[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ => ข้อความที่เริ่มโดย: ใบบุญ ที่ 14 พฤษภาคม 2557 18:40:51



หัวข้อ: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 14 พฤษภาคม 2557 18:40:51
.

(http://www.krusiam.com/shop/chodroiet/product/image/P0074200-PIC2.jpg)
เครื่องรางของขลัง

การใช้เครื่องรางของขลัง แฝงอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยในสังคมดั้งเดิม ที่ยังหวาดกลัวภัยธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ โจรผู้ร้าย ศัตรู และศึกสงคราม

ราศี บุรุษรัตนพันธุ์ เขียนไว้ นานานุกรมขนบประเพณีไทย หมวดประเพณีราษฎร์ เล่ม 3 (คติความเชื่อ กรมศิลปากรพิมพ์ พ.ศ.2552) ว่า การคิดสร้างเครื่องรางของขลัง เกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ ป้องกันตัวเอง สร้างเสริม หรืออำนวยประโยชน์ ในอาชีพการงาน

ผู้ออกรบ จะพกพาพระเครื่อง และสวมเสื้อยันต์เพื่อป้องกันอันตราย

ผู้ทำอาชีพเกษตรกรรม ทำนา จะหาวัวธนู ควายธนู เพื่อป้องกันอาเพศไม่ให้มาสู่ไร่นาพืชผลของตนเอง  

นักแสดง จะสรรหาสาลิกาลิ้นทองมาพกขณะทำงาน เพื่อให้ผู้คนรักใคร่เมตตาปรานี

เครื่องรางของขลังเหล่านี้ ถูกส่งต่อให้คนในสังคมเดียวกัน ครูอาจารย์มอบให้ศิษย์ พ่อแม่มอบให้ลูกหลาน

ผู้ใดมีความรู้ความสามารถสร้างเครื่องรางของขลัง จะต้องเป็นผู้มีความสำคัญ มีวัตรปฏิบัติดีงาม เป็นที่ยอมรับในสังคม

วัตถุที่นิยมนำมาใช้สร้างเครื่องรางของขลัง มักเป็นวัตถุหายากและสิ่งของผิดธรรมชาติ เช่น เขี้ยวสัตว์ เขี้ยวหมูตัน หอยเบี้ย กระดูกช้าง สะเก็ดดาว เขาสัตว์บางประเภท แร่เหล็กไหล ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ เชื่อกันว่ามีคุณพิเศษในตัวเอง จะเข้าพิธีปลุกเสกหรือไม่ก็ใช้ได้

เครื่องรางที่ตั้งใจประดิษฐ์ต้องมีการปลุกเสกลงคาถาอาคม เพื่อความศักดิ์สิทธิ์เช่น ผ้ายันต์ ตะกรุด ปลัดขิก มีดหมอ วัวธนู ควายธนู สาลิกาลิ้นทอง รวมถึงพระเครื่อง  เหรียญพระ

ในทางพุทธศาสนา มีการกล่าวถึงพระพุทธคุณและการบูชาพระพุทธเจ้า อาจเป็นเครื่องป้องกันอันตราย บรรเทาความหวาดกลัว และการปองร้ายของภูตผี มีความเชื่อว่าพระพุทธรูป พระพิมพ์ที่สร้างเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงการสร้างระบบเลขยันต์ มนตรา คาถาอาคม ซึ่งนิยมในพุทธศาสนาลัทธิตันตระ

ประเภทเครื่องรางของขลัง...มีตั้งแต่คัมภีร์พระปถมัง คัมภีร์นี้ถือเป็นปฐมบทเรื่องเวทมนตร์ ที่คนศึกษาต้องเริ่มเรียนรู้ ถือกันว่าเป็นคัมภีร์ที่บรรจุพระคาถาพุทธบริสุทธิ์ที่มีอานุภาพสูงสุด

ธงชัยเฉลิมพล ใช้ในการนำทัพ เป็นธงที่จะประจุอาคมอาถรรพณ์ไว้จำนวนมาก เพื่อให้กองทัพมีอำนาจเหนือคู่ต่อสู้ พระชัยหลังช้าง คือพระพุทธรูปที่จะอัญเชิญไปออกศึก โดยจะประทับอยู่บนหลังช้าง เชื่อว่าจะทำให้ชนะศึก

พระเครื่อง หรือพระพิมพ์ ที่จัดเป็นเครื่องราง ตัวอย่าง พระลีลาเม็ดขนุน พระพิมพ์นี้สร้างในสมัยสุโขทัย พระโคนสมอ พระเครื่องที่สร้างในสมัยอยุธยา พบในกรุตามวัดโบราณ เป็นพระที่เชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์พลานุภาพด้านคงกระพันชาตรี

เรื่องที่ร่ำลือกันมาก คือเรื่อง พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ นำพระแสงปืนยิงใส่พระโคนสมอ แต่เกิดเรื่องอภินิหาร ยิงไม่เข้า

มีดหมอเทพศาสตราวุธ นิยมกันมากในสมัยอยุธยา ใช้ถอนอาถรรพณ์ป้องกันภูตผีปีศาจ

เสื้อยันต์ ใช้ทางด้านคงกระพัน แคล้วคลาด เช่น เสื้อยันต์ที่ลงด้วยคาถา นะโมพุทธายะ ไตรสรณคมน์ และหัวใจคาถามหาอุด หรือลงด้วยพระนวโลกุตรธรรม คาถาพระเจ้าห้ามอาวุธ

ผ้าซิ่นแม่ เป็นเครื่องรางที่ทหารไทย นำติดตัวไปรบ ผ้าซิ่นแม่คือชายผ้าถุงของแม่ ผืนที่คลอดครั้งแรก ที่ลูกชายจะนำไปใส่ไว้ในหมวก

หำยนต์ คือยันต์ที่ติดไว้บนบานประตู ป้องกันคุณไสย เพราะเชื่อกันว่า ขณะนอนหลับ มนต์ถาคาจะเสื่อมลง

เขี้ยวเสือโปร่งฟ้า เป็นเขี้ยวเสือกลวง (ปกติเขี้ยวเสือจะตัน) เพชรตาแมว เป็นดวงตาแมวที่ตาย หรือยังมีชีวิตอยู่ ลักษณะกลายเป็นหิน งากำจัด งากำจาย เป็นงาช้างที่ชนต้นไม้หักคาทิ้งไว้ เป็นสิ่งที่พบได้ยาก คด วัสดุธรรมชาติที่กลายเป็นหิน เช่น เม็ดมะขาม เม็ดขนุน  เครื่องรางเหล่านี้ ใครมีติดตัวจะมีพลานุภาพด้านมหาอำนาจ ป้องกันภัย อันตราย ภูตผีปีศาจ

ในอดีต เครื่องรางของขลังถือเป็นของมีค่าทางจิตใจ บุคคลที่มีอยู่ในครอบครองจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับ มีความประพฤติดี และจะมีได้เมื่อถึงโอกาสอันควร

แต่ปัจจุบัน เครื่องรางของขลังมีขายเกลื่อนกลาด ทำง่าย ซื้อง่าย คุณค่าจึงวิปลาสคลาดเคลื่อนไปจากแนวทางของบรรพบุรุษไป จนไม่อาจเทียบกันได้เลย.


..www.thairath.co.t



หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 03 กันยายน 2559 18:30:13
(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQJf47TVKBCSOxUxpGTaYBSbjkiZMOZDHnFlOlRrod5kjGcQTZxFw)

เครื่องรางของขลัง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สำหรับท่านที่นิยมพระเครื่องโดยส่วนใหญ่ประมาณ 70% จะชื่นชอบเครื่องรางของขลังด้วย และมีเครื่องรางของขลังเก็บไว้บ้างไม่มากก็น้อย เกี่ยวกับเครื่องรางของขลังนั้น มีการสร้างมาช้านานแล้ว น่าจะก่อนการสร้างพระเครื่องเสียอีก พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ส่วนใหญ่ท่านจะสร้างเครื่องรางของขลังมาก่อนสร้างพระเครื่องแทบทั้งนั้น บางท่านอาจสร้างตะกรุด ผ้ายันต์หรือเครื่องรางอื่นๆ มาก่อน

เครื่องรางของขลังนั้น พระเกจิอาจารย์ท่านจะสร้างโดยมีอุปเท่ห์การใช้เฉพาะทาง เช่น ทางด้านมหาอุด อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด หรือเมตตามหานิยม ทางด้านค้าขาย ทางด้านแก้กัน ทางด้านคุ้มครองป้องกันภัยต่างๆ ในสมัยโบราณนั้นกรรมวิธีการสร้างมักจะสร้างด้วยการลงจารทีละชิ้นทีละอันตามที่มีลูกศิษย์หรือมีผู้มาขอ และปลุกเสกให้เข้มขลังตามตำรับที่ท่านเล่าเรียนมา

คนไทยในสมัยก่อนมักมีเครื่องรางของขลังพกติดตัวแทบทุกคน ส่วนใหญ่ที่เห็นก็เป็นจำพวกตะกรุด แต่เครื่องรางของขลังของไทยนั้นจะมีหลายอย่างเช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ลูกอม เครื่องรางรูปตัวสัตว์ต่างๆ ปลัดขิก เบี้ยแก้ ฯลฯ ในบรรดาเครื่องรางของขลังนั้นก็สร้างด้วยวัตถุต่างๆ กัน เช่น ตะกรุดก็มีสร้างทั้งเนื้อตะกั่ว เนื้อทองแดง เนื้อเงิน และเนื้อทองคำ เครื่องรางรูปตัวสัตว์ก็มีสร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น แกะจากไม้ ครั่ง เขี้ยว งา กะลา เขา เป็นต้น ส่วนเบี้ยแก้ก็สร้างมาจากเปลือกหอยบรรจุด้วยปรอท อุดด้วยชันโรง

เครื่องรางรุ่นเก่าๆ ที่มีชื่อเสียงและนิยมกันมากก็มีอยู่หลายเกจิอาจารย์ เช่น ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกรุดหลวงพ่อกุน วัดพระนอน ตะกรุดหลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ตะกรุดหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตะกรุดหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ตะกรุดหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ตะกรุดหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ฯลฯ เครื่องรางรูปสัตว์ก็ เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย หนุมานหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน ลิงหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว สิงห์หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ คชสิงห์หลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน วัวหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ฯลฯ ส่วนเบี้ยแก้ก็ เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เบี้ยแก้หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน เบี้ยแก้หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ เบี้ยแก้หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่ ฯลฯ ปลัดขิกก็ต้อง หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เป็นต้น เครื่องรางเหล่านี้ล้วนเป็นของรุ่นเก่าหายากและมีสนนราคาสูงมาก

การพิจารณาเครื่องรางรุ่นเก่าว่าแท้หรือไม่นั้นยากมาก เนื่องจากกรรมวิธีการสร้างนั้น ทำด้วยมือไม่ได้ใช้เครื่องจักร ตะกรุดก็จารด้วยลายมือ เครื่องรางแกะก็แกะทีละอัน ซึ่งจะไม่ เหมือนกันเป๊ะทุกอัน แต่ก็จะมีเอกลักษณ์ของช่างผู้แกะ การลงเหล็กจารด้วยลายมือของพระเกจิอาจารย์รูปนั้นๆ การลงรักถักเชือกลวดลายของการถักก็จะมีเอกลักษณ์ของแต่ละอาจารย์ การศึกษาก็ค่อนข้างยาก ต้องเคยเห็นและจดจำได้ในแต่ละอาจารย์ จึงจำเป็นที่ต้องเห็นมามากๆ ใช้ความชำนาญเฉพาะตัว ต้องดูรักเก่าเป็น ดูเชือกเก่าเป็น เพราะส่วนใหญ่ก็จะมีการลงรักถักเชือกด้วย พิจารณาความเก่าตามอายุกาลและวิเคราะห์ได้

ในปัจจุบันเครื่องรางของขลังเก่าๆ ของเกจิอาจารย์ดังๆ มีสนนราคาสูง จึงมีการปลอมแปลงกันเยอะมาก และมีการยักย้ายวัดกันก็เยอะ

     ชมรมพระเครื่อง
     แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 03 กันยายน 2559 18:37:06


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/14337573697169_view_resizing_images_1_.jpg)
ปลัดขิก ของหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน คนไทยเรานอกจากจะนิยมพระเครื่องฯ แล้วยังนิยมเครื่องรางของขลัง ซึ่งเรื่องความเชื่อในเครื่องรางของขลังนั้นมีมานานแล้ว และสมัยโบราณก็มักจะนิยมห้อยเครื่องรางของขลังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของทนสิทธิ์ที่เกิดจากธรรมชาติ หรือเครื่องรางของขลังที่สร้างโดยพระเกจิอาจารย์ที่เคารพนับถือก็ตาม เครื่องรางชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ปลัดขิก" ก็เป็นที่นิยม ในสมัยก่อนก็มีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่หลายรูป เช่น หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อโศก วัดปากคลองบางครก เป็นต้น

ในย่านแม่น้ำบางปะกงชาวแปดริ้ว ในสมัยก่อนมักเสาะหาปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือห้อยเอวกัน โดยเฉพาะชาวสาวชะโงก โลงเล่า 10 ศอก แหลมบน จุกเฌอ บ้านหมู่ ต่างโจษจันกันทั่ว

พระครูนันทธีราจารย์ (หลวงพ่อเหลือ) เกิดที่ตำบลบางเล่า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อปี พ.ศ.2406 โยมบิดาคือแขวงรุ่ง กำนันตำบลบางเล่า ในเยาว์วัยศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านที่วัดสาวชะโงก และติดตามบิดามารดาไปวัดอยู่เสมอ หลวงพ่อเป็นคนขยันขันแข็งช่วยงานบ้านทำสวนและอื่นๆ จนเป็นที่รักใคร่ของครอบครัว พออายุได้ 22 ปี ก็ได้ขอบิดามารดาอุปสมบท และได้อุปสมบทที่วัดสาวชะโงก ซึ่งเป็นวัดที่โยมบิดาของท่านเคารพนับถือหลวงพ่อขริกอยู่ โดยมีหลวงพ่อคง วัดใหม่บางคล้า เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อขริกเป็นพระ กรรมวาจาจารย์ เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาที่วัดสาวชะโงก และศึกษาพระธรรมวินัย พระปริยัติธรรม นอกจากนี้หลวงพ่อเหลือยังสนใจศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมต่างๆ จากหลวงพ่อขริก ซึ่งหลวงพ่อขริกก็มีชื่อเสียงโด่งดังในหลายด้าน และวิชาแพทย์แผนโบราณด้วย มีชาวบ้านมาให้รักษากันอยู่ตลอด

หลวงพ่อเหลือได้ศึกษาจนเชี่ยวชาญ และช่วยหลวงพ่อขริกในกาลต่อมา เมื่อหลวงพ่อขริกชราภาพมากๆ ก็ให้หลวงพ่อเหลือช่วยเหลือชาวบ้านแทนรวมทั้งสร้างเครื่องราง ของขลังต่อจากหลวงพ่อขริก เมื่อหลวงพ่อขริกมรณภาพหลวงพ่อเหลือก็ได้รับนิมนต์ให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน นอกจากศึกษาวิทยาคมจากหลวงพ่อขริกแล้ว ยังได้ธุดงค์ไปศึกษาจากหลวงปู่จีน วัดท่าลาด หลวงพ่อดำ วัดกุดศรีธรรม ซึ่งเก่งกล้าทางด้านมหาอุดคงกระพันและแคล้วคลาด หลวงพ่อเหลือออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้พบกับหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน หลวงพ่อนก วัดสังกะสี ก็ได้ศึกษาวิทยาคมจากทั้งสองท่านนี้ด้วย

หลวงพ่อเหลือนอกจากปลัดขิกที่โด่งดังแล้ว เครื่องรางของท่านที่มีชื่อเสียงในสมัยสงครามโลกก็ยังมีเสื้อยันต์ ผ้าประเจียด ปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือส่วนมากจะทำจากไม้แก่นคูน ซึ่งอยู่ภายในวัด มีลูกศิษย์คือนายจวง นายเล็ก นายตี๋ นายเจียม เป็นผู้ทำตัวปลัดขิก โดยมีคนมาขอปลัดขิกจากหลวงพ่อมากท่านก็จะให้ไปหาบุคคลเหล่านี้ให้แกะปลัดขิกให้ แล้วจึงนำมาให้หลวงพ่อเหลือจารและปลุกเสกให้อีกครั้งหนึ่ง เราจะเห็นได้ว่าปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือมีหลายแบบหลายช่างแกะ

ปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือนั้น เด่นทางด้านเมตตามหานิยมคงกระพัน และแคล้วคลาด แล้วแต่ผู้ใช้จะอาราธนาขอพวกแม่ค้าแม่ขายก็มักจะนำไว้ที่ร้านเพื่อให้ขายของดี พวกเจ้าชู้ก็อาราธนาให้สาวๆ ชมชอบ พวกนักเลงก็เอาทางแคล้วคลาด อยู่คง เป็นต้น เรียกว่าดีครบเครื่องเลยทีเดียวครับ และอุปเท่ห์ในการใช้ต่างๆ กัน ว่ากันว่าเคยมีผู้ทดลองโดยอาราธนาแล้วเอาปลัดขิกไปลอยในแม่น้ำบางปะกง ปรากฏว่าปลัดขิกวิ่งทวนกระแสน้ำได้อย่างน่าอัศจรรย์ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้รับประสบการณ์จากปลัดขิกของท่านอีกมากมาย จึงโด่งดังมากในสมัยก่อน มีคนเข้ามาขอปลัดขิกกันทุกวัน

หลวงพ่อเหลือท่านมีเมตตามาก ช่วยเหลือผู้คนที่ได้รับความเดือดร้อน และมาขอเครื่องรางของขลังจากท่านเสมอมา จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ.2490 หลวงพ่อเหลือก็มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 84 ปี พรรษาที่ 62

ในวันนี้ผมได้นำรูปปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ

     ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์




หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 03 กันยายน 2559 19:09:26

กุมารทอง

โปรดใช้วิจารณญาณ เพราะนี่เป็นเรื่องรู้ไว้ใช่ว่าล้วนๆ มิได้ชวนเชื่อ ชวนเช่าแต่อย่างใด

กุมารทอง เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ของไทยเกี่ยวกับจิตวิญญาณและเครื่องรางของขลัง ที่มาของกุมารทองมาจากการเลี้ยงภูตผีปีศาจไว้ใช้งาน เชื่อกันว่ามีวิญญาณของเด็กผู้ชายสิงสถิตอยู่ และสามารถแสดงตัวให้คนในบ้านเห็น หรือดูแลบ้านในยามที่เจ้าของบ้านไม่อยู่

กุมารทองนั้นแรกเริ่มเดิมทีมาจากวิญญาณของเด็กที่ตายในท้องแม่ หรือที่เรียกว่าตายทั้งกลม ผู้มีวิชาอาคมจะไปนำพาวิญญาณเด็กนั้นมาเลี้ยงไว้เป็นลูก จากหลักฐานที่พบในเอกสารโบราณระบุถึงการทำกุมารทองสรุปว่า ต้องหาศพที่ตายทั้งกลม แล้วประกอบพิธีกรรมผ่าเอาศพทารกในท้องนั้นมาย่างไฟให้แห้งสนิทก่อนรุ่งอรุณ แล้วจึงลงรักปิดทองให้ทั่ว จึงเรียกว่า กุมารทอง ต่อมาสภาพสังคมและวัฒนธรรมพัฒนาไปมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถสร้างกุมารทองจากศพทารกจริงๆ ได้ กรรมวิธีการสร้างจึงดัดแปลงโดยใช้ดินเจ็ดป่าช้าบ้าง ไม้รักซ้อนหรือไม้มะยมบ้าง ไปจนถึงโลหะ มาสร้างเป็นรูปกุมาร แล้วปลุกเสกตั้งจิต ตั้งธาตุทั้ง 4 และเรียกอาการสามสิบสองให้บังเกิดเป็นจิตวิญญาณของเด็กขึ้นมา

กุมารทองนิยมสร้างเป็นรูปเด็ก ลักษณะเป็นเด็กไว้จุก นุ่งโจงกระเบนอย่างโบราณ กลายเป็นเครื่องรางของขลัง เชื่อกันว่าเสมือนมีวิญญาณเด็กอยู่ในรูปกุมารนั้น ผู้บูชาต้องเลี้ยงดูเหมือนลูกของตน ต้องให้ข้าวน้ำเซ่นสรวงและต้องเรียกให้กินข้าวด้วย ผู้เชื่อถือกล่าวว่า หากปฏิบัติดูแลดีกุมารทองจะช่วยค้ำคูน อาทิ คุ้มครองป้องกันเจ้าของและครอบครัวจากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย ให้ทำมาค้าขึ้น ไปจนถึงเตือนภัยล่วงหน้า และจะคอยติดตามเฝ้าระวังบ้านเรือนจากโจรผู้ร้ายและศัตรูไม่ให้มากล้ำกราย ปัจจุบันผู้บูชานิยมไหว้ด้วยน้ำแดง

กุมารทองที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดคือตำนานกำเนิดกุมารทองในวรรณคดีขุนช้างขุนแผน ตอนที่ขุนแผนจับได้ว่านางบัวคลี่ผู้เป็นเมียคิดวางยาพิษเพื่อจะฆ่าตน จึงลงมือฆ่านางบัวคลี่เสียก่อน แล้วผ่าท้องของนางเพื่อเอาบุตรชายภายในท้องมาทำพิธีย่างศพเด็กและปิดทองคำเปลวจนกระทั่งกลายเป็นผีกุมารทอง แล้วใส่ห่อผ้าไว้ กุมารทองนั้นสำคัญกับขุนแผนมาก เพราะก็เป็นบุตรคนหนึ่งเช่นเดียวกัน และกุมารทองถูกจัดให้เป็นของวิเศษอย่างหนึ่ง สันนิษฐานว่าได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยขุนแผนซึ่งอยู่ในยุคกรุงศรีอยุธยา แต่การสร้างกุมารทองไม่สามารถทำแบบขุนแผนได้ เนื่องจากผิดทั้งกฎหมายและศีลธรรม

ตำรากุมารทอง เป็นไสยศาสตร์ในยุคที่เรียกว่ากรรมฐานนิพพานสูตร มีอยู่ในสมุดข่อยสมัยกรุงศรีอยุธยา แบ่งกุมารทองเป็น 2 ประเภท คือ

1.กุมารทองทำร้าย มีฤทธิ์ทางทำร้ายศัตรู มีความดุร้ายอยู่มาก แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ
     1.เพชรมั่น
     2.เพชรดับ
     3.เพชรคง และ
     4.เพชรสูญ รวมเรียกว่า เพชรภูติงาน หรือ เพชรปราบ ซึ่งแต่ละชนิดมีวิธีทำร้ายศัตรูต่างกัน เพชรสูญมีฤทธิ์ทำให้เป็นบ้า เพชรคงและเพชรมั่นดีจัดการคนที่มาบุกรุกบ้าน โดยเพชรคงมีอำนาจไล่ตามศัตรูได้ ขณะที่เพชรมั่นอยู่แต่ภายในอาณาเขตบ้านเท่านั้น ส่วนเพชรดับสามารถหักคอศัตรูอย่างรวดเร็วฉับพลัน มีไว้สำหรับปลิดชีวิตโดยเฉพาะ

2.กุมารทองใช้งาน หรือกุมารทองเมตตามหานิยม ไม่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ โดยทั่วไปผู้บูชาจะตั้งชื่อเอง เลือกเอาชื่อที่เป็นมงคลเรียกทรัพย์ต่างๆ กุมารทองชนิดนี้จะไม่ดุร้าย ไม่มีอันตรายเหมือนอย่าง 4 เพชรดังกล่าว



(http://p3.isanook.com/ho/0/ud/0/2257/b_02749_002.jpg)
กุมารทอง เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ของไทยเกี่ยวกับจิตวิญญาณ
ที่มาของกุมารทองมาจากการเลี้ยงภูติผีปีศาจไว้ใช้งาน
โดยกุมารทองจะเป็นวิญญาณของเด็กผู้ชาย
หากเป็นวิญญาณผู้หญิงที่คนเลี้ยงไว้จะเรียกว่า "โหงพราย"

กุมารทองนั้นแรกเริ่มเดิมทีมาจากวิญญาณของเด็กที่ตายในท้องแม่หรือที่ เรียกว่าตายทั้งกลม ผู้มีวิชาอาคมจะไปนำพาวิญญาณเด็กนั้นมาเลี้ยงไว้เป็นลูก จากหลักฐานที่พบในเอกสารโบราณระบุถึงการทำกุมารทองสรุปว่า ต้องหาศพที่ตายทั้งกลม แล้วประกอบพิธีกรรมผ่าเอาศพทารกในท้องนั้นมาย่างไฟให้แห้งสนิทก่อนรุ่งอรุณ แล้วจึงลงรักปิดทองให้ทั่ว ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่ากุมารทอง ต่อมาสภาพสังคมและวัฒนธรรมพัฒนาไปมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถสร้างกุมารทองจากศพทารกจริง ๆ ได้ จึงได้มีการดัดแปลงกรรมวิธีการสร้างกุมารทองขึ้น

โดยใช้ดินเจ็ดป่าช้าบ้าง ไม้รักซ้อนหรือไม้มะยมบ้าง ไปจนถึงโลหะ มาสร้างเป็นรูปกุมาร แล้วปลุกเสกตั้งจิต ตั้งธาตุทั้ง 4 และเรียกอาการสามสิบสองให้บังเกิดเป็นจิตวิญญาณของเด็กขึ้นมา กุมารทองปัจจุบันนิยมสร้างเป็นรูปเด็ก ลักษณะเป็นเด็กไว้จุก นุ่งโจงกระเบนอย่างโบราณ กลายเป็นเครื่องรางของขลัง เชื่อกันว่าเสมือนมีวิญญาณเด็กอยู่ในรูปกุมารนั้น ผู้บูชาต้องเลี้ยงดูเหมือนลูกของตน ต้องให้ข้าวน้ำเซ่นสรวงและต้องเรียกให้กินข้าวด้วย

ซึ่งของที่มักจะถวายให้กุมารทอง ได้แก่ -น้ำแดง น้ำผลไม้ -กล้วยน้ำว้า ขนมหวานโบราณ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด -ผลไม้ที่มีรสหวานน่ารับประทาน -น้ำเปล่า (ห้ามขาดโดยเด็ดขาด) หากปฏิบัติดูแลดีกุมารทองก็จะช่วย ช่วยคุ้มครองป้องกันเจ้าของและครอบครัวจากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย ช่วยให้ทำมาค้าขึ้น ไปจนถึงเตือนภัยล่วงหน้าอีกด้วย และจะคอยติดตามเฝ้าระวังบ้านเรือนจากโจรผู้ร้ายและศัตรูไม่ให้มากล้ำกราย ปัจจุบันผู้บูชานิยมไหว้ด้วยน้ำแดง เรื่องราวของกุมารทองถูกกล่าวถึงใน วรรณคดีไทย เช่น ขุนช้างขุนแผน บ้างก็นับลูกกรอก เป็นกุมารทองด้วย

แต่ปัจจุบันจากข่าวที่ได้ยินกันในขณะนี้ ว่ามีการเอาเด็กมาดองเพื่อจะทำเป็นกุมารทองนั้น ถึงว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรอย่างยิ่ง แต่อาจเป็นเพราะความเชื่อของคนไทย ที่มีมานานเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้ จึงไม่สามารถห้ามไม่ให้คิดว่าเรื่องแบบนี้สามารถช่วยส่งเสริมให้พวกเค้าอยู่ดีมีสุขหรือป้องกัยอันตรายได้  แม้ไม่มีใครสามารถพิสูจณ์ได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่ของแบบนี้ก็ไม่มีใครอยากลบหลู่เช่นกัน แต่ก็ยังมีบางคนกลุ่มไม่เห็นด้วยกับเรื่องราวเหล่านี้เพราะคิดว่าเป็นเรื่องงมง่าย ของแบบนี้ไม่มีอยู่จริง จึงออกมาต่อต้านการดองเด็กเพื่อมาทำกุมารทอง อย่างไรก็ตาม ความเชื่อในเรื่องแบบนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ไม่ขอแนะให้ทำตามแต่อย่างใด อยู่ที่ตัวบุคคล จะใช่วิจารณญาณ พิจารณาเองว่าควรหรือไม่ควร ไม่เชื่ออย่าลบหลู่


horoscope.sanook.com & daily.khaosod.co.th


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 26 กันยายน 2559 16:01:12

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40162437409162_view_resizing_images_1_.jpg)

แมลงภู่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเครื่องรางของขลังประจำถิ่น ซึ่งจะพบเห็นได้ทางภาคเหนือหรือถิ่นล้านนา เครื่องรางชนิดนี้เป็นรูปแมลงภู่ ส่วนใหญ่จะทำมาจากไม้แกะ ที่เป็นงาแกะก็มีอยู่บ้างแต่พบน้อยกว่า

ผมเองได้พบเครื่องรางแมลงภู่ เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว จากเพื่อนคนหนึ่งที่ชอบเครื่องรางของขลัง พอผมเห็นก็เกิดความสงสัยและชอบศิลปะที่แกะรูปแมลงภู่ จึงสอบถามดู เขาก็ไม่รู้อะไรมากเกี่ยวกับเครื่องรางชนิดนี้ บอกเพียงว่าเห็นว่าเก่าดีจึงซื้อไว้ และเท่าที่รู้เป็นเครื่องรางของทางล้านนา ไม่ทราบประวัติความเป็นมานัก ผมจึงได้ขอแบ่งมาจากเพื่อนและเริ่มค้นหาข้อมูล

พอดีได้รู้ว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ท่านมีความรู้เรื่องราวของวัฒนธรรมและความเชื่อของล้านนา จึงได้เขียนไปถามท่านเกี่ยวกับเรื่องเครื่องรางรูปแมลงภู่ ท่านก็กรุณาเล่าให้ฟังอย่างละเอียด ถึงถิ่นกำเนิดเครื่องรางรูปแมลงภู่ วิธีการสร้างและวิธีใช้ว่าดีอย่างไร นอกจากนั้นท่านยังกรุณาเล่าเรื่องเครื่องรางของขลังชนิดอื่นอีกด้วย

แมลงภู่ หรือออกเสียงแบบทางล้านนาว่าแมงบู้ เป็นเครื่องรางที่มีขนบความเชื่อมาจากชาวไทยใหญ่ และชนกลุ่มน้อยในพม่า ต่อมาก็เข้ามาทางล้านนา แมลงภู่ส่วนใหญ่จะทำจากไม้ แต่ไม้ที่จะนำมาทำนิยมไม้ที่มาจากดุมล้อเกวียนมาแกะเป็นรูปแมลงภู่ เจาะรูที่ก้นของตัวแมลงภู่ บรรจุปรอท แล้วอุดด้วยไม้มะเขือบ้าหรือต้นลำโพง เวลาเขย่าจะมีเสียงขลุกๆ อยู่ภายในคล้ายเบี้ยแก้ บ้างก็บรรจุเข็มไว้ก็มี ที่ทำด้วยงาของเก่านั้นพบน้อย สันนิษฐานว่าคงจะเป็นของคนชั้นเจ้านาย

การสร้างแมลงภู่นั้น ผู้สร้างจะต้องเป็นผู้เรืองเวท มีทั้งที่เป็นฆราวาสและพระภิกษุ ตามคติความเชื่อใช้ในทางป้องกัน การเตือนภัย ไล่สิ่งชั่วร้าย คนที่คิดจะทำร้าย กลับใจไม่ทำร้าย ดีทางเมตตามหานิยม โชคลาภ กันโจรภัย กันภูตผีปีศาจ เป็นที่รักแก่คนและเทวดา สำหรับชาวไทยใหญ่นั้นนิยมบูชาไว้กับเรือน 4 ตัว พกติดตัวหนึ่งตัว ทำมาค้าขายก็นำไว้ที่ร้านค้าขายดี ว่ากันว่า เมื่อพกแมลงภู่ติดตัว เวลาจะมีภัย จะได้ยินเสียงหึ่งๆ เหมือนเสียงแมลงภู่บินมาเตือนภัย

ครับแมลงภู่เป็นเครื่องรางทางล้านนาแบบหนึ่งที่มีศิลปะในการแกะสวยงาม และมีความเชื่อในด้านการคุ้มครองป้องกันภัยอีกแบบหนึ่ง ปัจจุบันมีการทำแมลงภู่ใหม่ก็มี บ้างก็ทำให้ดูเก่าก็มี ดังนั้นเวลาจะเช่าหาก็ควรพิจารณาให้ดี ส่วนของที่สร้างใหม่ในเมืองไทยเราก็มีของครูบาบุญยัง วัดห้วยน้ำอุ่น จังหวัดลำพูน ที่สร้างตามขนบเดิม บรรจุปรอท ฝีมือการแกะสวย งามมาก มีทั้งที่ทำด้วยไม้ดุมล้อเกวียนและแบบงา แต่ก็สร้างไว้หลายปีแล้วเหมือนกัน

สุดท้ายขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ที่กรุณาบอกเล่า และคุณโจ๊ก ลำพูน ที่กรุณาเอื้อเฟื้อภาพแมลงภู่ มาด้วยครับ (ภาพจากหนังสือ อมตะเครื่องราง แดนล้านนา)

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89405917500456_view_resizing_images_1_.jpg)
วัวธนูของครูบานันตา วัดทุ่งม่านใต้

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งที่เราๆ ท่านๆ เคยได้ยินได้ฟังกันมานมนานแล้วก็คือ วัวธนูหรือควายธนู ซึ่งก็มีเรื่องเล่าต่างๆ กันมา ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของการป้องกันภูตผี ปีศาจและสิ่งไม่ดี เช่น พวกคุณไสย เฝ้าทรัพย์สินบ้านเรือนเรือกสวนไร่นา ยังมีเรื่องเสือสมิงที่วัวธนูออกไปต่อสู้ป้องกันเจ้าของ ซึ่งเรื่องต่างๆ ก็เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณ

วัวธนูเป็นเครื่องรางของขลังที่มีมาแต่โบราณ วิธีการทำนั้นก็แตกต่างกันไป มีทั้งที่เป็นเนื้อผงว่านยาทำจากครั่ง ทำจากไม้ไผ่สาน ทำด้วยโลหะ และทำจากเขาสัตว์ ก็แล้วแต่ตำราของแต่ละสำนัก และมี การสร้างแทบทุกภาค ทั้งทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และทางภาคใต้ แม้แต่ทางประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเช่นประเทศพม่า ลาว และเขมรก็มีการสร้างเช่นกัน เห็นได้ว่าเป็นที่นิยมสร้างกันอย่างแพร่หลาย เพื่อคุ้มครองป้องกันตัวเองและทรัพย์สิน

วัวธนูที่ในสังคมพระเครื่องรู้จักกันดีก็คือ วัวธนูของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง นครปฐม ที่ทำจากครั่ง มีโครงเป็นลวดทองแดง มีทั้งตัวใหญ่สำหรับไว้ประจำบ้าน และชนิดตัวเล็กที่สามารถนำพกติดตัวไปได้ ซึ่งปัจจุบันหายากมากและมีมูลค่าสูงมาก

ส่วนวัวธนูที่ในถิ่นล้านนาก็มีหลากหลายสำนัก แต่ที่นิยมมากที่สุดก็คือของครูบานันตา วัดทุ่งม่านใต้ จังหวัดลำปาง ท่านเป็นบุตรของโยมพ่อเฒ่าคำปา โยมมารดาชื่อแม่เฒ่าอินตา เกิดปี พ.ศ.2415 ที่บ้านทุ่งม่านใต้ ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เมื่ออายุได้ 12 ปี บิดามารดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ท่านเจ้าไชยสาร เจ้าอาวาสวัดทุ่งม่านใต้ ต่อมาเมื่ออายุได้ 13 ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ครูบาธิ วัดบ้านแคร่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พออายุได้ 21 ปี พ.ศ.2435 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีครูบาขัตติโย วัดหนองร่อง เป็นพระอุปัชฌาย์ ครูบาสิทธิวังโส วัดหนองหล่ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครูบาเจ้าพรหมสโร วัดหลิ่งก้าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายาว่า นันทาภิกขุ ต่อมาอีก 3 พรรษาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งม่านใต้ ครูบายันตาครองวัดทุ่งม่านใต้จวบจนมรณภาพเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2504 สิริอายุได้ 90 ปี พรรษาที่ 69

ครูบานันตาได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น วัวธนู และกะลาแกะราหู ส่วนวัวธนูใช้พกติดตัวเวลาเดินทางภูตผีปีศาจสัตว์ร้ายไม่กล้ากล้ำกราย อยู่กับบ้านเรือนป้องกันภัยอันตรายต่างๆ จากโจรผู้ร้ายหรือป้องกันคุณไสยต่างๆ ปัจจุบันหายากมาก ของเลียนแบบมีมากมาย เวลาจะเช่าหาควรพิจารณาให้ดีๆ หรือให้ผู้ชำนาญการตรวจสอบก่อนที่จะเช่าหา

วันนี้ผมได้นำรูปวัวธนูของครูบานันตา วัดทุ่งม่านใต้ จากหนังสืออมตะเครื่องรางแดนล้านนา มาให้ชมครับ

   ด้วยความจริงใจ
    แทน ท่าพระจันทร์




หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 13 ธันวาคม 2559 20:23:36

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/16076403607924__3586_.jpg)
เครื่องรางของขลังจากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องราง ของขลัง ขมังเวทย์

สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน ศรัทธาความเชื่อหรืองมงาย มีบางท่านเข้าใจว่าเป็นเรื่องเดียวกันแต่ความจริงนั้นแตกต่างกัน ในด้านพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง ความศรัทธาความเชื่อ เป็นเรื่องของการเคารพศรัทธาในพระเกจิอาจารย์รูปนั้นๆ ความเชื่อก็คือเชื่อตามคำบอกเล่าของปู่ย่าตายายหรือผู้หลักผู้ใหญ่ในอดีตบอกเล่ากันต่อมาที่ได้ประสบพบมา หรือได้เคยพบเห็นมา หรือจากประสบการณ์ที่ตนเองเคยได้พบหรือประสบกับตนเองมา และมักจะเป็นเรื่องที่เหนือธรรมชาติ แต่รู้ได้เฉพาะตนเอง

ความเชื่อความศรัทธาก็มีเหตุผลในการเชื่อของแต่ละบุคคล ส่วนงมงายนั้นเป็นเรื่องที่หาเหตุผลไม่ได้ แต่ก็เชื่อตามใครๆ ไปตามเขาอย่างไร้เหตุไร้ผล และเชื่อว่าการที่มีสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้วจะดี ร่ำรวย ได้โชคอย่างไร้เหตุผล แบบถูกหวยรวยเบอร์อะไรทำนองนั้น หรือมีของสิ่งนั้นๆ แล้วไม่ตายไม่เจ็บไม่จน โดยไม่ต้องทำอะไรเลย หาที่มาที่ไปไม่ได้อย่างนี้แหละที่เรียกว่างมงาย ศรัทธาความเชื่อกับงมงาย มีเส้นบางๆ คั่นอยู่ ถ้าเชื่อโดยไร้เหตุผลหรือเกินความศรัทธาไปก็เข้าขั้นงมงายครับ

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง ก็มีความศรัทธาเป็นที่ตั้งและมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องและเครื่องรางของขลังนั้นๆ และต้องปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วย ซึ่งพระเกจิอาจารย์ที่สร้างก็จะสั่งสอนให้เป็นคนดีมีศีลธรรมจึงจะใช้พระหรือเครื่องรางนั้นๆ ได้ผล

ในส่วนตัวผมเองชื่นชอบในพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง โดยเฉพาะเครื่องรางของขลังเก่าๆ ซึ่งในเรื่องของพระเครื่องผมก็เสาะหาและศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องที่ผมศรัทธาและชื่นชอบ ว่าแท้ไม่แท้ต่างกันอย่างไร ศึกษาประวัติความเป็นมาไม่ว่าจะเป็นพระกรุหรือพระเกจิอาจารย์รูปนั้นๆ ในส่วนเครื่องรางของขลังผมเองก็ชื่นชอบด้วย ซึ่งก็ศึกษาหาความรู้ถึงที่มาที่ไป

ประวัติของเครื่องรางของขลังนั้นๆ ซึ่งพอเริ่มศึกษาดูก็มีเรื่องที่น่าสนใจมาก ไม่เพียงแต่เรื่องของความศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น ยังมีความเชื่อและอุปเท่ห์การใช้ต่างๆ มากมายในการใช้ ยิ่งเป็นเครื่องรางของขลังยุคเก่าๆ ยิ่งน่าสนใจมาก วิธีการสร้างก็ซับซ้อนมหัศจรรย์มาก ฤกษ์พานาทีในการสร้าง นอกจากนี้เครื่องรางของขลังนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ ทั้งตะกรุด ลูกอม เบี้ยแก้ ผ้ายันต์ ผ้าประเจียด แหวนพิรอด หมากทุย เครื่องรางแกะรูปสัตว์ต่างๆ ตะกรุดหนังสัตว์ สีผึ้ง น้ำมันมนต์ และของทนสิทธิ์ต่างๆ เช่น เขี้ยวเสือกลวง เขี้ยวหมูตัน เขากวาง เขาเก้งหด งากำจัด งากำจาย งาช้างดำ และคดต่างๆ เป็นต้น

เครื่องรางของขลังเป็นของคู่กันกับมนุษยชาติมาช้านานตั้งแต่ยังไม่มีศาสนา โดยเฉพาะเมืองไทยเราก็มีมาช้านานเช่นกันไม่รู้ว่ามีมาแต่ครั้งใด แต่เท่าที่เป็นชาติเรามานักรบหรือทหารก็มีเครื่องรางของขลังติดตัวไปรบด้วยกันทั้งสิ้น

ส่วนใหญ่ก็มาจากพระสงฆ์หรืออาจารย์ฆราวาสเป็นผู้สร้างให้ติดตัวในยามสงบก็ใช้ติดตัวคุ้มครองป้องกันภัย ทำมาค้าขายต่างๆ ในประเทศไทยก็มีทั่วทุกภูมิภาค และในส่วนที่เป็นของเฉพาะภูมิภาคก็มี ผมลองศึกษาดูก็น่าสนใจมาก ยิ่งในส่วนของเฉพาะภูมิภาคที่เป็นของเก่าๆ นั้น ถ้าศึกษาดูก็จะเห็นไปจนถึงวัฒนธรรมและขนบความเชื่อ การเป็นอยู่ และวัฒนธรรมของพื้นถิ่นนั้นๆ ไปด้วย ยิ่งค้นคว้ายิ่งศึกษาก็ยิ่งสนุกและได้รับความรู้มากมายครับ

เครื่องรางของขลังนั้นกรรมวิธีการสร้างและใช้ต่างจากพระเครื่อง ซึ่งพระเครื่องโดยส่วนใหญ่จะปลุกเสกรวมๆ ครอบคลุมเกือบทุกด้าน อาจจะเน้นไปด้านใดด้านหนึ่งด้วยแล้วแต่ความถนัดของแต่ละอาจารย์ ส่วนเครื่องรางของขลังนั้น สร้างโดยเฉพาะเจาะจงในด้านใดด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะ ยิ่งเครื่องรางของขลังในสมัยเก่าๆ นั้น

พระเกจิอาจารย์จะสร้างด้วยตัวท่านเอง เริ่มจากการหาวัสดุที่นำมาสร้าง ลงจารอักขระเอง หาฤกษ์พานาทีในการสร้างเพื่อเจาะจงอุปเท่ห์ในการใช้ เช่น ตะกรุดสาลิกา ก็ใช้ในทางเสน่ห์เมตตามหานิยม ตะกรุดมหาลาภก็ใช้ในทางทำมาค้าขาย ตะกรุดมหาอุดก็ใช้ในทางอยู่ยงคงกระพันแคล้วคลาด ตะกรุดมหากัน ก็ใช้ในทางป้องกันและระงับเหตุ เบี้ยแก้ใช้แก้กันสิ่งชั่วร้าย คุณไสยต่างๆ เป็นต้น

ครับวันนี้คุยกันเสียยืดยาว ก็ยังไม่ไปถึงไหนเท่าไร ไว้วันพรุ่งผมแนะนำเครื่องรางของขลังบางอย่างมาคุยกันต่อนะครับ สำหรับวันนี้ผมขอนำรูปเครื่องรางของขลังจากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องราง ของขลัง ขมังเวทย์ มาให้ชมกันก่อนนะครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/31919855044947_1.jpg)
แหวนพิรอด ของหลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งที่ชาวเมืองกาญจน์เคารพนับถือมาก ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง แต่ปัจจุบันหายากทั้งสิ้น เช่น แหวนพิรอด ตะกรุด และเหรียญรูปเหมือนของท่าน ซึ่งมีราคาสูงในปัจจุบัน

พระครูสิงคิคุณธาดา (ม่วง จันทสโร) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2378 เป็นชาวอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โยมบิดาชื่อมั่น โยมมารดาชื่อใบ หลวงพ่อม่วงบวชเณรเมื่ออายุได้ 13 ปี ศึกษาเล่าเรียนอยู่กับพระอธิการศรี เจ้าอาวาสวัดบ้านทวนในสมัยนั้น อายุ 20 ปี จึงอุปสมบทที่วัดบ้านทวน โดยมีพระอธิการศรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า "จันทสโร"

ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและพุทธาคมจากพระอธิการศรีและท่านอาจารย์ช้าง ต่อมาท่านก็ได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ พอพรรษาที่ 12 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านทวน หลวงพ่อม่วงได้ดูแลอบรมสั่งสอนพระเณรในวัดและสอนวิปัสสนากรรมฐาน อบรมชาวบ้านให้อยู่ในศีลธรรม จนถึงปี พ.ศ.2419 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ชาวบ้านในแถบนั้นต่างก็มาบวชกับหลวงพ่อ บางครอบครัวหลวงพ่อม่วงบวชให้ตั้งแต่รุ่นพ่อจนถึงลูกหลานเลยก็มี

หลวงพ่อม่วงเป็นพระสมถะไม่สะสมใดๆ ใครมาขออะไร ถ้ามีท่านก็ให้ไปจนหมด ใครมานิมนต์ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลท่านก็ไปให้ทุกที่ ท่านสวดมนต์ทำวัตรลงอุโบสถไม่ได้ขาด และปฏิบัติสมถะวิปัสสนาธุระทุกวัน ชาวบ้านต่างเคารพเลื่อมใสในตัวหลวงพ่อมาก และมักมาขอวัตถุมงคลกับท่านอยู่เสมอ หลวงพ่อก็ให้ วัตถุมงคลที่มักมีคนมาขอก็คือ แหวนพิรอด และตะกรุด

แหวนพิรอดของท่านเข้มขลังมาก ท่านจะทำเองและปลุกเสกเองทั้งหมด เมื่อหลวงพ่อม่วงปลุกเสกแหวนจนได้ที่แล้ว ท่านก็จะเอาแหวนโยนเข้าไปในกองไฟ ดูว่าถ้าแหวนไม่ไหม้ไฟจึงจะใช้ได้ จากนั้นหลวงพ่อจึงมอบให้แก่ผู้ที่มาขอ ส่วนตะกรุดหลวงพ่อก็จะให้หาแผ่นโลหะมาเอง แล้วท่านก็จะจารและปลุกเสกให้ โดยหลวงพ่อจารเสร็จแล้วก็จะม้วนตะกรุดแล้วนำไปใส่ในบาตรปลุกเสกจนตะกรุดวิ่งไปมาในบาตรท่านจึงจะมอบให้ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อต่างยืนยันว่าเห็นมากับตา

นอกจากนี้ยังมีหวายคาดเอวของหลวงพ่อ ซึ่งท่านจะทำให้กับศิษย์ที่จะอยู่ประจำทิศเวลามีงานของวัดบ้านทวน ซึ่งงานวัดบ้านทวนสมัยที่หลวงพ่อยังอยู่นั้นไม่เคยมีเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งเลย

ในปี พ.ศ.2458 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ก็โปรดให้เจ้าอธิการม่วง วัดบ้านทวน เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระครูสิงคิคุณธาดา ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัด ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อม่วงได้ขออนุญาตหลวงพ่อสร้างเหรียญที่ระลึก และหลวงพ่อก็อนุญาตให้สร้างในปี พ.ศ.2463 มีเหรียญหน้าแก่ และเหรียญแบบหน้าหนุ่ม ปัจจุบันค่านิยมสูงมาก

หลวงพ่อม่วงเป็นเจ้าอาวาส วัดบ้านทวนมาจนถึงปี พ.ศ.2471 มรณภาพเมื่อ 28 สิงหาคม พ.ศ.2471 สิริอายุได้ 92 ปี พรรษาที่ 71

วัตถุมงคลของหลวงพ่อม่วงหายากมาก ไม่ว่าจะเป็นตะกรุด แหวนพิรอด หรือเหรียญ ในวันนี้ผมได้นำรูปแหวนพิรอด ของหลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน จากหนังสือตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลังขมังเวท มาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74776733087168__3585_.jpg)
เหรียญหางแมงป่อง เนื้อชินตะกั่ว และตะกรุดพอกครั่ง ของหลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญหางแมงป่องของหลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จ.พิจิตร เป็นเหรียญหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากในอดีต เป็นที่หวงแหนของชาวพิจิตรเหรียญหนึ่งเลยทีเดียว

พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ (ภู ธัมโชติ) เกิดที่อยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2398 ที่บ้านผักไห่ โยมบิดาชื่อ แฟง โยมมารดาชื่อ ขำ ต่อมาบิดามารดาได้ย้ายมาทำมาหากินอยู่ที่บ้านหาดมูลกระบือ ต.ไผ่ขวาง อ.เมือง จ.พิจิตร ได้ศึกษาหนังสือไทย-ขอมกับพระอาจารย์นิ่ม วัดหาดมูลกระบือ พออายุได้ 16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรม 1 ปี จึงสึกออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา จนกระทั่งอายุได้ 23 ปี ได้อุปสมบทที่วัดท่าฬ่อ โดยมี พระครูศีลธรารักษ์ (จัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการนิ่ม วัดหาดมูลกระบือ กับพระอาจารย์เรือน วัดท่าฬ่อ เป็นพระคู่สวด ได้ฉายาว่า "ธมฺมโชติ"

เดิมตั้งใจว่าจะบวชแค่เพียงพรรษาเดียว แต่บวชแล้วก็ตั้งใจศึกษาพระธรรม และออกรุกขมูลธุดงค์ ได้ติดตามหลวงพ่อเงิน วัดวังตะโก บางคลาน ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ฝึกจิตจนกล้าแกร่ง ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมสารพัดอย่างจากหลวงพ่อเงิน รวมทั้งพระอาจารย์อื่นๆ ที่พบกันกลางป่า นอกจากนี้ท่านยังมีความรู้ในเรื่องสมุนไพรใบยาและวิชาแพทย์แผนโบราณ

หลวงปู่ภูได้ช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยโรคต่างๆ มากมาย จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว ทั้งทางด้านน้ำมนต์รดอาบหายเคราะห์หายโศก ผีเจ้าเข้าสิงหายทุกราย ในด้านวัตถุมงคลนั้นมีผู้เข้ามาขอจากท่านเสมอ และท่านก็เมตตาทำให้ทุกราย

จนกระทั่งพรรษาที่ 10 วัดท่อฬ่อว่างเจ้าอาวาสลง ทางคณะสงฆ์พร้อมด้วยทายกทายิกา ได้ขอร้องท่านให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อ หลวงปู่ภูปกติชอบทางวิเวกไม่มีความประสงค์จะเป็นเจ้าอาวาส แต่ก็ขัดความศรัทธาของชาวบ้านมิได้จึงรับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อสืบต่อมา เมื่อเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ได้พัฒนาวัด และพัฒนาจิตใจชาวบ้านเต็มความสามารถ จนวัดท่าฬ่อเจริญรุ่งเรือง

ภายในวัดท่าฬ่อ สมัยที่หลวงปู่ภูเป็นเจ้าอาวาสนั้น มีคนนำสัตว์ต่างๆ มาปล่อยที่วัด หลวงปู่ก็เมตตารับเลี้ยงไว้มีทั้งไก่ เป็ด ห่าน สุนัข แมว จนกระทั่งถึงกวางและไก่ป่าก็มี หลวงปู่จะเสกข้าวเสกหญ้าให้กิน ก็จะเชื่องทุกตัว เคยมีคนมาลองดี เอาปืนมาแอบยิงสัตว์ต่างๆ ของวัด โดยเฉพาะกวาง แต่ยิงเท่าไหร่ก็ยิงไม่ออกจนคนยิงเข็ดไปเอง วัตถุมงคลของหลวงปู่ภูทำไว้หลายอย่าง ทั้งพระเครื่องเป็นพระปิดตา พระพุทธ เหรียญหางแมงป่อง เหรียญใบมะยม แต่เป็นเหรียญที่ลงอักขระไว้เฉยๆ ไม่มีรูปองค์พระ ตะกรุด ผ้าประเจียดและไม้ครู เป็นต้น

วัตถุมงคลของหลวงปู่ภูมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะเรื่องคงกระพันชาตรีเชื่อถือได้ คนพิจิตรทราบดี แต่ปัจจุบันวัตถุมงคลก็หายากเช่นกัน ของปลอมมีกันมานานแล้ว เวลาเช่าหาก็ต้องดูให้ดี

วันนี้ผมขอนำรูปเหรียญหางแมงป่อง เนื้อชินตะกั่ว และตะกรุดพอกครั่ง ของหลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จากหนังสือตามรอยตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยามมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 16 มกราคม 2560 07:18:20

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19396844382087_1.jpg)
รูปลูกอมเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง นนทบุรี ท่านได้สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก ซึ่งในปัจจุบันหาพบยากมาก และเป็นพระปิดตายอดนิยม ที่มีผู้ปรารถนาจะมีไว้บูชามาก นอกจากนี้หลวงปู่เอี่ยมยังได้สร้างวัตถุมงคลประเภทเครื่องรางของขลังไว้ด้วย เช่น ตะกรุดมงคลโสฬส แต่ที่ไม่ค่อยมีใครรู้และไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลยก็คือ ลูกอมเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่เอี่ยมที่มีเฉพาะลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเท่านั้น

หลวงปู่เอี่ยมมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในพระนครต่างก็นับถือและมานมัสการหลวงปู่เสมอ หนึ่งในนั้นก็คือหลวงพิบูลย์สมบัติ บ้านท่านอยู่ปากคลองบางลำพู ได้เดินทางมานมัสการหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่ได้ปรารภถึงความยากลำบาก ด้วยเรื่องการทำพระอุโบสถและสังฆกรรม เนื่องจากสถานที่เดิมนั้นชำรุดทรุดโทรมมาก จึงอยากจะสร้างให้เป็นถาวรสถานแก่วัดให้เจริญรุ่งเรือง

หลวงพิบูลย์ฯ จึงได้บอกบุญเรี่ยไรหา เงินมาเพื่อก่อสร้างโบสถ์และถาวรสถานขึ้น หลวงปู่เอี่ยมจึงได้เริ่มสร้างพระปิดตาและตะกรุดขึ้น เพื่อแจกเป็นของชำร่วยแก่ผู้บริจาคทรัพย์และสิ่งของที่ใช้ในการก่อสร้างพระอุโบสถในครั้งนั้น ต่อมาถึงปี พ.ศ.2431 ก็ได้สร้างศาลาการเปรียญ หลังจากนั้นอีก 8 ปี หลวงปู่เอี่ยมก็ได้สร้างพระเจดีย์ที่วัดสะพานสูง และหลวงปู่เอี่ยมก็ได้สร้างตะกรุดมงคลโสฬส เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์ช่วยเหลือในการก่อสร้างองค์พระเจดีย์ด้วย

มีเรื่องกันต่อมาว่าก่อนที่หลวงปู่เอี่ยมจะมรณภาพนั้น นายหรุ่น ซึ่งเป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่ได้ขอร้องหลวงปู่ว่า "ท่านอาจารย์มีอะไรจะกรุณาได้สั่งและให้ศิษย์ไว้เป็นครั้งสุดท้าย" หลวงปู่เอี่ยมตอบว่า "ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้น ให้ระลึกถึงท่านและเอ่ยชื่อท่านก็แล้วกัน" หลวงปู่เอี่ยมมรณภาพในปี พ.ศ.2439 สิริอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

วัตถุมงคลของหลวงปู่เอี่ยมที่ท่านได้สร้างไว้ มีพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก เช่น พิมพ์ชะลูด พิมพ์ตะพาบ พิมพ์พนมมือ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีตะกรุดมงคลโสฬส มีทั้งที่เป็นเนื้อตะกั่ว และเนื้อทองแดง ซึ่งปัจจุบันหายากยิ่งทั้งพระปิดตาและตะกรุดครับ สนนราคานั้นสูงมาก

วัตถุมงคลอีกอย่างหนึ่งที่หายากยิ่งก็คือลูกอมเนื้อผงคลุกรัก ซึ่งเป็นเนื้อเดียวกับพระปิดตาผงคลุกรัก เข้าใจว่าเมื่อตอนสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักนั้นลูกศิษย์ที่ช่วยทำพระปิดตาได้นำเนื้อพระมาปั้นเป็นลูกอมไว้ แต่ก็คงมีไม่มากนัก และให้หลวงปู่ปลุกเสกให้ ปัจจุบันจึงไม่ได้เคยเห็นกันเลย และผู้ที่มีหรือรู้เรื่องนี้ต่างก็เป็นทายาทของลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดของหลวงปู่เท่านั้น

ในวันนี้ผมได้นำรูปลูกอมเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชม และลูกอมลูกนี้จะเห็นรอยจารอักขระลายมือของหลวงปู่เอี่ยมด้วยครับ นับว่าหายากสุดๆ ครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/47078935677806_2.jpg)
รูปสร้อยตะกรุดประคำคาบ ของท่านเจ้าคุณสนิท

สวัสดีครับท่าน ผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดท้ายตลาด ฝั่งธนฯ กทม.เป็นวัดที่มีความสำคัญ และมีพระเครื่องอันโด่งดังหลายยุค เช่น พระเนื้อผงผสมใบลานที่บรรจุไว้ในกรุองค์พระเจดีย์ พระปรกใบมะขามของท่านเจ้าคุณสนิท นอกจากนี้ก็ยังมีตะกรุดทองคำชุด 19 ดอก ซึ่งเรียกกันว่า "สร้อยตะกรุดประคำคาบ" ซึ่งนิยมเสาะแสวงหา และหาได้ยากยิ่งครับ

วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีนามเดิมว่า วัดท้ายตลาด ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาใน รัชสมัยของรัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระมหาศรี วัดราชสิทธิ เป็นพระเทพโมลี แล้วให้มาครองวัดนี้ ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงเปลี่ยนนามพระอาราม เป็น "วัดพุทไธศวรรยาวาส" พอมาถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 3 ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์พระอารามโดยตลอด พร้อมกับพระอารามอื่นๆ อีก และทรงเปลี่ยนนามเป็น "วัดโมลีโลกยาราม" มาจนทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านก็มักเรียกกันจนติดปากว่า "วัดท้ายตลาด"

วัดท้ายตลาดมีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นสถานการศึกษาของพระราชโอรสในรัชสมัยที่ 2 อนึ่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สมัยที่ยังเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ของรัชกาลที่ 3 และถวายอักษรรัชกาลที่ 4 ต่อมาเมื่อสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) มรณภาพ รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูป พร้อมกับหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ประดิษฐานไว้ในหอที่ทรงสร้างไว้ในวัด เรียกกันว่า "หอสมเด็จ"

ท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ (เงิน เขมจารี) อดีตเจ้าอาวาสวัดท้ายตลาด เกิดที่เมืองพระตะบอง เมื่อปีพ.ศ.2396 ท่านมีความสนิทสนมกับพระยาคทาธร ธรณินทร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ต่อมาท่านจึงย้ายมาอยู่ที่วัดท้ายตลาด ท่านเจ้าคุณสนิทนอกจากจะเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาคมแล้ว ยังมีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณด้วย และได้ช่วยรักษาชาวบ้านจนมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น ชาวบ้านต่างเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านมาก และช่วยบูรณปฏิสังขรณ์วัดท้ายตลาดตลอดมา

ท่านเจ้าคุณสนิทได้สร้างวัตถุมงคลไว้และมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ที่รู้จักกันดีก็คือ พระปรกใบมะขาม ซึ่งถือกันว่าเป็นอันดับ 1 ของพระปรกใบมะขามเลยทีเดียวครับ ปัจจุบันหายากมากครับ นอกจากนี้วัตถุมงคลที่หายากมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ สร้อยตะกรุดประคำคาบ ซึ่งแทบไม่ได้พบเห็นกันเลย ผู้ที่ได้รับมักเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดเท่านั้น ตะกรุดสร้อยประคำคาบจะเป็นตะกรุดทองคำพวงจำนวน 19 ดอก พร้อมด้วยลูกประคำทองคำคั่นระหว่างดอกตะกรุด และสร้อยทองคำสวมคอร้อยตะกรุดไว้ ในสมัยโบราณเรียกว่า "สร้อยตะกรุดประคำคาบ" ปัจจุบันนับว่าหายากมากที่สุด และนิยมมาก แต่ก็แทบจะไม่เคยได้เห็นของแท้กันเลยครับ

ท่านเจ้าคุณสนิทมรณภาพราวปีพ.ศ.2463 สิริอายุได้ 68 ปี

ในวันนี้ผมได้นำรูปสร้อยตะกรุดประคำคาบ ของท่านเจ้าคุณสนิท จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมกันครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95187060534954_3.jpg)
เบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่ม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้จะมาคุยกันถึงพระพุทธวิถีนายก(หลวงปู่เพิ่ม) วัดกลางบางแก้วกับวัตถุมงคลของท่าน ถ้าพูดถึงวัดกลางบางแก้วหลายๆ ท่านก็คงจะรู้จักกันดี และมักจะนึกถึงหลวงปู่บุญ แต่ในวันนี้ผมจะมาพูดถึงหลวงปู่เพิ่มศิษย์เอกของหลวงปู่บุญบ้าง

ก่อนอื่นก็คงต้องพูดถึงประวัติของวัดกลางบางแก้วกันซะหน่อย วัดกลางบางแก้วแต่เดิมมีชื่อว่า "วัดคงคาราม" เป็นวัดเก่าแก่มาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ในอดีต ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อกันเรื่อยมา ในนิราศพระปฐมของสุนทรภู่ยังมีกล่าวไว้ว่า

"ถึงบางแก้วมองเขม้นไม่เห็นแก้ว
เห็นแต่แนวคงคาพฤกษาสลอน
มีวัดหนึ่งโตใหญ่ใกล้สาคร
สง่างอนช่อฟ้าศาลาตะพาน
ดูเบื้องบนอาวาสก็ลาดเลี่ยน
ต้นตะเคียนร่มรกปกวิหาร"

แสดงว่าวัดกลางบางแก้วนั้นเป็นวัดใหญ่ที่เจริญรุ่งเรือง สะอาดสะอ้านร่มรื่นมาตั้งแต่สมัยนั้น และตั้งอยู่ริมน้ำ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จมาที่วัดคงคารามเห็นว่าเป็นวัดที่อยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรีตรงปากคลองบางแก้ว ตั้งอยู่ระหว่างกลาง 2 วัด คือวัดตุ๊กตาและวัดใหม่สุประดิษฐ์ ท่านจึงได้ประทานนามวัดให้ใหม่ว่า "วัดกลางบางแก้ว" เมื่อราวๆ พ.ศ.2465 ในสมัยที่หลวงปู่บุญเป็นเจ้าอาวาส

พระพุทธวิถีนายก(หลวงปู่เพิ่ม ปุณณวสโน) นามเดิมว่า "เพิ่ม" ท่านเกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2429 ที่ตำบลไทยวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ เกิด โยมมารดาชื่อ วรรณ ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 8 ขวบ สืบต่อมาจนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2450 ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ วัดสรรเพชญ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็ได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา และถือได้ว่าท่านเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่บุญมากที่สุด เพราะท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ก็อยู่ปฏิบัติรับใช้หลวงปู่บุญมาตลอดจนกระทั่งหลวงปู่บุญมรณภาพ เป็นเวลาถึง 39 ปี ตลอดเวลานั้นท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทั้งทางด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนเวทวิทยาคมต่างๆ ไว้มากมาย

หลวงปู่เพิ่มเป็นพระสงฆ์ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยศีล สมาธิ และปัญญาธรรม เปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรม หมดสิ้นกิเลสทั้งปวง หลวงปู่เป็นพระที่พูดจาไพเราะอ่อนหวาน สำเนียงของท่านนั้นมีแววความเมตตาผสานเอาไว้ ใครได้ฟังแล้วจะรู้สึกชุ่มชื่นใจ ใครๆ ได้สนทนากับท่านแล้วจะรู้สึกเคารพศรัทธาท่านทุกคนไป

หลวงปู่เพิ่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 ปี พ.ศ.2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2483 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี ปี พ.ศ.2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูพุทธวิถีนายก ปี พ.ศ.2495 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนามเดิม

ปี พ.ศ.2503 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญมีราชทินนามว่า พระพุทธวิถีนายก หลวงปู่เพิ่มมรณภาพด้วยโรคชราด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2526 สิริอายุได้ 97 ปี พรรษาที่ 76

หลวงปู่เพิ่มได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุด เบี้ยแก้ ยาเม็ดวาสนาจินดามณี อีกทั้งเหรียญ และพระเครื่องต่างๆ ในวันนี้ผมได้นำรูปเบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่มมาให้ชมกันครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/17242271825671_4.jpg)
ปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้คนเคารพนับถือกันมาก โดยเฉพาะชาวบ้านและทหารเรือแถวสัตหีบ เสมือนหนึ่งเทพเจ้าแห่งภาคตะวันออกในสมัยนั้น เครื่องรางของขลังที่มีชื่อเสียงก็คือปลัดขิก กล่าวกันว่าถ้าปลุกปลัดขิกของท่านแล้วปล่อยลงน้ำจะสามารถวิ่งทวนน้ำได้ทีเดียว

พระครูวรเวทย์มุนี (หลวงพ่ออี๋) เกิดที่ชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.2408 โยมบิดาชื่อ กองคำ โยมมารดาชื่อ เอียง ในวัยเด็กเป็นเด็กที่มีความฉลาดหลักแหลม และชอบช่วยเหลือ ผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอ ผิดกว่าเด็กทั้งหลายในวัยเดียวกัน ต่อมาพออายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดอ่างศิลา ชลบุรี โดยมีหลวงพ่อจั่น วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า “พุทธสโร” อยู่จำพรรษาที่วัดอ่างศิลา และได้ศึกษาวิชาวิปัสสนาธุระ ที่สำนักพระอาจารย์แตง วัดอ่างศิลานั่นเอง ท่านจึงพิจารณาเห็นสังขารไม่เที่ยงแท้ เมื่อถึงเวลาออกพรรษาก็เริ่มออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อหาแหล่งอันสงบวิเวกนั่งวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อได้พบกับ พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านใด หลวงพ่ออี๋ก็จะศึกษาหาความรู้กับพระอาจารย์ท่านนั้น พร้อมทั้งปฏิบัติจนเห็นจริง แล้วก็จะเริ่มธุดงค์ต่อไปเรื่อยๆ บรรดาพระคณาจารย์ของหลวงพ่ออี๋จึงมีมากมาย แต่ที่พอสรุปได้ก็คือ พระอาจารย์แตง วัดอ่างศิลา พระอาจารย์จั่น วัดเสม็ด หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

หลวงพ่ออี๋ยึดการธุดงค์และสันโดษเป็นหลัก จนกระทั่งมีฌานสมาบัติ พลังจิตสูงองค์หนึ่ง สามารถนำพระเวทมาใช้ได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าจะธุดงค์ไปไหนๆ ก็ตาม มักจะให้ความเมตตาช่วยเหลือผู้เจ็บไข้ได้ป่วยเสมอ พร้อมทั้งแสดงธรรมให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังเสมอ จนกระทั่งชื่อเสียงของหลวงพ่อโด่งดัง จากปากหนึ่งไปอีกปากหนึ่ง ต่อมาหลวงพ่ออี๋ธุดงค์มาจนถึงอ่าวสัตหีบในราวปี พ.ศ.2450 ณ ที่นั้นเป็นบริเวณที่สงบเงียบพอที่จะยึดเป็นที่ปฏิบัติธรรม หลวงพ่ออี๋จึงปักกลดจำวัดที่นั่น พอบรรดาพวกชาวบ้านรู้ข่าวว่าหลวงพ่อมา ปักกลดอยู่ต่างก็มานมัสการหลวงพ่ออี๋กันมาก นำอาหารมาถวาย และผู้คนก็เดินทางมานมัสการกันแทบทุกวัน

บรรดาชาวบ้านในแถบนั้นต่างมีความเห็นตรงกันว่า ควรนิมนต์หลวงพ่ออี๋ให้สร้างวัด ณ ที่ตรงนั้น เพื่อชาวบ้านจะได้พึ่งบารมีหลวงพ่อ จึงได้พากันนิมนต์หลวงพ่ออี๋ให้อยู่จำพรรษาหลวงพ่ออี๋ก็ไม่ขัดข้อง พวกลูกศิษย์ลูกหาต่างก็ดีอกดีใจ ช่วยกันคนละไม้คนละมือและบริจาคทรัพย์สร้างวัดขึ้น และได้นามวัดต่อมาว่า “วัดสัตหีบ” จนมาถึงทุกวันนี้ หลวงพ่ออี๋ได้อยู่เป็นมิ่งขวัญจนถึงปี พ.ศ.2489 ก็มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 81 ปี พรรษาที่ 60

หลวงพ่ออี๋ได้สร้างเครื่องรางของขลังเป็นรูปปลัดขิก แจกแก่ลูกศิษย์ลูกหา โดยเฉพาะพวกทหารเรือมาขอกันมาก และมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายจนเป็นที่เลื่องลือ ปัจจุบันเป็นเครื่องรางที่หายากมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ จากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมกันครับ

    ด้วยความจริงใจ
     แทน ท่าพระจันทร์



หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 31 มกราคม 2560 10:27:40

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94625328108668_1.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40436163047949_2.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45481807283229_3.jpg)
ชูชก-ยอดเครื่องรางแห่งการขอ
"ชูชกมีอานุภาพทางด้านเสริมดวงในทางด้านขอโชคขอลาภ กู้หนี้ยืมสิน ขอลาภเงินทอง เจรจาขอผัดผ่อนหนี้สิน ขอเลื่อนและขอลาภจากผู้ใหญ่ และด้านการขอทุกชนิด จึงเป็นที่มาของการบูชา"

พราหมณ์เฒ่าขอทานนามว่า "ชูชก" ผู้มีเรื่องราวกล่าวถึงในตำนานพุทธประวัติและพระไตรปิฎกมากมาย ในฐานะเป็นผู้ที่เกิดมาเพื่อเป็นคู่บารมีของพระเวสสันดรโพธิสัตว์ทั้งเป็นผู้รับและผู้ให้ นอกจากนี้ยังเป็นคนที่เก็บหอมรอมริบ มัธยัสถ์จนถึงขั้นมั่งมีเงินทอง มีภรรยาสวยงดงามและมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถหลุดพ้นด่านต่างๆ จนไปถึงเขาวงกตขอชาลี-กัณหาจากพระเวสสันดรจนสำเร็จ

ดังนั้น บรรดาพระเกจิคณาจารย์และผู้ที่มีความรอบรู้ในเรื่องของไสยเวท จึงมีความเชื่อว่า "ชูชก" เป็นเจ้าแห่งโภคทรัพย์ เจ้าแห่งสติปัญญา เจ้าแห่งการขอที่ยิ่งใหญ่ และได้นำรูปลักษณ์ของชูชกมาสร้างเป็นเครื่องรางของขลัง โดยใช้มวลสารมงคลต่างๆ เช่น เป็นเนื้อดินผสมผงโลหธาตุที่เป็นมงคลและมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว ผสมกับด้าย แผ่นยันต์ แผ่นจาร เครื่องใช้สำริด ทองโบราณ เงินโบราณ แร่ธาตุกายสิทธิ์ที่มีคุณวิเศษเหมือนเหล็กไหล สร้างเป็น "เฒ่าชูชก" ซึ่งมีความเชื่อว่าขอได้ทุกอย่างเหมือนดั่ง "ชูชก" ในพุทธประวัติ

ในบรรดาเครื่องรางของขลังที่มีนามว่า "ชูชก" ที่มีอานุภาพทางด้านเสริมดวงในทางด้านขอโชคขอลาภ กู้หนี้ยืมสิน ขอลาภเงินทอง เจรจาขอผัดผ่อนหนี้สิน ขอเลื่อนและขอลาภจากผู้ใหญ่และด้านการขอทุกชนิดนั้น มีการสร้างด้วยกันหลายสำนักสืบต่อมาถึงปัจจุบัน ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับมากที่สุดเห็นจะเป็นของหลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จ.สมุทรสาคร ซึ่งหายากมากๆ และสนนราคาสูงมาก ต่อมาก็เป็น หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง หลวงพ่อแล วัดพระทรง จ.เพชรบุรี หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม จ.นครปฐม หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ จ.ระยอง และ หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

กล่าวถึง หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จ.สมุทรสาคร พระเกจิชื่อดังแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง ที่มีเรื่องราวอิทธิปาฏิหาริย์เป็นที่กล่าวขวัญกันมากมาย

ท่านเป็นชาวปทุมธานี เชื้อสายรามัญ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2406 ในวัยเด็กท่านมีร่างกายอ่อนแอขี้โรค บิดามารดาจึงนำไปถวายเป็นบุตรบุญธรรมหลวงพ่อแค วัดบางน้ำวน พระเถระเชื้อสายรามัญ ที่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวรามัญในสมัยนั้น

หลังจากนั้นปรากฏว่าท่านกลายเป็นเด็กเลี้ยงง่ายห่างหายจากโรคภัยไข้เจ็บ หลวงพ่อแคจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "รอด" ตั้งแต่บัดนั้นมา พออายุได้ 12 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อแค จนอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดบางน้ำวน โดยมีหลวงพ่อแค เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา "พุทธสัณโฑ"

หลวงปู่รอดอยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อแค พระอุปัชฌาย์ และศึกษาวิทยาคมต่างๆ ทั้งเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี วิชาทำธงไม่ให้ฝนตกและป้องกันฟ้าผ่า วิชาปลุกเสกของหนักให้เบาดั่งปุยนุ่น ฯลฯ รวมทั้งศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน จนเป็นที่ไว้ใจของพระอุปัชฌาย์

หลังจากหลวงพ่อแคมรณภาพ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านรับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน และด้วยความเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่รอดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงมาช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญรุ่งเรืองจวบจนทุกวันนี้

นอกจากจะพัฒนาวัดบางน้ำวนแล้ว หลวงปู่รอดยังให้ความช่วยเหลือวัดอื่นๆ ตลอดถึงเรื่องการศึกษาท่านก็ได้จัดให้มีการสอนพระปริยัติธรรมและสร้างโรงเรียนประชาบาล ชื่อ "โรงเรียนรอดพิทยาคม" ให้กุลบุตรกุลธิดาในแถบนั้นได้ศึกษาเล่าเรียนด้วย ท่านมีตำแหน่งทางด้านการปกครองสงฆ์เรื่อยมา จนสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระครูชั้นประทวน และเป็นกรรมการศึกษา ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2488 สิริอายุ 82 ปี พรรษา 62

หลวงปู่รอด เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านวิทยาคมมาก ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูง มีอาทิ ตะกรุดโทน, เหรียญหล่อ เหรียญปั๊มรุ่นแซยิด, เหรียญหล่อพิมพ์พนมมือ และเหรียญปั๊มพิมพ์เสมาอัลปาก้า เป็นต้น

ส่วนด้านเครื่องรางของขลังที่โดดเด่นและหายากก็มี สิงห์ ไม้ขนุนแกะ และ "ชูชกทำจากไม้ขนุน และงาช้างแกะ" ซึ่งถือว่าเป็นต้นตำรับของเครื่องรางของขลังที่นำ "ไม้ที่เป็นมงคล" มาแกะ เช่น ไม้ขนุน และ "งาช้างแกะ" โดยท่านจะนำเอางากำจัด งากำจาย งากระเด็น ตามความเชื่อว่าเป็นของคงทนสิทธิ์ มีดีอยู่ในตัวไม่มีอะไรมาทำให้เสื่อมสลายได้ ผู้ที่ได้รับมาจากท่านแล้วนำเอาไปบูชาพกพาอาราธนาติดตัวนั้น

ว่ากันว่า นอกจากอานุภาพแห่ง "เฒ่าชูชก" แล้ว ยังปรากฏพุทธคุณทุกด้านแบบครอบจักรวาลทีเดียวครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89119177270266_view_resizing_images_3_.jpg)
ตะกรุดไม้รวก หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อที่ชาวบ้านแถบนครปฐมในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตมักเรียกท่านว่า "หลวงพ่อเสือ" ท่านก็คือพระครูอุตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตกครับ

ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าแก่ของนครปฐม การสืบค้นประวัติของท่านจากการบันทึกจากปากคำของศิษยานุศิษย์ของท่าน ซึ่งในจำนวนนี้ก็มีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคต่อๆ มาอีกหลายรูป เช่น หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง พระครูพรหมวิสุทธิ์ (วงศ์) วัดทุ่งผักกรูด พระอุปัชฌาย์เต๋ วัดสามง่าม เป็นต้น และค้นหลักฐานรูปถ่ายคู่กับพัดยศ ระบุ ร.ศ.127 (พ.ศ.2452) ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป ก็พอจะสรุปดังต่อไปนี้

หลวงพ่อทาเป็นชาวโพธาราม จังหวัดราชบุรี บางกระแสว่าโยมบิดาของท่านมีเชื้อสายมาจากทางเวียงจันทน์ จากการนับอายุจากปีที่ท่านมรณภาพก็พอสันนิษฐานได้ว่าท่านเกิดปีพ.ศ. 2366 เมื่อท่านมีอายุได้ 6 ปี โยมบิดามารดาได้นำท่านไปฝากเรียนหนังสือที่วัดโพธาราม จนอ่านออกเขียนได้ และพอท่านอายุได้ 15 ปี พ.ศ.2381 ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดโพธาราม โดยมีหลวงพ่อทาน เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น

จนกระทั่งท่านมีอายุครบบวช ปีพ.ศ.2386 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดบ้านฆ้อง (วัดฆ้อง) อ.โพธาราม ซึ่งในสมัยนั้นเป็นสำนักปฏิบัติธรรมและสอนวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ท่านก็ได้อยู่จำพรรษาและศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์มอญรูปหนึ่ง ซึ่งมีวิทยาคมกล้าแข็งมาก หลวงพ่อทาเป็นผู้ที่ขยันใฝ่ศึกษาหาความรู้และปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงเป็นที่รักใคร่ของพระอาจารย์ทั้งสอง และถ่ายทอดวิชาให้ทั้งหมด

ท่านอยู่จำพรรษาที่วัดฆ้องหลายปี ศึกษาวิปัสนากรรมฐานจนเชี่ยวชาญแล้ว ท่านจึงได้กราบขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ เพื่อออกธุดงค์ไปยังป่าเขาลำเนาไพรเพื่อแสวงหาวิเวกและปฏิบัติกรรมฐานต่อไป ท่านออกธุดงค์ตามป่าเขาดงดิบอยู่หลายปี และพบพระเกจิอาจารย์ในป่าที่มีจิตกล้าแข็ง ท่านก็ได้ศึกษาพุทธาคมด้วย จนถึงประมาณปีพ.ศ.2417 ท่านได้ธุดงค์มาถึงตำบลพะเนียงแตก (ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นตำบลมาบแค) ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 51 ปี ท่านได้พบสถานที่เป็นป่ารกชัฏนอกเมือง ท่านเห็นว่าเป็นที่วิเวก เหมาะแก่การเจริญภาวนาธรรม ท่านจึงได้ปักกลดพักแรม และได้ทราบต่อมาว่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อน แต่กลับมาเป็นวัดร้างรกเรื้อ

ชาวบ้านได้มาพบท่านปักกลดพักจำวัดอยู่ที่นี่ จึงพากันขอนิมนต์หลวงพ่อทาจำพรรษาอยู่ที่วัดร้างแห่งนี้ ท่านก็อยู่จำพรรษาและได้พัฒนาวัดขึ้นมาใหม่ ในปีพ.ศ.2430 พร้อมทั้งเสนาสนะต่างๆ และพระอุโบสถ นอกจากนี้ ท่านยังได้สร้างวัดอื่นๆ ในแถบนั้นอีกพร้อมๆ กันคือวัดบางหลวง วัดดอนเตาอิฐ และวัดสองห้อง เป็นต้น หลวงพ่อทาเป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านรักและเคารพนับถือมาก ท่านอบรมสั่งสอนชาวบ้านจนมีชื่อเสียงโด่งดังมาก มีพระเณรมาบวชอยู่วัดพะเนียงแตกมากมาย ท่านดำริจะสร้างอะไรก็มีชาวบ้านและศิษยานุศิษย์พร้อมใจกันร่วมสร้างให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หลวงพ่อทามีชื่อเสียงโด่งดัง มีลูกศิษย์ไปทั่วทั้งในจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ชัยนาท เพชรบุรี ราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียงอีกมาก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบถึงเกียรติคุณดังกล่าว จึงมีรับสั่งโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ อยู่เสมอๆ ดังจะเห็นได้ว่า พระราชพิธีหลวงต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้นิมนต์หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกเสมอ เช่น พิธีพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ท่านก็ได้รับนิมนต์ด้วย และรับถวายพัดยศ เนื่องในพิธีหลวงการ พระศพดังกล่าว ซึ่งปรากฏรูปถ่ายของหลวงพ่อทาในปี พ.ศ.2452 พัดที่อยู่ทางด้านขวาของท่านเป็นพัดยศพุดตานปักลายใบเทศรักร้อย และทางด้านซ้ายของท่านเป็นพัดรองการ พระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา ปวเรศวริยาลงกรณ์

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเถระ 4 รูป เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์และเฉลิมพระเกียรติองค์พระปฐมเจดีย์ ประจำทิศทั้ง 4 คือ

1.พระครูอุตรการบดี ประจำทิศเหนือ พระเถระ คือ หลวงพ่อทา ได้รับการแต่งตั้งเป็นรูปแรกของตำแหน่งนี้

2.พระครูทักษิณานุกิจ ประจำทิศใต้ พระเถระ คือ หลวงพ่อเงิน วัดสรรเพชร

3.พระครูปริมานุรักษ์ ประจำทิศตะวันออก พระเถระ คือ หลวงพ่อคต วัดใหม่

4.พระครูปัจฉิมทิศบริหาร ประจำทิศตะวันตก พระเถระ คือ หลวงพ่อนาค วัดห้วยจระเข้

หลวงพ่อทาเป็นที่รักเคารพของประชาชนมาก เป็นที่เกรงขามของบรรดานักเลงหัวไม้ทั้งหลาย ดังจะเห็นได้ว่างานวัดพะเนียงแตกในสมัยหลวงพ่อทานั้น ท่านไม่เคยขอให้กำนันผู้ใหญ่บ้านหรือทางตำรวจมารักษาความสงบเลย และในสมัยนั้นในงานวัดทุกวัดก็จะเป็นการรวมพวกนักเลงหัวไม้ต่างถิ่นที่เข้ามาเที่ยวงานวัดทุกวัด และมักมีเรื่องตีรันฟันแทงกันอยู่เนืองนิตย์ แต่ที่วัดพะเนียงแตกกลับไม่มีใครกล้าจะมีเรื่องในเขตวัดเลย หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เล่าให้ฟังว่า พวกนักเลงตำบลตาก้องกับตำบลพะเนียงแตกต่างก็ไม่ถูกกัน เจอกันที่ไหนก็มักจะต้องมีเรื่องกันทุกที แต่ที่ในงานวัดพะเนียงแตกกลับไม่กล้าตีกัน เนื่องจากหลวงพ่อทาจะถือไม้พลองตรวจตราทั่วงาน เป็นที่ยำเกรงแก่พวกหัวไม้ทั้งหลาย ขนาดคนเมาเอะอะพอเห็นหลวงพ่อเดินมาก็แทบจะหายเมาเลยทีเดียว ทุกคนต่างเคารพยำเกรงหลวงพ่อทามาก จนมักเรียกท่านว่า "หลวงพ่อเสือ" ท่านมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อปี พ.ศ.2462 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษา 76

วัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น ตะกรุด พระปิดตาทั้งเนื้อสัมฤทธิ์และเนื้อเมฆพัด มีหลายแบบ ทั้งเกลอเดี่ยวและ สามเกลอ เป็นต้น อีกทั้งเหรียญหล่อรุ่นแรกและรุ่นสอง ทุกอย่างล้วนเป็นที่นิยมทั้งสิ้นครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปตะกรุดไม้รวกของท่าน จากหนังสือตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลังขมังเวท มาให้ชมครับ


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์ - ชมรมพระเครื่อง


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: GooD ที่ 06 กุมภาพันธ์ 2560 20:54:15
 (:UU:)


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 24 พฤษภาคม 2560 18:49:16

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39612478390335__3594_3617_3619_3617_4_3614_35.jpg)

รูปเขี้ยวเสือหลวงพ่อนก วัดสังกะสี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในบรรดาเครื่องรางฯ ที่เป็น รูปเสือ นั้น หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ถือว่าเป็นสุดยอดของเครื่องรางฯ รูปเสือ และหายากมากๆ เครื่องรางฯ รูปเสือที่แกะมาจากเขี้ยวที่สร้างโดยลูกศิษย์ของหลวงพ่อปานและมีชื่อเสียงโด่งดังก็คือ หลวงพ่อนก วัดสังกะสี ในสมัยก่อนนั้นสำหรับผู้ที่หาเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานไม่ได้ก็หาเขี้ยวเสือของหลวงพ่อนก วัดสังกะสีใช้แทน แต่ปัจจุบันก็หายากเช่นกัน

หลวงพ่อนก เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2392 ที่ตำบลบางกะเจ้า อำเภอนครเขื่อนขันธ์ (อำเภอพระประแดง) จังหวัดสมุทรปราการ โยมบิดาชื่อนวล โยมมารดาชื่อเคลือบ บิดามารดาได้นำท่านไปฝากเรียนหนังสือกับพระอธิการโต วัดบางบ่อ พออายุได้ 15 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดกองแก้ว ตำบลบางยอ โดยมีพระครูวิบูลย์ธรรมคุตเป็นผู้บรรพชาให้ท่านได้ศึกษา พระธรรมวินัยจนแตกฉาน

เมื่ออายุครบบวช บิดาได้ถึงแก่กรรม โยมมารดาจึงได้ให้อุปสมบทที่วัดบางเหี้ย (วัดมงคลโคธาวาส) ตำบลคลองด่าน โดยมีพระครูพิพัฒน์นิโรจกิจ (หลวงพ่อปาน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เรือน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ธมฺมโชติ” เมื่ออุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาที่วัดบางเหี้ย ศึกษาพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมต่างๆ กับหลวงพ่อปาน พระอาจารย์ทอง พระอาจารย์เรือน และได้รับคำชมเชยจากหลวงพ่อปานอยู่เสมอ

หลวงพ่อปานจะออกธุดงค์อยู่เป็นนิจ และมีพระสงฆ์ทั้งในวัดเองและจากวัดต่างๆ มาร่วมธุดงค์กับหลวงพ่อปานเสมอ หลวงพ่อนกก็ได้ออกธุดงค์กับหลวงพ่อปานด้วย และได้ไปพบกับหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก และหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รวมทั้งพระเกจิอาจารย์เก่งๆ อีกหลายรูป หลวงพ่อนกก็ได้แลกเปลี่ยนวิชากับหลวงพ่อต่างๆ หลวงพ่อนกมีจริยวัตรที่งดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย อีกทั้งยังเข้มขลังในวิทยาคม บางครั้งที่ออกธุดงค์ ก็มีชาวบ้านมาขอน้ำมนต์ ท่านก็ได้ทำให้ พวกพ่อค้าแม่ค้าเอาไปประพรมของที่ขายปรากฏว่าขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า บางคนเอามาประพรมตัวเองแล้วมีประสบการณ์แคล้วคลาด เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว

ต่อมามีขุนสำแดงเดชและภรรยาชื่อนางนุ่ม มีจิตศรัทธาถวายที่ดินให้สร้างวัดและขอนิมนต์ให้หลวงพ่อนกมาปกครองวัด หลวงพ่อนกจึงได้นำความมาปรึกษาหลวงพ่อปาน หลวงพ่อปานก็อนุญาต โดยเห็นว่าหลวงพ่อนกเป็นพระภิกษุที่ดีพร้อม สามารถดูแลพระภิกษุและพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรือง

อีกทั้งยังสามารถอบรมสั่งสอนชาวบ้านให้เป็นคนดีได้ หลวงพ่อปานจึงสนับสนุนให้หลวงพ่อนกไปเป็นเจ้าอาวาสวัดสังกะสี ชาวบ้านต่างๆ ก็มาช่วยกันสร้างพระอุโบสถและกุฏิเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดจนเจริญรุ่งเรือง หลวงพ่อนกมรณภาพ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2475 สิริอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 63

หลวงพ่อนกได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์และชาวบ้านอยู่หลายอย่าง แต่ที่นิยมสูงสุดก็คือเขี้ยวเสือแกะ เป็นการแกะแบบเต็มเขี้ยวและลงอักขระเต็มตลอดตัวเสือ หลวงพ่อนกจะนำเขี้ยวเสือที่แกะแล้วไปปลุกเสกในพระอุโบสถ ว่ากันว่าจะปลุกเสกจนเขี้ยวเสือหมุนได้อยู่ในบาตรจึงเป็นอันเสร็จพิธี แล้วจึงนำมาแจกให้อีกทีหนึ่ง พุทธคุณเด่นทั้งด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม เจริญรุ่งเรือง ค้าขายดี ปัจจุบันก็หาเขี้ยวเสือหลวงพ่อนกแท้ๆ ยากครับ ของปลอมเลียนแบบมีกันมานานแล้วเช่นกัน เนื่องจากมีผู้ที่ต้องการกันมากรองจากหลวงพ่อปานเลยทีเดียวครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเขี้ยวเสือหลวงพ่อนก วัดสังกะสี จากหนังสือตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66863308764166__3594_3617_3619_3617_2_3614_35.jpg)

หมูทองแดง หลวงปู่เส็ง วัดบางนา รุ่นแรก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางของขลังที่ยังพอหาได้และยังไม่เก่ามากนักคือหมูทองแดง ของหลวงปู่เส็ง วัดบางนา อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีพุทธคุณสูงและมีประสบการณ์มากมาย ถึงแม้จะไม่เก่ามากนักแต่พุทธคุณเชื่อถือได้ครับ

พระครูมงคลธรรมสุนทร (หลวงปู่เส็ง) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2444 โยมบิดาชื่อจู เป็นชาวจีน โยมมารดาชื่อเข็ม เชื้อสายรามัญ พออายุได้ 21 ปี ในปี พ.ศ.2465 บิดามารดาได้ให้อุปสมบทที่วัดบางนา อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยมีท่านเจ้าคุณนันทมุนี เจ้าอาวาสวัดบางหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทัต เจ้าอาวาสวัดบางนา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จนฺตรงฺสี”

เมื่อได้อุปสมบทแล้ว ก็ได้เล่าเรียนกับพระอธิการทัต ด้วยอุปนิสัยรักสงบ จิตใจเยือกเย็น พูดน้อยอยู่เป็นนิจ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวตลอดมา และท่านก็ยังได้ไปกราบหลวงปู่เทียน เพื่อขอศึกษาในด้านวิปัสสนากรรมฐาน พร้อมทั้งวิชาต่างๆ ไปพร้อมกัน จนเป็นที่กล่าวขวัญของคนทั่วไป ว่าต่อไปท่านจะเป็นตัวแทนของหลวงปู่เทียน

หลวงปู่เส็งปฏิบัติงดงามรักษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นผู้สงบเสงี่ยม พูดน้อย ใจดี มีอะไรแล้วใครขอเป็นต้องให้ผู้นั้นเสมอ เมื่อมีผู้ใดนำปัจจัยสี่มาถวาย ท่านมิได้เก็บไว้เป็นส่วนตัวเลย โดยจัดเฉลี่ยให้พระสงฆ์ที่อยู่ในวัด ถ้ามีมากก็จะมอบให้ท่านพระครูใบฎีกาแสวงไว้เป็นค่าก่อสร้างถาวรวัตถุ

พอบวชได้ 18 พรรษาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าอาวาส ครั้นต่อมาในปี พ.ศ.2488 พระอธิการทัต เจ้าอาวาสวัดบางนามรณภาพ ท่านจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางนา และในปี พ.ศ.2518 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูมงคลธรรมสุนทร หลวงปู่ได้อบรมสั่งสอนพระเณรและอุบาสกอุบาสิกาจวบจนถึงวันที่ 21 มกราคม ปี พ.ศ.2531 จึงได้มรณภาพ สิริอายุได้ 87 ปี พรรษาที่ 66

หลวงปู่ได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ลูกศิษย์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 มีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง ที่โด่งดังและรู้จักกันมากก็คือหมูทองแดง มูลเหตุในการสร้างก็คือ ในราวปี พ.ศ.2515 มีคนนำหมูตัวหนึ่งไปโยนน้ำ หวังจะให้ตาย แต่เดชะบุญหมูลอยมากับผักตบชวาและมาหยุดอยู่ที่ตรงท่าน้ำวัด มีคนได้ยินเสียงร้องและได้ช่วยชีวิตไว้

หลวงปู่จึงเลี้ยงหมูตัวนี้ ชั่วระยะเวลาไม่ถึงปี หมูตัวนี้ก็เติบใหญ่กินนอนอยู่ข้างกุฏิหลวงปู่ ต่อมาในปี พ.ศ.2521 หมูตัวนี้เกิดตาย ญาติโยมบริเวณวัดก็ได้ช่วยกันนำหมูออกไปจากวัด โดยไม่ได้แจ้งหลวงปู่ จากนั้นก็นำไปแล่เนื้อ แต่ปรากฏว่าแล่ไม่เข้า หมูตัวนี้มีเขี้ยวงอกยาวออกมาและปรากฏว่าเป็นเขี้ยวตัน

ต่อมาหลวงปู่เส็งจึงได้ให้ลูกศิษย์ออกแบบสร้างเครื่องรางรูปหมูทองแดง โดยหลวงปู่ได้ลงจารอักขระในแผ่นทองสามกษัตริย์ เป็นชนวนหล่อ เมื่อหล่อเสร็จแล้วก็ได้ทำพิธีภายในพระอุโบสถของวัดบางนา โดยมีพระเกจิอาจารย์ในจังหวัดปทุมธานี 10 รูป นั่งสวดในพิธีกรรม และหลวงปู่เส็งได้นำไปปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้ง เมื่อเสร็จสิ้นแล้วก็แจกจ่ายให้ศิษยานุศิษย์และญาติโยมที่มาทำบุญบูชา ต่อมาเกิดประสบการณ์ต่างๆ มากมาย

ปัจจุบันนี้มีของปลอมเลียนแบบ เนื่องจากมีพุทธคุณขลัง มีผู้นิยมเช่าหาจึงมีคนทำปลอม เวลาจะเช่าหาก็ต้องตรวจสอบดูให้ดีครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปหมูทองแดงของหลวงปู่เส็ง วัดบางนา รุ่นแรกจากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมกันครับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50030269722143__3594_3617_3619_3617_3614_3619.jpg)

ปลาตะเพียนเงินตะเพียนทอง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีพระเกจิอาจารย์ที่เก่งๆ มากมาย ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์ของอยุธยาที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยสงครามอินโดจีน คือหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

หลวงพ่อจงเป็นชาวอยุธยาโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ปี พ.ศ.2415 โยมบิดาชื่อ ยอด โยมมารดาชื่อ ขลิบ ในสมัยเด็กๆ หลวงพ่อจงเป็นเด็กขี้โรค และเกือบตายมาหลายครั้ง นอกจากนี้นัยน์ตาฝ้าฟางมองอะไรไม่ถนัด จึงต้องอยู่กับบ้านจนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทที่วัดหน้าต่างใน โดยมี พระอธิการสุ่น เจ้าอาวาสวัดหนองปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า “พุทธสฺสโร”

เมื่ออุปสมบทแล้วก็เจริญในทางธรรม ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมและพุทธาคมกับ หลวงพ่อสุ่น วัดหนองปลาหมอ และ พระอาจารย์โพธิ์ วัดหน้าต่างใน อีกทั้งยังได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการปั้น วัดพิกุล จนกระทั่งปี พ.ศ.2450 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกว่าง ลงจึงย้ายกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก

หลวงพ่อจงมีความชำนาญแตกฉานในทุกๆ ศาสตร์ที่ร่ำเรียนมาทั้งพุทธาคม พระปริยัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อครั้งสงครามอินโดจีนในปี พ.ศ.2483 หลวงพ่อจงได้รับนิมนต์เข้าร่วมปลุกเสกเสื้อยันต์ ผ้ายันต์ ตะกรุด และวัตถุมงคลพร้อม หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม และ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ

ในปีนี้ปรากฏว่าทหารไทยที่ร่วมสงครามได้รับประสบการณ์ต่างๆ มากมาย และกลับมาได้อย่างปลอดภัย ชื่อเสียงของพระเกจิอาจารย์ทั้งสี่รูป จึงเป็นที่เลื่องลือขจรขจายไปทั่ว ผู้คนมักกล่าวขวัญชื่อรวมๆ ว่า “จาด จง คง อี๋”

ชาวบ้านทั้งใกล้ไกลเมื่อมีทุกข์หรือมีปัญหาใดๆ ก็จะมาหาหลวงพ่อให้ช่วยขจัดปัดเป่าให้ เช่น ทำน้ำมนต์ ให้ศีลให้พร ทุกคนที่ไปจะไม่ผิดหวัง บางรายขอของขลังท่านก็จะแจกตะกรุด บางรายจนมากท่านก็จะให้เงิน แต่เป็นแผ่นกระดาษลงยันต์ บางรายทำมาค้าขายท่านก็ให้ปลาตะเพียน บรรดาวัดต่างๆ ที่จะจัดพิธีพุทธาภิเษกทั้งในกทม. และจังหวัดใกล้เคียง นิยมนิมนต์หลวงพ่อจงมาร่วมในพิธีทั้งสิ้น เช่น ในงานหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ ปี พ.ศ.2481 หลวงพ่อจงก็ได้ รับเกียรตินิมนต์เข้าร่วมพิธี

หลวงพ่อจงมีเมตตาธรรมสูง มีอยู่ครั้งหนึ่งมีขโมยเข้ามาลักโอ่งวัดในตอนกลางคืน หลวงพ่อยังไม่ได้จำวัด ท่านรู้เห็นมาตลอด แต่ก็อดเมตตาขโมยไม่ได้จึงลุกออกมาจากที่นอนไปปรากฏตัวหลังขโมยพร้อมกับแนะนำว่า “ไม่ต้องรีบร้อนเดี๋ยวจะแตกเสียหาย ค่อยๆ ขนไปอย่าโลภมากเอาไปครั้งละใบก็จะไม่เสียหาย” ขโมยตกใจกันมากก้มกราบ และพากันเดินจากไป เพราะไม่คิดว่าหลวงพ่อจะใจดีมีเมตตาจึงละอายแก่ใจตนเอง หลวงพ่อจงมรณภาพเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2508 สิริอายุได้ 93 ปี พรรษาที่ 72

เครื่องรางของขลัง เรื่องทำมาค้าขายของหลวงพ่อจงที่นิยมกันมากก็คือปลาตะเพียน ซึ่งทำเป็นคู่ เป็นตะเพียนเงินกับตะเพียนทอง ในสมัยก่อนจะเห็นตามร้านค้าในอยุธยาจะแขวนเครื่องรางรูปปลาตะเพียนของหลวงพ่อจงกันแทบทุกร้าน และก็ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง

ในปัจจุบันตะเพียนเงินตะเพียนทองของหลวงพ่อจงแท้ๆ หาได้ยาก เนื่องจากใครมีไว้ต่างก็หวงแหนเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี บางครั้งไปเจอก็ไม่ครบคู่จะเจอเพียงตัวใดตัวหนึ่ง

สันนิษฐานว่าเจ้าของเดิมอาจจะทำหายหรือไม่ก็ได้รับตกทอดมาโดยการแบ่งกันไว้คนละตัว จึงเช่าหาครบคู่ค่อนข้างยาก สนนราคาก็เริ่มสูงขึ้นมากครับ ของปลอมมีมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องระวังสังเกตดูให้ดีครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปปลาตะเพียนเงินตะเพียนทองจากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมครับ


ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/63192248468597__3594_3617_3619_3617_3614_3619.jpg)

รูปเสืองาแกะ หลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางของขลังเป็นของคู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน เครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งที่เป็นรูปสัตว์ต่างๆ ก็เป็นที่นิยม เช่น เครื่องรางรูปเสือก็มีอยู่หลายพระเกจิ อาจารย์ที่สร้าง มีทั้งเก่าและใหม่ ที่เป็นรุ่นเก่าๆ ก็จะหายากและมีราคาสูง อย่างเช่นเสือของหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน เสือหลวงพ่อนก วัดสังกะสี นอกจากนี้ก็ยังมีทางนครสวรรค์คือเสือหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน นครสวรรค์

หลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน เป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่า ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2402 พออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดมหาโพธิ์ อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ หลวงพ่อเฮงได้ศึกษาวิทยาการต่างๆ มากมาย ทั้งวิทยาคม วิชาโหราศาสตร์ อีกทั้งแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อได้ออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และได้พบกับพระเกจิอาจารย์หลายรูปในป่าที่ได้ธุดงค์ไป

ระหว่างทางที่ท่านได้ธุดงค์ไปนั้นก็ได้พบกับงากำจัด และงากำจาย งาช้างประเภทนี้เป็นงาช้างตัวผู้ที่ตกมัน และแทงงาหักปักติดต้นไม้ในป่าบ้าง หักคาตลิ่งน้ำในป่าบ้าง หรือที่ต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงกันเป็นจ่าโขลงแล้วเกิดแตกหักตกหล่นอยู่ในป่าบ้าง หลวงพ่อเฮงก็ได้เก็บไว้ เมื่อกลับมาก็รักษาไว้ในกุฏิ พอหลายๆ ปี ท่านก็มีงากำจัดและงากำจายมากขึ้นทุกปี

ต่อมาหลวงพ่อเฮงจึงได้นำมาให้ช่างแกะสลัก เป็นรูปคชสิงห์บ้าง รูปเสือบ้าง รูปหมูโทนบ้าง แล้วท่านจึงปลุกเสก และแจกจ่ายให้แก่บรรดาลูกศิษย์ เพื่อไว้คุ้มครองป้องกันตัว เครื่องรางงาแกะของหลวงพ่อเฮงนี้ใครได้รับไปก็จะหวงแหนมาก เนื่องจากมีประสบการณ์ในด้านต่างๆ มากมาย ลูกศิษย์ของท่านจะมีทั้งในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียง

คนที่ได้รับจะมีอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร อุทัยธานี และชัยนาท จะได้รับเครื่องรางของขลังจากท่านมากหน่อย แต่ก็หายากมากในปัจจุบัน เนื่องจากจำนวนงากำจัดและงากำจายที่ท่านเก็บมาจากในป่านั้นแกะได้จำนวนไม่มากนักครับ และใครได้ไว้ก็จะหวงแหนและเป็นมรดกตกทอดกันต่อมา

เครื่องงาแกะของหลวงพ่อเฮงจะพบเห็นมากก็จะเป็นรูปคชสิงห์ ส่วนรูปหมูโทนและเสือนั้นมีจำนวนน้อยกว่ามาก ช่างที่แกะงาของหลวงพ่อเฮงจะแกะได้สวยงาม รูปเสือก็แกะได้สวยงามนักรักมากครับ โดยส่วนตัวผมชอบศิลปะรูปเสือแกะของหลวงพ่อเฮงมาก แต่ก็หายากและมีราคาสูงครับ

หลวงพ่อเฮงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาโพธิ์ใต้ ในปี พ.ศ.2434 และในปี พ.ศ.2449 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเขาดินอีกหนึ่งวัด ครองตำแหน่งเจ้าอาวาสถึง 2 วัดด้วยกัน หลวงพ่อเฮงมรณภาพในปี พ.ศ.2485 สิริอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 63

เครื่องรางของขลังรูปสัตว์แกะจากงาของหลวงพ่อเฮงมีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คง แคล้วคลาด และเมตตามหานิยมครับ ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมาก ของปลอมมีมากและทำกันมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเสืองาแกะของหลวงพ่อเฮง วัดเขาดินมาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์




(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76300573100646_qq_3_696x352_1_.jpg)
เหรียญเจ้าปู่ศรีสุทโธนาคราช

ณ วังนาคินทร์คำชะโนด ก็มีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมามากมาย โดยเชื่อว่าเป็นทางเชื่อมระหว่างโลกบาดาลกับโลกมนุษย์ เป็นที่สิงสถิตของพญานาคและสิ่งลี้ลับต่างๆ

…ใน 1 เดือน พญาศรีสุทโธนาคราช ผู้ครองเมืองบาดาล จะกลายร่างเป็นมนุษย์ใน 15 วันข้างขึ้น มีชื่อว่า “เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธ” พำนักอยู่ ณ วังนาคินทร์คำชะโนดแห่งนี้ และจะกลายร่างเป็นพญานาคใน 15 วันข้างแรม โดยใช้ทางขึ้นลงที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ซึ่งอยู่ใจกลางป่าคำชะโนด…

ซึ่งมีการสังเกตได้ว่า ในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์นั้นบางครั้งมักจะเกิดฟองอากาศขึ้นคล้ายมีการหายใจอยู่ในน้ำ และบ่อยครั้งที่ชาวบ้านในละแวกนั้นได้พบเห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญพระเวท รวมถึงหญิงสาวที่มายืมเครื่องมือทอผ้าอยู่เป็นประจำ

หรือ “ผีจ้างหนัง” ภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงของทีมงานหนังเร่ที่ได้รับการว่าจ้างจากผู้จ้างปริศนา แม้แต่จากคำบอกเล่าจากชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้นว่า ทุกคืนวันพระ ชาวบ้านรอบๆ มักจะได้ยินเสียงดนตรีดังออกมาจากป่าคำชะโนด พร้อมการปรากฏกายของบรรดาชาวคำชะโนดในชุดสีขาว ซึ่งต่างเชื่อกันว่าเป็นบรรดางูบริวารของพญาศรีสุทโธนาคราช เป็นต้น

ตราบจนปัจจุบัน ตำนานและความเชื่อทั้งหลายยังคงสร้างความศรัทธาอย่างต่อเนื่อง ผู้คนมากมายจากทั่วสารทิศต่างเดินทางมากราบสักการะ “พญาศรีสุทโธนาคราช” หรือ “เจ้าปู่ศรีสุทโธนาคราช” กันอย่างเนืองแน่น ทั้งขอพร ขอลาภ ขอให้ช่วยปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ ฯลฯ มีการขออนุญาตจัดสร้าง “วัตถุมงคลเจ้าปู่ศรีสุทโธนาคราช” เพื่อนำรายได้สมทบทุนในการกุศลต่างๆ และเพื่อให้ผู้ศรัทธาได้ร่วมบุญพร้อมรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพศรัทธาไปสักการะยังเคหสถานหรือพกพาติดตัวเพื่อความเป็นสิริมงคล

เจ้าปู่ศรีสุทโธนาคราช รุ่นพญานาคราชประทานทรัพย์ก็เช่นกัน ได้ประกอบพิธีบวงสรวงและพุทธาเทวาภิเษก ณ วังนาคินทร์คำชะโนด เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมานี้ ด้วยความงดงามทางพุทธศิลป์ที่สร้างสรรค์ได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะ “รูปบูชา” รังสรรค์ได้งดงามอย่างไร้ที่ติจริงๆ กอปรกับเหตุการณ์ปาฏิหาริย์มากมาย ณ วันประกอบพิธี ทั้งปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด และเทียนชัยที่หลอมละลายแปรเป็นรูปพญานาค แสดงให้เห็นถึงการรับรู้ของเจ้าปู่ศรีสุทโธนาคราช ยิ่งสร้างความเข้มขลัง เชื่อมั่น และศรัทธา เป็นทวีคูณ

เจ้าปู่ศรีสุทโธนาคราช รุ่นพญานาคราชประทานทรัพย์ ประกอบด้วย พระบูชาปิดทองแท้ สูง 75 ซ.ม. สร้างจำนวน 39 องค์, พระชุด ประกอบด้วย พระบูชา, เหรียญทองคำ 22 กรัม, เหรียญเงิน และเหรียญนวโลหะ จัดสร้าง 19 ชุด, เหรียญเงิน สร้าง 108 เหรียญ, เหรียญนวโลหะ สร้าง 108 เหรียญ, เหรียญสองกษัตริย์ (พื้นเงิน-พื้นทอง) สร้าง 9,999 เหรียญ, เหรียญเนื้อทรายทอง-ทรายเงิน สร้าง 9,999 เหรียญ, เหรียญเนื้อทองแดงสีรุ้ง สร้าง 4,999 เหรียญ, เหรียญทองแดงนอก, ทองระฆัง และอัลปาก้า สร้างชนิดละ 4,999 เหรียญ

นอกจากนี้ยังมีเหรียญเนื้อทองแดงนอก หน้ากากสีประจำวัน สร้างจำนาน 7,000 เหรียญ โดยทุกองค์ทุกเหรียญมีเลขและโค้ดกำกับ ประการสำคัญคือ สั่งบูชาทุกเหรียญ แถมฟรี หนังสือ “วังนาครินทร์คำชะโนด…เปิดตำนานลี้ลับประตูวังบาดาล” ซึ่งผ่านพิธีพุทธาเทวาภิเษกเป็นที่เรียบร้อย 1 เล่ม

ผู้ศรัทธามากมายให้ความสนใจสอบถามข้อมูลและเช่าบูชากันอย่างต่อเนื่อง จนตอนนี้ใกล้หมดแล้ว ต้องรีบติดต่อด่วนที่ โทร.08-6372-6514 ครับผม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17084071619643_3_140_1_.jpg)

กุมารทองรุ่นแรก”หลวงปู่แย้ม”

นอกเหนือจาก “เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่แย้มรุ่นแรก ปี 2516” ที่ถือว่าเป็น “เหรียญ 2 พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมแห่งวัดสามง่าม” อันโด่งดัง ที่นอกจากจะเป็นที่แสวงหาอย่างสูงในบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้เคารพศรัทธา “หลวงพ่อเต๋และหลวงปู่แย้ม” แล้ว ปัจจุบันน่าจะกลายเป็นที่สนใจอย่างยิ่งยวดในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ และทวีค่านิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ

ยังมีประเภทเครื่องรางของขลังของ “หลวงปู่แย้ม” ที่น่าจะเป็นที่จับตากันในวงการ ดังที่กล่าวแล้วว่า หลวงปู่แย้ม ฐานยุตโต ท่านถือเป็นหนึ่งในศิษย์เอกผู้สืบทอดพุทธาคมของ “หลวงพ่อเต๋ คงทอง” ยอดพระเกจิชื่อดังผู้ทรงพุทธาคม เจ้าตำรับตะกรุดโทน ตะกรุดหนังเสือ และกุมารทองเนื้อดินโป่งแห่งวัดสามง่าม ซึ่งเมื่อท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจาก “หลวงพ่อเต๋” ท่านก็ได้เดินตามรอยพระอาจารย์ ในการสืบสานพระศาสนาและสร้างคุณูปการมากมายต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติมาโดยตลอด เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วหล้า ประการสำคัญคือ ท่านได้สืบทอด “ตำรับตำรามหา พุทธาคมของวัดสามง่าม” ที่ได้รับจากพระอาจารย์ได้อย่างสมบูรณ์

ดังนั้น สุดยอดเครื่องรางของขลังที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่ฮือฮาในยุคหลวงปู่แย้ม ก็คือกุมารทองทั้งเนื้อดิน-เนื้อโลหะ ตะกรุดโทน ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ และตะกรุด 3 ห่วง ที่ได้ถือตามแบบฉบับตำรับโบราณของ “หลวงพ่อเต๋” อันเป็นเอกลักษณ์ของกุมารทองวัดสามง่ามอย่างแท้จริง ยิ่งชื่อเสียงด้านความเข้มขลังด้านพลังจิตและความเชี่ยวชาญในพระเวทวิทยาคม ของ “หลวงปู่แย้ม” โดยเฉพาะการลงอักขระเลขยันต์ที่ท่านได้จารด้วยตัวเอง เขียนเอง ปลุกเสกเองนั้น ก็ยิ่งสร้างให้เครื่องรางของขลังต่างๆ ที่ท่านสร้างเข้มขลังด้วยพุทธาคม อิทธิฤทธิ์ และปาฏิหาริย์เป็นทวีคูณ โดยเฉพาะ “กุมารทองรุ่นแรก เนื้อดินเผา” ที่โดดเด่นทั้งทางโชคลาภ ค้าขายร่ำรวย และเงินทองมีใช้ไม่ขัดสน

คนเก่าคนแก่ที่ครอบครอง “กุมารทองรุ่นแรก หลวงปู่แย้ม” และบูชาอย่างสม่ำเสมอ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “กุมารทองรุ่นแรกนี้เฮี้ยนที่สุดในบรรดากุมารทองทุกรุ่นของหลวงปู่เลยทีเดียว” เรียกว่าโด่งดังเป็นที่กล่าวขวัญทั้งในเมืองไทยและไปถึงต่างประเทศ และเป็นที่แสวงหาอย่างสูงมาเนิ่นนานแล้ว

กรรมวิธีการสร้างกุมารทองของหลวงปู่แย้ม เริ่มจากมวลสารที่ใช้สร้างกุมารทองครบองค์ประกอบตามตำรา “หลวงพ่อเต๋” ซึ่งล้วนเป็นมวลสารอาถรรพ์ทั้งสิ้น เช่น ดิน 7 ป่าช้า, ดิน 7 ถ้ำ, ดิน 7 โป่ง, ดิน 7 ท่าน้ำ, ขี้เถ้ากระดูกคนมีชื่อเสียงจากเมรุเผาศพ 7 เมรุ, เส้นผมของสาวพรหมจรรย์และหลวงพ่อแย้ม ฯลฯ มาผสมเป็นมวลสารจัดสร้าง “กุมารทอง” แล้วอุดด้วยมวลสารใต้ฐานอีกรอบหนึ่ง จากนั้นจารอักขระทั้งองค์ด้วยลายมือของท่านทุกองค์ เจิมเรียกดวงจิต ดวงวิญญาณ อีกหลายรอบ เมื่อแล้วเสร็จ ท่านก็จะปลุกเสกอธิษฐานจิตเดี่ยวอีก 7 วัน โดยเน้นเฉพาะวันแข็ง คือ “วันเสาร์และวันอังคาร” บางครั้งท่านนั่งปลุกเสกจนมีคนได้ยินเสียงดังขลุกขลักๆ แล้วท่านก็จะบอกว่าองค์ไหนที่ใช้ได้แล้ว

กุมารทองรุ่นแรก เนื้อดินเผานี้ นับเป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลังของหลวงปู่แย้ม ที่คาดว่าจะทวีค่านิยมและการแสวงหาอย่างสูง ณ ปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังของ “หลวงปู่แย้ม” แม้จะไม่ใช่รุ่นที่กล่าวถึงนี้ ทั้งกุมารทองทั้งเนื้อดิน-เนื้อโลหะ ตะกรุดโทน ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ตะกรุด 3 ห่วง หรือเหรียญ ก็นับว่าเป็นสิริมงคลสูงส่งและเข้มขลังในพุทธาคมเฉกเช่นกัน


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 ตุลาคม 2560 18:56:31
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12574930033749_1_33_696x398_1_.jpg)

ตะกรุดเก้ากลุ่มสามกษัตริย์ และตะกรุดจำปา 4 ต้น ของครูบาวัง วัดบ้านเด่น

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์ทางภาคเหนือที่เปี่ยมล้นด้วยความเมตตารูปหนึ่ง คือหลวงพ่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น จังหวัดตาก ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย และเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป วัตถุมงคลของท่านนั้นมีผู้ที่มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดครับ

หลวงพ่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2434 ที่บ้านเหมืองจี้ อ.เมือง จ.ลำพูน เป็นบุตรของเจ้าคำปวนและเจ้าบัวเงา ซึ่งมีเชื้อสายของเจ้านายทางเหนือ เมื่อยังเยาว์ได้ศึกษาเล่าเรียนกับครูบาสมที่วัดเหมืองจี้ ต่อมาจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปีพ.ศ.2445 และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย

จนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2455 ที่วัดบ้านแป้น โดยมีพระครูกันธิยะ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการปั้น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระอธิการปุ้ม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อยู่จำพรรษาที่วัดบ้านแป้น 2 พรรษา แล้วจึงย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเหมืองจี้

ท่านสนใจศึกษาพระวิปัสสนากรรมฐานและได้ออกธุดงค์ไปจนถึงเชียงแสน ได้ศึกษาพระกรรมฐานจากพระเกจิอาจารย์หลายรูป พร้อมทั้งได้ศึกษาวิทยาคมต่างๆ ไปพร้อมกัน นอกจากนี้ท่านก็ยังศึกษาเรื่องวิชาแพทย์แผนโบราณควบคู่ไปด้วย เส้นทางที่ท่านธุดงค์ผ่านไปหลายจังหวัดจนทะลุออกประเทศพม่า

ท่านธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ อยู่หลายพรรษา ในที่สุดก็เข้ามาถึงป่าเด่นกระต่ายจังหวัดตาก หลวงพ่อเห็นว่าเป็นที่สงบเหมาะที่จะเจริญวิปัสสนากรรมฐาน และมีหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ใกล้ๆ กัน ท่านจึงปักกลดพักอยู่ที่นั่น ชาวบ้านพบหลวงพ่อก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธา ในคำเทศน์สั่งสอนของท่านจึงนิมนต์ขอให้หลวงพ่ออยู่จำพรรษาที่นี่ หลวงพ่อก็รับนิมนต์และชาวบ้านก็ร่วมใจกันสร้างกุฏิเล็กๆ มุงแฝกขึ้น ต่อมามีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษาด้วย ในตอนแรกๆ ก็มีกุฏิมุงแฝกอยู่ 3 หลัง

ต่อมาได้มีผู้ที่ได้ยินข่าวของหลวงพ่อครูบาวังที่ท่านได้ช่วยรักษาคนป่วยไข้ให้หายได้ จึงมาฝากตัวเป็นศิษย์กันมากขึ้น ได้มีผู้ศรัทธาบริจาคทรัพย์ช่วยกันสร้างศาลามุงกระเบื้องขึ้น กิติศัพท์ของหลวงพ่อครูบาวังเริ่มขจรขจายไปทั่ว

ในปีพ.ศ.2508 หลวงพ่อจึงได้สร้างพระอุโบสถจนสำเร็จโดยท่านไม่มีเงินเลย แต่ลูกศิษย์และประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อได้ร่วมใจกันสร้างจนสำเร็จลุล่วง นอกจากนี้ท่านยังสร้างหอระฆัง แท็งก์น้ำ และเสนาสนะอื่นอีกจนวัดบ้านเด่นมีความเจริญรุ่งเรือง ด้วยศรัทธาของผู้คนที่มีต่อหลวงพ่อ

หลวงพ่อครูบาวังมีเมตตาสูง ได้เลี้ยงดูเด็กที่พ่อแม่ยากจนมาให้ได้มีการศึกษา บางคนได้เข้ามาศึกษาต่อใน กทม. เล่าเรียนสูงจนจบมหาวิทยาลัย ในส่วนของชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วยหลวงพ่อก็ช่วยรักษาจนหาย หลวงพ่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตลอดชีวิตของท่าน สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า และล่วงรู้จิตใจคน ใครมาขออะไรท่านก็ให้หมด มีพระสงฆ์มาบวชกับท่านมากมาย

วัตถุมงคลของหลวงพ่อใครมาขอถ้ามีท่านให้หมด และมีการสร้างอยู่หลายแบบ เช่น ตะกรุดเก้ากลุ่ม ตะกรุดจำปา 4 ต้น ตะกรุด สามกษัติรย์ ผ้ายันต์ สีผึ้ง เหรียญรูปท่าน และพระกริ่ง เป็นต้น วัตถุมงคลของท่านคนที่ได้รับไปมีประสบการณ์มากมายทางเมตตามหานิยม โชคลาภค้าขาย แคล้วคลาดมีมากมาย และมีคนไปขอท่านแทบทุกวัน ท่านก็เมตตาแจกให้ ลูกศิษย์ของท่านมีทั้งชาวบ้านธรรมดาตลอดจนเจ้าใหญ่นายโต พ่อค้าวาณิช ท่านเมตตาทุกคนเสมอกันไม่เลือกชั้นวรรณะ เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนมาก

หลวงพ่อครูบาวังมรณภาพเมื่อวันที่ 18 ม.ค. พ.ศ.2516 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษา ที่ 62

ในวันนี้ผมขอนำรูปตะกรุดเก้ากลุ่มสามกษัตริย์ และตะกรุดจำปา 4 ต้น ของครูบาวัง วัดบ้านเด่น จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ (ปัจจุบันหายากครับ)



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99300051314963__3594_3617_3619_3617_3614_3619.jpg)

หนุมาน เนื้อนวโลหะ หลวงปู่ทิม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง เป็นพระเกจิอาจารย์ในยุคกลางๆ ที่ประชาชนเคารพนับถือมาก โดยเฉพาะพี่น้องชาวภาคตะวันออกจะเคารพศรัทธามากเป็นพิเศษ วัตถุมงคลมีอยู่หลายอย่าง ทั้งพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง ทุกอย่างล้วนเข้มขลังในพุทธคุณและมีค่านิยมสูงทั้งสิ้น

หลวงปู่ทิมปลุกเสกวัตถุมงคลทุกอย่างจะเข้มขลังเป็นพิเศษ และมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จึงเป็นที่นิยมและเป็นที่เสาะหากันมาก จึงทำให้วัตถุมงคลมีราคาสูงขึ้นมาก คนที่บูชาวัตถุมงคลของท่านถ้าเป็นคนดีมีศีลธรรมและขอในสิ่งที่ถูกต้องจะสัมฤทธิผลทุกราย พระกริ่งชินบัญชร นับว่าเป็นพระกริ่งที่มีสนนราคาสูงที่สุด สนนราคาหลายแสนบาท แต่ก็หายากเช่นกัน

นอกจากนี้พระชุดผงพรายกุมาร เช่น พระขุนแผนผงพรายกุมารทั้งใหญ่และเล็กก็หลักแสนทั้งสิ้น เนื่องจากผู้ที่ใช้บูชาต่างก็มีประสบการณ์มากมาย ความนิยมไม่เคยเสื่อมคลาย ไม่ว่าจะเป็นเหรียญต่างๆ ของท่านก็หายากทุกรุ่น ส่วนในเรื่องเครื่องรางของขลังก็ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน และก็หายากมาก

เครื่องรางของขลังไม่ว่าจะเป็น ผ้ายันต์พัดโบก ผ้ายันต์สารพัดกัน ตะกรุด ปลัดขิก ลูกอมผงพรายกุมาร หรือหนุมานบรรจุผงพรายกุมาร ล้วนแต่เป็นของหายากและมีผู้ต้องการมาก สนนราคาก็สูงตามไปด้วย ของปลอมเลียนแบบก็ออกมามากตามไปด้วย การจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดี ควรปรึกษาผู้รู้หรือเช่าหากับผู้ชำนาญการสายตรงก็จะปลอดภัย

หนุมานของหลวงปู่ทิมถือเป็นเครื่องรางยอดนิยมประเภทหนึ่ง หลวงปู่ทิมสร้างไว้เป็นรุ่นเดียวและรุ่นสุดท้ายในปี พ.ศ.2518 มีเนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ ใต้ฐานจะบรรจุผงพรายกุมาร ลงจารทุกตัว และจะตอกโค้ดไว้ทุกตัว ทำให้ใช้ในการพิจารณาได้ โค้ดของปลอมจะทำไม่เหมือน สนนราคาเนื้อนวโลหะในปัจจุบันสมบูรณ์ๆ ราคาขึ้นหลักแสน

ส่วนเนื้อเงินก็จะสูงกว่า พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม มีประสบการณ์มากมาย จึงทำให้มีผู้เสาะหากันมาก ของปลอมก็หายห่วงมีแน่นอนครับ แต่ไม่เหมือนถ้าพิจารณาดีๆ ของแท้รายละเอียดคมชัด และที่ปลอมไม่เหมือนอีกอย่างก็คือ โค้ด เพราะของแท้จะคมชัดมาก และใช้เป็นจุดพิจารณาได้เป็นอย่างดี

ในส่วนหนุมานที่เป็นเนื้อชินตะกั่วของ วัดละหารไร่นั้น ครั้งแรกคณะกรรมการก็จะสร้างให้หลวงปู่ทิมปลุกเสกเช่นกัน แต่สร้างเสร็จไม่ทัน จึงให้หลวงปู่แก้ว เจ้าอาวาสองค์ต่อจากหลวงปู่ทิม และเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ทิมปลุกเสก ปัจจุบันก็นิยมเช่นกัน จะต่างกันหน่อยที่ราคาเท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปหนุมาน เนื้อนวโลหะของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จากหนังสือตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลังขมังเวทย์ ซึ่งมีทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ใต้ฐาน และโค้ดมาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง
“แทน ท่าพระจันทร์”


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 พฤศจิกายน 2560 16:43:02
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84481081490715_1_324_1_.jpg)
ลูกอมมหากัณฑ์ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สำหรับผู้นิยมพระเครื่องนอกจากพระเครื่องที่ชื่นชอบแล้วก็ไม่แคล้วจะสนใจเครื่องรางของขลังพ่วงไปด้วย ผมเองก็เช่นกันในสมัยก่อนจะชอบหาเครื่องรางของขลังมาก แต่ก็ได้ของแท้บ้างของไม่แท้บ้าง (ส่วนมากจะได้ของไม่แท้เสียเป็นส่วนใหญ่) ก็เริ่มศึกษาตามสมควรแต่โอกาส

ครับเครื่องรางของขลังของไทยมีด้วยกันหลากหลายมาก ตั้งแต่ตะกรุด เขี้ยว งา กะลา เขา ของทนสิทธิ์ต่างๆ ผ้ายันต์ แหวนพิรอด ลูกอมและอื่นๆ เครื่องรางของขลังเก่าๆ นั้นโดยส่วนใหญ่จะทำกันเองที่วัดมิได้จ้างโรงงานทำให้แต่อย่างไร

ดังนั้นจึงพิจารณายากมาก ในเวลาต่อมาภายหลัง เพราะไม่ได้มีแบบพิมพ์หรือแม่พิมพ์แต่ประการใด การศึกษาต้องเคยเห็นของแท้ๆ มามากๆ จดจำลายมือ เนื้อหาของวัตถุมงคลนั้นๆ หรือวิธีการทำของแต่ละเกจิอาจารย์ให้ได้อย่างแม่นยำ ผมเองยอมรับว่ายากมากๆ ครับ แต่ก็พยายามเสาะหาจากท่านผู้หลักผู้ใหญ่ที่ได้รับมาในยุคนั้นๆ และพยายามศึกษาได้มั่งไม่ได้มั่ง

ผมเองในสมัยก่อนก็สนใจเรื่องลูกอม เพราะสนนราคาจะถูกกว่าวัตถุมงคลอื่นๆ ของหลวงพ่อนั้นๆ สังเกตดูก็มีน่าสนใจอยู่หลายพระอาจารย์ เช่น ลูกอมของหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ลูกอมของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ลูกอมของหลวงพ่อทับ วัดทอง ลูกอมของหลวงพ่อทับ วัดอนงค์ ลูกอมของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เป็นต้น

ผมก็ติดตามเสาะหาจนได้ลูกอมของหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอกเป็นลูกแรก ต่อมาก็ได้ลูกอมของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม และลูกอมของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ของหลวงปู่ทิมนั้นได้ง่ายหน่อย เนื่องจากเช่าไว้ในสมัยที่หลวงปู่สร้าง ส่วนลูกอมของหลวงพ่อคงนั้นก็เริ่มศึกษาจากผู้หลักผู้ใหญ่สายลูกศิษย์ของหลวงพ่อคง เช่นท่านอาจารย์เภา และคุณตาท่านหนึ่งนามสกุล ณ บางช้าง ซึ่งท่านเกิดทันหลวงพ่อคงและเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อคง

การสอบถามจึงเข้าใจลูกอมของหลวงพ่อคงมากขึ้นและได้ไว้หนึ่งลูก จากการสอบถามก็ทราบว่าลูกอมของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อมนั้น สร้างด้วยเนื้อผงสีขาวผสมด้วยผงดินสอพองที่หลวงพ่อเขียนจารลงบนแผ่นกระดานชนวนลบและเก็บรวบรวมไว้นำมาคลุกเคล้าปั้นเป็นลูกอม มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ไม่แน่นอน ที่สำคัญหลวงพ่อคงจะจารอักขระขอมตัว นะ ไว้เพียงตัวเดียวในกระดาษสา ม้วนแบบตะกรุดแล้วจึงนำเนื้อผงที่เตรียมไว้มาหุ้มแล้วปั้นเป็นลูกกลมๆ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73327725339266_2_198_1_.jpg)

ลูกอมนี้มักเรียกกันว่า “ลูกอมมหากัณฑ์” เรื่องพุทธคุณนั้นศักดิ์สิทธิ์มาก คงกระพันชาตรีนั้นเป็นที่หนึ่ง ของแหลมไม่ได้กินเลือด แม้แต่สุนัขก็กัดไม่เข้า (ท่าน อาจารย์เภาเล่าให้ฟัง) และแคล้วคลาดก็มีประสบการณ์มาก

นอกจากนี้เรื่องเมตตามหานิยมก็ดีเยี่ยม หลวงพ่อคงจะให้ลูกอมใครท่านก็จะสอนก่อนทุกคนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม ห้ามนำไปใช้ในทางที่ผิด คดโกงหรือไปปล้นไปลักของใคร ห้ามผิดลูกผิดเมียใครเด็ดขาด ทุกคนที่ได้ไปก็จะรับปากหลวงพ่อทุกคน แต่ก็มีบางคนที่ไปทำผิดหลวงพ่อจะรู้ได้ทันที เนื่องจากลูกอมนั้นจะแตกออกหรือไม่ก็หายไปจากตัวและกลับมาอยู่ที่กุฏิที่หน้าหิ้งบูชาของหลวงพ่อ อาจารย์เภาเล่าให้ฟังว่า

วันหนึ่งได้ไปกราบหลวงพ่อคง หลวงพ่อบอกว่าเมื่อวานกลับมา 2 หน่วย หมายถึงลูกอมของท่านที่ให้ลูกศิษย์ไปแล้วไปทำผิด ลูกอมจึงกลับมาหาหลวงพ่อคง และก็มีบางรายเมื่อลูกอมแตกหรือหายไปกลับมากราบหลวงพ่อและขอลูกอมลูกใหม่ แต่หลวงพ่อจะไม่ให้ และจะบอกกับผู้นั้นว่า “รอไปก่อนนะจ๊ะให้มีความประพฤติดีเสียก่อนจึงค่อยมาเอาใหม่” ลูกอมของหลวงพ่อคงนั้นศักดิ์สิทธิ์นักครับ

ลูกอมของหลวงพ่อคงท่านจะมอบให้ก็เป็นลูกอมเนื้อผงสีขาวๆ ธรรมดานี่แหละครับ คนที่ได้ไปบางคนก็ใช้อมในปากอย่างนั้นเลย บางคนก็นำไปถักเชือกลงรักถักหูเพื่อห้อยคอ ในสมัยก่อนหาเช่าก็ยังไม่แพงนัก ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ และไม่รู้ว่าแท้หรือไม่ จะเช่าหาก็ต้องได้จากคนที่ไว้ใจได้เท่านั้น ราคาก็ค่อนข้างสูงแล้วในปัจจุบัน

ในวันนี้ผมได้นำรูปลูกอมมหากัณฑ์ของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ทั้งแบบเปลือยๆ และแบบลงรักถักเชือก จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง “แทน ท่าพระจันทร์”


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96908549674683_view_resizing_images_1_.jpg)
ท้าวเวสสุวัณ ท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์)

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรามาคุยกันถึงท้าวเวสสุวัณของท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) กันสักหน่อยนะครับ ท้าวเวสสุวัณนั้นท่านเกจิอาจารย์ในสมัยก่อนมักจะทำเป็นแบบผ้ายันต์ไว้กันผีหรืออมนุษย์ต่างๆ นิยมติดไว้ตามประตูบ้าน เพื่อคุ้มครองไม่ให้สิ่งชั่วร้ายหรือภูตผีปีศาจต่างๆ มารบกวน สำหรับที่เป็นแบบรูปหล่อโลหะในสมัยก่อน ก็เห็นจะมีของท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์นี่แหละครับ

เรื่องมูลเหตุที่ท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ท่านได้สร้างรูปหล่อท้าวเวสสุวัณ ก็เนื่องมาจากท่านได้ขึ้นไปสร้างพระอุโบสถวัดตีนโนนหรือวัดศรีจอมทอง ที่เป็นวัดแถบบ้านเกิดของท่าน ในตำบลป่าหวายฯ ท่านได้เริ่มสร้างพระอุโบสถมาตั้งแต่ พ.ศ.2490 เป็นลำดับมา ขณะที่กำลังก่อสร้างอยู่นั้น ท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ก็ได้ขึ้นไปดูการก่อสร้างอยู่เสมอ ได้มีชาวบ้านและพวกช่างก่อสร้างได้มาปรารภกับท่านเสมอว่า ในพื้นที่นี้มีภูตผีปีศาจมาหลอกหลอนรบกวนอยู่เสมอ ไม่เป็นอันทำงานทำการ มีข่าวว่าคนถูกผีปอบเข้าสิงกินตับไตไส้พุงเป็นที่เล่าลือกันมาก

เมื่อท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ท่านได้ทราบเรื่องราวแล้ว และท่านได้กลับมาที่วัดสุทัศน์ จึงได้สร้างรูปท้าวเวสสุวัณ แบบรูปลอยองค์ ลักษณะคล้ายกับยักษ์วัดแจ้ง คือยืนถือกระบองแล้วนำไปแจกแก่ญาติโยมเพื่อไว้กันผีปอบ และหลังจากที่ท่านได้นำไปแจกแล้วเรื่องผีปีศาจก็เงียบหายไป

ทำไมท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) จึงสร้างรูปท้าวเวสสุวัณไว้กันผี ในตำนานได้มีเรื่องกล่าวถึงท้าวเวสสุวัณหรือยักษ์ตนนี้ว่า แม้รูปร่างหน้าตาของท้าวเวสสุวัณจะเป็นยักษ์ แต่ก็เป็นยักษ์ฝ่ายธรรมะ เทวดารบกับยักษ์ครั้งไร ท้าวเวสสุวัณเป็นต้องเข้าข้างเทวดาทุกที ในศาสนาพราหมณ์ว่าท้าวเวสสุวัณเป็นหนึ่งในจตุโลกบาล คือมีหน้าที่เฝ้าดูแลรักษาโลกด้านทิศเหนือ โดยถือว่าท่านเป็นนายผีนายอสูรยักษ์ทั้งหลาย

มีดหมอของเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ยังนิยมทำด้ามเป็นรูปท้าวเวสสุวัณ หรือไม่ก็จารอักขระลงในใบมีด เป็นอาวุธของเทพต่างๆ รวมทั้งกระบองของท้าวเวสสุวัณด้วย อย่างในมีดหมอของ หลวงพ่อเดิม เป็นต้น นอกจากนี้เราจะเห็นว่า ตามวัดต่างๆ ที่สร้างมาตั้งแต่ในอดีตนั้น จะเห็นมีรูปยักษ์ยืนถือกระบองเฝ้าตามจุดต่างๆ หรือตามหน้าพระอุโบสถ ก็คือรูปจำลองของท้าวเวสสุวัณนั่นเองครับ เพื่อเป็นการ ปกปักรักษาหรือกำราบอสูรหรือภูตผีต่างๆ เพราะท่านเป็นนายผีอยู่แล้ว ภูตผีต่างๆ ก็ไม่สามารถเข้ามาในวัดได้นั่นเองครับ

ในปี พ.ศ.2492 ท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) จึงได้สร้างรูปท้าวเวสสุวัณไปแจกญาติโยมตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เนื้อท้าวเวสสุวัณจะเป็นเนื้อทองเหลืองผสม วรรณะออกเหลืองอมเขียว ปัจจุบันเริ่มหายากแล้ว ของปลอมก็พบอยู่มากครับ นอกจากรูปท้าวเวสสุวัณจะปกป้องคุ้มครองจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ แล้ว ยังมีผลทางโชคลาภโภคทรัพย์ด้วยครับ วันนี้ผมได้นำรูปท้าวเวสสุวัณของท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) มาให้ชมกันครับ
ชมรมพระเครื่อง “แทน ท่าพระจันทร์”


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78490909809867_1_40_696x367_1_.jpg)
วัตถุมงคลเจ้าปู่ศรีสุทโธ รุ่นพญานาคราชฯ

พลังแห่งศรัทธาจากสาธุชนทั่วแคว้นแดนสยามต่างมุ่งไปยัง “ป่าคำ ชะโนด” เพื่อครั้งหนึ่งในชีวิตได้มากราบ สักการะขอพรจาก “พญาศรีสุทโธนาคราช” หรือ เจ้าปู่ศรีสุทโธนาคราช และ “นางพญา นาคิณีศรีปทุมมาวิสุทธิเทวี” หรือ เจ้าย่าศรีปทุมมา พระมเหสีเอก อันจะเป็นมิ่งมงคลแก่ชีวิต ทั้งยังมีการจัดสร้างวัตถุมงคลมากมาย เพื่อเป็นองค์แทนเจ้าปู่ฯ แม่ย่าฯ ไว้สักการบูชายังเคหสถานหรือพกพาติดตัวเพื่อความอบอุ่นใจว่ามีบารมีปกป้องคุ้มครอง

เมื่อเร็วๆ นี้ก็ได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลเจ้าปู่ศรีสุทโธนาคราช รุ่นพญานาคราชประทานทรัพย์ ประกอบด้วย รูปบูชาและเหรียญ โดยแบ่งเป็น “พระบูชาปิดทองแท้” ความสูง 75 ซ.ม., “พระชุด” : พระบูชา เหรียญทอง 22 กรัม เหรียญเงิน เหรียญนวโลหะ เหรียญสองกษัตริย์ เหรียญอัลปาก้า เหรียญทองเหลือง และเหรียญทองแดง รวม 7 รายการ สร้าง 19 ชุด และแยก “เหรียญเดี่ยว” คือเหรียญทองคำ หนัก 22 กรัม, เหรียญเงินและเหรียญนวโลหะ สร้างชนิดละ 108 เหรียญ, เหรียญสองกษัตริย์ สร้าง 999 เหรียญ, เหรียญอัลปาก้า ทองเหลือง และทองแดง สร้างชนิดละ 9,999 องค์ ทุกองค์มีเลขและโค้ดกำกับ

ประกอบพิธีบวงสรวงพุทธาเทวาภิเษก ณ วังนาคินทร์คำชะโนด ในวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นวันหยุด จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาไหว้ “เจ้าปู่ศรีสุทโธและเจ้าย่าศรีปทุมมา” จำนวนนับหมื่น ในระหว่างประกอบพิธีได้เกิดอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย จนผู้ร่วมงานและผู้คนในบริเวณโดยรอบต่างตื่นตะลึง …
 
ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ข้างสะพานเข้าไปในคำชะโนด ซึ่งจัดเป็นปะรำพิธีบวงสรวงพุทธาเทวาภิเษก โดยมีนายสุชัย บุตรสาระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระมงคลสุธี (หลวงพ่อแขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก เป็นเจ้าพิธีและประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมพระเกจิผู้ทรงคุณสายพญานาคจากอุดรธานีและภาคอีสานหลายรูป

นับเป็นพิธีที่สมบูรณ์และยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา … ขณะที่หลวงพ่อแขกกำลังจุดเทียนชัยตามมงคลฤกษ์เวลา 11.00 น.นั้น บนท้องฟ้าได้เกิดปรากฏการณ์ “พระอาทิตย์ทรงกลด” อากาศที่ร้อนอบอ้าวกลับมีลมพัดผ่าน เป็นที่น่าอัศจรรย์ จนได้ยินเสียง “สาธุๆ” ดังมาจากทั่วบริเวณ และหลายๆ คนก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “พ่อปู่ศรีสุทโธ”

ความอัศจรรย์ครั้งที่ 2 ยิ่งสร้างความตื่นตาตื่นใจ เมื่อเทียนชัยที่จุดนั้นค่อยๆ หลอมละลายแปรสภาพเป็นรูป “พญานาค” อย่างชัดเจน … ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะเห็นจากสายตาทุกคู่ของผู้เข้าร่วมพิธีมากมาย ทั้งผู้มาสักการะอีกนับหมื่นคน ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้มีให้เห็นกันบ่อยครั้ง สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาเพิ่มพูน อีกสิ่งหนึ่งที่ถึงแม้ไม่งมงาย แต่ก็อัศจรรย์จนต้องกล่าวถึง นั่นคือตั้งแต่เริ่มกำหนดวันพุทธาเทวาภิเษก บรรดาเซียนหวยต่างนำไปเล่นกลับไปกลับมา บางคนตีเลขเพิ่มเติม “นาค” คือ หนึ่ง ปรากฏออกมาตรงๆ ถูกหวยรวยเบอร์กันถ้วนทั่ว เห็นได้จาก “ไข่” หนึ่งแสนฟอง ที่นำมาแก้บนจากการถูกหวย 60 ล้านบาท

จากเหตุอัศจรรย์ต่างๆ ใน “วันบวงสรวงพุทธา เทวาภิเษก” ทำให้มั่นใจได้ว่า วัตถุมงคลเจ้าปู่ศรีสุทโธนาคราช แห่งคำชะโนด รุ่นพญานาคราชประทานทรัพย์นี้ “เจ้าปู่ศรีสุทโธนาคราช” ทรงร่วมรับรู้และทรงเมตตาประทานพรอันประเสริฐแก่ผู้สักการะอย่างแน่นอน ประการสำคัญ!! สำหรับผู้ที่ สั่งจองบูชาทุกเหรียญ จะได้รับหนังสือ “วังนาคินทร์คำชะโนด…เปิดตำนานลี้ลับประตูวังบาดาล” ที่รวบรวมประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับพญานาค, พญาศรีสุทโธนาคราชแห่งวังนาคินทร์คำชะโนด และสถานที่ต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับพญานาค มูลค่า 499 บาท ฟรี 1 เล่ม เพื่อเป็นวิทยาทานเก็บรักษาตำนานต่างๆ สู่รุ่นลูกหลานสืบไป
คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87490155216720_bud01110760p2_1_.jpg)
เจ้าปู่ศรีสุทโธ-เจ้าย่าศรีปทุมมา รุ่นนาคราชประทานทรัพย์

“พิพิธภัณฑ์บ้านบุญบวงสรวง” ถนนลาดพร้าว ซอย 31 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ เป็นศูนย์รวมสิ่งศักดิ์สิทธิ์หนึ่งเดียวในประเทศไทย งานศิลปะที่หลากหลาย งานศิลปะการถ่ายภาพ งานจิตร กรรมโดยศิลปินชื่อดัง และงานประติมากรรมต่างๆ

โดยชั้น 1 เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์นาคานาคราช, ชั้น 2 เป็นพิพิธภัณฑ์พระ พิฆเนศวร, ชั้น 3 เป็นพิพิธภัณฑ์พระคณาจารย์ และชั้น 4 เป็นพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จาก 10 ประเทศ และพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง 77 จังหวัด

ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ “ทศพล จังพานิชย์กุล” นักเขียนชื่อดัง ช่างภาพรางวัลพระราชทานปี 2542 และเป็นผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพญานาคคนแรกๆ ของประเทศ โดยแรงบันดาลใจในการสร้างเกิดขึ้นหลังจากได้รับรางวัลภาพถ่ายยอดเยี่ยมถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี 2542

จึงนำความรู้ความสามารถในการถ่ายภาพวัดวาอารามต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อจัดพิมพ์เป็นเล่ม

หลังจากถ่ายภาพเสร็จแล้วได้บูชาพระพุทธรูป (จำลอง) ขนาด 9 นิ้วของวัดนั้นๆ มาด้วย กลายเป็นการสะสมพระพุทธรูปต่างๆ ตลอดมาจนมีจำนวนมาก จึงเกิดแนวคิดเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ผู้ที่มีความเคารพศรัทธามาเยี่ยมชมและสักการบูชาขอพรจากพระพุทธรูปองค์ต่างๆ นับเป็นการสืบสานงานพุทธศิลป์ และเป็นศูนย์รวมความศรัทธาเลื่อมใสที่งดงามอลังการ โดยเปิดให้ชมฟรี ตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น.

สืบเนื่องจากปัจจุบันมีกระแสความนิยมศรัทธา ต่างมุ่งไปยัง “ป่าคำชะโนด” เพื่อครั้งหนึ่งในชีวิตได้มากราบสักการะขอพรจาก “พญาศรีสุทโธนาคราช” หรือ เจ้าปู่ศรีสุทโธนาคราช และ “นางพญานาคิณีศรีปทุมมา วิสุทธิเทวี” หรือ เจ้าย่าศรีปทุมมา พระมเหสีเอก อันจะเป็นมิ่งมงคลแก่ชีวิต ทั้งยังมีการจัดสร้างวัตถุมงคลมากมาย เพื่อเป็นองค์แทนเจ้าปู่ฯ แม่ย่าฯ ไว้สักการบูชายังเคหสถาน หรือพกพาติดตัวเพื่อความอบอุ่นใจว่ามีบารมีปกป้องคุ้มครอง

พิพิธภัณฑ์จึงจัดสร้างวัตถุมงคล “รุ่นนาคราชประทานทรัพย์” เพื่อให้ผู้ที่เคารพศรัทธาพญานาคบูชาเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ซึ่งเชื่อกันว่าผู้ที่บูชาพญานาคจะมีโชคลาภ มีความสุข ธุรกิจการค้าการงานเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้น

รูปแบบพญามุจลินท์นาคราช เนื้อโลหะเพนต์สี, พญาศรีสุทโธนาคราช พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก เนื้อไฟเบอร์ตัน ล็อกเกตรุ่นแรก เจ้าปู่ศรีสุทโธ-เจ้าย่าศรีปทุมมา ขนาดใหญ่สูง 4 ซ.ม. ด้านหลังบรรจุมวลสารสำคัญที่หายาก เช่น เทียนชัยพิธีใหญ่สนามหลวง หงอนพญานาค และข้าวสารหิน

พิธีพุทธา-เทวาภิเษก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 มิ.ย.2560 เวลา 15.26 น. ซึ่งเป็นมหัทธโนฤกษ์ ทางโหราศาสตร์อินเดีย (ภารตะ) เรียกว่า “สมบัติ มหัทธโนฤกษ์” แปลว่า “คนมั่งมี ผู้รุ่งเรือง เศรษฐี” เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับการมงคลพิธีสำคัญต่างๆ ที่ต้องการความเจริญรุ่งเรือง มีเงินทองทรัพย์สินมากมาย

พระคณาจารย์ชื่อดังและปู่ฤๅษีร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต พระราชพัฒนโสภณ (หลวงพ่อเณร ญาณวินโย) วัดทุ่งเศรษฐี เขตประเวศ กรุงเทพฯ ประธานจุดเทียนชัย พระมงคล วโรปการ (หลวงพ่อชำนาญ อุตตมปัญโญ) ดับเทียนชัย อธิษฐานจิตโดย หลวงปู่ชัยวิทย์ ปวโร สำนักสงฆ์อุดมปู่นาคาย่านาคี อ.เมือง จ.ชัยภูมิ, พระครูสุนทรคุณธาดา (หลวงพ่อทองกลึง สุนทโร) วัดเจดีย์หอย อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี, หลวงพ่อบุญอุ้ม อาภัสสโร วัดป่าโนนแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม และ ปู่ฤๅษีนพเก้าแก้วมณี อาศรมบ่อทอง อ.ศรี สงคราม จ.นครพนม
  คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 มกราคม 2561 11:11:54

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14291756600141_view_resizing_images_1_.jpg)

แมงภู่
ของเก่าจากหนังสือคง เข้ม ข่าม ขลัง เครื่องรางล้านนา  

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางของขลังเป็นเรื่องของศรัทธาและความเชื่อ โดยเฉพาะเครื่องรางของขลังนั้นมีความเชื่อด้วยกันเกือบทุกประเทศในโลก เพียงแต่ในบางประเทศอาจจะไม่ค่อยได้พูดถึงกันหรืออาจจะเหลือน้อยลง แต่ความจริงก็มีด้วยกันทั้งนั้น วันนี้ผมจะพูดถึงเครื่องรางของขลังที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศเพื่อนบ้านเรา แม้กระทั่งในประเทศเราเองทางตอนเหนือที่มีเขตแดนติดต่อกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีชาติพันธุ์ที่หลากหลายอาศัยอยู่ในประเทศไทย

เครื่องรางของขลังที่ผมจะพูดถึงก็คือแมลงภู่ ครับบางท่านอาจจะงงๆ อยู่ เมื่อหลายปีก่อนผมได้พบกับเครื่องรางชนิดหนึ่งทำจากไม้แกะเป็นรูปแมลงภู่ ซึ่งแกะได้สวยงามมากและดูแล้วมีความเก่าก็สนใจ จึงสอบถามเจ้าของว่าคืออะไร เจ้าของก็บอกว่าเป็นเครื่องรางทางล้านนาไว้คุ้มครองป้องกันตัว เขาก็บอกได้เพียงเท่านี้ ผมเกิดความสนใจจึงค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องรางแมลงภู่จนได้เขียนไปสอบถามท่านอาจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ท่านก็กรุณาบอกเล่าถึงเรื่องราวอย่างละเอียด ผมก็ยิ่งสนใจมากขึ้นและก็หาเก็บไว้เช่นกัน

เครื่องรางรูปแมลงภู่คนทางเหนือมักเรียกว่าแมงภู่ บ้างก็ออกเสียงเป็นแมงปู้ หรือแมงภู่คำบ้าง ครับก็คือชนิดเดียวกัน จากความรู้ที่ได้จากท่านอาจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ก็พอจะเล่าต่อได้ว่า แมงภู่เป็นเครื่องรางที่ชาวไทใหญ่นิยมมีติดตัวติดเรือนไว้คุ้มครองป้องกันภัย หรือแม้กระทั่งการทำมาค้าขายให้โชคลาภ ส่วนมากชาวไทใหญ่จะเชื่อถือกันมาก นอกจากนี้ชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญก็ยังเชื่อถือเช่นกัน

เด็กชาวไทใหญ่พ่อแม่ก็จะผูกแมงภู่ห้อยคอเด็กไว้คุ้มครอง พ่อค้าแม่ขายก็มักนำแมงภู่พกติดตัวติดร้านค้าไว้เพื่อช่วยให้ค้าขายดี ท่านอาจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง เล่าว่ายังเคยเห็นชาวไทใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง และทหารว้าแดงบางคนก็ห้อยแมงภู่ติดตัว เท่าที่สอบถามท่านอาจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ซึ่งท่านมีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องราวต่างๆ พร้อมขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมทางล้านนาได้เล่าให้ฟังว่า การสร้างแมงภู่นั้นผู้สร้างมักจะเป็นพระภิกษุผู้เรืองเวท หรือพ่อครูฆราวาสผู้ขมังเวท ส่วนมากจะสร้างจากไม้ประดู่ดุมเกวียนหรือลูกสะบ้าที่แกะจากงานั้นพบน้อย ภายในตัวแมงภู่จะบรรจุปรอทหรือเข็ม มีฤทธิ์ทางป้องกัน การเตือนภัย ไล่สิ่งชั่วร้าย ทำให้คนที่คิดร้ายกลับใจ บ้านเรือนของชาวไทใหญ่จะนำแมงภู่ตั้งไว้บนหิ้งเพื่อคุ้มครองป้องกันบ้านเรือนจากภัยต่างๆ ตลอดจนโจรผู้ร้าย ส่วนที่พกติดตัวไว้เพื่อคุ้มครองป้องกันตัวและมีโชคลาภ ทำมาค้าขายคล่อง

ครับเครื่องรางของขลังแมงภู่นี้ในเมืองไทยเราแถบถิ่นล้านนาก็เชื่อถือและมีการสร้างอยู่บ้างเช่นกัน ส่วนแมงภู่เก่าที่มีขายกันอยู่ทางเชียงรายแถบแม่สายก็มีอยู่เหมือนกัน แต่ก็เป็นของที่นำมาจากทางประเทศพม่าบ้าง ทำในเมืองไทยบ้าง มีทั้งมีพิธีกรรมปลุกเสกบ้าง ไม่มีบ้าง เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนหน่อย เพราะบางทีก็เก่าไม่จริง ทำเป็นเก่าก็มีครับ

ผมเองก็ได้แมงภู่เก่าจากเพื่อนคนหนึ่ง มีที่เป็นงาแกะและเป็นไม้แกะอย่างละหนึ่งตัว ส่วนที่เป็นของใหม่ที่มีพิธีกรรมปลุกเสกแน่ๆ ก็มีไว้บ้าง คือของครูบาเลิศ วัดทุ่งม่านใต้ ครูบาบุญยัง วัดห้วยน้ำอุ่น และของครูบาอู่วิจายะ ซึ่งท่านเป็นพระสงฆ์ชาวไทใหญ่อยู่ที่เชียงตุง ทั้ง 3 พระอาจารย์เป็นของที่สร้างใหม่นะครับ แต่ก็มีพิธีกรรมปลุกเสกแน่นอน ศิลปะการแกะสวยงามมากครับ เหมือนตัวแมงภู่จริงๆ เลย น่ารักดีครับ

ก็เล่าเรื่องเครื่องรางของขลังของทางล้านนาตามประสาคนชอบเรื่องเครื่องรางของขลังให้อ่านกันเล่นๆ นะครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปแมงภู่ซึ่งเป็นของเก่าจากหนังสือคง เข้ม ข่าม ขลัง เครื่องรางล้านนา ของอาจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง
 แทน ท่าพระจันทร์


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 พฤษภาคม 2561 12:03:11
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73682098007864_view_resizing_images_1_.jpg)
รูปตะกรุดของหลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องเครื่องรางของขลังประเภทตะกรุดยุคเก่าของจังหวัดพิจิตร และเป็นต้นตำรับของตะกรุดเมืองพิจิตร ก็คือตะกรุดของหลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า สำหรับท่านที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงพระเครื่องก็อาจจะไม่ค่อยรู้จัก เนื่องจากเป็นพระยุคเก่ามากๆ ประวัติของท่านก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้ เพียงแต่มีการบอกเล่ากันต่อมา และหลวงพ่อโพธิ์เป็นอาจารย์ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ที่มีคนเคารพนับถือกันมาก เรามารู้จักกับตะกรุดของหลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า กันนะครับ

หลวงพ่อโพธิ์เป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าแก่ของจังหวัดพิจิตร จากการสืบค้นจาก คำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ได้รับคำบอกเล่าจากพ่อแม่เล่าต่อกันมาว่า ท่านเป็นพระมอญ เดินธุดงค์มาจากเมืองปทุมธานี เมื่อมาถึงตำบลบางคลาน ท่านก็สร้างกุฏิมุงด้วยหญ้าคาเล็กๆ อยู่ริมน้ำ ที่บริเวณนี้เป็นคุ้งน้ำและมีน้ำวน และมักจะมีหมาเน่าที่ลอยมาตามน้ำก็มักจะลอยมาวนติดอยู่ที่คุ้งน้ำแห่งนี้ บางครั้งก็มีจำนวนมากนับสิบตัว จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกบริเวณแถบนี้ในสมัยก่อนว่า "วังหมาเน่า"

สมัยก่อนเป็นป่าหญ้าคาเงียบสงบ ไม่มีผู้คน หลวงพ่อโพธิ์จึงปักหลักเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ที่บริเวณนี้ ท่านมิได้สนใจกับกลิ่นเหม็นจากหมาเน่า ตัดกลิ่นรบกวนจนหมดสิ้น มีคำเล่าลือกันว่าในหน้าแล้งมักจะเกิดไฟไหม้ป่าหญ้าคาแถวกุฏิท่านบ่อยๆ ท่านก็นิ่งเฉย นั่งสมาธิสงบอยู่ในกุฏิ เมื่อไฟลามมาถึงก็จะดับลงหรือไม่ก็เปลี่ยนทิศไปทางอื่น กุฏิของท่านเป็นไม้เตี้ยๆ มุงหญ้าคาซึ่งเป็นเชื้อไฟอย่างดี แต่ไฟก็ไม่เคยไหม้ลามไปถึงกุฏิท่านเลย ชาวบ้านในสมัยนั้นเคารพเลื่อมใสในตัวหลวงพ่อโพธิ์มาก แม้แต่หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ซึ่งจำพรรษาอยู่ไม่ไกลกันนักก็มาศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมกับหลวงพ่อโพธิ์

หลังจากหลวงพ่อโพธิ์มรณภาพแล้ว บรรดาญาติทางเมืองปทุมธานีได้ขึ้นมาขนข้าวของของท่านกลับไปจนหมด จึงแทบไม่เหลือหลักฐานใดๆ ไว้เลย ส่วนวัดวังหมาเน่าต่อมาถึงปี พ.ศ.2482 ก็ได้รับจัดตั้งเป็นวัดอย่างเป็นทางการ มีชื่อใหม่ว่า "วัดโพธิ์ศรี" โดยนำชื่อของหลวงพ่อโพธิ์มาตั้งเป็นชื่อวัด ในส่วนของลูกศิษย์ของท่านก็ได้นำตำราเก่าของหลวงพ่อโพธิ์ที่ตนเองเก็บรักษาไว้กลับมาเก็บไว้ที่วัด ทำให้ยังพอมีตำราเก่าของหลวงพ่อโพธิ์หลงเหลืออยู่ที่วัดโพธิ์ศรีในปัจจุบัน จากการรวบรวมสืบค้นประวัติของท่านและอายุตอนที่ท่านมรณภาพ จึงสันนิษฐานได้ว่าหลวงพ่อโพธิ์น่าจะเกิดในราวปี พ.ศ.2314 มรณภาพในราวปี พ.ศ.2416 สิริอายุราว 102 ปี พรรษาที่ 82

วัตถุมงคลของหลวงพ่อโพธิ์เท่าที่ทราบก็คือตะกรุดโทน ซึ่งจากผู้ที่ครอบครองโดยได้รับมรดกตกทอดมานั้น แกนกลางของตะกรุดจะเป็นตะกรุดทองแดงแล้วหุ้มด้วยแผ่นตะกรุดตะกั่วอีก และมีหลายชั้น ซึ่งอาจจะเป็นโลหะทองแดงหรือโลหะอื่นสลับกันไปหลายชั้นก็มี ตะกรุดของท่านจึงมักจะมีขนาดหนาใหญ่ทั้งสิ้น ส่วนความยาวก็มีตั้งแต่ 4 นิ้วไปจนถึง 6 นิ้ว เท่าที่พบส่วนใหญ่มักมีทั้งลงรักถักเชือก และไม่ได้ถักก็มี

พุทธคุณนั้นเด่นทางอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด หลวงพ่อเปรื่อง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางคลาน ก็มีตะกรุดของหลวงพ่อโพธิ์เก็บไว้อยู่ดอกหนึ่ง เป็นตะกรุดที่ตกทอดมาจากผู้ที่โดนจระเข้งับลากลงในแม่น้ำ แต่กัดไม่เข้า และแกก็ได้ใช้มีดแทงเข้าที่ตาจระเข้จึงรอดมาได้ นอกจากนี้ก็มีผู้ที่ถูกยิงมาก็มากที่ไม่เข้า ตะกรุดของหลวงพ่อโพธิ์จะมีจำนวนน้อย เนื่องจากเมื่อมีคนไปขอท่านก็จะให้เตรียมวัสดุมาเอง แล้วท่านจึงลงจารอักขระ และปลุกเสกของท่านเอง แล้วจึงเอามาคืนให้แก่เจ้าของในภายหลัง

ตะกรุดของจังหวัดพิจิตรในยุคต่อมาที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้สร้างตามตำรับของหลวงพ่อโพธิ์ ก็เริ่มมาตั้งแต่ตะกรุดหลวงพ่อเงิน หลวงพ่อพิธ หลวงพ่อเตียง เป็นต้น ซึ่งเป็นตะกรุดที่โด่งดังมากในปัจจุบันและหายาก ในส่วนตะกรุดของหลวงพ่อโพธิ์นั้นหายากมากๆ ครับ แต่เท่าที่เล่ามาก็เพื่อพอให้ทราบว่าตะกรุดคู่ชีวิต ตะกรุดสายพิจิตรนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปตะกรุดของหลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ

ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์



หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 07 กรกฎาคม 2561 13:05:51

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74003830883238_b1_Copy_.jpg)
หนุมานหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน

ชุดเบญจภาคีเครื่องรางของขลังองค์สุดท้าย คือ หนุมานหลวงพ่อสุ่น อันถือเป็นต้นตำนานการสร้าง "หนุมาน" ที่ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัย คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม เป็นที่ปรากฏแก่ผู้บูชา จนได้รับสมญา "ขุนกระบี่วานร ฤทธิเกริกไกร หนึ่งในสยาม" ถึงขนาดมีคำเปรยว่า "เขี้ยวเสือต้องยกให้หลวงพ่อปาน ส่วนหนุมานก็ต้องหลวงพ่อสุ่น" ซึ่งเป็นที่ใฝ่ฝันและแสวงหาอย่างสูงของบรรดานักนิยมสะสมเครื่องรางของขลัง แต่จะหาของแท้ได้ยากยิ่งนัก

หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ หรือพระอธิการสุ่น วัดศาลากุน เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี เดิมชื่อ "สุ่น" เป็นชาวเกาะเกร็ดโดยกำเนิด แต่ไม่มีการบันทึกประวัติของท่านเก็บไว้ ดูจากปีที่มรณภาพและสิริอายุ ประมาณการว่าน่าจะเกิดในราวปี พ.ศ.2403-2404 เมื่ออุปสมบทได้ฉายา "จันทโชติ"

ย้อนไปเมื่อครั้งยังเป็นพระลูกวัด ปลูกต้นไม้ไว้ในบริเวณกุฏิ 2 ชนิด คือ "ต้นรักซ้อนและต้นพุดซ้อน" และหมั่นดูแลรดน้ำ โดยนำน้ำสะอาดมาทำเป็นน้ำมนต์เพื่อรดต้นไม้ทั้งสองทุกครั้งจนเจริญเติบโต กระทั่งเมื่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส จึงเข้าใจกระจ่างว่า เหตุใดท่านจึงให้ความสนใจดูแลต้นไม้ทั้งสองนี้เป็นพิเศษ เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตได้ที่ ท่านจึงดูฤกษ์ยามทำพิธีพลีและสังเวยก่อนแล้วลงมือขุดด้วยตัวเอง

จากนั้นนำไปตากแดดจนแห้ง แล้วให้ช่างแกะเป็นรูปหนุมาน รวบรวมห่อด้วยผ้าขาวใส่บาตรเพื่อปลุกเสกในกุฏิ จนถึงวันเสาร์ซึ่งถือว่าเป็นวันแรง ท่านก็จะเข้าไปปลุกเสกในอุโบสถ โดยจะนั่งบริกรรมบนศาสตราวุธต่างๆ ที่นำมากองรวมกัน หนุมานจะกระโดดโลดเต้นอยู่ในบาตรจนท่านเห็นว่าขึ้นแล้ว จึงเก็บไว้แจกจ่ายบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้ถวายปัจจัยในการบูรณปฏิสังขรณ์วัด นอกจากหนุมานแกะที่ทำจากต้นรักซ้อนและต้นพุดซ้อนแล้ว ท่านยังแกะหนุมานจาก "งาช้าง" ด้วย แต่สร้างในรุ่นหลัง ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก และสนนราคาค่อนข้างสูงมาก

หนุมานแกะหลวงพ่อสุ่น แบ่งได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าโขน และพิมพ์หน้ากระบี่ "พิมพ์หน้าโขน" นั้น เรียกกันว่า "หนุมานทรงเครื่อง" คือจะเก็บรายละเอียดต่างๆ จนครบ มีความสวยงามและแลดูเข้มขลังยิ่งนัก ส่วน "พิมพ์หน้ากระบี่" จะเป็นแบบเรียบง่าย ไม่ค่อยมีเครื่องเครา แต่ก็คงความเข้มขลังงดงามในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยมีคาถากำกับหนุมาน เริ่มด้วยตั้งนะโม 3 จบ แล้วว่า "นะมัง เพลิง โมมัง ปากกระบอก ยะ มิให้ออก อุดธังโธอุด ธังอัด อะสังวิสุ โรปุสะพูพะ มะอะอุ โอมยะพุทธา ทะโยสตรี สตรี นิสังโห"

มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ.2475 โดย คณะราษฎร ซึ่งนำโดย พ.อ.พระยาพหลพลหยุหเสนา ท่านได้ไปหาหลวงพ่อสุ่น หลวงพ่อก็ให้ "หนุมานหน้าโขน" มาตัวหนึ่ง พร้อมบอกในเชิงว่า "ผ่านไปสักพักเรื่องเลวร้ายก็ผ่านไปด้วยดี" แล้วก็เป็นดังที่หลวงพ่อกล่าว กิตติศัพท์และชื่อเสียงของ "หนุมานหลวงพ่อสุ่น" จึงขจรไกลนับแต่นั้นมา

ณ ปัจจุบัน จะหาดูหาเช่า "หนุมานแกะหลวงพ่อสุ่น" นั้นยากยิ่งทุกเนื้อทุกพิมพ์ ด้วยผู้ที่มีไว้ต่างหวงแหน อีกทั้งสนนราคาสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการทำเทียมเลียนแบบสูงอีกด้วย ดังนั้น จึงต้องใช้การพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ถ้าเป็น "เนื้อไม้" ให้นึกถึงสภาพไม้ที่ตากแห้งที่นำมาแกะ เมื่อผ่านกาลเวลาเนิ่นนาน เนื้อจะแห้งสนิทและมีน้ำหนักเบา ถ้าผ่านการสัมผัสจะฉ่ำมัน แต่ตามซอกยังคงแห้งอยู่ ส่วน "เนื้องา" ให้ดูความเก่าของงาเป็นสำคัญ จะออกเป็นสีเหลืองธรรมชาติ ถ้าผ่านการสัมผัสจะฉ่ำมัน สีดูใสและเข้มกว่าส่วนที่ไม่ผ่านการสัมผัส เวลาคนจะทำงาให้เก่าเขาจะเอาด่างทับทิมมาผสมน้ำแช่งาลงไป แล้วนำขึ้นมาขัดจะปรากฏคราบความเก่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

ต้องสังเกตให้ดีให้เป็น จึงจะได้ของแท้ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58674554609590_b2_Copy_.jpg)
เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน

ถ้ากล่าวถึง "เขี้ยวเสือ" ทุกคนต้องนึกถึง "เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน" ด้วยมีกิตติศัพท์เลืองลือเป็นที่กล่าวขวัญมาแต่อดีต ทั้งเมตตามหานิยม โชคลาภและมหาอำนาจ และได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน "ชุดเบญจภาคีเครื่องรางของขลัง" ของไทย

หลวงพ่อปานเป็นชาวคลองด่านโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2370 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

บรรพชาเมื่ออายุ 15 ปี ณ สำนักวัดอรุณราชวราราม และอุปสมบทโดยมี พระศรีศากยมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระอยู่หลายปี จึงลาพระอุปัชฌาย์กลับภูมิลำเนาจำพรรษาที่วัดบางเหี้ย

มีความสนใจด้านวิปัสสนากรรมฐานและไสยศาสตร์ต่างๆ เป็นอย่างมาก เมื่อออกพรรษาก็จะออกธุดงค์แสวงหาความรู้และฝึกวิปัสสนากรรมฐานให้แก่กล้า ท่านได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาจากพระเกจิชื่อดังหลายรูปจนเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะหลวงปู่แตง วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี ผู้เข้มขลังด้านวิปัสสนาธุระและไสยเวท ก่อนกลับสู่วัดบางเหี้ย และขึ้นเป็นเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา

ตัวอย่างแสดงถึงกิตติศัพท์ของ "เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน" อันเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว มีอาทิ

เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จวางศิลาฤกษ์เขื่อน คนเก่าๆ เล่ากันว่า หลวงพ่อปานนำ "เขี้ยวเสือ" ใส่พานถวาย 5 ตัว แต่เณรที่ถือพานเกิดทำตกน้ำไปหนึ่งตัว ท่านจึงให้เอาเนื้อหมูผูกเชือกหย่อนลงน้ำ บริกรรมพระคาถาจนเขี้ยวเสือติดชิ้นหมูขึ้นมาต่อหน้าพระพักตร์ พระองค์ทรงศรัทธาหลวงพ่อปานมาก โปรดให้เป็นที่ "พระครูนิโรธสมาจารย์" และทรงเรียกเป็นส่วนพระองค์ว่า "พระครูปาน" มีปรากฏในพระราชหัตถเลขาว่า

"พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานรูปนี้เป็นที่นิยมกันในทางวิปัสสนาและธุดงควัตร คุณวิเศษที่คนเลื่อมใสคือให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากนั้นคือ รูปเสือแกะด้วยเขี้ยวเสือเล็กบ้างใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสกต้องใช้เนื้อหมู เสกเป่าไปยังไรเสือนั้นกระโดดลงไปยังเนื้อหมูได้ ตัวพระครูเองเห็นจะได้รับความลำบากเหน็ดเหนื่อย ในการ ที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีหนีไปอยู่ป่าช้าที่พระบาท หรือหนีขึ้นไปอยู่เสียที่บนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามขึ้นไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ในการทำอะไรๆ ขาย มีแกะรูปเสือ เป็นต้น ถ้าปกติราคาตัวละบาท เวลาแย่งชิงกันก็ขึ้นไปตัวละ 3 บาท 6 บาท ก็มี ได้รูปเสือนั้นแล้วจึงไปให้พระครู ปลุกเสก สังเกตดูอัชฌาสัยก็เป็นอย่างคนแก่ใจดี กิริยาเรียบร้อย อายุ 70 ปีแล้ว ยัง ไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคน พูดน้อย"

เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานนั้นท่านจะใช้ "เขี้ยวเสือโคร่ง" เพียงอย่างเดียว แล้วให้ช่างแกะที่เป็นลูกศิษย์ซึ่งมีด้วยกัน 5 คน แต่ละคนก็จะแกะไม่เหมือนกันซะทีเดียว และมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก นั่งปากเม้มหุบสนิท ตากลม ขาหน้าทั้งสองใหญ่ เล็บจิกลงบนพื้น ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็จะมีช่างแกะคอยไว้ เวลาหลวงพ่อปานไปธุดงค์ก็จะให้ปลุกเสก หลวงพ่อปานท่านจะลงเหล็กจารด้วยตัวเอง ที่สำคัญ "รอยจารใต้ฐาน" ท่านมักจะจารเป็น "นะขมวด" ที่เรียกกันว่า "ยันต์กอหญ้า" และตัว "ฤ ฤา" จากนั้นปลุกเสกด้วย "พระคาถาหัวใจเสือโคร่ง"

จากรูปทรงและการจารอักขระ จึงกลายเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่กล่าวติดปากกันว่า "เสือหน้าแมว หูหนู ตาลูกเต๋า ยันต์ กอหญ้า" ซึ่งมีทั้งเสือหุบปาก และเสืออ้าปาก เขี้ยวต้องกลวง มีทั้งแบบซีกและเต็มเขี้ยว เขี้ยวหนึ่งอาจแบ่งทำได้ถึง 5 ตัว ตัวเล็กๆ เรียก "เสือสาลิกา" เป็นปลายเขี้ยว ส่วนใหญ่พบว่าเป็นซีก คนโบราณนิยมเลี้ยงไว้ในตลับสีผึ้งทาปาก

การพิจารณาต้องดูความเก่าของเขี้ยวเสือให้เป็น คือ ต้องแห้งเป็นธรรมชาติ วรรณะเหลืองใส ผิวเป็นมันวาวไม่ด้าน มีรอยหดเหี่ยวโบราณเรียก "เสือขึ้นขน" เห็นเป็นเสี้ยนเล็กๆ อาจมีรอยแตกอ้า หากผ่านการใช้สียิ่งเข้ม และรูเขี้ยวเสือจะเป็นวงรีหรือกลมค่อนไปทางรีครับผม 

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17159873081578_b3_1_Copy_.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/77350477046436_b3_2_Copy_.jpg)

ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ

"ปลัดขิก" หนึ่งในเครื่องรางของขลังยอดนิยมของคนไทยมาแต่โบร่ำโบราณ แต่ที่ถือเป็นสุดยอดของเมืองไทย เป็น 1 ใน "ชุดเบญจภาคีเครื่องรางของขลัง" ต้องยกให้ ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา

พระครูนันทธีราจารย์ หรือหลวงพ่อเหลือ นันทสาโร นามเดิมว่า เหลือ เป็นชาวฉะเชิงเทราโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2405 ที่ ต.บางเล่า อ.บางคล้า

ปี พ.ศ.2428 เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสาวชะโงก อ.บางคล้า โดยมี พระอาจารย์คง วัดใหม่บางคล้า เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการขิก วัดสาวชะโงก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โต วัดสาวชะโงก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "นันทสาโร"

ศึกษาอักษรขอม-บาลี และวิปัสสนากรรมฐาน จากพระอธิการขิก พระกรรมวาจารย์ผู้มีอาคมเข้มขลังจนแตกฉาน จากนั้นเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์กับพระเกจิผู้ทรงคุณอีกหลายสำนัก เช่น หลวงพ่อดำ วัดกุฎี จ.ปราจีนบุรี และหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี เป็นต้น

ปี พ.ศ.2461 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก และในปี พ.ศ.2474 ได้เป็น เจ้าอาวาสวัด ท่านปกครองและพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่องจนวัดเจริญรุ่งเรืองเป็นที่เชิดหน้าชูตา ทั้งยังพัฒนาด้านการศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดา ได้สร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่วัดสาวชะโงก ชื่อ "โรงเรียนวัดสาวชะโงก (นันทประชาสรรค์)" ซึ่งเป็นถาวรวัตถุชิ้นสุดท้าย ก่อนมรณภาพในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2488 ซึ่งทางวัดได้สร้าง "พระเจดีย์" บรรจุอัฐิไว้เป็นอนุสรณ์

หลวงพ่อเหลือนับเป็นพระเกจิที่มีคุณวิเศษในหลายด้าน ท่านมักได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีปลุกเสกใหญ่ๆ เสมอ นอกจากนี้ เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน ท่านก็เป็น 1 ในพระเกจิที่สร้าง"ผ้ายันต์แดง"แจกทหารในสงคราม ปรากฏว่ายิงแทงไม่เข้า แต่ที่โดดเด่นเป็นที่กล่าวถึงก็คือ "ปลัดขิก" ที่ว่ากันว่าพุทธานุภาพฉมังนัก ทั้งคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม ป้องกันภูตผีปีศาจ ขับเสนียดจัญไร และคุณไสยต่างๆ

ปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือ ส่วนใหญ่ทำด้วยไม้คูน นอกนั้นก็จะเป็นไม้ชะอมและไม้แก่นคูน โดยท่านจะทำน้ำมนต์แล้วราดลงไปบนไม้ นำไปตากให้แห้งแล้วจึงนำมาแกะเป็น "ปลัดขิก" ในยุคแรกๆ ท่านทำเองทั้งหมด แต่ต่อมาท่านให้ลูกศิษย์เหลาปลัดขิกให้ แล้วท่านจึงลงพระคาถาหัวใจโจร "กันหะ เนหะ" ตรงกลางตัวปลัดขิก ด้านข้างซ้าย-ขวาลง "อุมะอุมิ" และ "อิติ กัตตา" แล้วจารอักขระตัว "อุ" ที่หัวปลัดขิก โดยส่วนใหญ่จะจาร 3 อุ แต่ก็มี 1 อุ บ้าง ในกรณีที่ปลัดขิกตัวเล็กมาก และกรณีพิเศษ "วันไหว้ครูปลัดขิก" ท่านจะลงทั้งหมด 5 อุ จากนั้นปลุกเสกในยามดึกสงัด การปลุกเสกของท่านนั้นมีเคล็ดสำคัญ คือ "ต้องปลุกเสก จนปลัดขิกดิ้นได้หรือกระดุกกระดิกได้" โดยท่านจะใส่ปลัดขิก ไว้ในบาตร แล้วบริกรรมคาถาจนกว่าปลัดขิกจะขึ้นมากระโดดโลดเต้นว่ายวนอยู่ในบาตร ตัวไหนมีกำลังดีแล้วก็จะกระโดดออกมานอกบาตรถือเป็นอันใช้ได้

ตัวอย่างตำนานที่เล่าขานมาจนทุกวันนี้ คือ มีหญิงสาวคนหนึ่งพายเรือมาขอของดีจากหลวงพ่อ ท่านได้หยิบปลัดห่อกระดาษไว้มอบให้ แล้วสั่งว่า "ถึงบ้านแล้วค่อยเปิดออก" เมื่อหญิงสาวพายเรือมาถึงกลางทาง ทนความอยากรู้ไม่ได้ จึงหยิบมาเปิดดู พอเห็นว่าเป็นปลัดขิก ก็คิดในใจว่าหลวงพ่อให้ของพิเรนทร์อย่างนี้มาได้อย่างไร จึงเกิดโมโหขว้างทิ้งน้ำ

พอพายเรือถึงท่าหน้าบ้าน ได้ยินเสียง จ๋อมๆ มาจากข้างหลัง หันไปมองเห็นปลัดขิกว่ายทวนน้ำตามมา ก็เกิดปีติขนลุกซู่ แล้วช้อนปลัดขิกขึ้นมา นำไปสักการ บูชาและหวงแหนยิ่งครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37289256478349_b4_Copy_.jpg)
เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง

ในบรรดา "เบี้ยแก้" ที่เกจิอาจารย์ชื่อดังมากมายนิยมสร้างกันตามสูตรโบราณเฉพาะของแต่ละท่านนั้น ที่ได้รับความนิยมยกย่องให้เป็นที่สุดแห่งเบี้ยแก้ของไทย หนึ่งใน "เบญจภาคีประเภทเครื่องรางของขลัง" ก็คือ เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ธนบุรี

ดังคำกลอนคล้องจอง ดังนี้ ... "หมากดีที่วัดหนัง ถ้าเบี้ยขลังวัดนายโรง ไม้ครูคู่วัดอินทร์ ส่วนมีดบินวัดหนองโพธิ์ พิสมรวัดพวงมาลัย ครั่งเหลือร้ายวัดโตนดหลวง ราหูคู่วัดศีรษะทอง เเหวนอักขระต้องวัดหนองบัว ลูกเเร่ที่วัดบางไผ่ ฤทธิ์เหลือร้ายหาใดปาน ทุกสิ่งล้วนเป็นมงคล ทั่วทุกคนควรค้นหา ติดกายยามยาตรา ภัยมิกล้ามาเเผ้วพาน"

หลวงปู่รอด เป็นชาวบ้านบางพรม เขตอำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี เมื่ออายุครบบวชอุปสมบท ณ วัดเงิน หรือวัดรัชฎาธิษฐาน ที่คลองบางพรม อันเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐานฝ่ายอรัญวาสี

ต่อมาย้ายมาจำพรรษาที่วัดนายโรง จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ด้วยความที่ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระระดับสูง และร่ำลือถึงคุณวิเศษทางพุทธาคมและวิทยาคม และเป็นพระคณาจารย์ในยุคสมัยเดียวกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง และอีกหลายๆ รูปที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น

เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดจะใช้วัตถุอาถรรพ์ต่างๆ เป็นองค์ประกอบ อันได้แก่ เบี้ยพู ปรอท ชันโรงใต้ดิน (เป็นสัตว์ตระกูลผึ้งนำรังมาใช้ผสมสร้าง) และแผ่นตะกั่วทุบ โดยมีขั้นตอนและรายละเอียดต่างๆ มากมายอันนับเป็นเคล็ดระดับตำนาน

เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกตัวหอยเบี้ยหรือเบี้ยพูที่สมบูรณ์ตามสูตรโบราณ คือ มีฟัน 32 ซี่ ตามอาการ 32 ของมนุษย์ จากนั้นตั้งศาลเพียงตา พร้อมเครื่องสังเวยบัดพลีเพื่อขอแบ่งปรอทจากวิทยาธรคนธรรพ์ในอากาศ นําใบหญ้าคาลงพาดที่ปากเบี้ย ปรอทก็จะมาจากในอากาศมีลักษณะเป็นเม็ดและจะวิ่งเข้าตัวเบี้ย 32 ตัวตามจํานวนฟันของเบี้ยแก

เมื่อปรอทเต็มก็จะกลายเป็น "หนึ่งธาตุขันธ์" แล้วจึงนําแผ่นตะกั่วมาหุ้มปิดกันปรอทวิ่งออกจากตัวเบี้ย การหุ้มตะกั่วที่ตัวเบี้ยของหลวงปู่รอดนั้น ส่วนใหญ่จะหุ้มด้วยแผ่นตะกั่วทุบทั้งลูก มีบ้างบางตัวอาจเปิดด้านหลังเบี้ยไว้ หรือบางตัวอาจไม่มีแผ่นตะกั่วหุ้มก็มี หากมีแผ่นตะกั่วหุ้มจะมีอักขระเลขยันต์เรียงเป็นระเบียบเรียบร้อย และยังพบว่ายังมีที่ใช้ชันโรงใต้ดินอุดปิดปรอท หรือแม้กระทั่งใช้ผ้ายันต์ก็มีเช่นกัน

จากนั้นท่านจะปลุกเสกลงอักขระขอมโบราณที่ตัวเบี้ยด้วยพระคาถาพระเจ้า 16 พระองค์ และกํากับด้วยยันต์ตรีนิสิงเห แล้วปลุกเสกอีกครั้งจึงจะแล้วเสร็จมอบแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้พกติดตัว เรียกได้ว่าพุทธาคมแก่กล้าครบถ้วน ทั้งเมตตามหานิยม มหาอุตม์ คงกระพัน และแคล้วคลาดทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นเสนียดจัญไร คุณไสย ยาสั่ง ฯลฯ

ดังนั้น คุณลักษณะเฉพาะที่พิเศษของ "เบี้ยแก้หลวงปู่รอด" ที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณา คือ ตัวเบี้ยจะมีขนาดไล่เลี่ยกัน และหากนำเบี้ยแก้มาสั่นฟังข้างๆ หู จะมีเสียงดังคลิกเบาๆ อันเป็นเสียงของปรอทที่บรรจุไว้ภายใน นอกจากนี้ ที่ใต้ท้องเบี้ยจะต้องมีรังชัน โรงใต้ดินปิดและเกาะติดแน่นอยู่ในสภาพเก่าและแห้ง และต้องดูความเก่าให้ออกตามวันเวลากว่า 100 ปี

ข้อพิจารณาสำคัญอีกอย่าง คือ เบี้ยแก้หลวงปู่รอดนั้น ส่วนใหญ่จะถักเชือกหุ้มทับเอาไว้ มีทั้งหุ้มปิดหลังเบี้ยและเปิดหลังเบี้ย เบี้ยที่ถักเชือกหุ้มนั้นส่วนมากจะทายางลูกมะพลับ บ้างลงรัก หรือชุบรักเอาไว้อีกชั้นหนึ่ง เพื่อความคงทน ยางมะพลับหรือรักที่ลงจะมีลักษณะแห้ง มีความเก่า มีสีดำ อมแดงไม่ดำสนิททีเดียว หากมีการลงรักปิดทองให้สังเกตความเก่าของรักกับทองให้เป็น และเบี้ยแก้ของท่านจะปรากฏทั้งแบบมีห่วงและไม่มีห่วง

บางตัวยังทำพิเศษบรรจุตะกรุดเอาไว้ด้วยแต่มีน้อยมากๆ ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
 ราม วัชรประดิษฐ์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37738914373848_b5_Copy_.jpg)
ตะกรุดมหาโสฬสมงคล หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง

นอกเหนือจาก "พระปิดตา" อันลือชื่อ สุดยอดแห่งพระปิดตาอันดับต้นๆ ของเมืองไทยแล้ว เครื่องรางของขลังของ หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี ก็ไม่เป็นสองรองใคร ดังเช่น "ตะกรุดมหาโสฬสมงคล" ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "จักรพรรดิแห่งตะกรุดของไทย" หนึ่งในห้าชุดเบญจภาคีเครื่องรางของขลัง มีอายุการสร้างยาวนานกว่า 100 ปี ปัจจุบันหาดูหาเช่าของแท้ได้ยากยิ่งนัก อีกทั้งสนนราคาก็สูงเอามากๆ ทีเดียว

หลวงปู่เอี่ยม เป็นชาวนนทบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2358 ในสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นบุตร นายนาค-นางจันทร์ ชาวตำบลบ้านแหลมใหญ่ฝั่งใต้

อายุได้ 22 ปี อุปสมบทที่วัดบ่อ ต.ปากเกร็ด ต่อมาย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี เพื่อศึกษาด้านพระปริยัติธรรมและแปลพระธรรมบท แล้วย้ายไปจำพรรษาที่วัดประยุรวงศาวาส จนเมื่อญาติโยมนิมนต์ให้กลับภูมิลำเนา จึงมาครอง "วัดสว่างอารมณ์"

ซึ่งต่อมา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองหน้าวัด ได้ประทานนามวัดใหม่ว่า "วัดสะพานสูง"

ท่านเป็นพระเกจิผู้มีวิทยาอาคมเข้มขลังและมีชื่อเสียงโด่งดังด้านวิปัสสนาธุระกัมมัฏฐาน มีวาจาสิทธิ์ มักน้อย สันโดษ มีเมตตาธรรม ทั้งเป็นต้นแบบในการพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรือง เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนและเจ้านายผู้ใหญ่ในพระนคร มีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั่วประเทศ

เป็นเถราจารย์ร่วมสมัยกับพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายๆ รูป อาทิ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม, หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน, กรมพระยาปวเรศฯ วัดบวรนิเวศวิหาร, หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย และหลวงพ่อเอี่ยม วัดหนัง เป็นต้น

มรณภาพในปี พ.ศ.2439 รวมอายุได้ 80 ปี 59 พรรษา ปัจจุบัน "รูปหล่อเท่าองค์จริง" ยังคงประดิษฐานหน้าพระอุโบสถ

กล่าวถึงตะกรุดมหาโสฬสมงคลนั้น ขั้นตอนการจัดสร้างและปลุกเสกท่านถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยจะสร้างและปลุกเสกขึ้นมาด้วยอำนาจ "กฤตยะ" และ "พลังจิตพิเศษ" ผ่านเหล็กปลายแหลมจาร ถ่ายทอดลงสู่แผ่นโลหะในรูปแบบเลขยันต์ นอกจากอักขระเลขจารึกแห่ง "สูตรมหาโสฬสมงคล" แล้ว ท่านจะลง "พระไตรสรณคมน์หรือตรีนิสิงเห" เพื่อป้องกันภัยจากภูตผี ปีศาจ หรือกันการถูกกระทำจากเวทอาคมคุณไสย และล้อมรอบด้วย "บารมี 30 ทัศ" อันพิเศษสุด พร้อมด้วย "มนต์ปัสสาสะปราณชีพ" อันกล้าแกร่ง

จากนั้นปลุกเสกเดี่ยว "โองการมหาทะมึน" จนครบ 10,000 จบ เป็นเวลาถึง 3 ปี (3 พรรษา) จึงม้วนตัวตะกรุดแล้วถักด้วยเชือก โรยผงมหาโสฬสมงคลซึ่งเป็นผงชนิดเดียวกับที่ทำพระปิดตา สุดท้ายนำมาลงรักปิดทับ เป็นอันแล้วเสร็จ ทั้งหลายทั้งมวลดังกล่าว จึงสร้างให้ "ตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคล" มีอานุภาพครอบคลุมทุกด้าน เรียกได้ว่า "ครอบจักรวาล" ทั้งมหาอุตม์ แคล้วคลาด คงกระพัน และเสน่ห์เมตตามหานิยม

ตะกรุดมหาโสฬสมงคล ที่ท่านสร้างเองโดยส่วนใหญ่ทำจากโลหะแก่ทองเหลือง หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "เนื้อฝาบาตร" นอกจากนี้ยังมี "เนื้อเงิน" เป็นของพวกคหบดีโบราณนำมาให้ท่านลง ท่านมิได้สร้างเอง มีจำนวนน้อยมาก "เนื้อตะกั่วถ้ำชา" ที่สร้างในยุคต้น และ "เนื้อทองแดง" มีความยาวตั้งแต่ 2.5 นิ้ว, 3.5 นิ้ว และ 4.5 นิ้ว แต่ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งจะยาวประมาณ 3.5 นิ้ว ในรุ่นหาทุนสร้างพระเจดีย์ เมื่อราวปี พ.ศ.2419

อานุภาพและพุทธคุณของ "ตะกรุดมหาโสฬสมงคล" เป็นที่ร่ำลือ ผู้ใดมีไว้ครอบครองและหมั่นบูชากราบไหว้ด้วยความศรัทธาและเชื่อมั่น จะเป็นสิริมงคลยิ่งแก่ตนและวงศ์ตระกูล พ้นจากภัยพิบัติต่างๆ เป็นมหามงคลยิ่งใหญ่ มีเมตตามหานิยม เจริญด้วยลาภผล แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี บำบัดและป้องกันเจ็บไข้ได้ป่วย กันไฟ พ้นภัยอันตรายจากศัตรูหมู่มารและสัตว์ร้าย ฯลฯ แต่ที่สำคัญที่จะทำให้ผู้ครอบครองได้สัมฤทธิผลได้นั้น คือ ต้องปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรมด้วย

ผู้มีไว้บูชาต่างหวงแหน จึงไม่ค่อยมีออกมาให้ดูให้ชมกันนักครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
 


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 16 กรกฎาคม 2561 13:37:24
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79228100925683_1.jpg)

รูปหล่อนารายณ์ แปลงรูป สมเด็จโต

ในช่วงปีพุทธศักราช 2557-2558 วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ได้จัดสร้าง "รูปหล่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)" ขนาดหน้าตัก 3.99 เมตร ประดิษฐานไว้บริเวณลานหน้าพระอุโบสถ เพื่อเป็นการน้อมระลึกเมื่อครั้งที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เคยมาอยู่จำพรรษา และบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่อายุกว่า 600 ปี ณ วัดขุนอินทประมูลแห่งนี้

ครั้งนั้นทางวัดก็ได้จัดสร้าง "เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระพุฒาจารย์โต รุ่นมนุษย์สมบัติ" ขึ้นมาเป็นรุ่นแรก

ต่อมาในปีพ.ศ.2559-2560 ได้จัดสร้าง "เหรียญมนุษย์สมบัติ พิมพ์สมาธิและชินบัญชร" รวมทั้ง "เหรียญนารายณ์แปลงรูป" ตามลำดับ

วัตถุมงคลนารายณ์แปลงรูปมีมูลเหตุจาก "วิชานารายณ์แปลงรูป" ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้รับการถ่ายทอดวิชามาจาก "ขรัวตาแสง" แห่งวัดมณีชลขันธ์ และสามารถนำมาใช้ได้อย่างแตกฉานและชำนาญในพระเวท ดังหลักฐานที่ปรากฏในบันทึกของ มหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพโกษา (สอน โลหนันท์) ตอนหนึ่ง ถึงเรื่องราวของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ กับนารายณ์แปลงรูป ความว่า

"ครั้นถึงปีกุน ยังเป็นโทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ ปี วันพุธ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เวลาค่ำ แปดทุ่ม ๕ บาท สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสด็จสวรรคต สิริพระชนมายุได้ ๖๓ พรรษา กับ ๑๑ วัน ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ๒๕ ปี ๗ เดือน ๒๓ วัน พระมหาโตอายุได้ ๖๔ ปี ๔๒ พรรษา พวกข้าราชการได้ทูลเชิญเสด็จฯ ทูลกระหม่อมพระราชาคณะ วัดบวรนิเวศวรวิหาร ให้เสด็จนิวัติออกเถลิงราชย์ พระมหาโตเลยออกธุดงค์หนีหายไปหลายเดือน ครั้นล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงระลึกได้ ทรงรับสั่งให้หาตัวมหาโตก็ไม่พบ ก็รับสั่งว่า "ฉันจะตามเอง" ครั้นถึงเดือน ๗ ปีนั้น มีกระแสรับสั่งถึงเจ้าเมืองฝ่ายใต้ ฝ่ายเหนือ ตะวันตก ตะวันออก ทั่วพระราชอาณาจักร จับพระมหาโตส่งมายังเมืองหลวงให้ได้ ให้เจ้าคณะเหนือ กลาง ใต้ ตก ออก ออกค้นหาพระมหาโต เลยสนุกกันใหญ่ทั้งฝ่ายพุทธจักร อาณาจักร แต่ถึงแม้จะมีท้องตรารับสั่งเร่งรัดอย่างไรก็ยังเงียบอยู่ เจ้าเมือง เจ้าหมู่ ฝ่ายพระ ร่วมใจกันจับพระอาคันตุกะทุกองค์ส่งมายังศาลากลาง คราวนี้พระมหาโตลอง "วิชาเปลี่ยนหน้า" ทำให้คนรู้จักกลับจำไม่ได้เห็นเป็นพระองค์อื่นปล่อยท่านไปก็มี (อาคมชนิดนี้พระอาจารย์เจ้าเรียกว่า นารายณ์แปลงรูป) "

เริ่มแรกทางวัดได้จัดสร้างรูปหล่อนารายณ์แปลงรูป ขนาดบูชา ความสูงจากฐานถึงปลายชฎาประมาณ 18 นิ้ว โดยแบ่งเป็น รายการทั่วไป 99 องค์ กรรมการ 18 องค์ และกรรมการพิเศษ 9 องค์เท่านั้น ปรากฏว่าทุกรายการหมดลงภายในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ ซึ่งได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกและส่งมอบให้แก่ผู้ที่สั่งจองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

และจากการร้องขอของสาธุชนจึงมีการสร้างเพิ่มเป็น "ขนาดตั้งโต๊ะ" ซึ่งมีขนาดสูงจากฐานถึงปลายชฎาประมาณ 9.9 นิ้ว ถ้าวัดถึงปลายรัศมีก็เกือบ 11 นิ้ว แบ่งเป็น 4 สี สีละ 199 องค์ ประกอบด้วย สีเงิน เทวฤทธิ์, สีเขียวพาติน่า สั่งจอง 7,900 บาท สีแดงทองเทวฤทธิ์, สีเหลืองทองเทวฤทธิ์ สั่งจอง 6,900 บาท โดยทางวัดแจ้งมาว่า "สีเงินเทวฤทธิ์" นั้นหมดแล้ว ส่วนสีอื่นๆ ก็เหลือจำนวนไม่มากนัก

รูปหล่อนารายณ์แปลงรูปทุกองค์จะมีลักษณะและรายละเอียดทุกอย่างครบถ้วน เพราะได้ใช้เทคนิคสมัยใหม่ "การย่อพิมพ์" ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในเวลานี้มาใช้ในการย่อส่วน ซึ่งมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ทำให้ชิ้นงานที่หล่อออกมามีความสวยงามไม่ผิดเพี้ยนไปจากต้นแบบเลย โดยทางวัดจะได้ประกอบพิธี พุทธาภิเษกในวันที่ 18 ก.ค.ที่จะถึงนี้ และเริ่มทยอยจัดส่งให้แก่ผู้สั่งจองตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค.เป็นต้นไป

การจัดสร้างรูปหล่อนารายณ์แปลงรูปให้มีความงดงามอลังการในครั้งนี้ ก็เพื่อมอบไว้เป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดินและเป็นที่ระลึกสำหรับผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์ในการจัดสร้าง "ที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม วัดขุนอินทประมูล" อันจะเป็นบุญกุศลร่วมกัน

ติดต่อสอบถามโดยตรงได้ที่ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง โทร. 09-2557-7511

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15945565866099_view_resizing_images_4_.jpg)

รูปหล่อพระอินทร์ประทานพร วัดขุนอินทประมูล อ่างทอง

ศาสนาพราหมณ์ หรือ ศาสนาฮินดู แต่ครั้งโบราณกาล ถือ "พระอินทร์" เป็นเทพเจ้าองค์แรกและยิ่งใหญ่สูงสุด มีอานุภาพสูงที่สุดกว่าบรรดาเทพทั้งปวง เป็นราชาแห่งสรวงสวรรค์ สามารถดลบันดาลให้เกิดสิ่งต่างๆ ได้ทั้งบนสวรรค์และโลกมนุษย์

พระอินทร์ มีพระวรกายสีเหลืองทอง กระจ่างสดใส บ้างก็ว่ามีผิวสีแดงเข้ม แต่ในปัจจุบันมักเห็นพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงเครื่องประดับที่งดงามอลังการ ทรงอิทธิฤทธิ์สามารถเนรมิตให้ร่างกายเล็กดั่งผงธุลีหรือใหญ่โตดั่งภูเขา มีวัชระหรือสายฟ้า เป็นศาสตราวุธคู่กายอันทรงพลานุภาพ สามารถบันดาลให้ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ใช้ปราบอสูรและสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายทั้งปวง และทรงพาหนะทั้งรถม้าและช้างเอราวัณ

ถือเป็นมหาเทพที่ยิ่งใหญ่เหนือชีวิตของมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีหน้าที่ปกป้องดูแลโลกให้พ้นจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ

ในศาสนาพุทธ พระอินทร์ ยังเป็นเทพผู้รักษาและค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้ธำรงอยู่สืบไป และจะทำลายผู้ที่จะนำพาพระพุทธศาสนาไปในทิศทางเสื่อม...

พระอินทร์ มีพระนามอีกพระนามหนึ่ง "ท้าวสักกะเทวราช" เมื่อครั้งเกิดเป็นมนุษย์ชื่อ "มฆมาณพ" มีเพื่อนผู้มีจิตใจอันดีงามรวม 33 คน ได้ร่วมกันสร้างศาลาและร่วมกันทำเส้นทางเพื่อถวายเป็นกุศลทาน เมื่อตายไปจากโลกมนุษย์ได้ไปเกิดอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มฆมาณพได้มาเกิดเป็นพระอินทร์ ส่วนเพื่อนที่เหลือก็ได้เป็นเกิดเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เช่นกัน และทำหน้าที่เป็นช้างทรงของพระอินทร์ชื่อ ช้างเอราวัณ

พระอาสน์ (ที่นั่ง) ของพระอินทร์นั้นมีความสำคัญมาก เมื่อใดที่เกิดร้อนขึ้นมา ก็แสดงว่าโลกมนุษย์ได้เกิดเหตุร้ายหรือมีผู้ขอพร เมื่อนั้นพระองค์จะลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อมาขจัดทุกข์ภัยให้หมดสิ้นไป ด้วยเมตตาบารมีสูงส่ง คอยปกป้องคุ้มครองผู้กระทำความดีอยู่เสมอไป

พระอินทร์ประทานพร บนทิพย์อาสน์เหนือช้างทรงเอราวัณ มีวัชระเป็นอาวุธ งานจัดสร้างรูปหล่อประติมากรรม เพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธา ในโครงการจัดสร้างที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง โดยการรังสรรค์ผลงานครั้งนี้ เป็นความต่อเนื่องทั้งรูปลักษณ์และขนาดองค์จากการจัดสร้างรูปหล่อนารายณ์แปลงรูป ขนาดสูง 16 นิ้ว ที่หมดไปแล้วก่อนหน้านี้ และได้ส่งมอบงานทั้งหมดถึงมือผู้สั่งจองเป็นที่เรียบร้อย เหลือเพียงขนาด 9.9 นิ้ว ที่กำลังเร่งมือผลิตเพื่อให้ทันกำหนดส่งมอบ ในเดือน ก.ค.นี้ โดยยังคงไว้ซึ่งความงามตาม รายละเอียดของงานต้นแบบทุกประการ

รูปหล่อพระอินทร์ประทานพร นับเป็นสุดยอดประติมากรรมต้นแบบที่มีความงดงามอลังการ และวิจิตรบรรจงเหนือคำบรรยาย ผลงานการออกแบบโดย นายเกรียงกมล นาคบางแก้ว ศิลปินดาวรุ่งแห่งสำนักช่างสิบหมู่ และรังสรรค์งานปั้นโดย อ.สุชาติ แซ่จิว สุดยอดประติมากรแห่งยุค ฉายา มือปั้นเทพสถิต ที่ในวงการรู้จักกันเป็นอย่างดี โดยได้นำภาพงานต้นแบบที่เสร็จสมบูรณ์แล้วมาให้ชมกัน

รูปหล่อพระอินทร์ประทานพร หล่อด้วยโลหะสูตรทองเหลืองผสม ขนาดหน้าตักกว้าง 6 นิ้ว ฐานชั้นล่างกว้าง 10 นิ้ว ลึก 8.5 นิ้ว ฐานชั้นบนกว้าง 6 นิ้วครึ่ง วัชระ อันเป็นอาวุธคู่กาย บรรจุชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ที่ผ่านพิธีมหามงคลมาแล้วถึง 9 วาระ

การจัดสร้างรายการทั่วไป สร้าง 4 สี สีละ 199 องค์ มีสีเขียวพระอินทร์, สีเงินเทวฤทธิ์, สีแดงทองเทวฤทธิ์ และสีเหลืองทองเทวฤทธิ์ ราคาจอง 14,900 บาท

รายการกรรมการ สร้าง 4 สี สีละ 22 องค์ ราคาจอง 17,900 บาท และกรรมการพิเศษ เนื้อบรอนซ์สัมฤทธิ์ ออสเตรเลีย โรงหล่อ เอเชีย ไฟน์ อาร์ท สร้าง 9 สี สีละ 1 องค์ ราคาจอง 29,900 บาท ค่าจัดส่ง 300 บาทต่อ 1 องค์ รับที่วัดไม่มีค่าส่ง รับได้ปลายเดือนตุลาคม 2561


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92167335748672_1.jpg)

เครื่องรางจระเข้ หลวงปู่ทองคำ
 
"หลวงปู่ทองคำ สุวโจ" เดิมท่านจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักสงฆ์วังงูเหลือม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรง ทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

ด้วยความที่หลวงปู่มีวัตรปฏิบัติที่สมถะเรียบง่าย อาศรมแห่งนี้ จึงถูกสร้างเป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียวเปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

ปัจจุบัน อายุ 91 ปี พรรษา 37

หลวงปู่ทองคำ เกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2472 ที่บ้านมะโม ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

อายุ 16 ปี บรรพชา ที่วัดบ้านคำครั่ง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น นอกจากจะมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ยังสนใจวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงเดินทางไปกราบสักการะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ขณะจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น

ศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาต่างๆ จากหลวงปู่ฝั้น ด้วยความขยันพากเพียร

ด้วยความจำเป็นบางประการ ท่านลาสิกขาและกลับมาอุปสมบทในปี 2523 อีกครั้ง ที่อุโบสถวัดราชพิสัย ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

หลังเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ ท่านออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน นอกจากนี้ ยังข้ามไป สปป.ลาว ศึกษา วิทยาคมตำราสายสำเร็จลุน และศึกษาการใช้สมุนไพรรักษาโรค จนมีความชำนาญอีกทั้งยังเดินทางไปศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติมจากหลวงปู่ทองมา ถาวโร จ.ร้อยเอ็ด และไปมาหาสู่กันตลอดเวลา จนกระทั่งหลวงปู่ทองมามรณภาพ

ต่อมาในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรม อยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

เนื่องจากหลวงปู่เป็นผู้มีความรู้ด้านพืชสมุนไพร ยามใดที่ญาติโยมเกิดอาการเจ็บป่วย ท่านจะนำความรู้ด้านสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการเหล่านั้น แต่มีปัญหา คือ สมุนไพรบางชนิดเริ่มหายาก

หลวงปู่จึงมีโครงการที่จะจัดซื้อที่ดิน เพื่อปลูกสมุนไพรไว้รักษาโรค แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก คณะศิษยานุศิษย์รวมทั้งญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ทองคำจึงมีมติจัดสร้างเครื่องรางเป็นรูปจระเข้ จัดสร้างรวม 3 เนื้อ ประกอบด้วย เนื้อตะกั่ว 500 ตัว เนื้อทองแดง 1,000 ตัว เนื้อทองทิพย์ 2,000 ตัว

ติดต่อ โทร. 06-1795-7556

ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33600094500515_view_resizing_images_5_.jpg)
ปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้คนเคารพนับถือกันมาก โดยเฉพาะชาวบ้านและทหารเรือแถบสัตหีบ เสมือนหนึ่งเทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก ในสมัยนั้นเครื่องรางของขลังของท่านที่มีชื่อเสียงก็คือปลัดขิก กล่าวกันว่าถ้าปลุกปลัดของท่านแล้วปล่อยลงน้ำจะสามารถวิ่งทวนน้ำได้ทีเดียว

พระครูวรเวทย์มุนี (หลวงพ่ออี๋) ท่านเกิดที่ชลบุรี เมื่อปีพ.ศ.2405 โยมบิดาชื่อกองคำ โยมมารดาชื่อเอียง ในวัยเด็กท่านเป็นเด็กที่มีความฉลาดหลักแหลม และชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอ ผิดกว่าเด็กทั้งหลายในวัยเดียวกัน ต่อมาพออายุได้ 21 ปีท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดอ่างศิลา ชลบุรี โดยมีหลวงพ่อจั่น วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า "พุทธสโร"

อยู่จำพรรษาที่วัดอ่างศิลา และท่านก็ได้ศึกษาวิชาวิปัสสนาธุระที่สำนักพระอาจารย์แตง วัดอ่างศิลานั่นเอง ท่านจึงพิจารณาเห็นสังขารไม่เที่ยงแท้ เมื่อถึงเวลาออกพรรษาท่านก็เริ่มออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อหาแหล่งอันสงบวิเวกนั่งวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อท่านได้พบกับพระอาจารย์มีชื่อเสียงท่านใด หลวงพ่ออี๋ก็จะศึกษาหาความรู้กับพระอาจารย์ท่านนั้น พร้อมทั้งปฏิบัติจนเห็นจริง แล้วก็จะเริ่มธุดงค์ต่อไปเรื่อยๆ

บรรดาพระคณาจารย์ของหลวงพ่ออี๋จึงมีมากมาย แต่ที่พอสรุปได้ก็คือ พระอาจารย์แตง วัดอ่างศิลา พระอาจารย์จั่น วัดเสม็ด หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

หลวงพ่ออี๋ยึดการธุดงค์และสันโดษเป็นหลัก จนกระทั่งท่านมีญาณสมาบัติ พลังจิตสูงองค์หนึ่ง ท่านสามารถนำพระเวทมาใช้ได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าท่านจะธุดงค์ไปไหนๆ ก็ตาม ท่านมักจะให้ความเมตตาช่วยเหลือผู้เจ็บไข้ได้ป่วยเสมอ พร้อมทั้งแสดงธรรมให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังเสมอ จนกระทั่งชื่อเสียงของหลวงพ่ออี๋โด่งดัง จากปากหนึ่งไปอีกปากหนึ่ง ต่อมาหลวงพ่ออี๋ธุดงค์มาจนถึงอ่าวสัตหีบในราวปีพ.ศ.2450 ณ ที่นั้นเป็นบริเวณที่สงบเงียบพอที่จะยึดเป็นที่ปฏิบัติธรรม หลวงพ่ออี๋จึงปักกลดจำวัดที่นั่น พอบรรดาพวกชาวบ้านรู้ข่าวว่าหลวงพ่ออี๋มาปักกลดอยู่ต่างก็มานมัสการหลวงพ่ออี๋กันมาก ต่างก็นำอาหารมาถวาย และผู้คนก็เดินทางมานมัสการกันแทบทุกวัน

บรรดาชาวบ้านในแถบนั้นต่างมีความเห็นตรงกันว่าควรนิมนต์หลวงพ่ออี๋ให้สร้างวัด ณ ที่ตรงนั้น เพื่อชาวบ้านจะได้พึ่งบารมีหลวงพ่อ จึงได้พากันนิมนต์หลวงพ่ออี๋ให้อยู่จำพรรษาและสร้างวัดที่ตรงนั้น หลวงพ่ออี๋ก็ไม่ขัดข้อง พวกลูกศิษย์ลูกหาต่างก็ดีอกดีใจ ช่วยกันคนละไม้คนละมือและบริจาคทรัพย์สร้างวัดขึ้น และได้นามวัดต่อมาว่า "วัดสัตหีบ" จนมาถึงทุกวันนี้

ต่อมาในปีพ.ศ.2473 ทางวัดสัตหีบได้กำหนดหล่อพระพุทธรูปพระประธาน ประจำพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตหลวงพ่ออี๋สร้างเหรียญรูปเหมือนของหลวงพ่ออี๋ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมสมทบทุนสร้างในครั้งนั้น ปัจจุบันได้รับความนิยมสูงมาก หลวงพ่ออี๋ได้อยู่เป็นมิ่งขวัญจนถึงปีพ.ศ.2489 ก็มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 85 ปี พรรษาที่ 64

ปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋โด่งดังมาก ชาวบ้านแถบชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียงในสมัยก่อนมักนิยมคาดปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ไว้คุ้มครองป้องกันตัว ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ ในวันนี้ผมนำรูปปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชม

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์




หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 18 กันยายน 2561 15:49:11

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64964148360821_view_resizing_imagesQY6223P9.jpg)
ผ้ายันต์นกคุ้มกันภัยของ พระวิเชียรโมลี (หลวงพ่อปลั่ง)

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางของขลังที่เราพบเห็นนั้นมีอยู่หลายอย่าง ที่เป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น เสือ สิงห์ หนุมาน วัวธนู ควายธนู เต่า นกสาลิกาและอื่นๆ นั้น ความจริงล้วนแต่มีอุปเท่ห์ในการนำมาสร้าง และนำมาปลุกเสกเพื่อการปกป้องคุ้มครองทั้งสิ้น

เครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งที่เป็นรูปนกคุ้ม ซึ่งเป็นรูปนกชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายๆ กับนกกระทา แต่ตัวเล็กกว่า ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งชายไร่ชายป่า ในสมัยก่อนผมเคยเห็นพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ท่านสร้างไว้ก็เคยสงสัยจึงได้สอบถามผู้หลักผู้ใหญ่ และท่านก็ได้เล่าให้ฟังว่า สมัยหนึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธเพื่อโปรดสัตว์ พร้อมพระสาวกเป็นจำนวนมาก เวลาเสด็จกลับจากบิณฑบาตได้เกิดไฟไหม้ป่าลามมาถึงทางที่พระสาวกกำลังจาริกอยู่นั้น

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับยืนอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง ครั้นไฟไหม้ลามมาห่างจากที่ประทับออกไปโดยรอบ 16 กรีส ไฟก็ดับไปเอง พระภิกษุเห็นเช่นนั้นก็พากันสรรเสริญคุณสมเด็จพระบรมศาสดาว่า มีอานุภาพเป็นมหัศจรรย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ไฟไหม้มาภูมิประเทศแห่งนี้ดับไปแล้ว หาใช่เพราะกำลังแห่งพระองค์ไม่ ไฟย่อมดับลงเพราะกำลังแห่งความสัตย์ของพระองค์ในกาลก่อน

พระภิกษุทั้งหลายจึงทูลอาราธนาเพื่อทราบเรื่อง พระองค์จึงได้นำชาดกเรื่องนี้มาแสดงว่า ในอดีตสมัยพระโพธิสัตว์ได้เสวยชาติปฏิสนธิในกำเนิดนกคุ้มอยู่ในแคว้นมคธนั้น ในกาลเมื่อออกจากไข่แล้วยังไม่มีกำลังที่จะเดินและบินได้ วันหนึ่งนกบิดามารดาพระโพธิสัตว์ออกไปหาอาหาร นกโพธิสัตว์นอนอยู่ในรัง ครั้งนั้นไฟป่าได้ไหม้เข้ามาในที่ใกล้รังแห่งนกโพธิสัตว์นั้น นกบิดามารดาของพระโพธิสัตว์กลับมาเห็นไฟไหม้ป่าก็กลัวพากันบินหนีไปไม่อาจที่จะกลับมาคุ้มครองลูกน้อยได้

นกพระโพธิสัตว์หมดที่พึ่งอย่างอื่นแล้ว จึงระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าในอดีต คุณพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และความสัตย์ที่มีอยู่ ความสัตย์นั้นลูกนกได้กล่าวว่า ปีกทั้งสองของเรามีอยู่แต่บินไม่ได้ เท้าทั้งสองของเรามีอยู่แต่เดินไม่ได้ มารดาบิดาทั้งสองของเราไม่อยู่ออกไปหาอาหาร ถ้าสิ่งทั้งปวงที่กล่าวนี้เป็นเป็นความจริงแน่แล้วไซร้ขอเปลวไฟจงกลับไปเสียจากที่นี้เถิด ด้วยความสัตย์ที่พระโพธิสัตว์กล่าวมานั้นไฟที่กำลังไหม้อยู่ห่างจากพระโพธิสัตว์ 16 กรีส โดยรอบก็ดับลง ไฟมิได้ไหม้จนตลอดกัลป์นี้ ที่อันนั้นก็คือที่ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ เมื่อไฟป่ากำลังไหม้อยู่นั้น พระปริตรบทนี้จึงได้นำมาเป็นอุปเท่ห์ในการปลุกเสกรูปนกคุ้มไว้คุ้มครองป้องกันไฟและคุ้มครองภัยต่างๆ

ครับก็มีอุปเท่ห์ในการปลุกเสกและนำมาสร้างรูปเครื่องรางของขลังเป็นรูปนกคุ้มตามนี้ครับ รูปนกคุ้มหรือผ้ายันต์รูปนกคุ้ม เราจะเห็นว่ามีการสร้างมาแต่โบราณแล้ว มักจะนิยมไว้บูชาในบ้านเรือนร้านค้าเพื่อปกป้องคุ้มครองภัยโดยเฉพาะอัคคีไฟ ก็มีอยู่หลายพระเกจิอาจารย์ที่สร้างไว้

ในวันนี้ผมขอนำรูปผ้ายันต์นกคุ้มกันภัยของ พระวิเชียรโมลี (หลวงพ่อปลั่ง) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นที่หวงแหนของชาวกำแพงเพชรมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99317262818415_view_resizing_images_5_.jpg)

น้ำเต้ากันไฟของ พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดพลับ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางของขลังแบบหนึ่งที่เป็นรูปน้ำเต้า ที่รู้จักกันดีก็คงจะเป็นน้ำเต้าของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ และที่เก่าแก่ขึ้นไปหน่อยก็จะเป็นน้ำเต้าของพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดพลับ ในปัจจุบันหายากมากครับ

น้ำเต้าของพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) หรือที่นักนิยมพระเครื่องมักเรียกท่านสั้นๆ พระสังวราชุ่มนั้น เด่นทางด้านป้องกันอัคคีไฟชะงัดนัก ท่านสร้างแจกลูกศิษย์ไปส่วนหนึ่ง และนำไปบรรจุเจดีย์ไว้พร้อมกับพระเครื่องของท่านอีกส่วนหนึ่ง มูลเหตุในการสร้างน้ำเต้ากันไฟของท่านนั้นมีมูลเหตุดังนี้คือ ในสมัยก่อนท่านนิยมออกธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพรอยู่เสมอ มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้ธุดงค์ไปยังกลางป่าลึก เมื่อใกล้ค่ำท่านก็ได้เห็นศาลาร้าง ท่านกับคณะของท่านจึงเข้าไปพัก ในคืนนั้นเองก็เกิดไฟป่าโหมเข้ามาทั่วทุกทิศ ตัวท่านเองก็ได้แต่นั่งภาวนาจวบจนรุ่งเช้าไฟป่าจึงดับลง ท่านก็นั่งคิดดูถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคืนและพิจารณาที่ศาลาแห่งนี้ที่น่าจะถูกไฟไหม้ แต่ก็ไม่ไหม้แม้แต่หญ้าและต้นไม้ที่รกรุงรังรอบๆ ศาลาก็ไม่ไหม้ ท่านจึงคิดว่าที่ศาลานี้ต้องมีอะไรดีอยู่อย่างแน่นอน ท่านจึงตรวจดูรอบๆ ศาลาตามชายคาและบนขื่อ ก็ได้พบกับน้ำเต้าลงอักขระลูกหนึ่ง ภายในน้ำเต้ามีตำราเรื่องน้ำเต้ากันไฟสอดไว้ ท่านก็นำเอาน้ำเต้าลูกนั้นมาเก็บไว้ที่กุฏิ โดยมิได้สนใจเท่าใด

ต่อมาอีก 2-3 ปี ท่านก็ได้ออกธุดงค์ผ่านมายังศาลากลางป่าแห่งนั้น แต่ปรากฏว่าศาลาได้ถูกไฟป่าเผาไหม้หมด ท่านรู้สึกสลดใจและคิดไว้ว่าเป็นเพราะท่านได้นำน้ำเต้ากันไฟไปจากศาลา เมื่อท่านกลับมายังวัดพลับ ท่านจึงได้นำตำราน้ำเต้ามาศึกษาจนแตกฉาน และสร้างน้ำเต้าขนาดเล็กทำด้วยไม้ และทำด้วยผงพุทธคุณ ปิดทองทั้งลูก แจกให้แก่ศิษย์และส่วนหนึ่งก็นำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ที่ท่านสร้าง เป็นการขอลุกะโทษแก่เจ้าของศาลาที่ท่านหยิบน้ำเต้ามา หลังจากนั้นท่านก็ได้ออกธุดงค์กลับไปสร้างศาลาไว้ที่เดิม และเมื่อสร้างศาลาเสร็จ ท่านก็นำน้ำเต้าลูกเดิมมาเก็บคืนไว้ และเพิ่มน้ำเต้าที่ท่านสร้างมาไว้ด้วย หลายปีต่อมาท่านก็ได้ธุดงค์ผ่านมาดู ศาลาก็ยังอยู่เหมือนเดิมไม่ปรากฏว่ามีไฟป่ามาไหม้ศาลาอีกเลย

ครับก็เป็นอุปเท่ห์และมูลเหตุในการสร้างน้ำเต้ากันไฟของพระสังวราชุ่ม วัดพลับ ปัจจุบันหาน้ำเต้าของท่านแท้ๆ ยากครับ ใครมีก็หวงแหน ของปลอมเลียนแบบก็มีมานานแล้ว เวลาเช่าหาก็ต้องพิจารณาดีๆ หรือเช่าหาจากผู้ที่ไว้ใจได้เท่านั้นครับ

วันนี้ผมนำรูปน้ำเต้ากันไฟของพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดพลับ จากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์



หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 26 กันยายน 2561 17:52:44

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21084881822268_view_resizing_images_9_.jpg)
ตะกรุดทองคำ หลวงพ่อพร้า

"หลวงพ่อพร้า อัตตสันโต" หรือ "พระครูวิจิตรชยานุรักษ์" ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสรรคบุรี และเจ้าอาวาสวัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เจ้าของสมญานาม "หลวงพ่อพร้า เจ้าตำรับน้ำมนต์บาทเดียว"

ปัจจุบันสิริอายุ 95 ปี พรรษา 75

พื้นเพเป็นชาวชัยนาท เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พ.ค.2466 เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 พ.ค.2486 ที่พัทธสีมาวัดโคกดอกไม้ โดยมีพระครูปัตย์ วัดสนามชัย เป็นพระอุปัชฌาย์

ฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ซึ่งเป็นหลวงลุง ทั้งได้เรียนสรรพวิชามากมายจากหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม อีกด้วย

ด้วยความที่เมื่อท่านเยาว์วัย ท่านอยากเรียนแต่ไม่มีโอกาสเนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐานเอาไว้ว่า "....หากมีโอกาสได้บวช จะอุปถัมภ์การศึกษาแก่เด็กที่พ่อแม่ฐานะยากจน จะช่วยให้เต็มความสามารถ...."

ตั้งแต่นั้นมา ก็มุ่งปฏิบัติตนตามคำอธิษฐานมาโดยตลอด ด้วยการอุปถัมภ์เด็กๆ ที่ยากจน และทำนุบำรุงปูชนียสถานถาวรวัตถุภายในวัดจนรุ่งเรือง

ในปี พ.ศ.2561 จัดสร้างวัตถุมงคล "ตะกรุดทองคำ" เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างมณฑป

ตะกรุดทองคำ รุ่นแรก ขนาด 1 นิ้ว คูณ 1 นิ้ว จำนวน 128 ดอก สั่งจองหมดภายใน 1 สัปดาห์ ต่อมาสร้างตะกรุดทองคำ รุ่นที่สอง มีขนาดเล็ก 1 นิ้ว คูณ 1 นิ้ว จำนวน 199 ดอก และขนาดใหญ่ 1.8 นิ้ว คูณ 1.8 นิ้ว จำนวน 161 ดอก

"ตะกรุดทองคำ หลวงพ่อพร้า" ทั้งรุ่นแรกและรุ่นสอง (ขนาดเล็ก-ใหญ่) เป็นเนื้อแผ่นทองคำ ภายในบรรจุเส้นเกศา, จีวร, พลอยเสก และข้าวสารดำ หลวงพ่อพร้าปลุกเสกเดี่ยว

ตะกรุดทองคำหลวงพ่อพร้า ขนาด 1 นิ้ว คูณ 1 นิ้ว ทั้งรุ่นแรกและรุ่นสอง ที่วัดหมดแล้ว ยังพอมีเหลือบ้างเฉพาะรุ่นสอง (ขนาดใหญ่) ขนาด 1.8 นิ้วคูณ 1.8 นิ้ว เท่านั้น

เป็นวัตถุมงคลที่มีรูปลักษณ์โดดเด่น วัตถุประสงค์ดี ตั้งใจสร้างและปลุกเสกเดี่ยว สวยงามกะทัดรัด

สอบถามได้ที่วัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท โทร.0-5648-2948

หนังสือพิมพ์ข่าวสด



หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 17 ตุลาคม 2561 15:36:13

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99243853572342_view_resizing_images_2_.jpg)     

มีดเทพศาสตรา หลวงปู่จื่อ

"วัดเขาตาเงาะอุดมพร" ตั้งอยู่เลขที่ 12 หมู่ 4 บ้านหัวหนอง ต.หนองบัวระเหว อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ทัศนียภาพโดยรอบสวยงาม ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่พุทธศิลป์งดงาม มีภาพวาดพระเวสสันดรชาดกที่ประณีตงดงาม

มีพระคณาจารย์ชื่อดังสายวิปัสสนา คือ พระครูสุวิมลภาวนาคุณ หรือ "หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต" สิริอายุ 76 ปี พรรษาที่ 43 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาตาเงาะอุดมพร

ปัจจุบันคณะศิษย์จากทั่วสารทิศ เข้ามากราบนมัสการหลวงปู่จื่อ พบเห็นงานก่อสร้างมหาวิหารภายในวัดและขุดสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ (บึงหนองบัวระเหว) ด้านหลังวัดกว่า 2,000 ไร่ ยิ่งเกิดความศรัทธาต่อปฏิปทา ความตั้งใจมั่นที่จะช่วยสงเคราะห์ชาวบ้านของหลวงปู่จื่อในครั้งนี้ ประชาชนและสานุศิษย์ทั้งหลายต่างยินดีและเต็มใจร่วมบุญกันตามกำลังแรงศรัทธา

ในโอกาสนี้ หลวงปู่จื่อเมตตาให้จัดสร้างมีดหมอรุ่นแรก ซึ่งมีดหมอจัดเป็นเครื่องรางของขลังในอีกรูปแบบหนึ่ง มีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น บ้างเรียกมีดครู บ้างเรียกมีดปราบไพรีพินาศ บ้างเรียกมีดเทพศาสตราวุธ บ้างเรียกมีดด้ามงา บ้างเรียกมีดเหน็บ และบางที่เรียกมีดควาญช้างก็มี ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะของมีดหมอที่สร้างขึ้น

มีดหมอ มีจุดเริ่มมาจากกรรมวิธีในการสร้างที่พิถีพิถันทุกขั้นตอน มีเรื่องเล่ากันว่า ในยุคแรกนั้นใบมีดมีส่วนผสมของตะปูสังฆวานร ตะปูโลงผี เหล็กน้ำพี้ มาหลอมรวมแล้วตีเป็นตัวมีด ซึ่งต่อมาในยุคหลังอาจใช้เพียงเหล็กกล้าอย่างเดียวเท่านั้น

สำหรับมีดหมอหลวงปู่จื่อ แห่งวัดเขาตาเงาะอุดมพร จ.ชัยภูมิ ท่านสร้างไว้ 3 แบบ และถือได้ว่าเป็นมีดหมอรุ่นแรกของท่าน มีดังนี้

1.มีดหมอด้ามแกะรูปท้าวเวสสุวัณ
2.มีดหมอด้ามแกะเสือมหาอำนาจ
3.มีดหมอด้ามแกะไม้ราชพฤกษ์

เพื่อสมทบทุนบูรณะศาลาการเปรียญและส่งเสริมพระพุทธศาสนาสาธารณสงเคราะห์


เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 ธันวาคม 2561 15:22:44
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37001174315810_1_1024x768_.jpg)
เครื่องรางหนุมาน
วัดราษฎร์สามัคคี ตั้งอยู่ที่บ้านหนองแฮ หมู่ 5 ต.หนองเม็ก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม เป็นวัดที่เก่าแก่ตั้งวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 พร้อมกับการตั้งชุมชน

เพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในชนบท สภาพที่ปรากฏ จึงยังคงขาดแคลนในทุกด้าน อาทิ ถาวรวัตถุภายในวัดหลายอย่างก็ยังไม่มี ไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ กำแพงแก้ว ประตูโขง เป็นต้น ล้วนยังต้องรอให้ผู้มีจิตอันเป็นกุศล เข้ามาร่วมกันพัฒนาวัดแห่งนี้

ปัจจุบัน "วัดราษฎร์สามัคคี" มี พระครูสุตศีลวุฒิ หรือพระมหาธรรมวุฒิกร อธิปัญโญ อายุ 33 ปี พรรษา 14 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด

ถาวรวัตถุที่อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปก่อน สร้างไว้ คือ ศาลาการเปรียญ แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ท่านก็มรณภาพไปก่อน

ครั้นเมื่อพระครูสุตศีลวุฒิเข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแห่งหนี้ จึงมีโครงการเร่งด่วน คือ เดินหน้าก่อสร้างศาลาการ เปรียญที่ยังค้างคาอยู่ให้แล้วเสร็จภายในปี 2562 ด้วย มีความจำเป็นในการใช้ปฏิบัติศาสนกิจ แต่เนื่องจากการก่อสร้างต้องใช้ปัจจัยกว่า 2 ล้านบาท วัดยังขาดแคลนปัจจัยที่จะดำเนินการต่อ

เพื่อให้การก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังนี้แล้วเสร็จ จึงมีมติจัดสร้างวัตถุมงคลเครื่องรางหนุมาน รุ่นเศรษฐีรวยทันใจ เพื่อให้ญาติโยมเช่าบูชา สมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญหลังดังกล่าว

สำหรับวัตถุมงคลเครื่องรางหนุมาน รุ่นเศรษฐีรวยทันใจ มวลสารได้รับความเมตตาจากพระเกจิอาจารย์หลายรูป เมตตาจารอักขระยันต์ใส่แผ่นทองนำมาหลอมเป็นชนวน

ลักษณะเครื่องรางรุ่นนี้เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวัดไม่ซ้ำกับที่ใด จึงออกแบบรูปหนุมานนั่งสมาธิ ประทับนั่งบนบัลลังก์ ส่วนด้านหลังจะมีอักขระยันต์ที่ชายผ้าและที่บัลลังก์

ประกอบด้วย เนื้อเงินก้นทองคำ สร้าง 11 ตน เนื้อเงินบริสุทธิ์ สร้าง 56 ตน เนื้อเหล็กน้ำพี้ สร้าง 99 ตน เนื้อชนวนสร้าง 499 ตน นอกจากนั้นยังมีชุดกรรมการ ประกอบด้วยนวะแก่เงิน เนื้อชิน และเนื้อทองแดงเถื่อน สร้างจำนวน 132 ชุด

พิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 22 ก.ย.2561 ภายในศาลาการเปรียญวัดราษฎร์สามัคคี

พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีนั่งปรก ประกอบด้วย หลวงปู่ขำ เกสโร, หลวงปู่ทองดำ ฐานทัตโต วัดหนองโพธิ์ อ.นาเชือก, หลวงปู่บาล วัดหนองโจด จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่ภู วัดสระบัวแก้ว จ.ขอนแก่น, หลวงพ่อหนู สุวัณโณ วัดอัมพวนาราม จ.ร้อยเอ็ด, ครูบาโฮม วัดป่าโนนตะคร้อ จ.บุรีรัมย์ ฯลฯ

จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่มีอนาคตเนื่องจาก หลวงปู่ขำร่วมพิธีนั่งปรกทำให้ นักสะสมและคณะศิษยานุศิษย์ที่เคารพเลื่อมใส หลวงปู่ขำ เข้ามาร่วมทำบุญ จำนวนมาก

สนใจติดต่อได้ที่พระครูสุตศีลวุฒิ โทร. 09-3050-0990

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25233949927820_1_1024x768_.jpg)
แหวนอสุรินทราหูฯ
นายสุชาติ จิตทรานนท์ ประธานชมรมนาคราชอู่ทอง จัดสร้าง "แหวน อสุรินทราหูทรงครุฑนาคราช มหามงคล" ประกาศเกียรติคุณราหู ครุฑ นาค มรดกศิลปะแห่งแผ่นดิน

เป็นแหวนที่ประกอบด้วยดวงตราพญาราหู ซึ่งเป็นอุปราชของท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวัณ ซึ่งเป็น 1 ในเทพยดาที่คุ้มครองโลกมนุษย์ เรียกว่า "โลกบาล" ในชั้นจาตุมหาราชิกา และราหูก็เป็นเจ้าแห่งทรัพย์แห่งภูตผีปีศาจ คนจีนเรียก "ไฉ่ซิงเอี้ย" ถือว่าจะได้ประทานทรัพย์สมบัติ ใน 3 โลก ให้แก่ผู้ที่ได้ครอบครองแหวนนี้

ชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ประกอบด้วย ทองคำบริสุทธิ์ 88 บาท เงินบริสุทธิ์ 25 กิโลกรัม เนื้อชนวนนวโลหะ อันเกิดจากชนวนนวโลหะสายวัดสุทัศน์, นวโลหะสายวัดไตรมิตร, นวโลหะสายวัดสระเกศ, นวโลหะสายต่างๆ อันเกิดจากชนวนทองเหลืองหล่อพระพุทธมหาเศรษฐีนวโกฏิ, ชนวนทองเหลืองหล่อพระกริ่งนเรศวรยุทธหัตถี, ชนวนทองเหลืองจากการหล่อพระกริ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช, ชนวนเหลือจากการเททองหล่อพระกริ่งพระปริตร, และชนวนศักดิ์สิทธิ์จากที่ต่างๆ อีกจำนวน 100 กิโลกรัม ผสมกับทองแดงบริสุทธิ์และโลหะ รวมทั้งหมด 9 ชนิด ที่เรียกว่า "นวโลหะ" เต็มสูตร

ใต้ท้องแหวนทุกวงมีเทียนชนวนอันเกิดจากเทียนชัยหล่อพระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีอันเป็นมหามงคล 108 พิธี มีชนวนสีผึ้งมหามงคล มหาเสน่ห์ของพระพรหมมังคลาจารย์ (เจ้าคุณธงชัย) มีชนวนสีผึ้งมหาเสน่ห์ ชนวนสีผึ้งเมตตามหานิยม น้ำมันช้างตกมันจากพระอาจารย์ หมู วัดทรงธรรมวรวิหาร จ.สมุทรปราการ ถือว่ามีชนวนมวลสาร ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่ให้เอาเทียนผสมสีผึ้งมหามงคลของครูบาอาจารย์อัดอยู่ใต้ท้องแหวน แล้วอธิษฐานให้เกิดความเป็นสิริมงคล

ประกอบพิธีต่างๆ ด้วยฤกษ์งามยามดี ในวันมาฆบูชา พิธีพุทธาเทวาภิเษก ถึง 2 รอบ ถือว่าเป็นมหามงคล ที่ผ่านพิธี ณ พระอุโบสถ วัดไตรมิตร และพิธีที่วัดอาวุธวิกสิตาราม เขตบางพลัด โดยมีพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมอธิษฐานจิตปลุกเสก

ลักษณะของแหวนดังกล่าว หัวแหวนนิลสีดำรับพลังราหูรับทรัพย์มหาอุด ป้องกันคุณไสย อวิชชา

- พระราหู 4 ทิศ พิทักษ์รักษา ประทานบารมี ประทานทรัพย์ โชคลาภ

- ครุฑ หมายถึงอำนาจ บารมี พลังชีวิต สำหรับผู้กตัญญู

- นาคราช ประทานแก้วแหวนเงินทอง สมบัติในนาคาพิภพ

- ท้องแหวนบรรจุเทียนชัย 108 พิธี สีผึ้งเจ้าคุณธงชัย สีผึ้งหลวงพ่อคูณ สีผึ้งผสมน้ำมันช้างตกมันพระอาจารย์หมู วัดทรงธรรมฯ

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85823002457618_1_1024x768_.jpg)

เบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เบี้ยแก้ สายวัดกลางบางแก้วถือว่าเป็นเบี้ยแก้สายที่นิยมกันมาก ที่นิยมที่สุดก็คือ เบี้ยแก้ของ หลวงปู่บุญ ซึ่งปัจจุบันหายากมากครับ การสร้างเบี้ยแก้ของสายวัดกลางบางแก้วนี้ก็สืบต่อมาถึงหลวงปู่เพิ่ม พระอาจารย์ใบ และหลวงปู่เจือ เบี้ยแก้ของวัดกลางบางแก้ว ทุกหลวงปู่นั้นมีพุทธคุณคุ้มครองป้องกันภัยดียอดเยี่ยม วันนี้ขอพูดถึงหลวงปู่เพิ่มกันครับ

พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่เพิ่ม ปุณณวสโน) นามเดิมว่า "เพิ่ม" ท่านเกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2429 ที่ตำบลไทยวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ เกิด โยมมารดาชื่อ วรรณ ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 8 ขวบ สืบต่อมาจนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ วัดสรรเพชญ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็ได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา และถือได้ว่าท่านเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่บุญมากที่สุด เพราะท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ก็อยู่ปฏิบัติรับใช้หลวงปู่บุญมาตลอดจนกระทั่งหลวงปู่บุญมรณภาพ เป็นเวลาถึง 39 ปี ตลอดเวลานั้นท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ ทั้งทางด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนเวทวิทยาคมต่างๆ ไว้มากมาย หลวงปู่เพิ่มเป็นพระสงฆ์ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยศีล สมาธิ และปัญญาธรรม เปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรมหมดสิ้นกิเลสทั้งปวง หลวงปู่เป็นพระที่พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน สำเนียงของท่านนั้นมีแววความเมตตาผสานเอาไว้ ใครได้ฟังแล้วจะรู้สึกชุ่มชื่นใจ ใครๆ ได้สนทนากับท่านแล้วจะรู้สึกเคารพศรัทธาท่านทุกคนไป

หลวงปู่เพิ่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วเมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 ปี

พ.ศ.2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2483 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี ปี พ.ศ.2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูพุทธวิถีนายก ปี พ.ศ.2495 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนามเดิม ปี พ.ศ.2503 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญมีราชทินนามว่า พระพุทธวิถีนายก หลวงปู่เพิ่มมรณภาพ ด้วยโรคชราด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2526 สิริอายุได้ 97 ปี พรรษาที่ 76

หลวงปู่เพิ่มท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดและเบี้ยแก้ นอกจากนี้ก็ยังมีพระเครื่องอีกหลายอย่าง ในส่วนของเบี้ยแก้ ผมได้เคยไปกราบหลวงปู่เพิ่มเพื่อขอเบี้ยจากหลวงปู่ในครั้งนั้นผมเองก็ไม่รู้เรื่องอะไรมากนัก จึงเข้าไปกราบหลวงปู่เพิ่มเพื่อขอเบี้ยแก้เอาดื้อๆ เลย เนื่องจากนึกว่าจะขอได้เลย แต่ปรากฏว่าไม่ได้นะครับ ใครที่เคยไปขอให้หลวงปู่สร้างเบี้ยให้จะทราบดี แต่ผมเองไม่ได้รู้เรื่องมาก่อนก็ดุ่ยๆ ไปขอหลวงปู่เลย หลวงปู่เพิ่มมีเมตตามาก ท่านบอกว่าให้ไปจัดหาหอยเบี้ยและปรอทมา โยมที่อยู่กับหลวงปู่ก็ช่วยบอกให้ว่า ต้องไปจัดหาหอยเบี้ยและปรอทมาเอง ที่วัดไม่มี ใครอยากได้ก็ต้องไปจัดหามาขอให้หลวงปู่ช่วยสร้างให้ และช่วยแนะนำว่าให้ไปที่ตลาดที่ร้านขายเครื่องบวชเขาจะรู้ และจัดชุดให้ หลังจากนั้นจึงนำมาถวายหลวงปู่ แต่ก็ยังไม่ได้เลยนะครับ หลวงปู่บอกอีก 3 เดือนให้กลับมาดูอีกที ผมเองก็งงๆ อยู่เหมือนกัน แต่ก็ไม่กล้าถามหลวงปู่ จึงออกมาถามโยมที่อยู่กับท่านก็บอกว่า หลังออกพรรษาให้กลับมาดูว่าใช้ได้หรือไม่ (ช่วงที่ผมไปนั้นเป็นช่วงที่เข้าพรรษาพอดี) ผมก็ถามต่อว่าใช้ได้หรือไม่คืออะไร โยมท่านนั้นเลยกระซิบว่าหลวงปู่จะปลุกเสกเบี้ยจนกว่าจะเดินได้ ถ้ายังไม่ได้ก็ยังไม่มอบให้ ผมจึงเข้าใจ

ครับเบี้ยแก้สายวัดกลางบางแก้วนั้นไม่ใช่จะสร้างกันง่ายๆ ยังมีกรรมวิธีการสร้างนอกจากนี้อีกมาก กว่าจะเป็นเบี้ยแก้ของวัดกลางบางแก้ว จึงเป็นเบี้ยแก้ที่มีคนเชื่อถือกันมาก และใครมีไว้ต่างก็หวงแหนกันมากครับ วันนี้ผมขอนำรูปเบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 มกราคม 2562 15:28:55

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72814250240723_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64501874231629_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

ท้าวเวสสุวัณ วัดสุทัศน์
แต่โบร่ำโบราณมาเมื่อเอ่ยนาม "ท้าวเวสสุวัณ" มักจะนึกถึงความเป็น "เจ้า" หรือ "นาย" แห่งภูตผีปีศาจทั้งหลาย เป็นอธิบดีแห่งอสูรหรือยักษ์

"ท้าวเวสสุวัณ" แปลตามตัวว่า "พ่อค้าผู้มั่งคั่งร่ำรวยด้วยทองคำ" เป็นอธิบดีแห่งอสูรหรือยักษ์ เป็นเจ้าแห่งภูตผีปีศาจ เป็น 1 ในบรรดาท้าวจตุโลกบาล ผู้คุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ทางด้านทิศเหนือ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมาก ประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ มียักษ์ อสูร รากษส ภูตผีปีศาจเป็นบริวาร

คนไทยโบราณนิยมบูชายักษ์ติดตัว และนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็ก เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควานแก่เด็ก "ท้าวเวสสุวัณ" เป็นภาคหนึ่งของพระธนบดีหรือท้าวกุเวร เป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง ซึ่งตรงกับ "ไฉ่ซิงเอี๊ย" เทพแห่งความมั่งคั่ง ความร่ำรวย ความมีโชคลาภของจีน

นอกจากนี้ความหมายของชื่อ "ท้าวเวสสุวัณ" นั้น คำว่า "เวส" แปลว่า พ่อค้า "เวสสุวัณ" จึงหมายถึง พ่อค้าอันมีทรัพย์ อันได้แก่ ทองคำ เนื่องจากท้าวเวสสุวัณเคยมีอดีตชาติเป็นพราหมณ์ เปิดโรงงานค้าขายหีบอ้อยจนร่ำรวย และได้นำเงินทองบริจาคให้ผู้ยากไร้ เมื่อเกิดใหม่จึงได้ครองเมืองวิสานะนคร ผู้คนจึงเรียกว่า "เวสาวรรณ" และด้วยกุศลดังกล่าวจึงได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะไม่ตาย และให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติต่างๆ ทั่วแผ่นดิน

ผู้คนจึงนิยมจัดสร้างหรือจำหลัก "รูปท้าวเวสสุวัณ" ไว้เคารพบูชาเพื่อความมั่งคั่ง

ปรากฏตำนานการจัดสร้างท้าวเวสสุวัณจนกลายเป็นวัตถุมงคลอันดับหนึ่งของประเทศไทยนั้น เริ่มต้นขึ้นที่วัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งมีชื่อเสียงเลื่องลือ หาได้ยากขึ้นเรื่อยๆ โชคดีที่ในปีนี้ทางวัดสุทัศน์ได้จัดสร้างท้าวเวสสุวัณ และพระพิฆเนศวร รุ่นบารมีศรีสนธิ์ (เลื่อนสมณศักดิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม และพระสุนทรีวาณี ตามตำราโบราณของสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสะเทวะ) และเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ประกอบพิธีเททองวัตถุมงคล วันเพ็ญเดือน 12 อันเป็นมงคลฤกษ์ (วันเพ็ญพุธที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปี ณ ศาลาการเปรียญวัดสุทัศนเทพวราราม

โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภัททจารี) เป็นประธานในพิธี เนื่องในโอกาสที่ท่านเจ้าคุณพระพุทธมนต์วราจารย์ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชภัทรญาณ วิ. และจัดสร้างหารายได้ช่วยพระสงฆ์ที่อาพาธ รวมทั้งเป็นทุนการศึกษาเด็กยากจน ตลอดจนจัดสร้างเสนาสนะ

วัตถุมงคล รุ่นบารมีศรีสนธิ์ ประกอบไปด้วย รูปหล่อลอยองค์ท้าวเวสสุวัณ พระพิฆเนศวร และพระสุนทรีวาณี มีเนื้อทองคำ นวโลหะ เงิน เนื้อฝาบาตร ทุกองค์มีโค้ดและหมายเลขกำกับ ชนวนมวลสารมีแผ่นยันต์ 108 ปถมัง 14 นะ, ยันต์ นะสี่ทิศ, ชนวนมวลสารพระ 25 พุทธศตวรรษ, ชนวนพระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ), ตะกรุดหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง, ชนวนพระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ

ผู้สนใจสามารถรีบจองบูชาได้ที่ ศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม. ครับผม


พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์
ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2562 16:09:23
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99101831308669_2_320x200_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48826946193973_view_resizing_images_3_320x200.jpg)

พญาหมูพลิกแผ่นดิน หลวงปู่ทวน
"หลวงปู่ทวน ปุสสวโร" วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี พระเถระผู้มีเมตตาธรรมสูง พุทธาคมเข้มขลัง ศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

นามเดิม ทวน โสภา เกิดวันพฤหัสบดีที่ 14 พ.ค.2451 ปีวอก ที่ ต.ชอนสารเดช อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี

พ.ศ.2466 บรรพชาอยู่กับหลวงพ่อทรัพย์ พระอุปัชฌาย์ วัดชอนสารเดช ได้ 1 ปี เดินทางไปปรนนิบัติรับใช้และฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เรียนอักขระเลขยันต์และวิทยาคม

พ.ศ.2471 อุปสมบทที่วัดเขาพระงาม อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมี หลวงปู่อ่ำ (พระเทพวรคุณ) วัดเขาพระงาม เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นออกธุดงค์ ฝากตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ศึกษาวิชาจิตตภาวนา เสร็จแล้วเดินทางกลับวัดชอนสารเดช และลาสิกขาในเวลาต่อมา

อุปสมบทครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2533 ที่วัดวังน้ำเย็น อ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี โดยมีพระธรรมญาณประยุกต์ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลานาน 11 ปี ปฏิบัติกิจวิปัสสนากัมมัฏฐานตลอดเส้นทาง จนมาจำพรรษาอยู่ที่วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) จนถึงปัจจุบัน

มรณภาพอย่างกะทันหัน ด้วยวัย 110 ปี วันที่ 19 ต.ค.2561 หลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ขณะเดินทางไปประกอบศาสนกิจ

ในปี พ.ศ.2561 หลวงปู่ทวน ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "พญาหมูพลิกแผ่นดิน"

ทั้งนี้ พญาหมูพลิกแผ่นดิน สืบเนื่องจากในนารายณ์สิบปาง ซึ่งหมูเป็นหนึ่งในนั้นอวตารของพระนารายณ์ที่ลงมาปราบอสูรร้าย

วัตถุมงคลดังกล่าว จัดสร้างเป็นเนื้อเงิน อุดผง ฝังตะกรุดทองคำ 168 ตัว, เนื้อนวะ 599 ตัว, เนื้อเหล็ก น้ำพี้ 599 ตัว, เนื้อชนวน 2,999 ตัว, เนื้อชนวน (ช่อ) 111 ช่อ, เนื้อเงิน หุ้มเกราะทองคำ 29 ตัว, เนื้อตะกั่วอวน 999 ตัว, เนื้อทองระฆัง 999 ตัว

ลักษณะเป็นรูปหมูยืนบนแท่น ที่ขอบแท่นมีอักขระขอม "พิ โร เท หิ อุ มะ กา สะ" ขอบแท่นอีกด้าน หนึ่งมีอักษรไทย "หลวงปู่ทวน ปุสฺสวโร"

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วาระ มีพระเกจิอาจารย์เข้าร่วมพิธีปลุกเสก อาทิ หลวงปู่ทวน วัดโป่งยาง, หลวงปู่ฟู วัดบางสมัคร, พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่, หลวงปู่อ่อง วัดถ้ำเขาวงกต, หลวงพ่อบุญมา วัดบ้านแก่ง, หลวงพ่อรวย วัดมาบตาพุด, หลวงพ่อเมียน วัดบ้านจะเนียง, หลวงพ่อดำ สำนักสงฆ์สมุนไพรเขาเกลือ เป็นต้น ติดต่อ-ทุกวัน

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 เมษายน 2562 10:45:01
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71659233296910_view_resizing_images_5_320x200.jpg)

เบี้ยแก้หลวงพ่อคัมภีร์(แห้ง)

หลวงพ่อคัมภีร์ จิตตสาโร" หรือ "พระอาจารย์แห้ง" พระเกจิอาจารย์แห่งวัดป่าเลไลย์ ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี เป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าอีกรูปหนึ่ง ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

เป็นศิษย์สายตรงหลวงพ่อสมควร วิชชาวิสาโล วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต

ปัจจุบัน สิริอายุ 54 ปี พรรษา 30

มีนามเดิมว่า เลิศ เพ็ชรหมัด เชื้อสายไทยทรงดำ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 20 ก.ย.2508 ปีมะเส็ง ที่บ้านแหลมทอง ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์

อายุ 12 ปี บรรพชาที่วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ) รับใช้หลวงพ่อสมควร เรียนอักขระขอม-บาลี และวิทยาคม พร้อมติดตามไปสร้างวัดเขาพระยาพายเรือ อ.ลานสัก และวัดเขาหินเทิน อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี

อายุครบ 24 ปี อุปสมบท เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2532 ที่พัทธสีมา วัดปากน้ำโพใต้ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีพระครูนิยุติวีรวัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2560 พระราชอุทัยโสภณ เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลย์ จ.อุทัยธานี

ในปี พ.ศ.2561 จัดสร้างวัตถุมงคล "เบี้ยแก้เนื้อตะกั่ว" ให้เป็นเอกลักษณ์ของวัดป่าเลไลย์ จัดทำด้วยมือท่านเอง พร้อมเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส ปี 2561

ลักษณะเป็นหอยเบี้ยแก้ ใส่กรอบ มีหูห่วง (พร้อมใช้) ภายใบรรจุตะกั่วผสมดีบุก หลังเรียบ ตอกโค้ดวัด

วิธีการสร้างไม่ใช้โรงงาน ท่านนำแผ่นตะกั่วมา 299 แผ่น จารอักขระขอม ยันต์ 108 ทุกแผ่น ด้วยมือท่านเอง และหุงหลอมรวมกันกับดีบุกและนำตะกั่วที่ผสมดีบุกเหลวๆ เทใส่เปลือกหอยเบี้ยแก้ ได้ 254 ตัว พร้อมนำมาเสกเดี่ยว ตลอดไตรมาสและนำไปจ้างใส่กรอบอีกทีหนึ่ง

เบี้ยแก้ชุดนี้ หลวงพ่อคัมภีร์(แห้ง) ตั้งใจทำเองเป็นพิเศษ เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของวัดป่าเลไลย์


ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91779351151651_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

เบี้ยแก้หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ จ.อ่างทอง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าพูดถึงเครื่องรางของขลังประเภทเบี้ยแก้ ส่วนใหญ่เราก็จะนึกถึงแต่เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง เบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว และเบี้ยแก้สายของวัดกลางบางแก้วกันเป็นส่วนใหญ่ เบี้ยแก้ของสายทางจังหวัดอ่างทองนั้นก็มีและก็มีชื่อเสียงโด่งดังมากเช่นกัน และหายากมาก อย่างเช่น เบี้ยแก้ของหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ ตำบลโพธิ์ม่วงพันธุ์ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ในบรรดาเบี้ยแก้สายอ่างทองนั้น เบี้ยแก้ของหลวงพ่อพักวัดโบสถ์นับว่าหายากและมีสนนราคาสูงที่สุดของสายนี้ครับ

หลวงพ่อพัก จนฺทสุวณฺโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2425 ที่บ้าน ท่ามะขาม ตำบลดอนปรู อำเภอวิเศษชัยชาญ (ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี) โยมบิดาชื่อถมยา โยมมารดาชื่อพุก ในตอนเด็กๆ บิดาของท่านได้นำท่านไปฝากเรียนหนังสือกับหลวงปู่เถื่อน วัดหลวง ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จนอ่านออกเขียนได้ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อพักอายุครบ 20 ปี ในปีพ.ศ.2445 ท่านจึงอุปสมบทที่วัดอ้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ โดยมีหลวงปู่เถื่อนเป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วท่านได้ติดตามท่านเจ้าคุณรัตนมุณี ซึ่งเป็นพระพี่ชายของท่านมาอยู่ที่วัดหงส์ฯ กทม. เพื่อศึกษาคันถธุระ และวิปัสสนากรรมฐาน อยู่ที่สำนักพระอาจารย์อูฐ ศึกษาอยู่ 9 พรรษา หลวงพ่อพักท่านก็เชี่ยวชาญทั้งคันถธุระโดยเฉพาะทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน ต่อมาในปีพ.ศ.2454 หลวงปู่เนตร เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ได้มรณภาพ ญาติโยมและชาวบ้านแถบบ้านอบทมและบ้านโคกจันทร์จึงได้มานิมนต์หลวงพ่อพักขอให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโบสถ์ และในปีพ.ศ.2455 หลวงพ่อพักก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์

หลวงพ่อพักมีอาจารย์อยู่หลายท่าน ได้แก่ อาจารย์วาต ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ชายของท่าน อยู่ที่บ้านท่ามะขาม ตำบลดอนปรู อดีตเคยเป็นขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่แถวชานเมืองอ่างทองและสุพรรณบุรี และเป็นผู้ที่มีวิชาอาคมสูง ล่องหนหายตัวได้ ต่อมาได้เลิกราในอาชีพทุจริตโดยสิ้นเชิง แล้วหันเข้าสู่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ต่อมาจึงถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อพักจนหมดสิ้น โดยเฉพาะวิชาเบี้ยแก้ ตะกรุดโทน ผ้ายันต์แดง ฯลฯ อาจารย์ของหลวงพ่อพักอีกองค์หนึ่งคือหลวงปู่บุญ ผู้มีวิชาอาคมสูงจากแขวงเมืองพิจิตร ซึ่งได้ธุดงค์ล่องมาถึงแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จนได้มาพบกับหลวงพ่อพัก และได้ถ่ายทอดวิชาปลุกเสกเขี้ยวเสือแกะ งาช้างแกะ และวิทยาคมต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อพัก

หลวงพ่อพักได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่างด้วยกัน ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เช่น เหรียญรูปท่านที่มีทั้งเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง แต่เป็นเหรียญที่ค่อนข้างหายากและมีสนนราคาสูงครับ ส่วนเครื่องรางของขลังนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิงห์งาแกะ เมื่อนำติดตัวผ่านฝูงวัว ฝูงวัวเหล่านั้นถึงกับแตกตื่นวิ่งหนี และเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี ตะกรุดโทนนั้นก็มีคุณวิเศษ ถ้ารูดไปข้างหน้าจะเป็นมหาอุด รูดไปด้านซ้ายจะเป็นเมตตามหานิยม รูดไปด้านขวาเป็นมหาอำนาจ รูดไปด้านหลังศัตรูไม่สามารถตามทัน ตะโพนงาแกะของหลวงพ่อพัก ท่านสร้างไว้แจกพวกศิลปิน มีคุณวิเศษทางด้านเมตตามหานิยม มีชื่อเสียงโด่งดัง เมื่อนำติดตัวจะเป็นมหานิยมแก่ผู้พบเห็น

ส่วนเบี้ยแก้ของหลวงพ่อพัก เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลัง ที่มีพุทธคุณครบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านป้องกันคุณไสย ยาสั่ง แก้เหตุร้ายให้กลายเป็นดี แคล้วคลาดปลอดภัยและคงกระพันชาตรี เบี้ยแก้ของหลวงพ่อพักท่านจะเรียกปรอทเข้าตัวเบี้ยแล้วอุดด้วยชันโรงใต้ดินแล้วปิดทับด้วยตะกรุดที่ม้วนแล้วทุบให้แบน แปะทับบนชันโรง จากนั้นจึงถักเชือกทับอีกทีหนึ่ง การถักเชือกนั้นจะถักเปิดด้านบนของตัวเบี้ยให้เห็นลายหอยเบี้ย ลายถักส่วนมากมักถักเป็นลายกระสอบ วนเป็นเส้นรูปไข่ตามตัวเบี้ย การถักห่วงจะถักเป็นด้านหลังสองห่วง หรือด้านบนหูเดียวก็มี บางตัวนั้นอาจจะมีที่ทำเป็นตะกรุดร้อยเชือกคาดเอวก็มี มีทั้งจุ่มรักและไม่จุ่มรักก็มี

วันนี้ผมได้นำรูปเบี้ยแก้ของหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์จากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ


ชมรมพระเครื่อง
 แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 เมษายน 2562 10:52:18
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31113793742325_view_resizing_images_1_320x200.jpg)

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเครื่องรางของขลังกันครับ ตะกรุดเป็นเครื่องรางที่นิยมสร้างกันมาก และมีมากมายหลากหลายรูปแบบ อุปเท่ห์การใช้ก็แตกต่างกันไปตามแต่ละเกจิ อาจารย์ที่ท่านได้สร้างไว้ ตะกรุดส่วนใหญ่นั้นจะทำด้วยตะกั่ว ทอง แดง เงิน นาก และทองคำ ที่เป็นใบลานก็มีบ้าง หรือเป็นตะกรุดกระดาษสาก็มี ตะกรุดหนังเก้ง ตะกรุดหนังปลากระเบนก็มีพบเห็นบ้าง และที่แตกต่างออกไปและหาพบน้อยก็คือ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ อาจจะเป็นเพราะหนังหน้าผากเสือนั้นหายากและมีเนื้อที่จำกัด จึงมีการสร้างน้อยมาก แต่ก็มีการสร้างอยู่บ้างในสมัยโบราณที่ยังมีเสือชุกชุมอยู่

เหตุที่ท่านบูรพาจารย์นำหนังหน้าผากเสือมาทำตะกรุดนั้น ก็คงมีผู้นำมาให้ท่านไว้ลงตะกรุดนะครับ และก็เป็นอุปเท่ห์ที่ว่า เสือนั้นโดยธรรมชาติเป็นสัตว์ป่าที่ทรงอำนาจ เป็นที่เกรงขามของสัตว์ทั่วๆ ไป เมื่อนำมาลงจารอักขระเป็นเครื่องรางของขลังก็จะทำให้มีผู้คนยำเกรง ให้ผลทางปกป้องคุ้มครอง และเหมาะแก่ผู้ที่มีหน้าที่บังคับบัญชาคนหมู่มาก อีกตำราหนึ่งก็ว่า ณ กาลครั้งหนึ่งพระจุลนาคมหาเถระ เคยถือกำเนิดเป็นพระยาเสือเหลืองซึ่งเป็นส่วนใหญ่กว่าบรรดาเสือทั้งปวง

พอสรุปได้ว่าหนังหน้าผากเสือนั้นดีทางอำนาจ เนื่องจากเสือนั้นมีสายตาที่ดุ ว่ากันว่าไม่มีใครกล้าที่จะจ้องตาเสือ ท่านโบราณาจารย์จึงได้นำเอาหนังหน้าผากเสือมาประดิษฐ์คิดแต่งเป็นตะกรุด เพื่ออานิสงส์ทางปกครองและอำนาจ ตามตำรานั้น ท่านให้ลงในหนังหน้าผากเสือที่ตายพราย (แก่ตาย) และถ้าเป็นเสือตัวที่เคยกินคนมาแล้วยิ่งขลังดี ท่านว่าไว้อย่างนั้น มีบางอาจารย์ให้ลงในหนังหน้าผากเสือไฟก็มี เมื่อได้หนังหน้าผากเสือมาแล้วท่านให้ตากให้แห้งหรือรมควันกำยาน และเครื่องหอมต่างๆ ถ้าเก็บไว้ไม่ดีจะเป็นขมวนกินหมด และถ้าใช้ตะกรุดโดยห้อยหรือแขวนพอถูกเหงื่อกลิ่นยิ่งพิลึก ถ้าในบ้านเลี้ยงหมาพอได้กลิ่นเสือเท่านั้นว่ากันว่าวิ่งกันหางจุกตูดไปเลย

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ที่ขึ้นชื่อลือชาเป็นที่แสวงหากันมาก ได้แก่ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของพระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค) วัดอรุณราชวราราม ซึ่งท่านเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) วัดอรุณฯ พระธรรมมานุสารี (สว่าง) วัดเทียนถวาย และเป็นสหธรรมิกกับ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงปู่นาค มีขนาดยาวประมาณ 2 นิ้ว ขนาดย่อมกว่ามวนบุหรี่ และมักรัดด้ายหรือสายสิญจน์ 3 เปลาะ

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ รุ่นเก่าอีกองค์หนึ่งก็คือของพระวิเชียรโมลี (ปลั่ง) พรหมโชโต วัดพระบรมธาตุเจดีย์ราม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นอีกหนึ่งตะกรุดหนังหน้าผากเสือที่หายาก

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของทั้งสองท่านนี้ปัจจุบันหาได้ยากมากครับ เพราะมีจำนวนน้อย เนื่องจากวัสดุคงหาได้ยากและมีจำนวนที่จะทำได้น้อยครับ พุทธคุณเด่นทางมหาอำนาจ เมตตา คงกระพัน และแคล้วคลาด

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงปู่นาค วัดอรุณฯ จากหนังสือ ตามรอยตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 กรกฎาคม 2562 14:40:27
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18407286289665_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
พญานาคเกี้ยวมหาสิทธิโชค
พญานาค มีความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนามายาวนานแต่ครั้งพุทธกาล ในปี พ.ศ.2545 หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังสายวิปัสสนาวัดพระธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม ที่เชื่อว่ามีความผูกพันกับพญานาคในอดีตชาติ

ในปีดังกล่าว หลวงปู่คำพันธ์ ได้อนุญาตให้พระเทพมงคลเมธี เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.นครพนม จัดสร้างวัตถุมงคลพญานาค เพื่อนำปัจจัยบูรณะอุโบสถวัดมหาธาตุ

ประกอบด้วยเนื้อโลหะ เนื้อทองเหลือง และเนื้อทองแดง ก้นอุดผงมหามงคล 108 ที่หลวงปู่อธิษฐานจิตนานนับสิบปี และจัดสร้างจำนวนน้อยมาก

ปัจจุบันวัตถุมงคลรุ่นนี้หาได้ยากยิ่ง และไม่ค่อยพบเจออีก เนื่องจากผู้ที่มีวัตถุมงคลรุ่นนี้ไว้ในครอบครอง ต่างมีประสบการณ์มากมาย

ปี พ.ศ.2560 ชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและพุทธศิลป์นครพนม ได้จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเครื่องราง "พญานาคเกี้ยว รุ่นมหาสิทธิโชค" มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแจกให้ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สังคม ประชาสัมพันธ์หลวงปู่คำพันธ์ รวมทั้งพระธาตุประจำวันเกิดทั้ง 7 แห่ง และพญาศรีสัตตนาคราช

เป็นวัตถุมงคลหล่อ มีเนื้อทองคำ 1 องค์ เนื้อเงิน 30 องค์ และเนื้อทิพย์ 2,560 องค์ เท่า พ.ศ.สร้าง

ด้านหน้ารูปทรงคล้ายพญานาค 2 ตน คดเคี้ยวเกี้ยวกัน หมายถึงรักใคร่สามัคคีปรองดองกัน เมตตาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน วรรณะของสีจะออกมาสวย โดยนำชนวนชนิดต่างๆ ที่เคยหล่อพระกริ่งของหลวงปู่คำพันธ์มาหล่อหลอม

ใต้ฐานบรรจุหินปฐวีธาตุเม็ดเล็กของหลวงปู่คำพันธ์ และมีผ้ายันต์ของพระเกจิหลายรูป รวมทั้งผ้ายันต์ของหลวงปู่คำพันธ์ ใต้ก้นวัตถุมงคลสลักอักขระธรรมคล้ายคำว่า ดี หมายถึงโชคดี มีสุข มีชัยชนะทุกอย่าง

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วาระ โดยวาระแรกที่ลานพญานาค วาระ 2 ที่วัดมหาธาตุ และวาระที่ 3 ที่วัดพระธาตุพนม

โดยพระเกจิชื่อดัง อาทิ หลวงปู่คำไหล ปริสุทโธ วัดอูนนา อ.นาหว้า จ.นครพนม, หลวงปู่สอ ขันติโก วัดโพธิ์ศรี อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม, พระอาจารย์บุญอุ้ม อาภัสสโร วัดป่าโนนแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม, พระอาจารย์กัณหา สัญญโม วัดนาเรียงถ้ำคิ้ว อ.บ้านแพง, พระเทพวรมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนม, พระอาจารย์ สุริยันต์ โฆสปัญโญ วัดป่าวังน้ำเย็น จ.มหาสารคาม และพระครูโฆษิตพัฒนคุณ เจ้าอาวาสวัดพระยอดโฆษิตวราราม จ.นครพนม นั่งปรกอธิษฐานจิต
[/size] เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28103400766849_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
เครื่องรางเสือเฮง หลวงตาสิทธิ์
พระครูประทีปปัญญาวุธ หรือ หลวงตาสิทธิ์ เจ้าคณะตำบลละทาย และเจ้าอาวาสวัดบ้านโอ้น ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์ ศึกษาจากหลวงปู่เพ็ง จันทรังสี

ปัจจุบัน อายุ 62 ปี พรรษา 41

เกิดวันที่ 30 ม.ค.2500 ที่บ้านยางน้อย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

อุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 บริบูรณ์ พ.ศ.2521 ณ พัทธสีมาวัดละทาย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ โดยมีพระครูอนุรักษ์กันทรารมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาทั่วประเทศ อาทิ ป่าทางภาคเหนือ มีโอกาสได้กราบนมัสการหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ซึ่งหลวงปู่แหวนอบรมสั่งสอนการเจริญภาวนาให้

นอกจากนี้ ยังธุดงค์ข้ามไปไปยังฝั่งประเทศ สปป.ลาว นาน 3 พรรษา ศึกษาวิทยาคมจากหมอธรรมโต่น ศึกษาตำราของสำเร็จลุน นครจำปาสัก และยังเดินทางไปศึกษาวิทยาคมจากหมอธรรมขาว ที่ประเทศกัมพูชา เป็นต้น

เมื่อเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทยยังได้เข้ากราบสักการะศึกษาเจริญจิตตภาวนากับพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) รวมการออกธุดงค์นานถึง 7 ปี จึงเดินทางกลับ จ.ศรีสะเกษ

ในปี พ.ศ.2528 คณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านโอ้น จนถึงปัจจุบัน

สำหรับวัดบ้านโอ้น เป็นวัดที่อยู่ในชนบทยังขาดการพัฒนาในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะกุฏิที่จำวัดพระภิกษุ-สามเณร อยู่ในสภาพทรุดโทรม จะสร้างใหม่ แต่ขาดปัจจัย

ดังนั้น จึงเห็นชอบร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลเครื่องราง เสือเฮงรุ่นแรก เพื่อมอบให้ผุู้ร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนสร้างกุฏิที่พักสงฆ์หลังใหม่

เครื่องรางเสือเฮงรุ่นดังกล่าว พุทธศิลป์คล้ายกับเสือแกะที่ออกจากวัดอื่นๆ แต่สำหรับเสือแกะวัดบ้านโอ้น พุทธศิลป์ค่อนข้างจะประณีต แกะได้สวยงาม โดยเฉพาะวัตถุดิบที่นำมาสร้างเป็นเขาควายที่ถูกฟ้าผ่าทั้งควายเผือกและควายดำ ที่บริเวณด้านซ้ายและด้านขวาและกลางหลังเสือจะมีอักขระยันต์ 3 ตัว พุทธคุณเด่นรอบด้าน

ส่วนที่ใต้ฐานจะอุดด้วยมวลสารศักดิ์สิทธิ์หลายอย่างอาทิ ตะกรุดทองคำ ผงงาช้าง ผงพญาว่าน แร่ทองคำ แร่เงิน เครือสาวหลง เป็นต้น

จำนวนการสร้าง อาทิ นำฤกษ์อุดตะกรุดทองคำ 4 ดอก สร้าง 999 ตน อุดตะกรุดทองคำ 1 ดอก สร้าง 999 ตน เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกโดยพระครูประทีปปัญญาวุธเสกเดี่ยวที่นานหลายเดือน
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50185876215497_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
ตะกรุดใบลานบางปืน หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดสมุทรสงครามนี้ พระเกจิอาจารย์ที่อาวุโสมากที่สุดและเรารู้กันดี ก็คือหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่โด่งดังมาก และเป็นที่รักเคารพของชาวแม่กลอง

หลวงพ่อแก้วเกิดเมื่อปี พ.ศ.2393 ที่ ต.บางแค อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โยมบิดาชื่อกัน โยมมารดาชื่อเนียม ท่านได้บวชตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เป็นสามเณร ที่วัดบางแคใหญ่ อ.อัมพวา พออายุได้ 20 ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดบางแคใหญ่ โดยมีหลวงพ่อเพ็ง เจ้าอาวาสวัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามยาว่า "พรหมสโร" และได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดแห่งนี้

หลวงพ่อแก้วได้เรียนวิทยาคมมาจากบิดาของท่านซึ่งเป็นอดีตทหารของวังหน้า และท่านมีวิชาอาคมขลังมาก สามารถเสกดอกจำปีให้กลายเป็นแมลงภู่ และบินไปหาญาติมิตรที่รู้จักกันได้ แล้วตกลงมากลายเป็นดอกจำปีอย่างเดิม นอกจากนี้ท่านก็ยังมีวิชาคงกระพันชาตรีเป็นเลิศอีกด้วย วิชาต่างๆ เหล่านี้หลวงพ่อแก้วได้เรียนมาจากบิดาของท่าน นอกจากนี้หลวงพ่อแก้วก็ได้เรียนคันถธุระและวิปัสสนาธุระกับหลวงพ่อเพ็ง พระอุปัชฌาย์ของท่าน และหลวงพ่อเพ็ง ก็ยังเก่งในด้าน พุทธาคมอีกด้วย ต่อมาหลวงพ่อแก้วได้เดินทางมาอยู่ที่เพชรบุรี เพื่อเรียนวิปัสสนาธุระและพุทธาคมที่วัดเขาตะเครา เพชรบุรีอีก และมาเรียนเพิ่มเติมกับพระอาจารย์เกตุ พระพี่ชายของท่าน ที่วัดทองนพคุณ เพชรบุรี ท่านอยู่จำพรรษาที่เพชรบุรีนานมากจนบางท่านเข้าใจว่าท่านเป็นคนเพชรบุรี

ต่อมาในปี พ.ศ.2424 เจ้าอาวาสวัดช่องลม จ.สมุทรสงคราม ได้ว่างลง ประชาชนชาวสมุทรสงครามจึงได้ขึ้นไปนิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ท่านจึงได้เดินทางมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม พร้อมด้วยหลวงพ่อบ่าย และพระอีก 3 รูป ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมอยู่ได้ 6 ปี พอปี พ.ศ.2430 ท่านก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ โดยให้หลวงพ่อบ่ายเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมสืบแทน พอท่านมาอยู่ที่วัดพวงมาลัยแล้วท่านก็ได้ก่อสร้างกุฏิ ศาลาต่างๆ เพิ่มเติมอีกหลายหลัง สร้างศาลาท่าน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังสร้างขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น วัดเขาอีโก้ และวัดสาธุชนาราม เป็นต้น ชาวแม่กลองเคารพนับถือในตัวท่านเป็นอย่างมาก หลวงพ่อแก้วมรณภาพในปี พ.ศ.2462 สิริอายุได้ 69 ปี พรรษาที่ 49

หลวงพ่อแก้วได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น ตะกรุดใบลานบางปืน เหรียญปั๊ม และเหรียญหล่อหลายรุ่น วัตถุมงคลของหลวงพ่อแก้วนั้น เป็นที่นิยมและหวงแหนกันมาก สนนราคาค่อนข้างสูงครับ เช่น เหรียญรุ่นแรกที่เป็นปั๊มเหรียญพระพุทธและเหรียญรูปท่านที่สร้างในปี พ.ศ.2459 นอกจากนี้ยังมีเหรียญหล่อ พิมพ์เศียรโล้น และเศียรแหลม ที่สร้างในปี พ.ศ. 2460 ล้วนแต่มีราคาสูงทั้งสิ้น

ส่วนตะกรุดที่ทำจากใบลานบ้านบางปืนนั้น เป็นวัตถุมงคลของหลวงพ่อแก้วที่ชาวแม่กลองหวงแหนมาก พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน มีประสบการณ์มามากมาย ท่านสร้างทั้งเป็นแบบตะกรุดโทน และเป็นแบบตะกรุดพิสมร และจะมีการลงรักถักเชือกหุ้มตะกรุดใบลานอีกทีหนึ่งซึ่งนิยมมาก ปัจจุบันหาแท้ๆ ยาก ของปลอมมีมากมาย เวลาเช่าหาต้องพิจารณาดีๆ

วันนี้ผมได้นำรูปตะกรุดโทน และตะกรุดพิสมร ใบลานบางปืน ของหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61940578495462_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
ปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปลัดขิกของภาคตะวันออกที่เก่าแก่และโด่งดังมากจะมีของ 2 หลวงพ่อ และ 2 วัด คือ ปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา และของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี ใครใกล้ทางไหนก็จะไปขอกับหลวงพ่อนั้น โด่งดังไม่แพ้กันเลยและอยู่ในยุคเดียวกัน คนชลบุรีและระยองก็มักจะไปขอจากหลวงพ่ออี๋ คนทางแปดริ้ว พนัสนิคมก็จะไปขอหลวงพ่อเหลือ ปลัดขิกของ 2 หลวงพ่อนี้จะมีรูปร่างคล้ายกัน ผิดกันนิดๆ หน่อยๆ ถ้าสังเกตที่ตัวยันต์ของหลวงพ่อเหลือที่หน้าประธานจะจารตัวอักขระตัวอุ ส่วนหลวงพ่ออี๋จะจารตัวมิ และของหลวงพ่ออี๋ที่ด้านบนใกล้ขุนคอหยัก จะจารวงกลมๆ ไว้ มักจะเรียกว่าตาพระอินทร์ ของหลวงพ่อเหลือจะไม่มี ปลัดขิกของทั้ง 2 หลวงพ่อนั้นขลังมาก และหายากในปัจจุบัน

วันนี้เรามาคุยกันถึงหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบกันนะครับ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้คนเคารพนับถือกันมาก โดยเฉพาะชาวบ้านและทหารเรือแถบสัตหีบ เสมือนหนึ่งเทพเจ้าแห่งภาคตะวันออกในสมัยนั้น เครื่องรางของขลังของท่านที่มีชื่อเสียงก็คือปลัดขิก กล่าวกันว่าถ้าปลุกปลัดของท่านแล้วปล่อยลงน้ำจะสามารถวิ่งทวนน้ำได้ทีเดียว

พระครูวรเวทย์มุนี (หลวงพ่ออี๋) เกิดที่ชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.2408 โยมบิดาชื่อกองคำ โยมมารดาชื่อเอียง ในวัยเด็กเป็นเด็กที่มีความฉลาดหลักแหลม และชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอ ผิดกับเด็กทั้งหลายในวัยเดียวกัน ต่อมาพออายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบทที่ วัดอ่างศิลา ชลบุรี โดยมีหลวงพ่อจั่น วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า "พุทธสโร" อยู่จำพรรษาที่วัดอ่างศิลา และก็ได้ศึกษาวิชาวิปัสสนาธุระ ที่สำนักพระอาจารย์แตง วัดอ่างศิลา ท่านจึงพิจารณาเห็นสังขารไม่เที่ยงแท้ เมื่อถึงเวลาออกพรรษาท่านก็เริ่มออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อหาแหล่งอันสงบวิเวกนั่งวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อได้พบกับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านใดหลวงพ่ออี๋ก็จะศึกษาหาความรู้กับพระอาจารย์ท่านนั้น พร้อมทั้งปฏิบัติจนเห็นจริง แล้วก็จะเริ่มธุดงค์ต่อไปเรื่อยๆ บรรดาพระคณาจารย์ของหลวงพ่ออี๋จึงมีมากมาย แต่ที่พอสรุปได้ก็คือ พระอาจารย์แตง วัดอ่างศิลา พระอาจารย์จั่น วัดเสม็ด หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย เป็นต้น

หลวงพ่ออี๋ยึดการธุดงค์และสันโดษเป็นหลัก จนกระทั่งมีฌานสมาบัติพลังจิตสูงองค์หนึ่ง ท่านสามารถนำพระเวทมาใช้ได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าจะธุดงค์ไปที่ไหนๆ ก็ตาม ท่านมักจะให้ความเมตตาช่วยเหลือผู้เจ็บไข้ได้ป่วยเสมอ พร้อมทั้งแสดงธรรมให้ลูกศิษย์ลูกหาฟัง จนกระทั่งชื่อเสียงของหลวงพ่อโด่งดัง จากปากหนึ่งไปอีกปากหนึ่ง ต่อมาหลวงพ่ออี๋ธุดงค์มาจนถึงอ่าวสัตหีบในราวปี พ.ศ.2450 ณ ที่นั้นเป็นบริเวณที่สงบเงียบพอที่จะยึดเป็นที่ปฏิบัติธรรม หลวงพ่อจึงปักกลดจำวัดที่นั่น พอบรรดาพวกชาวบ้านรู้ข่าวว่าหลวงพ่อมาปักกลดอยู่ต่างก็มากราบนมัสการหลวงพ่ออี๋กันมาก ต่างก็นำอาหารมาถวายและผู้คนก็เดินทางมานมัสการกันแทบทุกวัน

บรรดาชาวบ้านในแถบนั้นต่างมีความเห็นตรงกันว่า ควรนิมนต์หลวงพ่ออี๋ให้สร้างวัด ณ ที่ตรงนั้น เพื่อชาวบ้านจะได้พึ่งบารมีหลวงพ่อ จึงได้พากันนิมนต์หลวงพ่ออี๋ให้อยู่จำพรรษาและสร้างวัดที่ตรงนั้น หลวงพ่ออี๋ก็ไม่ขัดข้อง พวกลูกศิษย์ลูกหาต่างก็ดีอกดีใจ ช่วยกันคนละไม้คนละมือและบริจาคทรัพย์สร้างวัดขึ้น และได้นามวัดต่อมาว่า "วัดสัตหีบ" จนมาถึงทุกวันนี้

ต่อมาในปี พ.ศ.2473 ทางวัดสัตหีบได้กำหนดหล่อพระพุทธรูปพระประธาน ประจำพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตหลวงพ่อสร้างเหรียญรูปเหมือนของหลวงพ่อขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมสมทบทุนสร้างในครั้งนั้น ปัจจุบันได้รับความนิยมสูงมาก นอกจากเหรียญรูปท่านแล้ว เครื่องรางของขลังที่ท่านได้สร้างไว้ก็มีหลายอย่าง เช่น ปลัดขิก ตะกรุด เม็ดพริก ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ผ้าคาดหัว ซึ่งวัตถุมงคลของหลวงพ่ออี๋นั้นมีประสบการณ์มากมาย ในครั้งสงครามโลกก็เช่นกันใครมีวัตถุมงคลของหลวงพ่ออี๋จะแคล้วคลาดปลอดภัยทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋นั้นว่ากันว่าท่านปลุกเสกปลัดขิกแล้วปล่อยลงน้ำจนวิ่งในน้ำได้ทุกตัว พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย และคงกระพัน ปัจจุบันจะหาปลัดขิกแท้ๆ ของหลวงพ่ออี๋นั้นยากมาก หลวงพ่ออี๋ได้อยู่เป็นมิ่งขวัญจนถึงปี พ.ศ.2489 ก็มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 57

วันนี้ผมได้นำรูปปลัดขิก ของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52698401692840_view_resizing_images_8_320x200.jpg)
เบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ. นครปฐม เมื่อกล่าวถึงใครๆ ก็รู้จักกันดี และก็นึกถึง หลวงปู่บุญ ผู้สร้างเบี้ยแก้ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และยาวาสนาจินดามณี 2 สิ่งนี้ถือเป็นสุดยอดวัตถุมงคลของสายวัดกลางบางแก้ว และมีการสืบทอดวิทยาคมกันต่อๆ มา ผู้ที่สืบต่อจากหลวงปู่บุญก็คือหลวงปู่เพิ่ม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากหลวงปู่บุญ และท่านก็ได้สร้างเบี้ยแก้และยาวาสนาจินดามณีต่อจากหลวงปู่บุญ ปัจจุบันก็หายากเช่นกัน

ก่อนอื่นก็คงต้องพูดถึงประวัติของ วัดกลางบางแก้ว กันซะหน่อย วัดกลางบางแก้วแต่เดิมมีชื่อว่า "วัดคงคราม" เป็นวัดเก่าแก่มาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ในอดีต ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อกันเรื่อยมา ต่อมาในสมัยพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จมาที่วัดคงคารามเห็นว่าเป็นวัดที่อยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรีตรงปากคลองบางแก้ว ตั้งอยู่ระหว่างกลาง 2 วัดคือ วัดตุ๊กตาและวัดใหม่ สุประดิษฐ์ ท่านจึงได้ประทานนามวัดให้ใหม่ว่า "วัดกลางบางแก้ว" เมื่อราวๆ พ.ศ.2465 ในสมัยที่หลวงปู่บุญเป็นเจ้าอาวาส

พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่เพิ่ม ปุณณวสโน) นามเดิมว่า "เพิ่ม" เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2429 ที่ตำบลไทยวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ เกิด โยมมารดาชื่อ วรรณ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 8 ขวบ สืบต่อมาจนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2450 ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ วัดสรรเพชญ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็ได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา และถือได้ว่าท่านเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่บุญมากที่สุด เพราะท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ก็อยู่ปฏิบัติรับใช้หลวงปู่บุญมาตลอดจนกระทั่งหลวงปู่บุญมรณภาพ เป็นเวลาถึง 39 ปี ตลอดเวลานั้นท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนเวทวิทยาคมต่างๆ ไว้มากมาย หลวงปู่เพิ่มเป็นพระสงฆ์ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยศีล สมาธิ และปัญญาธรรม เปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรม หมดสิ้นกิเลสทั้งปวง หลวงปู่เป็นพระที่พูดจาไพเราะอ่อนหวาน สำเนียงของท่านนั้นมีแววความเมตตาผสานเอาไว้ ใครได้ฟังแล้วจะรู้สึกชุ่มชื่นใจ ใครๆ ได้สนทนากับท่านแล้วจะรู้สึกเคารพศรัทธาท่านทุกคนไป

หลวงปู่เพิ่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 ปี พ.ศ.2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2483 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี ปี พ.ศ.2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูพุทธวิถีนายก ปี พ.ศ.2495 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนามเดิม ปี พ.ศ.2503 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ มีราชทินนามว่าพระพุทธวิถีนายก หลวงปู่เพิ่มมรณภาพด้วยโรคชราด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2526 สิริอายุได้ 97 ปี พรรษาที่ 76

หลวงปู่เพิ่มได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น พระเครื่อง เหรียญ ผงยาวาสนาจินดามณี ตะกรุดและเบี้ยแก้ เป็นต้น ในส่วนของเบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่มจะสร้างตามตำรับของหลวงปู่บุญอย่างเคร่งครัด โดยผู้ที่จะขอให้ท่านสร้างเบี้ยแก้ให้ต้องไปหาหอยเบี้ยปรอทแผ่นตะกั่วมาให้พร้อม โดยในสมัยนั้นก็สามารถไปหาซื้อได้ในตลาดนครชัยศรี เขาจะจัดให้เป็นชุดพร้อมสรรพ

จากนั้นก็นำไปถวายหลวงปู่เพิ่ม เขียนชื่อของเจ้าของไว้ในถาดที่นำเครื่องหอยเบี้ยไปถวาย หลวงปู่จะให้รอประมาณ 3 เดือนแล้วให้กลับมาดูว่าใช้ได้หรือยัง ผมเคยไปกราบขอเบี้ยแก้กับหลวงปู่ก็เกิดความสงสัยว่าทำไมต้องรอ 3 เดือน แล้วก็ยังไม่รู้ว่าใช้ได้หรือยัง แต่ก็ไม่กล้าถาม หลวงปู่ท่าจะรู้ว่าผมสงสัย แต่ท่านก็ไม่ได้พูดอะไร ได้แต่ยิ้มๆ

พอออกมาผมก็ถามคนแก่ที่อยู่หน้ากุฏิหลวงปู่ จึงทราบว่าหลวงปู่จะเสกจนกว่าเบี้ยจะเดินได้จึงจะมอบให้ การสร้างเบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่มนั้นพิถีพิถันมาก ไม่มีให้เช่าบูชาที่วัดนะครับ ใครอยากได้ก็ต้องไปขอให้หลวงปู่สร้างให้เท่านั้น ปัจจุบันก็หายากมากเช่นกัน เบี้ยของหลวงปู่เพิ่มห่วงใต้ท้องเบี้ยโดยส่วนมากจะเป็นลวดทองแดง แต่ก็มีอยู่บางรุ่นจะมีห่วงเป็นลวดสแตนเลส น่าจะเริ่มสร้างประมาณปี พ.ศ.2518 เรื่อยมา

วันนี้ผมได้นำรูปเบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่ม ทั้งที่เป็นห่วงทองแดง และห่วงสแตนเลสจากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 22 กันยายน 2562 12:24:28
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24525574180814_1_320x200_.jpg)
หนุมานหลวงพ่อสุ่น
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางของขลังที่แกะเป็นรูปหนุมานนั้น ที่นิยมที่สุดคือหนุมานของหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุล เกาะเกร็ด นนทบุรี ปัจจุบันหายากมาก สนนราคาก็สูงมากเช่นกัน พุทธคุณก็เข้มขลังมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ใครมีต่างก็หวงแหนเป็นเครื่องรางที่หายากของจังหวัดนนทบุรี

หลวงพ่อสุ่นนั้นประวัติโดยละเอียดไม่มีผู้บันทึกไว้ จึงสืบค้นยากมาก แต่ก็พอจะทราบเพียงคร่าวๆ ว่า หลวงพ่อสุ่น นามเดิมว่า สุ่น ตระกูลปานกล่ำ เป็นชาวนนทบุรีโดยกำเนิด ท่านอุปสมบทเมื่อไรไม่มีใครทราบ แต่ที่ทราบคือฉายาของท่านคือ "จันทโชติ" จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุล ในสมัยที่เป็นพระลูกวัดนั้น ชาวบ้านก็เริ่มเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาการปฏิบัติธรรมของท่าน พอเจ้าอาวาสองค์เดิมมรณภาพ ชาวบ้านจึงได้อาราธนาท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อสุ่นเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ กิจวัตรประจำวันของท่านคือ จะตื่นแต่ย่ำรุ่ง มีไม้กวาดติดมือ ทำความสะอาดลานวัดจนสะอาดตาจึงพอ และชาวบ้านในสมัยนั้นก็จะร่วมมือกันในการพัฒนาวัดเป็นอย่างดี ส่วนการจำวัดนั้นท่านจะจำวัดน้อยมาก จะนั่งวิปัสสนากรรมฐานทุกคืนจนดึกดื่นค่อนคืน ส่วนการศึกษาเล่าเรียนนั้นไม่มีใครทราบว่าท่านศึกษามาจากที่ไหน รู้แต่เพียงว่าจะสนิทสนมกับหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง มีอะไรถึงกันหมด ไปมาหาสู่กันเป็นประจำ หลวงพ่อสุ่นเป็นพระที่มีเมตตา ใครเจ็บไข้ได้ป่วยท่านก็จะช่วยรักษาให้หายทุกคนไป

ในเรื่องการสร้างเครื่องรางของขลังนั้น ท่านสร้างเพียงผ้าประเจียดและหนุมานเท่านั้น หลวงพ่อสุ่นได้ปลูกต้นรักซ้อน และต้นพุดซ้อนไว้ตั้งแต่ยังเป็นพระลูกวัด โดยจะทำน้ำมนต์รดอยู่ทุกวัน พอต้นรักแก่ได้ที่ และได้ฤกษ์ดีแล้ว ท่านก็จะทำการพลี แล้วจึงนำมาตากจนแห้งดีแล้ว ก็จะให้ไปตามช่างมาแกะ ทราบว่าช่างที่มาแกะนั้นอยู่กรุงเทพฯ มีฝีมือทางแกะสลัก ระหว่างที่แกะหนุมานนั้น ช่างจะมาอยู่กินนอนที่วัด พอแกะเสร็จจึงจะกลับ และเมื่อท่านจะทำอีกช่างก็มาแกะที่วัดอีกเช่นเคย เมื่อช่างแกะหนุมานเสร็จได้จำนวนหนึ่งแล้ว หลวงพ่อสุ่นก็จะนำหนุมานทั้งหมดมาใส่บาตรของท่าน แล้วเอาผ้าขาวมาห่อไว้อีกที เก็บไว้ในกุฏิของท่าน

พอวันเสาร์ก็จะนำลูกศิษย์ยกเข้าไปในโบสถ์แล้วบวงสรวงบัดพลี เสร็จแล้วจะปิดประตูหน้าต่างลั่นดาลโบสถ์ทั้งหมด โดยท่านอยู่ในโบสถ์องค์เดียว ปลุกเสกและจัดเวรยามไม่ให้ใครไปรบกวนในขณะที่ท่านกำลังปลุกเสกอยู่ บางครั้งเกือบสว่าง บางทีก็เที่ยงคืน ท่านจะทำประจำทุกๆ วันเสาร์ พอเสร็จแล้วก็จะมาปลุกเสกต่อในกุฏิเช่นนี้ตลอดมา จนกระทั่งครบถ้วนตามวิธีการของท่าน ท่านจึงจะแจกลูกศิษย์ลูกหาทั่วไป

หนุมานของหลวงพ่อสุ่นนั้น จะมีทั้งแบบหน้ากระบี่ และแบบหน้าโขน เนื้อของหนุมานก็มีทั้งที่เป็นเนื้อไม้รักและไม้พุดซ้อน และที่เป็นงาแกะ แต่ที่เป็นงาแกะนั้นมีน้อยกว่า หลวงพ่อสุ่นมรณภาพในปี พ.ศ.2482 ปัจจุบันนั้นหนุมานของหลวงพ่อสุ่น หาชมของแท้ได้ยากมากครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปหนุมานของหลวงพ่อสุ่น จากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมกันครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40342275218831_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
เครื่องรางหนุมาน หลวงปู่แสง

"พระครูอุดมรังสี" หรือ "หลวงปู่แสง จนฺทวํโส" อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย หมู่ 4 บ้านโนนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ปัจจุบัน ยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 108 ปี พรรษา 89

นามเดิม นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2454 ที่บ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

อุปสมบทที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมกับศึกษาวิทยาคม อักขระเลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

หลายปีต่อมา กลับมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัย บ้านโนนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม บ้านเกิด

เนื่องจากท่านเป็นพระที่ปฏิบัติ จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูอุดมรังสี และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย รวมทั้งเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง

สำหรับวัตถุมงคลจัดสร้างออกมาหลายรุ่น ทุกรุ่นล้วนได้รับความสนใจ

เนื่องจากหลวงปู่แสง มีอายุถึง 108 ปี คณะศิษยานุศิษย์มีโครงการหาปัจจัยเป็นกองทุนรักษาธาตุขันธ์หลวงปู่ นำโดย "อ๊อฟ พระใหม่" จึงขออนุญาตจัดสร้างวัตถุ มงคลเครื่องรางหนุมานรุ่นแรก เพื่อหาปัจจัยสมทบเข้ากองทุน

วัตถุมงคลรุ่นนี้พุทธศิลป์สวยงาม ออกแบบเป็นรูปหนุมานนั่งยองบนฐานเขียง มือจับที่หัวเข่าสองข้าง

ด้านหลัง ส่วนหางหนุมานจะโอบฐานมาโผล่ด้านหน้า เอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่ซ้ำกับหนุมานทั่วไป นั่นคือ เข็มขัดจะแกะเป็นอักขระยันต์และลายเส้นคมชัดมาก โดยหลวงพ่ออนันต์ วัดบางพลีน้อย เมตตาจารอักขระและอธิษฐานจิต ก่อนนำไปแช่น้ำว่าน อาทิ น้ำมันว่านดอกทอง น้ำมันมหาราช น้ำมันช้างตกมัน เป็นต้น

มวลสารอุดผงประกอบด้วยผงว่านมหาเสน่ห์หลวงปู่ทวน แบงก์เสกหลวงปู่สรวง ผงธูปหลวงปู่แสง ฯลฯ

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทองคำอุดผง 11 ตน เนื้อเงินนำฤกษ์ (ตัดช่อ) 19 ตน เนื้อทองแดงนำฤกษ์ (ตัดช่อ) 199 ตน เนื้อเงิน 199 ตน นวโลหะ 399 ตน ฯลฯ

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2562 ที่วัดโพธิ์ชัย พระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่แสง จันทวังโส, หลวงพ่ออนันต์ วัดบางพลีน้อย เป็นต้น
   ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 พฤศจิกายน 2562 16:29:53

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29645909865697_picture60959798a_1_320x200_.jpg)
ตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องเครื่องรางของขลัง ประเภทตะกรุดกันบ้างดีกว่านะครับ ท่านอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวขวัญถึงตะกรุดที่มีชื่อว่าตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง มาบ้าง ซึ่งเป็นตะกรุดยอดนิยมสำหรับท่านที่ชื่นชอบเครื่องรางของขลัง ปัจจุบันหาชมของแท้ๆ ได้ยากมาก สนนราคาสูงมากเช่นกันครับ

หลวงพ่อพิธเกิดที่ตำบลฆะมัง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2418 โยมบิดาคือ ขุนหิรัญสมบัติ (ประดิษฐ์) โยมมารดาชื่อปุย หลวงพ่อพิธอุปสมบทในปีพ.ศ.2440 ที่วัดบึงตะโกน อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยมีพระครูธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาวิจิตร วัดฆะมัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์พลอย วัดราชช้างขวัญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากที่ท่านได้บวชแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่หลายวัดด้วยกัน เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมต่างๆ เช่น วัดหัวดง วัดบางคลาน ได้ศึกษาอยู่กับหลวงพ่อเงินจนแตกฉานในทุกด้าน วัดวังปราบ วัดบางไผ่ วัดดงป่าคำ วัดสามขา วัดใหญ่ (วัดพระศรีมหาธาตุ พิษณุโลก) หลังจากนั้นท่านจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดฆะมังจวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2488 สิริอายุได้ 70 ปี พรรษาที่ 48

หลวงพ่อพิธมีดวงตาที่ดูดุ จนในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อพิธตาเสือ และในวันที่ฌาปนกิจท่านนั้นหลังจากที่เจ้าหน้าที่วัดและลูกศิษย์ของท่านกำลังเก็บอัฐิอยู่นั้น ทุกคนต่างตะลึงงันเมื่อได้พบดวงตาของหลวงพ่อพิธไม่ไหม้ไฟทั้งสองดวง ชาวบ้านจึงกล่าวขวัญกันว่า "หลวงพ่อพิธตาไฟ" ปัจจุบันยังเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่วัดฆะมัง

หลวงพ่อพิธได้ทำตะกรุดแจกให้แก่ศิษย์ ซึ่งเป็นยันต์เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นยันต์หนึ่งในตำราพิชัยสงคราม และยันต์นี้ได้สืบทอดต่อมาจากหลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า จนถึงหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อพิธเรียนมาจากหลวงพ่อเงินอีกต่อหนึ่ง ยันต์นี้เรียกกันว่า "ยันต์คู่ชีวิต" มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัยให้แก่ผู้ที่บูชา ตะกรุดของหลวงพ่อพิธโดยส่วนมากจะมีอั่วทองเหลืองเป็นแกนกลาง อั่วก็คือแกนกลางเป็นหลอดทองเหลือง ปกติจะมีบัดกรีเสริมหัวท้ายด้วยลวดทองเหลือง ตะกรุดหลวงพ่อพิธที่พบมีทั้งที่เป็นเนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน เนื้อฝาบาตร และที่พบส่วนใหญ่คือเนื้อตะกั่ว เข้าใจว่าเนื้อโลหะพิเศษคงจะมีผู้นำโลหะไปให้ หลวงพ่อพิธทำเป็นพิเศษ ตะกรุดของหลวงพ่อพิธที่เราพบเห็นมากที่สุดก็คือครั้งที่ท่านทำให้วัดสามขา เพื่อแจกให้แก่ผู้สมทบทุนสร้างพระอุโบสถวัดสามขา ตะกรุดคู่ชีวิตนี้จะมีทั้งลงรักถักเชือก และชนิดเปลือยๆ ลายถักก็มีอยู่หลายแบบครับ

พุทธคุณของตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ มีประสบการณ์มากมาย เรื่องอยู่ยงคงกระพันนั้นชาวเมืองพิจิตรต่างทราบ กันดี ปัจจุบันหาตะกรุดหลวงพ่อพิธแท้ๆ ยากครับ และมีของปลอมเลียนแบบมาก การเช่าหาควรจะหาจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญจริงเท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ แบบมีลงรักถักเชือก จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลัง ขมังเวทย์ ของคุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย มาให้ชมกันด้วยครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60469573860367_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง คือตะกรุดหนังหน้าผากเสือ คนโบราณจะนิยมตะกรุดหนังหน้าผากเสือมาก แต่ก็หายากทั้งวัสดุที่นำมาใช้ทำตะกรุด และพระคณาจารย์ที่ทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือก็มีน้อยรูปเช่นกันครับ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือรุ่นเก่าๆ ของพระอาจารย์ที่โด่งดังมากๆ ก็คือ พระธรรมานุสารี (สว่าง) วัดเทียนถวาย ปทุมธานี พระพิมลธรรม (นาค) วัดอรุณฯ กทม. พระวิเชียรโมลี (ปลั่ง) วัดบรมธาตุฯ กำแพงเพชร เป็นต้น

ในบรรดาพระเกจิอาจารย์ที่กล่าวมาแล้ว พระธรรมานุสารี (สว่าง) นั้นอาวุโสมากที่สุด ตะกรุดของท่านก็โด่งดังมาก และหายากที่สุดเช่นกัน เนื่องจากมีจำนวนน้อยมาก ส่วนมากจะอยู่กับคนดั้งเดิมที่อยู่ในละแวกวัดเทียนถวาย

วัดเทียนถวายเป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี สุนทรภู่เคยพรรณนาไว้ในนิราศพระบาท ครั้งร่วมขบวนเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ไปนมัสการพระพุทธบาท สระบุรี เมื่อปี พ.ศ.2350 ตอนที่ผ่านวัดเทียนถวายว่า

ถึงวัดเทียนถวายท่าใหม่ข้าม ก็รีบตามเรือที่นั่งมากลางหน

ทุ่งละลิ่วทิวเมฆเป็นหมอกมน สะพรั่งต้นตาลโตนดอนาถใจ

เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น ระวังตนตีนมือระมัดมั่น

เหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน ถ้าพลั้งพลันก็เจ็บอกเหมือนตกตาล

พระธรรมานุสารี (สว่าง) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2398 โยมบิดาชื่ออ่อน โยมมารดาชื่อทิม ที่บ้านหลังวัดเทียนถวาย พออายุพอสมควร บิดาจึงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่กับพระปลัดปิ่น วัดบางกระดี ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรและอยู่กับพระปลัดปิ่น จนกระทั่งอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทที่วัดเทียนถวาย โดยมีพระปลัดปิ่นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ยัง วัดเทียนถวายเป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาที่วัดบางกระดี 3 พรรษา จากนั้นก็เข้ามาศึกษาต่อที่วัด สระเกศ ศึกษาคันถธุระ วิปัสสนาธุระ โหราศาสตร์ และวิทยาคมต่างๆ

ต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสมุห์ของพระวินยานุกูลเถร (ศรี) จนกระทั่งพระวินยานุกูลเถร (ศรี) มรณภาพ ท่านจึงกลับมาอยู่ที่วัดบางกระดี จนถึงปี พ.ศ.2435 วัดเทียนถวายว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านจึงได้มาอาราธนาหลวงพ่อสว่างมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย

ปี พ.ศ.2435 เป็นเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย และเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2455 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นพระครูศีลานุโลมคุณ

พ.ศ.2461 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูธรรมานุสารี และเป็นเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี

พ.ศ.2464 ได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะที่ พระธรรมานุสารี

หลวงพ่อสว่างเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก และมักเรียกท่านว่า "หลวงพ่อหว่าง หรือหลวงปู่หว่าง" วัตถุมงคลของท่าน จะทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือ และผ้าประเจียด ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคไปพระราชวังบางปะอิน เมื่อถึงวัดเทียนถวายได้ทรงแวะขึ้นไปนมัสการพระอุปัชฌาย์สว่าง และทรงให้พนักงานฉายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์กับพระอุปัชฌาย์สว่าง ในครั้งนั้นพระอุปัชฌาย์สว่างก็ได้ถวายตะกรุดหนังหน้าผากเสือแก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วย

พระธรรมานุสารี (สว่าง) มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2475 สิริอายุได้ 77 ปี

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงพ่อหว่างในปัจจุบันนั้นหายากมากครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย จากหนังสือ ตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมกันครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88785604346129__1_320x200_.jpg)
พญาเต่าแสนมงคลทวีทรัพย์

เมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญาเต่าเรือน นามว่า "มหาจิตรจุล" อาศัยอยู่บนเกาะแห่งหนึ่ง อยู่มาไม่นานเกิดเหตุพายุเข้าบริเวณเกาะเป็นเหตุให้เรือสำเภาที่ผ่านมาอับปาง ผู้คนที่ว่ายน้ำหนีตายมาอาศัยบนเกาะเป็นจำนวนมากต่างขาดอาหารและน้ำ จึงคิดทำร้ายพญาเต่า

ในครั้งนั้นพญาเต่าโพธิสัตว์คิดว่า เมื่อชาวบ้านต่างเดือดร้อนถึงขนาดต้องคิดฆ่าตัวเราเพื่ออยู่รอด จึงมีจิตอนุเคราะห์กลิ้งตัวจากภูเขาหมายจะบริจาคทานด้วยเลือดและเนื้อของตน ผู้คนเหล่านั้นจึงได้อาศัยเนื้อมาบริโภค แล้วเอากระดองทำเป็นพาหนะกลับสู่บ้านเมืองอย่างปลอดภัย

ภายหลังผู้คนเหล่านั้นระลึกถึงบุญคุณของพญาเต่าเรือน จึงได้วาดภาพไว้สักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล

กาลต่อมาจึงได้มีการสร้างวัตถุมงคลรูปเต่า ลงอักขระเลขยันต์ปลุกเสกและบูชาสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ด้วยอานุภาพแห่งมหาทานอันยิ่งใหญ่ในครั้งนั้น

วัตถุมงคล "พญาเต่าเรือน" พระเกจิที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคือ "หลวงปู่หลิว ปัณณโก" อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เกจิอาจารย์ดัง เป็นเจ้าตำรับ "เหรียญพญาเต่าเรือน" อันเลื่องชื่อ

ทั้งนี้ คณะศิษย์ "หลวงปู่แสน ปสันโน" วัดบ้านหนองจิก อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญพญาเต่าแสนมงคล ทวีทรัพย์"

นับเป็นครั้งแรก ในการจัดสร้างเหรียญพญาเต่าบรรจุกริ่ง ซึ่งผสานจุดเด่นของพญาเต่าหลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทอง และพญาเต่าของหลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย อักขระเลขยันต์สมบูรณ์ตามการสร้างของบูรพาจารย์สายพญาเต่า

พญาเต่าแสนมงคล ทวีทรัพย์ จัดสร้าง 2 ขนาด ได้แก่ พิมพ์ใหญ่บรรจุกริ่ง และพิมพ์เล็กไม่บรรจุกริ่ง

ลักษณะเป็นรูปเต่า มี 4 ขา ปลายหัวด้านบนมีหู ลักษณะเดียวกับหูเหรียญ ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่แสนครึ่งองค์หันหน้าตรง ด้านหลังเป็นอักขระยันต์

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ในวาระสำคัญ 2 วาระ พร้อมกับพระขุนแผนแสนมงคลพิมพ์เล็ก

วาระที่ 1 นำฤกษ์ พิธีสมโภชหน้า พระประธาน ซึ่งในพิธีดังกล่าว มีพระเกจิคณาจารย์สายเมตตา อาทิ หลวงปู่บุญหลาย, หลวงปู่อุดมทรัพย์ ร่วมพิธีสวดชัยมงคลคาถาข้ามคืน ที่โบสถ์วิหารวัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ โดยช่วงเวลาก่อนเที่ยงของวันที่ 5 ก.ค.2562 หลวงปู่แสนแผ่เมตตาอธิษฐานจิตให้ เพื่อเป็นสิริมงคล

และวันที่ 12 ก.ค.2562 วาระสำคัญอีกครั้งในวิหารหลวงปู่หลิวขี่เต่า ที่วัดไร่แตงทอง จ.นครปฐม โดยพระอาจารย์สายชล จิตตกาโร เจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง เมตตาปลุกเสกเดี่ยวให้อย่างยาวนาน

รายได้ในการเปิดให้บูชาสั่งจองวัตถุมงคลรุ่นนี้ จะถวายให้กับหลวงปู่แสน เพื่อสร้างภาพจิตรกรรมพุทธประวัติประดับบนผนังโบสถ์ ศาลาการเปรียญ ที่วัดบ้านหนองจิก ให้เสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากหลวงปู่แสน ปสันโน มีอายุครบ 112 ปี ในปี พ.ศ.2562

มวลสารในการจัดสร้างพระเนื้อผง พระขุนแผนแสนมงคลพิมพ์เล็ก ได้แก่ ผงอังคารธาตุศิษย์บูรพาจารย์หลวงปู่มั่น, ผงว่าน 108, ผงเหล็กไหล, ผงเหล็กน้ำพี้, ผงไม้มงคล 9 อย่างพญางิ้วดำ, เครือเถาหลง, ว่านดอกทอง, ผงพรายกุมาร และจีวร เกศา หลวงปู่แสน พระธาตุข้าวบิณฑ์ครูบาชัยวงศา แร่ดูดทรัพย์หลวงพ่อประสิทธิ์ พลอยเสก ผงไม้เสาโบสถ์เก่า วัดหนองบัว สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่หลวงปู่ยิ้มปฏิบัติศาสนกิจ และผงดินยอดจอมปลวก 
    ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 พฤศจิกายน 2562 12:50:22
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23855947785907_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
หลวงพ่อโศก วัดปากคลองบางครก

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูอโศกธรรมสาร (หลวงพ่อโศก) วัดปากคลองบางครก ท่านก็เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากรูปหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี เครื่องรางของขลังที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันดี ก็คือพระขรรค์แกะจากเขาควายเผือกที่โด่งดังมาก นอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญหล่อพระจันทร์เสี้ยว ที่เป็นเหรียญหล่อรุ่นแรกของท่าน ปัจจุบันหายากครับ

พระครูอโศกธรรมสาร หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อโศก วัดปากคลอง (ชาวบ้านชอบเรียกว่า "วัดปากคลองบางครก") ท่านเกิดเมื่อวันอังคาร ปี พ.ศ. 2415 ที่บ้านแควใหญ่ ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โยมบิดาชื่อ พันธุ์ โยมมารดาชื่อ นาก เมื่อท่านอยู่ในวัยอันสมควรบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอธิการเพิ่ม วัดสวนทุ่ง ท่านเป็นคนที่สนใจในการศึกษาเล่าเรียน จึงสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นพออายุครบบวชบิดามารดาก็ได้อุปสมบทให้ ที่วัดปากคลอง ในปี พ.ศ.2435 ได้รับนามฉายาว่า "สุวณฺโณ" โดยมีพระอธิการคล้ำ วัดปากคลอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการทรัพย์ วัดเขาตะเครา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเพิ่ม วัดทุ่งสวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้อยู่ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์พอสมควรแล้ว ท่านก็ได้เดินทางมาอยู่ที่วัดมหาธาตุฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บาลีไวยากรณ์ และวิปัสสนากรรมฐาน ในสำนักพระอธิการครุฑ ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนาธุระ ศึกษาอยู่ได้ปีเศษๆ พระอธิการครุฑท่านก็ถึงแก่มรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษาต่อกับพระสุวรรณมุนี (ฉุย) วัดคงคาราม ต่อมาในปี พ.ศ.2447 พระอธิการหลุบ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุสืบแทน แต่ก็ดำรงตำแหน่งได้เพียงปีเศษเท่านั้น วัดปากคลองก็ว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านบางครกต่างก็มานิมนต์หลวงพ่อโศกให้ไปช่วยเป็นเจ้าอาวาสและช่วยพัฒนาวัดให้ หลวงพ่อจึงต้องกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากคลอง

หลังจากที่ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดปากคลองแล้ว ก็ได้จัดระเบียบและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมให้เรียบร้อย สร้างศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ ศาลาบำเพ็ญกุศล โรงเรียน พระอุโบสถ จนวัดปากคลองเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2452 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวดบางครก พ.ศ.2465 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2478 เป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม และเป็นพระครูอโศกธรรมสาร

หลวงพ่อโศกออกบิณฑบาตทุกวัน และทำวัตรเช้าเย็นมิได้ขาด ท่านมีเมตตาปรานีแก่ทุกผู้ทุกนาม จึงเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านเป็นอย่างมาก หลวงพ่อท่านมรณภาพในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2482 สิริอายุได้ 67 ปี พรรษาที่ 47 หลวงพ่อท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น พระขรรค์เขาควายเผือก ตะกรุด ผ้ายันต์ น้ำเต้ากันไฟ ปลัดขิก พระเนื้อผงและเนื้อชิน เหรียญรุ่นแรกคือเหรียญจันทร์เสี้ยว สร้างปี พ.ศ.2465 ยังมีเหรียญพระพุทธชินราช ปี พ.ศ.2468 และยังมีอีกหลายเหรียญ

วันนี้ผมได้นำเหรียญหล่อโบราณพระจันทร์เสี้ยว จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องราง ของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49253941120372_view_resizing_images_8_320x200.jpg)
เหรียญพญาเต่าเรือน หลวงปู่ขำ

"หลวงปู่ขำ เกสโร" หรือ "พระครูโสภณสราธิการ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม พระเถระที่อายุพรรษามากที่สุดรูปหนึ่งของเมืองมหาสารคาม เป็นพระเถระทรงศีลบริสุทธิ์สมถะ

ปัจจุบัน สิริอายุ 93 ปี พรรษา 73

เกิดที่บ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดบ้านค้อธิ มีหลวงปู่รอด พรหมสโร วัดหนองกุง อ.นาเชือก เป็นพระอุปัชฌาย์

ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่เนาว์ ยโสธโร อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง

พ.ศ.2512 หลวงปู่เนาว์อาพาธหนัก จึงได้สั่งให้ญาติโยมไปนิมนต์มาจำพรรษา ที่วัดบ้านหนองแดง

ต่อมาภายหลังหลวงปู่เนาว์มรณภาพ ท่านได้รับการแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสตราบจนปัจจุบัน

เป็นพระที่เคร่งครัดในธรรมวินัย วัตรปฏิบัติดี ร่วมมือกับญาติโยม ทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัดอย่างต่อเนื่อง

ในปี พ.ศ.2562 เนื่องจากวัดหนองแดงมีโครงการก่อสร้าง "เจดีย์บูรพาจารย์" ประดิษฐานไว้ที่วัดหนองแดง แต่ยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนมาก คณะศิษยานุศิษย์ที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ขำ นำโดย "เล็ก มหาบัณฑิต" และ "ตา ยางนคร" ขออนุญาต หลวงปู่ขำ จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญ "พญาเต่าเรือนกฐิน 62 เศรษฐี อายุยืน" เพื่อมอบให้กับผู้บริจาคสมทบทุนสร้างเจดีย์บูรพาจารย์ให้แล้วเสร็จ

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงเต่ามีหัวและหาง

ด้านหน้าที่ขาเต่าและหัวเต่า มีอักขระยันต์ อ่านว่า นะ มะ พะ ทะ คาถาหัวใจธาตุ 4 บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ที่บริเวณสังฆาฏิมีอักขระยันต์ ที่ขอบเหรียญด้านขวาเขียนว่า หลวงปู่ขำ เกสาโร วัดหนองแดง ส่วนขอบเหรียญด้านซ้ายเขียนว่าพญาเต่าเรือนเศรษฐี อายุยืน

ด้านหลังบริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์พญาเต่าเรือน ล้อมรอบด้วยคาถาพระเจ้า 16 พระองค์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทองคำ ไม่เกิน 11 เหรียญ เนื้อเงินไม่ตัดปีกตอก 9 รอบหน้ากากทองคำ 32 เหรียญ เนื้อนวโลหะลงยาธงชาติหน้ากากทองคำ 62 เหรียญ เนื้อนวะธงชาติหน้ากากเงิน 199 เหรียญ และชุดของขวัญรับพระ 7 เหรียญ สร้าง 100 ชุดเป็นต้น

ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก จัดขึ้นในวันที่ 25 ต.ค.2562 นี้ ที่ปะรำพิธีวัดหนองแดง โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่ขำ เกสโร, หลวงปู่เสาร์ ธัมมโชโต, พระครูเหมสารคุณ (ทองดี) เป็นต้น
  ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/95689347344968_view_resizing_images2G69S072_3.jpg)
องคตหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางของขลังต่างๆ เป็นของคู่กับคนไทยที่มีมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นของที่เกิดขึ้นเองแล้วผิดธรรมชาติ ที่เรียกว่าของทนสิทธิ์ เช่น คดต่างๆ เขี้ยวหมูตัน เขี้ยวเสือกลวง งาช้างดำ เขากวางคุด กะลาตาเดียว หมากทุย เป็นต้น เหล่านี้เชื่อกันมาแต่โบราณว่าเป็นของดีในตัว แล้วนำมาให้พระเกจิอาจารย์ปลุกเสกให้ เพื่อไว้คุ้มครองป้องกันตัว อีกทั้งเครื่องรางของขลังที่พระเกจิสร้างขึ้น เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ลูกอม แหวนพิรอด หรือเครื่องรางรูปสัตว์ต่างๆ เช่น เสือ สิงห์ วัวธนู ควายธนู แพะ ลิง หนุมาน ปลัดขิก นกสาลิกา ปลาตะเพียน เต่า จิ้งจก แม้กระทั่งรักยม กุมารทอง และหุ่นยนต์ เป็นต้น ก็เรียกรวมกันเป็นประเภทเครื่องรางของขลัง ซึ่งเชื่อกันว่าพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ท่านได้ปลุกเสกไว้ให้แก่ศิษย์เพื่อคุ้มครองป้องกันตัว หรือเพื่อเป็นเมตตามหานิยม เพื่อการค้าขาย เป็นต้น

เครื่องรางของขลังประเภทที่แกะเป็นรูปต่างๆ เช่น เสือ สิงห์ ลิง หนุมาน แพะ ก็มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ได้ปลุกเสกไว้หลายอย่าง และปัจจุบันก็หายากเป็นที่นิยม ของผู้นิยมเครื่องรางของขลังมาก อุปเท่ห์ในการสร้างและใช้ก็ต่างกันไปแต่ละเกจิอาจารย์ อย่างเช่นหลวงพ่อปานวัดบางกระสอบ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบอันโด่งดัง หลวงพ่อปานได้สร้างองคตไว้แจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์ ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ

วัดบางกระสอบเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่โบราณหลายร้อยปี พระเกจิอาจารย์ที่พอสืบทราบได้ก็คือหลวงพ่อปาน แต่ประวัติของท่านนั้นไม่ได้มีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีแต่คำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเดียวกับหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย และมรณภาพเมื่อประมาณปี พ.ศ.2446 และท่านก็ได้สร้างเครื่องรางของขลังที่เป็นรูปองคตอันโด่งดังของเมืองสมุทรปราการ มูลเหตุที่หลวงพ่อปาน ได้สร้างองคตนั้นมีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า มีปีหนึ่งหลวงพ่อปานได้ให้ช่างมาซ่อมหลังคาโบสถ์ ซึ่งชำรุดน้ำฝนรั่ว ช่างที่มามุงกระเบื้องใหม่อยู่ดีๆ ก็พลัดตกลงมา พอขึ้นไปเปลี่ยนกระเบื้องใหม่ก็พลัดตกลงมาอีก เป็นอยู่หลายครั้งหลายหน จนพวกช่างต่างก็กลัวไม่กล้าที่จะขึ้นไปบนหลังคาโบสถ์กันอีก ลูกศิษย์ก็ไปบอกหลวงพ่อปานว่าช่างกลัวไม่กล้าขึ้นบนหลังคาโบสถ์ เพราะตกลงมาแล้วหลายคน หลวงพ่อปานก็บอกว่าไม่เป็นไรเดี๋ยวจะทำของให้ขึ้นไปทำใหม่ได้ จากนั้นหลวงพ่อปานก็ได้บอกกับลูกศิษย์ให้เอาด้ามตาลปัตรเก่าๆ ที่ชำรุดมาให้แล้วให้แกะเป็นรูปองคต มีหางขมวดเป็นฐาน เมื่อแกะเสร็จหลวงพ่อปานปลุกเสกและแจกให้แก่ช่างที่มาซ่อมหลังคาโบสถ์ แล้วบอกว่าเอาขึ้นไปใหม่ทีนี้ไม่ต้องกลัวว่าจะตกลงมา ช่างก็เริ่มมั่นใจปีนขึ้นไปซ่อมหลังคาโบสถ์จนเสร็จเรียบร้อยโดยไม่มีใครตกลงมาอีกเลย ก็เป็นที่โจษขานกันมากในสมัยนั้น

ต่อมาลูกศิษย์หลวงพ่อปานที่สงสัยว่าทำไมหลวงพ่อจึงให้แกะเป็นรูปองคต หลวงพ่อก็เล่าเรื่ององคตให้ฟังว่า องคตเป็นลูกของพาลี และเป็นทหารเอกของพระราม องคตผู้นี้มีฤทธิ์มากไม่กลัวใคร ตอนที่พระรามใช้ให้ไปเจรจากับทศกัณฐ์นั้นก็ได้แผลงฤทธิ์ไว้มาก ตอนที่เข้าไปในวังของทศกัณฐ์เห็นว่าทศกัณฐ์นั่งอยู่บนบัลลังก์สูง องคตจึงเอาหางมาม้วนขดจนสูงนั่งบนหางเสมอกับทศกัณฐ์แล้วค่อยเจรจา

แสดงว่าองคตไม่กลัวทศกัณฐ์ และไม่ยอมก้มหัวให้คนไม่ดี ด้วยฤทธิ์เดชขององคตตามเรื่องรามเกียรติ์จึงนำมาสร้างเครื่องรางของขลัง แจกให้แก่ช่างที่มาซ่อมหลังคาโบสถ์ ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อปานก็อยากได้บ้าง หลวงพ่อก็ให้แกะเป็นรูปองคตแจกให้ไป ตลอดจนชาวบ้านในแถบนั้นก็มาขอองคตหลวงพ่อกันมาก จนด้ามตาลปัตรชำรุดไม่มีเหลือ ก็ได้นำไม้พุดมาแกะบ้างก็มี ช่างที่แกะก็มีอยู่หลายฝีมือ ดังนั้นเวลาเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีว่าใช่องคตหลวงพ่อปานหรือเปล่า เพราะของปลอมก็มี เนื่องจากมีคนเสาะหากันมากและมีราคาสูงในปัจจุบัน เช่าหาจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านจะดีกว่า

องคตของหลวงพ่อปานนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม ปัจจุบันหายากมาก วันนี้ผมได้นำรูปขององคตหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80003971399532_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญเต่ามังกรรวยทันใจ หลวงปู่ถนอม

หลวงปู่ถนอม จันทวโร หรือ พระครูโพธาภิวัฒน์ รองเจ้าคณะอำเภอโพนสวรรค์ และเจ้าอาวาสวัดขามเตี้ยใหญ่ ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พระป่าที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตร ปฏิบัติดี เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา

เป็นศิษย์สืบสายธรรมของหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย วัดท่าดอกแก้วเหนือ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ศิษย์เอกหลวงปู่ศรีทัตถ์ ญาณสัมปันโน เกจิผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทน พระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และพระบาทโพนฉัน สปป.ลาว

ดำรงชีวิตอยู่ในวัย 79 ปี พรรษา 59

มีนามเดิมว่า ถนอม นนทศรี เกิดวันจันทร์ที่ 1 มี.ค.2438 ปีมะโรง ที่บ้านขามเตี้ยใหญ่ ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

ขณะอายุ 18 ปีบวชเณรที่อุโบสถวัดโพธิ์ศรี บ.ขามเตี้ยใหญ่ ต.ขามเตี้ยใหญ่ อ.ท่าอุเทน (ในขณะนั้น)

พ.ศ.2503 เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีหลวงปู่สนธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูโสตถิรธรรมคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่ที เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพระปริยัติธรรมที่สำนักวัดศรีทอง ต.โพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จบนักธรรมชั้นเอก ร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงปู่สนธิ์ ผู้เป็นอาจารย์นาน 7 ปี จนช่ำชอง

ธุดงค์ไปในภาคเหนือของลาว ศึกษาคัมภีร์มูลกัจจายน์ อักษรธรรม ขอม และลาว ก่อนเดินธุดงค์ต่อฝึกกัมมัฏฐานภูเขาควาย ฝั่งลาว พ.ศ.2538 หยุดธุดงค์กลับสู่วัดมาตุภูมิจนปัจจุบัน

เดือน มี.ค.2562 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญพญาเต่ามังกร รุ่นรวยทันใจ หลวงปู่ถนอม

วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้สมทบบำรุงเสนาสนะภายในวัดให้แล้วเสร็จ

วัตถุมงคลจัดสร้างเป็นหลายเนื้อด้วยกัน มีเนื้อทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้าทองคำเต็มแผ่น 19 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาลายธงชาติ 168 เหรียญ, เนื้อแร่เหล็กเปียกพระธาตุหน้ากากทองทิพย์หลังจารยันต์ 80 เหรียญ, เนื้อสัมฤทธิ์ชุม 3K (งานพรีเมียมจิวเวลรี่) 333 เหรียญ, และชุดกรรมการ 333 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปเต่า ส่วนหัวเป็นหัวมังกร เท้าเต่าทั้ง 4 ข้างสลักตัวหนังสือข้างละ 1 ตัวอ่านว่า นะ มะ พะ ทะ ใต้หัวมังกรสลักยันต์อุณาโลม ด้านข้างใบหูด้านซ้ายสลักยันต์เต่าต้นตำรับหลวงปู่หลิว วัดไร่แตง ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ใน ท่านั่งขัดสมาธิ บนแท่นฐานพญานาค 2 เศียรขดหาง ด้านล่างสลักคำว่า รวยทันใจ

ด้านหลังเหรียญ แบนราบ หัวเต่าสลักอักขระยันต์ นะฤๅชา เท้าเต่า 4 ข้างสลักอักขระข้างละ 1 ตัวอ่านว่า นะ มะ พะ ทะ ตรงกลางเหรียญสลักอักขระ 2 บรรทัดซึ่งเป็นอักขระประจำตัวหลวงปู่ซึ่งใช้ทำเหรียญรุ่นแรก ถัดจากอักขระสลักตัวหนังสือ 4 บรรทัด อ่านว่า หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๖๒ หางเต่าสลักยันต์ อุ

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกหน้าองค์พญาศรีสัตตนาคราช ริมฝั่งแม่น้ำโขง วันที่ 23 พ.ย.2562 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป มีหลวงปู่ถนอม นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสก
    ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 02 ธันวาคม 2562 14:41:23
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58229346490568_view_resizing_images_10_320x20.jpg)
เครื่องรางทองคำเศรษฐี หลวงปู่ทองคำ

หลวงปู่ทองคำ โสรวโร อาศรมป่าช้าแคนทะเล ต.สระบัว อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิที่มีวัตรปฏิบัติสมถะเรียบง่าย เสมอต้นเสมอปลาย ได้รับความเคารพเลื่อมใส

ปัจจุบันสิริอายุ 93 พรรษา 31

นามเดิม ทองคำ แกชวดดง เกิดเมื่อปี พ.ศ.2469 ที่บ้านแคนทะเล ต.สระบัว อ.สตึก จ.บุรีรัมย์

อายุ 14 ปี เข้าพิธีบรรพชา ที่วัดบ้านยางสีสุราช จ.มหาสารคาม มุมานะศึกษาพระธรรมวินัยสอบได้นักธรรมชั้นโท พร้อมกับฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาไสยเวทกับอดีตพระเกจิอาจารย์หลายท่านในยุคนั้น แต่ในช่วงที่เรียนนักธรรมชั้นเอก เกิดอาพาธหนัก จึงลาสิกขาออกมารักษาตัวที่บ้าน

ในปี พ.ศ.2532 เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดเทพทราวาส ต.แคนดง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ (ปัจจุบัน ขึ้นอำเภอแคนดง) โดยมีพระครูอรุณปัญญาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

ด้วยความที่ท่านมีอุปนิสัยชมชอบความสันโดษ จึงไปจำพรรษาในป่าช้าประจำหมู่บ้าน หลวงปู่ปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิ เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติเป็นอย่างมาก ก่อนตัดสินใจออกเดินธุดงค์จาริกไปทั่วประเทศ

ต่อมา ในปี พ.ศ.2557 อาพาธหนัก ลูกหลานญาติโยมเกิดความเป็นห่วง จึงได้สร้างอาศรมป่าช้าแคนทะเล ให้หลวงปู่ที่ท้ายหมู่บ้าน ท่านรับนิมนต์จำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน

เนื่องจากอยู่ในช่วงบั้นปลายของชีวิตมักเกิดอาพาธ "พระครูปลัดสุรินทร์ ภัททมุนี" ซึ่งให้ความเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ทองคำ จึงมีโครงการที่จะหาปัจจัยสมทบทุน เพื่อเป็นกองทุนการกุศลและกองทุนรักษาธาตุขันธ์ รวมทั้งช่วยเหลือพระสงฆ์ที่อาพาธ จึงจัดสร้างวัตถุมงคล "เครื่องรางทองคำเศรษฐี" เพื่อมอบให้กับพุทธศาสนิกชนที่ร่วมทำบุญ

วัตถุมงคลรุ่นนี้ จำลองจากเงินตำลึงจีน ในสมัยโบราณที่เรียกว่า "หยวนเป่า" หรือ "ง้วนป้อ" ลักษณะเป็นแท่งเงินปลายโค้งสูงทั้งสองข้าง มีรูปร่างคล้ายเรือ ด้านข้างมีอักขระยันต์ พร้อมตัวอักษรเขียนคำว่า ทองคำเศรษฐี ส่วนอีกด้าน เขียนคำว่า มีความสุขและให้ร่ำรวย ใต้ฐานบรรจุอุดผงพุทธคุณ ผงว่านสายเมตตา สายโภคทรัพย์ และลงอักขระยันต์คาถาหัวใจมหาเศรษฐี

สำหรับวัฒนธรรมจีน หยวนเป่า เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งร่ำรวย จึงนับว่า เครื่องรางทองคำเศรษฐี รุ่นนี้ เป็นสุดยอดวัตถุมงคลแห่งยุค มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน อาทิ โชคลาภ แคล้วคลาด ค้าขาย หนุนดวง หนุนชีวิต จากร้ายให้กลายเป็นดี เป็นต้น

จำนวนสร้าง อาทิ นำฤกษ์เนื้อเงินอุดผงพรายกุมารฝังตระกรุดทองคำสร้าง 80 ก้อน นำฤกษ์เนื้อแร่เหล็กไหลอุดผงพรายกุมารฝังตะกรุดทองคำ สร้าง 149 ก้อน เนื้อเหล็กน้ำพี้ชุบทอง 3 กษัตริย์อุดผงพรายกุมาร-พลอยมหาลาภ 199 ก้อน เป็นต้น

พิธีพุทธาภิเษก วันที่ 30 ธ.ค.2562 ที่วัดสุทธาวาสวิปัสสนา พระเกจิร่วมพิธี อาทิ หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย จ.พระนครศรี อยุธยา อธิษฐานจิตนำฤกษ์ หลวงปู่ทองคำ โสรวโร จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่ปัน จ.นครปฐม, หลวงปู่บุญมา จ.ปราจีนบุรี, หลวงปู่หลักชัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
    ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36451667464441_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
พญากบกินเดือน หลวงปู่เสาร์

พระครูสังฆรักษ์เสาร์ ธัมมโชโต หรือ หลวงปู่เสาร์ ธัมมโชโต เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี บ้านโคกศรี ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนทั้งในและนอกพื้นที่

ปัจจุบันสิริอายุ 101 ปี พรรษา 34

นามเดิม นายเสาร์ ศิริพล เกิดเมื่อวันที่ 3 ม.ค.2462 ที่บ้านหนองแวง ต.แวงน่าง อ.เมือง จ.มหาสารคาม ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

หลังจบการศึกษาระดับประถมศึกษาชั้น ป.4 จากโรงเรียนในหมู่บ้านแล้ว ออกมาช่วยงานครอบครัวด้วยความขยันขันแข็ง

จนถึงปีพ.ศ.2528 เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เข้าพิธีอุปสมบทที่อุโบสถวัดใต้แวงน่าง อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยมีพระครูชัยสิทธิคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์พระเทพสารคามมุนี เจ้าอาวาสวัดอภิสิทธิ์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม)

ภายหลังอุปสมบทออกจาริกแสวงหาโมกขธรรมไปตามป่าเขาหลายแห่งในภาคอีสาน โดยเฉพาะเทือกเขาภูพาน

จากนั้นจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านหนองแวง บ้านเกิด ต่อมาวัดโพธิ์ศรี บ้านโคกศรี ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.มหาสารคาม ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดว่างลง คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้ท่านมาอยู่จำพรรษา และให้ดำรงตำแหน่งตราบจนปัจจุบัน

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสังฆรักษ์ ฐานานุกรม พระเทพสารคามมุนี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม

สำหรับวัดโพธิ์ศรี บ้านโคกศรี แห่งนี้เป็นวัดที่อยู่ในชนบทยังขาดแคลน คณะศิษยานุศิษย์ นำโดย "อ้อด ศิลาอาสน์" จึงได้ขออนุญาตจัดสร้างเครื่องรางพญากบกินเดือน รุ่นแรก

สำหรับเครื่องรางพญากบกินเดือน เป็นเครื่องรางที่มีการสร้างมาตั้งแต่สมัยโบราณ วัตถุประสงค์การสร้างเพื่อจะได้มอบตอบแทนแก่พุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทธาบริจาคร่วมทำบุญพัฒนาวัด

เครื่องรางพญากบกินเดือน ออกแบบได้สวยงาม เป็นรูปพญากบ ในท่านั่งขัดสมาธิมือสองข้างกำลังจับเดือน (พระจันทร์) ใส่เข้าไปในปาก ที่เดือนมีตัว ส บาลีตัวย่อชื่อหลวงปู่เสาร์ ส่วนด้านหลังจะมีอักขระยันต์ นะโมพุทธายะ พุทธคุณรอบด้าน

จำนวนการสร้างน้อยมาก ประกอบด้วย เนื้อเงิน เนื้อนวะ เนื้อตะกั่วทวารวดี-นาดูน สร้างเป็นชุดรวม 38 ชุด เนื้อเมฆสิทธิ์ 99 ตัว เนื้อเหล็กน้ำพี้ 168 ตัว เนื้อมหาชนวน 499 ตัว เนื้อกระพรวนเรียกทรัพย์ 168 ตัว เนื้อมหาชนวน 168 ตัว เนื้อกระพรวนเรียกทรัพย์ 199 ตัว เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกภายในอุโบสถวัดบ้านกุดแคน ต.หนองโน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ต.ค.2562 โดยมีพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่เสาร์ ธัมมโชโต วัดโพธิ์ศรี จ.มหาสารคาม, หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง จ.มหาสารคาม, หลวงปู่พา สุนทโร วัดฮ่องแฮ จ.ร้อยเอ็ด เป็นต้น
   ข่าวสดออนไลน์



หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 มกราคม 2563 15:40:45
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86202621418568_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
เหรียญพญาเต่าเสาร์ 5 หลวงปู่แสน

หลวงปู่แสน ปสันโน หรือ "เทพเจ้าแห่งภูเขาฝ้าย" แห่งวัดบ้านจิก หมู่ 2 ต.ภูฝ้าย อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดังอีสานใต้

ขณะบวชเณรศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อมุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอใต้ จนจบชั้น ป.4 ร่ำเรียนตำราพระเวท ทั้งภาษาขอม-บาลี

อายุ 21 ปี อุปสมบทที่วัดบ้านโพง มีหลวงพ่อบุญมา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อมุม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ อายุ 24 ปี มีเหตุต้องลาสิกขาบท

หลังหมดภาระทางบ้าน จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อีกครั้ง โดยไปจำพรรษาที่วัดกุดเสล่า อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ จากนั้นย้ายไปจำพรรษาที่วัดบ้านโพง และสำนักสงฆ์วัดโนนไทย (วัดกูไทยสามัคคีในปัจจุบัน)

ต่อมาเห็นสภาพวัดหนองจิกจะกลายเป็นวัดร้าง จนอายุ 97 ปี ลูกหลานจึงไปนิมนต์กลับมาจำพรรษาสืบมา

ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง เมื่อเวลา 22.45 น. วันที่ 25 ก.ค. 2562 หลวงปู่แสนละสังขารอย่างสงบที่กุฏิ สิริอายุ 112 ปี ท่ามกลางความเศร้าสลดของคณะศิษย์

เมื่อเดือน เม.ย. 2562 คณะศิษย์หลวงปู่แสน คือ ทีมงาน "แสนยานุภาพ" ได้ขออนุญาตหลวงปู่แสน จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญพญาเต่าหัวมังกร หลวงปู่แสน "รุ่นเสาร์ 5 รับทรัพย์ เงินไหลมา" เพื่อจัดหารายได้สมทบสร้างอุโบสถ

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อนวะผสมแร่เจ้าน้ำเงินหน้ากากเงินลงยา 99 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้าเปลือกมุกลงยา 199 เหรียญ, เนื้อนวโลหะผสมแร่เจ้าน้ำเงินหน้ากากเงินลงยาจีวร ลงยาราชาวดี ชนิดละ 168 เหรียญ

เนื้ออัลปาก้าลงยาราชาวดี 4 สี เนื้อชนวนชุบ 3 กษัตริย์หน้ากากลงยาน้ำเงิน แดง ชนิดละ 250 เหรียญ, เนื้อชนวนเสาร์ 5 แช่น้ำมนต์ 1,999 เหรียญ

ด้านหน้าเป็นเหรียญรูปทรงเต่าหัวมังกร ขอบเหรียญส่วนนอกฝั่งซ้ายสลักตัวหนังสือคำว่า ที่ระลึกสร้างอุโบสถวัดบ้านหนองจิก ๒๕๖๒ ขอบเหรียญฝั่งขวาสลักคำว่า หลวงปู่แสน ปสันโน อายุวัฒนมงคล ๑๑๑ ปี วงรอบถัดวงรีสลักอักขระคาถาเรียกทรัพย์ เงินล้าน มหาเศรษฐี โภคทรัพย์ เรียกเงินทอง ตรงกลางเหรียญสลักรูปเหมือนพระสังกัจจายน์ถือถุงเงินถุงทอง ฐานมีเงินจีนโบราณเรียงเป็นชั้น ด้านล่างสลักตัวหนังสือคำว่า รับทรัพย์เงินไหลมา

ด้านหลัง มียันต์มหาเศรษฐี ยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ยันต์พุฒซ้อน ยันต์โสฬส ยันต์หัวใจเศรษฐี ยันต์มหาลาภ ยันต์ธงชัยมหาโชค คาถาพระพุทธเจ้า 16 พระองค์ คาถาหัวใจธาตุ 4 คาถาหัวใจพระไตรปิฎก คาถาหัวใจพระสังกัจจายน์

มีพิธีปลุกเสก 8 วาระ วาระที่ 1 ตรงกับเสาร์ 5 มีพระเกจิชื่อดัง อาทิ หลวงปู่แสน ปสันโน, พระอาจารย์ปั่น กวิสสโร วัดใหม่กระทุ่มล้ม จ.นครปฐม, หลวงปู่แสง จันทวังโส วัดโพธิ์ชัย จ.นครพนม เป็นต้น นั่งปรกอธิษฐานจิต
ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91291271729601_view_resizing_images_7_320x200.jpg)
ท้าวเวสสุวัณ รุ่นทรัพย์อุดมรังสี

พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ปัจจุบันอยู่ในวัย 108 ปี พรรษา 89

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

อุปสมบท ที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระธรรมวินัย สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาวิทยาคม อักขระเลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

หลายปีต่อมา เมื่อหลวงปู่กลับมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัย บ้านโนนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม บ้านเกิด เนื่องจากท่านเป็นพระที่ปฏิบัติดี จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่"พระครูอุดมรังสี" และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย รวมทั้งเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง

นอกจากหลวงปู่จะเป็นผู้มีพุทธาคมที่เข้มขลัง ยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญการวิปัสสนากัมมัฏฐาน ศึกษาแนวทางปฏิบัติจากพระป่ากัมมัฏฐานสายหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม

เมื่อครั้งหลวงปู่คำพันธ์ยังมีชีวิตอยู่ ท่านทั้งสองจะไปมาหาสู่กันตลอด

สำหรับวัตถุมงคลมีการจัดสร้างออกมาหลายรุ่น ทุกรุ่นล้วนได้รับความสนใจจากนักสะสมที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน

ในเดือน ก.ย.2561 คณะศิษย์ที่เลื่อมใส "เอ้ พัทยา" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเป็นท้าวเวสสุวัณ รุ่นทรัพย์อุดมรังสี เพื่อสมทบสร้างกำแพงวัดและสมทบเข้ากองทุนดูแล หลวงปู่ในวัย 108 ปี

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 11 องค์, เนื้อเงินฐานทองคำ 11 องค์, เนื้อเงิน 199 องค์, เนื้อนวะ 399 องค์, เนื้อกะไหล่ทอง 399 องค์, เนื้อสัมฤทธิ์ 999 องค์ เนื้อทองแดงเถื่อน 1,599 องค์ และผ้ายันต์ท้าวเวสสุวัณ สีแดงขนาด 14X20 นิ้ว 599 ผืน, สีขาวขนาด 8X12 นิ้ว 999 ผืน

ด้านหน้าท้าวเวสสุวัณ รุ่นทรัพย์อุดมรังสี หรือ ยักษ์เจ้าแห่งทรัพย์ ความกว้าง 1 เซนติเมตร สูง 3 เซนติเมตร ยืนถือกระบอง บริเวณส่วนฐานสลักอักขระ 5 ตัว

ด้านหลังส่วนฐาน สลักตัวหนังสือคำว่า วัดโพธิ์ชัย ใต้ก้นฐานอุดผงมวลสาร และสีผึ้งของหลวงปู่ตั้งแต่ยุคแรก ผสมกับว่านยา 108 ผงพุทธคุณ ผงตะไบกริ่งรุ่นแรก ผงจากการสร้างพระผงรุ่นแรกและรุ่นสรงน้ำ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาเทวาภิเษก เมื่อวันที่ 23 พ.ย. มีหลวงปู่แสง นั่งปรกอธิษฐานจิต
ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13896224275231_view_resizing_images_10_320x20.jpg)
เหรียญพรพรหม วัดเพลง

พระครูสังฆรักษ์ประสิทธิ์ สิทธิโก หรือ หลวงพ่อประสิทธิ์ เจ้าอาวาสวัดเพลงอุโบสถสีชมพู ต.ไทรม้า อ.เมืองจ.นนทบุรี สร้างเหรียญพระพรหม "รุ่นพรพรหม" ที่ระลึกร่วมทำบุญ บูรณปฏิสังขรณ์ พระอุโบสถ, วิหาร, หอระฆัง และกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

รุ่นนี้ ตั้งใจจัดสร้างและออกแบบด้วยพุทธศิลป์ที่สวยงดงามตามแบบโบราณโดยใช้มวลสาร 108 อาทิ ปรอทเพชร, ผงธูป จากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ, เกสรดอกไม้ในพิธีกรรมที่เป็นมงคลต่างๆ เก็บมากว่า 20 ปี,ผงไม้มงคล, ว่านมงคล เป็นต้น

นั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว ที่อุโบสถสีชมพู วัดเพลง จ.นนทบุรี เป็นเวลา 1 ไตรมาส และให้พระภิกษุที่จำพรรษาที่วัด สวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร 16 จบ ทุกวันพระ เป็นเวลา 1 พรรษา

ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านหน้า เป็นรูปพระพรหม มี 4 กร หัตถ์เบื้องซ้ายถือคัมภีร์ใบลาน หัตถ์เบื้องขวามีสายสร้อยไข่มุก หัตถ์ขวาถือคันโท อีกหัตถ์หนึ่งถือพิณ และหัตถ์ที่เหลือถือตรี คทา จักร สังข์ ประทับบนบัลลังก์ ด้านล่างเขียนคำว่า พรพรหม วัดเพลงอุโบสถสีชมพู ขอบเหรียญ เป็นยันต์เขียนกำกับไว้รอบทั้ง 3 ด้าน

ด้านหลัง เป็นยันต์ 12 นักษัตร เขียนยันต์ ครอบจักรวาลครบทุกด้านอยู่รอบเหรียญ อาทิ ยันต์เกาะเพชร,อิติปิโส 8 ทิศ, มงคลโสฬส 16 ซึ่งเป็นยันต์โบราณที่พระเกจิอาจารย์หลายรูปใช้กำกับ มีความหมายดีทุกด้าน ทั้งค้าขาย โชคลาภ เมตตามหานิยม "มั่นคง ร่ำรวย เงินทอง"

ร่วมทำบุญได้ที่วัดเพลงอุโบสถสีชมพู อ.เมือง จ.นนทบุรี
ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2563 16:20:40
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19217732093400_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
เหรียญหางแมงป่อง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญหางแมงป่องของหลวงปู่ภูวัดท่าฬ่อ จังหวัดพิจิตร เป็นเหรียญหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากในอดีต เป็นที่หวงแหนของชาวพิจิตรเหรียญหนึ่งเลยทีเดียวครับ

พระครูธุรศักดิ์เกียรติคุณ (ภู ธัมโชติ) เกิดที่อยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2398 ที่บ้านผักไห่ โยมบิดาชื่อแฟง โยมมารดาชื่อขำ ต่อมาบิดามารดาได้ย้ายมาทำมาหากินอยู่ที่บ้านหาดมูลกระบือ ต.ไผ่ขวาง อ.เมือง จ.พิจิตร ได้ศึกษาหนังสือไทย-ขอมกับพระอาจารย์นิ่ม วัดหาดมูลกระบือ พออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรม 1 ปี จึงได้สึกออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ ทำนา จนกระทั่งอายุได้ 23 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดท่าฬ่อ โดยมีพระครูศีลธรารักษ์ (จัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการนิ่ม วัดหาดมูลกระบือ กับพระอาจารย์เรือน วัดท่าฬ่อ เป็นพระคู่สวด ได้ฉายาว่า "ธมฺมโชติ"

เดิมท่านตั้งใจว่าจะบวชแค่เพียงพรรษาเดียว แต่บวชแล้วก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมและออกรุกขมูลธุดงค์ ได้ติดตามหลวงพ่อเงิน วัดวังตะโก บางคลาน ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ฝึกจิตจนกล้าแกร่ง ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมสารพัดอย่างจากหลวงพ่อเงิน รวมทั้งพระอาจารย์อื่นๆ ที่พบกันกลางป่า นอกจากนี้ท่านยังมีความรู้ในเรื่องสมุนไพรใบยาและวิชาแพทย์แผนโบราณ

หลวงปู่ภูได้ช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยโรคต่างๆ มากมาย จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว ทั้งทางด้านน้ำมนต์รดอาบหายเคราะห์หายโศก ผีเจ้าเข้าสิงหายทุกราย ในด้านวัตถุมงคลนั้นก็มีผู้เข้ามาขอจากท่านเสมอและท่านก็เมตตาทำให้ทุกราย จนกระทั่งพรรษาที่ 10 วัดท่าฬ่อว่างเจ้าอาวาสลง ทางคณะสงฆ์พร้อมด้วยทายกทายิกา ได้ขอร้องท่านให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อ หลวงปู่ภูปกติท่านชอบทางวิเวกไม่มีความประสงค์จะเป็นเจ้าอาวาสแต่ก็ขัดความศรัทธาของชาวบ้านมิได้ ท่านจึงรับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อสืบต่อมา เมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ได้พัฒนาวัดและพัฒนาจิตใจชาวบ้านเต็มความสามารถ จนวัดท่าฬ่อเจริญรุ่งเรือง

ภายในวัดท่าฬ่อสมัยที่หลวงปู่ภูเป็นเจ้าอาวาสนั้น มีคนนำสัตว์ต่างๆ มาปล่อยที่วัด หลวงปู่ก็เมตตารับเลี้ยงไว้ มีทั้งไก่ เป็ด ห่าน สุนัข แมว จนกระทั่งถึงกวาง และไก่ป่าก็มี และหลวงปู่จะเสกข้าวเสกหญ้าให้กินก็จะเชื่องทุกตัว เคยมีคนมาลองดี เอาปืนมาแอบยิงสัตว์ต่างๆ ของวัด โดยเฉพาะกวาง แต่ยิงเท่าไหร่ก็ยิงไม่ออกจนคนยิงเข็ดไปเอง วัตถุมงคลของหลวงปู่ท่านทำไว้หลายอย่าง ทั้งพระเครื่องเป็นพระปิดตา พระพุทธ เหรียญหางแมงป่อง เหรียญใบมะยม แต่เป็นเหรียญที่ลงอักขระไว้เฉยๆ ไม่มีรูปองค์พระ ตะกรุด ผ้าประเจียดและไม้ครู เป็นต้น

วัตถุมงคลของหลวงปู่ภูมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะเรื่องคงกระพันชาตรีเชื่อถือได้ คนพิจิตรทราบดี แต่ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านก็หายากเช่นกันครับ ของปลอมมีกันมานานแล้ว เวลาเช่าหาก็ต้องดูให้ดี

วันนี้ผมขอนำรูปเหรียญหางแมงป่อง เนื้อชินตะกั่ว และตะกรุดพองครั่ง ของหลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จากหนังสือตามรอยตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยามมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73742717173364_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
เบี้ยแก้

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเบี้ยแก้ คนโบราณนิยมนำมาห้อยติดตัวเพื่อปกป้องคุ้มครองป้องกันตัว ทั้งแก้และกันได้สารพัด เบี้ยแก้ของพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ หายาก สนนราคาสูง

เบี้ยแก้คือเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง มีกันมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา หรืออาจจะนานกว่านั้น มีตำราการสร้างเบี้ยแก้ตกทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เบี้ยแก้ก็คือการ นำเอาหอยเบี้ย ที่เรียกว่าเบี้ยพลู และเบี้ยจั่น ซึ่งเป็นหอยชนิดหนึ่ง และในยุคหนึ่งเคยนำมาเป็นเบี้ยแทนเงินตราในการซื้อ-ขาย ความเชื่อในอินเดียทางศาสนาฮินดู มีความเชื่อว่าเป็นตัวแทนพระลักษมี นิยมห้อยคอเด็ก เพื่อปกป้องคุ้มครองสรรพอันตรายต่างๆ ในวรรณคดีของไทยเราก็ยังกล่าวถึงเรื่อง เบี้ยแก้ไว้มากมาย เช่น ในเรื่องขุนช้างขุนแผน และเรื่องอิเหนา เป็นต้น

เบี้ยแก้ที่เป็นเครื่องรางของขลังของไทยเรา เท่าที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่นิยมกันนั้น ทำมาจากเบี้ยพลูและเบี้ยจั่น โดยมีการบรรจุปรอทเข้าไปไว้ในท้องเบี้ย แล้วจึงอุดด้วยชันโรงใต้ดินปิดทับ บ้างก็หุ้มด้วยตะกั่วหรือผ้าแดงอีกครั้งหนึ่ง มีการลงอักขระลงยันต์ต่างๆ ตามสูตรของแต่ละอาจารย์ จากนั้นบ้างก็นำไปถักเชือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง เพื่อสะดวกในการพกติดตัวด้วยการคาดเอว หลังจากถักเชือกแล้ว ก็มีการลงรักหรือทายางมะพลับ เพื่อให้เชือกมีความคงทนในการใช้งาน

พุทธคุณของเบี้ยแก้นั้น มีความเชื่อว่าใช้ในการแก้และกัน สามารถคุ้มครองป้องกันมิให้สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บ คุณไสย ไม่สามารถทำร้ายได้ และปกป้องคุ้มครองผู้ที่มีเบี้ยแก้ให้พ้นภัยต่างๆ ได้ หรือแก้กันสิ่งอัปมงคลต่างๆ

เบี้ยแก้เท่าที่มีการสืบค้นได้และได้รับความนิยมมาแต่โบราณได้แก่ เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง ถือว่าเก่าแก่และหายากมาก หลวงปู่รอดท่านศึกษาวิชาเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่แขก วัดบางบําหรุ เบี้ยแก้สายนี้ก็มีสืบทอดต่อกันมาอีก เช่น หลวงพ่อม่วง วัดคฤหบดี และหลวงพ่อทัต วัดคฤหบดี

เบี้ยแก้สายวัดกลางบางแก้ว หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ศึกษาวิชาเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่ทอง วัดกลางบางแก้ว ซึ่งหลวงปู่ทองเป็นพระธุดงค์มาจากอยุธยา ผู้สืบทอดวิชาเบี้ยแก้ต่อมาจากหลวงปู่บุญคือ หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ต่อมาก็เป็น หลวงปู่ใบ วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว

เบี้ยแก้สายจังหวัดอ่างทอง ได้แก่ หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ เป็นต้น เบี้ยทางสายอ่างทองมีทั้งที่ลงรักถักเชือก และเป็นเบี้ยเปลือย นอกจากนี้ยังมีที่เลี่ยมหุ้มด้วยโลหะเงิน ทอง และนาก โดยเจ้าของนำไปให้ร้านทองในตลาดวิเศษชัยชาญเลี่ยมให้ ในสมัยก่อน และมักจะตอกชื่อ "หมง ดำ หรือ เฮง" ซึ่งเป็นชื่อช่างทองในสมัยนั้นที่ใต้ท้องเบี้ย ส่วนมากที่เจอเลี่ยมเก่ามักจะเป็นของ หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ หรือหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน ซึ่งเป็นเบี้ยที่มีขนาดย่อมหน่อย เหมาะแก่การเลี่ยมหุ้ม

เบี้ยแก้ตามที่ได้กล่าวไว้ขั้นต้น ปัจจุบันหายากแล้วครับ พระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสกเบี้ยแก้ตามที่กล่าวมานั้น ท่านมรณภาพหมดแล้ว อย่างเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง ตัวสวยๆ สมบูรณ์ก็ต้องมีตัวเลขหกหลักครับ เบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วก็เช่นกัน หายากมาก ตัวเลขก็ต้องมีหกหลักเช่นกันครับ เบี้ยแก้สายอ่างทอง เช่น หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ ก็ต้องมีหกหลักเช่นกัน นอกจากนั้นก็ว่ากันตามความหายากหาง่ายลดหลั่นกันลงมา แต่ก็มีสนนราคาสูงทั้งสิ้น และก็หาแท้ๆ ยากนะครับ ต้องเช่าหาจากผู้ที่รู้จริง หรือสืบสายการตกทอดมาครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเบี้ยแก้ยอดนิยม ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/43730684204233_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
ตะกรุดลูกอมโลกธาตุ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ตะกรุดลูกอมโลกธาตุ เป็นตะกรุดที่มีลักษณะสั้นๆ กว่าตะกรุดทั่วๆไป เมื่อม้วนเป็นตะกรุดแล้ว ลักษณะจะกลมๆ เล็กๆ มองดูคล้ายเครื่องรางประเภทลูกอม ซึ่งเป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง จึงมักจะเรียกกันว่าตะกรุดลูกอม ต้นตำรับเท่าที่สืบความได้ก็คือตะกรุดลูกอมของหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว พระคาถาที่ลงในตัวตะกรุดคือพระคาถาหัวใจโลกธาตุ "อิชชันโต จิตโต อิชชันโต โลกะ ธาตุมหิ อัตตะ ภาเวนัง นาทุยิ วาระ วีสะติ สิทธังละอะ" จึงมักเรียกกันว่า ตะกรุดลูกอมโลกธาตุ

หลวงปู่ยิ้ม เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 4 ปีมะโรง พ.ศ.2387 ที่บ้านวังด้ง ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี โยมบิดาชื่อยิ่ง โยมมารดาชื่อเปี่ยม เมื่อท่านอายุครบบวชก็ได้อุปสมบทที่สำนักวัดหนองบัว โดยมีพระอาจารย์กลิ่น เจ้าอาวาสวัดหนองบัว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง วัดเทวสังฆารามกับพระอาจารย์อิน วัดทุ่งสมอ เป็นพระคู่สวดได้รับฉายาว่า "จันทโชติ" เมื่อท่านบวชศึกษา พระธรรมวินัยอยู่ที่วัดหนองบัว 2 พรรษา ท่านก็ได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์แดง ว่าแม่กลองมีพระอาจารย์ที่ทรงกิตติคุณอยู่หลายวัดประกอบด้วยวิชาแขนงต่างๆ ไม่ซ้ำกัน หลวงปู่ยิ้มจึงได้ เดินทางมาที่แม่กลอง มาเรียนกับพระปลัดทิม วัดบางลี่น้อย อ.อัมพวา พระปลัดทิม ท่านเก่งทางด้านทำน้ำมนต์ โภคทรัพย์ ผงเมตตามหานิยม และเชี่ยวชาญทางด้านโหราศาสตร์ ต่อมาจึงได้ไปศึกษากับหลวงพ่อพ่วง วัดลิงโจน หลวงพ่อพ่วงเก่งทางด้านวิชาทำธงกันฟ้าผ่า และลมพายุคลื่นลมในทะเล ชาวทะเลเคารพกันมาก นอกจากนี้ยังมีวิชาลงอักขระหวายขดเป็นรูปวงกลม โยนลงทะเลอาราธนาตักน้ำในวงหวายกลายเป็นน้ำจืดได้ และยังมีวิชาทำลูกอมหมากทุย วิชามนต์จินดามณี เมื่อศึกษาจบแล้วหลวงปู่ยิ้มก็ได้ไปศึกษากับหลวงพ่อกลัด วัดบางพรหม อ.อัมพวา ซึ่งท่านเป็นเยี่ยมทางด้านวิชามหาอุด อยู่ยงคงกระพัน และมหานิยม นอกจากนี้ยังเก่งทางด้านย่นระยะทางและสามารถเดินบนผิวน้ำได้ และหลวงปู่ยิ้มท่านยังเดินทางไปศึกษากับหลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ อ.อัมพวา ซึ่งท่านเก่งทางด้านทำมีดหมอปราบปีศาจ และวิชามหาประสาน วิชาทำเชือกคาด ตลอดจนวิชาแพทย์แผนโบราณอีกด้วย หลังจากเชี่ยวชาญในวิชาของแต่ละอาจารย์แล้ว หลวงปู่ยิ้มก็ยังกลับมาเรียนวิชาต่อกับหลวงปู่กลิ่น พระอุปัชฌาย์ของท่านอีก ซึ่งหลวงปู่กลิ่นโด่งดังทางด้านวิชากำบังกายหายตัว วิชาแหวกน้ำดำดิน

หลวงปู่กลิ่นพิจารณาเห็นว่าหลวงปู่ยิ้มมีวัตรปฏิบัติงดงาม และมีพลังจิตกล้าแกร่ง จึงถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้น หลวงปู่ยิ้มจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองบัวจนกระทั่งหลวงปู่กลิ่นมรณภาพ ท่านจึงได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวสืบแทน ในสมัยที่หลวงปู่ยิ้มเป็นเจ้าอาวาสนั้นชาวบ้านและประชาชนทั่วไป ตลอดจนพระภิกษุสำนักต่างๆ ในภูมิภาคใกล้เคียง ต่างก็แวะเวียนไปนมัสการหลวงปู่ยิ้มและขอเครื่องรางของขลังจากหลวงปู่ยิ้มมิขาดสาย จนถึงเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ท่านยังทรงมานมัสการหลวงปู่ยิ้ม และขอวัตถุมงคลจากหลวงปู่ยิ้มถึง 2 ครั้งด้วยกัน หลวงปู่ยิ้มมรณภาพในปีพ.ศ.2453 สิริอายุได้ 66 ปี พรรษาที่ 46

วัตถุมงคลของหลวงปู่ยิ้ม มีมากมายหลายอย่าง เช่น พระปิดตาพิมพ์ต่างๆ มีดหมอ สิงห์งาแกะ ลูกอม ตะกรุดโทน ตะกรุดลูกอม แหวนพิรอด หวายมงคล พิรอดแขน เชือกคาดเอว และประคำ เป็นต้น เครื่องรางของขลังที่โด่งดังมาก และรู้จักกันมากก็คือ ตะกรุดลูกอมโลกธาตุ ลูกศิษย์ที่รับถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงปู่ยิ้มและสร้างตะกรุดลูกอมโลกธาตุต่อมาที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือหลวงปู่ดี วัดเหนือ หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ เป็นต้น

วันนี้ผมขอนำรูปตะกรุดลูกอมโลกธาตุ เนื้อทองคำของหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 02 มีนาคม 2563 15:32:11
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27911373890108_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
เบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้จะมาพูดกันถึง พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่เพิ่ม) วัดกลางบางแก้วกับวัตถุมงคลของท่าน ถ้าพูดถึงวัดกลางบางแก้ว หลายๆ ท่านก็คงจะรู้จักกันดี และมักจะนึกถึงหลวงปู่บุญ แต่ในวันนี้ผมจะมาพูดถึงหลวงปู่เพิ่ม ศิษย์เอกของหลวงปู่บุญบ้างนะครับ

พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่เพิ่ม ปุณณวสโน) นามเดิมว่า "เพิ่ม" เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2429 ที่ตำบลไทยวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ เกิด โยมมารดาชื่อ วรรณ ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ อายุ 8 ขวบ สืบต่อมาจนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2450 ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ วัดสรรเพชญ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็ได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา และถือได้ว่าท่านเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่บุญมากที่สุด เพราะท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ก็อยู่ปฏิบัติ รับใช้หลวงปู่บุญมาตลอดจนกระทั่งหลวง ปู่บุญมรณภาพ เป็นเวลาถึง 39 ปี ตลอดเวลานั้นท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนเวทวิทยาคมต่างๆ ไว้มากมาย หลวงปู่เพิ่มเป็นพระสงฆ์ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยศีล สมาธิ และปัญญาธรรม เปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรม หมดสิ้นกิเลสทั้งปวง หลวงปู่เป็นพระที่พูดจาไพเราะอ่อนหวาน สำเนียงของท่านนั้นมีแววความเมตตาผสานเอาไว้ ใครได้ฟังแล้วจะรู้สึกชุ่มชื่นใจ ใครๆ ได้สนทนากับท่านแล้วจะรู้สึกเคารพศรัทธาท่านทุกคนไป

หลวงปู่เพิ่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 ปี พ.ศ.2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2483 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี ปี พ.ศ.2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่พระครูพุทธวิถีนายก ปี พ.ศ.2495 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนามเดิม ปี พ.ศ.2503 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญมีราชทินนามว่า พระพุทธวิถีนายก หลวงปู่เพิ่มมรณภาพด้วยโรคชราด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2526 สิริอายุได้ 97 ปี พรรษาที่ 76

หลวงปู่เพิ่มได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดและเบี้ยแก้ นอกจากนี้ ก็ยังมีพระเครื่องอีกหลายอย่าง ปัจจุบัน เบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่มหายากแล้วครับ สนนราคาก็สูงรองมาจากเบี้ยของหลวง ปู่บุญ เบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่มในสมัยก่อนใครอยากได้ก็ต้องไปขอให้ท่านทำให้ และท่านก็เมตตาทำให้ทุกคน แล้วต้องรอมารับอีกครั้งหนึ่ง ส่วนมากจะไปขอให้ท่านทำให้ในช่วงเข้าพรรษา และมารับอีกครั้งหลังจากออกพรรษาแล้ว วันนี้นำเบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์ [/i


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 08 เมษายน 2563 15:48:42

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83885054331686_view_resizing_images_1_320x200.jpg)
ตะกรุดปลอกลูกปืน หลวงตาสิทธิ์

พระครูประทีปปัญญาวุธ หรือหลวงตาสิทธิ์ ปัจจุบันสิริอายุ 63 ปี พรรษา 42 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลละทาย และเจ้าอาวาสวัดบ้านโอ้น ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ

เป็นพระที่สมถะ เรียบง่าย ปฏิบัติชอบเสมอต้นเสมอปลาย เข้าหาสะดวก ทรงวิทยาคม และยังมีความเชี่ยวชาญ ทางโหราศาสตร์ที่ศึกษาจากหลวงปู่เพ็ง จันทรังสี

เกิดเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2500 ที่บ้านยางน้อย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม

เข้าพิธีอุปสมบท เมื่ออายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ ที่พัทธสีมาวัดละทาย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มีพระครูอนุรักษ์กันทรารมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาทั่วประเทศ อาทิ ป่าทางภาคเหนือ มีโอกาสได้กราบนมัสการหลวงปู่แหวน สุจิณโณ และได้รับความเมตตาอบรมสั่งสอนการเจริญภาวนาให้

นอกจากนี้ ยังธุดงค์ข้ามไปยังฝั่งประเทศ สปป.ลาว นาน 3 พรรษา ศึกษาวิทยาคมจากหมอธรรมโต่น ศึกษาตำราของสำเร็จลุน นครจำปาสัก และยังเดินทางไปศึกษาจากหมอธรรมขาว ที่ประเทศกัมพูชา เป็นต้น

เมื่อเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทย ยังได้เข้ากราบสักการะศึกษาเจริญจิตตภาวนากับพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)

ปีพ.ศ.2528 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านโอ้น

สำหรับวัดบ้านโอ้น เป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่ชนบท ยังขาดการพัฒนาในหลายด้าน โดยเฉพาะกุฏิที่พักสงฆ์พระภิกษุ-สามเณร อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม อีกทั้งมีโครงการจัดสร้างสำนักงานเจ้าคณะตำบล แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก

จึงได้หารือจัดสร้างวัตถุมงคล "ตะกรุดปลอกลูกปืน รุ่นแรก" ที่ระลึกที่ร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนสร้างกุฏิที่พักสงฆ์หลังใหม่ และสร้างสำนักงานเจ้าคณะตำบล

ประกอบด้วย 1.ตะกรุดปลอกลูกปืน อุดแผ่นยันต์ทองคำจารมือ ฝังเหล็กไหลโคตรเศรษฐี ผงพุทธคุณ สร้าง 99 ดอก 2.ตะกรุดปลอกลูกปืน ชุดกรรมการ อุดแผ่นยันต์เงินแท้จารมือ 1 ดอก แผ่นยันต์สามกษัตริย์จารมือ 1 ดอก สร้าง 63 ชุด และ 3.ตะกรุดปลอกลูกปืน อุดแผ่นยันต์ทองเหลืองจารมือ ผงเหล็กไหลโคตรเศรษฐี สร้าง 1,999 ดอก

เครื่องรางตะกรุดปลอกลูกปืนรุ่นนี้ ใช้ปลอกกระสุนปืน 2 ปลอกเชื่อมติดกัน ที่บริเวณด้านข้างจะมีอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน สลักชื่อ พระครูประทีปปัญญาวุธ วัดบ้านโอ้น (รุ่นมั่งมี) ไว้อีกด้านหนึ่ง
  ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13287690861357_view_resizing_images_9_320x200.jpg)
ล็อกเกตนั่งหลังเสือ หลวงปู่วัน

หลวงปู่วัน จันทวังโส วัดโนนไทยเจริญ ต.ภูฝ้าย อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดังแห่งแดนอีสานใต้

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 93 ปี

มีนามเดิมว่า วัน ทาประจิตร เกิด เมื่อวันที่ 2 ก.ย.2470 ชาว บ.หนองสิม ต.หนองไฮ อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี บิดามารดาชื่อ นายจันทร์ และนางทองดี ทาประจิตร บุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องร่วมอุทร 6 คน

ช่วงวัยเยาว์หลังจบ ป.4 บิดาเป็นไวยาวัจกรวัด จึงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา

บรรพชาและศึกษาสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี อุปัฏฐากรับใช้นาน 3 ปี ก่อนลาสิกขาช่วยบุพการีทำนา

อายุ 20 ปี อุปสมบทเดินธุดงค์ป่าเขาพบกับพระอาจารย์น้อย วัดถ้ำผาเสด็จ จ.สระบุรี จึงขอศึกษาธรรม จึงเดินธุดงค์ตามป่าตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชา

ขณะธุดงค์ได้พบหลวงปู่สรวง วัดไพรพัฒนา ร่ำเรียนวิชานาน 3 เดือน ธุดงค์ต่อไปประเทศกัมพูชา ร่ำเรียนวิชากับพระเกจิชื่อดังอีกหลายรูป

พ.ศ.2533 เข้าพิธีอุปสมบทอีกรอบ ที่วัดบ้านนานวล อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ จำพรรษาที่วัดบ้านหนองจิก ก่อนกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านโนนไทยเจริญ พัฒนาเจริญรุ่งเรืองสืบมา

เดือนม.ค.2563 คณะลูกศิษย์ "ประมวล วงธรกิตติกุล" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นล็อกเกตรูปเหมือนหลวงปู่วัน รุ่นนั่งหลังเสือเรียกทรัพย์

เพื่อจัดหารายได้สมทบสร้างเจดีย์พระธาตุวัดโนนไทยเจริญ

จัดสร้างล็อกเกตรูปเหมือนฉากรวมทุกสี 9 องค์, ฉากทอง ฉากแดง ชนิดละ 100 องค์, ฉากฟ้าและฉากขาว ชนิดละ 19 องค์ และเสือรุ่นพยัคฆ์ขุนหาญ หล่อช่อทองแดง 9 ตัว, หล่อช่อทองแดงกะไหล่เงิน 9 ตัว, เนื้อเงิน 49 ตัว, เนื้อนวะ 99 ตัว, เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง กะไหล่เงิน ชนิดละ 249 ตัว, เนื้อทองแดงผิวไฟ 604 ตัว

ด้านหน้ามีภาพเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ ห้อยลูกประคำนั่งถือไม้เท้าบนหลังเสือ สองข้างระหว่างหัวไหล่สลักอักขระยันต์กำกับไว้ ด้านข้างซ้ายสลักตัวหนังสือแนวตั้งคำว่า อ.ขุนหาญ ด้านขวาเขียนคำว่า จ.ศรีสะเกษ ด้านล่างสุดสลักคำว่า หลวงปู่วัน จนฺทวํโส

ด้านหลังมีมวลสาร รูปหล่อท้าวเวสสุวัณ ตะกรุด เสือแกะจิ๋วไม้คูนตายพราย

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่วัดวัดโนนไทยเจริญ โดยมี 5 พระเกจิชื่อดัง จ.ศรีสะเกษ นั่งปรกอธิษฐานจิต
  ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42633713574873_view_resizing_images_3_320x200.jpg)
กุมารไข่ซุ้มเรือนแก้ว

วัดเจดีย์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 ต.ฉลอง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช เคยเป็นวัดร้างที่เชื่อกันว่าสร้างมาเป็นเวลานับ 1,000 ปี จนเมื่อประมาณ พ.ศ.2500 มีการบูรณะวัดเจดีย์ขึ้นมาใหม่ และเป็นที่ประดิษฐานของ "พ่อท่าน" พระพุทธรูปเก่าแก่ที่อยู่มาตั้งแต่ยังป็นวัดร้าง

ไอ้ไข่วัดเจดีย์ หรือ ตาไข่วัดเจดีย์ คือรูปไม้แกะสลักของเด็กชายอายุประมาณ 9-10 ขวบ ตั้งอยู่ในศาลาในวัดเจดีย์ เชื่อกันว่าเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ ณ วัดแห่งนี้

เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านตั้งแต่ในละแวกใกล้วัดไปจนถึงต่างจังหวัดในแถบภาคใต้จากศรัทธาที่เชื่อกันว่า "ขอได้ ไหว้รับ" โดยเฉพาะโชคลาภและการค้าขาย

ตำนานไอ้ไข่มีหลายเรื่องด้วยกัน บ้างก็ว่าไอ้ไข่ คือ วิญญาณเด็กที่ติดตามหลวงปู่ทวด เมื่อหลวงปู่ทวดธุดงค์มาถึงวัดร้างแห่งนี้ และรับรู้ด้วยญาณว่าที่แห่งนี้มีทรัพย์สินโบราณฝังอยู่ จึงให้วิญญาณดวงนี้เฝ้าดูแลปกปักรักษาทรัพย์สินของแผ่นดินอยู่ที่วัดแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมา

กล่าวสำหรับวัตถุมงคลไอ้ไข่ รุ่นสั่งให้รวย จัดสร้างเป็นพระเนื้อผงไอ้ไข่ ซุ้มเรือนแก้ว และลูกอมมหาลาภ ฝังตะกรุดทองคำ ประกอบพิธีกรรมตามตำรับกุมารแดนใต้ ที่วัดวังตะวันออก เมืองนครศรีธรรมราช โดยพระคณาจารย์ชื่อดังเมืองใต้เพื่อร่วมบารมีกับไอ้ไข่

เพื่อสร้างสำนักปฏิบัติธรรม เสนาสนะวัตรธรรมธัช อำเภอทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช, เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ กุฏิสงฆ์วัดวังตะวันออก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช, เพื่อมอบทุนการศึกษา นักเรียนเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และเพื่อมอบให้โรงพยาบาลซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์

กุมารไข่ซุ้มเรือนแก้ว สร้างขึ้นจากมวลสารมหาลาภศักดิ์สิทธิ์สายใต้ ว่านมหาลาภ 108 ชนิด ผงศักดิ์สิทธิ์พรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ผงมงคลมหาลาภ หลวงปู่ดู่ ผงแร่เหล็กไหล ผงแร่เหล็กน้ำพี้ บ่อศักดิ์สิทธิ์ จ.อุตรดิตถ์ ผงดินกากยายักษ์ ผงไม้เทพ ทาโร พระธาตุสีวลี และมวลสารมงคลหลวงปู่สรวง หลวงปู่หมุน รวมทั้งมวลสารศักดิ์สิทธิ์มหาลาภจากบูรพาจารย์แดนอีสานใต้ ถูกรวบรวมเพื่อนำมาผสมสร้างกุมารไข่ซุ้มเรือนแก้ว

โดยประกอบพุทธาภิเษกในวันเสาร์ห้า ที่วัดวังตะวันออก จ.นครศรีธรรมราช
    ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 21 เมษายน 2563 12:31:38
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34405762909187_view_resizing_images_2_320x200.jpg)
ตะกรุดหลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวอยุธยาเคารพนับถือมากรูปหนึ่ง ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ล้วนเป็นที่หวงแหนของชาวอยุธยาทั้งสิ้น ในด้านเครื่องรางของขลัง ตะกรุดของหลวงพ่อเทียมก็เป็นตะกรุดที่เป็นที่นิยมมาก ปัจจุบันก็หายากพอสมควรครับ

หลวงพ่อเทียมเป็นชาวบ้านป้อม พระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อปีพ.ศ.2447 บิดาชื่อสุ่น โยมมารดาชื่อเลียบ เมื่ออายุได้ 10 ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระภิกษุมอน ผู้เป็นน้าชาย ที่วัดกษัตราธิราช ต่อมาเมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดกษัตราธิราช เมื่อปี พ.ศ.2467 โดยมีพระครูวินยานุวัติคุณ (มาก) วัดกษัตราธิราช เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์หล่ำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทองดี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้จำพรรษาที่วัดเสนาสนาราม เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม เรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อสี วัดสนามไชย และได้เรียนกับพระอาจารย์จาบ พระอาจารย์เหม็ง วัดประดู่ทรงธรรม หลังจากนั้นได้กลับมาจำพรรษาที่วัดกษัตราธิราช เนื่องจากพระครูวินยานุวัติคุณพระอุปัชฌาย์อาพาธหนัก ท่านได้คอยมารับใช้และปฏิบัติจนกระทั่งพระอุปัชฌาย์มรณภาพ หลวงพ่อเทียมได้จัดการภาระอันเกี่ยวกับงานฌาปนกิจของพระอุปัชฌาย์เรียบร้อยแล้ว ก็ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเขากบนครสวรรค์ และไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสวนหงส์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

ต่อมาชาวบ้านและคณะศิษย์ได้อาราธนาหลวงพ่อเทียมกลับมาจำพรรษาที่วัดกษัตราธิราช และเป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2496 หลังจากที่หลวงพ่อเทียมได้เป็นเจ้าอาวาสแล้ว ท่านก็ได้บูรณะซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดให้เจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด ระหว่างที่ท่านอยู่ที่วัดนั้นชาวบ้านเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็มาขอให้หลวงพ่อช่วยรักษาให้ ท่านมีความรู้เรื่องแพทย์แผนโบราณอยู่แล้วท่านก็ได้ช่วยรักษาให้หายได้ทุกราย นอกจากนั้นชาวบ้านและลูกศิษย์ ก็ยังขออนุญาตหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลอีกหลายอย่าง เช่น พระนาคปรก พระพุทธชินราช รูปเหมือน พระสมเด็จ เหรียญรูปท่าน ตะกรุดต่างๆ

วัตถุมงคลของหลวงพ่อเทียม ชาวบ้านที่นำไปห้อยแล้วมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย บางคนถูกยิงหลายนัดที่หัว แต่ลูกกระสุนมาตกอยู่ที่คอ ไม่ได้รับอันตรายใดๆ เลย เป็นที่โจษจันกันมาก และเสาะหาวัตถุมงคลของหลวงพ่อกันมาก หลวงพ่อเทียมเป็นเจ้าอาวาสจนถึงปี พ.ศ.2522 สิริอายุได้ 75 ปี พรรษาที่ 55 จึงได้มรณภาพ ยังความโศกเศร้าให้แก่ลูกศิษย์และชาวบ้านเป็นอย่างมาก

วัตถุมงคลของหลวงพ่อเทียมทุกรุ่นนิยมเสาะหากันมาก โดยเฉพาะตะกรุดเป็นที่นิยมมาก หลวงพ่อเทียมได้สร้างตะกรุดไว้หลายอย่างเช่น ตะกรุด 4 มหาอำนาจ ตะกรุดรัตนมาลา ตะกรุดมหาระรวย ตะกรุดมหาระงับ และตะกรุดมหาระงับพิสดารยาว 12 นิ้ว ตะกรุดยอดกัณฑ์ไตรปิฎก ตะกรุดทุกรุ่นปัจจุบันหายากและมีของปลอมทำเลียนแบบ เวลาจะเช่าหาก็ต้องดูดีๆ หรือเช่าจากผู้ที่เชื่อถือได้

วันนี้ผมได้นำรูปตะกรุด 4 มหาอำนาจ ของหลวงพ่อเทียมจากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 27 พฤษภาคม 2563 16:09:33
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81874953541490_view_resizing_images_4_320x200.jpg)

กะลาราหูแกะล้านนา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งคือกะลาแกะรูปพระราหู ซึ่งที่เรารู้จักกันดีก็คือกะลาราหูของหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง นครปฐม ซึ่งความจริงแล้วกะลาพระราหูนั้นก็มีหลากหลายอาจารย์ ที่ท่านสร้างไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งอักขระที่ลง จารนั้นจะเป็นตัวหนังสือล้านนาหรือตัวเมืองแทบทั้งสิ้นไม่ว่า จะเป็นของหลวงพ่อน้อย หรืออาจารย์อื่นๆ ก็ตาม ในวันนี้เราก็จะมาคุยกันถึงกะลาแกะราหูของท่านเกจิอาจารย์ล้านนากันบ้าง

การสร้างกะลาราหูนั้น ล้านนามีการสืบทอดต่อกันมาช้านานแต่โบราณ เอกลักษณ์คือจะลงอักขระด้วยตัวหนังสือล้านนา หรือที่เรียกกันว่าตัวเมือง การสร้างกะลาราหูแบบล้านนามีทั้งที่เป็นแบบเดี่ยวและแบบคู่ แบบเดี่ยวมักจะรวมยันต์สุริยะกับจันทรประภาไว้ด้วยกัน ส่วนแบบคู่นั้นจะแยกกะลาฝาหนึ่งเป็นสุริยะและอีกฝาหนึ่งเป็นจันทระ

วัสดุที่นำมาใช้สร้างราหูนั้นจะใช้กะลาตาเดียว คือกะลาโดยปกติทั่วไปจะมีตาอยู่สามตา มีตารูงอก 1 รู และเป็นตาอีก 2 ตาแต่กะลาตาเดียวนั้นมีแค่ 1 รูเท่านั้นกะลาตาเดียวโบราณถือว่าเป็นอาถรรพ์มีฤทธิ์ในตัวเอง เมื่อนำมาทำเป็นเครื่องรางปลุกเสกจะทวีความขลังมากขึ้น และโดยส่วนมากกะลาพระราหูของล้านนามักจะมีการลงรักปิดทองล่องชาด

กะลาราหูล้านนาที่ผมจะพูดถึงวันนี้ ก็คือกะลาราหูของครูบานันตา ท่านเป็นบรมครูในเรื่องการสร้างกะลาราหูของล้านนา โดยท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ ร่วมยุคกับครูบาศรีวิชัย อีกทั้งยังได้เคยถวายราหูให้กับครูบาศรีวิชัยคู่หนึ่งด้วย จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ว่า ครูบานันตาท่านจะทำกะลาแกะรูปราหูนั้น จะปลุกเสกที่กลางแม่น้ำวังบริเวณหน้าวัด สมัยก่อนนั้นแม่น้ำวังจะแห้งแล้งจะมีเกาะกลางแม่น้ำ ท่านครูบานันตาจะทำพิธีแกะพระราหูประมาณ 7 คู่ ตลอดทั้งคืน และจะปลุกเสกกลางแม่น้ำวัง ก่อนที่จะปลุกเสกนั้นจะต้องมีพิธีราชวัติคือการปักธงสี่มุมตั้งเครื่องบายศรี เสร็จแล้วท่านก็จะตรวจดูว่ามีมดแมลงต่างๆ ในบริเวณหรือไม่ ถ้ามีท่านจะรอให้มดแมลงต่างๆ ไปที่อื่นก่อน การปลุกเสกท่านจะทำพิธีปลุกเสกกะลาพระราหูทั้ง 7 คู่ จนกระทั่งถึงรุ่งเช้า จากนั้นท่านจึงจะมอบให้แก่ลูกศิษย์ไว้ใช้ติดตัว

กะลาราหูของล้านนาโดยส่วนใหญ่ จะมีการลงรักปิดทองล่องชาด และก็มีหลายพระอาจารย์ที่สร้างไว้เช่นกัน เช่น ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก พระมหาเมธังกร วัดน้ำคือ จ.แพร่ หลวงพ่อปั้น วัดหอธรรม จ.เชียงใหม่ เป็นต้น ในวันนี้ผมได้นำรูปกะลาราหูแกะของครูบานันตาวัดทุ่งม่านใต้ จ.ลำปาง จากหนังสือตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมกันครับ

ขอขอบคุณ คุณวีระชัย ไชยเจริญ (โจ๊กลำพูน) ที่กรุณามอบข้อมูลครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 10 มิถุนายน 2563 12:45:13
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84529538866546_view_resizing_images_6_320x200.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12238580195440_view_resizing_images_7_320x200.jpg)

ตะกรุดพระเจ้าห้ามโรคเสาร์ ๕ บูรณะวัดป่าช้า สปป.ลาว

วัดธรรมรังสีวนาราม (วัดป่าช้า) ตั้งอยู่บ้านนาคำนนน้อย เมืองสองคอน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศ สปป.ลาว ปัจจุบันมี หลวงปู่สุริมา คัมภีรปัญโญ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด มีพระภิกษุ 2 รูป สามเณร 1 รูปจำพรรษาอยู่ที่นี่

วัดแห่งนี้เดิมเป็นป่าช้าเก่า พื้นที่ของวัดมีความกว้าง 160 เมตร ยาว 200 เมตร ส่วนด้านข้างวัดเป็นป่าช้ามีพื้นที่กว่า 10 ไร่ ประชาชน 4 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านหลักเมือง บ้านนาคำนน บ้านนาคำนนน้อย และบ้านโนนสมบูรณ์ ยังคงใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นป่าช้าเผาศพ นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน โดยใช้วิธีเผาแบบกองฟอน

ประวัติความเป็นมา เมื่อประมาณปี พ.ศ.2529 มีประชาชนจากหลายหมู่บ้าน ออกมาตั้งบ้านเรือนอยู่ตามไร่นา ต่อมากลายเป็นชุมชนเล็กๆ มีบ้านรวมกันกว่า 40 ครัวเรือนจึงยกฐานะขึ้นเป็นหมู่บ้านนาคำนนน้อยดังในปัจจุบัน

ชาวบ้านนาคำนนน้อย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนาเหมือนชาวชนบททั่วไป มีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อตั้งหมู่บ้านเป็นหลักฐานมั่นคงแล้ว ในปี พ.ศ.2540 จึงร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นในส่วนบริเวณป่าช้าเก่า จนแล้วเสร็จสมบูรณ์เป็นศูนย์รวมใจของชุมชน

โดยได้กราบนิมนต์หลวงปู่ตู้ พระเถระที่พุทธศาสนิกชน ในแถบนั้นให้ความเลื่อมใส ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด และท่านได้นำพาชุมชนร่วมกันพัฒนาสร้างถาวรวัตถุในวัด อาทิ กุฏิ ศาลาการเปรียญ ห้องน้ำ เป็นต้น

ตลอดระยะเวลากว่ายี่สิบปี มีเจ้าอาวาสผลัดเปลี่ยนกันมาปกครองหลายรูปจนถึงปี 2559 ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลงอีก ชาวบ้านได้กราบนิมนต์หลวงปู่สุริมา มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสที่วัดนี้ตราบจนปัจจุบัน

หลังก่อตั้งมากว่า 20 ปีผ่านไป ถาวรวัตถุต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมลงด้วยขาดปัจจัยจะบูรณปฏิสังขรณ์

จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.2563 "ญาครูทองคำ สิริเมธี" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในพื้นที่ สปป.ลาว ซึ่งเป็นศิษย์ หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย วัดสุทธาวาสวิปัสสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ได้มาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้เห็นสภาพความทรุดโทรมของวัด จึงมีโครงการจัดสร้างวัตถุมงคลเครื่องราง "ตะกรุดพระเจ้าห้ามโรคเสาร์ ๕" เป็นที่ระลึกและบริจาคทำบุญร่วมกับวัด นอกจากบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุที่ทรุดโทรม ยังสมทบทุนก่อสร้างกำแพงวัดและศาลาการเปรียญ ซึ่งขณะนี้กำลัง อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง โดยพระภิกษุ-สามเณรในวัดร่วมแรงกันลงมือสร้างเอง เพราะไม่มีปัจจัยจ้างช่าง

เครื่องรางตะกรุดพระเจ้าห้ามโรคเสาร์ ๕ ญาครูทองคำ จารอักขระด้วยมือท่านทุกดอก และประกอบพิธีอธิษฐานจิตเดี่ยวในวันเสาร์ 5 ขึ้น 5 ค่ำ ภายในศาลาการเปรียญวัดธรรมรังสีวนาราม โดยญาครูทองคำ ประกอบพิธีอธิษฐานจิตเดี่ยวตลอดคืน จำนวนการสร้างน้อยมากแค่เพียง 108 ดอกเท่านั้น

เครื่องรางตะกรุดรุ่นนี้ จัดสร้างด้วยแผ่นเงินและถักด้วยเชือกสีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนพุทธคุณเด่นรอบด้าน

กล่าวสำหรับ "ญาครูทองคำ สิริเมธี" เป็นพระเถระรุ่นใหม่ในแวดวงคณะสงฆ์ประเทศ สปป.ลาว ถึงแม้อายุและพรรษายังน้อย แต่ก็เป็นพระเกจิอาจารย์ที่พุทธศาสนิกชนในพื้นที่เมืองสองคอน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศ สปป.ลาว ให้ความเลื่อมใสศรัทธาเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์บรรพชาเมื่ออายุเพียง 7 ขวบ

กระทั่งอุปสมบท ศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ใน สปป.ลาว หลายรูป อาทิ หลวงปู่พัตร หลวงปู่ยัง เป็นต้น

เคยไปธุดงค์ที่แขวงสาละวัน นานถึง 6 ปี ต่อมาท่านทราบกิตติศัพท์ของ "หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย" วัดสุทธาวาสวิปัสสนา จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของไทย จึงเดินทางข้ามฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามากราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมกับหลวงพ่อรักษ์ ซึ่งได้รับความเมตตาถ่ายทอดวิชาทำตะกรุดให้

ผู้มีจิตศรัทธาประสงค์ร่วมทำบุญ ติดต่อญาครูทองคำ สิริเมธี ได้ทางเฟซบุ๊ก นักบุญแห่งล้านช้าง 
   ข่าวสดออนไลน์    

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41635155512226_view_resizing_images_5_320x200.jpg)
เครื่องรางไม้แกะหลวงปู่รอด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในอดีต วัตถุมงคลของท่านก็ได้รับความนิยมกันมาก เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนโดยทั่วๆ ไป

หลวงปู่รอดเป็นชาวปทุมธานี มีเชื้อสายรามัญ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2406 โยมบิดาชื่อทองดี โยมมารดาชื่อเกษร เมื่อตอนที่ท่านเด็กๆ ท่านมีร่างกายอ่อนแอขี้โรค บิดา-มารดาจึงได้นำท่านไปถวายเป็นบุตรบุญธรรม ของพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน ซึ่งท่านเป็นพระเถระที่มีเชื้อสายรามัญ และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวรามัญในสมัยนั้น หลังจากที่บิดา-มารดาของหลวงปู่รอดได้ยกท่านให้แก่พระอุปัชฌาย์แคแล้ว ปรากฏว่าหลวงปู่รอดก็เป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายหายจากโรคภัยนานา พระอุปัชฌาย์แคจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "รอด" ตั้งแต่บัดนั้นมา พอท่านอายุได้ 12 ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร อยู่ศึกษาเล่าเรียนกับพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวนจนกระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบางน้ำวน โดยมีพระอุปัชฌาย์แค เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "พุทธสณฺโฑ"

เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้ปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ และศึกษาวิทยาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์แค หลวงปู่รอดเป็นพระที่รักสงบมุ่งปฏิบัติอย่างเคร่งครัด วิชาที่ท่านเรียนกับพระอุปัชฌาย์แคก็คือ เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี วิชาทำธงไม่ให้ฝนตก และป้องกันฟ้าผ่า วิชาเสกของหนักให้เบาดั่งปุยนุ่น ฯลฯ นอกจากท่านจะเรียนวิทยาคมแล้ว ท่านก็ยังเรียนวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย จนเป็นที่ไว้ใจของพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่พระอุปัชฌาย์แคมรณภาพ ท่านก็ได้รับการนิมนต์จากชาวบ้านขอให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาต่อท่านเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงมาช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ นอกจากจะพัฒนาวัดของท่านแล้วท่านยังช่วยเหลือวัดอื่นๆ อีกด้วย เรื่องของการศึกษาท่านก็ได้จัดให้มีการสอนพระปริยัติธรรมและสร้างโรงเรียนประชาบาลให้เด็กๆ ในแถบนั้นได้ศึกษาเล่าเรียนชื่อ "โรงเรียนรอดพิทยาคม" ในปี พ.ศ.2439 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางน้ำวน ปี พ.ศ.2447 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบางโทรัด ปี พ.ศ.2452 ได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2482 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน และเป็นกรรมการศึกษา หลวงปู่รอดมรณภาพในปี พ.ศ.2488 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62

หลวงปู่รอดเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านวิทยาคมมาก ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น เหรียญหล่อเหรียญปั๊มรุ่นแซยิด เหรียญหล่อพิมพ์พนมมือ เหรียญปั๊มพิมพ์เสมาอัลปาก้า เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องรางของขลังของท่านก็มีหลายอย่าง เช่น ตะกรุดโทน มีดหมอ ผ้ายันต์ พิรอดแขน ตลอดจนเครื่องรางไม้แกะ ซึ่งท่านใช้ไม้ขนุนมาแกะเป็นรูปต่างๆ เช่น สิงห์ ชูชก นางกวัก ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ และในวันนี้ผมก็ได้นำสิงห์และชูชกไม้ขนุนแกะมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41281283232900_view_resizing_images_8_320x200.jpg)
เหรียญเวสสุวรรณ-หลวงปู่แผ้ว

หลวงปู่แผ้ว ปวโร พระเกจิชื่อดังแห่งวัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

ได้รับการขนานนามว่า เทพเจ้าแห่งเมืองกำแพงแสน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวอำเภอกำแพงแสนและใกล้เคียง

ปัจจุบัน สิริอายุ 97 ปี พรรษา 77

สร้างคุณูปการสืบสานจรรโลงพระพุทธศาสนาอย่างรอบด้าน อาทิ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ทั้งในเขตอำเภอกำแพงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง ท่านจะอุดหนุนด้วยการสร้างวัตถุมงคลที่ระลึก เพื่อให้ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาได้สมทบทุนปัจจัยนำไปใช้เพื่อการสาธารณประโยชน์

แม้วัยล่วงเลยถึงเกือบร้อยปี แต่ยังคงรับกิจนิมนต์นั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่เป็นประจำ

วิทยาคมอันเข้มขลังที่ใช้นั่งบริกรรมระหว่างนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคล ล้วนแต่เป็นวิทยาคมของหลวงพ่อหว่าง อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพงแสน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกอีกทอดหนึ่ง

ต่อมา ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2551 จนถึงปัจจุบัน

เมื่อคราวอายุครบ 8 รอบ 96 ปี ในปี พ.ศ.2562 สร้างวัตถุมงคล เพื่อนำปัจจัยโดยไม่หักค่าใช้จ่ายเข้าสมทบทุนสร้างอาคารโรงพยาบาลอนุสรณ์ 96 ปี และซื้อเครื่องมือแพทย์มอบให้โรงพยาบาลกำแพงแสน

จัดสร้าง "เหรียญเม็ดแตงท้าวเวสสุวรรณ หลังยันต์สวน"

เหรียญปฐมฤกษ์ ชุดทองคำ สร้างจำนวน 9 ชุด ชุดละ 100,000 บาท เนื้อทองคำจำนวนสร้าง 29 เหรียญ เหรียญละ 40,000 บาท เนื้อเงิน จำนวนสร้าง 1,999 เหรียญ เหรียญละ 1,500 บาท เนื้อชนวน 999 เหรียญ เหรียญละ 800 บาท เนื้อทองฝาบาตร จำนวน 2,999 เหรียญ เหรียญละ 500 บาท และเนื้อทองแดง สร้างจำนวน 4,999 เหรียญ เหรียญละ 100 บาท เพื่อนำปัจจัยมอบให้ ร.พ.นครปฐม

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปนูนท้าวเวสสุวรรณ ยืนถือกระบอง ด้านล่าง เขียนคำว่า "ท้าวเวสสุวรรณ"

ด้านหลังเหรียญ เป็นอักขระยันต์ ด้านบน เขียนคำว่า "หลวงปู่แผ้ว ปวโร" ด้านล่าง เขียนคำว่า "วัดรางหมัน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม"

เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2563 หลวงปู่แผ้ว พร้อมด้วยพระอธิการสมศักดิ์ อินโท (หลวงพี่โกรน) เจ้าอาวาสวัดรางหมัน (วัดประชาราษฎร์บำรุง) จ.นครปฐม พร้อมคณะศิษย์มอบเงินจำนวน 5,000,000 บาท ให้กับศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลนครปฐม นำไปซื้อเครื่องมือแพทย์ สำหรับตรวจภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่ชนิดสูง เพื่อดูแลรักษาประชาชนที่เจ็บป่วย

ติดต่อสอบถามได้ที่ แผนกวัตถุมงคล โทร.08-6757-7280 วัดรางหมัน หรือร่วมทำบุญบูชาวัตถุมงคลรุ่นนี้ โอนบัญชีธนาคารกสิกร เลขที่บัญชี 0133925937 ชื่อ วัดประชาราษฎร์บำรุง (
   ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 29 ตุลาคม 2563 11:55:52
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30677366505066_bud14p1_3_1_640x480_.jpg)
ปลัดขิก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบกันนะครับ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้คนเคารพนับถือกันมาก โดยเฉพาะชาวบ้านและทหารเรือแถบสัตหีบ เสมือนหนึ่งเทพเจ้าแห่งภาคตะวันออกในสมัยนั้น เครื่องรางของขลังของท่านที่มีชื่อเสียงก็คือปลัดขิก กล่าวกันว่าถ้าปลุกปลัดของท่านแล้วปล่อยลงน้ำ จะสามารถวิ่งทวนน้ำได้ทีเดียว

พระครูวรเวทย์มุนี (หลวงพ่ออี๋) ท่านเกิดที่ชลบุรีเมื่อปี พ.ศ.2405 โยมบิดาชื่อกองคำ โยมมารดาชื่อเอียง ในวัยเด็กท่านเป็นเด็กที่มีความฉลาดหลักแหลม และชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอ ผิดกว่าเด็กทั้งหลายในวัยเดียวกัน ต่อมาพออายุได้ 21 ปีท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดอ่างศิลาชลบุรี โดยมีหลวงพ่อจั่น วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า “พุทธสโร” อยู่จำพรรษาที่วัดอ่างศิลา และท่านก็ได้ศึกษาวิชาวิปัสสนาธุระที่สำนักพระอาจารย์แตง วัดอ่างศิลานั่นเอง ท่านจึงพิจารณาเห็นสังขารไม่เที่ยงแท้

เมื่อถึงเวลาออกพรรษาท่านก็เริ่มออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อหาแหล่งอันสงบวิเวกนั่งวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อได้พบกับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านใด หลวงพ่ออี๋ก็จะศึกษาหาความรู้กับพระอาจารย์ท่านนั้น พร้อมทั้งปฏิบัติจนเห็นจริงแล้วก็จะเริ่มธุดงค์ต่อไปเรื่อยๆ บรรดา พระคณาจารย์ของหลวงพ่ออี๋จึงมีมากมาย แต่ที่พอสรุปได้ก็คือ พระอาจารย์แตง วัดอ่างศิลา พระอาจารย์จั่น วัดเสม็ด หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

หลวงพ่ออี๋ยึดการธุดงค์และสันโดษเป็นหลัก จนกระทั่งท่านมีญาณสมาบัติ พลังจิตสูงองค์หนึ่ง ท่านสามารถนำพระเวทมาใช้ได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าท่านจะธุดงค์ไปไหนๆ ก็ตาม ท่านมักจะให้ความเมตตาช่วยเหลือผู้เจ็บไข้ได้ป่วยพร้อมทั้งแสดงธรรมให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังเสมอ จนกระทั่งชื่อเสียงของหลวงพ่อโด่งดังจากปากหนึ่ง ไปอีกปากหนึ่ง

ต่อมาหลวงพ่ออี๋ธุดงค์มาจนถึงอ่าวสัตหีบในราวปี พ.ศ.2450 ณ ที่นั้นเป็นบริเวณที่สงบเงียบพอที่จะยึดเป็นที่ปฏิบัติธรรม หลวงพ่อจึงปักกลดจำวัดที่นั่น พอบรรดาพวกชาวบ้านรู้ข่าวว่าหลวงพ่อมาปักกลดอยู่ต่างก็มานมัสการหลวงพ่ออี๋กันมาก ต่างก็นำอาหารมาถวาย และผู้คนก็เดินทางมานมัสการกันแทบทุกวัน

บรรดาชาวบ้านในแถบนั้นต่างมีความเห็นตรงกันว่าควรนิมนต์หลวงพ่ออี๋ให้สร้างวัด ณ ที่ตรงนั้น เพื่อชาวบ้านจะได้พึ่งบารมีหลวงพ่อ จึงได้พากันนิมนต์หลวงพ่ออี๋ให้อยู่จำพรรษาและสร้างวัดที่ตรงนั้น หลวงพ่ออี๋ก็ไม่ขัดข้อง พวกลูกศิษย์ลูกหาต่างก็ดีอกดีใจ ช่วยกันคนละไม้คนละมือและบริจาคทรัพย์สร้างวัดขึ้น และได้นามวัดต่อมาว่า “วัดสัตหีบ” จนมาถึงทุกวันนี้

ต่อมาในปี พ.ศ.2473 ทางวัดสัตหีบได้กำหนดหล่อพระพุทธรูปพระประธานประจำพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตหลวงพ่อสร้างเหรียญรูปเหมือนของหลวงพ่อขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมสมทบทุนสร้างในครั้งนั้นปัจจุบันได้รับความนิยมสูงมาก หลวงพ่ออี๋ท่านได้อยู่เป็นมิ่งขวัญจนถึงปี พ.ศ.2489 ก็มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 85 ปี พรรษา 64

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์    


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61571684521105_p19190963p1_1_640x480_.jpg)
พญาครุฑเฮง ฮก ลก ซิ่ว

ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 2 ถนนสุขุมวิท ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี จัดสร้างวัตถุมงคลพญาครุฑ “รุ่น เฮง ฮก ลก ซิ่ว” เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบทุนเปลี่ยนสายไฟรอบลานฝึกและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับการฝึก ซึ่งเกิดจากความเสียสละ ความรักความสามัคคีของศิษย์เก่าสถาบันแห่งนี้

วัตถุมงคลพญาครุฑ “รุ่น เฮง ฮก ลก ซิ่ว” ถอดแบบมาจากพญาครุฑไม้พะยุง จากศิลปินผู้สร้างสรรค์ เป็นรูปแบบที่มีเพียงหนึ่งเดียว

ตั้งชื่อและอธิบายความหมายของพญาครุฑองค์นี้ ว่า

“ฮก” มงกุฎปลียอดและเครื่องทรงเป็นเครื่องบ่งบอกของเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ที่ได้จากพระนารายณ์

“ลก” พญาครุฑยืนอยู่บนกองเงินกองทอง บ่งบอกถึงจะมีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาล

“ซิ่ว” รูปกายาที่ล่ำสัน มีสุขภาพแข็งแรง มีอิทธิฤทธิ์ไม่กลัวภยันตรายทั้งปวง มีอายุยืนยาว มือขาวถือดอกบัว หมายถึงผู้เลื่อมใสศรัทธา เป็นผู้สืบสานทำนุบำรุงบวรพระพุทธศาสนา

“เฮง” มือซ้ายถือแก้วสารพัดนึก แค่คิดถึงสิ่งใดก็สมปรารถนา แค่ยามกางปีก ลมเมฆจะพัดพามาซึ่งทรัพย์สมบัติให้มากองรวมกันมากยิ่งๆ ขึ้นไป เปรียบว่าชีวิตเสวยสุขมีเงินทองมาใช้ไม่ขาด สุขสบายไปตลอดชาติ มีครุฑบริวารรายรอบทั้ง 4 ทิศ เปรียบเสมือนว่าไปสถานที่แห่งหนใดจะมีบริวาร มีคนคอยระแวดระวังให้ตลอดเวลา ศัตรูวินาศปราชัยไปเอง

วัตถุมงคลพญาครุฑ รุ่น เฮง ฮก ลก ซิ่ว ได้รับเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ มอบแผ่นจาร ทอง เงิน นาก เพื่อให้เกิดความเป็น สิริมงคล อาทิ แผ่นจาร หลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย, พระมงคลสุทธิคุณ (หลวงปู่ฟูอติภัทโท) วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อเชย ชยธัมโม วัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง, หลวงปู่ฮก รตินธโร วัดมาบลำบิด อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี, หลวงพ่อสิน ภัททาจาโรวัดละหารใหญ่ จ.ระยอง, พระเทพสุทธาจารย์ (อนันต์ กัลยาณวัฑฒโน) เจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย อ.เมือง จ.ชลบุรี

วัตถุมงคลรุ่นดังกล่าว ประกอบด้วย ขนาดบูชา สูง 12 นิ้ว เนื้อปิดทองแท้, เนื้อ 3 กษัตริย์ ฝังพลอย, เนื้อ 3 เค, เนื้อมันปู และเนื้อขันลงหิน

ประกอบพิธีมังคลาภิเษก เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2563 ที่ผ่านมา ที่ศาลาปะรำพิธี ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 2 โดยมีสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธัมมธโช) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เป็นประธานจุดเทียนชัย นั่งปรกอธิษฐานจิตและดับเทียนชัย รวมทั้งยังได้รับเมตตาจาก พระเถรานุเถระ พระเกจิอาจารย์ นั่งปรกอธิษฐานจิต
    ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 01 ธันวาคม 2563 14:49:37
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29278790743814_bud10p1_640x480_.jpg)

เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องเบี้ยแก้ของหลวงพ่อนุ่ม วัดนางในธัมมิการาม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง  ซึ่งหลวงพ่อนุ่มเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัดอ่างทองเช่นกันครับ

พระอุปัชฌาย์นุ่ม ธมฺมาราโม ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2426 อ่อนกว่าหลวงพ่อพัก 1 ปี โยมบิดาของท่านชื่อสอน โยมมารดาชื่อแจ่ม นามสกุลศรแก้วดารา หลวงพ่อนุ่มเกิดที่บ้านสามจุ่น ตำบลวังน้ำชัย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตอนที่ท่านอายุได้ 10 ขวบได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอธิการพ่วง ผู้เป็นพระพี่ชายที่วัดสามจุ่น ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่าน และเมื่ออายุท่านครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดปลายนา ตำบลปลายนา อำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2446

โดยมีพระครูธรรมสารรักษา (อ้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดดี วัดปู่เจ้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจุ่น ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม พรรษาที่ 8 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวง ตำบลศาลเจ้าโรงทอ เพื่อสะดวกในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ไปช่วยก่อสร้างอุโบสถวัดสามจุ่น ประชาชนในท้องที่นั้นเคารพศรัทธาเลื่อมใสช่วยสละปัจจัยในการก่อสร้างพระอุโบสถวัดสามจุ่นจึงสำเร็จด้วยดี เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจุ่นตามเดิม

พอถึงปี พ.ศ.2459 ท่านก็ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงอีก 10 ปี ต่อมาจึงได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนางในธัมมิการาม ตำบลศาลเจ้าโรงทอ อำเภอวิเศษชัยชาญ ในปี พ.ศ.2469 ในสมัยนั้นวัดนางในชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัดนางใน จนเป็นวัดที่พร้อมด้วยเสนาสนะอันสวยงาม เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ถึงปี พ.ศ.2477 ท่านจึงได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ผลงานต่างๆ ของหลวงพ่อมีมากมายหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งในวัดนางในและนอกวัด หลวงพ่อนุ่มปกครองวัดนางในเป็นเวลา 30 ปี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2479 ท่านจึงมรณภาพ สิริอายุได้ 71 ปี พรรษาที่ 51

อนึ่ง งานประจำปีของวัดนางในทุกปี จะจัดงานตรงกับเทศกาลตรุษจีน เป็นงานที่ใหญ่โต ทางวัดเปิดโอกาสให้ประชาชนปิดทองรูปหล่อหลวงพ่อนุ่ม มีประชาชนและชาวอ่างทองไปร่วมงานเป็นหมื่นคนทุกปี เนื่องจากชาวเมืองอ่างทองโดยเฉพาะชาววิเศษชัยชาญเคารพศรัทธาในตัวหลวงพ่อนุ่มมากนั่นเองครับ

ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น เหรียญปั๊ม เหรียญหล่อ พระเนื้อผง พระเนื้อดินเผา และเบี้ยแก้ เป็นต้น วัตถุมงคลทุกชนิดของหลวงพ่อนุ่มล้วนแล้วแต่เป็นที่นิยมเสาะหา และหวงแหนของชาววิเศษชัยชาญ เหรียญรุ่นแรกของท่านนั้นสนนราคาสูง

สำหรับเบี้ยแก้ของท่านนั้นก็เป็นที่นิยมกันมาก เนื่องด้วยมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เบี้ยแก้ของหลวงพ่อนุ่มนั้นท่านได้สร้างไว้ มีทั้งเบี้ยพลู ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับของหลวงพ่อพัก และเบี้ยจั่น ซึ่งเป็นหอยเบี้ยขนาดเล็ก มีสีขาว นิยมให้เด็กและผู้หญิงห้อยคอครับ ลักษณะเบี้ยของหลวงพ่อนุ่มนั้น ถ้าเป็นเบี้ยพลูด้านหลังเบี้ยก็จะเหมือนๆ กับเบี้ยของสายวิเศษฯ อีกหลายองค์ แต่สามารถสังเกตที่ด้านใต้ท้องเบี้ยจะเห็นว่าการอุดชันโรงนั้นจะอุดปิดเกือบเต็มใต้ท้องเบี้ย ส่วนเบี้ยจั่นนั้นก็จะอุดเกือบเต็มเช่นกัน แต่สังเกตดูจะเห็นว่ามีฝ้าขาวๆ ปกคลุมอยู่ เนื่องจากท่านจะปิดทับด้วยกระดาษสาบางๆ อีกทีหนึ่งครับ

วันนี้ก็ได้นำรูปเบี้ยแก้ของหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน มาให้ชมกัน ร่วมทั้งด้านบนและด้านล่างครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 มีนาคม 2564 20:04:35
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48876879943741_1_Copy_.jpg)
เหรียญหมู

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราคุยกันถึงพระเครื่องและเครื่องรางของขลังมาแล้วมากมาย

สำหรับผู้นิยมพระเครื่องนั้นก็ยังเล่นหาสะสมเหรียญที่ระลึกควบคู่กันไปด้วย

วันนี้เรามาคุยกันถึงเหรียญที่ระลึกกันบ้างนะครับ

เหรียญที่ระลึกเป็นเหรียญที่เกี่ยวเนื่อง กับประวัติศาสตร์ที่สร้างในวาระโอกาสต่างๆ มีเกร็ดความรู้ประกอบด้วย และบางเหรียญก็มีสนนราคาสูง นอกจากนี้เหรียญที่ระลึก ยังน่าจะมีพิธีทางศาสนาและปลุกเสกควบคู่ไปด้วย เหรียญที่ระลึกบางเหรียญก็ยัง เกี่ยวเนื่องกับสถานที่สำคัญๆ

วันนี้ผมจะนำเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง หรือที่มักจะเรียกกันว่า “เหรียญหมู” มา คุยกัน

ที่มาของเหรียญนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างเป็น ที่ระลึกในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระชนมพรรษาครบ 50 พรรษา เหรียญนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า “เหรียญหมู”

เนื่องจากเหรียญนี้ด้านหน้าเป็นรูปหมู (อันเป็นปีประสูติ) ยืนแท่นหันหน้าทางซ้ายของเหรียญ ริมขอบมีข้อความว่า “ปีกุญ พ.ศ.๕๖ ของสิ่งนี้เป็น ที่รฤก” “ว่าล่วงมาครบ ๕๐ ปี บริบูรณ์” ด้านหลังกลางเหรียญเป็นรูปจักรี ริมขอบมีข้อความซ้อน 2 แถว ความว่า “ขอเชิญท่านจงจำรูปหมูนี้คือ เสาวภา ซึ่งอุบัติมาเป็นเพื่อน” “ร่วมชาติภพ อันมีใจหวังดีต่อท่านเสมอ” ด้านหลังมีอยู่ 2 แบบ อีกแบบหนึ่งมีข้อความว่า “งานเฉลิมพระชนมพรรษา” “สมเด็จพระศรีพัชรินทรา” “บรมราชินีนาถ” “พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง”

เหรียญนี้มีสร้างเป็นเนื้อทองคำลงยา เงินลงยา ทองคำ และเงิน สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2456

สถานที่อันเกี่ยวเนื่องกับเหรียญที่ระลึกเหรียญนี้ มีอนุสาวรีย์รูปหมู ที่ถนนราชินี ด้านวัดราชประดิษฐ์ ตรงข้ามกระทรวงมหาดไทย คนละฝั่งคลองหลอด ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา องค์สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พร้อมทั้งสร้างเหรียญหมู ในปี พ.ศ.2456

ปัจจุบันมีผู้คนไปกราบสักการะและขอพรกันอยู่เสมอมิได้ขาด สังเกตได้จากดอกไม้ธูปเทียนที่ปรากฏอยู่ที่อนุสาวรีย์ และก็มีผู้คนที่ไปขอโชคลาภและได้สมประสงค์อยู่มากมายครับ

เหรียญหมูปัจจุบันหายากครับ ราคาค่อนข้างสูง ของปลอมเลียนแบบก็มีเช่นกันครับ เนื่องจากมีราคาสูงจึงมีผู้ไม่หวังดีทำปลอมครับ

ครับที่บอกเล่ามาก็เพื่อจะได้ทราบถึงอนุสาวรีย์รูปหมูที่ริมคลองหลอด และเผื่อมีโอกาสผ่านไปทางริมคลองหลอดแถวหน้าวัดราชประดิษฐ์ ก็อย่าลืมแวะไปสักการะขอพรกันครับ

ในวันนี้ผมนำรูปเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ มาให้ชมครับ
… ข่าวสดออนไลน์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36877382422486_1_Copy_.jpg)
บ่วงนาคบาศหลวงพ่อพัฒน์

พญานาค ตามตำนานเผ่าพันธุ์พญามุจลินท์นาคราช หรือ พญานาค 7 เศียร มีนามว่าพญาศรีสัตตนาคราช เป็นหนึ่งในพญานาคผู้มีฤทธิ์เดชและอานุภาพ ในเหล่าพญานาคทั้งปวง เชื่อว่าเป็นกษัตริย์ ฝั่งลาว

ส่วนพญาศรีสุทโธนาคราช (นาคาธิบดีศรีสุทโธ) เชื่อว่าเป็นกษัตริย์พญานาคเป็นใหญ่ในฝั่งผืนน้ำประเทศไทย เป็นพญานาคเศียรเดียว

หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิชื่อดัง วัดพระธาตุมหาชัย จ.นครพนม เล่าว่า พญานาคทั้งสองตนเป็นสหายรักกันมาก พญาศรีสุทโธนาคราช มีนิสัยอ่อนโยนเมตตา ไม่ชอบการต่อสู้ บำเพ็ญศีลบำเพ็ญเพียรปฏิบัติธรรม ที่วัดพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

สำหรับหลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม พระเกจิเรืองวิทยาคมชื่อดัง วัดห้วยด้วน (ธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ ศิษย์ พุทธาคมหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่ออิน วัดหางน้ำสาคร หลวงพ่อหมึก วัดสระทะเล และหลวงพ่อโหมด วัดโคกเดื่อ

มีนามเดิมว่า พัฒน์ ก้อนจันเทศ เกิดเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2465 พื้นเพเป็นชาวบ้านสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ บิดา-มารดาชื่อ นายพุฒและนางแก้ว (สกุลเดิม) ฟุ้งสุข

เข้าพิธีอุปสมบท พ.ศ.2489 ที่พัทธสีมาวัดสระทะเล อ.พยุหะคีรี มีพระธรรมไตรโลกจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อกัน เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระอธิการชั้ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เดือน มิ.ย.2563 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา “ทองอุบล” มณีทอง คำข่อง ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเครื่องรางบ่วงนาคบาศ หลวงพ่อพัฒน์ รุ่นทรัพย์อนันต์

เพื่อจัดหารายได้สมทบสร้างศาลา 100 ปี วัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์

เครื่องรางรุ่นนี้จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ, เนื้อเงินลงยาปล้องพระนาภี สีน้ำเงิน เขียว ทอง ฝังพลอยสีประจำวันเกิด 7 สี ชนิดละ 60, เนื้อเงินลงยาปล้องพระนาภี สีธงชาติ ลุ้นพิเศษติดพลอย 7 สี 7 ประจำวันเกิด 50, เนื้อ 2เค เนื้อ 3เค ลำตัวสีเงิน, สีทอง ติดคริสตัล ชนิดละ 120, เนื้ออัลปาก้า ลงยาเขียว 7 สีติดคริสตัล และเนื้อชนวนลงยาตัวสีดำ ครีบทอง ชนิดละ 120

เนื้อทองทิพย์ลงยาซาติน ติดตาคริสตัล 168, เนื้อทองทิพย์ผิวลำตัวประกายรุ้งไฟ 289, เนื้อทองทิพย์ผิวเงา ลงยาตาแดง 400, เนื้อทองทิพย์ผิวลำตัวประกายรุ้งไฟ คริสตัล ติดตาสีเขียว ฟ้า ม่วง ส้ม ชนิดละ 500 เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2563 ที่ผ่านมา ที่วัดห้วยด้วน มีหลวงพ่อพัฒน์, หลวงปู่บุญหลาย วัดปุดเนียม จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม วัดบ้านแก่ง จ.ปราจีนบุรี นั่งปรกอธิษฐานจิต
… ข่าวสดออนไลน์


หัวข้อ: Re: ‘เบี้ยแก้’ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน - เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 มิถุนายน 2566 14:42:07


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29278790743814_bud10p1_640x480_.jpg)
เบี้ยแก้ หลวงพ่อนุ่ม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91273301260338_1._Copy_.jpg)
หลวงพ่อนุ่ม ธัมมาราโม

‘เบี้ยแก้’ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน พระเกจิดัง จ.อ่างทอง

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2566


“เบี้ยแก้” เป็นเครื่องรางของขลังทำด้วยเบี้ยจั่น ซึ่งเป็นหอยทะเลชนิดหนึ่ง บรรจุปรอทเอาไว้ภายใน แล้วปลุกเสกด้วยอาคม

สร้างมาแต่ครั้งโบราณ มีความเชื่อว่าใช้แก้กันได้สารพัด ป้องกันคุณไสยต่างๆ ป้องกันภูตผีปีศาจ ป้องกันไข้ป่า ป้องกันยาพิษยาสั่ง ป้องกันและแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้

ในด้านร้ายกลับเป็นดี จะมีคุณสมบัติในเรื่องช่วยให้เรื่องร้ายๆ หรือเรื่องที่ไม่ดีต่างๆ ให้กลับกลายเป็นดี จุดสำคัญของคำว่า “เบี้ยแก้” ที่มีความหมายว่า แก้ในสิ่งที่ไม่ดี ให้กลับเป็นดีขึ้นได้

“หลวงพ่อนุ่ม ธัมมาราโม” วัดนางในธัมมิการาม ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัด

สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น เหรียญปั๊ม เหรียญหล่อ พระเนื้อผง พระเนื้อดินเผา เป็นต้น

วัตถุมงคลทุกชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นที่นิยมและเสาะหาของนักสะสมวัตถุมงคล

สำหรับเบี้ยแก้นั้นเป็นที่นิยมกันมากเช่นกัน เนื่องด้วยมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย

เบี้ยแก้ที่ได้จัดสร้างไว้ มีทั้งเบี้ยพลู ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับของหลวงพ่อพัก จันทสุวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ และเบี้ยจั่น ซึ่งเป็นหอยเบี้ยขนาดเล็ก มีสีขาว นิยมให้เด็กและผู้หญิงห้อยคอ

ลักษณะเบี้ยของหลวงพ่อนุ่ม ถ้าเป็นเบี้ยพลูด้านหลังเบี้ย จะเหมือนกับเบี้ยของพระเกจิสายวิเศษชัยชาญอีกหลายรุป ถ้าสังเกตที่ด้านใต้ท้องเบี้ยจะเห็นว่าการอุดชันโรง จะอุดปิดเกือบเต็มใต้ท้องเบี้ย

ส่วนเบี้ยจั่นจะอุดเกือบเต็มเช่นกัน แต่สังเกตดูจะเห็นว่ามีฝ้าขาว ปกคลุมอยู่ เนื่องจาก หลวงพ่อนุ่ม จะปิดทับด้วยกระดาษสาบางๆ อีกทีหนึ่ง

ปัจจุบัน เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่ม หายากยิ่ง

หลวงพ่อนุ่ม หรือพระอุปัชฌาย์นุ่ม เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2426 เกิดที่บ้านสามจุ่น ต.วังน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

ตอนอายุ 10 ขวบ ศึกษาภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอธิการพ่วง ผู้เป็นพระพี่ชายที่วัดสามจุ่น ซึ่งตั้งอยู่ใกล้บ้าน

เมื่ออายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดปลายนา ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2446 มีพระครูธรรมสารรักษา (อ้น) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดดี วัดปู่เจ้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการช้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

อยู่จำพรรษาที่วัดสามจุ่น ศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระอธิการพ่วง ส่วนด้านวิทยาคมต่างๆ รวมถึงการฝึกสมาธิ การฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน เดินทางไปร่ำเรียนกับหลวงพ่ออ้น แห่งวัดดอนบุปผาราม จ.สุพรรณบุรี โดยได้เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อสม แห่งวัดดอนบุปผาราม และจากฆราวาสอีกท่านหนึ่งชื่อว่า อาจารย์เชตุ

พรรษาที่ 8 ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวง ต.ศาลเจ้าโรงทอง เพื่อสะดวกในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ไปช่วยก่อสร้างอุโบสถวัดสามจุ่น

ประชาชนในท้องที่นั้นเลื่อมใสศรัทธา ช่วยสละปัจจัยในการก่อสร้างอุโบสถจนสำเร็จด้วยดี เมื่อสร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจุ่นตามเดิม

กระทั่งปี พ.ศ.2459 วัดหลวง ว่างเจ้าอาวาส ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจอาราธนานิมนต์ให้ไปเป็นเจ้าอาวาส ขณะมีพรรษา 14

ช่วงที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ

จนพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของชาวอำเภอวิเศษชัยชาญ นำโดยนายเผ่า ชัชวาลยางกูร คหบดี และเป็นเจ้าของตลาดสดในอำเภอวิเศษชัยชาญ ต่างเห็นพ้องต้องกัน ควรที่จะอาราธนามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนางในธัมมิการาม ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชุมชนใหญ่ และเป็นศูนย์กลางอำเภออย่างแท้จริง อันจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทางมากราบนมัสการ

ดังนั้น ใน พ.ศ.2469 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนางในธัมมิการาม

วัดนางในธัมมิการาม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองอ่างทอง

ตามประวัติสร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2393 ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดนางใน” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณปี พ.ศ.2453 โดยการบูรณะพัฒนาวัดได้เริ่มจริงจังขึ้นมากในสมัยของพระอุปัชฌาย์นุ่ม เป็นเจ้าอาวาสนับตั้งแต่ พ.ศ.2468 เป็นต้นมา

เกี่ยวกับการศึกษา ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ.2485

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2473 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลศาลเจ้าโรงทอง

พ.ศ.2477 เป็นพระอุปัชฌาย์

ในสมัยนั้นวัดชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์ จนกระทั่งเป็นวัดที่พร้อมด้วยเสนาสนะอันสวยงาม เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้

ผลงานต่างๆ มีมากมายหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งในวัดนางในและนอกวัด

ท่านได้สร้างโรงเรียนประชาบาล วัดนางใน สร้างถนนรอบวัด สร้างสะพานข้ามลำน้ำสามจุ่นเชื่อมระหว่างจังหวัดอ่างทองกับสุพรรณบุรี สร้างโรงเรียนประชาบาลบ้านสามหน่อ ที่สุพรรณบุรี

หลวงพ่อนุ่ม ปกครองวัดนางในเป็นเวลา 30 ปี กระทั่งเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2497 ท่านมรณภาพ สิริอายุ 71 ปี พรรษาที่ 51

ปัจจุบัน วัดนางในธัมมิการามเเละบรรดาศิษย์จัดวันทำบุญประจำปี ตรงกับเทศกาลตรุษจีน เป็นงานที่ใหญ่โต ทางวัดเปิดโอกาสให้ประชาชนปิดทองรูปหล่อหลวงพ่อนุ่ม มีประชาชนและชาวอ่างทองไปร่วมงานทุกปี

แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่ชื่อเสียงเรียงนามยังอยู่ในศรัทธาตราบจนปัจจุบัน •


หัวข้อ: Re: เหรียญหนุมานแบกพระสาวก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 14 มิถุนายน 2566 09:42:01
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41492398579915__cover_2229_696x418_1_Copy_.jpg)

เหรียญหนุมานแบกพระสาวก พระโมคัลลานะ-พระสารีบุตร หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 5 - 11 พฤษภาคม 2566
คอลัมน์   โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2566


พระอุปัชฌาย์คง หรือหลวงพ่อคง ธัมมโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เป็นพระเกจิอาจารย์ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอีกรูปที่วัตรปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาไม่แพ้หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร วัดพวงมาลัย

วัตถุมงคลโดยเฉพาะเหรียญปั๊มรุ่นแรกปี พ.ศ.2484 นับว่ายอดเยี่ยม จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีเหรียญยอดนิยม เหรียญปั๊มอีกเหรียญที่นิยมมากเช่นกัน คือ เหรียญปาดตาล พ.ศ.2486 ก็เป็นเสาะแสวงหา ส่วนประเภทเหรียญหล่อก็เป็นที่นิยมกันมาก เพราะสมัยโบราณคนท้องถิ่นนิยมเหรียญหล่อมากกว่าเหรียญปั๊ม สร้างแจกชาวบ้านและลูกศิษย์อยู่หลายรุ่น ที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง คือ เหรียญหล่อหนุมานแบกพระสาวก สร้างช่วงประมาณปี 2484-2485 ในยุคสงครามอินโดจีน เป็นเนื้อทองผสมแก่ทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้บันทึกไว้

เหรียญหนุมานแบกพระสาวก ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงรี มีรูปพระพุทธเจ้าปางประทานพร มีรูปพระโมคัลลานะ-พระสารีบุตร พระอัครสาวกอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา ด้านล่างลงมามีรูปหนุมานกางแขนแบกพระอัครสาวกไว้อีกที ส่วนพระบาทของพระพุทธองค์ชิดติดกับศีรษะหนุมาน  ด้านหลังเป็นรูปยันต์ เม อะ มะ อุ และยันต์ นะ มะ พะ ทะ เด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด มีประสบการณ์มากมายมาตั้งแต่อดีต

เหรียญหล่อพิมพ์นี้ หลวงพ่อคง เคยปรารภว่า หนุมานเป็นลูกลมและมีอิทธิฤทธิ์มาก  ปัจจุบันหายากพอสมควร สนนราคาค่อนข้างสูง ของปลอมเลียนแบบก็มีอยู่มาก ถ้าจะเช่าหาควรศึกษาให้ดี 



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46758157801296_1._Copy_.jpg)

หลวงพ่อคง ธัมมโชโต เกิดในสกุล จันทร์ประเสิรฐ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2407 ณ ต.บางสำโรง อ.บางคนที จ.สุมทรสงคราม บิดา-มารดา ชื่อ นายเกตุ และนางทองอยู่ จันทร์ประเสิรฐ  เล่ากันว่าท่านเกิดในเรือนแพ ซึ่งมีความเชื่อกันว่า ถ้าใครถือกำเนิดในห้องเล็กที่ใต้เรือนแพ จะต้องเป็นผู้ชายและครองสมณเพศเป็นพระภิกษุตลอดชีวิต โดยบิดา-มารดาซื้อเรือนนี้มาอีกทอดหนึ่ง  พออายุได้ 12 ปี บรรพชาที่วัดเหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ระหว่างเป็นสามเณรมีความสนใจในวิชาเมตตามหานิยม  กระทั่งอายุได้ 19 ปี ลาสิกขาเพื่อไปช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ

ครั้นเมื่อมีอายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนสิงหาคม 2427 มีพระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการจุ้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ธัมมโชโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองในธรรม

จำพรรษาอยู่ที่วัดเหมืองใหม่ คอยอุปัฏฐากรับใช้พระอุปัชฌาย์ ด้วยอุปนิสัยที่รักการศึกษาเล่าเรียน ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางคันถธุระ วิปัสสนาธุระกับพระอุปัชฌาย์เป็นพื้นฐาน ต่อมาได้ไปศึกษากับพระเถระชื่อดังในยุคนั้นอีกหลายรูป

ได้ศึกษาคัมภีร์มูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นตำราเรียนบาลีไวยากรณ์ในสมัยโบราณ กับอาจารย์นก ซึ่งเป็นอุบาสกในละแวกนั้นเป็นเวลา 13 ปี จนมีความคล่องแคล่วสามารถแปลธรรมบทตลอดจนคัมภีร์ต่างๆ ได้

นอกจากนี้ ยังสนใจการศึกษาวิทยาคม โดยร่ำเรียนกับพระเกจิชื่อดัง เริ่มแรกศึกษาคัมภีร์นี้กับพระอาจารย์ด้วง ซึ่งท่านเชี่ยวชาญการลบผงวิเศษ เป็นที่นับถือในสมัยนั้นต่อมาเล่าเรียนกับหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง พระเถระผู้ที่มีวิทยาคมอันแก่กล้า โดยเฉพาะวิชานะปัดตลอด  อีกทั้งยังได้ไปศึกษากับหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก ผู้เชี่ยวชาญในพระกัมมัฏฐาน

หลวงพ่อคง ธัมมโชโต ในพรรษา 19 เกิดอาพาธ จึงหยุดพักผ่อน หันมาสอนสมถะกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานลูกศิษย์ลูกหา  เอาใจใส่การดูแลก่อสร้างเสนาสนะ เนื่องจากมีฝีมือในเชิงช่าง ในเบื้องต้นซ่อมแซมพอไตรที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมให้มีสภาพที่ดีขึ้น พร้อมกันนั้นก็ปั้นพระป่าเลไลย์ด้วยมือ  จนกระทั่งพรรษาที่ 21 ในปี พ.ศ.2448 ชาวบ้านใน ต.บางกะพ้อม อาราธนามาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งในขณะนั้นวัดบางกะพ้อมไม่มีสมภารปกครองวัด และวัดก็อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม ได้ฟื้นฟูบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด ซึ่งชำรุดทรุดโทรม ด้วยท่านมีฝีมือในการพัฒนาเป็นทุนเดิม จึงทำให้การสร้างความเจริญให้แก่วัดสำเร็จลุล่วงในเวลาอันสั้น

พ.ศ.2464 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางกะพ้อม และแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

แม้จะมีภาระงานปกครองวัด แต่ในเดือน 4 ของทุกปี จะไปปักกลดในป่าช้าข้างวัดเป็นเวลาราว 1 เดือน เรียกกันว่า รุกขมูลข้างวัด ชำระจิตใจให้สะอาด หลังจากยุ่งกับเรื่องราวทางโลกเกือบตลอดทั้งปี

ช่วงบั้นปลายชีวิตอาพาธด้วยโรคชรา เนื่องจากมีงานอยู่หลายอย่างต้องทำ ด้วยเป็นกิจของสงฆ์ ทั้งงานการสร้างพระพุทธรูป การสร้างวัตถุมงคล ทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อน

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2486 ขณะนั่งร้านเพื่อตกแต่งพระขนงพระพุทธรูปประธานองค์ใหม่ เมื่อสวมพระเกตุพระประธานแล้วเสร็จ ก็เกิดอาการหน้ามืด คล้ายจะเป็นลม แต่มีสติดี เอามือประสานในอิริยาบถนั่งสมาธิจนหมดลมถึงแก่มรณภาพในอาการอันสงบ

คณะศิษย์เห็นท่านนั่งอยู่นาน จึงประคองร่างลงมาจากนั่งร้าน จึงรู้ว่ามรณภาพไปแล้ว

สิริอายุ 78 ปี พรรษา 58 •


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 14 พฤศจิกายน 2566 16:00:31
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70052078738808__cover_2224_696x418_Copy_.jpg)
เครื่องรางเสือ-งาแกะ หลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน พระเกจิชื่อดังนครสวรรค์

เครื่องรางเสือ-งาแกะ หลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน พระเกจิชื่อดังนครสวรรค์

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 31 มีนาคม - 6 เมษายน 2566
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2566


“พระครูพิสิษฐสมถคุณ” หรือ “หลวงพ่อเฮง คังคสุวัณโณ” วัดเขาดิน อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ พระเกจิชื่อดัง ต้นตำรับเครื่องรางงาแกะอันโด่งดัง พระอาจารย์ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์

เครื่องรางของขลังเป็นของคู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน ชนิดที่เป็นรูปสัตว์ต่างๆ ก็เป็นที่นิยม เช่น เครื่องรางรูปเสือ มีพระเกจิอาจารย์หลายท่านที่จัดสร้างอาทิ เสือของหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน, เสือหลวงพ่อนก วัดสังกะสี

แต่หากเป็นในแถบพื้นที่ จ.นครสวรรค์ คือ “เสืองาแกะ หลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน”

ศึกษาวิทยาการต่างๆ มากมาย ทั้งวิทยาคม วิชาโหราศาสตร์ อีกทั้งแพทย์แผนโบราณ ออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อศึกษาวิปัสสนา และได้พบกับพระเกจิอาจารย์หลายรูปในป่าที่ได้ธุดงค์ไป

ระหว่างทางก็ได้พบกับงากำจัดและงากำจาย งาช้างประเภทนี้ เป็นงาช้างตัวผู้ที่ตกมัน และแทงงาหักปักติดต้นไม้ในป่าบ้าง หักคาตลิ่งน้ำในป่าบ้าง หรือที่ต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงกันเป็นจ่าโขลงแล้วเกิดแตกหักตกหล่นอยู่ในป่าบ้าง จึงได้เก็บรักษาไว้

ต่อมาจึงได้นำมาให้ช่างแกะสลัก เป็นรูปคชสีห์ เสือ หมูโทน ฯลฯ จึงปลุกเสกและมอบให้แก่บรรดาลูกศิษย์ เพื่อไว้คุ้มครองป้องกันตัว

เครื่องรางของขลังรูปสัตว์แกะจากงา เชื่อกันว่ามีพุทธคุณเด่น ด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม

เสืองาแกะ หลวงพ่อเฮง มีอายุการสร้างร่วม 100 ปี เป็นเสือที่มีศิลปะในการแกะ มีตาคล้ายลูกเต๋า บริเวณแผงคอมีเส้นขนเป็นขีดยาว หางพาดหลังมีรอยบั้ง

หายากมากในปัจจุบัน เนื่องจากจำนวนงากำจัดและงากำจายที่ท่านเก็บมาจากในป่า แกะได้จำนวนไม่มาก

ดังนั้น ผู้ที่มีไว้ในครอบครองจึงหวงแหนและเป็นมรดกตกทอดกันต่อมา



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/99224500482281_1._Copy_.jpg)
หลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน

อัตโนประวัติ หลวงพ่อเฮง คังคสุวัณโณ : เกิดเมื่อปี 2402 ที่บ้านมหาโพธิ์ ต.มหาโพธิ์ อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ บิดาชื่อ นายสังข์ มารดาชื่อ นางเปี่ยม หลังเกิดมาครอบครัวก็มีฐานะดีขึ้นตามลำดับ บิดา-มารดาจึงตั้งชื่อให้ว่า “เฮง”

มีนิสัยเมตตาต่อสัตว์และชอบให้ทานแก่สัตว์มาตั้งแต่เด็กๆ ขนาดบิดาให้ไปเฝ้านา เห็นนกมากินข้าวก็ยังไม่ยอมไล่ เพราะถือว่าเป็นการให้อาหารทาน

ในเยาว์วัย เป็นคนที่รักการศึกษา เมื่อมีเวลาว่างจะไปหาหลวงพ่อทับ วัดมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังในสมัยนั้น เพื่อให้สอนวิชาให้ คือ วิชาแพทย์แผนโบราณ คชศาสตร์ และวิทยาคมต่างๆ พออายุได้ 12 ปี บรรพชาที่วัดมหาโพธิ์ใต้ อยู่ได้ 4 ปี ก็ลาสึกออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ

ครั้นอายุครบบวช เมื่อปี พ.ศ.2423 จึงเข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดมหาโพธิ์ใต้ โดยมีพระครูกิ่ม เจ้าอาวาสวัดมหาโพธิ์ใต้ เป็นพระอุปัชฌาย์

ศึกษาพระปริยัติธรรม ตลอดจนโหราศาสตร์ และวิทยาคมต่างๆ อีกมากมายจากพระ อาจารย์กิ่ม ขณะเดียวกัน วัดมหาโพธิ์ใต้ ยังเป็นแหล่งรวบรวมวิชาการและตำราต่างๆ ไว้มากมาย อีกทั้งอุโบสถของวัดก็เป็นแบบมหาอุด ซึ่งเป็นที่ปลุกเสกเครื่องรางของขลังได้ยอดเยี่ยม และมีอายุเก่าแก่กว่า 300 ปี

วัดมหาโพธิ์ใต้ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง จึงมีพระเกจิอาจารย์ที่ออกธุดงค์มาแวะพักอยู่เสมอๆ จึงได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ จากพระเกจิอาจารย์เหล่านั้นไปด้วย

ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปในป่าดงดิบต่างๆ ถึงพม่า เขมร และลาวหลายครั้ง

กลับมาจากธุดงค์พอดีกับทางวัดว่างเจ้าอาวาส ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าอาวาสปกครองวัดมหาโพธิ์ใต้

พ.ศ.2449 เป็นเจ้าอาวาสปกครองถึง 2 วัด คือ วัดมหาโพธิ์ใต้ และวัดเขาดิน ซึ่งอยู่สองฝั่งแม่น้ำปิง ต่อมาได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาดิน เนื่องจากกำลังก่อสร้างศาลาการเปรียญอยู่

มีเหตุการณ์ที่ทำให้เป็นที่เลื่อมใสมาก คือ ได้บอกกับชาวบ้านว่า ให้จัดทำปะรำพิธีต้อนรับที่วัดเขาดิน ชาวบ้านต่างไม่เข้าใจว่าให้สร้างทำไม?

กระทั่งวันที่ 28 สิงหาคม 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จประพาสต้นไปกำแพงเพชร ทางชลมารคได้จอดเรือพระที่นั่งแวะที่วัดเขาดิน โดยไม่มีหมายกำหนดการ และชาวบ้านแถบนั้นไม่มีใครรู้

จดหมายเหตุของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 บันทึกไว้ว่า

“เมื่อมาถึงวัดเขาดินได้ยินเสียงมโหรีและพระสวด เห็นเวลายังวันอยู่จึงได้คิดแวะถ่ายรูป แต่ชายหาดน้ำตื้นเรือใหญ่เข้าไปไม่ถึง ต้องลงเรือเล็กลำเลียงเข้าไปอีก เดินหาดร้อนเหลือกำลังทั้งเวลาก็บ่ายสี่โมงแล้ว ไม่ตั้งใจจะขึ้นเขา แต่ครั้นเข้าถ่ายรูปที่เขาแล้วเห็นวัด วัดตระเตรียมแน่นหนามาก จึงเลยไปถ่ายรูป

ครั้นเข้าไปใกล้ดูคนตะเกียกตะกายกันหนักขึ้น จะต้องยอมขึ้นวัดวัดนี้มีเจ้าอธิการชื่อเฮง รูปพรรณสัณฐานดีกลางคน ไม่หนุ่มไม่แก่ เป็นพระฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่คนจะนับถือมาก เพิ่งมาจากวัดมหาโพธิ์ใต้ที่ฝั่งตรงกันข้ามได้ 2 ปี แต่มีคนแก่สัปปุรุษและชาวบ้านหลายคนมาคอยอธิบายชี้แจงโน้นนี่ เจ้าอธิการว่าได้สร้างศาลาไว้หลังหนึ่งขัดเครื่องมุง จึงให้เงิน 100 บาท ช่วยศาลานั้น แล้วสัปปุรุษทายกชักชวนให้เข้าไปดูในวัด”

พัฒนาวัดเขาดิน จนมีความเจริญรุ่งเรือง เมื่อท่านได้พัฒนาวัดเขาดินแล้ว ท่านยังไปพัฒนาวัดมหาโพธิ์ใต้อีก ในที่สุดชาวบ้านจึงให้ท่านปกครองทั้ง 2 วัด คือ วัดมหาโพธิ์ใต้และวัดเขาดิน ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามฝั่งแม่น้ำถือว่าเป็นวัดพี่วัดน้อง

มรณภาพในเดือน 12 ปี พ.ศ.2485 สิริอายุ 83 ปี พรรษา 63 •



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/29092714231875_2._Copy_.jpg)
หมูทองแดง หลวงปู่เส็ง

เครื่องรางหมูทองแดง หลวงปู่เส็ง จันทรังสี วัดบางนา จ.ปทุมธานี

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 7 - 13 เมษายน 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ.2566


วัดบางนา อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เป็นวัดเก่าแก่ที่ชาวรามัญสร้างขึ้น และเป็นสถานศึกษาแก่บรรดาลูกหลานในย่านนั้น

เดิมอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันตก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดบางนา ต่อมาย้ายร่นลงไปอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมา

ในอดีตมีชื่อเสียง มีคนไปทำบุญที่วัดมากที่สุด เนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่ มีพระไปบวชศึกษาเล่าเรียนมาก ปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างเคร่งครัด ชาวบ้านจึงเลื่อมใสศรัทธา

โดยเฉพาะ “พระครูมงคลธรรมสุนทร” หรือ “หลวงปู่เส็ง จันทรังสี” อดีตเจ้าอาวาสวัดบางนา ถือว่าเป็นพระที่ได้รับสมณศักดิ์รูปแรก และเป็นผู้เริ่มทำพระเครื่องวัตถุมงคลของวัดบางนา จนโด่งดัง

เริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 มีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง

ที่โด่งดังและรู้จักกันมาก คือ หมูทองแดง

มูลเหตุในการสร้าง คือ ในราวปี พ.ศ.2515 มีคนนำหมูตัวหนึ่งไปโยนน้ำ หวังจะให้ตาย เดชะบุญหมูลอยมากับผักตบชวา และมาหยุดอยู่ที่ตรงท่าน้ำวัด มีคนได้ยินเสียงร้องและได้ช่วยชีวิตไว้

จึงเลี้ยงหมูตัวนี้ ชั่วระยะเวลาไม่ถึงปี หมูตัวนี้ก็เติบใหญ่กินนอนอยู่ข้างกุฏิ

ต่อมาในปี พ.ศ.2521 หมูตัวนี้เกิดตาย ญาติโยมจึงช่วยกันนำออกไปจากวัด โดยไม่ได้แจ้งหลวงปู่ จากนั้นก็นำไปแล่เนื้อ แต่ปรากฏว่าแล่ไม่เข้า หมูตัวนี้มีเขี้ยวงอกยาวออกมาและปรากฏว่าเป็นเขี้ยวตัน

หลวงปู่เส็งจึงได้ให้ลูกศิษย์ออกแบบสร้างเครื่องรางรูปหมูทองแดง โดยจารอักขระในแผ่นทองสามกษัตริย์ เป็นชนวนหล่อ เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ประกอบพิธีภายในอุโบสถของวัดบางนา โดยมีพระเกจิอาจารย์ในจังหวัดปทุมธานี 10 รูป นั่งสวดในพิธีกรรม

จากนั้นนำไปปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้ง เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ก็มอบให้ศิษยานุศิษย์และญาติโยมที่มาทำบุญบูชา จนเกิดประสบการณ์ต่างๆ มากมาย

จัดเป็นเครื่องรางยอดนิยมที่ต่างก็เสาะแสวงหา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97664331810341_1._Copy_.jpg)

หลวงปู่เส็ง จันทรังสี ชาติภูมิ เป็นคนพื้นเพละแวกวัด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2444 พ่อเป็นชาวจีนล่องเรือสำเภาจากเมืองจีนมาอยู่ที่สามโคก บิดาชื่อ จู แซ่บุญเซ็ง เป็นชาวจีน มารดาชื่อ เข็ม เชื้อสายรามัญ ครอบครัวมีพี่น้องทั้งหมด 7 คน พี่น้องเสียชีวิตด้วยโรคฝีดาษด้วยกันหมด เหลือเพียงท่านเท่านั้น

บวชเมื่อปี พ.ศ.2465 โดยเจ้าคุณพระรามัญมุนี วัดบางหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบวรธรรมกิจ หรือหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่ทัด ลาหุโล เจ้าอาวาสวัดบางนา มีศักดิ์เป็นน้าชาย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า จันทรังสี

เล่าเรียนอักขระเลขยันต์จากพระอาจารย์ต่างๆ และมีการเรียนภาษาขอมและภาษารามัญ ศึกษาเล่าเรียนทั้งสองภาษาจนแตกฉาน

นอกจากนี้ ยังไปศึกษาวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงปู่เทียน ที่วัดโบสถ์อีกด้วย

มีปฏิปทาในการใฝ่หาวิชาความรู้มาก ใครแนะนำสั่งสอนท่านก็จดจำไว้เป็นอย่างดี หลวงปู่ท่านเชี่ยวชาญด้านภาษาขอมเป็นพิเศษ เรื่องอักขระเลขยันต์ต่างๆ

กระทั่งปี พ.ศ.2486 หลวงปู่ทัด เจ้าอาวาสวัดบางนามรณภาพ จึงได้รับแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาส

ในปี พ.ศ.2487 สามารถสอบนักธรรมชั้นเอก และ พ.ศ.2489 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการ

ให้การศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็บูรณปฏิสังขรณ์วัดจนรุ่งเรือง รับงานการสร้างโบสถ์ต่อจากหลวงปู่ทัด อดีตเจ้าอาวาสที่ทำคั่งค้างไว้จนสำเร็จลุล่วงลงด้วยดี

เป็นพระปฏิบัติมักจะออกธุดงค์ไปปริวาสกรรม ทุกปีมิได้ขาด มีปฏิปทาในทางสมถะ บริกรรมภาวนาเจริญพระคาถาวิชาอาคมต่างๆ

เล่ากันว่าเวลาว่างจากงานที่ต้องกระทำ จะนั่งนับลูกประคำที่คล้องคออยู่ บริกรรมพระคาถาเนืองนิตย์

เป็นสมภารปกครองวัดเรื่อยมาจนกระทั่งอายุ 65 ปี จึงเริ่มทำวัตถุมงคล การทำวัตถุมงคลครั้งแรกนั้นสร้างพระผงสมเด็จ 3 ชั้น รุ่นแรกของวัดบางนา ในปี พ.ศ.2510 หลังจากสร้างพระผงสมเด็จ 3 ชั้นมอบให้ลูกศิษย์ลูกหา

นอกจากนี้ ยังสร้างพระกริ่งรูปเหมือนท่าน มีทั้งแบบหลังตรงและหลังค่อม เนื้อทองแดงผสม สร้างพระปิดตาเนื้อทองเหลืองผสม สร้างเหรียญรูปไข่ รุ่นขี่วัวเนื้อทองแดงผสม สร้างเหรียญจอบรูปเหมือน มีทั้งจอบเล็กและจอบใหญ่ สร้างเหรียญหยดน้ำเนื้อทองแดงผสม สร้างรูปหล่อเนื้อผงปิดทอง

ที่กล่าวมานี้เป็นวัตถุมงคลรุ่นเก่าๆ ที่หลวงปู่สร้างขึ้นมา

วัตรปฏิบัติงดงามเคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นผู้สงบเสงี่ยม พูดน้อย ใจดี มีอะไรแล้วใครขอเป็นต้องให้ผู้นั้นเสมอ เมื่อมีผู้ใดนำปัจจัยสี่มาถวาย มิได้เก็บไว้เป็นส่วนตัวเลย โดยจัดเฉลี่ยให้พระสงฆ์ที่อยู่ในวัด ถ้ามีมากก็จะมอบให้เป็นค่าก่อสร้างถาวรวัตถุ

นำเงินไปสร้างวัดวังหิน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ได้ทำนุบำรุงหมู่กุฏิเสนาสนะวัดบางนาที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น

สาเหตุที่ไปสร้างวัดวังหินอีกแห่งหนึ่งนั้น ก็เนื่องจากท่านเห็นว่าสมัยนั้นชาวบ้านยากจนมาก ถิ่นที่อยู่ก็ทุรกันดารเป็นแหล่งหลบซ่อนของเหล่าเสือปล้น เกรงว่าชาวบ้านและลูกหลานจะมีนิสัยดุร้ายกันไปหมด

วันที่ 21 มกราคม 2531 มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ 87 ปี พรรษา 66 •


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2567 07:59:56
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61770975341399_2._.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29580257708827__cover_2226_696x418_Copy_.jpg)

(https://www.matichonweekly.com/wp-content/uploads/2023/04/2.%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87.jpg)
เครื่องรางลิงไม้แกะสลัก หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว พระเกจิลุ่มน้ำบางปะกง

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14 - 20 เมษายน 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันพฤหัสที่ 13 เมษายน พ.ศ.2566


พระเกจิที่ได้รับการยกย่อง “พระครูพิบูลย์คณารักษ์” หรือ “หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดอุสภาราม (บางวัว) อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง ได้รับความนิยมสะสม ที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ คือ “ลิงแกะ” ที่แกะสลักจากรากต้นรักและรากต้นพุดซ้อน ซึ่งต้องมีเคล็ดลับหรือกรรมวิธีเฉพาะในการขุดรากของต้นไม้ทั้งสองชนิด ดังนี้

1. เวลาขุดรากต้องดูฤกษ์หามยามดี

2. ไม้ที่นำมาแกะตามตำรากล่าวไว้ว่า แกะจากรากต้นรักซ้อนหรือรากต้นพุดซ้อนที่ตัวรากชอนไปทางทิศตะวันออก

3. ผู้ที่ขุดต้องนุ่งขาวห่มขาว และอยู่ในมุมที่ห้ามทับเงาตัวเอง จึงจะเป็นรากที่ใช้ได้

4. ขณะขุดต้องคิดแต่สิ่งที่ดี และภาวนาพระคาถาตลอดเวลาที่ทำการขุด

เริ่มสร้างแจกลูกศิษย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 เป็นต้นมา ในแต่ละครั้งจะทำจำนวนไม่มาก โดยจะให้ลูกศิษย์จำนวน 4-5 คน ช่วยกันแกะ โดยมีรูปแบบเป็นลิงนั่งยอง มีหางพันเป็นฐาน และในมือถืออาวุธ เช่น กระบอง พระขรรค์ เป็นต้น อีกทั้งยังมีแบบไม่ถืออาวุธด้วย

ในส่วนขั้นตอนการปลุกเสก ทำได้เข้มขลัง ด้วยการให้ลูกศิษย์นำศัสตราวุธนานาชนิด นำมากองรวมไว้ในอุโบสถ และนำหนังเสือผืนใหญ่มาห่มทับบนกองอาวุธ ท่านนั่งทับบนหนังเสือ ส่วนลิงที่แกะเอาไว้นำมารวมใส่ไว้ในบาตร ตั้งไว้ด้านหน้า

ร่ำลือกันว่า จะปลุกเสกจนลิงไม้เหล่านั้นกระโดดออกจากบาตรจนหมดทุกตัว เป็นอันเสร็จพิธี

ลิงหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว เชื่อว่ามีพุทธคุณสูงล้ำด้านเมตตามหานิยมและด้านคงกระพันชาตรี

ผู้ที่มีลิงแกะจะใช้คาถาหนุมาน เริ่มจากตั้งนะโม 3 จบ กล่าวพระคาถา ดังนี้ “หนุมานะ นะมะพะทะ” อุปเท่ห์การใช้พระคาถาดังกล่าว คือ ให้เสกตามกำลังวัน เช่น เสาร์ 10 อาทิตย์ 6 จันทร์ 15 อังคาร 8 เป็นต้น



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83559682178828_1._Copy_.jpg)
หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ

เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2420 ที่บ้านบางวัว ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

เข้าวัยการศึกษา บิดามารดานำไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนอยู่กับพระภิกษุที่วัดบางวัว ซึ่งรับการอุปถัมภ์ด้วยดี ยามว่างจะเข้ามาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2440 ที่พัทธสีมาวัดบางวัว มีพระอาจารย์ดิษฐ์ พรหมสโร วัดบางสมัคร ต.บางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์จ่าง วัดบางสมัคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ปลอด วัดบางวัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับนามฉายาว่า คังคสุวัณโณ มีความหมายว่า “ผู้มีจิตชุ่มเย็นเช่นดังแม่น้ำ และแกร่งเช่นดังทองคำ”

อยู่จำพรรษาที่วัดบางวัว ศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นเวลา 2 พรรษา หลังจากนั้น เดินทางเข้ากรุง ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดไตรมิตรวิทยาราม (วัดสามจีน) ในสมัยที่พระครูวิริยกิจจการี หรือหลวงพ่อโม ธัมมสโร ยังมีชีวิต

จากบันทึกที่เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า “ขณะที่มาอยู่ที่วัดไตรมิตรฯ เพียง 1 พรรษา พระอธิการเปีย เจ้าอาวาสวัดบางวัว มรณภาพลง พระภิกษุในวัดและญาติโยม ประชุมปรึกษากัน มีมติให้ไปนิมนต์กลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อไป”

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่อาจขัดศรัทธาและเดินทางมาครองวัดบางวัวตั้งแต่ปี พ.ศ.2443

เมื่อดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เริ่มพัฒนาถาวรวัตถุต่างๆ ในวัด ซึ่งขณะนั้นกำลังชำรุดทรุดโทรม จึงพัฒนาให้ศึกษาพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณร

เคยปรารภให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังเสมอ ว่า “อาจารย์ที่ฉันได้เล่าเรียนวิชามาด้วยกันจริงๆ มีอยู่ 3 องค์ คือ หลวงพ่อดิษฐ์ พรหมสโร วัดบางสมัคร ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเปิ้น วัดบ้านเก่า ต.บ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี และหลวงพ่อเปอะ วัดจวนเขื่อนขันธ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ”

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2443 เป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัว

พ.ศ.2452 เป็นเจ้าคณะตำบลบางวัว

พ.ศ.2463 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2479 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอบางปะกง

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรในราชทินนามที่พระครูพิบูลย์คณารักษ์

ด้านวัตถุมงคล กล่าวขานกันว่า ในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเหรียญดังที่สนนราคาเหรียญค่อนข้างสูง เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงการเหรียญพระคณาจารย์ คือเหรียญหลวงพ่อโสทธร รุ่นปี พ.ศ.2460, เหรียญหลวงคง วัดซำป่างาม และเหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดอุสภาราม

เป็นพระเถราจารย์ที่เคร่งในวัตรปฏิบัติ มีเมตตาจิต และเชี่ยวชาญแตกฉานในทุกสาขาวิชา รวมถึงพุทธาคมต่างๆ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา วัตถุมงคลของท่านล้วนเป็นที่นิยมสะสมทั้งสิ้น ความโดดเด่นเป็นพิเศษและปัจจุบันนับว่าหาดูหาเช่าได้ยากยิ่ง

ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ขณะที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมสวดปาติโมกข์ ตรงกับวันที่ 6 สิงหาคม 2495 สิริอายุ 75 พรรษา 55

ทุกวันนี้ วัตุมงคล โดยเฉพาะเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี พ.ศ.2481 เป็นอีกวัตถุมงคลที่เสาะแสวงหา •


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 01 มีนาคม 2567 14:48:41

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15775052292479__cover_2227_696x418_Copy_.jpg)
ท้าวเวสสุวัณ เจ้าคุณศรี (สนธิ์)

รูปหล่อท้าวเวสสุวัณ ต้นตำรับ ‘เจ้าคุณศรี’ วัดสุทัศนเทพวราราม

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21 - 27 เมษายน 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2566


ช่วงปี พ.ศ.2565-2566 กระแสความนิยมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่โด่งดัง คงไม่พ้น “ท้าวเวสสุวัณ” ผู้ที่มีความศรัทธาไปกราบไหว้ขอพร เชื่อว่าจะบันดาลโชคลาภ ความสำเร็จ รวมถึงปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้หมดไป

กล่าวกันว่า ท้าวเวสสุวัณ ในวัดหลายแห่ง มักจะทำรูปยักษ์ไว้ ซึ่งสร้างไว้เพื่อให้คุ้มครองป้องกันภัยให้กับวัดจากภูตผีปีศาจ จะไม่สามารถเข้ามาในเขตอารามได้

ท้าวเวสสุวัณ ความจริงเป็นเทพองค์หนึ่งที่คุ้มครองรักษาด้านทิศเหนือ ในทางศาสานาพราหมณ์ ถือว่าเป็นหนึ่งในจตุโลกบาลทั้ง 4 องค์ ซึ่งสถิตอยู่บนโลกเป็นผู้รักษาโลกตามทิศต่างๆ ถือกระบองเป็นอาวุธ ถือกันว่าเป็นหัวหน้าหรือเป็นนายของภูตผี ยักษ์ และอมนุษย์ทั้งปวง

ท้าวเวสสุวัณเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งเรื่องเครื่องรางของขลัง โดยถือเอากระบองของท้าวเวสสุวัณมาเป็นเคล็ดเพื่อให้ภูตผีปีศาจกลัวเกรง

“พระมงคลราชมุนี (สนธิ์ ยติธโร)” หรือที่ผู้คนส่วนใหญ่เรียกขานในสมณศักดิ์เดิมว่า “ท่านเจ้าคุณศรี”

เป็นศิษย์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม

สร้างวัตถุมงคลพระเครื่อง และพระกริ่งรุ่นต่างๆ ไว้หลายรุ่น ล้วนได้รับความนิยมกว้างขวาง

กล่าวกันว่า ในสำนักวัดสุทัศน์ เคยสร้างรูปหล่อท้าวเวสสุวัณองค์เล็ก โดยท่านเจ้าคุณศรี

มูลเหตุการสร้างท้าวเวสสุวัณ เนื่องมาจากครั้งที่ท่านเจ้าคุณศรีไปก่อสร้างอุโบสถวัดศรีจอมทอง (วัดตีนโนน) อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้บ้านเกิด ชาวบ้านแถวนั้นมักจะปรารภเสมอว่า ในพื้นที่นี้มีภูตผีปีศาจมาหลอกหลอนรบกวนอยู่เสมอ จนไม่เป็นอันทำงานทำการ

“ท่านเจ้าคุณศรี” จึงสร้างรูปท้าวเวสสุวัณ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2492 มอบให้แก่ช่างก่อสร้างและชาวบ้าน หลังจากนำรูปหล่อท้าวเวสสุวัณมาแจกแล้ว เรื่องผีปีศาจก็เงียบหายไป เป็นการบำรุงขวัญให้แก่ชาวบ้านแถบนั้นได้เป็นอย่างดี

ท้าวเวสสุวัณที่ “ท่านเจ้าคุณศรี” สร้างนั้น สร้างเป็นรูปท้าวเวสสุวัณยืนถือกระบอง เนื้อเป็นเนื้อทองผสม วรรณะออกเหลืองอมเขียว โดยนำเอาชนวนที่ได้จากการเทพระกริ่งรุ่นก่อนๆ มาผสมลงไปในเนื้อโลหะ เป็นการหล่อแบบเทตัน

เท่าที่พบมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่ฐานมีผ้าทิพย์ กับแบบที่ฐานไม่มีผ้าทิพย์ แบบฐานมีผ้าทิพย์จะมีค่านิยมสูงกว่าแบบฐานไม่มีผ้าทิพย์

เชื่อว่าพุทธคุณเด่นในทุกด้าน โดยเฉพาะปราบภูตผีปีศาจ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57614365095893_1._Copy_.jpg)

พระมงคลราชมุนี (สนธ์ ยติธโร)

นามเดิม สนธิ์ พงศ์กระวี เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2446 ที่ ต.บ้านป่าหวาย กิ่ง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี บิดา-มารดาชื่อ นายสุขและนาง ทองดี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 11 คน

อายุ 11 ขวบ บิดาถึงแก่กรรม มารดาจึงนำมาฝากไว้กับพระภิกษุบุญ (หลวงตาบุญ) ซึ่งเป็นญาติที่วัดสุทัศนเทพวราราม คณะ 15 เพื่อให้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม ตามคตินิยมที่เล่าเรียนกันในยุคนั้น คือ เริ่มเรียนบาลีไวยากรณ์

อายุ 13 ปี บรรพชาโดยมีพระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปฺผโก) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูปลัดสุวัฒนพรหมจริยคุณ ฐานานุกรมในพระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์

ศึกษาพระปริยัติธรรมจนถึงเดือนเมษายน 2459 ย้ายไปอยู่ที่วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ในความปกครองของพระพุทธิวิถีนายก เจ้าคณะจังหวัดนครปฐมขณะนั้น

จนถึง พ.ศ.2460 จึงย้ายกลับมาอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ ตามเดิม พ.ศ.2464 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.2465 สอบได้นักธรรมชั้นโท

พ.ศ.2466 เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (แพ ติสสเทโว) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปฺผโก) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระครูปลัดสุวัฒนพรหมจริยคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระเทพเวที และยังอยู่ที่วัดสุทัศน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับนามฉายาว่า ยติธโร

พ.ศ.2468 สอบเปรียญธรรมได้ 4 ประโยค พร้อมทั้งได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูธรรมรักขิต ฐานานุกรมในสมเด็จพระพุฒาจารย์

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2469 เวลาประมาณ 04.00 น.เศษ ประสบเคราะห์กรรมอย่างหนัก ถูกคนวิกลจริตฟันด้วยมีดตอก ได้รับบาดเจ็บตามร่างกายหลายแห่ง

ผลจากการถูกทำร้ายอย่างสาหัสในคราวนั้น ทำให้อาพาธหนักไปประมาณ 3 เดือน เมื่อหายแล้วจึงกลับคืนอยู่ที่วัดสุทัศน์ตามเดิม และเมื่อมาถึงได้ขึ้นไปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทโว) ทรงรับสั่งว่า “อ๋อ! มหาสนธิ์ เธอหายดีแล้วหรือ” แล้วท่านก็รับสั่งเรียกให้เข้าไปใกล้ ทรงจับศีรษะไว้แล้วทรงเป่าให้ 3 ครั้ง พร้อมกับทรงรับสั่งต่อไปอีกว่า “ตั้งแต่นี้ต่อไปจะไม่มีอะไรอีกแล้ว”

พ.ศ.2474 สอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค

รับตำแหน่งฐานานุกรมต่างๆ ตามลำดับ พร้อมกับได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งโหรศาสตร์ ไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา ฯลฯ

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2481 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีสัจจญาณมุนี

วันที่ 8 ธันวาคม 2493 ได้เลื่อนจากตำแหน่งพระราชาคณะสามัญ ขึ้นเป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชที่ พระมงคลราชมุนี

เป็นผู้เรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ หลายแขนง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) พระอุปัชฌาย์ ทรงประสาทศิลปวิทยาการ คือ ตำรับและพิธีกรรมการสร้างพระพุทธรูปและพระกริ่ง ให้แก่ท่านจนหมดสิ้น

สืบสานพิธีกรรมต่างๆ เหล่านี้ในเวลาต่อมาอย่างถูกต้องตามตำราทุกประการ

เมื่อว่างในด้านปริยัติศึกษา กลับเพิ่มภารกิจในหน้าที่ของพระมหาเถราจารย์ ได้รับนิมนต์ให้ไปประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นเนืองนิตย์ รวมทั้งต้องนั่งปรกเข้าพิธีสวดพุทธาภิเษก นั่งปรกไปจนกว่าจะได้ฤกษ์เททอง การประกอบพิธีเช่นนี้แต่ละครั้งทำให้สุขภาพค่อยๆ เสื่อมทรุดลงทุกที

ท้ายที่สุด เมื่ออาการอาพาธกำเริบ ทรุดหนัก จนสุดที่คณะแพทย์จะเยียวยา

คืนวันที่ 16 มกราคม 2495 เวลา 21.20 น. จึงมรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ •


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 24 มีนาคม 2567 19:28:56
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29685316814316__cover_2235_Copy_.jpg)
เบี้ยแก้ หลวงพ่อพัก

‘เบี้ยแก้’ หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ พระเกจิชื่อดัง จ.อ่างทอง

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 16 - 22 มิถุนายน 2566
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2566


หลวงพ่อพัก (ภักตร์) จันทสุวัณโณ วัดโบสถ์ จ.อ่างทอง พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มีเมตตาธรรม มักน้อย ถือสันโดษ มีพลังจิตที่เข้มขลัง วิทยาคมแก่กล้า นามขจรขจายไปแสนไกล

สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ เช่น เหรียญรูปเหมือน มีทั้งเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง แต่ค่อนข้างหายากและสนนราคาสูง

เครื่องรางของขลัง ทั้งสิงห์งาแกะ, ตะกรุดโทน, ตะโพนงาแกะ ฯลฯ ก็ล้วนเป็นที่นิยม

ส่วนเบี้ยแก้ ก็เป็นสุดยอดเครื่องรางของขลัง ครบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านป้องกันคุณไสย ยาสั่ง แก้เหตุร้ายให้กลายเป็นดี แคล้วคลาดปลอดภัย และคงกระพันชาตรี

สร้างจากตัวหอยเบี้ยบรรจุปรอท โดยนำเบี้ยใส่พานทองเหลือง นำปรอทใส่ขวดเล็ก ตั้งอยู่อีกพานหนึ่งวางคู่กันใช้หญ้าคาแห้งทำเป็นสะพานต่อจากขวดปรอทถึงตัวเบี้ย บริกรรมคาถาให้ปรอทไหลเข้าไปอยู่ในตัวเบี้ยจนเต็ม อุดด้วยชันโรงใต้ดิน แล้วปิดทับด้วยตะกรุดที่ม้วนแล้วทุบให้แบน แปะทับบนชันโรง

เมื่อรวบรวมเบี้ยแก้ได้จำนวนหนึ่ง ก็จะให้ลุงประเสริฐ มาลัยนาค เป็นผู้ถักเชือกหุ้ม

การถักเชือกนั้น จะถักเปิดด้านบนของตัวเบี้ยให้เห็นลายหอยเบี้ย ลายถักส่วนมาก ถักเป็นลายกระสอบ วนเป็นเส้นรูปไข่ตามตัวเบี้ย

การถักห่วงจะถักเป็นด้านหลังสองห่วง หรือด้านบนหูเดียวก็มี บางตัวอาจจะมีที่ทำเป็นตะกรุดร้อยเชือกคาดเอวก็มี มีทั้งจุ่มรักและไม่จุ่มรักก็มี

หลังจากถักเชือกเสร็จ หลวงพ่อพักจะปลุกเสกซ้ำอีกครั้งหนึ่งแล้วมอบแก่ให้แก่ลูกศิษย์ลูกหา

เครื่องรางของขลังล้วนเป็นของดีที่น่าเสาะหาไว้คุ้มครอง ครอบคลุมในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เบี้ยแก้ นับเป็นสิ่งดีเยี่ยม ซึ่งคนเก่าแก่หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในอดีตจนถึงปัจจุบันของเมืองอ่างทอง ล้วนต้องการหามาติดตัว

มีความเชื่อว่าเพื่อจะได้เติบโตในหน้าที่การงานให้ดียิ่งขึ้นไป



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17735594511032_1._Copy_.jpg)
หลวงพ่อพัก จันทสุวัณโณ

อัตโนประวัติ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2425 ตรงกับวันอังคาร เดือน 11 ปีมะเมีย ที่บ้านท่ามะขาม ต.ดอนปรู อ.วิเศษชัยชาญ (ปัจจุบัน ขึ้นกับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี) บิดาชื่อ นายถมยา เป็นชาวบ้านอบทม มารดาชื่อ นางพุก เป็นชาวจังหวัดปทุมธานี มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3

ในวัยเด็ก บิดานำไปฝากเรียนหนังสือกับหลวงปู่เถื่อน เจ้าอาวาสวัดหลวง ต.ยี่ล้น อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง จนอ่านออกเขียนได้

อายุครบ 20 ปี ในปี พ.ศ.2445 เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดอ้อย อ.วิเศษชัยชาญ มีหลวงปู่เถื่อน วัดหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า จันทสุวัณโณ

หลังอุปสมบท ติดตามพระรัตนมุนี ซึ่งเป็นพระพี่ชายมาอยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาคันถธุระและวิปัสสนากัมมัฏฐาน อยู่ที่สำนักพระอาจารย์อูฐ โดยเรียนอยู่ 9 พรรษา จนเชี่ยวชาญทั้งคันถธุระ โดยเฉพาะทางด้านวิปัสสนา

ต่อมาในปี พ.ศ.2454 หลวงปู่เนตร เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ มรณภาพ ด้วยความศรัทธาของญาติโยมและชาวบ้านแถบบ้านอบทม และบ้านโคกจันทร์จึงได้นิมนต์ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโบสถ์ และในปี พ.ศ.2455 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส

หลวงพ่อพัก มีอาจารย์อยู่หลายท่าน ได้แก่ อาจารย์วาต ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ชาย อยู่ที่บ้านท่ามะขาม ต.ดอนปรู อดีตเคยเป็นขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่แถวชานเมืองอ่างทองและสุพรรณบุรี และเป็นผู้ที่มีวิทยาคมสูง

ต่อมาได้เลิกราในอาชีพทุจริตโดยสิ้นเชิง แล้วหันเข้าสู่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เคยถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อพักจนหมดสิ้น โดยเฉพาะวิชาเบี้ยแก้ ตะกรุดโทน ผ้ายันต์แดง ฯลฯ

พระอาจารย์อีกรูปหนึ่ง คือ หลวงปู่บุญ จากแขวงเมืองพิจิตร ซึ่งได้ธุดงค์ล่องมาถึงแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จนได้มาพบกับหลวงพ่อพัก และถ่ายทอดวิชาปลุกเสกเขี้ยวเสือแกะ งาช้างแกะ และวิทยาคมต่างๆ ให้

นอกจากนี้ ยังมีสหธรรมิก คือ พระครูวิตถารสมณกิจ (คำ ปัญญาสาโร) วัดโพธิ์ปล้ำ, พระอุปัชฌาย์ (ซำ) วัดตลาดใหม่, หลวงปู่ภู วัดดอนรัก, หลวงปู่จัน วัดนาคู เป็นต้น

ห้วงเวลาที่เป็นเจ้าอาวาส ได้สร้างความเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนเดินทางมาทําบุญกับวัดเป็นประจํา ด้วยต่างมาขอให้หลวงพ่อพัก ช่วยเป็นที่พึ่งในเรื่องต่างๆ เช่น ในเรื่องค้าขาย หรือขอเครื่องรางของขลังไว้คุ้มครองตัว โดยสมัยนั้นท่านมีชื่อเสียงและมีลูกศิษย์เป็นจํานวนมาก

หลวงพ่อพัก ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อปี พ.ศ.2461 เป็นเจ้าคณะตำบล พ.ศ.2462 ตามลำดับ

มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อราวปี พ.ศ.2485 ตรงกับปีจอ สิริอายุ 60 ปี พรรษา 40

สร้างความเศร้าสลดแก่คณะศิษย์และผู้ที่ศรัทธาเป็นอย่างมาก •


หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 07 เมษายน 2567 13:24:37
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45328430872824_672_1_728x520_Copy_.jpg)
พระปิดตา พ่อท่านมุ่ย

พระปิดตาน้ำนมควาย วัตถุมงคล ‘พ่อท่านมุ่ย’ พระเกจิชื่อดังปากพนัง

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 19 - 25 มกราคม 2567
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ.2567


“พ่อท่านมุ่ย จันทสุวัณโณ” หรือ “พระครูนิโครธจรรยานุยุต” วัดป่าระกำเหนือ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม ชาวใต้ให้ความเลื่อมใสศรัทธา

หนึ่งในพระเกจิอาจารย์ในพิธีพุทธาภิเษก จตุคามรามเทพรุ่นแรก ปี 2530 พระเครื่องและวัตถุมงคลแต่ละชนิดแต่ละรุ่น เช่น พระปิดตา พระพิมพ์ประทานพร ลูกอม จะปลุกเสกเดี่ยว

พระเครื่องที่โด่งดัง เป็นที่นิยมกันมากและหายาก คือ “พระปิดตาน้ำนมควาย” สร้างจำนวนไม่มาก

รุ่นแรก มีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ ซึ่งพิมพ์ใหญ่จะเป็นที่นิยมมากกว่า

พระปิดตาน้ำนมควายรุ่นแรกนั้น กรรมวิธีการสร้างพิถีพิถัน และสร้างยากมาก ขั้นแรก จะทำแท่งดินสอที่จะนำมาเขียนอักขระ โดยทำจากข้าวเม่าตำผสมกับสมุนไพรและมวลสารต่างๆ ตามตำราโบราณ ปั้นเป็นแท่งใช้เขียนอักขระลงบนกระดานชนวนพร้อมบริกรรมคาถาไปด้วย แล้วลงอักขระทำผงปถมังด้วยนะต่างๆ จนผงทะลุกระดานชนวน

ในครั้งแรกๆ ผงหายไปหมด จึงไปปรึกษากับพ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก ซึ่งเป็นสหธรรมิก ได้รับคำแนะนำให้ใช้ใบกล้วยทองลงอักขระยันต์ผูกธรณีรองรับ จึงจะได้ผงปถมัง จากนั้นก็เพียรสร้างผงวิเศษเป็นเวลาหลายปีเก็บไว้ ก่อนจะนำมาสร้างเป็นพระเครื่อง โดยใช้น้ำนมควายเป็นตัวประสาน

พ่อท่านมุ่ยบอกว่า “น้ำนมวัว น้ำนมควาย ชุบเลี้ยงคนบนโลกนี้มานานแล้ว เป็นสัตว์ที่มีคุณต่อมนุษย์”

ด้วยเหตุที่น้ำนมควาย มีความข้นกว่าน้ำนมวัว จึงใช้น้ำนมควายเป็นตัวประสาน ขั้นตอนในการเคี่ยวน้ำนมควายนั้นก็พิถีพิถัน ขั้นแรกก็ต้องนำก้อนเส้าที่จะใช้ทำเตามาลงอักขระบนก้อนเส้าทุกก้อน ฟืนก็ใช้ไม้มงคลต่างๆ และลงอักขระทุกท่อน ภาชนะที่จะใช้เคี่ยวน้ำนมควาย แม้แต่ไม้พายที่จะใช้ในการเคี่ยวก็ต้องลงอักขระทุกชิ้น ขณะเวลาเคี่ยวก็ต้องบริกรรมคาถาตลอดการเคี่ยวจนเสร็จ

เมื่อน้ำนมควายข้นดีแล้ว จึงนำมาคลุกเคล้ากับผงปถมังที่เขียนไว้ โดยมิได้ผสมปูนหรือสิ่งอื่นใดเลย เป็นเนื้อผงปถมังล้วน เมื่อเหนียวดีแล้ว จากนั้นจะกดลงบนพิมพ์ และตกแต่งที่ด้านหลังทุกองค์ ทุกขั้นตอนจะทำผู้เดียวตลอดทุกองค์ หลังจากนั้นจึงมาทาแล็กเกอร์บ้าง เชลแล็กบ้าง ในส่วนนี้มีลูกศิษย์มาช่วยทา

หลังจากนั้นจะนำพระไปปลุกเสกเดี่ยวเป็นเวลานาน ส่วนมากก็จะตลอดช่วงเข้าพรรษา แล้วจึงนำมาแจก

จัดเป็นพระปิดตาที่หายาก เนื่องด้วยจำนวนการสร้างที่น้อย



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85902689811256_671_1_Copy_.jpg)
พ่อท่านมุ่ย จันทสุวัณโณ

มีนามเดิม มุ่ย ทองอุ่น เกิดเมื่อวันอังคารที่ 4 เมษายน 2442 ที่บ้านป่าระกำ หมู่ที่ 6 ต.ป่าระกำ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช บิดา-มารดาชื่อ นายทองเสน และนางคงแก้ว ทองอุ่น

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2462 ที่วัดป่าระกำเหนือ อ.ปากพนัง และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูนิโครธจรรยานุยุต เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2498 และในปี พ.ศ.2477 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าระกำเหนือ และเจ้าคณะตำบลป่าระกำ ในปีเดียวกัน

ศึกษาด้านวิปัสสนาธุระกับอาจารย์จืด และอาจารย์ศักดิ์ วัดถ้ำเขาพลู อ.ปะทิว จ.ชุมพร ออกธุดงค์ในป่าลึก แถบจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และราชบุรี เป็นเวลาหลายปี ร่วมกับหลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นสหธรรมิกที่รักใคร่นับถือกันมาก

เป็นพระวิปัสสนาธุระ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นเลิศ นอกจากนั้น ยังมีความรู้ด้านต่างๆ อีกมาก เป็นหมอยาสมุนไพร เป็นผู้รู้เวทมนตร์คาถา เป็นพระนักเทศน์ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เคารพนับถือของคนทั่วไป

เป็นพระเถระที่มากด้วยเมตตาบารมี ประพฤติพรหมจรรย์มั่นคงยาวนานปี ศีลาจารวัตรเรียบร้อย เป็นที่เคารพนับถือ เป็นพระสุปฏิปันโนอีกรูปของนครศรีธรรมราช มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนทุกระดับชั้น

กล่าวสำหรับคลองใหม่พ่อท่านมุ่ย เป็นคลองขุดอยู่ในพื้นที่ตำบลชะเมา เป็นคลองที่ขุดเชื่อมระหว่างคลองชะเมาที่บ้านโอขี้นาก เชื่อมกับคลองค้อที่บ้านหัวสวน เริ่มขุดเมื่อ พ.ศ.2495 และขุดเสร็จเมื่อ พ.ศ.2497 มีความยาวประมาณ 4 กิโลเมตร ผู้ดำเนินการขุดคลองนี้ คือหลวงพ่อมุ่ยนั่นเอง

ขุดโดยใช้แรงงานคน ส่วนมากเป็นคนในพื้นที่ตำบลชะเมา ต.เกาะทวด อ.ปากพนัง และ ต.เชียรเขา อ.เชียรใหญ่ มีกำนันและผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้รับผิดชอบออกปากคนในหมู่บ้านไปขุด เริ่มแรกคลองมีขนาดกว้าง 2 เมตร ลึก 1 เมตร คนทั่วไปเรียกชื่อคลองนี้ว่า “คลองใหม่พ่อท่านมุ่ย” ตามชื่อของผู้ดำเนินการขุด

คลองใหม่พ่อท่านมุ่ย มีประโยชน์ในด้านคมนาคมระหว่างคลองค้อกับคลองชะเมา แต่เดิมนั้นการเดินทางจากคลองค้อไปคลองชะเมาต้องไปออกทางบ้านเกาะแก ตำบลชะเมา คลองใหม่พ่อท่านมุ่ยจึงช่วยย่นระยะทาง และช่วยให้การเดินทางได้สะดวกรวดเร็วขึ้น สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปบ้านหัวสะพานชะเมา บ้านเสาธง ในหน้าน้ำชาวบ้านเข้าไปหาไม้ในป่าพรุ และล่องแพมาทางคลองนี้ และยังมีประโยชน์ด้านการเกษตรกรรม มีน้ำใช้ เพื่อการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะเพื่อการทำนา เพราะทั้งสองฝั่งคลองนี้เป็นพื้นที่นาทั้งหมด

คลองใหม่พ่อท่านมุ่ยนี้ บ่งบอกถึงวิสัยทัศน์พระนักพัฒนา ผู้นำและบารมีอย่างแท้จริง เป็นคลองประวัติศาสตร์ที่น่าภาคภูมิใจ

มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2535 เวลา 04.46 น. สิริอายุ 93 ปี 1 เดือน 18 วัน พรรษา 73 •



หัวข้อ: Re: เครื่องรางของขลัง
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 25 เมษายน 2567 13:31:31
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/95086295695768_12_Copy_.jpg)
เหรียญหล่อนารายณ์ทรงครุฑ หลวงปู่เพิ่ม (หน้า)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70821098321013_13_Copy_.jpg)
เหรียญหล่อนารายณ์ทรงครุฑ หลวงปู่เพิ่ม (หลัง)

เหรียญนารายณ์ทรงครุฑ มงคล ‘หลวงปู่เพิ่ม วัดแค’ พระเกจิพระนครศรีอยุธยา

ที่มา - คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 18 - 24 สิงหาคม 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2566


“วัดแค” หรือ “วัดร่างแค” หรือ “วัดท่าแค” เดิมชื่อ “วัดราชานุวาส” ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดเก่าแก่โบราณ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น

เว็บไซต์ของกรมศิลปากร ลงเรื่องราววัดแค ไว้ใน “อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา” ตอนหนึ่งว่า

“วัดแค เป็นวัดค่อนข้างใหญ่ มีความสำคัญมาก เป็นศูนย์กลางของชุมชนใหญ่ และคงจะมีความสำคัญมาโดยตลอด จนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.2310 วัดแคจึงถูกทิ้งให้รกร้างปรักหักพังเรื่อยมา จนถึง พ.ศ.2542 กรมศิลปากรได้เข้าไปดำเนินการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี ทำให้ได้เห็นรูปแบบศิลปะของโบราณสถาน โบราณวัตถุของวัดแค ซึ่งสามารถกำหนดอายุการสร้างและบูรณะวัดแคในสมัยอยุธยา”

อีกตอนหนึ่งของเว็บไซต์กรมศิลปากร ลงไว้ว่า… “วัดแคแห่งนี้มีตำนานเล่าว่า เคยเป็นที่พักอาศัยของ หลวงพ่อทวด วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เมื่อครั้งเดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยา เพื่อศึกษาพระอภิธรรมที่วัดลุมพลีนาวาส…”

“หลวงพ่อทวดเป็นพระภิกษุที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการพระราชทานที่กัลปนาแก่หัวเมืองพะโคะ ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ และเป็นภิกษุผู้มีอิทธิปาฏิหาริย์อภิญญาแก่กล้า จนได้สมญานามว่า ‘หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด’ และยังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ อีกด้วย”

ย้อนไปเมื่อประมาณ พ.ศ.2480 มีพระเกจิอาจารย์ผู้เคร่งครัดและแก่กล้าในญาณสมาบัติรูปหนึ่ง ซึ่งชาวเมืองกรุงเก่ารู้จักกันเป็นอย่างดี คือ หลวงปู่เพิ่ม ฐิติญาโณ พระผู้สมถะไม่ยินดียินร้ายในลาภยศสรรเสริญ วัตถุมงคลที่สร้างมีประสบการณ์มากมาย

ที่ได้รับความนิยม “เหรียญหล่อพระนารายณ์ทรงครุฑ”

สำหรับการสร้างวัตถุมงคลนั้น ครั้งแรกไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าสร้างขึ้นตอนไหน แต่คาดว่าราว พ.ศ.2490 เนื่องจากแจกชาวบ้านในปีนั้นเป็นครั้งแรก

วัตถุมงคลนี้ คือ พระนารายณ์ทรงครุฑ ขนาดสูงประมาณ 2 นิ้ว กว้างประมาณ 1.2 นิ้ว เนื้อโลหะผสม เทหล่อแบบโบราณ

ด้านหน้าเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ด้านหลังเป็นยันต์ตรีนิสิงเห มีอุณาโลม 3 ตัวบนหัวยันต์ จำนวนสร้างคาดว่าคงไม่เกิน 1,000 องค์

ชาวบ้านเล่าว่า ในการสร้างพระเครื่อง หลวงปู่เพิ่ม จะแกะแม่พิมพ์เอง และทำทุกอย่างด้วยตัวท่านเอง เมื่อสร้างเสร็จแล้วท่านจะแจกให้ลูกศิษย์ และผู้ที่เคารพนับถือทุกคนที่ไปกราบท่าน ทำให้พระรุ่นนี้หมดไปในเวลาอันรวดเร็ว

วัตถุมงคลไม่เคยนำออกให้เช่า มีแต่แจกเท่านั้น

ปัจจุบัน พระนารายณ์ทรงครุฑรุ่นนี้ หายากมาก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26193871307704_1._Copy_.jpg)
หลวงปู่เพิ่ม ฐิติญาโณ  

อัตโนประวัติ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2424 ที่บ้านคลองทราย ต.หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ คุณพระปริญญา เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จ.พระนครศรีอยุธยา มารดาชื่อ เต่า

ในวัยเด็กท่านศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่าน และช่วยทางบ้าน ซึ่งมีฐานะดี เมื่อถึงวัยเกณฑ์ทหาร ท่านก็เข้ารับเลือกเป็นทหารอยู่ 7 ปี หลังจากนั้น เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดสระเกศ กทม. ได้รับฉายาว่า ฐิติญาโณ ต่อมาท่านได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดแค

เป็นพระที่สมถะ เคร่งครัดอยู่ในพระธรรมวินัย กิจวัตรของท่าน คือ วิปัสนากัมมัฏฐานทุกวัน ภายในวัดมีต้นตะเคียนเต็มไปหมด และร่ำลือกันว่ามีผีดุ บ้างก็ว่าชาวบ้านเคยถูกหลอกหลอน

วัดแคเป็นที่สงบวิเวก เป็นที่พอใจของหลวงปู่เพิ่ม และท่านฉันอาหารเพียงมื้อเดียวเท่านั้น

มีอยู่ครั้งหนึ่ง นั่งสมาธิอยู่ที่ในกุฏิ และถอดกายทิพย์ไปยืนอยู่ที่ศาลาท่าน้ำ ในตอนเช้ามืด มีแม่ค้าขายผักพายเรือผ่านมาเห็นท่านเข้า ก็ยกมือไหว้และเอ่ยถามว่าจะออกรับบาตรหรือเจ้าคะ

ท่านก็ไม่ตอบอะไรแต่วักน้ำสาดหัวเรือและโบกมือไล่ให้ไป แม่ค้าคนนั้นก็รีบไปตลาด ปรากฏว่าผักที่แกนำมาขาย ขายดี ผักหมดในเวลารวดเร็ว ยังไม่สว่างก็หมดแล้ว

จากนั้นแม่ค้าคนนั้นก็เลยแวะซื้อหวย ก.ข. พอตอนสายหวยออกก็ถูกหวยอีก

จึงซื้อของเพื่อจะนำมาถวาย พอมาถึงวัดก็สอบถามถึงหลวงปู่เพิ่ม พระในวัดก็บอกว่า หลวงปู่ยังไม่ได้ออกมาจากกุฏิเลยตั้งแต่เช้า แม่ค้าก็บอกว่าเมื่อเช้ามืดเจอหลวงปู่ที่ท่าน้ำ พระที่วัดก็ยืนยันว่ายังไม่ได้ออกจากกุฏิเลย และเห็นนั่งสมาธิอยู่ในกุฏิตั้งแต่ตี 4 ยังไม่ได้ไปไหน แม่ค้าจึงมองเข้าไปในกุฏิเห็นนั่งสมาธิหลับตาอยู่

หลวงปู่เพิ่มลืมตาขึ้นและถามแม่ค้าว่า “ถูกหวยมาละซี” และท่านก็บอกต่อว่า “ทีหลังอย่าไปเล่นหวยอีกนะ คราวนี้เรามีโชคก็ควรจะพอ ข้าวของที่เอามาก็ให้เอาไปฝากลูกหลานที่บ้านเถอะ เอาก๋วยเตี๋ยวแห้งไว้ห่อเดียวพอ”

แม่ค้าก็แปลกใจ เพราได้ซื้อก๋วยเตี๋ยวแห้งมาถวายหลวงปู่ด้วยพอดี แล้วรู้ได้อย่างไร

ต่อมา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบล และได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ มีผู้มาขอบวชด้วยเป็นจำนวนมาก

มรณภาพลงเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2504 สิริอายุ 80 ปี •