริกาเพื่อรักษามาลาเรีย นอกจากนี้ก็ได้เดินทางไปต่อเพื่อช่วยเหลือประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกาอีก ได้แก่ ประเทศอิริคเทอร์เรีย ประเทศเบนิน และประเทศไลบีเรีย (http://www.vcharkarn.com/uploads/166/166587.jpg) ภาพ การทำงานในทวีปแอฟริกา ที่มา www.krisana.org (http://www.krisana.org/) ตลอดเวลา 5 ปี ดร.กฤษณาเดินทางทำงานไปทั่วทวีปแอฟริกา นับเป็นการทำงานที่เร่ร่อน มีตารางการทำงานที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ บางวันทำงานประเทศหนึ่งตกกลางคืนก็ไปนอนที่ประเทศหนึ่ง นี่เองจึงเป็นที่มาของชื่อ เภสัชกรยิปซี อีกทั้งต้องพบทั้งอุปสรรค ภัยมืดต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะกับคนใหญ่คนโตของที่นั้น การถูกจี้ปล้น ถูกลอบทำร้ายด้วยระเบิดที่บ้านพักแต่โชคยังเข้าข้างคนดีที่ระเบิดนั้นพลาดเป้าเลยไปตกบ้านข้างๆแทน จากการอุทิศตนทำงาน ดร. กฤษณา จนมีการนำไปตีพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของบทความลงในหนังสือพิมพ์ชื่อดังของเยอรมันฉบับหนึ่ง ทำให้มีบุคคลชื่นชมในงานของเธอ และในปี พ.ศ. 2549ได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดี ความยาว 45 นาที เรื่อง อะไรต์ทีลีฟ - เอดส์เมดิเคชันออฟมิลเลียนส์ (A Right to Live - Aids Medication for Millions) จนได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ 3รางวัล นอกจากนั้นอเมริกาก็ยังนำเอาไปสร้างเป็น ภาพยนตร์บอร์ดเวย์เรื่อง คอกเทลล์ ( Cocktail) เปิดแสดงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550และในประเทศไทย ก็มีการสร้างเป็นละครเวทีเรื่อง นางฟ้านิรนาม บทละครชีวิตและงานของ เภสัชกรยิปซี สมญาที่ได้มาจาก นิตยสารคู่สร้างคู่สม ซึ่งแปลมาจาก Cocktail ละครบรอดเวย์ของอเมริกา เมื่อ 2 ปีก่อน โดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (http://www.vcharkarn.com/uploads/166/166588.gif) ภาพ ละครเวที “นางฟ้านิรนาม” ที่มา www.krisana.org (http://www.krisana.org/) ตลอดเวลากว่า 30 ปี ของการทำงานที่อุทิศชีวิตให้กับสังคม ทำให้ ดร.กฤษณา ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (Global Scientist Award) ประจำปี พ.ศ. 2547 จากมูลนิธิเลตเต็น (Letten Foundation) ประเทศนอร์เวย์ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์อีกนับไม่ถ้วน เช่น เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ จาก Mauny Holly Oke College, USA และเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยสตราห์ไคลด์ ได้รับการยกย่องจากนิตยสารรีดเดอร์สไดเจสต์ ให้เป็นบุคคลแห่งปีของเอเชีย ประจำปี พ.ศ. 2551 ในฐานะที่เป็นบุคคลที่ทุ่มเททำงานอย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อผลักดันให้ผู้ป่วยยากไร้ทั่วโลกมีโอกาสได้ใช้ยารักษาโรคเอดส์ รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี รางวัลแมกไซไซสาขาบริการสาธารณะประจำปี พ.ศ. 2552 และที่สุดแห่งความภาคภูมิใจกับ รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนราชินีประจำปี เพราะโดยส่วนตัวดร.กฤษณา มีความภูมิใจในโรงเรียนแห่งนี้เสมอ ที่ที่ให้รู้จักเข้ากับคนได้ มีมนุษยสัมพันธ์ มีน้ำใจ เป็นหลาย ๆ ด้านมาประกอบกัน ไม่ใช่เพียงสอนให้เก่ง แต่เอาตัวไม่รอด สำหรับชีวิตครอบครัว ดร.กฤษณา ไม่ได้สมรส ท่านอาศัยอยู่กับญาติในบางครั้ง เพราะส่วนแล้วจะทำงานอยู่ทวีปแอฟริกาเสียมากกว่า และนอกจากแอฟริกา ดร.กฤษณายังไปทำงานในประเทศจีน เป็นศาสตราจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยฮาบิน หรือประเทศบูรุนดี้ ที่เป็นประเทศที่จนที่สุดในโลก และสุดท้ายนี่คือ หลักการทำงานของดร.กฤษณา ที่ยึดมั่น เราควรทำวันนี้ให้เหมือนกับวันสุดท้ายของชีวิต เพราะนั้นแปลว่าเราต้องทำทุกอย่างให้ดีที่สุด เพราะไม่มีวันพรุ่งนี้ให้แก้ตัวอีกต่อไปแล้ว ข้อมูล กฤษณา ไกรสินธุ์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี กฤษณา ไกรสินธุ์ นิตยสารคู่สร่างคู่สม ฉบับที่ 565 ประจำวันที่ 1-10 พฤษภาคม 2550 เจาะชีวิตฉายา 'เภสัชกรยิปซี 'ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์' 'บุคคลแห่งปีเอเชีย' นักสู้เอดส์ จาก เดลินิวส์ (ออนไลน์)วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2551 ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ www.krisana.org (http://www.krisana.org/) หัวข้อ: Re: ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ "เภสัชกรยิปซี" ผู้ปิดทองหลังพระ เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 21:17:06 รายการชีพจรโลก โดย สุทธิชัย หยุ่น ที่แพร่ภาพทางช่อง 9 อสมท. ได้สัมภาษณ์ ภก.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรยิปซี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2009 ถามตอบกันแบบเปิดใจ คำถามและคำตอบที่ฟังแล้วทำให้คนไทยยิ่งปลื้มกับผู้หญิงคนนี้
(กรุณาคลิกที่ภาพด้านล่างเพื่อชมวิดิโอ) ตอนที่1 ออกอากาศเมื่อ 2009-08-25 (http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=53486) (http://www.krisana.org/images/stories/media/cheep.jpg) (http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=53486) ตอนที่ 2 ออกอากาศเมื่อ 2009-09-01 (http://www.krisana.org/images/stories/media/cheep.jpg) (http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=54188) ขอบพระคุณข้อมูลและวิดิโอจาก http://76.nationchannel.com/index.php (http://76.nationchannel.com/index.php) |