[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2555 12:01:30



หัวข้อ: อาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก พระญี่ปุ่นใจดี ตำรับธรรมะเทอราปี
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2555 12:01:30
อาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
พระญี่ปุ่นใจดี ตำรับธรรมะเทอราปี

(http://www.prachachat.net/online/2009/12/12607730321260773323l.jpg)

เส้นทางการแสวงหาคำตอบทางจิตวิญญาณ ของเด็กชายชาวญี่ปุ่นผู้หนึ่ง ซึ่งออกรอนแรมไกลไปครึ่งโลก เพียงเพื่อจะพบว่า ความหมายที่แท้จริงอยู่ลึกลงไปในจิตใจ

ครั้น พากเพียรบวชเรียนเป็นภิกษุสายปฏิบัติที่เคร่งครัด กลับได้คำตอบว่า การจะพบสุขแท้ ต้องเพ่งไปที่ทุกข์ การแสวงหาความหมายของชีวิต ต้องระลึกถึงความตาย

"ที่อำเภอชิสุกุอิชิ บ้านเกิดของอาตมา มีซากุระเก่าแก่ต้นหนึ่ง เมื่อถึงเวลาออกดอก คนก็จะพากันมาชม และทุกคนก็มีความสุข..."
พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เล่าถึงความทรงจำงดงาม ที่ไม่เคยรางเลือนไป
"ทุก ครั้งที่วิทยุออกข่าวว่าซากุระต้นหนึ่งออกดอกคนทั่วประเทศก็มีความสุข ซากุระต้นเดียวยืนต้นอยู่กลางสนามในอำเภอเล็ก ๆ ทางภาคอีสานของญี่ปุ่นไม่เคยเปลี่ยนแปลง ทำให้คนจำนวนมากมีความสุขได้ จึงอยากให้ตัวเองเป็นเหมือนซากุระต้นหนึ่ง..."

ดวงหน้าที่ยิ้มละไม อารมณ์ดีสม่ำเสมอ ความปีติในดวงตาที่ราวกับแผ่ไปถึงทุกคน
หากความงาม คือ ความสุข ความงามจริงแท้ จึงมิใช่เพียงสิ่งที่เห็นได้ด้วยตา หากแต่ต้องส่งผ่านไปยังหัวใจ
ปัญหา ต่าง ๆ ล้วนเกิดมาจากใจเราเองทั้งนั้น การจะมีความสุขได้ต้องเริ่มจากจิตใจที่ดี จิตใจที่ดีย่อมมาจากสุขภาพใจที่เข้มแข็ง และสิ่งเดียวในโลกที่จะช่วยให้สุขภาพใจดีก็คือธรรมะของพระพุทธเจ้า

ใน พื้นที่ของวัดป่าที่กว้างขวางนับพันไร่ ร่มรื่น เงียบสงบ ราวสวนไม้เกตุสมัยพุทธกาล ถูกปรับปรุงฟื้นฟูขึ้นมาจากที่ดินไร่อ้อยเก่าเชิงเขาให้กลายเป็นสวนป่างาม

สวนที่งามในเบื้องต้น คือ ศีล งามในเบื้องกลาง คือ สมาธิ งามที่สุด คือ ปัญญา
โดยพระใจดีรูปหนึ่ง พระภิกษุที่บวชมานานกว่า 36 พรรษา ทั้ง ๆ ที่เริ่มต้นรอนแรมออกจากแผ่นดินเกิดด้วยความมุ่งหวังที่จะไปปีนภูเขา
นี่คือ เส้นทางแห่งการแสวงหาคำตอบของ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ศิษย์หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง
พระญี่ปุ่นใจดีแห่งวัดสุนันทวนาราม กาญจนบุรี
...ธรรมะเทอราปี
หาก เราต้องการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องดีงาม เราต้องเข้าใจ และยอมรับความจริงเสียก่อนว่า เราเกิดมาด้วยเหตุแห่งอวิชชา คือ ความไม่รู้
ท่าน อาจารย์เป็นพระวัดป่า มุ่งปฏิบัติอย่างหนัก และเคร่งครัด แต่ประสบการณ์เจริญภาวนามานาน 36 พรรษา ทำให้ท่านพบว่า การดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น ทางโลกทางธรรมไม่สามารถแยกออกจากกันได้

ถ้าเราต้องการดำเนินชีวิตที่ดีในทางโลก ก็ต้องใช้ธรรมะ

"ปัญหา ต่าง ๆ ทั้งหมดเกิดขึ้นมาจากใจของเราเองทั้งนั้น ปัจจุบันนี้คนเป็นโรคซึมเศร้า โรคเครียด นอนไม่หลับกันมากขึ้น ๆ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ปัญหาใหญ่ของมนุษย์ในวันนั้นจะเป็นโรคที่เกิดจากใจ"

เป็นอย่างนี้จึงเห็นว่า เราน่าจะนำเอาธรรมะมาเป็นเครื่องบำบัด และนำมาใช้ในชีวิต
"ถ้า แยกออกจากกันเสียแล้วระหว่างทางโลกทางธรรม พระก็ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติธรรมไปทำไม เพราะธรรมะเป็นเครื่องนำทางไปสู่ความกระจ่าง ทำให้โลกดีงาม ซึ่งเป็หน้าที่ของพระ"

ด้วย เหตุนี้ ท่านอาจารย์มิตซูโอะจึงเรียบเรียงหนังสือธรรมะออกแจกจ่าย เผยแพร่ แต่หนังสือเหล่านี้จะเข้าถึงคนหมู่มากได้ ก็ต้องผ่านได้เข้าใจง่าย พกติดตัวง่าย จึงทำเป็นหนังสือเล่มกะทัดรัด ให้เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่ก็อ่านได้ หัวข้อต่างๆ ก็เป็นการประยุกต์มาจากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า แต่หันมาเล่าจากเรื่องใกล้ตัวเล็ก ๆ

"คำสอนของพระพุทธเจ้าก็มาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันรอบ ๆ ตัว มาจากประสบการณ์ตรงเพียงแต่เรื่องต่าง ๆ เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล สังคมบางอย่างเปลี่ยนไป คนจึงอาจไม่เข้าใจ เราจึงต้องยกตัวอย่างประกอบจากประสบการณ์ของเราเอง"
เหตุผล สำคัญที่ท่านอาจารย์ให้ความสนใจเป็นพิเศษในการจัดทำหนังสือ ไม่เพียงเพราะท่านเองมีความจำกัดในการใช้ภาษาไทย ในการเทศน์ การพูด แต่เป็นเพราะการเขียนนั้นทำให้ได้ทบทวนความคิด และตรวจทานแก้ไขอย่างละเอียดลออได้ และเมื่อเผยแพร่ออกไป ญาติโยมก็สามารถนำติดตัวไปได้ตลอดเวลา เหมือนกับได้ปฏิบัติธรรม โดยไม่ต้องมาฝึกอานาปานัสสติถึงวัด แต่อยู่ที่ไหนก็ทำได้

บาง คนได้หนังสือเล่มเล็กเรื่องความโกรธเอาไว้กับตัว อ่านทุกวันซ้ำ ๆ กันเป็นสิบปี ใช้เป็นเครื่องรักษาชีวิต บ้างเขียนจดหมายมาบอกว่า เป็นโรคประสาทเรื้อรังต้องไปพบแพทย์ ต้องกินยามานาน 7 ปี ครั้นได้ฝึกอานาปานัสสติจากในหนังสือ ก็ไม่ต้องกินยาอีกแล้ว
อย่างนี้แล้ว ธรรมะจึงเป็นดั่งเครื่องบำบัดอาการป่วยไข้ที่ได้ผล


(เรื่องและภาพจาก นิตยสาร ฅ.คน ธันวาคม 2552)