[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ หนังสือแนะนำ => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 18 พฤศจิกายน 2553 16:33:12



หัวข้อ: ธีรยุทธ บุญมี. โลก MODERN & POST MODERN.
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 18 พฤศจิกายน 2553 16:33:12
ธีรยุทธ บุญมี. โลก MODERN & POST MODERN. กรุงเทพฯ : สายธาร, 2550.

 

(http://www.rsunews.net/Off%20the%20shelf/Postmodern/500x322.jpg)



คำนำ จากหนังสือชุด “ถอดรื้อตะวันตกนิยม”

            หนังสือชุด “ถอดรื้อตะวันตกนิยม” นี้เป็นโครงการใหญ่ที่ผู้เขียนต้องการวิพากษ์และถอดรื้อองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ปรัชญา และศิลปะแบบที่ติดยึดกับอคติ “ตะวันตกนิยม” หรือการยึดถือตะวันตกเป็นศูนย์กลางอคติตะวันตกนิยมนี้แทรกตัวอยู่ในทุกปริมณฑล ไม่ว่าจะเป็น สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือปรัชญา การครอบงำ องค์ความรู้นี้มีบทบาทเสริมการครอบงำของตะวันตกเหนือประชาชาติต่างๆทั่วโลก ซึ่งนำไปสู่การได้เปรียบเชิงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ของตะวันตกเหนือผู้อื่นไปโดยปริยาย

            การวิพากษ์นี้เป็นเรื่องใหญ่และจำเป็น เนื่องจากโลกจะเคลื่อนตัวไปข้างหน้า โดยเฉพาะไปสู่การเชื่อมโยงเป็นโลกเดียวกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้ามนุษย์กลุ่มต่างๆ ในโลกยังขาดการเคารพซึ่งกันและกัน การยอมรับซึ่งกันและกัน และการขจัดความไม่เท่าเทียมกันในทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เพราะถ้าความไม่เท่าเทียมกันยังมีมาก โลกก็อาจต้องเผชิญกับความขัดแย้งรุนแรงขึ้นในรูปของสงครามระหว่างประชาชาติ หรือสงครามระหว่างวัฒนธรรม ดังที่นาย Samuel Huntington นักรัฐศาสตร์แนวอนุรักษ์นิยมได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Clash of Civilizations ก็เป็นได้

            ผู้เขียนมองว่าโลกศตวรรษที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติอย่างใหญ่หลวงในหลายๆด้าน นับตั้งแต่การที่ประชาชาติต่างๆในแอฟริกา อินเดีย เอเชีย เริ่มมีอิสรภาพจากลิทธิอาณานิคมตะวันตก การต่อสู้จนได้รับการยอมรับในศักดิ์ศรีทางวัฒนธรรมฐานะทางสังคม และสิทธิทางการเมืองของคนผิวสีและคนกลุ่มน้อยต่างๆ การต่อสู่เพื่อสิทธิของเด็ก สตรี คนชรา การต่อสู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกเป็นต้น นอกจากนี้ตั้งแต่ราวปีค.ศ.1950 เป็นต้นมายังมีอีกหนึ่งมิติใหญ่เกิดขึ้นคือ เกิดการเคารพ ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมของมวลชน (mass culture) วัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) หรือวัฒนธรรมคนกลุ่มน้อย คนพื้นถิ่น ชาวบ้าน คนยาก คนจน จนเกิดเป็นภาวะความหลากหลายทางวัฒนธรรมขึ้นส่งลผให้เกิด ประชาธิปไตยทางวัฒนธรรม (cultural democracy) การตีคุณค่าศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ปรัชญาของกลุ่มชนต่างๆหรือกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆใหม่หมด หนังสือชุดนี้พยายามที่จะให้ความหมายและประเมินคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม และปรัชญาของมนุษย์ในส่วนต่างๆ เสียให้มีสมดุลมากขึ้น “มองโลกอย่างไม่เอียง” เป็นอีกคติหนึ่งในใจของผู้เขียน

            อีกปรากฏการณ์หนึ่งซึ่งเป็นผลดีและแผ้วทางให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางความคิด การต่อสู้ใหม่ๆ ของ ”ปัญญาชน” ทั้งในประเทศตะวันตกและใน “ประเทศโลกที่สาม” ก็คือเกิดการปฏิวัติทางปรัชญาที่เรียกว่า ปรัชญาPost Modern หรือ หลังสมัยใหม่ขึ้น จนเป็นผลให้ความขลัง กรอบยึดเหนี่ยวต่างๆของระบบความคิด ค่านิยม ความชื่นชมตะวันตกพังทลายลง เปิดพื้นที่ให้กับการแสวงหาตำแหน่งแห่งหน ความคิดความเชื่อ สุนทรียะ ความหมายชีวิตของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น

            อย่างไรก็ตาม ความคิดโพสต์โมเดิร์นเป็นทั้งการวิพากษ์และปฏิกิริยาของปัญญาชนตะวันตกต่อโลกโมเดิร์นแบบตะวันตก กล่าวอย่างง่ายๆ ปัญญาชนตะวันตกเหล่านี้มองว่า โปรแกรมการสร้างสังคมสมัยใหม่ที่ตะวันตกได้ดำเนินมาหลายศตวรรษไม่ได้พัฒนาซึ่ง “ความสุข” “การหลุดพ้น” หรือ “การมีชีวิตที่เป็นเหตุเป็นผล” อย่างที่กล่าวอ้างกัน พวกเขาจึงต้องการผลักสังคมของเขาให้ก้าวขึ้นไปอีกขั้น เพื่อไปสู่สังคมโพสต์โมเดิร์นที่มนุษย์ปัจเจกจะมีเสรีภวะ มีการหลุดพ้น มีการดำรงอยู่ในโลกที่ความหมายไม่มีเสถียรภาพได้ดีขึ้น

            หนังสือชุดนี้ พยายามใช้แนวความคิดที่เรียกว่า “หลังตะวันตก”  (post western) ซึ่งที่จริงก็ได้รับอานิสงส์วิธีคิดจากโพสต์โมเดิร์น แต่ “ความคิดหลังตะวันตก” พยายามจะไปให้ไกลกว่าความคิด “หลังสมัยใหม่” ใน 2-3 แง่คือ

1.      ความคิดหลังสมัยใหม่เป็นปฏิกิริยาภายในของวัฒธรรมตะวันตกเป็นหลัก การปลดเปลื้องและการต่อสู้ของพวกเขาแยกไม่ออกจากสิ่งที่ “ตะวันตก” คิดว่าจำเป็นและสำคัญ ในขณะที่ “สังคมโลกที่สาม” ยังมีโจทย์ของตัวเองคือ การตกอยู่ภายใต้อาณานิคมเชิงลึก (deep colonialism) คืออาณานิคมเชิงความรู้ ค่านิยม และวัฒนธรรม การปลดเปลื้องหรือพื้นที่แห่งเสรีภาวะใหม่ของพวกเขาเหล่านี้ควรจะเป็นอย่างไร ล้วนเป็นโจทย์ที่ปัญญาชนของสังคมเหล่านี้จะต้องตีให้แตกแก้ให้ตก

2.      เนื่องจากความคิดหลังสมัยใหม่ปฏิเสธค่านิยมแบบโมเดิร์น แต่เป็นเพียงการเปิดพื้นที่     โล่ง ไม่มีทางออกอื่นให้ จึงมีลักษณะเป็นความคิดแนวสัมพัทธนิยม (relativism) ซึ่งถือว่าความจริงมีได้หลายแง่มุม ความสวยงามก็มีได้หลายแง่มุม จนบางครั้งทำให้ขาดพลังที่จะผลักดันสังคมหรือมนุษย์ไปสู่ทิศทางที่สรุปได่ว่าพึงปรารถนา เช่น การอนุรักษ์ธรรมชาติของโลก เป็นต้น ส่วนแนวคิด “หลังตะวันตก” ต้องกล้าหาญพอที่จะยอมรับว่าจำเป็นต้องยึดถือหลักจริยธรรม ค่านิยมบางอย่างเป็นเครื่องนำทาง เพื่อจะบอกได้ว่า ปรัชญา ศิลปะของแอฟริกา ของจีน ของอินเดีย ของขอม ชวา ไทย พม่า ลาว ฯลฯ ก็ล้วนมีความลึกซึ้ง ความงดงามของตนเอง ขณะเดียวกันความคิดแบบหลังตะวันตกก็ต้องใช้ความพยายามที่หนักแน่นที่จะค้นคว้าบ่งบอกผู้คนว่าอะไรคือเกณฑ์ที่จะใช้มาวัดความงามเหล่านี้ โดยไม่ต้องพึ่งพากฏเกณฑ์จากวงวิชาการตะวันตก และไม่ยึดติดตายกับกฎเกณฑ์คุณค่าเหล่านี้แต่พร้อมจะพัฒนากฎเกณฑ์เหล่านี้ไปเรื่อยๆ


http://jew013.multiply.com/journal/item/17 (http://jew013.multiply.com/journal/item/17)