[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 02 พฤศจิกายน 2556 17:50:02



หัวข้อ: พระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ : พระธาตุเจดีย์องค์สำคัญของประเทศไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 พฤศจิกายน 2556 17:50:02
.

ชาวไทยมีความเชื่อกันว่า
คนเกิดในแต่ละปีนักษัตรมีพระธาตุประจำปีเกิดของตนเอง
หากได้ไปสักการะพระธาตุประจำปีเกิดแล้วจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
พระธาตุช่อแฮ พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่
เป็นพระธาตุประจำปีของผู้ที่เกิดปีขาล เชื่อกันว่าหากว่าผู้ที่เกิดปีขาล
นำผ้าแพรสามสีมาถวายจะทำให้ชีวิตมีพลังคุ้มครองป้องกันศัตรูได้

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13366685352391_1.JPG)
พ.ศ.๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้มวลสาร
จากพระธาตุช่อแฮนี้ สร้างพระสมเด็จจิตรลดา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73290711392958_2.JPG)
ไหว้พระธาตุแช่แฮ  จังหวัดแพร่
กล่าวกันว่า...ถ้ามาเมืองแพร่
แต่ไม่ได้มานมัสการพระธาตุช่อแฮ เสมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่

จังหวัดแพร่เป็น ๑ ใน ๑๗ จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ภูมิประเทศล้อมรอบด้วยภูเขาทั้ง ๔ ทิศ พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๘๐ เป็นภูเขา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ปลูกข้าว ข้าวโพด ยาสูบ ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง ปลูกพืชผัก ผลไม้บางชนิด (แต่ปริมาณผลผลิตของผักและผลไม้ยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่จึงจำหน่ายให้ผู้บริโภคในพื้นที่)  นอกจากนี้ ชาวแพร่ยังประกอบอาชีพทำการประมง ล่าสัตว์ และทำป่าไม้

เมืองแพร่เป็นเมืองโบราณ สร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาล แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองจารึกไว้ในที่ใดๆ โดยเฉพาะ นอกจากปรากฏในตำนานพงศาวดาร และจารึกของเมืองอื่นๆ บ้างเพียงเล็กน้อย จากการศึกษาค้นคว้าและตรวจสอบหลักฐานจากตำนานเมืองเหนือพงศาวดารโยนกและศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง   กล่าวว่าเมืองแพร่น่าจะสร้างยุคเดียวกันกับกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา และ น่าน เมืองแพร่มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ ตามตำนานเมืองเหนือเรียกว่าพลนคร หรือเมืองพล ดังปรากฏในตำนานสร้างพระธาตุลำปางหลวง ว่า “...]เบื้องหน้าแต่นั้นนานมา ยังมีพระยาสามนตราช  เสวยราชสมบัติในพลรัฐนคร  อันมีในที่ใกล้กันกับ ลัมภกัปปะนคร (ลำปาง)  ทราบว่าสรีรพระธาตุพระพุทธเจ้ามีในลัมภกัปปะนคร ก็ปรารถนาจะใคร่ได้...”

ในราว พ.ศ. ๑๔๗๐-๑๕๖๐ ขอมเรืองอำนาจในแผ่นดินสุวรรณภูมิ  พระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในแถบล้านนา  พระนางได้เปลี่ยนชื่อเมืองในแถบล้านนาเป็นภาษาขอมหรือเขมร  เช่น ลำพูนเป็นหริภุญไชย น่านเป็นนันทบุรี เมืองแพร่เป็นโกศัยนคร  หรือนครโกศัย  

ชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่า เมืองพล ต่อมาได้กลายเสียงตามหลักภาษาศาสตร์เป็น “แพร่” ชาวเมืองนิยมออกเสียงว่า “แป้”
 ที่มา: ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดแพร่

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/96930645447638_10.JPG)
วัดธาตุช่อแฮ - Wat Phathat Cho Hae



วัดพระธาตุช่อแฮ ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑๑ ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่  วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่และเป็นวัดที่ประดิษฐานองค์พระธาตุช่อแฮ  ซึ่งเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ที่บรรจุเส้นพระเกศาของพระพุทธเจ้า และถูกกำหนดให้เป็นพระธาตุ ๑ ใน ๑๒ ราศรี คือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล (เสือ)  

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดพระธาตุช่อแฮ จากวัดราษฏร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๙๖ ง วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30151746297875_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/99559995118114_5.JPG)
หลวงพ่อช่อแฮ พระประธานในพระอุโบสถวัดพระธาตุช่อแฮ  
หน้าตักกว้าง ๓.๘๐ เมตร สูง ๔.๕๐ เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐโบกปูน ลงรักปิดทอง  
ศิลปะล้านนา เชียงแสน สุโขทัย สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นหลังจากสร้างองค์พระธาตุช่อแฮแล้ว

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51907285095916_3.JPG)
คำบูชาพระธาตุ
(ให้เริ่มต้นนะโม ๓) สวดด้วยคาถาบูชาพระธาตุ ๕ จบ ดังนี้
โกเสยยะ ธะชัคคะ ปัพพะเต สัตตะมะโนรัมเม
พุทธะ เกสาธาตุ ปะติฎฐิตา อะหัง วันทามิ สัพพะทา
อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิสัพพะโส

พระธาตุช่อแฮ Phathat Cho Hae เป็นเจดีย์บรรจุพระเกศาและพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นปูชยนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของเมืองแพร่มาแต่โบราณกาล ตำนานเมืองสุโขทัยกล่าวว่า พระมหาธรรมราชาลิไทพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุแก่ขุนลัวะอ้ายก้อมให้นำไปบรรจุไว้ในฐานเจดีย์ที่สร้างให้คนทั้งหลายกราบไหว้แทนพระพุทธองค์ ฝ่ายขุนลัวะอ้ายก้อมได้ชักชวนหัวเมืองต่างๆ ได้มาร่วมกันสร้างพระเจดีย์ โดยช่วยกันสำรวจสถานที่ที่จะสร้าง

เมื่อขุนลัวะอ้ายก้อมมาถึงบริเวณดอยโกสิยธชัคคะ เห็นเป็นทำเลดีเหมาะสมจึงให้สร้างพระเจดีย์ขึ้น ขุนลัวะอ้ายก้อมเอาผอบพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในสิงห์ทองคำสร้างแท่นที่ตั้งผอบด้วยเงินและทอง แล้วตั้งสิงห์ทองคำไว้ ให้โบกปูนทับอีกชั้นหนึ่ง หลังจากนั้นก็จัดงานเฉลิมฉลอง ๗ วัน ๗ คืน  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22731635802321_6.JPG)
กรุอัฐิครูบาศรีวิชัย ในวัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
สถานที่นี้ได้บรรจุอัฐิธาตุส่วนที่ ๕ จากจำนวน ๗ ส่วนของครูบาศรีวิชัย

ต่อมาพระธาตุทรุดโทรมลง จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๖๗ ครูบาศรีวิชัย (หรือตุ๊เจ้าวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน) เป็นประธานบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุ โดยรื้อเอาทองจังโกออกแล้วเสริมสร้างองค์พระเจดีย์ให้มีขนาดกว้างและสูงขึ้น โดยกว้าง ๑๑ เมตร สูง ๓๓ เมตร โดยรอบองค์พระธาตุมีลำเวียง หรือรั้วเหล็กล้อมรอบหนาแน่น มีประตูเข้า-ออก ๔ ประตู อยู่ทิศละประตูแต่ละประตูมีซุ้มสลักลวดลายอย่างงดงาม

ลักษณะองค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบเชียงแสน สูง ๓๓ เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๑๑ เมตร  สร้างด้วยอิฐโบกปูน หุ้มด้วยแผ่นทองเหลือง ลงรักปิดทอง  ชื่อพระธาตุช่อแฮนี้ได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอมาจากแคว้นสิบสองปันนา ชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ (คำว่า "แฮ" เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า "แพร" แปลว่า ผ้าแพร)

จังหวัดแพร่กำหนดให้ตราประจำจังหวัดแพร่เป็นรูปม้ายืน และมีโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดแพร่คือ พระธาตุช่อแฮ ประดิษฐานอยู่บนหลังม้า

ตามตำนานพระธาตุช่อแฮ กล่าวว่า ระหว่างจุลศักราช ๕๘๖-๕๘๘ (พ.ศ. ๑๘๗๙ – ๑๘๘๑) พระมหาธรรมราชา (ลิไท) ได้เสด็จมาบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุช่อแฮแล้วจัดงานสักการะ ๕ วัน ๕ คืน ระหว่างวันขึ้น ๑๑ ค่ำ – ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ (เดือน ๔ ใต้ : ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม)  ณ วันนั้นเป็นจุดกำเนิดงานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ทุกพระองค์ และประชาชนทั่วไป ได้สืบทอดประเพณีนี้สืบเนื่องมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน



http://nunakuzaa.diaryclub.com/images/20081120_chorhae007.jpg (http://nunakuzaa.diaryclub.com/images/20081120_chorhae007.jpg)
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าทันใจ วัดพระธาตุช่อแฮ
เครดิตภาพ : เว็บไซต์ nunakuzaa.diaryclub.com
 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63038599739472_2.JPG)

พระเจ้าทันใจหรือหลวงพ่อทันใจ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิปูนปั้น ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๓๐ นิ้ว สูงประมาณ ๒ ศอก (กว้าง ๘๐ เซนติเมตร สูง ๑.๒๐ เซนติเมตร) เป็นพระพุทธรูปองค์ใหม่ที่สร้างขี้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ผู้สร้างคือ ชาวไทยใหญ่ (เงี้ยว) สร้างพระพุทธรูปองค์นี้แทนพระพุทธรูปองค์เดิมที่หล่อด้วยจืน (ตะกั่ว) ที่ถูกลักไป พระเจ้าทันใจหรือหลวงพ่อทันใจ (ทางเหนืออ่านว่า พระเจ้าตันใจ๋) เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้นิยมมากราบไหว้ บนบานศาลกล่าวอยู่เสมอ เชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่ใครมาขอพรแล้ว จะได้สิ่งนั้นอย่างสมประสงค์ ด้านหลังซุ้มพระเจ้าทันใจประดิษฐานอยู่ มีไม้เสี่ยงทายทำด้วยไม้รวก หรือไม้สัก มีความยาวเกิน ๑ วา คาดว่าใช้แทนไม้เซียมซี เมื่อผู้ใดต้องการเสี่ยงทายสิ่งใด ก็จะนำไม้ดังกล่าวมาทาบกับช่วงแขนที่กางเหยียดตรงไปจนสุดแขนทั้งสองข้าง ความยาวของวาอยู่ตรงจุดใดของไม้ก็จะทำเครื่องหมายไว้แล้วนำไม้มาอธิษฐานเบื้องหน้าพระเจ้าทันใจว่า สิ่งที่ตนประสงค์นั้นจะสำเร็จหรือไม่ หากสำเร็จก็ขอให้ความยาวของตนเลยจุดที่ทำเครื่องหมายไว้ออกไป เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้ว ก็นำไม้เสี่ยงทายขึ้นมาวาอีกครั้งหนึ่ง...วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/34379698294732_1.JPG)
ขันหลวง เจ้าพ่อขุนลั๊วะอ้ายก้อม วัดพระธาตุช่อแฮ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/47450284245941_7.JPG)
ลูกนิมิตโบราณ วัดพระธาตุช่อแฮ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68228514119982_8.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/67589197928706_9.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/31219912113414_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38986340992980_5.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91462807605663_3.JPG)