[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ อนามัย => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 25 สิงหาคม 2553 14:45:26



หัวข้อ: กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acids )
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 25 สิงหาคม 2553 14:45:26

                             (http://guru.sanook.com/picfront/pedia/252629__07062009083402.jpg)


**กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acids )


ไขมัน เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตก็ว่าได้ เซลล์ของเราทุกเซลล์มี ไขมัน เป็นโครงสร้าง เยื่อหุ้มเซลล์ก็คือ ไขมัน 2 ชึ้นที่มาประกบกันอยู่ ถ้าขาดไขมันเสียเซลล์ก็จะไม่เป็นเซลล์ เมื่อไม่มีเซลล์ก็ไม่มีตัวเรา พูดให้ง่ายก็คือ ไม่มีไขมันก็ไม่มีชีวิตปราศจากโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่สุดของชีวิต  

ไขมัน เป็นกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูง ไขมันปริมาณเท่ากับคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน จะให้พลังงาน มากกว่าถึง 2 เท่า อาหารประเภทแป่ง น้ำตาล และโปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี่ แต่ไขมัน 1 กรัมให้พลังงานถึง 9 แคลอรี่ การดำเนินชีวิตประจำวันย่อมต้องการพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การเขียนหนังสือ การกระโดดโลดเต้น การขับรถ การช็อปปิ๊ง ร่างกายล้วนต้องการพลังงาน

ไขมัน ช่วยในการดูดซึมสารอาหารจำเป็นเช่นวิตามินที่ละลายใน ไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค นอกจากนี้ ไขมัน ทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในของเราจากการกระทบกระแทก เช่น ตับ ไต หัวใจ ล้วนต้องการไขมันหุ้มเอาไว้ไม่ให้เป็นอันตรายจากการเคลื่อนไหวของตัวเรา ไขมันยังเป็นวัตถุดิบในการสร้างฮอร์โมนสำคัญ ๆ ในร่างกาย

กรดไขมันอิ่มตัว

กรด ไขมันอิ่มตัว คือ ไขมันที่เป็นไขมันเต็มตัว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และอ๊อกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดย สมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ ในร่างกาย พบมากในพวกไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย และไข่แดง

กรดไขมันไม่อิ่มตัว

กรด ไขมันไม่อิ่มตัว ก็คือ ไขมัน ที่ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และอ๊อกซิเจน จับกันยังไม่สมบูรณ์ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่ เหลืออยู่ และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่น ๆ ได้ พบมากในน้ำมัปลาซัลมอนด์ น้ำมันเมล็ดพันธ์บอเรจ น้ำมัน อิฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลี


                                   (http://guru.sanook.com/picfront/pedia/252629_2_07062009083402.jpg)


กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acids )

ถ้า พูดถึง กรดไขมันจำเป็น แปลว่าเป็น กรดไขมัน ที่ร่างกายสร้างขึ้นใช้เองไม่ได้ต้องอาศัยการกินเข้าไป นั่นคือ เราต้องกิน กรดไขมัน จำเป็นจากอาหาร เพราะมันมีความจำเป็นต่อร่างกายของเรา กรดไขมัน จำเป็นเป็นส่วนย่อยของ ไขมัน ที่ไม่อิ่มตัว ซึ่งมีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายต้องนำมาใช้เพื่อสร้างความสมดุลย์ ความแข็งแรง รวมทั้งการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ต่าง ๆ

กรด ไขมันจำเป็น พบได้ในอาหารที่เราบริโภคทุกวัน ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ กรดไขมันจำเป็น มีหลาย ชนิด แต่ที่เรามักได้ยินและคุ้นหู และเป็นที่ยอมรับของวิทยาศาสตร์ทั่วโลกว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมากคือ

- โอเมก้า 3 ( Linolenic หรือ Alpha Linoleic Acid ) น้ำมันปลา ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและอัมพาต ลดการอักเสบ ของโรคไขข้อเสื่อมรูมาตอยด์ ลดอาการปวดหัวไมเกรนและปวดประจำเดือน เพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายและลดอาการของ โรคภูมิแพ้

- โอเมก้า 6 ( Linoleic Acid ) น้ำ มันอีฟนิ่งพริมโรส ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โดยการลดการแข็งตัวของเลือดด้วย การลดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดทำให้หลอดเลือดที่หัวใจเป็นปกติ ลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ลดการขยาย ตัวของเซลล์มะเร็ง สามารถช่วยบำรุงตับและใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่ดื่มสุรา หรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ป้องกันโรคสมอง เสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ โดยลดการแข็งตัวของเยื้อหุ้มเม็ดเลือดแดง ทำให้สมองได้รับอ๊อกซิเจนมากขึ้น

- โอเมก้า 9 ( Oleic Acid ) ช่วย ลดระดับคอเรสตอรอล ในเลือด



(http://www.atofficemag.com/2009/jan/pic/pic5.jpg)

http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99_(_Essential_Fatty_Acids_) (http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99_(_Essential_Fatty_Acids_))


หัวข้อ: Re: กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acids )
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 25 สิงหาคม 2553 15:05:35


(http://www.eldercarethailand.com/images/stories/food/fatty_acid1.jpg)

"โอเมก้า 3 ใน ปลา ก็มีโทษ" 

เกี่ยวกับ เรื่องนี้ รศ.พญ.ปรียานุช แย้มวงศ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ บอกว่า น้ำมันปลาเริ่มเป็นที่สนใจมาประมาณ 30 ปี เมื่อมีข้อมูลว่าชาวเอสกิโม ที่บริโภคปลาในปริมาณสูง จะมีปัญหาเส้นเลือดอุดตันน้อย ระดับไขมันในเลือดต่ำ และการเกาะตัวของเกล็ดเลือดน้อยกว่าชาวเดนมาร์กซึ่งกิน เนื้อสัตว์มากกว่า

นอก จากนี้ ยังพบว่าชาวญี่ปุ่นในหมู่บ้านชาวประมง ที่บริโภคปลาในปริมาณมาก จะมีโรคหลอดเลือดหัวใจ การเกาะตัวของเกล็ดเลือดและความหนืดของเลือดน้อยกว่าชาวญี่ปุ่นในหมู่บ้าน เลี้ยงสัตว์

 กลุ่มกรดไขมันที่เรียกว่า โอเมก้า 3 คือ ไขมัน ไม่อิ่มตัวชนิดหนึ่ง พบมากในปลาทะเลน้ำลึก เป็นไขมันจำเป็น ต้องได้รับจากอาหารเนื่องจากร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้สารอาหารที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ อีพีเอ และ ดีเอชเอ ปลาทะเลน้ำลึก ที่ให้สารอาหารโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน และปลาทูน่า ปลาในอ่าวไทย ที่มีปริมาณโอเมก้า 3 สูง ได้แก่ ปลาทู และที่มีในปริมาณน้อย ถึงปานกลาง ได้แก่ ปลาอีกา ปลากะพง ปลาตาเดียว ส่วน ปลาน้ำจืดบางชนิด เช่น ปลาช่อน ปลานวลจันทร์ จะพอมีโอเมก้า 3 บ้าง ซึ่งมากกว่าปลาน้ำจืดอื่น ๆ  

     สำหรับความสำคัญของโอเมก้า 3 ในเด็ก กรด DHA มีความสำคัญต่อการเจริญพัฒนาสมองและดวงตาของเด็กทารก โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนก่อนคลอด การขาดของ DHA จะมีความสัมพันธ์กับโรคสมาธิสั้น โดยเด็กที่มีระดับ DHA ต่ำจะมีปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์ การนอนและการเรียนรู้มากกว่าเด็กกลุ่มที่มีระดับ DHA ปกติ และเมื่อได้รับ DHA เสริม อาการต่าง ๆ จะดีขึ้น

     ส่วนความสำคัญของโอเมก้า 3 ในผู้ใหญ่และคนสูงอายุ จะ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และเพิ่มระดับไขมันชนิดดีซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดได้ ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ยากขึ้น ช่วยลดความดันโลหิตได้เล็กน้อย ลดอุบัติการของโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันโรคความจำเสื่อม ชะลอหรือป้องกันการเจริญของเซลล์มะเร็ง  

      นอกจากโอเมก้า 3 แล้ว ปลายังเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย และในปลาทะเลยังมีไอโอดีน ซึ่งช่วยป้องกันปัญหาเรื่องคอพอก และช่วยการเจริญพัฒนาของสมองเด็กในช่วงปีแรกด้วย 

     ข้อควรระวังในการกินโอเมก้า 3 เนื่อง จากน้ำมันปลาลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้นการกินปลาในปริมาณมากต่อเนื่องกัน หรือกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา จะทำให้มีปัญหาเรื่องเลือดออกหยุดยากโดยเฉพาะหากกินร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพรินหรือโคลพิโดเกรล

หาก กินปลาทะเลมากกว่า 8 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากจะมีปัญหาเรื่องเลือดหยุดยากแล้ว ยังจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานลดลงด้วย สิ่งที่ควรระวังอีกอย่างในการบริโภคปลาทะเลปริมาณมาก คือ การปนเปื้อนโลหะหนัก โดยเฉพาะสารปรอท ดังนั้นหากบริโภคมากเกินไป จะเกิดการสะสมและเป็นพิษได้.



http://www.uradio.in.th/v2/public/user/blogs/name_nongkae_narak/page_4/ (http://www.uradio.in.th/v2/public/user/blogs/name_nongkae_narak/page_4/)


หัวข้อ: Re: กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acids )
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 25 สิงหาคม 2553 15:17:37

            (http://images.thaiza.com/26/26_20070608125519..jpg)


       น้ำมันมะกอก เพื่อสุขภาพ

     น้ำมันมะกอกซึ่งประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด (Monounsaturated Fatty Acids) และ Polyunsaturated balance วิตามินอี วิตามินเอ โปรตีน และสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) รวมถึงกลิ่นหอมของผลมะกอก และรสชาติที่อร่อย ทำให้ได้ข้อสรุปว่าน้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันที่เหมาะที่สุดสำหรับการบริโภค ไม่ว่าจะใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารรับประทานสดหรือผ่านการปรุงแล้ว ที่สำคัญน้ำมันมะกอกยังมีผลดีต่อร่างกายด้วย

องค์ประกอบของกรดไขมันที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอก

มีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated 55-83% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรดโอเลอิค แตกต่างจากในไขมันสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่า ในขณะที่ในน้ำมันพืชมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated มากถึง 50-72% (เฉพาะในน้ำมันถั่วเหลือง และในน้ำมันดอกทานตะวันเท่านั้น)

สำหรับข้อแตกต่างระหว่างกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated กับ Polyunsaturated ก็คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated จะมีความทนทานเมื่อเผชิญหน้ากับกระบวนการ Oxidative ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้น้ำมันเกิดการเหม็นหืนมากกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated โดยน้ำมันมะกอกจะช่วยลดเปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated ให้ต่ำลงอยู่ในระหว่าง 3.5 และ 22% กรดไขมันเหล่านี้มีความจำเป็นต่อร่างกายแต่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ เมื่อเราหันมาบริโภคน้ำมันมะกอกเป็นประจำ จะทำให้ได้รับกรดไขมันที่จำเป็นเพียงพอทั้งในเด็ก และในผู้ใหญ่ นอกจากนี้น้ำมันมะกอก และน้ำมันที่ได้จากกากของมะกอกยังมีโครงสร้างของกลีเซอรอลเหมือนกันด้วย ซึ่งหมายความว่าจะให้ประโยชน์แก่ร่างกายด้วยเช่นกัน และการบริโภคน้ำมันมะกอกมีผลต่อร่างกายในระบบต่าง ๆ ดังนี้

ผลต่อระบบการย่อยอาหาร

อาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันมะกอกจะมีผลดีต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยจะช่วยรักษาเยื่อบุลำไส้เพื่อป้องกันไม่ให้กระเพาะอาหารเกิดภาวะมีกรดเกลือมากผิดปกติ และยังช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กอีกด้วย ซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนยาระบายอ่อน ๆ และจะมีผลดีมากขึ้นเมื่อรับประทานในขณะที่ท้องว่าง และจะสามารถช่วยรักษาอาการท้องผูกเรื้อรังได้ด้วย

ผลต่อช่วงระยะเวลาสำคัญของชีวิต

น้ำมันมะกอกช่วยสร้างความสมดุลระหว่างกรดไขมันไม่อิ่มตัว คือ ไลโนเลอิค (Linoleic) และกรดไลโนเลนิค (Linolenic) ซึ่งกรดทั้งสองมีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำนมแม่ที่เป็นแหล่งให้กรดไขมันอย่างเพียงพอ จากคุณสมบัติดังกล่าว ถ้าเราจะบอกว่าน้ำมันมะกอกเหมาะสมเป็นพิเศษสำหรับเด็กที่ไม่สบาย และเด็กที่กำลังจะหย่านมบริโภคคงจะไม่ผิดนัก เพราะจะทำให้เด็กได้รับกรดไขมันทีเพียงพอ คล้ายกับการดื่มนมแม่ สำหรับผู้สูงอายุ ขอแนะนำให้บริโภคน้ำมันมะกอกด้วยเช่นกัน เพราะจะทำให้เจริญอาหาร เนื่องจากอาหารมีรสชาติอร่อย นอกจากนี้ยังมีผลดีต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้ระบบดูดซึมแร่ธาตุและวิตามินทำงานดีขึ้น น้ำมันมะกอกยังกระตุ้นการเก็บรักษาแร่ธาตุของกระดูก เพื่อป้องกันการสูญเสียแคลเซียมในกระดูกของผู้สูอายุได้ด้วย

ผลต่อระบบการหมุนเวียนโลหิต

อาหารที่เราทานเป็นประจำ อาจมีปริมาณของไขมันสัตว์มากจนเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับการหมุนเวียนโลหิต เช่น ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดอุดตันตามอวัยวะต่าง ๆ นอกจากนี้การใช้น้ำมันมะกอกยังเป็นการเพิ่มไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) ซึ่งช่วยในการขนถ่ายโคเลสเตอรอลจากเซลล์อื่น ๆ เข้าสู่ตับ เพื่อให้ตับเผาผลาญต่อไป ที่สำคัญช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดโคโรนารี (Coronary) ที่เกิดจากการเกาะตัวของโคเลสเตอรอลที่บริเวณเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่มีบาดแผล ส่งผลให้เลือดเดินผ่านไม่สะดวก กลายเป็นเส้นเลือดอุดตันในที่สุด



ที่มา : bangkokhealth
http://women.thaiza.com/detail_31663.html (http://women.thaiza.com/detail_31663.html)



(http://lh5.ggpht.com/_JeXs5njzcmo/SlQglFP4_aI/AAAAAAAAASw/DDv9X_I7xbs/s800/%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B3%5B2%5D.jpg)


Top food detox. 20 Types.
สุดยอดอาหารล้างพิษ 20 ชนิด


คลิ๊กค่ะ : http://www.kwexport.com/2009/07/09/food-washes-20-kind-poisons/?lang=en (http://www.kwexport.com/2009/07/09/food-washes-20-kind-poisons/?lang=en)


หัวข้อ: Re: กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acids )
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 25 สิงหาคม 2553 17:46:15
เดี๋ยวนี้ผมก้ะหันมากินน้ำผักผสมน้ำผลไม้

หลังจากทำใจให้กินผักเป็นชิ้น ๆ ยังไม่ค่อยจะได้

5555555555555