[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 10 พฤศจิกายน 2557 15:53:26



หัวข้อ: งานยี่เป็ง วัดพันเตา และภาพชุดขบวนแห่งานยี่เป็ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 10 พฤศจิกายน 2557 15:53:26
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/78395278669065_2.JPG)
วัดพันเตาจัดให้มีการอนุรักษ์ประเพณีการลอยโคม โดยไม่ได้ทำการประชาสัมพันธ์หรือบอกบุญเรี่ยไร
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ นี้ นับเป็นปีที่ ๘ ของการจัดกิจกรรมดังกล่าว (มีประมาณ ๕ คืน)
เป็นงานวัดที่ผู้โพสต์ประทับใจมาก ไม่มีมหรสพ ไม่มีร้านค้า การใช้เครื่องเสียงได้ยินเบาๆ แต่เพียงในวัด
ไม่อึกทึกครึกโครมเป็นที่รบกวนแก่ชาวบ้าน งานดำเนินไปอย่างเงียบๆ เรียบง่าย ดูสวยงาม มีมนต์ขลัง  


งานยี่เป็ง วัดพันเตา
Yi Peng of Phan Tao Temple
เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

ก่อนชมภาพการอันงดงามตระการของแสงสีแห่งประติมากรรมโคมไฟถวายเป็นพุทธบูชาในราตรีกาล  และการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ณ ดินแดนที่เป็นที่สุดแห่งความรุ่งเรือง สง่างามทางวัฒนธรรมมาแต่อดีต และถ่ายทอดเป็นมรดกสืบต่อกันมาถึงอนุชนรุ่นหลัง ในงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่

ขอเล่าประวัติของวัดพันเตา สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่จัดให้มีประเพณียี่เป็งในค่ำคืนวันสำคัญของชาวล้านนา และความเป็นมาของการชักโคมและลอยโคมอันเป็นที่มาของประเพณีลอยกระทง ว่าได้กำเนิดเกิดขึ้นอย่างไรและเป็นเพราะเหตุใด.


• ประวัติวัดพันเตา
วัดพันเตา ตั้งอยู่ตำบลพระสิงห์ ย่านใจกลางเมืองเชียงใหม่ ติดกับวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร  จัดเป็นวัดราษฎร์ ในสังกัดมหานิกาย  สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๔๐

ตามตำนานกล่าวว่า วัดพันเตามีอายุเก่าแก่ใกล้เคียงร่วมสมัยเดียวกับวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

แต่เดิมวัดนี้ไม่ได้เรียกชื่อวัดว่า "พันเตา" อย่างในปัจจุบัน  คนเมืองเชียงใหม่ในอดีตนิยมเรียกวัดนี้ว่า "วัดปันเต้า" หรือ "วัดพันเท่า" ซึ่งหมายถึง ปริมาณที่เพิ่มพูนขึ้นมากมาย เป็นร้อยเท่าพันเท่า เป็นการเขียนตามอักษรล้านนา แต่อ่านออกเสียงว่า “ปันเต้า” แล้วจึงกลายมาเป็น "พันเท่า" ทำบุญที่ วัดปันเต้า (พันเท่า) ทำบุญเพียง ๑ จะได้อานิสงส์มากกว่าพัน

มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าได้ใช้สถานที่ของวัดนี้เป็นที่ตั้งเตาหลอม สำหรับหล่อพระอัฏฐารสในวิหารวัดเจดีย์หลวง  จึงได้ชื่อว่าวัดพันเตา



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12385211843583_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42266220433844_1.JPG)
พระประธานในวิหารหลวง วัดพันเตา จังหวัดเชียงใหม่

• พระราชพิธีจองเปรียง : เชื่อกันว่าเป็นที่มาของประเพณีลอยกระทง
พระราชพิธีจองเปรียงนี้ เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัย เป็นพิธีของพวกพราหมณ์  ทำแต่เฉพาะในพระบรมมหาราชวังเท่านั้น  เป็นพิธียกโคมตามประทีปบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระพรหม และพระนารายณ์ ตามกำหนดยกโคม คือ เดือน ๑๒  ถ้าปีใดมีอธิกมาส (เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือ ในปีนั้นมี ๑๓ เดือน มีเดือน ๘ สองหน เรียกว่า เดือน ๘ สอง ๘) ให้ยกโคมขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นต้นไปจนถึงวันแรม ๒ ค่ำ จึงเป็นวันลดโคม และถ้าปีใดไม่มีอธิกมาสให้ยกโคมขึ้นในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง เป็นวัดลดโคมลง  

อนึ่ง ในพิธีนี้ พวกพราหมณ์มาประชุมกันผูกพรต  พระราชครูฯ ต้องกินถั่วกินงา ๑๕ วัน ส่วนพราหมณ์นอกนั้นกิน ๓ วัน เวลาเช้าพราหมณ์ต้องถวายน้ำมหาสังข์ทุกวัน จนถึงวันลดโคมลง เทียนที่จะจุดในวันนั้น ต้องเอามาถวายให้ทรงทาเปรียงเสียก่อน  (เปรียง คือ นํ้ามัน ไขข้อของพระโค)

ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ วรรณกรรมสมัยสุโขทัยที่เชื่อกันว่า นางนพมาศ พระสนมเอกของสมเด็จพระร่วงเจ้า เป็นผู้แต่ง บรรยายว่า “...พอถึงการพระราชพิธีจองเปรียง ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม บรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่งโคมชัก โคมแขวน โคมลอยทุกตระกูล ทั่วทั้งพระนคร แล้วก็ชวนกันเล่นมหรสพสิ้นสามราตรีเป็นเยี่ยงอย่าง แต่บรรดาข้าเฝ้าฝ่ายราชบุรุษนั้น ต่างทำโคมประเทียบบริวารวิจิตรด้วยลวดลายวาดเขียนเป็นรูปและสัณฐานต่างๆ ประกวดกันมาชักมาแขวน เป็นระเบียบเรียบร้อยตามแนวโคมชัยเสาระหงตรงหน้าพระที่นั่งชลพิมาน...”  



• ประเพณีลอยกระทง
มีการเข้าใจว่า ประเพณีลอยกระทง มีต้นเค้ามาจากพระราชพิธีจองเปรียง อันเป็นเรื่องของศาสนาพราหมณ์  พวกพราหมณ์ทำพระราชพิธีจองเปรียงขึ้น เพื่อบูชาพระอิศวรและพระพรหม ด้วยการชักโคมไปบนท้องฟ้า บูชาพระนารายณ์ด้วยการลอยโคมลงในน้ำ  และผู้คิดอ่านริเริ่มการทำกระทงประดิษฐ์เป็นรูปโคมลอยประดับดอกบัว ถวายพระเจ้ารามคำแหง ได้ลอยไปตามลำน้ำ ของการเสด็จลงประพาส ตามพระราชพิธีนักขัตฤกษ์ประจำปีที่ยิ่งใหญ่แห่งราชสำนัก ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เวลากลางคืน คือ นางนพมาศ สตรีไทยในสมัยสุโขทัยที่มีสติปัญญา ความสามารถ เป็นได้ทั้งนักประพันธ์และนักปราชญ์ นั่นเอง

อิทธิพลของพุทธศาสนา แต่ด้วยในสมัยสุโขทัย พระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาง ครอบคลุมทั้ง พม่า ไทย ศรีลังกา เวียดนาม ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย  พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในดินแดนแถบนี้ ทำให้คนไทยในราชอาณาจักรสุโขทัยซึ่งแต่เดิมนับถือศาสนาพราหมณ์ เริ่มหันเหมานับถือพุทธศาสนากันอย่างกว้างขวาง  พิธีกรรมของพราหมณ์จึงผสมผสานเข้าด้วยกันกับพุทธศาสนา  เลยอาจถือว่า การลอยโคม เป็นการบูชาพระบรมพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่ในแม่น้ำก็ย่อมเป็นได้  หรืออาจถือว่าเป็นการขอขมาต่อแม่พระคงคาที่ได้กินได้ใช้น้ำ ซ้ำยังถ่ายมูตคูถลงไปอีกด้วย  

นี้แหละ เป็นที่มาของความเชื่อว่า พิธีลอยกระทง เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัยตั้งแต่บัดนั้นมา ด้วยประการฉะนี้แล...
 


• ยี่เป็ง
เป็ง ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ “ยี่” แปลว่า สอง และคำว่า “เป็ง” หมายถึง เพ็ญ หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้น จึงหมายถึงประเพณี พระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง

ยี่เป็งเป็นงานประเพณี อันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ในวันเพ็ญเดือนยี่หรือเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวไทยภาคอื่น  นอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำ ชาวล้านนามีการจุดประทีปโคมลอยให้ขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีความเชื่อเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ หรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์ ตามคติของคนไทยเราที่เชื่อถือเรื่องโชคลางและบาปกรรม ส่วนหนึ่งเชื่อกันว่าเมื่อเรามีเคราะห์หรือทุกข์ร้อนต่างๆ ต้องลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราห์เพื่อบรรเทาเหตุร้ายต่างๆ ให้เบาบางหายไป

ในพงศาวดารโยนกและจามเทวี มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิด อหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดี นานถึง ๖ ปี จึงได้เดินทางกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอนเดิมได้ เมื่อเวลาเวียนมาถึงวันที่จากบ้านจากเมืองไป จึงได้มีการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชาธูปเทียนลอยลอยตามน้ำ เพื่อให้ไปถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ  

ในงานบุญยี่เป็ง ชาวล้านนาจะออกมาตกแต่งบ้านเรือน วัดวาอาราม และถนนหนทาง ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อ ประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่างๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ยามค่ำคืนจะมีการจุดโคมลอย ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเชื่อกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และแสงสว่าง ที่จะส่งผลให้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกที่ควร


ภาพลอยโคม งานยี่เป็งวัดพันเตา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45622998600204_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57175114626685_1..JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87296122892035_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18638199360834_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59758663260274_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/29789494391944_5.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27943099704053_6.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82273112651374_1_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45485338403118_7.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/34266697325640_8.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72067295842700_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45669058006670_5.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/99445423235495_6.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46508654041422_7.JPG)
 


หัวข้อ: Re: งานยี่เป็ง วัดพันเตา และภาพชุดขบวนแห่งานยี่เป็ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 พฤศจิกายน 2557 16:13:39
.
ภาพขบวนแห่อันงดงามอลังการ ของงานยี่เป็งจังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ บริเวณประตูท่าแพ
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39518131564060_2..JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63247122988104_14.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/23717660042974_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/31179719045758_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87832966736621_6.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/20213885191413_7.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94209474739101_8.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62135671907001_9.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61654390684432_10.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54388100902239_11.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93597009612454_13.JPG)
เทพียี่เป็ง เชียงใหม่ สวยจริงๆ มือไม้อ่อน...ภาพเลยเบลอ!

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/23308043181896_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60937817229164_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54260278079244_12.JPG)

ส่วนหนึ่ง ของขบวนแห่อันวิจิตร งดงาม อลังการ งานยี่เป็งจังหวัดเชียงใหม่
ประจำปี ๒๕๕๗ ที่ใช้เวลายืนชมเป็นเวลา ๓ ชั่วโมงเศษ ริ้วขบวนยังไม่หมด ยังอยู่อีกยาวเฟื้อย
ทนไม่ไหวต้องยอมแพ้ กลับที่พักค่ะ ...