[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => กระบวนการ NEW AGE => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 11 กรกฎาคม 2553 15:00:16



หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : มนุษย์เกิดมาเพื่อหาทางพบความสุขกับพ้นทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 11 กรกฎาคม 2553 15:00:16
(http://www.xenmode.com/files/QuickSiteImages/Abstract8__Intuition3__op_800x533.jpg)

อย่าสงสัยว่าผู้เขียนจะเอาอะไรมาเขียนในวันนี้ เพราะตั้งหัวเรื่องค่อนข้างเป็นนามธรรมที่กว้างเกินไป จนคนอ่านเดาไม่ถูกว่าจะเขียนตอบคำถามไปทางไหน? อย่างไรก็ตาม หากผู้อ่านที่ติดตามอ่านบทความของผู้เขียนเป็นประจำมาบ้างจะพอรู้ว่า หนึ่ง ผู้เขียนชอบเขียนเรื่องของความรู้และความจริงตามที่ผู้เขียนรู้มาหรือเชื่อมั่นที่ค่อนข้างหนักและยากชนิดที่ต้องเอามาคิดต่อ สอง ขอบข่ายของเรื่องที่เขียนจะเป็น “ปรัชญาธรรมชาติ” จึงกว้างมากและครอบคลุมทั้งความเชื่อโบราณ รวมทั้งความรู้ของลัทธิความเชื่อที่เชื่อว่าจริงทั้งของศาสนา และวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะฟิสิกส์ สาม บ่อยครั้งที่บทความของผู้เขียนดูเหมือนไม่จบในบทเดียวหรือว่าสำคัญ ในกรณีนี้ผู้เขียนจะเขียนซ้ำๆ ในบทที่คล้ายๆ กับต่อเนื่องกัน หรือเป็นภาคหนึ่งภาคสองจนผู้อ่านดูคล้ายๆ ว่าผู้เขียนจะพูดเวียนวนไปบ้างก็ขออภัย บทความของวันนี้จึงเป็นเรื่องของความสุขและศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนา เรื่องของการแสวงหาความสุขที่แท้จริงนิรันดร หรือเรื่องของการแสวงหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ ในฐานะที่เกิดเป็นมนุษย์ไปแล้ว ตรงนี้สำคัญ ซึ่งในสายตาของผู้เขียน เรา-คนไทยชักจะเอาตามอย่างของฝรั่งตะวันตกมากขึ้นไปทุกวันจนมากเกินไป ฝรั่งตะวันตกนั้นจะไม่มีทางแม้แต่น้อยที่จะหาความสุขได้พบ นอกจากการหาความจริงแท้ของตะวันออก ในสมัยพุทธกาลจริงๆ พบเท่านั้น และอยู่กับความสุขนั้นๆ ให้ได้ตั้งแต่เกิดมาเป็นมนุษย์จนแก่ตาย (แก่ตายกับการตายจากอุปัทวเหตุหรือเป็นโรคตายในเวลาอันไม่สมควรนั้น ย่อมไม่เหมือนกัน)

ทั้งที่สายตาไม่ดีเอามากๆ และเสื่อมลงอย่างรวดเร็วมากและมากๆ เพราะโรค (macular degeneration, wet type) และความแก่ ผู้เขียนก็ยังดูหนังบางเรื่องในโทรทัศน์ได้ แต่ต้องห่างไม่เกินหนึ่งเมตรและมีตัวเล่นไม่มากนัก เผอิญหนังเรื่องนี้ (Into the Wilderness) เขาเอามาฉายซ้ำติดๆ กันสองวันเมื่อปลายเดือนที่แล้ว หนังเรื่องนี้เนื้อหาสาระของหนังดูแล้วคุ้นๆ เพราะว่ามันคือการแสวงหาความอิสรเสรีของธรรมชาติ ไม่ว่าฝรั่งหรือไทย - ที่เดินเข้าป่าและอยู่ในป่าไปจริงๆ - โดยมองเผินๆ ดูคล้ายๆ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงตนเอง (transformation) แต่หากมองให้ลึกและมองเขาทุกๆ วันจะพบว่าเขาไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างที่ตนเองคิด การเปลี่ยนแปลงตัวเองในคำภาษาอังกฤษมีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างหน้าที่และภายในทั้งหมดโดยสิ้นเชิง สำหรับมนุษย์ที่ใช้กันหมายถึงการเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างลึกๆ ที่จิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก ซึ่งจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึกของอดีตจะนอนแนบเนื่องอยู่กับจิตสำนึกจนแยกออกจากกันได้ยากนัก จิตสำนึกกับจิตใต้สำนึกในอดีตนั้นเองทั้งคอยควบคุมพฤติกรรมของคนทั้งหมด เราจะต้องระลึกเสมอว่า การเปลี่ยนแปลงตัวเอง (หรือ transformation) นั้นไม่เหมือนกับการเปลี่ยนแปลง (change) ของนายบารัก โอบามา ที่เน้นเฉพาะรูปร่าง การแต่งตัวกับรูปแบบที่ตื้นๆ และทั่วไป แต่ทว่าความอิสรเสรีที่นึกว่าเป็นความสุขและปลดเปลื้องความทุกข์ของพระเอกของเราได้ - เช่นเดียวกับความคิดและการปฏิบัติของเราทั้งหลาย รวมทั้งฝรั่งหรือไทยที่บ้านเราที่เดินเข้าป่ากันเป็นทิวแถว ซึ่งการเดินเข้าป่าและอยู่ในป่า นอกจากได้ความอิสระประเดี๋ยวประด๋าวที่ตื้นเขินและไม่ใช่ความปีติสุขที่อิ่มเอิบนิรันดร ซึ่งความสุขของพระเอกอย่างดีก็เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ก็ยังดีเพราะเป็นการเริ่มต้นที่ดี ธรรมชาตินั้นจะต้องดำเนินไปตามครรลองของมัน คือเป็นไปตามธรรมชาติของมันนั้นๆ ปัญหาของเราก็คือ แล้วธรรมชาติของมนุษย์ล่ะเป็นอย่างไร

ก่อนจะตอบคำถามนี้ ขอย้อนกลับไปที่เนื้อหาสาระของภาพยนตร์เรื่องที่ว่า ซึ่งแปลชื่อเรื่องตรงตามเนื้อหาสาระของเรื่อง และส่วนใหญ่ของหนังมีตัวเล่นสำคัญอยู่ตัวเดียว คือเป็นพระเอกว่าอย่างนั้นเถอะ ซึ่งตั้งแต่ก่อนที่เขาจะจบมหาวิทยาลัย เขาเป็นคนที่แสวงหาความอิสรเสรี คือไม่ผูกติดกับสิ่งใด แม้แต่พ่อ-แม่และพี่น้อง เงินเป็นฟ่อนๆ หรือหญิงสาว ดังนั้น พระเอกหนุ่มจึงออกเดินทางไปทั่วอเมริกาโดยไม่มีเงินที่เขาคิดว่าสังคมคิดขึ้นมา ซึ่งเขาคิดว่าอะไรๆ ที่มนุษย์หรือสังคมคิดจะต้องผิดธรรมชาติทั้งสิ้น ตรงนี้และในขณะนี้ - จากความเป็นตะวันตกและเป็นโลกานุวัตรที่แพร่กระจายไปทั่วทั้งโลก รวมทั้งประเทศไทย ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มากๆ ของโลกมักจะเป็นวัตถุนิยม (materialism) - ผู้เขียนจึงค่อนข้างเห็นด้วย พระเอกของเราจึงได้เดินทางเข้าป่าแสวงหาธรรมชาติไปเรื่อยๆ เขาคิดว่าความเป็นอิสระที่เสรีจริงๆ - โดยไม่ยึดติดกับสิ่งใด - เป็นสิ่งเดียวกับความสุข หนังทั้งเรื่องถึงได้แสดงถึงธรรมชาติที่บริสุทธิ์และความสุข (ทางกายที่ต้องแสวงหาสิ่งใหม่กว่าแทนอยู่ตลอดเวลา) ที่เขาได้มาจากป่า จากภูเขา จากแม่น้ำที่เชี่ยวกรากและสัตว์ป่าต่างๆ แต่..อนิจจา พระเอกของเราไปไม่ถึงเป้าหมาย...อะแลสกา...เพราะไปกินธรรมชาติที่มีพิษ ใบไม้พิษ ที่เป็นไปตามธรรมชาติของมันเอง...ตาย โดยก่อนตายเขายังเขียนไว้ในสมุดบันทึกประจำวันว่า ขอให้พระเจ้าประทานพรให้กับทุกคนในโลกที่พยายามแสวงหาและพบกับความอิสรเสรี ซึ่งพระเอกของเราคิดว่าเป็นอันเดียวกับความสุขที่แท้จริง

ภาพยนตร์หรือหนังของฮอลลีวู้ดเรื่องนี้ไม่ได้บอกอะไรให้แก่เราเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่มากไปกว่านั้น เนื้อหาสาระจึงเป็นเรื่องของการแสวงหาความสุขและการพ้นทุกข์ที่พระเอกของเราคิดว่าดังได้กล่าวมาแล้ว ความเป็นอิสรเสรีอย่างแท้จริงคือดังนั้น ความสุขและหนทางที่จะหลีกพ้นความทุกข์โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ เขาหรือผู้กำกับภาพยนตร์ และท้ายที่สุดคือคนที่ดูภาพยนตร์ทั่วทั้งโลกเลย โดยเฉพาะฝรั่งหรืออเมริกันซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มากๆ เป็นนักรูปร่างกายภาพวัตถุนิยม (materialist) อยู่แล้ว หรือประชาชนแทบทั้งหมดของประเทศกำลังพัฒนาหรือที่พัฒนาใหม่ๆ ที่เชื่อฝรั่งแทบว่าไม่ต้องคิด หรือคิดแต่เพียงว่าโลกของเราประกอบขึ้นด้วยวัตถุรูปธรรมเท่านั้น แม้แต่นักวิชาการที่บ้านเรายังคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเป็นกายวัตถุที่ชี้วัดได้เท่านั้น
 
ความอิสระ ความไม่ยึดติด และความสุขที่แท้จริงนั้น อยู่ที่เรารู้ว่าธรรมชาติของมนุษย์คืออะไร? นั่นเป็นคำถามที่ถามมาในพารากราฟข้างบนนั่น และผู้เขียนคิดว่าจะต้องรู้ธรรมชาติที่อยู่ภายนอกทั้งสองระดับ หยาบกับละเอียด หรือดินกับฟ้า นั่นคือ ธรรมชาติที่หยาบ ที่เรามองเห็น เช่น ต้นไม้ ป่า ภูเขา ฯลฯ ที่พระเอกในหนังเรื่องนี้แสวงหาโดยคิดว่าเป็นความอิสระหรือความสุขนั่นแหละ ส่วนธรรมชาติที่ละเอียดที่มองไม่เห็นคือเทพเทวา พระเจ้า หรือฟ้า หรือสวรรค์ นอกจากนี้ เรายังต้องรู้ ว่า องค์ประกอบของมนุษย์ที่อยู่ตรงกลางระหว่างดินกับฟ้าและถูกควบคุมโดยดินกับฟ้านั้น ประกอบขึ้นมาด้วยอะไร? นั่น-พุทธศาสนาบอกว่าสัตว์โลกหรือชีวิตที่มีประสาทความรู้สึก (เวทนา) ซึ่งสัตว์โลกหรือชีวิตที่ว่านั้น แน่นอนที่จะต้องรวมมนุษย์เป็นพิเศษด้วย มีแต่รูปกับนาม หรือกายกับจิตเท่านั้น และรูปหรือกายย่อมจะหาความเป็นอิสรเสรีจริงๆ ที่ไม่ยึดติดกับสิ่งใดเลย-ไม่ได้ ต้องเป็นจิต เป็นความคิด จินตนาการ เป็นความรู้สึกเท่านั้น เช่น เด็กน้อยที่คิดแต่จะเปลี่ยนของเล่นอยู่ร่ำไป ส่วนเด็กที่โตแล้วหรือเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วมักที่จะชอบเปลี่ยนหรือชอบเสี่ยง ชอบท้าความตาย และก็จะแสวงหาวัตถุรูปแบบใหม่มาแทนที่จนกว่าจะย่างเข้าหนุ่มใหญ่และสร้างครอบครัว การผจญภัยคือการรอดพ้นจากความตายและมีชีวิตอยู่เพื่อเล่าเรื่องที่ตนมีประสบการณ์นั้นๆ ทั้งหมดคือการแสวงหาความอิสรเสรีหรือความสุขทั้งสิ้น และหากมองไปลึกๆ พระเอกที่ตายตอนจบก็เป็นไปตามแนวนี้
 
 
มนุษย์แต่ละคนและทุกๆ คนโดยรวม จิตหรือนาม คือสิ่งที่มีมาก่อนรูปกายเสมอ แต่เรา-มนุษย์ เพราะอวิชชากับตัณหาราคะ หรือ “ตัวกูของกู” (ego-self) ไม่รู้ และคิดง่ายๆ ตามที่ตาเห็น-หูได้ยิน ซึ่งแน่นอนคือสสารวัตถุและรูปกายที่เรามองเห็น - ว่าความจริงที่แท้จริงมีอยู่แค่นั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “กายภาพ” ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรีก สมัยอริสโตเติล ความเป็นตะวันตก ความเป็นอเมริกัน กระแสโลกานุวัตรเป็นเช่นนั้น นั่นคือมูลเหตุสมมติฐานอันสำคัญที่ตอบเราว่าทำไม? เราถึงได้เป็นนักวัตถุนิยม (materialist) อย่างน้อยคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นเช่นนั้น ซึ่งในสมัยก่อนแม้เพียงแค่เมื่อ 50 ปีก่อน นักวิชาการทุกคนรวมทั้งผู้เขียนเองก็เป็นเช่นนั้น
 
 
มนุษย์ที่เกิดมาในโลกนับว่าโชดดีมากทั้งทางศาสนาและวิทยาศาสตร์ ในทางวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุผลทางวิวัฒนาการ (สมัยโบราณเมื่อยังไม่มีวิทยาศาสตร์ เช่น ที่กรีซ เราใช้แต่ความคิดที่ไตร่ตรองด้วยเหตุผลเพียงอย่างเดียวมาโต้เถียงกัน เรียกว่าปรัชญาธรรมชาติที่ยุโรปถือว่าเป็นที่มาของความรู้ (knowledge) ซึ่งเป็นเรื่องของวิวัฒนาการทางชีววิทยาในตอนหลังอย่างหนึ่ง กับความเชื่อส่วนหนึ่งที่ได้จากจิตหรือภายใน (intuition) ซึ่งได้มาจากทำสมาธิที่เห็นและรู้เหมือนๆ กันจากผู้ที่ทำสมาธิหลายๆ คนอีกอย่างหนึ่ง ที่ว่าโชคดีเพราะวิวัฒนาการทางชีววิทยาหรือทางกายภาพจากสัตว์โลกไฟลัมต่ำต่างๆ ที่วิวัฒนาการสู่ไฟลัมสูงๆ ซึ่งเป็นภพภูมิของโลกเรา-มองเห็น แต่วิวัฒนาการทางจิตหรือภายในหรือศาสนานั้นเป็นไปตามสเปกตรัมของจิต ส่วนใหญ่เป็นในภพภูมิอื่นๆ (ปรโลก) ที่เรามองไม่เห็น
ตรงนี้สำคัญ ทางพุทธศาสนาบอกว่าสัตว์โลกรวมทั้งมนุษย์ที่เกิดในโลกสามมิติ (บวกหนึ่ง) ภพภูมินี้ - ตามปกติธรรมดาทั้งหมดก็ว่าได้ - ล้วนมีแต่ความทุกข์ และไม่มีความสุขทั่วพร้อมนิรันดรที่แท้จริง จะมีก็แต่ความสุขประเดี๋ยวประด๋าว เร็วหรือช้าที่ล้อมกรอบด้วยความทุกข์ทั้งสิ้น แต่เรามีทางเลือก - ไม่ว่าทางเลือกจะน้อยนิดสักเพียงไหน - นั่นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรคที่ประกอบด้วยองค์แปด นั่นคือ หนทางที่นำไปสู่ปัญญา ปัญญาที่เป็นภาวนามัยปัญญา (intuition ที่เป็นคนละ line กับ intelligence) ซึ่งได้จากการปฏิบัติสมาธิอันความสงบวิเวก นั่นคือ ความอิสรเสรีที่ได้จากการเข้าหาป่า และอยู่กับป่า อยู่กับธรรมชาติที่ผู้เขียนบอกว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี อย่าลืมว่าธรรมชาตินั้นมีอยู่สองระดับดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ หยาบกับละเอียด หรือดินกับฟ้า หรือสวรรค์ หรือเทพเทวาไปจนถึงพระเจ้า (spirits and Spirit) และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ลืมเรื่องจิตและจิตวิญญาณไปเลย ถึงได้บอกว่า นักวัตถุนิยมจะรู้จักความสุขได้ก็รู้แต่กายภาพเท่านั้น โดยไม่มีทางรู้จักความสุขที่ทั่วพร้อมนิรันดรและเทพเทวาพระเจ้าที่พูดถึงทั้งขอประทานพรก็ดูเหมือนจะไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ในทางความสุข-ความอิสระในทางกายภาพอย่างไร?
 
http://www.thaipost.net/sunday/110710/24692 (http://www.thaipost.net/sunday/110710/24692)