[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 10:17:13



หัวข้อ: การฝึก"สติ"
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 10:17:13
(http://i46.photobucket.com/albums/f112/thavee/nirux/PCS240030.jpg)

http://www.fungdham.com/download/song/allhits/11.mp3

สติ แปลว่า กิจกรรม แต่ไม่มีคำที่ใช้อธิบายได้ สติไม่มีสัญญลักษณ์ ไม่มีเหตุผล แต่เรามีประสบการณ์เกี่ยวกับสติเปรียบเหมือนเราชี้ที่ดวงจันทร์ เราไม่รู้ว่าดวงจันทร์อยู่ที่ไหน แต่เราเห็นดวงจันทร์ คำอธิบายสติ จึงมีหลายอย่างและถูกทุกอย่าง
สติ เป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อน แม้จะไม่มีคำพูดอธิบายได้ ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่เป็นความจริง แต่ตรงข้าม สติเป็นของจริงแท้ คำพูดอธิบายจึงเป็นเพียงการเปรียบเทียบ วิปัสสนาเป็นวิธีฝึกซึ่งพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำเมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว มุ่งไปสู่สภาวะของการมีสติตลอดเวลา
สติ รู้สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เกิดก่อนแนวคิดที่มนุษย์สร้างขึ้น ก่อนที่จิตจะแปลเป็นสิ่งที่รับรู้มาก่อน สติจะเกิดทันทีที่สัมผัสกับสิ่งมากระทบ ก่อนที่ประสาทจะแปลเป็นสิ่งของ เมื่อจิตสำนึกแปลเป็นสิ่งของ สติจะหายไป สติจะหายไปเร็วมาก จนเราสังเกตุไม่ทัน วิปัสสนาต้องการฝึกให้มีสตินานขึ้น
สติ จะเกิดได้ อยู่ที่ฝึกปฎิบัติ เมื่อเกิดสติพิจารณาสิ่งรอบกาย เราจะรู้สึกว่าจักรวาลนี้เปลี่ยนไป


............................ลักษณะของสติ..........................................


สติ เป็นกระจกความคิด สะท้อนภาพตามที่เกิดขึ้น ไม่มีการลำเอียง สติ ไม่มีการตัดสินสิ่งที่พิจารณา ฉะนั้นเมื่อมีสติเราสามารถพิจารณาสิ่งรอบกายตามที่เป็นจริง ไม่ลงโทษ ไม่ตัดสินความ เหมือนนักวิทยาศาสตร์ส่องกล้องจุลทัศน์ เขาจะเห็นเท่าที่เห็น ไม่คิดไว้ก่อนว่าจะเห็นอะไร ผู้ปฎิบัติจะสังเกตเห็นความไม่เที่ยง ความทุกข์ และไม่มีตัวตน
การมีสติ ยอมรับสภาวะจิตตามที่เป็นจริง จะเกิดได้จากการยอมรับว่า เรามีความรู้สึกนั้นอยู่ เช่น เรามีความกลัว ความเศร้า ความคับข้องใจ เมื่อเรายอมรับสิ่งนี้ เรามีสติพิจารณาตามที่เป็นจริงได้


หัวข้อ: Re: การฝึก"สติ"
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 10:19:48
(http://i46.photobucket.com/albums/f112/thavee/nirux/PCS240030.jpg)

สติ จึงจะพิจารณาสภาวะของจิตตามที่เกิด ไม่มีความภูมิใจ ความอาย ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตัวเรา มีสิ่งนั้นแค่นั้น
สติ เป็นการเฝ้าดูบางส่วน แต่ไม่เข้าข้างใด
สติ ไม่ยินดีกับสภาวะจิตที่ดี ไม่หลีกเลี่ยงสภาวะจิตที่ไม่ชอบ สติยอมรับสภาพ ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีเท่าเทียมกัน ไม่กดสิ่งใดไว้ ไม่เปลี่ยนสิ่งใด ไม่โน้มเอียงไปข้างที่ชอบ
สติ แปลได้อีกคำว่า การพิจารณาอย่างไม่ต่อเติม เพราะไม่มีความคิด ไม่มีแนวคิด ไม่ออกความคิดเห็น ไม่มีความจำ เพียงแต่ดู
สติ เก็บประสบการณ์ แต่ไม่นำมาเปรียบเทียบ ไม่นำมาติดป้ายหรือแยกหมวดหมู่ ไม่วิเคราะห์กับสิ่งที่เคยพบหรือความจำก่อนๆ แต่จะเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทันที โดยไม่ต้องคิด สติเกิดก่อนความคิดตามกระบวนการคิดของเรา
สติ เป็นการรู้ตัวในขณะปัจจุบัน เช่น ถ้าเราจำครูประจำชั้น ป.2 ได้ นั้นคือ ความจำ ถ้าเรารู้ว่าเราจำครูได้ นั้นคือ สติ ถ้าเราคิดว่าเราจำได้ นั้นเป็น ความคิด
สติ เป็นความรู้ตัว โดยไม่มีตัวเราของเรามาด้วย เช่น ปวดขา ถ้าเป็นความคิดของเรา จะบอกว่า "ฉันปวด" แต่สติจะบอกว่า ความรู้สึกปวด สติไม่ต่อเติมหรือตัดสิ่งใดออก เพียงแต่พิจารณา
สติ รู้ความเปลี่ยนแปลง สติเฝ้ามองการเปลี่ยนไปของทุกสิ่ง เห็นการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
สติ รับรู้ทุกสิ่งที่เกิดในจิต ไม่ว่าเป็นความรู้สึกทางกาย ทางจิต หรืออารมณ์ สติเพียงเฝ้าดูการเกิด-ดับ ดูความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากสิ่งนั้น ปฎิกิริยาโต้ตอบ มีผลกระทบกับคนอื่นอย่างไร สติ จะพิจารณาสิ่งที่ผ่านมาในจิตคน อย่างไม่ลำเอียง..................................


หัวข้อ: Re: การฝึก"สติ"
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 10:24:02
(http://i46.photobucket.com/albums/f112/thavee/nirux/PCS240030.jpg)


..................................โปรดสังเกตคำว่าภายในจิต................................


ผู้ปฎิบัติที่เกิดสติ จะไม่สนใจสิ่งที่เกิดภายนอก กาย แต่จะพิจารณาความรู้สึกภายในตัว ความคิด ความรู้สึก และการรับรู้ของผู้ปฎิบัติ มีข้อมูลให้ศึกษาเกี่ยวกับตัวเองมากมาย หากพิจารณาดีแล้วจะนำสู่การหลุดพ้น
สติ คือ การมีส่วนในการพิจารณา ผู้ปฎิบัติ เป็นทั้งผู้เข้าร่วม และผู้สังเกตการณ์ในเวลาเดียวกันกิจกรรมพื้นฐาน 3 ประการ
เราใช้กิจกรรมทั้ง 3 ประการนี้ เป็นนิยามหน้าที่ของสติ สติ เตือนเราให้รู้ว่า กำลังทำอะไรอยู่ สติ มองทุกสิ่งตามเป็นจริง
สติ เตือนเราว่ากำลังทำอะไรอยู่ และนำเรากลับกลับมาที่จุดยึดในการภาวนา เช่น ลมหายใจ หากปฎิบัตินานเข้า เราสามารถรู้ตัวว่า ทำอะไร แม้ขณะนั่งสมาธิ รู้ว่าทำอะไรอยู่ โดยไม่เข้าไปยึดกับสิ่งรอบตัว เปรียบเทียบ สติกับความคิดในจิตสำนึก ความคิดจะหนัก กด และทิ่มแทง แต่สติจะเบา กระจ่าง มีพลัง สติพิจารณาทุกสิ่งตามเป็นจริง ไม่ต่อเติม ไม่ตัดออก ไม่โยกย้าย เพียงแต่ให้ความสนใจเฉยๆ จิตสำนึกเต็มไปด้วยความคิด แผนการ วิตกกังวล แต่สติ ไม่ใช่การละเล่น เพียงแต่เห็นว่าอะไร อะไร อะไร
สติ เห็นธรรมชาติของปรากฎการณ์ สติเป็นทางเดียวที่สามารถเห็นทางที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความไม่พอใจ และอนัตตา ความไม่มีตัวตน ไม่ยืนยง ไม่เปลี่ยนตัวตน นั่นคือ วิญญาณหรือตัวเรา สิ่งเหล่านี้ สามารถพิสูจน์ได้ ด้วยการเจริญสติ สติทำให้เราเห็น ก.สรรพสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลง ข.ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์ ค.ทุกสิ่งไม่จีรัง...................................


หัวข้อ: Re: การฝึก"สติ"
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 10:26:42
(http://i46.photobucket.com/albums/f112/thavee/nirux/PCS240030.jpg)


.........................................สติและวิปัสสนาสมาธิ.......................................


สติ เป็นหัวใจของวิปัสสนาสมาธิ สติ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อปมา แปลว่า ไม่ทอดทิ้งหรือไม่เสียจริต บุคคลผู้รู้ตัวทั่วพร้อม ย่อมไม่เป็นบ้า
สติ ตามบาลี แปลว่า ความจำ แต่ไม่ใช่การรู้อดีตเช่นความจำปกติ แต่เป็นความจำว่าสิ่งใดดี ไม่ดี เรากำลังทำอะไรอยู่ เราจะไปไหน สติเตือนผู้ปฎิบัติ ให้ระลึกถึงสิ่งที่ควรนึกถึง ในเวาที่ควร และทำงานด้วยพลังงานที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฎิบัติจะเป็นคนสงบ แต่ตื่นอยู่เสมอ เมื่อมีสติ อุปสรรคหรือสิ่งก่อกวนจิต จะไม่เกิดขึ้น เพราะบุคคลจะปราศจาก โลภ โกรธ หลง เกียจคร้าน แต่เราเป็นมนุษย์ปุถุชน เราจึงทำผิด เราทำผิดซ้ำๆ ติดอยู่กับความผิดพลาด ซึ่งเป็นธรรมดาของมนุษย์ สติจะเตือนเราให้พ้นจากความผิดพลาด ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนในที่สุด ความรู้สึกตัวจะเกิดขึ้น ระยะเวลาที่ทำผิดห่างออกไป ความโกรธถูกแทนที่ด้วยความรักกรุณา ความหลงแทนที่ด้วยการปลดปล่อย สติจะว่องไวขึ้นทุกทีจนเกิดปัญญาและความกรุณาในใจ ถ้าไม่มีสติ เราจะเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ไม่ได้
ผู้มีสติสมบูรณ์จะไม่ยึดติดกับสิ่งใดในโลกจะเป็นอิสระ หลุดพ้นจากความอ่อนแอของมนุษย์ จิตใจมั่นคง ไม่โลเล สติจะป้องกันและทำลายอุปสรรคทั้งปวงที่เกิดในตัวเราเราจะยืนหยัดในโลกโดยไม่ถูกกระทบจากวิถีขึ้นลงของชีวิต (โชคชะตา)....................................


หัวข้อ: Re: การฝึก"สติ"
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 10:29:06
(http://i46.photobucket.com/albums/f112/thavee/nirux/PCS240030.jpg)


...................................สติกับสมาธิ..............................


วิปัสสนาสมาธิ ต้องมีสติและสมาธิสมดุลกัน ทั้ง 2 สิ่งนี้ควบคู่กันและส่งเสริมกัน ถ้าอันใดอันกนึ่งมากไป การทำวิปัสสนาไม่เกิดผล
สมาธิและสติทำหน้าที่ต่างกัน สมาธิ คือ จิตเพ่งที่สิ่งเดียว มันบังคับให้จิตหยุดอยู่ที่จุด ๆ หนึ่ง ที่เรียกว่าบังคับ เพราะสมาธิ เกิดจากพลังจิตที่จะทำอะไร สติจะละเอียดกว่า สตินำไปสู่ความรู้สึกที่ขัดเกลาแล้ว
(สติ)เป็นสิ่งที่ไว ส่วนสมาธิมีพลัง เปรียบเหมือน สติยกสิ่งหนึ่งขึ้นมาสู่ความสนใจ และรู้ตัวเมื่อขาดความสนใจ ส่วนสมาธิมีหน้าที่ยึดสิ่งนั้นไว้ ถ้าอันใดอันหนึ่งอ่อนไป กรรมฐานดำเนินไปไม่ได้
สมาธิ คือ จิตที่เพ่งที่วัตถุเดียว ไม่เคลื่อนย้ายไปไหน สมาธิที่แน่วแน่จะไม่มีโลภ โกรธ หลง แต่สมาธิที่แน่วแน่ในจุดเดียวแต่ไม่ใช่สมาธิทั้งหมดก็มี แต่ไม่นำไปสู่การหมดทุกข์ เช่น เราอาจแน่วแน่อยู่ที่ตัณหา แต่นั่นไม่ได้อะไร การแน่วแน่ในสิ่งที่เราเกลียด ไม่ทำให้เราหมดทุกข์ แม้สัมฤทธิ์จุดประสงค์ คือ ทำร้ายคนที่เราเกลียดสำเร็จ สมาธิที่แท้จริงปลอดจากสิ่งชั่วร้าย จิตที่รวมเป็นหนึ่งเดียว จะมีพลังและอำนาจ เปรียบเทียบเหมือนเราใช้เลนส์รวมแสง แสงแดดเมื่อส่องลงมาทำให้กระดาษร้อน แต่ถ้าแสงผ่านเลนส์และรวมตัวเป็นจุดเดียว ทำให้เกิดไฟไหม้กระดาษได้ สมาธิเปรียบเหมือนเลนส์ มันสร้างพลังให้เราสามารถมองลึกถึงจิต (สติ)เป็นตัวเลือกวัตถุที่เลนส์จะส่องกระทบ เมื่อมองผ่านเลนส์ จะเห็นสิ่งที่อยู่ข้างใน..............................


หัวข้อ: Re: การฝึก"สติ"
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 10:32:51
(http://i46.photobucket.com/albums/f112/thavee/nirux/PCS240030.jpg)


สมาธิ......จึงเป็นอาวุธอย่างหนึ่ง ถ้าเรานำมาใช้ถูกทางจะมีคุณ แต่ถ้าใช้ผิดมีโทษเช่นเดียวกับมีด ถ้าใช้สมาธิถูกทางจะนำไปสู่การหลุดพ้น แต่ถ้านำมาใช้ให้เกิดความหลงตัวเอง จะเกิดการแข่งขัน ทำให้เราสามารถมีอำนาจเหนือผู้อื่น ทำให้มีความเห็นแก่ตัว ลำพังสมาธิไม่ได้ให้แสงสว่าง มองเห็นความเห็นแก่ตัวและทุกข์ สติเท่านั้นที่ทำให้เราเข้าใจตัวของเรา มีปัญญา สมาธิมีขีดจำกัด
สมาธิที่ลึกจะเกิดในสภาวะพิเศษ เช่น สภาวะสิ่งแวดล้อมที่สงบ ไม่มีสิ่งรบกวนให้วอกแวก สภาวะทางอารมณ์ที่ไม่วอกแวก การเจริญสมาธิจะถูกปิดกั้นได้โดยสภาวะจิต 5 ประการ คือ โลภอยากสุขสบาย เกลียด จิตง่วงเหงาซึมเซา กระสับกระส่ายและใจรวนเร
(วัด) เป็นสถานที่เหมาะที่จะปฎิบัติธรรม เพราะเงียบไม่มีเสียงรบกวนแยกเพศชาย-หญิง ทำให้เกิดตัณหาน้อย วัดไม่มีใครเป็นเจ้าของ จึงไม่มีความอยากได้ ไม่เกิดความโลภ ความมักได้ ขณะที่สมาธิลงลึก เราจะดิ่งลงไปจนลืมสิ่งต่าง ๆ เช่น ร่างกาย ชื่อเสียง ทุกสิ่งรอบตัว ที่(วัด)จะมีคนดูแลเรื่องความต้องการทางกาย เช่น อาหาร ความปลอดภัย ทำให้ปฎิบัติสมาธิได้อย่างมั่นใจ เกิดสมาธิลึก
สติ ไม่ต้องการสิ่งช่วยเช่นสมาธิ สติไม่ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมหรือร่างกายหรืออื่นใด สติเป็นเพียงการพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตัณหา ความเกลียด หรือเสียง สติไม่ถูกจำกัดด้วยสภาพรอบตัว แต่เกิดได้ทุกสภาวะ สติไม่มีวัตถุสำหรับเพ่ง สิ่งที่สติพิจารณาเปลี่ยนตลอดเวลา จึงมีส่งที่จะให้พิจารณามากมาย มีอะไรผ่านจิต(สติ)ดูหมด ไม่ว่าเป็นความวอกแวก หรืออุปสรรค สติพิจารณาหมด
เราไม่สามารถบังคับให้เกิดสติ การมุมานะตั้งใจให้เกิดสติไม่ได้ แต่กลับเป็นอุปสรรค ความดิ้นรนทะยานอยากไม่ก่อให้เกิดสติ สติเกิดเองจากการเห็นแจ้ง ปลดปล่อย ทำตัวให้สบายไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่มิได้หมายความว่า(สติ)เกิดขึ้นเอง ต้องใช้พลังงาน ต้องใช้ความพยายาม แต่ไม่ใช่พละกำลัง สติ เกิดจากความพยายามอย่างละมุนละม่อม ผู้มี(สติ)จะเตือนตัวเอง ให้พิจารณาสิ่งรอบตัวที่เกิดขึ้น ต้องมีความสม่ำเสมอและนุ่มนวล พิจารณาสิ่งรอบตัวอย่างนุ่มนวล..............................................


หัวข้อ: Re: การฝึก"สติ"
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 10:35:51
(http://i46.photobucket.com/albums/f112/thavee/nirux/PCS240030.jpg)



................................สตินำไปสู่ความเห็นแก่ตัวไม่ได้...............................



เพราะสติไม่มีตัวตน ไม่มี ของฉันไม่มีตัว จึงไม่เห็นแก่ตัว ตรงข้ามสติมองดูตัวเรา เตือนเราให้หลีกออกมาพิจารณาความต้องการ ความเกลียดชัง เราเห็นสิ่งเหล่านี้ และรู้จักตัวเอง
เมื่อมี(สติ)เราเห็นตัวเราตามที่เป็นจริง เห็นความเห็นแก่ตัว ความทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ เราทำให้คนอื่นเจ็บปวด เราเห็นว่าเราโกหกตัวเองเรื่องอะไรบ้าง สติก่อให้เกิดปัญญา
(สติ)ไม่ต้องการความสำเร็จในอะไร เพียงแต่ขอดู ฉะนั้น ความต้องการและความเกลียดชัง จึงไม่เกิดมีขึ้น การแข่งขัน ความดิ้นรนเพื่อความสำเร็จไม่มี สติไม่ประสงค์สิ่งใด ขอดูให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา
(สติ)มีหน้าที่มากกว่าสมาธิ สมาธิยึดเพียงสิ่งเดียว ไม่สนใจสิ่งอื่นๆ สติสนใจทุกสิ่ง สมาธิ คือ การกำจัด แต่สติ คือ การรวบรวม เช่น สมาธิยึดก้อนหินสำหรับเพ่ง สมาธิจะเห็นแต่ก้อนหิน แต่สติจะมองกระบวนการดูก้อนหิน ดูสมาธิว่าเพ่งที่ก้อนหิน ดูความตั้งใจที่เพ่งหิน ดูว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนความสนใจ จะเกิดการวอกแวกของสมาธิ...........................................


หัวข้อ: Re: การฝึก"สติ"
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 10:43:43
(http://i46.photobucket.com/albums/f112/thavee/nirux/PCS240030.jpg)


....................................สติป็นตัวรู้ว่าสมาธิเบี่ยงเบน...............................


ละสตินำความตั้งใจกลับมาที่ก้อนหิน สติเกิดยากกว่าสมาธิเพราะมันทำหน้าที่ลึกกว่า สมาธิเพียงแค่จิตแน่วแน่เหมือนลำแสงเลเซอร์ ที่แทงทะลุด้วยความร้อน ลงไปถึงจิต และให้แสงสว่างแก่จิต แต่สมาธิไม่เข้าใจว่าเห็นอะไร สติสามารถตรวจสอบความเห็นแก่ตัว และข้าใจว่าเห็นอะไร สติสามารถแทงทะลุความลึกลับของความทุกข์ และความไม่สบาย สติทำให้เกิดการหลุดพ้น
แต่มีจุดบอด"สติ"ไม่สามารถโต้ตอบต่อสิ่งที่เห็น มันเห็นและเข้าใจ สติมีความอดทนมาก เห็นอะไรก็รับสิ่งนั้น เรามีความไม่รู้ เรามีความเห็นแก่ตัว และความโลภ คุยโว เรามีตัณหาและเราโกหก สิ่งเหล่านี้เป็นความจริง สติมองเห็นสิ่งเหล่านี้ในตัวเอง และอดทนรับสภาพ เราเองไม่ต้องการยอมรับความจริงนี้ เราต้องการปฎิเสธหรือเปลี่ยนแปลง แก้ไข แต่สติยอมรับสภาพ แม้ว่าทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่าย รำคาญ หรือกลัว แต่เราต้องยอมรับสิ่งที่สติมองเห็น เพราะเป็นความจริงแท้
ถ้าต้องการมีสติ ต้องมีความอดทน รับสภาพความเป็นจริง เพราะสติเกิดจากการฝึกฝนอดทน การเกิดสติไม่สามารถบังคับ เร่งรัด มันเดินตามจังหวะของมัน
สมาธิและ(สติ)จะเดินทางด้วยกันในการปฎิบัติ(สติ)บอกทิศทางให้กับสมาธิ(สติ)เป็นผู้ควบคุม
สมาธิเป็นผู้ปฎิบัติให้(สติ)ลงได้ลึก ผลคือ เกิดความรู้แจ้งและเข้าใจ ทั้งสติและสมาธิจึงต้องสมดุลกัน แต่เน้นสติมากหน่อย เพราะสติเป็นศูนย์กลางของการปฎิบัติ ไม่จำเป็นต้องมีสมาธิที่ลึกมาก ขอให้มีสมาธิเพียงพอ ถ้าสติมากไปสมาธิน้อยจะมีอาการเมาเหมือนใช้ยากระตุ้นประสาท ถ้าสมาธิมากไปไม่สมดุลกับสติกลายเป็น "พระพุทธรูปหิน" ไม่เกิดปัญญา
ผู้นั่งปฎิบัติใหม่ ๆ พบว่าจิตไม่อยู่นิ่ง ที่เราเรียกว่า จิตลิง (เถรวาท) ถ้าทางธิเบตเรียก ความคิดน้ำตก ฉะนั้น....ในสภาวะเช่นนี้หากเน้นสติจะเกิดสมาธิไม่ได้ อย่าท้อถอย เหตุการณ์นี้เกิดกับทุกคน มีทางแก้วิธีเดียว ให้ทำสมาธิเพ่งจุดเดียวจนจิตไม่โบยบิน ฝึกอยู่ 2-3 เดือนจะเริ่มมีสมาธิ แล้วจึงเริ่มฝึกสติ อย่าทำสมาธิลึกจนเกิดอาการหมดความรู้สึก ฝึกทำสมาธิจนควบคุมจิตลิงได้ เริ่มฝึกสติ พอมีสติ สมาธิจะเกิดลึกขึ้น ระวังให้ทั้งสติและสมาธิสมดุลกัน
เมื่อ(สติ)และสมาธิเกิดขึ้นแล้ว สิ่งช่วยฝึกไม่จำเป็นเลย เราอาจมีสติแม้ท่ามกลางคนจอแจ ขณะมีการทะเลาะวิวาท(สติ)เกิดได้ทุกที่ หากจิตใจเราฟุ้งมาก พิจารณาธรรมชาติและลักษณะกิจกรรม แล้วทุกอย่างจะผ่านพ้นไป....................................


.........................คัดลอกบางส่วนจากหนังสือ สติ ด้วยภาษาง่าย ๆ...................................


โดย......................ภันเต ฮาเนโพลา คุณารัตนา มหาเถระ...............................


..........................แปลและเรียบเรียงโดย พ.ญ. ชวาลา เธียรธนู................................



หัวข้อ: Re: การฝึก"สติ"
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 13 มีนาคม 2553 14:17:03



(:88:) (:88:) (:88:)