[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 20 พฤษภาคม 2557 14:09:46



หัวข้อ: บ้านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ "ถ้าไม่มีศรีประจันต์ อาตมภาพก็เกิดมีขึ้นไม่ได้.."
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 พฤษภาคม 2557 14:09:46
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/67165733998020_1_1.JPG)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

"ถ้าไม่มีศรีประจันต์ อาตมภาพก็เกิดมีขึ้นไม่ได้"
พระพรหมคุณาภรณ์


"... ตั้งแต่ตัวเองที่เกิดมา มีกำเนิด ก็โดยมีโยมบิดา โยมมารดา ตลอดจนบรรพบุรุษชาวศรีประจันต์สืบๆ มา

อนึ่ง ศรีประจันต์นี้ก็กินขอบเขตไปกว้างขวาง คลุมถึงดอนเจดีย์ด้วย เพราะแต่ก่อนนี้ ดอนเจดีย์อยู่ในอำเภอศรีประจันต์ แล้วจึงแยกออกไปตั้งเป็นอีกอำเภอหนึ่ง  

ต่อจากนั้น เมื่ออาตมาโตขึ้น ก็ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนอนุบาลคุณครูเฉลียว ต่อมาโตขึ้นอีกหน่อย ก็ไปเรียนประถมหนึ่งถึงประถมสี่ที่โรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์

โรงเรียนชัยศรีประชาราษฎร์นี้ ไม่ทราบว่าปัจจุบันยังคงชื่ออยู่หรือเปล่าก็คือโรงเรียนวัดยางนั่นเอง

เมื่อเรียนที่โรงเรียนชัยศรีประชาราษฎร์จบแล้ว ก็ไปเรียนมัธยมในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ ก็จึงมีส่วนร่วมให้อาตมามีชีวิตเจริญงอกงามขึ้นมาด้วย จากนั้น กลับจากกรุงเทพฯ ก็มาบวช เริ่มชีวิตบรรพชิต เป็นสามเณรที่วัดบ้านกร่าง โดยหลวงพ่อเจ้าคุณเมธีธรรมสารเป็นอุปัชฌาย์ ตอนนั้นท่านยังเป็นพระครูอยู่

ได้นักธรรมตรีในปีแรกแล้ว ก็ไปเรียนต่อที่วัดประสาททอง ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี สอบนักธรรมโท และฝึกวิปัสสนาแล้ว จะตามอาจารย์ที่ชวนไปอยู่ในสำนักวิปัสสนา โยมก็เลยยั้งไว้และพาเข้ากรุงเทพฯ ไปเรียนปริยัติต่อ โดยอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ ที่หลวงพ่อเจ้าคุณเทพคุณาธารเป็นเจ้าอาวาส อยู่กับท่านพระครูปลัดสมัย กิตฺติทตฺโต แล้วก็เรื่อยมาอย่างนี้ ไม่ต้องเล่ารายละเอียด

รวมความแล้ว ที่มาเป็นอย่างนี้ ก็เป็นอันว่าต้องอาศัยคุณความดีของท่านผู้มีพระคุณทั้งหลายมากมาย ตั้งแต่ญาติพี่น้อง วงศ์ตระกูล ไปจนกระทั่งชาวท้องถิ่น และครูบาอาจารย์

เพราะฉะนั้น ที่อาตมภาพได้เกิดมาจนเป็นอย่างนี้ได้ พูดรวบรัดว่า ก็ได้อาศัยชาวศรีประจันต์เป็นที่เริ่มต้นนั่นเอง จึงบอกว่าเป็นเรื่องเนื่องกัน เป็นอันว่า เมื่อมองตามเหตุผลในแง่นี้แล้ว ก็เท่ากับว่า อาตมาเป็นผลผลิตอันหนึ่งของศรีประจันต์ หรือเป็นผลผลิตของสุพรรณบุรี และในที่สุดก็เป็นผลผลิตของประเทศไทยด้วย

ในเมื่อเป็นผลผลิต ผู้ที่ผลิตก็ต้องมีบทบาทสำคัญ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ลืมให้ความสำคัญแก่ผู้ผลิต ดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนหลักกตัญญูกตเวทีไว้ เพื่อเราจะได้ไม่ลืมตัวว่า ผลผลิตที่เกิดมี ต้องมีบุพการีเริ่มมา เมื่อจัดงานให้แก่ลูกหลาน ก็เป็นอันว่า ต้องนึกถึงบุพการีผู้ให้กำเนิด จนกระทั่ง ปู่ ย่า ตา ยาย ตลอดถึงบรรพบุรุษทั้งหลายด้วย..."


มงคลวารสรณีย์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
พิธีเปิด ชาติภูมิสถาน ป.อ. ปยุตฺโต และ มูลนิธิชาติภูมิ ป.อ. ปยุตฺโต
อำเภอศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
๑๒ มกราคม ๒๕๕๐


ศาสตราจารย์พิเศษ พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านเจ้าคุณพระมหาประยุทธ์ ประยุตฺโต นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ วันแรม ๗ ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ณ บ้านตลาดใต้ ฝั่งตะวันออกแม่น้ำท่าจีน อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นบุตรสุดท้องในจำนวน ๖ คนของบิดาสำราญ-มารดา ชุนกี อาชีพค้าผ้า โยมบิดามารดาบ่มเพาะให้มีความเป็นผู้นำ มีเหตุผล รักความสงบ เคร่งครัดในระเบียบวินัย มีความมุ่งมั่น เสียสละ รู้จักให้อภัย และกล้าหาญ

พ.ศ. ๒๔๘๘ เข้าเรียนโรงเรียนชัยศรีประชาราษฎร์ จบชั้นประถมปีที่ ๔ เรียนต่อโรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ ได้รับทุนเรียนดีของกระทรวงศึกษาธิการจนถึงชั้นมัธยม ๓ โดยแวะเวียนกลับบ้านเกิดเสมอ เพื่อสอนภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ศีลธรรม และความรู้ทั่วไปแก่เด็กๆ ระหว่างนั้นป่วยเป็นโรคทางเดินอาหาร โยมบิดาจึงนำไปบวชเป็นสามเณรที่วัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม ๙ ประโยค

พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นนาคหลวงอุปสมบทในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช วัดเบญจมบพิตรทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา ปยุตฺโต มีความหมายว่า ผู้เชี่ยวชาญวิทยาการ ปีต่อมารับปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีรุ่งขึ้นสอบได้วิชาชุดครู พ.ม.

เป็นอาจารย์ เป็นผู้ช่วยเลขาธิการ และรองเลขาธิการมหาวิทยาลัย ได้ปรับปรุงระเบียบแบบแผนพัฒนาหลักสูตร และโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และอื่นๆ มากมาย กระทั่งอาพาธด้วยโรคกล้ามเนื้อแขนอักเสบเพราะทำงานหนัก ขณะเดียวกันยังเดินทางบรรยายธรรม เป็นอาจารย์สอน ปาฐกถาทั้งในและต่างประเทศจนสายเสียงอักเสบ เมื่อแพทย์สั่งห้ามพูด ก็หันมาใช้กระดานแม่เหล็กเขียนตอบ ทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาต่อไป

งานนิพนธ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษกว่า ๓๐๐ ชิ้น ได้รับการยอมรับว่าดีเยี่ยมตามมาตรฐานงานวิชาการ และยังประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์ อาทิ พุทธธรรม, พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม, ธรรมนูญชีวิต, Thai Buddhism in the Buddhist World, นิติศาสตร์แนวพุทธ เป็นต้น เป็นที่ปรึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ในการสร้างพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์สำเร็จสมบูรณ์ฉบับแรกของโลก เอื้อประโยชน์ต่อพุทธศึกษาให้เป็นไปโดยสะดวกและถูกต้อง

นอกจากปริญญาดุษฎีบัณฑิตที่สถาบันการศึกษาต่างๆ ถวาย ท่านได้รับการประกาศเกียรติคุณในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา รางวัลวรรณกรรมประเภทร้อยแก้ว (งานนิพนธ์พุทธธรรม) รับพระราชทานโล่รางวัลมหิดลวรานุสรณ์ รางวัลสังข์เงิน รางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพองค์การยูเนสโก เป็นอาทิ

ได้รับการถวายตำแหน่งเมธาจารย์ เป็นพระนักวิชาการ เป็นปราชญ์พุทธศาสตร์สายเถรวาท มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนายิ่ง ราชทินนามเดิม พระธรรมปิฎก ประกาศคุณสมบัติพระนักการศึกษา อันเป็นงานที่ทำต่อเนื่องมาทั้งชีวิต ปัจจุบันในราชทินนามพระพรหมคุณาภรณ์ รองสมเด็จพระราชคณะ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม

• ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันการศึกษา ๑๒ สถาบัน ดังนี้
   ๑) พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕
   ๒) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙
   ๓) ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาหลักสูตรและการสอน) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๙
   ๔) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์-การสอน) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๐
   ๕) อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๑
   ๖) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาภาษาศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๑
   ๗) การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญาการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๓๓
   ๘) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๓๖
   ๙) ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๓๗
  ๑๐) ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์ จากนวนาลันทามหาวิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย พ.ศ. ๒๕๓๘
  ๑๑) อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จริยศาสตร์ศึกษา) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๘
  ๑๒) วิทยาศาสตร์ดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๔๑

เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๗ และเป็นเจ้าอาวาส วัดพระพิเรนทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๙ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗

• ประกาศเกียรติคุณและรางวัล

   พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ในการฉลอง ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์
   พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับรางวัลวรรณกรรมชั้นที่ ๑ ประเภทร้อยแก้ว สำหรับงานนิพนธ์พุทธธรรม จากมูลนิธิธนาคาร กรุงเทพฯ
   พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานโล่รางวัล มหิดลวรานุสรณ์
   พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับโล่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อการศึกษา ในวาระครบรอบ ๒๐ ปี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
   พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ สังข์เงิน สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา
   พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การ ยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)
   พ.ศ. ๒๕๓๘ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกาศเชิดชูเกียรติเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม
   พ.ศ.๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย ถวายรางวัล TTF Award สาขาสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา สำหรับผลงานทางวิชาการดีเด่น หนังสือ การพัฒนาที่ยั่งยืน
   พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาพุทธศาสนา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

• สมณศักดิ์
   พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศรีวิสุทธิโมลี
   พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรมุนี
   พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเวที
   พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปิฎก อดุลญาณนายก ปาพจนดิลกนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

• งานเผยแพร่พระพุทธศาสนา
งานเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระธรรมปิฎกปรากฏในหลายลักษณะ ทั้งในด้านการสอน การบรรยาย การปาฐกถา การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการแสดงพระธรรมเทศนา
   พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๗ สอนในแผนกบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
   พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๗ สอนในชั้นปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่างนั้น บางปี บรรยายที่ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และในโครงการศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยมหิดล
   พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๗ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการ และต่อมาเป็น รองเลขาธิการมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
   พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๙ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์
   พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม จนปัจจุบัน

• ท่านได้รับอาราธนาไปสอนวิชาการทางพระพุทธศาสนา ณ มหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศหลายครั้ง อาทิ
   - University Museum, University of Pennsylvania ใน พ.ศ. ๒๕๑๕
   - Swarthmore College, Pennsylvania ใน พ.ศ. ๒๕๑๙
   - และ Harvard University ใน พ.ศ. ๒๕๒๔

• และเป็นพระสงฆ์ไทย ที่ได้รับการระบุอาราธนาแสดงปาฐกถาในที่ประชุมนานาชาติ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศหลายครั้ง เช่น
   - ปาฐกถาในการประชุม The International Conference on Higher Education and the Promotion of Peace เรื่อง Buddhism and Peace ซึ่งจัดขึ้นที่ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ เมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
   - บรรยายในการประชุม Buddhistic Knowledge Exchange Programme in Honour of His Majesty the King of Thailand
     เรื่อง Identity of Buddhism ซึ่งจัดโดยองค์การ พุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) เมื่อ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๐
   - ปาฐกถาในการประชุม The Sixth Asian Workshop on Child and Adolescent Development เรื่อง Influence of Western & Asian Thought on Human Culture Development เมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๓
   - ได้รับนิมนต์ให้จัดทำสารบรรยายสำคัญ เรื่อง A Buddhist Solution for the Twenty-first Century ในการประชุมสภาศาสนาโลก (Parliament of the World's Religions) ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา เมื่อ ๔ กันยายน ๒๕๓๖

• งานนิพนธ์ ในลักษณะตำรา เอกสารทางวิชาการและหนังสืออธิบายธรรมทั่วๆ ไป เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในวงวิชาการ มีจำนวนมากกว่า ๒๒๗ เรื่อง เช่น พุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์: ฉบับประมวลธรรม พจนานุกรมพุทธศาสน์: ฉบับประมวลศัพท์ ธรรมนูญชีวิต การศึกษาของคณะสงฆ์: ปัญหาที่รอทางออก การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย Thai Buddhism in the Buddhist World ทางสายอิสรภาพของการศึกษาไทย Buddhist Economics พุทธศาสนาในฐานะเป็น รากฐานของวิทยาศาสตร์ นิติศาสตร์แนวพุทธ เป็นต้น

นอกจากนั้น ได้รับนิมนต์เป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการสร้างพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์สำเร็จสมบูรณ์เป็นฉบับแรกของโลก ทำให้การศึกษาค้นคว้าหลัก คำสอน ของพระพุทธศาสนาเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ
...ข้อมูลจาก นสพ.ข่าวสด และเว็บไซต์ฟังธรรม


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81040510659416_3.JPG)
สามเณรประยุทธ์ อารยางกูร ขณะอ่านหนังสืออยู่บนเตียงนอน
ในกุฏิที่วัดปราสาททอง ปีพุทธศักราช ๒๔๙๕
(พระภิกษุท่านหนึ่งแอบถ่ายภาพและมอบให้)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72234841808676_4.JPG)
สามเณรประยุทธ์ อารยางกูร เมื่อบวชมาแล้วได้ ๑ พรรษา
(ช่วงต่อที่อยู่วัดบ้านกร่าง กับ วัดปราสาททอง จ.สุพรรณบุรี)
ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ หรือ ๒๔๙๕

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44798992243077_5.JPG)
สามเณรประยุทธ์ อารยางกูร ถ่ายภาพกับพัด ป.ธ.๙

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/17401590074101_6.JPG)
ภาพพระราชทาน พิธีอุปสมบท ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
๒๔ กรกฎาคม ๒๕๐๔

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32371308778722_7.JPG)
เป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๑ หรือ ๒ โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา
(ปัจจุบันอยู่ในเขตสัมพันธวงศ์) พุทธศักราช ๒๔๙๑ หรือ ๒๔๙๒

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65518758942683_1.JPG)
ภาพถ่ายกับโยมบิดา และพี่ชายทั้งสี่
เมื่ออายุยังไม่ครบ ๑ ขวบ พุทธศักราช ๒๔๘๒

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41998520866036_8.JPG)


เยี่ยมบ้านท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ((ป.อ.ปยุตฺโต))
อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคกลางด้านทิศตะวักตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๕,๓๕๘.๐๑ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓.๓ ล้านไร่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำสุพรรณบุรี  แม่น้ำสายใหญ่ที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของประชากร  โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ ๑๐๗ กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ ๑๔๒ กิโลเมตร  ปัจจุบัน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๐ อำเภอ

• สุพรรณบุรีในอดีต
สุพรรณบุรี เป็นเมืองโบราณ มีอายุไม่ต่ำกว่า ๓,๕๐๐ - ๓,๘๐๐ ปี เดิมมีชื่อเรียกว่า "ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ" หรือ "พันธุมบุรี" มีชุมชนเมืองตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบบริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง

จากหลักฐานทางโบราณคดี โบราณวัตถุที่ขุดพบปรากฏมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี ศรีวิชัย สุพรรณบุรี

ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ โดยโปรดฯ ให้พวกมอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ กับชักชวนให้ข้าราชการจำนวน ๒,๐๐๐ คนเข้ามาบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า "เมืองสองพันบุรี"

ครั้นถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้ หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกวา "อู่ทอง" จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมืองแห่งนี้จึงถูกเรียกชื่อขึ้นใหม่ว่า "สุพรรณบุรี" นับแต่นั้นมา


ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองหน้าด่านและเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญในการศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง ทำให้สภาพของเมืองและโบราณสถานถูกทำลายเกือบหมดสิ้น ที่ยังเหลืออยู่ก็มีไม่มากนักและเป็นซากปรักหักพัง  จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองสุพรรณบุรีจึงได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นและจริญรุ่งเรืองอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) สืบต่อมาจนทุกวันนี้

• ความสำคัญด้านประวัติศาสตร์
เคยเป็นดินแดนแห่งสมรภูมิรบครั้งสำคัญ คือ การสงครามยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในการกอบกู้เอกราชคืนจากพม่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระองค์มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี มหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ ยังตราตรึงอยู่ในดวงใจของปวงชนชาวไทย มิอาจลืมเลือนลงได้  และเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกร จังหวัดสุพรรณบุรีจึงกำหนดให้มีการจัดงานเฉลิมฉลองเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ท่านเป็นประจำทุกๆ ปี

• ความสำคัญด้านวรรณกรรม
เป็นเมืองแห่งตำนานนิทานพื้นบ้าน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดีไทยที่มีเค้าโครงเรื่องพรรณนาถึงสถานที่ต่างๆ ในเมืองสุพรรณบุรี   ปัจจุบัน ชื่อสถานที่บางตอนในวรรณคดีเรื่องนี้ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่มากมาย อาทิ บ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์ เป็นต้น
  
กล่าวถึงสภาพทั่วไปของจังหวัดสุพรรณบุรีโดยสังเขปแล้ว ขอนำท่านเดินทางไปสู่ตลาดเก่าศรีประจันต์ (อำเภอศรีประจันต์) จุดหมายปลายทางที่มุ่งหวังมาเพื่อชมถิ่นกำเนิดของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พระภิกษุสงฆ์ไทยที่ได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาไว้อย่างมากมาย จนได้รับการยกย่องว่าเป็นเพชรน้ำเอกของวงการพุทธศาสนา และได้รับดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มากที่สุดในปัจจุบันสมัย
 


ตลาดเก่าศรีประจันต์
บ้านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
 

อำเภอศรีประจันต์ แต่เดิมนั้น เป็นท้องที่ของอำเภอท่าพี่เลี้ยง กับอำเภอเดิมบางนางบวช (ปัจจุบันคืออำเภอเมืองสุพรรณบุรี และอำเภอสามชุก) เพราะอาณาเขตของสองอำเภอมีเนื้อที่กว้างใหญ่  จึงได้แบ่งเขตการปกครองท้องที่อำเภอท่าพี่เลี้ยงตอนหนึ่ง (ปัจจุบันตำบลมดแดง)  กับท้องที่อำเภอนางบวช (ปัจจุบันคืออำเภอสามชุก) รวมเป็นอำเภอศรีประจันต์ ในราว ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔)

ส่วนตำบลศรีประจันต์ เดิมมีชื่อว่าตำบลกระพุ้ง  ต่อมาในราวปี พ.ศ. ๒๔๘๐ นายสม มีทองคำ ได้เป็นกำนันคนแรกของตำบล และประกอบคุณงามความดีไว้มาก จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ขุนศรีประจันต์รักษา”  ราษฎรเห็นว่าชื่อตำบลเก่าไม่เหมาะสมและได้รับทราบว่ากำนันสม มีทองคำ ได้รับการแต่งตั้งนามใหม่ จึงเปลี่ยนชื่อตำบลจากตำบลกระพุ้ง เป็น ตำบลศรีประจันต์ มาจนทุกวันนี้


• ตลาดเก่าศรีประจันต์
เป็นตลาดเก่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๔๔ ตลาดและบ้านเรือนที่ปลูกสร้างเป็นเรือนแถวไม้ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยเก่า ที่เดี๋ยวนี้จะหาชมได้ยาก ตลาดเก่าด้านฝั่งตะวันตกติดกับแม่น้ำท่าจีน ส่วนด้านตรงข้ามเป็นวัดบ้านกร่างที่ขึ้นชื่อของพระยอดขุนพล หรือพระขุนแผนวัดบ้านกร่างนั่งเอง  

นอกจากสิ่งที่กล่าวมาแล้วยังอำเภอศรีประจันต์ยังเป็นทางผ่านไปทำศึกหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อพระองค์ทรงทำศึกชนะ เดินทัพกลับกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้หยุดพักแรมและสร้างพระเครื่องตระกูลขุนแผน มีทั้งขุนแผนเดี่ยวและขุนแผนคู่ ซึ่งขุนแผนคู่หมายถึง องค์ดำและองค์ขาวในการสร้างพระขุนแผนนั้นก็เพื่อประกาศชัยชนะของพระองค์ท่านและเป็นการรำลึกถึงทหารที่ได้สละชีพเพื่อบ้านเมืองในการกู้เอกราชให้กลับคืนมา ครั้น เมื่อ ร.๒ ท่านสุนทรภู่กวีเอกของไทยได้พายเรือเที่ยวแม่น้ำท่าจีนก็ได้ผ่านสถานที่ต่างรวมทั้งเวิ้งน้ำหน้าวัดบ้านกร่างนั่นคือตลาดเก่าศรีประจันต์ที่ตั้งปัจจุบันนี้  (อ่านประวัติได้ที่ฝาผนังวัดบ้านกร่าง)



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/29230278854568_1.JPG)
บ้านท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ท่านใช้ชีวิตเมื่อเยาว์วัยกับโยมบิดามารดาที่บ้านในตลาดศรีประจันต์
ตลาดเก่าศรีประจันต์ ยังคงสภาพของบ้านเรือนไม้ในอดีตที่ปลูกอยู่ริมแม่น้ำให้เราได้ชม  

ในยุคสมัยที่ตลาดศรีประจันต์เฟื่องฟู ชาวบ้านจะนำสินค้าและของพื้นเมืองมาแลกเปลี่ยนซื้อขายกับพ่อค้าชาวเรือ
ตลาดแห่งนี้จึงคึกคักไปด้วยผู้คนที่มาจับจ่ายซื้อสินค้าและสัญจรทางน้ำไปมาหาสู่กัน  
ภายหลังจากมีการตัดถนน ส่งผลให้ตลาดเก่าศรีประจันต์เริ่มซบเซาลงเรื่อยๆ  
แต่วิถีชีวิตแบบเรียบง่ายและการค้าขายสินค้าท้องถิ่นของชาวตลาดเก่าศรีประจันต์
ก็ยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องแม้เวลาจะผ่านพ้นมานับร้อยปีแล้วก็ตาม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19759386902054_2.JPG)
ชั้นบน บ้านของท่านเจ้าคุณฯ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73018005821439_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30520641348428_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89295924579103_3_1.JPG)
คันฉ่อง (กระจกสำหรับแต่งหน้า) ของโบราณที่ยังเก็บรักษาไว้

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75632041816910_5_2_.JPG)
อาชีพของโยมบิดามารดา คือ 'ค้าขาย' ในภาพตู้สินค้า (เสื้อ-กางเกงจีน)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39728960270682_6_2_.JPG)
จักรเย็บผ้า สินค้าในร้านโยมบิดามารดา
"พ่อเห็นบ้านไหนมีลูกสาวกำลังวัยรุ่น จะเอาจักรไปเสนอขาย
ไม่มีเงินให้ไม่เป็นไร ขอให้ลูกสาวได้ใช้จักรเป็นเครื่องมือฝีกฝนเรื่องเย็บปักถักร้อย
แทนการไปเที่ยวเตร่สนุกสนานไปวันๆ"

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62973207649257_6.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32476385393076_7.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77588987184895_5.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55860547597209_8.JPG)
ชั้นบนมีตู้หนังสือผลงานของท่านเจ้าคุณฯ มาก

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57078450297315_9.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44160267669293_DSC_0063.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97991909045312_10.JPG)