หัวข้อ: สมาธิแห่งพระวัชรสัตว์เพื่อชำระล้างกรรม (Vajrasattva Meditation) เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 02 เมษายน 2557 23:00:00 (http://4.bp.blogspot.com/-UWw8QyAclK4/TwF5XRUj5pI/AAAAAAAAALY/sX0aTy09em8/s1600/393664_2919577315254_1435413584_3162556_1187078980_n.jpg)
สมาธิแห่งพระวัชรสัตว์เพื่อชำระล้างกรรม (Vajrasattva Meditation for Karmic Purification) พระวัชรสัตว์(Vajrasattva) คือพระพุทธเจ้าในพุทธศาสนาแบบตันตระยานหรือวัชรยาน หรืออาจจะเรียกว่าพุทธศาสนาแบบทิเบต ถือว่าท่านคือพุทธสภาวะที่อยู่เหนือต่อกาละและเวลา ท่านเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปฐม (อาทิพุทธเจ้า) ซึ่งบริสุทธิ์สะอาด ปราศจากมลทินและบาปอกุศลทั้งปวง และเป็นธรรมชาติของพุทธะที่มีอยู่ในเหล่าสรรพสัตว์ ตั้งแต่เริ่มแรก พระวัชรสัตว์ทรงได้อธิษฐานว่าเมื่อพระองค์ตรัสรู้อย่างสมบูรณ์แล้ว ขอให้สรรพสัตว์ได้รับการชำระบาปทั้งปวง ความไม่รู้ทั้งปวง ด้วยการได้ยินนามของท่าน เห็นรูปของท่าน คิดถึงท่าน หรือภาวนามนตราที่มีพระนามของท่าน หลักการปฏิบัติสมาธิพระวัชรสัตว์ก็คือการสารภาพบาปเพื่อการชำระล้างด้วยเมตตาและแสงแห่งปัญญาญาณภายในของเราเพื่อนำจิตเข้าสู่ธรรมชาติเดิมแท้ภายในตนนั่นเอง โดยอาศัยการสร้างจินตภาพในสมาธิถึงองค์ท่าน การน้อมใจเข้าถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ และอธิษฐานโพธิจิตคือการระลึกถึงเหล่าสรรพชีวิตที่ร่วมทุกข์ให้ได้มีโอกาสได้รับการชำระล้างด้วย การทบทวนความผิดบาปในอดีตพร้อมการระลึกเสียใจ การอธิษฐานขอพลังแห่งพระวัชรสัตว์มาชำระล้างบาปนั้น การสำนึกว่าจะไม่ก้าวล่วงในบาปกรรมนั้นอีก และการอุทิศกุศลบุญที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติ พลัง 4 ประการของการปฏิบัติ 1.พลังของการมีพระรัตนตรัยและพระวัชรสัตว์เป็นที่พึ่ง 2.พลังของการสำนึกผิด 3.พลังของการชำระล้างให้บริสุทธิ์ 4.พลังของการละเว้นบาปและการอุทิศ ขั้นตอนการปฎิบัติ(สรุป) 1.ให้สร้างจิตภาพพระวัชรสัตว์ให้ชัดเจนในมโนสำนึก ตั้งแต่ฐานดอกบัวและแผ่นจานสีขาวพระจันทร์ที่ท่านประทับอยู่ เห็นท่านในท่านั่งขัดสมาธิด้วยความสงบและยิ้มยินดี กายของท่านสีขาวสว่างบริสุทธ์เรืองรองดั่งดวงอาทิตย์พันดวง และว่างเปล่าดุจสายรุ้งบนท้องฟ้า มีเครื่องทรงประดับสวยงามประดับด้วยเพชรนิลจินดา มือขวาถือวัชระทองคำที่ระดับหัวใจหมายถึงความรักเมตตา ส่วนมือซ้ายถือระฆังเงินซึ่งหมายถึงปัญญา ให้เห็นท่านลอยอยู่เหนือศีรษะ ห่างประมาณหนึ่งฟุต และหันหน้าไปทางเดียวกัน 2.จินตภาพว่าตัวเรานั่งอยู่ท่ามกลางสรรพชีวิต ในทุกภพสภาวะ คือ พรหม เทพเทวดา มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา สัตว์ทั้งหลาย รวมถึงผี เปรต อสุรกาย สัตว์นรกทั้งหมดนั้นแวดล้อมท่านอยู่ เพื่อได้ปฏิบัติชำระจิตใจร่วมกัน 3.สวดภาวนาออกเสียง ขอพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งดังนี้ “ ข้าพเจ้า ขอถือพระพุทธเจ้า พระวัชรสัตว์ พระธรรม พระอริยะสงฆ์ เป็นที่พึ่งอันสูงสุด ข้าพเจ้า จะปฏิบัติสู่ความหลุดพ้น เพื่อช่วยสรรพชีวิตให้พ้นทุกข์ทั้งปวง” 4. ทบทวนชีวิต ระลึกถึงบาป ความชั่วทั้งหลายที่เคยทำมาในชาตินี้ ในอดีตชาติ ทั้งที่ระลึกได้และยังระลึกไม่ได้ ว่าเคยเบียดเบียนตนเอง บุพการี ญาติพี่น้อง เพื่อน สรรพชีวิต ทั้งทางกาย วาจา ใจ พร้อมทั้งระลึกเสียใจในบาปกรรมนั้นจากใจจริงส่วนลึกของตน 5. สร้างความเชื่อมั่นพุทธภาวะในตนเองที่จะเป็นอิสระจากความชั่วเหล่านั้น พร้อมกับตั้งจิตปรารถนาที่จะชำระบาปกรรมนั้นให้หมดสิ้นไป เห็นพระวัชรสัตว์ทรงยิ้มและกล่าวด้วยเสียงอันอ่อนโยนว่า “ลูกรัก บาปกรรมทั้งหลายจะถูกชำระล้างจนหมดสิ้น” 6. เริ่มการชำระล้างด้วยการอธิษฐานถึงพลังแห่งพระวัชรสัตว์ ให้ช่วยชำระบาปกรรมทั้งหมดในอดีตทั้งของข้าพเจ้าและสรรพชีวิตทั้งหลาย 7. สวด มนตราพระวัชรสัตว์หนึ่งร้อยคำ 21 จบ โดยแบ่งเป็นทีละ 7 จบ 7 จบแรกให้ชำระล้างกาย ท่องออกเสียง1 จบ ท่องในใจ 6 จบ 7 จบที่สองชำระล้างวาจา ท่องออกเสียง1 จบ ท่องในใจ 6 จบ 7 จบที่สามชำระล้างใจ ท่องออกเสียง1 จบ ท่องในใจ 6 จบ 8. ท่องมนตราย่อ คือ โอม เบนซา ซาโต ฮุง ไปเรื่อยๆ พร้อมทั้งจินตภาพให้ทุกสิ่งในพุทธภูมนี้ิ ทุกชีวิตในจักรวาล หลอมสภาพเป็นแสงพุ่งเข้าสู่ตัวเราที่เป็นพระวัชรสัตว์ 9. เมื่อค่อยๆออกจากสมาธิความว่างอันเจิดจรัส ให้รับรู้ มอง ทุกสิ่งเป็นพุทธภูมิ ไม่ว่าจะเป็นความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ล้วนเป็นพุทธสภาวะ เสียงทั้งหลายคือมนตรา ผู้คนทั้งหลายคือพุทธะ จากใจภายในที่สะอาดผ่องใส แล้วนั่นเอง 10. อธิษฐานบุญกุศลที่ได้กระทำการชำระจิตนี้ อธิษฐานจิตอย่างแน่วแน่และมั่นคงว่าจะไม่กระทำความชั่วเช่นที่ผ่านมาอีก หากเป็นนิสัยที่ติดตัวมานานก็ให้ตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะไม่กระทำในช่วง 7 วัน 14 วัน หรือ 1 เดือน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถละได้สำเร็จ “ ขออุทิศบูชาแด่ พระพุทธ พระวัชรสัตว์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ ต่อบิดามารดา สามีภรรยาลูกหลาน ญาติทั้งปวง สรรพชีวิตทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู ทั้งที่อยู่ใกล้และอยู่ไกล ที่ยังจมอยู่ในความทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ ที่มีสุขก็ขอให้พบสุขละเอียดขึ้นและได้พบธรรมปฏิบัติธรรมจนพ้นทุกข์ด้วยกันทั้งหมด เทอญ " จาก http://www.anamcarathai.com/2012/01/vajrasattva-meditation-for-karmic.html (http://www.anamcarathai.com/2012/01/vajrasattva-meditation-for-karmic.html) |