[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 10 กรกฎาคม 2553 12:36:01



หัวข้อ: อิสรภาพในการใช้สติปัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 10 กรกฎาคม 2553 12:36:01
(http://lh3.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TAot-BLUbdI/AAAAAAAABBQ/1fUG9nAOYqo/PF1200111.jpg)

http://www.fungdham.com/download/song/allhits/28.mp3



สำหรับท่านพุทธทาส ภิกขุ ท่าทีพื้นฐานประการสำคัญที่สุดในการพิจารณาประเด็นธรรมะกับการเมือง คือสิ่งที่ท่านเรียกว่า
อิสรภาพในการใช้สติปัญญาการที่เราไม่มีอิสรภาพหรือเสรีภาพในการใช้สติปัญญานั้นเกิดขึ้นเพราะ เราถูกกระทำให้เป็นทาสทางสติปัญญาอย่าง
ไม่มีอิสรภาพ หรือไม่มีเสรีภาพ และโดยพื้นฐานแล้ว อิสรภาพทางสติปัญญานี้ มีความสำคัญทั้งทางฝ่ายโลกและฝ่ายศาสนา
ในฝ่ายศาสนา ท่านพุทธทาสหมายถึง การที่พุทธบริษัทไม่สามารถหรือไม่กล้าพอที่จะใช้วิจารณญาณของตนเมื่อพบว่าสิ่งที่ตนเข้าใจปฏิบัติ หรือได้
รับผลนั้น ขัดกับแนวทางที่ยอมรับกันอย่างงมงาย ส่วนในทางโลกนั้นคือการตกอยู่ในสภาพเป็นทาสทางสติปัญญา อย่างไม่มีอิสรภาพ เพราะ
เห็นว่าเขาว่ามาอย่างนั้น หรือนิยมกันมาอย่างนั้นท่านพุทธทาสยืนยันเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า
ถ้าท่านไม่มีอิสรภาพ เสรีภาพในการคิดนึก นอกไปจากที่เคยเรียนมาอย่างปรัมปรา ท่านก็ไม่อาจเข้าใจความจริงแท้ใด ๆ ได้ ถึงที่สุด
ในเรื่องนี้ สำหรับพุทธบริษัท หากยอมตกเป็นทาสทางสติปัญญาเสียแล้ว ย่อมถูกตีกรอบจำกัดประเด็น จนไม่กล้าแสวงหาแนวทางของตนเป็นการ
ยอมจำนนอย่างขัดกับหลักที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวพุทธ ได้แก่ หลักโพชฌงค์เจ็ดประการซึ่งประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ ธัมมวิจัย
เรื่องใหญ่หลวงของพุทธบริษัท คือ ความไม่มีอิสรภาพในการใช้ความคิดนึก เลือกเฟ้น อย่างที่เรียกโดยชื่อว่า ธัม มวิจยสัมโพชฌงค์(ซึ่งหมายถึง)
การเลือกเฟ้นธรรมซึ่งเป็นองค์แห่งการตรัสรู้


หัวข้อ: Re: อิสรภาพในการใช้สติปัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 10 กรกฎาคม 2553 12:42:25
(http://lh3.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TAot-BLUbdI/AAAAAAAABBQ/1fUG9nAOYqo/PF1200111.jpg)



ความมีอิสรภาพในการใช้ความคิดนึกหรือ อิสรภาพในการใช้สติปัญญาแก้ปัญหา จึงเป็นท่าทีพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องโลกุตระ(เหนือความเป็นไปทางโลก) หรือในเรื่องโลกิยะ (เนื่องด้วยความเป็นไปในโลก) โดยเฉพาะในกรณีนี้ ก็คือ การเมือง
ดังนั้น ต้องทำตนให้เป็นคนกล้า กล้าหาญ แล้วก็มีอิสรภาพในการที่จะพินิจพิจารณา โดยไม่ต้องกลัวขนบธรรมเนียมประเพณี ที่จะมามองดูกันเดี๋ยวนี้ว่าการเมืองนั้นมันคือธรรมะอิสรภาพในการใช้สติปัญญา จึงนับเป็น ความกล้าหาญทางสติปัญญา ด้วยเช่นกัน
ในธรรมะกับการเมืองพุทธทาสภิกขุ หยิบยก กาลามสูตร มาอธิบายเสริมประเด็นเรื่องนี้อย่างน่าสนใจโดยแยกแยะให้คำนิยามองค์ประกอบแต่ละข้อของหลักการตามกาลามสูตรทั้งสิบประการ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้
หมวดที่หนึ่ง เป็นหมวดว่าด้วยความรู้ ความคิด ความเห็นเก่า ๆ หรือที่นำเสนอตาม ๆ กันมา ได้แก่..................................

ข้อที่ 1 อย่าเชื่อเพราะฟังตาม ๆ กันมา
ข้อที่ 2 อย่าเชื่อเพราะปฏิบัติตาม ๆ กันมา
ข้อที่ 3 อย่าเชื่อเพราะกำลังเล่าลือกระฉ่อน
ข้อที่ 4 อย่าเชื่อเพราะการอ้างตำรา



.......หมวดที่สอง เป็นหมวดว่าด้วย ความรู้สึกนึกคิด ปัจจุบันของตนได้แก่.......



ข้อที่ 5 อย่าเชื่อเพราะเหตุแห่งตรรก (วิธีของตรรกวิทยา)
ข้อที่ 6 อย่าเชื่อเพราะเหตุแห่งนัยะ (การอนุมานตามวิธีของปรัชญา)
ข้อที่ 7 อย่าเชื่อเพราะการตรึกตามอาการ (สามัญสำนึก หรือ common sense)
ข้อที่ 8 อย่าเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทิฏฐิหรือความเห็นของเรา
ส่วนหมวดที่สาม เป็นหมวดว่าด้วย บุคคลที่มาเกี่ยวข้องด้วย ได้แก่
ข้อที่ 9 อย่าเชื่อเพราะผู้พูดเป็นคนน่าเชื่อ
ข้อที่ 10 อย่าเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูของเรา



หัวข้อ: Re: อิสรภาพในการใช้สติปัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 10 กรกฎาคม 2553 12:48:10
(http://lh3.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TAot-BLUbdI/AAAAAAAABBQ/1fUG9nAOYqo/PF1200111.jpg)



และที่ท่านพุทธทาสอ้างถึงกาลามสูตร 10 ข้อนี้  ท่านให้เหตุผลประกอบว่า.......................
เพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัยการเมืองอย่าหลับหูหลับตาไป ตะครุบเอาลัทธิการเมืองนั่นนี่ แบบนั้น แบบนี้ มาอย่างน่าสังเวช ลองใช้กาลามสูตรดูบ้าง
กาลามสูตรเป็นหลักวินิจฉัยเพื่อเตือนให้เห็นอาการของการเชื่ออย่างรวบรัด หรือสรุปโดยปราศจากวิจารญาณ ขาดการศึกษา ทำความเข้าใจ
ทดลองให้ประจักษ์ และวินิจฉัยประโยชน์ด้วยตนเองให้ถ่องแท้เสียก่อน
แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับ ธรรมะกับการเมืองท่านพุทธทาสยังนำเสนอหลักการที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมสำหรับเรื่องนี้อีกชุด หนึ่ง
อาจเรียกได้ว่าเป็น อิสรภาพในการใช้สติปัญญาทางการเมือง หรือ อิสรภาพตามความเหมาะสม 4 ขั้นตอน
ดังที่ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้ว ว่าธรรมบรรยายเรื่องนี้ ท่านแสดงในช่วงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ไม่นานนักฉะนั้น การกล่าวถึง อิสรภาพ
4 ขั้นตอนนี้  ท่านพุทธทาสคงมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นถึงบรรยากาศของการใช้สติปัญญา(ทางการเมือง)ในช่วงนั้นและต้องการเตือนให้ทุกฝ่าย
(รวมทั้งคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่สนใจงานของท่าน และบางคนก็ลงไปศึกษาปฏิบัติธรรมที่สวนโมกขพลาราม)สลัดทิ้งความคับแคบไร้เสรีภาพ
ที่มาพร้อมกับการหลับหูหลับตาไปตะครุบเอาลัทธิการเมืองนั่นนี่
อย่างที่ท่านพูดถึง ความเป็นทาสสติปัญญาในทางโลกว่าถ้าเราไปติด ไปยึดในตำรา ในทฤษฎี ในอุดมคติ แนวไหน สายไหนเสียแล้ว  เราไม่มีทางที่จะไปรวบรวมอันอื่นมาวินิจฉัย  เพราะเราเป็นทาสทางสติปัญญาของทฤษฎีสายนั้นเสียแล้ว แล้วก็ชอบยึดมั่นในสิ่งที่เรียกว่า ปรัชญา คือปรัชญาทาง
การเมือง สายนั้น สายนี้ แขนงนั้น แขนงนี้ ของคนนั้น คนนี้เป็นทาสทางสติปัญญา แก่ลัทธิการเมืองแนวใดแนวหนึ่ง


หัวข้อ: Re: อิสรภาพในการใช้สติปัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 10 กรกฎาคม 2553 12:55:55
(http://lh3.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TAot-BLUbdI/AAAAAAAABBQ/1fUG9nAOYqo/PF1200111.jpg)



.......................อิสรภาพ 4 ขั้นตอนนี้ ประกอบด้วย.................



1.อิสรภาพในการรวบรวมมาวินิจฉัยข้อนี้ ท่านพุทธทาสหมายถึง การไม่ด่วนผูกมัดตนเองกับลัทธิการเมืองแต่จะต้องพยายามศึกษาอย่างรอบด้าน ประมวลแนวทางทั้งหลายมาเท่าที่จะกระทำได้ เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเป็นจากประสบการณ์ในอดีต แนวทางร่วมสมัยรวมทั้งจากแหล่งที่ท่านให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือ ข้อเท็จจริงของธรรมชาติทั้งหลายเป็นการเมืองที่ธรรมชาติจัดให้ ตามระบบของธรรมชาติ
2.อิสรภาพในการวินิจฉัยในข้อนี้ เราจะมีความเป็นอิสระแก่ตัวเอง ของตัวเอง ทำการวินิจฉัยไม่สยบต่อความน่ายำเกรงที่ติดมากับแนวคิดและวิถี
ต่าง ๆ  ไม่ว่าจะมาจากขนบประเพณี ความนิยมของโลก หรือการตัดสินของอำนาจใด ๆ นอกจากนี้อิสรภาพในข้อนี้ ยังรวมถึงอิสรภาพในการตั้งประเด็นและแง่มุมเพื่อพิจารณา ชนิดที่หลุดจากกรอบหรือแง่มุมอันจำกัดตามที่มักร่ำเรียนยึดถือกันมาด้วยกล่าวคือไม่จำเป็นที่จะต้องเอาตามที่เขาเขียนให้เราเรียน
3.อิสรภาพในการเลือกในข้อนี้ ท่านอธิบายว่าเมื่อเราวินิจฉัยมันไปทุกอย่างทุกแง่ทุกมุมแล้วเราจะเลือกอันไหน แง่มุมไหนเราก็จะต้องเป็นอิสระด้วยเหมือนกันกล่าวอีกนัยหนึ่งการเลือกแนวทางทางการเมืองนั้นไม่จำเป็นต้องติดอยู่ในกรอบของลัทธิใดลัทธิหนึ่งแต่ควรจะมีเสรีภาพในการ
เลือกมาผสมผสาน หรือสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ตามที่มันเหมาะแก่ปัญหาของเราหรือมันเหมาะแก่เรา
4.อิสรภาพในการปฏิบัติ ท่านหมายถึง การตระหนักถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ไม่ต้องยึดติดว่า เมื่อสมาทานลัทธิหรือแนวทางหนึ่งใดแล้ว
จะต้องทำตามอย่างที่เขานิยมยึดถือกันมา ดังนั้นเราต้องมีอิสระในการปฏิบัติเท่ากับที่เราได้เลือกอยู่ที่ความสามารถของเรา
แล้วเราต้องรู้จักตัวเราให้ดี ว่าเรามันอยู่ในสภาพอย่างไร มีความสามารถเท่าไร แล้วจะได้ปฏิบัติพอดีกับความสามารถ



หัวข้อ: Re: อิสรภาพในการใช้สติปัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 10 กรกฎาคม 2553 13:01:26
(http://lh3.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TAot-BLUbdI/AAAAAAAABBQ/1fUG9nAOYqo/PF1200111.jpg)



ประเด็นเรื่องการรู้จักตัวเองนี้ท่านพุทธทาสเน้นว่าเพราะเราไม่รู้จักตัวเองจึงไม่รู้ว่าอะไรเหมาะแก่ปัญหาของเราและปัญหาของประเทศไทยเล็ก ๆ อย่างนี้ไม่เหมือนกับปัญหาของประเทศรัสเซีย อินเดีย จีน อเมริกา อะไรก็ได้ มันเหมือนกันไม่ได้เราอย่าหลับหูหลับตางมงาย โดยไม่ดูเสียว่าไอ้เรานี่มันเป็นอย่างไรส่วนประเด็นในเรื่องความสามารถนั้น ท่านไม่ได้หมายเพียงการศึกษาหรือความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เท่านั้น หากรวมถึงฐานทรัพยากร ภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ด้วย  ท่านยังวิพากษ์สืบเนื่องว่าทรัพยากรของเรามีสำหรับจะเป็นประเทศกสิกรรม เราจะเป็นประเทศอุตสาหกรรมเร็ว ๆ นี้มันก็เป็นเรื่องบ้าบอเพราะความสามารถมันก็มีไม่ได้แม้ว่าเราจะมีความรู้ แต่ภาวะสิ่งแวดล้อมมันยังไม่เข้ารูปกัน
แล้วมันก็เป็นไปไม่ได้แนวความคิดว่าด้วยอิสรภาพในการใช้สติปัญญา(ทางการเมือง)ของพุทธทาสภิกขุจึงตั้งอยู่บนรากฐานของการใช้วิจารณญาณอย่างรอบด้านของกาลามสูตร และนำเสนออย่างสอดคล้องเป็นรูปธรรมในบริบททางการเมืองร่วมสมัย
การที่ทุกคนเป็นนักการเมืองโดยความรู้สึก – ความกล้าที่จะข้ามพ้นภาวะจำเป็นต้องทิ้งธรรมะ – การใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบด้วยตนเอง – และอิสรภาพในการใช้สติปัญญาทั้งหมดนี้ คือองค์ประกอบของท่าทีพื้นฐานต่อประเด็น ธรรมะกับการเมือง


...............................THE END.................................




หัวข้อ: Re: อิสรภาพในการใช้สติปัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 กรกฎาคม 2553 13:57:32



(http://2.bp.blogspot.com/_db6znip3RMM/SL52hSP8amI/AAAAAAAAC2w/lBBMFAdBIvw/s400/Kanmunee+9.jpg)

 (:LOVE:)  (:LOVE:)  (:LOVE:)


หัวข้อ: Re: อิสรภาพในการใช้สติปัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 10 กรกฎาคม 2553 15:04:20



(http://2.bp.blogspot.com/_db6znip3RMM/SL52hSP8amI/AAAAAAAAC2w/lBBMFAdBIvw/s400/Kanmunee+9.jpg)

 (:LOVE:)  (:LOVE:)  (:LOVE:)

(http://img1.imagehousing.com/1/b3395cf9a28e5f2510a8aaee8ccd082f.jpg)


(:LOVE:)มาทักทาย พี่ แป๋ม ตอนบ่าย ๆ เย็น ๆ ค่ำ ๆ  (:LOVE:)


(:LIP:) (:LIP:)โอย........หิวข้าวยังไม่ได้กินข้าวกลางวันเลย แต่ตะกี้เพิ่งกินข้าวเย็น (:LIP:) (:LIP:)