[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: phonsak ที่ 20 ธันวาคม 2553 01:21:36



หัวข้อ: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัต
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 20 ธันวาคม 2553 01:21:36
ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา หรืออสังขตธาตุ?


คุณจิ๊กเปงเขียน:

1. อัตตา มีความหมายในทางยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตน ของเรา ตัวเรา ซึ่งเป็นความเห็นผิด

2. พระพุทธศาสนา จึงไม่สอน นิพพานเป็นอัตตา คุณพลศักดิ์เอานิพพานเป็นอัตตามาจากไหน

3. นิพพานก็นิพพาน อัตตาก็อัตตา คนละเรื่องกัน


ตอบ

1. อัตตา มีความหมายในทางยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตน ของเรา ตัวเรา = อัตตานุทิฏฐิ หรือ อุปทาน

2. พระพุทธศาสนา จึงไม่สอน นิพพานเป็นอัตตา.... เป้าหมายของพระพุทธศาสนา คือ หนีออกจากอัตตนุทิฏฐิ โดยปฏิบัติสมถและวิปัสสนากรรมฐาน จนรู้อย่างจริงๆว่า อัตตานุทิฏฐิ ล้วนมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย  จึงเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  เมื่อรู้อย่างเด่นชัดแล้ว  จิตจะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ถอนกิเลส ตัญหา อุปทานได้  จึงได้ธรรมกาย(อายตนนิพพาน) ที่ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย

สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)

"สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"

3.  นิพพานก็นิพพาน อัตตาก็อัตตา คนละเรื่องกัน.... นิพพานก็คืออัตตา ในความหมายว่าเที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนตามกาลเวลา  อัตตาของโลก คือ อัตตานุทิฏฐิ  เป็นคนละเรื่องกับอัตตาทีพระพุทธเจ้าพูดถึง

นิพพาน = อสังขตธาตุ = อัตตา = ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย
อัตตาของโลก = อุปทาน หรืออัตตานุทิฏฐิ = มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย 



-------------------------------------------------------------

อ้างอิง

ผมขออนุญาตนำเอาพุทธพจน์ต่างๆเรื่องอัตตานุทิฏฐิ อัตตา อนัตตา มาถก เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไป

1. อัตตานุทิฏฐิ หรือ อัตตวาทุปาทาน สิ่งนี้เป็นอุปทาน หรือ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บางท่านเรียกว่า อัตตาของโลก

อัตตานุทิฏฐิ = ผู้ที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่าเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา ทั้งๆที่มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน(อัตตา)ของเรา เขาหลงยึดมั่นถือว่าเป็นอัตตา เป็นตัวตนของเขา


ขันธสังยุตต์ - จุลปัณณาสก์ - ทิฏฐิวรรค - ๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร

๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งอัตตานุทิฏฐิ
[๓๕๘] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่
เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดอัตตานุทิฏฐิ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีอัตตานุ
ทิฏฐิ. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย

วิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ.
[๓๕๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๗.


2. ที่ท่านเรียกว่า อัตตาของโลก = อุปทาน หรือมิจฉาทิฏฐิ นั้น พระพุทธเจ้าเรียกสิ่งนี้ว่า "อนัตตา"


อนัตตลักขณสูตร

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อนัตตา

3. นิยาม "อัตตา" ในอนัตตลักขณะสูตร

จากอนัตตลักขณสูตรเช่นกัน พระพุทธองค์ให้นิยามคำว่า "อัตตา" ไว้ชัดเจน

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย....

ถ้ารูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ว่า รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย "

4. จากท่อนจบที่พระพุทธเจ้าถามปัญจวัคคีย์

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อนัตตา[/color]

ถ้าพระพุทธเจ้าถามต่อไปว่า

ภ. ก็สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

คุณจิ๊กเปง ช่วยตอบให้ชื่นใจแทนปัญจวัคคีย์หน่อเถิดครับ

....... ข้อนั้น ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อัตตา[/color].........

สรุป

ถ้ามีรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ใด ที่ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสิ่งนั้นว่า ขอให้มันเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าเป็นอย่างนี้เลย สิ่งนั้นก็เป็น "อัตตา"

และพระพุทธองค์ยังตรัสถามพระปัญจวัคคีย์ เพื่อสอบความเข้าใจด้วยว่า :

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ตอนนี้พระพุทธเจ้าฝากผมมาถามคุณนักดาบพเนจรว่า:

ภ. ก็สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

คุณจิ๊กเปง ตอบว่า

....... ข้อนั้น ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อัตตา[/color].........

อัตตา จึงเท่ากับ สิ่งที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

แล้วอะไรล่ะที่เป็นอัตตา....ก็อสังขตธาตุ ยังไงล่ะ ดูลักษณะของอสังขตธาตุนะครับ

ลักษณะของอสังตธาตุ

อสังขตธาตุ หมายถึง ธาตุที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง และมีลักษณะความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมสลายไม่ปรากฏ ๑ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนไม่ปรากฏ ๑

ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณ ะของอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด = ไม่เกิด
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)

ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 20 ธันวาคม 2553 08:47:42
ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา หรืออสังขตธาตุ?


คุณจิ๊กเปงเขียน:

1. อัตตา มีความหมายในทางยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตน ของเรา ตัวเรา ซึ่งเป็นความเห็นผิด

2. พระพุทธศาสนา จึงไม่สอน นิพพานเป็นอัตตา คุณพลศักดิ์เอานิพพานเป็นอัตตามาจากไหน

3. นิพพานก็นิพพาน อัตตาก็อัตตา คนละเรื่องกัน


ตอบ

1. อัตตา มีความหมายในทางยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตน ของเรา ตัวเรา = อัตตานุทิฏฐิ หรือ อุปทาน

2. พระพุทธศาสนา จึงไม่สอน นิพพานเป็นอัตตา.... เป้าหมายของพระพุทธศาสนา คือ หนีออกจากอัตตนุทิฏฐิ โดยปฏิบัติสมถและวิปัสสนากรรมฐาน จนรู้อย่างจริงๆว่า อัตตานุทิฏฐิ ล้วนมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย  จึงเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  เมื่อรู้อย่างเด่นชัดแล้ว  จิตจะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ถอนกิเลส ตัญหา อุปทานได้  จึงได้ธรรมกาย(อายตนนิพพาน) ที่ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย

สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)

"สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"

3.  นิพพานก็นิพพาน อัตตาก็อัตตา คนละเรื่องกัน.... นิพพานก็คืออัตตา ในความหมายว่าเที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนตามกาลเวลา  อัตตาของโลก คือ อัตตานุทิฏฐิ  เป็นคนละเรื่องกับอัตตาทีพระพุทธเจ้าพูดถึง

นิพพาน = อสังขตธาตุ = อัตตา = ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย
อัตตาของโลก = อุปทาน หรืออัตตานุทิฏฐิ = มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย 



-------------------------------------------------------------

อ้างอิง

ผมขออนุญาตนำเอาพุทธพจน์ต่างๆเรื่องอัตตานุทิฏฐิ อัตตา อนัตตา มาถก เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไป

1. อัตตานุทิฏฐิ หรือ อัตตวาทุปาทาน สิ่งนี้เป็นอุปทาน หรือ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บางท่านเรียกว่า อัตตาของโลก

อัตตานุทิฏฐิ = ผู้ที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่าเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา ทั้งๆที่มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน(อัตตา)ของเรา เขาหลงยึดมั่นถือว่าเป็นอัตตา เป็นตัวตนของเขา


ขันธสังยุตต์ - จุลปัณณาสก์ - ทิฏฐิวรรค - ๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร

๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งอัตตานุทิฏฐิ
[๓๕๘] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่
เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดอัตตานุทิฏฐิ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีอัตตานุ
ทิฏฐิ. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย

วิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ.
[๓๕๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๗.


2. ที่ท่านเรียกว่า อัตตาของโลก = อุปทาน หรือมิจฉาทิฏฐิ นั้น พระพุทธเจ้าเรียกสิ่งนี้ว่า "อนัตตา"


อนัตตลักขณสูตร

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อนัตตา

3. นิยาม "อัตตา" ในอนัตตลักขณะสูตร

จากอนัตตลักขณสูตรเช่นกัน พระพุทธองค์ให้นิยามคำว่า "อัตตา" ไว้ชัดเจน

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย....

ถ้ารูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ว่า รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย "

4. จากท่อนจบที่พระพุทธเจ้าถามปัญจวัคคีย์

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อนัตตา[/color]

ถ้าพระพุทธเจ้าถามต่อไปว่า

ภ. ก็สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

คุณจิ๊กเปง ช่วยตอบให้ชื่นใจแทนปัญจวัคคีย์หน่อเถิดครับ

....... ข้อนั้น ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อัตตา[/color].........

สรุป

ถ้ามีรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ใด ที่ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสิ่งนั้นว่า ขอให้มันเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าเป็นอย่างนี้เลย สิ่งนั้นก็เป็น "อัตตา"

และพระพุทธองค์ยังตรัสถามพระปัญจวัคคีย์ เพื่อสอบความเข้าใจด้วยว่า :

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ตอนนี้พระพุทธเจ้าฝากผมมาถามคุณนักดาบพเนจรว่า:

ภ. ก็สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

คุณจิ๊กเปง ตอบว่า

....... ข้อนั้น ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อัตตา[/color].........

อัตตา จึงเท่ากับ สิ่งที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

แล้วอะไรล่ะที่เป็นอัตตา....ก็อสังขตธาตุ ยังไงล่ะ ดูลักษณะของอสังขตธาตุนะครับ

ลักษณะของอสังตธาตุ

อสังขตธาตุ หมายถึง ธาตุที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง และมีลักษณะความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมสลายไม่ปรากฏ ๑ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนไม่ปรากฏ ๑

ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณ ะของอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด = ไม่เกิด
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)

ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.

 ;D ;D ;D

หมดมุก ... มุกแป๊กแล้วหรือครับ


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 20 ธันวาคม 2553 09:00:40

หมัดเด็ดน๊อคเอาท์มารพลศักดิ์

อนัตตา  ไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้

อัตตา    ก็อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้ อ่ะจิ ครับ

 ;D ;D ;D

โอมเพี้ยง
นิพพาน เป็นอัตตา
จงมา จงมา จงมา ด่วนเลย

 ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 20 ธันวาคม 2553 17:31:40
ตายห่า ใครเอา phonsak ไปใส่ถุงพลาสติกละโยนทิ้งถังขยะที

เอาขยะเปียกด้วยนะ มัดถุงให้แน่น ๆ จะได้ออกมาไม่ได้


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 21 ธันวาคม 2553 00:24:41

หมัดเด็ดน๊อคเอาท์มารพลศักดิ์

อนัตตา  ไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้

อัตตา    ก็อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้ อ่ะจิ ครับ

 ;D ;D ;D




ขันธ์ 5  เป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้  มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรเลย

ธรรมขันธ์ (ธรรมกาย) เป็นอัตตา  เพราะอยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้  ไม่ให้เกิด  ไม่ให้แก่  ไม่ให่เจ็บ ไม่ให้ตาย  และจะเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรก็ได้  เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านจะเปลี่ยนเป็นใครก็ได้


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 21 ธันวาคม 2553 09:42:42

หมัดเด็ดน๊อคเอาท์มารพลศักดิ์

อนัตตา  ไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้

อัตตา    ก็อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้ อ่ะจิ ครับ

 ;D ;D ;D




ขันธ์ 5  เป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้  มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรเลย

ธรรมขันธ์ (ธรรมกาย) เป็นอัตตา  เพราะอยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้  ไม่ให้เกิด  ไม่ให้แก่  ไม่ให่เจ็บ ไม่ให้ตาย  และจะเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรก็ได้  เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านจะเปลี่ยนเป็นใครก็ได้

 ;D ;D ;D
โอมเพี้ยง ธรรมกายของเรา จงโตขึ้นๆๆ
จากห้าวา เป็นสิบวา จากสิบวา เป็นยี่สิบวา
จงใสขึ้นๆๆ

โอมเพี้ยง
พลศักดิ์ เปลี่ยนเป็นเดียรถีย์

 ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 21 ธันวาคม 2553 10:06:08
ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา หรืออสังขตธาตุ?

 ;D ;D
นิพพาน = อสังขตธาตุ = อัตตา = ธรรมธาตุ=ธรรมกาย = ธรรมขันธ์ = เจ้าแม่กวนอิม = เปลี่ยนเป็นใครอะไรก็ได้

 ;D ;D ;D

เลอะเทอะ



หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 21 ธันวาคม 2553 14:09:52

หมัดเด็ดน๊อคเอาท์มารพลศักดิ์

อนัตตา  ไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้

อัตตา    ก็อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้ อ่ะจิ ครับ

 ;D ;D ;D




ขันธ์ 5  เป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้  มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรเลย

ธรรมขันธ์ (ธรรมกาย) เป็นอัตตา  เพราะอยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้  ไม่ให้เกิด  ไม่ให้แก่  ไม่ให่เจ็บ ไม่ให้ตาย  และจะเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรก็ได้  เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านจะเปลี่ยนเป็นใครก็ได้

 ;D ;D ;D
โอมเพี้ยง ธรรมกายของเรา จงโตขึ้นๆๆ
จากห้าวา เป็นสิบวา จากสิบวา เป็นยี่สิบวา
จงใสขึ้นๆๆ

โอมเพี้ยง
พลศักดิ์ เปลี่ยนเป็นเดียรถีย์

 ;D ;D ;D


1.  คิดผิด คิดใหม่ได้นะ  ผมว่าเดียรถีย์ตัวจริงคือ armageddon  เดียรถีย์ตัวนี้ อวตาร ก่อกวนเว็บธรรมะเขาไปทั่ว  ใช้ชื่อต่างๆมากมาย เช่น เสี่ยวอีสาน(เว็บmanager) เอกวีร์(เว็บพลังจิต)

มารarmageddonนี้น่าสงสารมาก  มีความอยากรู้อยากเห็นเรื่องธรรมมาก แต่โดนสาบไม่ให้มีทางเห็นธรรมได้

มารarmageddonลองไปคิดดู  ถ้าคิดออก  จะค่อยๆเริ่มเห็นธรรม

ผู้ที่พูดเรื่องธรรมกายคนแรก คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร(กวนอิม)  ตกลงพวกท่านก็เป็นเดียรถีย์หรือเปล่า

เมื่อไรที่คุณมองเห็นว่า  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร(กวนอิม) ไม่ได้เป็นเดียรถีย์  แต่armageddonต่างหากเป็นเดียรถีย์  เมื่อนั้นผมจะแก้คำสาบของคุณเอง  จะได้เลิกก่อกวนในเว็บธรรมะสักที

พระอวโลกิเตศวร : ธรรมกาย คือ อายตนะนิพพาน พระพุทธเจ้า : ธรรมกาย เป็น อัตตา


อ้างอิง 1. [ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร พระอวโลกิเตศวรสอนพระสารีบุตรว่า[/color]


" ธรรมกาย ก็คือปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้
ก็คืออายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาลเล่าก็ปราศจากการตั้งอยู่มั่นคง "


อ้างอิง 2.[ ขุทฺทกนิกาย จริยา อรรถกถาปกิณณกกถา เล่ม 74 หน้า 571

"...หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง หรือบารมีย่อมทำลายปฏิปักษ์อื่นจาก ธรรมกายอันเป็นอัตตา...."


อ้างอิง 3. [จากหนังสือชุมนุมบทความของหลวงปู่เปรม (เปมงฺกโร ภิกขุ) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร  


  ------- เปมงฺกโร ภิกฺขุ--------

จิตบริสุทธิ์พ้นจากอำนาจวัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบาก เป็นตัวธรรม  เป็นสัจจะธรรม คือ นิโรธสัจจ์ คู่กับ ทุกขสัจจ์นั้น และเป็นอัตตาตัวตน   ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า

อตฺตทีปา วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา
ธมฺมทีปา วิหรถ ธมฺมสรณา อนญฺญสรณา แปลว่า
ท่านทั้งหลาย จงมีตนเป็นที่เกาะกุม มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง   ดังนี้

ตน คือ ธรรม / ธรรม ก็คือ ตน
ธรรม คือ จิตที่บริสุทธิ์  เป็นวิมุตติจิต เป็นอมตธรรม ธรรมที่ไม่ตาย หรือนิพพาน ก็ได้.


สรุป


อายตนะนิพพาน คือ ธรรมกาย คือ จิตบริสุทธิ์ คือ ธรรม คือ นิพพาน คือ วิมุตติจิต


2. อัตตาในอนัตตลักขณสูตรมีเงื่อนไขอีกข้อหนึ่งที่ยากต่อการพิสูจน์ นอกจากไม่อาพาธ เจ็บป่วยแก่ตายแล้ว ยังต้องเป็นไปดังใจ  หรือเมื่อบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้ เช่น ธรรมกายของเจ้าแม่กวนอิม ท่านจะแปลงเป็นใครก็ได้

เอ้า! ลืมไป  ผมโดนหมัดเด็ดของarmageddonน๊อคเอาท์ไปแล้ว  เหตุไฉนจึงตอบคำถามนี้ของarmageddonได้ว่า  "อัตตา"  ที่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้ = ธรรมกาย  และให้ตัวอย่างของธรรมกายของพระมหาโพธิสัตว์กวนอิมได้ด้วย.....   สงสัยจริงๆ อ่ะจิ  ;D (:BR:) (^^)


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: เจ้าทึ่ม ที่ 21 ธันวาคม 2553 16:14:25
เจ้าทึ่มขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ตลอดจนทีมงานร่วมอุดมการณ์ทุกท่าน หากความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างก็ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายผู้ได้นำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนผู้ที่เจ้าทึ่มได้กล่าวนอบน้อมสักการะไว้ข้างต้นนั้นเทอญ

"อนัตตา" นั้นเป็นเพียงคำกล่าวที่นำมาใช้แสดงภาวะที่ตรงข้ามกับ "อัตตา" เพื่อให้ผู้ฟังเข้าถึง "มัชฌิมาปฏิปทา" เท่านั้น โดยตัวของคำว่า "อนัตตา" เองนั้น หาได้มีความหมายใดๆเฉพาะตัวไม่ ขอท่านทั้งหลายได้โปรดพิจารณาดูโดยแยบคายเถิด

สิ่งใดคือ "อัตตา" สิ่งที่ตรงข้ามนั้นแลคือ "อนัตตา"
หากอัตตาคือ "ตัวตนของความมี" อนัตตาก็คือ "การไม่มีตัวตนแห่งความมีนั้น"
หากอัตตาคือ "ตัวตนของความไม่มี" อนัตตาก็คือ "การไม่มีตัวตนแห่งความไม่มีนั้น"
เมื่อใดไม่มี "อัตตา" เมื่อนั้นก็ย่อมไม่มี "อนัตตา"

หากเปรียบ "อัตตา" เป็นเสมือนนิ้วที่ชี้ลงดิน
"อนัตตา" ก็เป็นเสมือนนิ้วที่ชี้ไปยังดวงจันทร์
นิ้วเหมือนกัน
ต่างกันเพียงทิศทางที่ชี้เท่านั้น
นิ้วที่ชี้ลงดินไม่ใช่ดิน
นิ้วที่ชี้ไปยังดวงจันทร์ก็ไม่ใช่ดวงจันทร์
ตัวเรามีหน้าที่เพียงมองไปที่ดวงจันทร์
ไม่จำเป็นต้องจ้องมองนิ้วใดๆ
มองนิ้วย่อมไม่เห็นดวงจันทร์
มองดวงจันทร์ย่อมไม่เห็นนิ้ว
นิ้วก็คือนิ้ว
ดวงจันทร์ก็คือดวงจันทร์
นิ้วจะเป็นดวงจันทร์ไปได้อย่างไร
buddhismforliving.weebly.com


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 21 ธันวาคม 2553 20:15:07
คุณเจ้าทึ่มครับ


อนัตตา ที่พระพุทธเจ้าตรัสในอนัตตาลักขณะสูตร = สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวนเป็นธรรมดา

อนัตตา = สิ่งที่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

อนัตตา = สิ่งที่ไม่เป็นอมตะ  อะไรล่ะที่ไม่เป็นอมตะ  ก็สิ่งที่จิตสังขาร หรือจิตคิดปรุงแต่งดำรงอยู่ คือ ขันธ์ 5  ขันธ์ 5 จึงเป็นอนัตตา

.............................................................................

อัตตา ที่พระพุทธเจ้าตรัสในอนัตตาลักขณะสูตร = สิ่งที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

อัตตา = สิ่งที่ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

อัตตา = สิ่งที่เป็นอมตะ  อะไรล่ะที่เป็นอมตะ  ก็สิ่งที่จิตบริสุทธิ์พุทธะ หรือจิตที่ไม่มีคิดปรุงแต่งดำรงอยู่ คือ ธรรมขันธ์(ธรรมกาย.ธรรมธาตุ)  ธรรมขันธ์(ธรรมกาย.ธรรมธาตุ)จึงเป็นอัตตา

สรุป

อนัตตา คือ สิ่งที่ไม่เป็นอมตะ  ซึ่งจิตสังขารเข้าไปอยู่ คือ ขันธ์ 5

อัตตา คือ สิ่งที่เป็นอมตะ ซึ่งจิตบริสุทธิ์ ที่ไม่มีความโลภ โกรธ หลง เข้าไปอยู่ คือ ธรรมขันธ์(ธรรมกาย.ธรรมธาตุ) ที่เรียกว่า "อายตนะนิพพาน"

ท่านเข้าใจหรือยัง  นี่คือคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าจึงยืนยันในขุทฺทกนิกาย จริยา อรรถกถาปกิณณกกถา เล่ม 74 หน้า 571ว่า "ธรรมกายอันเป็นอัตตา...."

และพระอวโลกิเตศวรจึงสอนพระสารีบุตร บึนทึกในปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ว่า

" ธรรมกาย ก็คือปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้ ก็คืออายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาลเล่าก็ปราศจากการตั้งอยู่มั่นคง "




หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 21 ธันวาคม 2553 21:43:04

หมัดเด็ดน๊อคเอาท์มารพลศักดิ์

อนัตตา  ไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้

อัตตา    ก็อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้ อ่ะจิ ครับ

 ;D ;D ;D




ขันธ์ 5  เป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้  มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรเลย

ธรรมขันธ์ (ธรรมกาย) เป็นอัตตา  เพราะอยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้  ไม่ให้เกิด  ไม่ให้แก่  ไม่ให่เจ็บ ไม่ให้ตาย  และจะเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรก็ได้  เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านจะเปลี่ยนเป็นใครก็ได้

 ;D ;D ;D
โอมเพี้ยง ธรรมกายของเรา จงโตขึ้นๆๆ
จากห้าวา เป็นสิบวา จากสิบวา เป็นยี่สิบวา
จงใสขึ้นๆๆ

โอมเพี้ยง
พลศักดิ์ เปลี่ยนเป็นเดียรถีย์

 ;D ;D ;D


1.  คิดผิด คิดใหม่ได้นะ  ผมว่าเดียรถีย์ตัวจริงคือ armageddon  เดียรถีย์ตัวนี้ อวตาร ก่อกวนเว็บธรรมะเขาไปทั่ว  ใช้ชื่อต่างๆมากมาย เช่น เสี่ยวอีสาน(เว็บmanager) เอกวีร์(เว็บพลังจิต)

มารarmageddonนี้น่าสงสารมาก  มีความอยากรู้อยากเห็นเรื่องธรรมมาก แต่โดนสาบไม่ให้มีทางเห็นธรรมได้

มารarmageddonลองไปคิดดู  ถ้าคิดออก  จะค่อยๆเริ่มเห็นธรรม

ผู้ที่พูดเรื่องธรรมกายคนแรก คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร(กวนอิม)  ตกลงพวกท่านก็เป็นเดียรถีย์หรือเปล่า

เมื่อไรที่คุณมองเห็นว่า  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร(กวนอิม) ไม่ได้เป็นเดียรถีย์  แต่armageddonต่างหากเป็นเดียรถีย์  เมื่อนั้นผมจะแก้คำสาบของคุณเอง  จะได้เลิกก่อกวนในเว็บธรรมะสักที

พระอวโลกิเตศวร : ธรรมกาย คือ อายตนะนิพพาน พระพุทธเจ้า : ธรรมกาย เป็น อัตตา


อ้างอิง 1. [ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร พระอวโลกิเตศวรสอนพระสารีบุตรว่า[/color]


" ธรรมกาย ก็คือปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้
ก็คืออายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาลเล่าก็ปราศจากการตั้งอยู่มั่นคง "


อ้างอิง 2.[ ขุทฺทกนิกาย จริยา อรรถกถาปกิณณกกถา เล่ม 74 หน้า 571

"...หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง หรือบารมีย่อมทำลายปฏิปักษ์อื่นจาก ธรรมกายอันเป็นอัตตา...."


อ้างอิง 3. [จากหนังสือชุมนุมบทความของหลวงปู่เปรม (เปมงฺกโร ภิกขุ) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร  


  ------- เปมงฺกโร ภิกฺขุ--------

จิตบริสุทธิ์พ้นจากอำนาจวัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบาก เป็นตัวธรรม  เป็นสัจจะธรรม คือ นิโรธสัจจ์ คู่กับ ทุกขสัจจ์นั้น และเป็นอัตตาตัวตน   ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า

อตฺตทีปา วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา
ธมฺมทีปา วิหรถ ธมฺมสรณา อนญฺญสรณา แปลว่า
ท่านทั้งหลาย จงมีตนเป็นที่เกาะกุม มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง   ดังนี้

ตน คือ ธรรม / ธรรม ก็คือ ตน
ธรรม คือ จิตที่บริสุทธิ์  เป็นวิมุตติจิต เป็นอมตธรรม ธรรมที่ไม่ตาย หรือนิพพาน ก็ได้.


สรุป


อายตนะนิพพาน คือ ธรรมกาย คือ จิตบริสุทธิ์ คือ ธรรม คือ นิพพาน คือ วิมุตติจิต


2. อัตตาในอนัตตลักขณสูตรมีเงื่อนไขอีกข้อหนึ่งที่ยากต่อการพิสูจน์ นอกจากไม่อาพาธ เจ็บป่วยแก่ตายแล้ว ยังต้องเป็นไปดังใจ  หรือเมื่อบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้ เช่น ธรรมกายของเจ้าแม่กวนอิม ท่านจะแปลงเป็นใครก็ได้

เอ้า! ลืมไป  ผมโดนหมัดเด็ดของarmageddonน๊อคเอาท์ไปแล้ว  เหตุไฉนจึงตอบคำถามนี้ของarmageddonได้ว่า  "อัตตา"  ที่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้ = ธรรมกาย  และให้ตัวอย่างของธรรมกายของพระมหาโพธิสัตว์กวนอิมได้ด้วย.....   สงสัยจริงๆ อ่ะจิ  ;D (:BR:) (^^)

 ;D ;D ;D

มั่วและก็แถ ตามเคยแหละ คุณเดียรถีย์พลศักดิ์

ยังจะเอาพระอวโลกิเตศวร ที่ไม่มีในพระไตรปิฎกมาและก็พระสารีบุตร ก็ไม่เคยเจอพระอวโลกิเตศาวรสักหนเดียว จนเข้าพระนิพพาน

คุณเดียรถีย์พลศักดิ์ ดันเอาเรืองนิยาย ที่แต่ทีหลังจากพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน มาอ้างอีกแน่ะ

เจ้าแม่กวนอิม ก็ถือกำเนิด มาหลังจากพระพุทธเจ้าเข้านิพพานไปนานแล้ว 
เจ้าแม่กวนอิม ไปฟังพระพุทธเจ้าพระองคไหนมาล่ะครับ
หรือว่าไปฟังในนิพพาน ทั้งๆที่เจ้าแม่ยังเข้านิพพานไม่ได้


สรุป

นิพพาน = อสังขตธาตุ = อัตตา = ธรรมธาตุ=ธรรมกาย = ธรรมขันธ์ = เจ้าแม่กวนอิม = เปลี่ยนเป็นใครอะไรก็ได้ = เลอะเทอะ
 ;D ;D ;D






หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 23 ธันวาคม 2553 00:29:57
ผู้ใดไม่เห็นธรรม  ย่อมไม่เห็นเราตถาคต
ผู้ใดไม่เห็นเราตถาคต  ย่อมไม่เห็นเรา พลศักดิ์ วังวิวัฒน์


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 23 ธันวาคม 2553 08:19:24
ผู้ใดไม่เห็นธรรม  ย่อมไม่เห็นเราตถาคต
ผู้ใดไม่เห็นเราตถาคต  ย่อมไม่เห็นเรา พลศักดิ์ วังวิวัฒน์



หมดมุกแล้วหรือครับ  มุกแป๊กก....ครับ
ตะแล้น..ตะแล้น..ตะแล้น... ;D ;D ;D

คุณเดียรถียร์พลศักดิ์ บิดเบือนพุทธพจน์ อีกแระ

ถีงแม้ว่า จะเป็นธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ ที่ผู้มีมลทินอย่างคุณเดียรถีย์ พลศักดิ์ ได้คิดค้นจินตนาการรำพัน ขี้นมา

ก็พอมีอรรถรสอยู่บ้าง เพราะรสพระธรรมนั้นเป็นเลิศกว่ารสใดๆ
แม้จะแทบหาความบริสุทธิ์เอาไม่ได้เสียเลย

ผู้มีศีลมีสติ มีสมาธิและปัญญา ก็ยังจะสามารถเลือกคัดเอาได้ หละนะ

แต่ธรรมะที่บริสุทธิ์อันแท้จริง ที่พระพุทธเจ้าได้ค้นพบ
ไม่ได้อยู่ที่ใดอื่น

อยู่ในใจเราทุกคนนั่นแหละ ไม่ต้องเที่ยวแสวงหาออกไปนอกกายนอกใจนี่เลย

พยายามๆเข้าไว้เน้อ คุณหนูเดียรถีย์พลศักดิ์
ก็ขออัญเชิญ มอบ คำขวัญและกำลังใจ 
ด้วยสโลแกน  ของท่านปรมาจารย์ อิอิ

ด้วยบทนี้

" ทำไปเรื่อยๆ เราไม่เหนื่อย เราไม่เมื่อย
ทำไปเรื่อยๆ เราไม่เมื่อย เราไม่เหนือย "

สวัสดีปีใหม่ครับคุณเดียรถีย์พลศักดิ์
สวัสดีปีใหม่ครับ ท่านผู้ชม

 ;D ;D ;D



หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: เจ้าทึ่ม ที่ 23 ธันวาคม 2553 10:28:58
เจ้าทึ่มขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ตลอดจนทีมงานร่วมอุดมการณ์ทุกท่าน หากความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างก็ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายผู้ได้นำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนผู้ที่เจ้าทึ่มได้กล่าวนอบน้อมไว้ข้างต้นนั้นเทอญ

กราบคารวะท่านพลศักดิ์

กราบขอบพระคุณอย่างสูงที่ยกข้อธรรมะที่น่าสนใจนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นให้ผู้สนใจได้ร่วมกันพิจารณา
ขอบุญกุศลนี้ได้สนับสนุนให้ท่านเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม ตรงต่อนิพพานตามเหตุตามปัจจัยอันสมควรยิ่งเทอญ

อันว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นล้วนมีอยู่แล้วในใจท่านและมีอยู่ในใจเราด้วย
ดังนั้นธรรมะของพระพุทธเจ้าจึงไม่ต้องอ้างพระไตรปิฎกหรือพระสูตรอันใด
เราสามารถพิสูจน์ได้ในใจเราเอง สิ่งนี้แลที่เรียกว่า "ธรรมกาย"
กล่าวคือธรรมะทั้งหลายนั้นพิจารณาและพิสูจน์ได้ในกายในใจของพวกเราเองทุกคน

หากเรากล่าวเจาะจงลงไปว่า "อนัตตา" คือ "ความไม่เที่ยง ความแปรปรวน"
"อนัตตา" นั้นก็เป็น "อัตตา" ชนิดหนึ่ง เป็น "อัตตาแห่งความไม่เที่ยง"
เป็น "ความไม่เที่ยงที่ดำรงอยู่เป็นนิจนิรันดร์ "
เป็น "ความไม่เที่ยงที่ไม่ยอมแปรปรวนไปเป็นความเที่ยง"
เรียกได้ว่า "อนัตตา" ในความหมายข้างต้นก็คือ "อัตตา" นั่นเอง
จากความข้างต้น
หากเราเรียก "อนัตตา" ว่า "ความว่าง" เรียก "อัตตา" ว่า "รูป"
เราจะกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า "รูปก็คือความว่าง ความว่างก็คือรูป"
สิ่งนี้แลที่พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรกล่าวแก่พระสารีบุตรไว้ในปรัชญาปารมิตาสูตร

การที่เรากล่าวเจาะจงลงไปว่า "อัตตา" คือ "ความเที่ยง ความเป็นนิจนิรันดร์ สิ่งที่เป็นอมตะ" นั้น
ความจริงแล้วคือการยอมรับโดยนัยว่า "อัตตา" นั้นมีธรรมชาติแห่ง "ความแปรปรวน ความไม่เที่ยง"
มิฉะนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องไปเรียกมันว่า "อมตะ" ตัวอย่างเช่น

"จิต" นั้นมีธรรมชาติแห่งการ "แปรเปลี่ยน" 
บางท่านจึงเรียกสภาวะที่มันอยู่ได้นานโดยไม่แปรเปลี่ยนว่าเป็น "จิตอันบริสุทธิ์ เป็นอมตะ เป็นนิจนิรันดร์"
จุดประสงค์ที่ใช้คำพูดเช่นนั้นก็เพื่อ "หลีกเลี่ยงภาวะสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง"
ไม่ให้ยึดอย่างสุดโต่งว่า "จิตเป็นอนัตตา"
เนื่องจากนักปฏิบัติธรรมบางท่านเมื่อฝึกมากเข้าก็อาจเผลอไปยึด "อนัตตา" เข้าเป็นตัวเป็นตน
ตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญทุกขกิริยาเพียงอย่างเดียวเพื่อละอัตตา
ถือเป็น "อัตตกิละมะถานุโยโค" เป็นภาวะสุดโต่งอย่างหนึ่งที่ตรงข้ามกับ "กามะสุขัลลิกานุโยโค"
สิ่งนี้แลที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนปัญจวคีย์ไว้ในธัมมะจักรกัปปะวตนสูตร
พวกเราควรเข้าใจให้ตรงว่า "จิตนั้นเป็นได้ทั้งอนัตตาและอัตตา...และไม่ควรยึดเป็นสรณะทั้งคู่"

รูปก็คือความว่าง
ความว่างก็คือรูป
แต่รูปก็คือรูป
ความว่างก็คือความว่าง

"สังสารวัฏ" นั้นมีธรรมชาติแห่งการ "แปรเปลี่ยน"
บางท่านจึงเรียกสภาวะที่มันอยู่ได้นานโดยไม่แปรเปลี่ยนว่าเป็น "นิพพาน"
จุดประสงค์ที่ใช้คำพูดเช่นนั้นก็เพื่อชี้ให้สาธุชนเห็นทางเลี่ยง "ภาวะสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง"
ไม่ให้ยึดอย่างสุดโต่งว่า "นิพพานเป็นอนัตตา"
เนื่องจากนักปฏิบัติธรรมบางท่านเมื่อฝึกมากเข้าก็อาจเผลอไปตั้ง "อนัตตา" เป็นจุดมุ่งหมายสุงสุดในการปฏิบัติธรรม
ถือเป็น "อัตตกิละมะถานุโยโค" เป็นภาวะสุดโต่งอย่างหนึ่งที่ตรงข้ามกับ "กามะสุขัลลิกานุโยโค"
สิ่งนี้แลที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนปัญจวคีย์ไว้ในธัมมะจักรกัปปะวตนสูตร
พวกเราควรเข้าใจให้ตรงว่า "นิพพานนั้นไม่มีชื่อเรียก...ไม่ว่าจะเป็นอนัตตาหรืออัตตา"

รูปก็คือความว่าง
ความว่างก็คือรูป
แต่รูปก็คือรูป
ความว่างก็คือความว่าง

คำว่า "อัตตา" หรือ "อนัตตา"นั้นเป็นเพียงคำคู่ตรงข้าม
เอาไว้ใช้คู่กันให้เห็น "มัชฌิมาปฏิปทา" เท่านั้น
เป็นเพียง "นิ้ว" ที่ชี้ในทิศตรงข้ามกันให้พวกเรามองเห็นทางเบื้องหน้าเท่านั้น

หากเรายึด "อัตตา" เราก็มองเห็นแต่ดิน
ในกรณีที่เรายึดมั่นในคำพูดมากเกินไปก็เปรียบเสมือนการจ้องมองแต่เพียงนิ้วที่ชี้ลงดิน
...เราไม่มีโอกาสมองเห็นดินด้วยซ้ำไป

หากเรายึด "อนัตตา" เราก็มองเห็นแต่ฟ้า
ในกรณีที่เรายึดมั่นในคำพูดมากเกินไปก็เปรียบเสมือนการจ้องมองแต่เพียงนิ้วที่ชี้ขึ้นฟ้า
...เราไม่มีโอกาสมองเห็นท้องฟ้าด้วยซ้ำไป

เมื่อพวกเรามุ่งมั่นกับการ "ก้มหน้าลงดิน"
ครูบาอาจารย์บางท่านจึง "ชี้ฟ้า" ให้พวกเราได้เงยหน้าขึ้น
จุดมุ่งหมายคือให้เรา "มองเห็นทางเบื้องหน้า"
ไม่ได้ตั้งใจให้เรามองฟ้าหรือมองนิ้วที่ชี้ขึ้นไปบนฟ้าแต่อย่างใด

เมื่อพวกเรามุ่งมั่นกับการ "แหงนหน้าขึ้นมองฟ้า"
ครูบาอาจารย์บางท่านจึง "ชี้ดิน" ให้พวกเราได้ก้มหน้าลง
จุดมุ่งหมายคือให้เรา "มองเห็นทางเบื้องหน้า"
ไม่ได้ตั้งใจให้เรามองดินหรือมองนิ้วที่ชี้ลงไปยังดินแต่อย่างใด
buddhismforliving.weebly.com


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 23 ธันวาคม 2553 17:43:17
เจ้าทึ่มขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ตลอดจนทีมงานร่วมอุดมการณ์ทุกท่าน หากความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างก็ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายผู้ได้นำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนผู้ที่เจ้าทึ่มได้กล่าวนอบน้อมไว้ข้างต้นนั้นเทอญ

กราบคารวะท่านพลศักดิ์

กราบขอบพระคุณอย่างสูงที่ยกข้อธรรมะที่น่าสนใจนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นให้ผู้สนใจได้ร่วมกันพิจารณา
ขอบุญกุศลนี้ได้สนับสนุนให้ท่านเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม ตรงต่อนิพพานตามเหตุตามปัจจัยอันสมควรยิ่งเทอญ

อันว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นล้วนมีอยู่แล้วในใจท่านและมีอยู่ในใจเราด้วย
ดังนั้นธรรมะของพระพุทธเจ้าจึงไม่ต้องอ้างพระไตรปิฎกหรือพระสูตรอันใด
เราสามารถพิสูจน์ได้ในใจเราเอง สิ่งนี้แลที่เรียกว่า "ธรรมกาย"
กล่าวคือธรรมะทั้งหลายนั้นพิจารณาและพิสูจน์ได้ในกายในใจของพวกเราเองทุกคน

หากเรากล่าวเจาะจงลงไปว่า "อนัตตา" คือ "ความไม่เที่ยง ความแปรปรวน"
"อนัตตา" นั้นก็เป็น "อัตตา" ชนิดหนึ่ง เป็น "อัตตาแห่งความไม่เที่ยง"
เป็น "ความไม่เที่ยงที่ดำรงอยู่เป็นนิจนิรันดร์ "
เป็น "ความไม่เที่ยงที่ไม่ยอมแปรปรวนไปเป็นความเที่ยง"
เรียกได้ว่า "อนัตตา" ในความหมายข้างต้นก็คือ "อัตตา" นั่นเอง
จากความข้างต้น
หากเราเรียก "อนัตตา" ว่า "ความว่าง" เรียก "อัตตา" ว่า "รูป"
เราจะกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า "รูปก็คือความว่าง ความว่างก็คือรูป"
สิ่งนี้แลที่พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรกล่าวแก่พระสารีบุตรไว้ในปรัชญาปารมิตาสูตร

การที่เรากล่าวเจาะจงลงไปว่า "อัตตา" คือ "ความเที่ยง ความเป็นนิจนิรันดร์ สิ่งที่เป็นอมตะ" นั้น
ความจริงแล้วคือการยอมรับโดยนัยว่า "อัตตา" นั้นมีธรรมชาติแห่ง "ความแปรปรวน ความไม่เที่ยง"
มิฉะนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องไปเรียกมันว่า "อมตะ" ตัวอย่างเช่น

"จิต" นั้นมีธรรมชาติแห่งการ "แปรเปลี่ยน" 
บางท่านจึงเรียกสภาวะที่มันอยู่ได้นานโดยไม่แปรเปลี่ยนว่าเป็น "จิตอันบริสุทธิ์ เป็นอมตะ เป็นนิจนิรันดร์"
จุดประสงค์ที่ใช้คำพูดเช่นนั้นก็เพื่อ "หลีกเลี่ยงภาวะสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง"
ไม่ให้ยึดอย่างสุดโต่งว่า "จิตเป็นอนัตตา"
เนื่องจากนักปฏิบัติธรรมบางท่านเมื่อฝึกมากเข้าก็อาจเผลอไปยึด "อนัตตา" เข้าเป็นตัวเป็นตน
ตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญทุกขกิริยาเพียงอย่างเดียวเพื่อละอัตตา
ถือเป็น "อัตตกิละมะถานุโยโค" เป็นภาวะสุดโต่งอย่างหนึ่งที่ตรงข้ามกับ "กามะสุขัลลิกานุโยโค"
สิ่งนี้แลที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนปัญจวคีย์ไว้ในธัมมะจักรกัปปะวตนสูตร
พวกเราควรเข้าใจให้ตรงว่า "จิตนั้นเป็นได้ทั้งอนัตตาและอัตตา...และไม่ควรยึดเป็นสรณะทั้งคู่"

รูปก็คือความว่าง
ความว่างก็คือรูป
แต่รูปก็คือรูป
ความว่างก็คือความว่าง

"สังสารวัฏ" นั้นมีธรรมชาติแห่งการ "แปรเปลี่ยน"
บางท่านจึงเรียกสภาวะที่มันอยู่ได้นานโดยไม่แปรเปลี่ยนว่าเป็น "นิพพาน"
จุดประสงค์ที่ใช้คำพูดเช่นนั้นก็เพื่อชี้ให้สาธุชนเห็นทางเลี่ยง "ภาวะสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง"
ไม่ให้ยึดอย่างสุดโต่งว่า "นิพพานเป็นอนัตตา"
เนื่องจากนักปฏิบัติธรรมบางท่านเมื่อฝึกมากเข้าก็อาจเผลอไปตั้ง "อนัตตา" เป็นจุดมุ่งหมายสุงสุดในการปฏิบัติธรรม
ถือเป็น "อัตตกิละมะถานุโยโค" เป็นภาวะสุดโต่งอย่างหนึ่งที่ตรงข้ามกับ "กามะสุขัลลิกานุโยโค"
สิ่งนี้แลที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนปัญจวคีย์ไว้ในธัมมะจักรกัปปะวตนสูตร
พวกเราควรเข้าใจให้ตรงว่า "นิพพานนั้นไม่มีชื่อเรียก...ไม่ว่าจะเป็นอนัตตาหรืออัตตา"

รูปก็คือความว่าง
ความว่างก็คือรูป
แต่รูปก็คือรูป
ความว่างก็คือความว่าง

คำว่า "อัตตา" หรือ "อนัตตา"นั้นเป็นเพียงคำคู่ตรงข้าม
เอาไว้ใช้คู่กันให้เห็น "มัชฌิมาปฏิปทา" เท่านั้น
เป็นเพียง "นิ้ว" ที่ชี้ในทิศตรงข้ามกันให้พวกเรามองเห็นทางเบื้องหน้าเท่านั้น

หากเรายึด "อัตตา" เราก็มองเห็นแต่ดิน
ในกรณีที่เรายึดมั่นในคำพูดมากเกินไปก็เปรียบเสมือนการจ้องมองแต่เพียงนิ้วที่ชี้ลงดิน
...เราไม่มีโอกาสมองเห็นดินด้วยซ้ำไป

หากเรายึด "อนัตตา" เราก็มองเห็นแต่ฟ้า
ในกรณีที่เรายึดมั่นในคำพูดมากเกินไปก็เปรียบเสมือนการจ้องมองแต่เพียงนิ้วที่ชี้ขึ้นฟ้า
...เราไม่มีโอกาสมองเห็นท้องฟ้าด้วยซ้ำไป

เมื่อพวกเรามุ่งมั่นกับการ "ก้มหน้าลงดิน"
ครูบาอาจารย์บางท่านจึง "ชี้ฟ้า" ให้พวกเราได้เงยหน้าขึ้น
จุดมุ่งหมายคือให้เรา "มองเห็นทางเบื้องหน้า"
ไม่ได้ตั้งใจให้เรามองฟ้าหรือมองนิ้วที่ชี้ขึ้นไปบนฟ้าแต่อย่างใด

เมื่อพวกเรามุ่งมั่นกับการ "แหงนหน้าขึ้นมองฟ้า"
ครูบาอาจารย์บางท่านจึง "ชี้ดิน" ให้พวกเราได้ก้มหน้าลง
จุดมุ่งหมายคือให้เรา "มองเห็นทางเบื้องหน้า"
ไม่ได้ตั้งใจให้เรามองดินหรือมองนิ้วที่ชี้ลงไปยังดินแต่อย่างใด
buddhismforliving.weebly.com


คุณเจ้าทึ่ม ไปเอามาจากไหนครับ
ฟังแล้วทะแม่งๆ

สำนวนความเห็น คล้ายๆ จ้อแก้ต่างใน กรณีธรรมกาย
จะมาบอกว่าพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์นั่นมีอยู่ในใจแล้ว
นั่นหมายถึงผู้ถึงไตรสรณะคมณ์แล้ว
แต่ถ้ายังไม่ถึงไตรสรณะคมณ์

ก็จะเป็นได้แค่มนุษย์ดิรัจฉาโน  มนุสสเปโต มนุษย์เนรยิโก
ซึ่งพวกเหล่านี้ ไม่ได้มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ในใจ

และที่กล่าวว่า "ธรรมะพระพุทธเจ้า ไม่ต้องอ้าง พระไตรปิฎกหรือพระสูตรอันใด
เราสามารถพิสูจน์ได้ในใจเราเอง สิ่งนั้นแลเรียกว่า ธรรมกาย"

ข้อนี้ยิ่งเพี้ยนไปใหญ่
ใจเป็นอริยะ โสดาบันขึ้นไป ตรงแน่วเที่ยงแท้สู่กระแสพระนิพพาน ได้แล้วหรือยัง
ถ้าเป็นมนุษย์ดิรัจฉานโน มนุษย์สเปโต มนุษย์เนรยิโกอยู่
ถ้าไม่อาศัยพระไตรปิฎก จะพิจารณา พิสูจน์ ใจ เหล่านี้ได้อย่างไร

ข้อต่อไป เมื่อกล่าวว่า ไม่อาศัยพระไตรปิฎก หรือพระสูตร
แต่
กลับไปอาศัยพระสูตร ที่พระอวโลกิเตศวรตรัส บพระสารีบุตร ในปารามิตตาสูตร มาอ้าง

คือจะอ้าง พระสูตรของมหายานแทน มาให้น้ำหนักคำพูด ว่าพอจะน่าเชื่อถือได้

แต่ ไม่เอาพระธรรม ในพระไตรปิฎก มาสแกนพระอวโลกิเตศวรเสียก่อน  ว่ามีพอจะน่าเชื่อถือได้ไหม

ก่อนที่จะเอาวาทะ รูปคือความว่าง มาอ้าง
จะได้กระจ่างในสภาวะความเป็นจริง ก่อนที่จะหลงเชื่ออะไรง่ายๆ

และก็ ยังมีอีกหลายประเด็น ในข้อความที่คุณยกมา
ทั้งอัตตกิละมะถานุโยค และกามสุขัลลิกานุโยค
ที่มาเปรียบจิต อัตตาอนัตตา
ดูๆแล้วความเห็นจากเวปที่ยกมา จะวุ่นวายสับสนไม่เบา

คงต้องร่ายกันยาวหละครับ

 (:SH:)

ไปกาลามาสูตรดีกว่า  ;D ;D ;D









หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 23 ธันวาคม 2553 21:59:11
อ้างอิงข้อความคุณเจ้าทึ่ม

หากเรากล่าวเจาะจงลงไปว่า "อนัตตา" คือ "ความไม่เที่ยง ความแปรปรวน"
"อนัตตา" นั้นก็เป็น "อัตตา" ชนิดหนึ่ง เป็น "อัตตาแห่งความไม่เที่ยง"
เป็น "ความไม่เที่ยงที่ดำรงอยู่เป็นนิจนิรันดร์ "
เป็น "ความไม่เที่ยงที่ไม่ยอมแปรปรวนไปเป็นความเที่ยง"
เรียกได้ว่า "อนัตตา" ในความหมายข้างต้นก็คือ "อัตตา" นั่นเอง
จากความข้างต้น
หากเราเรียก "อนัตตา" ว่า "ความว่าง" เรียก "อัตตา" ว่า "รูป"
เราจะกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า "รูปก็คือความว่าง ความว่างก็คือรูป"
สิ่งนี้แลที่พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรกล่าวแก่พระสารีบุตรไว้ในปรัชญาปารมิตาสูตร

เผยความทะแม่งๆ ของข้อความที่คุณเจ้าทึ่มนำมา  ;D ;D ;D

แล้วลองเทียบกับพระไตรปิฎกดีกว่า
อนัตตา จะเป็น อัตตาแบบหนึ่งได้อย่างไร
นอกจากเป็นความวิปลาส 4 เท่านั้น ที่เห็นว่า อนัตตา เป็นอัตตาแบบหนึ่ง



ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฎฐิไม่วิปลาส ๔ นี้ ๔ คืออะไรบ้าง คือ สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฎฐิไม่วิปลาส ว่าไม่เที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยง…ว่าทุกข์ในสิ่งที่เป็นทุกข์…ว่าเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นอนัตตา…ว่าไม่งามในสิ่งที่ไม่งาม…นี้แล สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฎฐิไม่วิปลาส ๔ ประการ

         สัตว์เหล่าใดสำคัญว่าเที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยง สำคัญว่าสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์ สำคัญว่าเป็นอัตตาในสิ่งที่เป็นอนัตตา และสำคัญว่างามในสิ่งที่ไม่งาม ถูกความเห็นผิดชักนำไปแล้ว ความคิดซัดส่ายไป มีความสำคัญ (คิดเห็น) วิปลาส สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า ถูกเครื่องผูกของมารผูกไว้แล้ว เป็นคนไม่เกษมโยคะ ย่อมเวียนเกิดเวียนตายไป.

         เมื่อใดพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประดุจดวงอาทิตย์บังเกิดขึ้นในโลก ทรงประกาศธรรมอันนี้ ซึ่งเป็นทางให้ถึงความสงบทุกข์ เมื่อนั้น สัตว์เหล่านั้น ผู้ที่มีปัญญาได้ฟังธรรมของท่านแล้ว จึงกลับได้คิดเห็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาและไม่งาม ตามความเป็นจริง เพราะมาถือเอาทางความเห็นชอบ ก็ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้ (อัง.จตุ. 35/49/172)

 ;D ;D ;D นี่แหละ อิทธิฤทธิ์ของ กาลามาสูตร



หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: WangJai ที่ 23 ธันวาคม 2553 22:18:18

คำว่า "อัตตา" หรือ "อนัตตา"นั้นเป็นเพียงคำคู่ตรงข้าม
เอาไว้ใช้คู่กันให้เห็น "มัชฌิมาปฏิปทา" เท่านั้น
เป็นเพียง "นิ้ว" ที่ชี้ในทิศตรงข้ามกันให้พวกเรามองเห็นทางเบื้องหน้าเท่านั้น

หากเรายึด "อัตตา" เราก็มองเห็นแต่ดิน
ในกรณีที่เรายึดมั่นในคำพูดมากเกินไปก็เปรียบเสมือนการจ้องมองแต่เพียงนิ้วที่ชี้ลงดิน
...เราไม่มีโอกาสมองเห็นดินด้วยซ้ำไป

หากเรายึด "อนัตตา" เราก็มองเห็นแต่ฟ้า
ในกรณีที่เรายึดมั่นในคำพูดมากเกินไปก็เปรียบเสมือนการจ้องมองแต่เพียงนิ้วที่ชี้ขึ้นฟ้า
...เราไม่มีโอกาสมองเห็นท้องฟ้าด้วยซ้ำไป

เมื่อพวกเรามุ่งมั่นกับการ "ก้มหน้าลงดิน"
ครูบาอาจารย์บางท่านจึง "ชี้ฟ้า" ให้พวกเราได้เงยหน้าขึ้น
จุดมุ่งหมายคือให้เรา "มองเห็นทางเบื้องหน้า"
ไม่ได้ตั้งใจให้เรามองฟ้าหรือมองนิ้วที่ชี้ขึ้นไปบนฟ้าแต่อย่างใด

เมื่อพวกเรามุ่งมั่นกับการ "แหงนหน้าขึ้นมองฟ้า"
ครูบาอาจารย์บางท่านจึง "ชี้ดิน" ให้พวกเราได้ก้มหน้าลง
จุดมุ่งหมายคือให้เรา "มองเห็นทางเบื้องหน้า"
ไม่ได้ตั้งใจให้เรามองดินหรือมองนิ้วที่ชี้ลงไปยังดินแต่อย่างใด
buddhismforliving.weebly.com


ไม่ต้องก้มๆ เงยๆ หรอก
แค่เหลือบตามองก็เห็นทั้งหมดในแว้บเดียว 
ทั้งตัวคนที่ชี้และตัวที่คอยชักใย

นิ้วที่ชี้ลงดินอยู่เหยงๆ ก็ของพลศักดิ์นั่นไง

แค่จะชี้ไปข้างหน้าตรงๆ ยังทำไม่ได้
ได้แต่ชี้ชวนลงสู่เบื้องต่ำสถานเดียว


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 24 ธันวาคม 2553 00:54:30
ตรวจสอบ  (:SHOCK:)

พระมหาปุริษลักษณะ  32 ประการ
ของพระอวโลกิเตศวร

ลักษณะของมหาปุริสลักษณะ 32 ประการที่ผู้ใดมีจะสามารถทำนายคติได้สองอย่างคือ จะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิ หรือจะได้บรรลุเป็นศาสดาเอกของโลก ลักษณะทั้ง 32 ประการนี้เกิดจากการรักษาศีลและสร้างสมบารมีมาช้านานทั้งสิ้น

๑. พระบาทประดิษฐานเป็นอันดี สุปะติฎฐิตะปาโท เมื่อทรงเหยียบพระบาท  ทรงจรดพื้นด้วยฝ่าพระบาททุกส่วนเสมอกัน  เมื่อทรงยกพระบาทขึ้นก็เสมอกัน

๒. ใต้พระบาททั้งสองมีลายธรรมจักร มงคล ๑๐๘ ประการ  เหฎฐา ปาทะตะเลสุ  จักกานิ

๓. ส้นพระบาทยาว อายะตะปัณหิ พระบาทแบ่งออกเป็นสี่ส่วน  ปลายพระบาทสองส่วน ลำพระชงฆ์ (แข้ง) ตั้งในส่วนที่สาม  เหลือส้นพระบาทอีกหนึ่งส่วน และส้นพระบาทนั้นสีแดงงาม

๔. นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทยาวเรียว กลมงาม ทีฆังคุลี

๕. พระวรกายตั้งตรงดังกายท้าวมหาพรหม พรหมุชุ คัตโต  ไม่น้อมไปข้างหน้า หรือหงายไปข้างหลัง

๖. พระมังสะ (เนื้อ) อูมในที่ ๗ แห่ง  สัตตุสสะโท ได้แก่  หลังพระหัตถ์ทั้งสอง หลังพระบาททั้งสอง พระอังสา (บ่า) ทั้งสอง  ลำพระศอ (คอ) มิได้เห็นเส้นปรากฏออกมาภายนอก

๗. ฝ่าพระหัตถ์ ฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม มุทุตะละนะหัตถะปาโท

๘. ฝ่าพระหัตถ์ ฝ่าพระบาทมีลายดังตาข่าย ชาละหัตถะปาโท  นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ เว้น พระอังคุฎฐะ (นิ้วหัวแม่มือ)  นิ้วพระบาททั้งห้าเสมอกัน ชิดสนิทดี

(บุพพชาติทรงอนุเคราะห์คนด้วยสังคหวัตถุสี่ คือ ทาน ปิยะวาจา อัตถจริยา สมานัตตา นิ้วทั้งสี่จึงยาวเท่ากัน)

๙. หลังพระบาทนูนดุจสังข์คว่ำ  อุสสังขะปาโท และข้อพระบาทกลอกกลับผันแปรอย่างคล่องขณะย่างพระบาท

๑๐. พระโลมา (ขน) มีสีดำสนิท ขดเป็นทักษิณาวัฎ (เวียนขวา) ๓ รอบและมีปลายช้อนขึ้น

๑๑. พระชงฆ์ (แข้ง) เรียวดังแข้งเนื้อทราย กลมกลึงงาม เอณิชังโฆ

๑๒. พระฉวีวรรณ (ผิว) ละเอียด สุขุมมัจฉวี  ธุลีละอองมิติดต้องพระวรกายได้ มลทินใดมาสัมผัสก็เลื่อนหลุดไปดุจน้ำกลิ้งตกจากใบบัว

๑๓. พระฉวีวรรณ (ผิว) เหลืองงามดังทองคำ สุวัณณะวัณโณ

๑๔. พระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก โกโสหิตะวัตถะคุโยหะ  องค์กำเนิดเพศชายหดเร้นเข้าข้างใน

๑๕. พระวรกายสง่างาม สมบูรณ์ สมส่วน ดังปริมณฑลแห่งต้นนิโครธ  (ต้นไทร)  นิโครธปริมัณฑโล ความสูงของพระวรกายเท่ากับวาของพระองค์

๑๖. พระกรยาวจนใช้พระหัตถ์ลูบพระชานู (เข่า) โดยไม่ต้องน้อมพระวรกาย  ปาณิตะเลหิ ชันนุกานิ ปริมะสะติ

๑๗. พระวรกายส่วนหน้าล่ำพีบริบูรณ์ สง่างามดุจราชสีห์  สีหะปุพพะทะธะกาโย

๑๘. พระปฤษฎางค์ (หลัง) เต็ม ปิตตันตะรังโส ตั้งแต่บั้นพระองค์ (เอว)  ขึ้นไปถึงต้นพระศอ (คอ) พื้นพระมังสะ (เนื้อ)  ปิดพระปฤษฎางค์เป็นอันดี มิได้เห็นข้อพระอัฐิท่ามกลางพระขนอง  (ข้อกระดูกสันหลัง) ปรากฏออกมาภายนอก

๑๙. พระศอกลมเสมอกัน สะมะวัฎฎักขันโธ

๒๐. มีเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารดีเลิศ  ระสัคคะสัคคี  มีเส้นประสาทปลายข้างบนประชุมอยู่ที่พระศอสำหรับนำรสอาหารแผ่ซ่านสม่ำเสมอไปทั่วพระวรกาย

๒๑. พระเนตรดำสนิท อะภินีละเนตโต มีการเห็นแจ่มใส

๒๒. ดวงพระเนตรสดใสดังตาโค  โคปะขุโม (บุพพชาติทรงทอดพระเนตรสัตว์ด้วยความเมตตา เอ็นดู)

๒๓. พระเศียรกลมงาม พระพักตร์มีอุณหิสคือลักษณะเหมือนมีกรอบหน้า  อุณหีสะสีโส

๒๔. โลมา (ขน) มีขุมละเส้น เอเกกะโลโม

๒๕. มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนง (คิ้ว) สีขาวอ่อนเหมือนปุยฝ้าย  อุณณาโลมา ภมุกันตะเรชาตา

๒๖. พระทนต์มี ๔๐ ซี่ จัตตาฬีสะทันโต เบื้องบน ๒๐ ซี่ เบื้องล่าง ๒๐  ซี่เสมอกัน

๒๗. พระทนต์มิได้ห่าง สนิทกันดี อะวิระฬะทันโต

๒๘. พระชิวหาอ่อน กว้าง ยาวกว่าชนทั้งปวง ปหูตะชิโวห

๒๙. พระสุรเสียงไพเราะดุจเสียงท้าวมหาพรหม  กระแสเสียงดุจเสียงนกการเวก  พรหมัสสะโร กะระวิกะภาณี

(บุพพชาติทรงเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ส่อเสียด คำไม่จริง)

๓๐. พระหนุ (คาง) ดุจคางราชสีห์ สีหะหะนุ

๓๑. พระทนต์เรียงเรียบเสมอกัน สะมะทันโต

๓๒. พระทาฐะ (เขี้ยว) ทั้ง ๔ ซี่ขาวบริสุทธิ์ รุ่งเรืองด้วยรัศมี  สุสุกกะทาโฐ


 (:SHOCK:) (:SHOCK:) (:SHOCK:)

(http://1.bp.blogspot.com/_UA3DWy2XsK8/TO6fixVvz6I/AAAAAAAAAqU/5QUedaUMfkc/s1600/Hayagriva2.jpg)

Hayagriva
Horse Headed Avalokitesvara
马头明王


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 24 ธันวาคม 2553 08:26:06
สารีบุตร!

รูปไม่ต่างไปจากความว่าง,

ความว่างก็ไม่ต่างไปจากรูป.

รูปคือความว่างนั่นเอง,

(และ) ความว่างก็คือรูปนั่นเอง.

เวทนา, สัญญา, ก็เป็นดังนี้ด้วย

สังขาร, และวิญญาณ

ก็เป็นดังนี้ด้วย.

 (:SHOCK:) (:SHOCK:) (:SHOCK:)


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 24 ธันวาคม 2553 08:33:03
 ;D ;D ;D



ข้อนั้นข้าพเจ้า บังเกิดความ น่าสงสัยยิ่ง พระเจ้าค่า

 ;D ;D ;D

พระพุทธเจ้า(พระองค์จริง )ได้ทรงสอนเสมอๆ  และให้ข้าพเจ้าถามว่า

 .... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย..........

ผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลาย พึงถามอย่างนี้ว่า

.....ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปริยายที่นิวรณ์๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง
 ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง มีอยู่หรือ?

...............

 ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 24 ธันวาคม 2553 08:39:03
 (:SHOCK:) (:SHOCK:) (:SHOCK:)

สารีบุตร!

ธรรมทั้งหลาย (สิ่งทั้งหลายทั้งปวง)

มีธรรมชาติแห่งความว่าง (กล่าวคือ):

พวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง,

พวกมันไม่ได้สะอาดและไม่ได้สกปรก,

ดังนั้น, ในความว่างจึงไม่มีรูป,

ไม่มีเวทนาหรือสัญญา,

ไม่มีสังขารหรือวิญญาณ;

ไม่มีตาหรือหู, ไม่มีจมูกหรือลิ้น,

ไม่มีกายหรือจิต (ใจ);

ไม่มีรูปหรือเสียง, ไม่มีกลิ่นหรือรส,

ไม่มีโผฎฐัพพะ (สิ่งที่มาถูกต้องกาย)

หรือธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ).

ไม่มีโลกแห่ง (ผัสสะ คือ) อายตนะ (ภายใน)

(อายตนะภายนอก) หรือวิญญาณ.

ไม่มีอวิชชา, และไม่มีความดับลงแห่งอวิชชา;

ไม่มี (กระแสแห่งเหตุปัจจัยที่นำไปสู่)

ความแก่และความตาย,

และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่และความตาย.

ไม่มีความทุกข์

และไม่มีต้นเหตุ (แห่งความทุกข์);

ไม่มีความดับลง (แห่งความทุกข์)

และไม่มีมรรค (ทางให้ถึงซึ่งความดับลงแห่งความทุกข์).

ไม่มีการประจักษ์แจ้งและไม่มีการลุถึง,

เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องถูกลุถึง.

 

 

 

พระโพธิสัตว์

ผู้วางใจในโลกุตรปัญญา,

จะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้นนานา

(และ) เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้นนานา,

พระองค์จึงไม่มีความกลัวใด ๆ;

(สามารถ) ก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตาทั้งมวลได้,

(และ) ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด.

 

 

 

พระพุทธะในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ทั้งหมด

ผู้ทรงวางใจในโลกุตรปัญญา

ได้ประจักษ์แจ้งแล้วซึ่งภาวะอันตื่นขึ้นนั้น,

(อันเป็นภาวะ) ที่สมบูรณ์และไม่มีใดอื่นยิ่งกว่า.

ดังนั้น, จงรู้ไว้เถิดว่า โลกุตรปัญญา

เป็นมหามนตร์อันศักดิ์สิทธิ์,

เป็นมนตร์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่,

เป็นมนตร์อันไม่มีมนตร์อื่นยิ่งกว่า,

เป็นมนตร์อันไม่มีมนตร์อ่นใดมาเทียบได้,

ซึ่งจะตัดเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวง.

นี่เป็นสัจจะ(ความจริง),

(และ) เป็นอิสระจากความเท็จ (ทั้งมวล).

 

 (:SHOCK:) (:SHOCK:) (:SHOCK:)


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 24 ธันวาคม 2553 08:42:01

 ;D ;D ;D ;D ;D

ข้อนั้นข้าพเจ้า ก็ยังบังเกิดความ น่าสงสัยยิ่ง อีกหล่ะ พระเจ้าค่า
   
พระพุทธเจ้า(พระองค์จริง )ได้ทรงสอนเสมอๆ  และทรงสอนให้ข้าพเจ้าถามว่า

 .... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย..........

ผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลาย พึงถามอย่างนี้ว่า

.....ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปริยายที่นิวรณ์๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง
 ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง มีอยู่หรือ?

 ;D ;D ;D


 (:SH:) (:SH:) (:SH:)


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 24 ธันวาคม 2553 08:52:52
 ;D ;D ;D

อะไร อะไร ก็ว่าง....
ข้าพเจ้ายังเคลือบแคลง ......

ข้าพเจ้าเลย......เอาพระสูตร พระพุทธเจ้าพระองค์จริง มาให้อ่าน พระเจ้าค่า....

 ;D ;D ;D


จูฬสีหนาทสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุ เหล่านั้นได้ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว.

สมณะ ๔ จำพวก

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีใน พระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ จงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะ มีได้แล ที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ในโลกนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อะไรเป็นความมั่นใจของ พวกท่าน อะไรเป็นกำลังของพวกท่าน พวกท่านพิจารณาเห็นในตนด้วยประการไร จึงกล่าว อย่างนี้ว่า สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สามมีใน พระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแล้ว มีอยู่ ที่พวกเราเห็นธรรมเหล่านี้ในตน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะมี ในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่ มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน? ๔ อย่าง คือ ความเลื่อมใสในพระศาสดาของพวกเรา มีอยู่ ความเลื่อมใสในพระธรรมมีอยู่ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีอยู่ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน เป็นที่ น่ารัก น่าพอใจ มีอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแล้ว ที่พวกเราเล็งเห็นธรรม เหล่านี้ในตน จึงกล่าวอย่างนี้ สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจาก พระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ผู้ใดเป็นศาสดาของพวกเรา ความเลื่อมใสในศาสดาแม้ของพวกเรา ก็มีอยู่ คำสอนใดเป็นธรรมของพวกเรา ความเลื่อมใสในธรรมแม้ของพวกเรา ก็มีอยู่ ธรรม เหล่าใดเป็นศีลของพวกเรา แม้พวกเราก็กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน แม้ของพวกเรา ก็เป็นที่น่ารัก น่าพอใจ ผู้มีอายุ ในข้อเหล่านี้ อะไรเป็นข้อที่แปลกกัน อะไรเป็นข้อประสงค์ อะไรเป็นข้อที่กระทำให้ต่างกัน ในระหว่างของ ท่านและของเราดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอ พึงกล่าวตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ความสำเร็จมีอย่างเดียว หรือมีมากอย่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จมี อย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีมากอย่าง พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ก็ความสำเร็จนั้นเป็นของ ผู้มีราคะ หรือของผู้ปราศจากราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะ พยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากราคะ มิใช่ของผู้มี ราคะ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้น เป็นของผู้มีโทสะ หรือของผู้ปราศจากโทสะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากโทสะ มิใช่ของผู้มีโทสะ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความ สำเร็จนั้นเป็นของผู้มีโมหะ หรือของผู้ปราศจากโมหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากโมหะ มิใช่ของผู้มีโมหะ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้มีตัณหา หรือของผู้ ปราศจากตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากตัณหา มิใช่ของผู้มีตัณหา พวกเธอ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้มีอุปาทาน หรือของผู้ไม่มีอุปาทาน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความ สำเร็จนั้นเป็นของผู้ไม่มีอุปาทาน มิใช่ของผู้มีอุปาทาน พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้น เป็นของผู้รู้แจ้ง หรือของผู้ไม่รู้แจ้ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะ พยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้รู้แจ้ง มิใช่ของผู้ไม่รู้แจ้ง พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ยินดียินร้าย หรือของผู้ไม่ยินดียินร้าย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความ สำเร็จนั้นเป็นของผู้ไม่ยินดียินร้าย มิใช่ของผู้ยินดียินร้าย. พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จ นั้นเป็นของผู้ยินดีในความเนิ่นช้า มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี หรือของผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์ โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้า เป็นที่มายินดี มิใช่ของผู้ยินดีในความเนิ่นช้า มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี.

ทิฏฐิ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ ๒ อย่างเหล่านี้ คือภวทิฏฐิ และวิภวทิฏฐิ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้แอบอิงภวทิฏฐิเข้าถึงภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่ ภวทิฏฐิสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อวิภวทิฏฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้แอบอิงวิภวทิฏฐฺ เข้าถึงวิภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่วิภวทิฏฐิ สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อภวทิฏฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และการถ่ายถอนแห่งทิฏฐิ ๒ อย่างเหล่านี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ยังมีตัณหา ยังมีอุปาทาน ไม่ใช่ผู้รู้แจ้ง ยังยินดีและยินร้าย เป็นผู้ยินดีในความเนิ่นช้า มีความ เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี พวกเขาย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ ความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความคับแค้นทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงความเกิด ความดับคุณ โทษ และการถ่ายถอนแห่งทิฏฐิ ๒ อย่าง เหล่านี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ปราศจากตัณหา ปราศจากอุปาทาน เป็นผู้รู้แจ้ง เป็นผู้ไม่ยินดีและยินร้าย มีความ ยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี พวกเขา ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ ความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความคับแค้นทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.

อุปาทาน ๔

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้. ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาย่อมไม่บัญญัติ ความรอบรู้อุปาทานทุกอย่าง โดยชอบ คือ ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติ ความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พวกเขา จึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทาน ทุกอย่างโดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติ ความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้ อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร? เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๒ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้ อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความ รอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะอย่างหนึ่งนี้ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พวกเขา จึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่าง โดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสในธรรมใด ความ เลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น เราไม่ กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ในธรรมวินัยเห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ ข้อนั้น เป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวชั่วแล้ว ประกาศชั่วแล้ว มิใช่สภาพนำออก จากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นแล เป็นผู้มีวาทะว่า รอบรู้อุปาทานทุกอย่าง ปฏิญาณอยู่ ย่อมบัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ ย่อม บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ย่อมบัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ย่อมบัญญัติความรู้สีลัพพัตตุปาทาน ย่อมบัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น เรา กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ในพระธรรมวินัยเห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้น เป็นความเลื่อมใส ในธรรมวินัยอันศาสดากล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็นสภาพนำออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความ สงบอันท่านผู้รู้เองโดยชอบประกาศแล้ว.

เหตุเกิดอุปาทานเป็นต้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุ เกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุ เกิดมีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ตัณหามีเวทนา เป็นต้นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? เวทนามีผัสสะเป็นต้นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ผัสสะมีสฬายตนะเป็นต้นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะ เป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะ มีนามรูปเป็นต้นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มีนามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นามรูปนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? นามรูปมีวิญญาณเป็นต้นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด มีวิญญาณ เป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไร เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? วิญญาณมีสังขารเป็นต้นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขาร เป็นกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไร เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? สังขารมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ มีอวิชชา เป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ภิกษุ ละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น ภิกษุนั้น เพราะสำรอกอวิชชาเสียได้เพราะวิชชา บังเกิดขึ้น ย่อมไม่ถือมั่นกามุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นทิฏฐุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นสีลัพพัตตุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นอัตตวาทุปาทาน เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้วแล.


  ;D ;D ;D ;D (:SH:)


 (:SH:)


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 24 ธันวาคม 2553 11:07:46
อ้างอิง ปารามิตตาสูตร

ไม่มีอวิชชา, และไม่มีความดับลงแห่งอวิชชา;

ไม่มี (กระแสแห่งเหตุปัจจัยที่นำไปสู่)

ความแก่และความตาย,

และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่และความตาย.

ไม่มีความทุกข์

และไม่มีต้นเหตุ (แห่งความทุกข์);

ไม่มีความดับลง (แห่งความทุกข์)

และไม่มีมรรค (ทางให้ถึงซึ่งความดับลงแห่งความทุกข์).

ไม่มีการประจักษ์แจ้งและไม่มีการลุถึง,

เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องถูกลุถึง.  


  ;D ;D ;D

แหม...แหม....แหม....ปารมิตตาสูตร

อะไรอะไร....ของศาสดาท่าน .....ก็ว่างเสียหมด
ว่างเปล่า....จากความรู้ทั่วถึง
ว่างเปล่า....จากการไม่รู้เรืองความเกิด...ดับ
ว่างเปล่า....จากจากการไม่รู้เรื่อง ผู้ยินดี...ยินร้าย
ว่างเปล่า....

ไม่มีอวิชชา และความดับลงแห่งอวิชชา

อะไรๆ ก็ว่าง....

แถม.....ไม่มีมรรค ซะด้วย

วาทะของท่าน ..... ชักจะคล้ายๆ กับ กับวาทะนี้  เลย

ไม่เนื่องด้วยวิถี ......ไม่เนื่องด้วยวิธีการ 
ไม่อะไร...กับอะไร.........นิพพานอยู่แว๊วววววววววว.....


 ;D ;D ;D

นี่ก็เป็น อภินิหารย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ .... ของ จูฬสิงหนาทสูตร

จูฬสิงหนาทสูตร สามารถลอกเปลือก แหวก  วาทะ ว่าง...ว่าง....และก็....ว่าง   ของท่านได้
ให้เห็นสภาวะธรรมที่แท้จริงของ ...วาทะ ท่าน



 ;D ;D ;D
 (:SH:) (:SH:) (:SH:)





หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: เจ้าทึ่ม ที่ 24 ธันวาคม 2553 23:05:48
เจ้าทึ่มขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ตลอดจนทีมงานร่วมอุดมการณ์ทุกท่าน หากความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างก็ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายผู้ได้นำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนผู้ที่เจ้าทึ่มได้กล่าวนอบน้อมไว้ข้างต้นนั้นเทอญ

กราบคารวะท่าน armageddon และท่าน WangJai ที่เคารพอย่างสูง

เจ้าทึ่มขอขอบพระคุณท่านทั้งสองที่กรุณาส่งเสริมให้เจ้าทึ่มได้ใช้วิบากให้ผ่านพ้นไปหลายส่วน ถือเป็นผู้มีพระคุณยิ่งสำหรับเจ้าทึ่ม ขออานิสงค์นี้ได้ส่งผลให้ท่านทั้งสองมีดวงตาเห็นธรรมและตรงต่อนิพพานยิ่งๆขึ้นไปเทอญ

ผ่านการปฎิบัติด้วยกายวาจาและพิจารณาโดยแยบยลด้วยใจ ธรรมะทั้งหลายย่อมกระจ่างชัดแล้วในใจของเราท่านทั้งหลาย เราจะตำหนิกันและกันไปใย

จำเป็นด้วยหรือที่ "ความถูกต้องของท่าน" จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐาน "ความผิดของผู้อื่น"

จำเป็นด้วยหรือที่ "ความถูกต้องของผู้อื่น" จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐาน "ความผิดของท่าน"

ท่านไม่สามารถ "ถูก" ได้ในขณะที่ผู้อื่น "ถูก" ด้วยเลยกระนั้นหรือ

หากผู้อื่น "ผิด" แล้วเราจะต้องทำลายเขาให้ย่อยยับไปกับตาเลยกระนั้นหรือ

หากตัวเรา "ผิด" บ้างเล่า เราสมควรถูกทำลายให้ย่อยยับไปด้วยหรือไม่

ความเข้าใจทั้งหลายจะตรงได้ต้องผ่าน "การปฏิบัติทั้งกายวาจาใจ" สิ่งที่ได้จากการปฏิบัติก็คือความจริงที่เกิดขึ้นจากมุมมองของผู้ปฏิบัติ หากตัวเราไม่ได้ปฏิบัติอย่างเขาเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเขากล่าวเท็จ

หากตัวท่าน "เชื่อ" ใน "กาลามสูตร" แล้วไซร้ ท่านจะบอกได้หรือไม่ว่า "ตนเองเชื่อเพราะอะไร"

ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะเขียนไว้ในสิ่งที่เรียกว่าพระไตรปิฎกใช่หรือไม่
ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะพิจารณาตามตรรกะแล้วเห็นด้วยใช่หรือไม่
ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะเป็นคำกล่าวของครูอาจารย์ใช่หรือไม่
ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะท่านรู้สึกชอบและเห็นด้วยใช่หรือไม่
...แล้วการ "เชื่อ" แบบนี้...
ตรงตามหลักกาลามสูตรที่ท่าน "เชื่อ" หรือไม่

หากตัวท่าน "เชื่อ" ใน "พระไตรปิฎกและพระสูตร" ทั้งหลายแล้วไซร้ ท่านจะบอกได้หรือไม่ว่า "ตนเองเชื่อเพราะเหตุใด"

ท่านเชื่อเพราะพิจารณาตามตรรกะแล้วเห็นด้วยใช่หรือไม่
ท่านเชื่อเพราะเป็นคำกล่าวของครูอาจารย์ใช่หรือไม่
ท่านเชื่อเพราะท่านรู้สึกชอบและเห็นด้วยใช่หรือไม่
...แล้วการ "เชื่อ" แบบนี้...
ตรงตามหลักกาลามสูตรที่ท่าน "เชื่อ" หรือไม่


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 24 ธันวาคม 2553 23:29:15
เจ้าทึ่มขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ตลอดจนทีมงานร่วมอุดมการณ์ทุกท่าน หากความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างก็ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายผู้ได้นำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนผู้ที่เจ้าทึ่มได้กล่าวนอบน้อมไว้ข้างต้นนั้นเทอญ

กราบคารวะท่าน armageddon และท่าน WangJai ที่เคารพอย่างสูง

เจ้าทึ่มขอขอบพระคุณท่านทั้งสองที่กรุณาส่งเสริมให้เจ้าทึ่มได้ใช้วิบากให้ผ่านพ้นไปหลายส่วน ถือเป็นผู้มีพระคุณยิ่งสำหรับเจ้าทึ่ม ขออานิสงค์นี้ได้ส่งผลให้ท่านทั้งสองมีดวงตาเห็นธรรมและตรงต่อนิพพานยิ่งๆขึ้นไปเทอญ

ผ่านการปฎิบัติด้วยกายวาจาและพิจารณาโดยแยบยลด้วยใจ ธรรมะทั้งหลายย่อมกระจ่างชัดแล้วในใจของเราท่านทั้งหลาย เราจะตำหนิกันและกันไปใย

จำเป็นด้วยหรือที่ "ความถูกต้องของท่าน" จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐาน "ความผิดของผู้อื่น"

จำเป็นด้วยหรือที่ "ความถูกต้องของผู้อื่น" จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐาน "ความผิดของท่าน"

ท่านไม่สามารถ "ถูก" ได้ในขณะที่ผู้อื่น "ถูก" ด้วยเลยกระนั้นหรือ

หากผู้อื่น "ผิด" แล้วเราจะต้องทำลายเขาให้ย่อยยับไปกับตาเลยกระนั้นหรือ

หากตัวเรา "ผิด" บ้างเล่า เราสมควรถูกทำลายให้ย่อยยับไปด้วยหรือไม่

ความเข้าใจทั้งหลายจะตรงได้ต้องผ่าน "การปฏิบัติทั้งกายวาจาใจ" สิ่งที่ได้จากการปฏิบัติก็คือความจริงที่เกิดขึ้นจากมุมมองของผู้ปฏิบัติ หากตัวเราไม่ได้ปฏิบัติอย่างเขาเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเขากล่าวเท็จ

หากตัวท่าน "เชื่อ" ใน "กาลามสูตร" แล้วไซร้ ท่านจะบอกได้หรือไม่ว่า "ตนเองเชื่อเพราะอะไร"

ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะเขียนไว้ในสิ่งที่เรียกว่าพระไตรปิฎกใช่หรือไม่
ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะพิจารณาตามตรรกะแล้วเห็นด้วยใช่หรือไม่
ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะเป็นคำกล่าวของครูอาจารย์ใช่หรือไม่
ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะท่านรู้สึกชอบและเห็นด้วยใช่หรือไม่
...แล้วการ "เชื่อ" แบบนี้...
ตรงตามหลักกาลามสูตรที่ท่าน "เชื่อ" หรือไม่

ท่านเชื่อข้อความในพระไตรปิฎกเพราะเหตุใด
ท่านเชื่อเพราะพิจารณาตามตรรกะแล้วเห็นด้วยใช่หรือไม่
ท่านเชื่อเพราะเป็นคำกล่าวของครูอาจารย์ใช่หรือไม่
ท่านเชื่อเพราะท่านรู้สึกชอบและเห็นด้วยใช่หรือไม่
...แล้วการ "เชื่อ" แบบนี้...
ตรงตามหลักกาลามสูตรที่ท่าน "เชื่อ" หรือไม่


คุณเจ้าทึ่มครับ

ผมคงไปส่งเสริมให้คุณใช้วิบากไม่ได้
หรือไปส่งเสริมให้คุณได้รับวิบากใดๆ ก็ไม่ได้
วิบาก เป็นของคุณเอง
เกิดจากอวิชชา กิเลศตัณหาของคุณเอง
คุณมีกรรมเป็นของคุณเอง
เพราะความทึ่มอันเป็นอวิชชาของคุณเอง
กรรมของคุณ  ที่ทำให้พบวิบาก หรือใช้วิบาก
กรรมคุณก่อเอง คุณรับเอง

ฉะนั้น คำอำนวยพรของคุณ ขอให้เก็บไว้ใช้เองเถิด


ธรรมะ ที่เพี้ยนๆของคุณ ที่ไปยกมาแสดง
ที่ขัดต่อพระไตรปิฎก
คุณจะประจักษ์แก่ใจคุณแค่ไหน
มันก็เพี้ยนอยู่ดี
ที่ยกตัวอย่าง มนุษย์เนรยิโก มนุษย์สเปโต
มนุษย์ เดียรฉานโน ก็ประจักษ์ ในธรรมะของตน

แต่มนุษย์เทโว
ก็ประจักษ์ในธรรมะในใจตน เช่นกัน

ถ้าคุณไม่รู้จัก ว่าอะไรคือผิด
ไม่รู้จัก ว่าอะไรคือถูก
อะไรคือธรรมะที่ประจักษ์ ของพระอริยะ
ว่าต่างกับ มนุษย์ เดรฉานโน
คุณก้ยังมืดมาก

ความถูกต้องของมนุษย์ เดรฉานโน ที่คิดว่าตนเองถูกต้อง
ไม่มีมนุษย์เทโว คนไหน ที่เห็นสภาวะธรรมเยี่ยงนั้นถูกต้อง

นี่คือความเห็นถูก เห็นผิด ตามความจริง

ไม่ใช่เดียรถีย์ ที่ไม่เห็นความถูก ไม่เห็นความผิด
ตามความเป็นจริง

 (:fall:)




หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: เจ้าทึ่ม ที่ 24 ธันวาคม 2553 23:34:31
ฮ่าๆๆๆ
ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบพระคุณอย่างสูง

แล้วเมื่อไหร่จะตอบคำถาม

"ท่านเชื่อข้อความในพระไตรปิฎกเพราะเหตุใด"
"ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะเหตุใด"

กราบคารวะท่าน armageddon

เจ้าทึ่มขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ตลอดจนทีมงานร่วมอุดมการณ์ทุกท่าน หากความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างก็ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายผู้ได้นำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนผู้ที่เจ้าทึ่มได้กล่าวนอบน้อมไว้ข้างต้นนั้นเทอญ



หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 24 ธันวาคม 2553 23:40:40
armageddon ชอบมองคนอื่นเป็นเดียรถีย์ เป็นเดรัจฉาน  เห็นว่าความเห็นของคนอื่นผิด  แต่ของตนเองถูกต้อง   

มองไกลตัวไปหรือเปล่าน้องarmageddon   เมื่อไรมองเห็นว่าตัวเองเป็นเป็นเดียรถีย์ เป็นเดรัจฉาน  และเห็นว่าความเห็นของตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ  เมื่อนั้นเธอจะพบเรา

 (^^) (^^) (^^)


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 24 ธันวาคม 2553 23:42:44
เจ้าทึ่มขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ตลอดจนทีมงานร่วมอุดมการณ์ทุกท่าน หากความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างก็ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายผู้ได้นำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนผู้ที่เจ้าทึ่มได้กล่าวนอบน้อมไว้ข้างต้นนั้นเทอญ

กราบคารวะท่าน armageddon และท่าน WangJai ที่เคารพอย่างสูง

เจ้าทึ่มขอขอบพระคุณท่านทั้งสองที่กรุณาส่งเสริมให้เจ้าทึ่มได้ใช้วิบากให้ผ่านพ้นไปหลายส่วน ถือเป็นผู้มีพระคุณยิ่งสำหรับเจ้าทึ่ม ขออานิสงค์นี้ได้ส่งผลให้ท่านทั้งสองมีดวงตาเห็นธรรมและตรงต่อนิพพานยิ่งๆขึ้นไปเทอญ

ผ่านการปฎิบัติด้วยกายวาจาและพิจารณาโดยแยบยลด้วยใจ ธรรมะทั้งหลายย่อมกระจ่างชัดแล้วในใจของเราท่านทั้งหลาย เราจะตำหนิกันและกันไปใย

จำเป็นด้วยหรือที่ "ความถูกต้องของท่าน" จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐาน "ความผิดของผู้อื่น"

จำเป็นด้วยหรือที่ "ความถูกต้องของผู้อื่น" จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐาน "ความผิดของท่าน"

ท่านไม่สามารถ "ถูก" ได้ในขณะที่ผู้อื่น "ถูก" ด้วยเลยกระนั้นหรือ

หากผู้อื่น "ผิด" แล้วเราจะต้องทำลายเขาให้ย่อยยับไปกับตาเลยกระนั้นหรือ

หากตัวเรา "ผิด" บ้างเล่า เราสมควรถูกทำลายให้ย่อยยับไปด้วยหรือไม่

ความเข้าใจทั้งหลายจะตรงได้ต้องผ่าน "การปฏิบัติทั้งกายวาจาใจ" สิ่งที่ได้จากการปฏิบัติก็คือความจริงที่เกิดขึ้นจากมุมมองของผู้ปฏิบัติ หากตัวเราไม่ได้ปฏิบัติอย่างเขาเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเขากล่าวเท็จ

หากตัวท่าน "เชื่อ" ใน "กาลามสูตร" แล้วไซร้ ท่านจะบอกได้หรือไม่ว่า "ตนเองเชื่อเพราะอะไร"

ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะเขียนไว้ในสิ่งที่เรียกว่าพระไตรปิฎกใช่หรือไม่
ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะพิจารณาตามตรรกะแล้วเห็นด้วยใช่หรือไม่
ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะเป็นคำกล่าวของครูอาจารย์ใช่หรือไม่
ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะท่านรู้สึกชอบและเห็นด้วยใช่หรือไม่
...แล้วการ "เชื่อ" แบบนี้...
ตรงตามหลักกาลามสูตรที่ท่าน "เชื่อ" หรือไม่

ท่านเชื่อข้อความในพระไตรปิฎกเพราะเหตุใด
ท่านเชื่อเพราะพิจารณาตามตรรกะแล้วเห็นด้วยใช่หรือไม่
ท่านเชื่อเพราะเป็นคำกล่าวของครูอาจารย์ใช่หรือไม่
ท่านเชื่อเพราะท่านรู้สึกชอบและเห็นด้วยใช่หรือไม่
...แล้วการ "เชื่อ" แบบนี้...
ตรงตามหลักกาลามสูตรที่ท่าน "เชื่อ" หรือไม่


คุณเจ้าทึ่มครับ
ความทึ่มเป็นอวิชชา
ทำคุณให้ไม่รู้จักกาลามาสูตร
ที่คุณถามมา นั่นก็แสดงความทึ่มพอสมควรแก่ฐานะของคุณ

ให้คุณกลับไป ศึกษากาลามะสูตรให้ดีก่อน
ที่จะมาถาม
ให้ไปอ่าน วรรคสุดท้าย ให้เข้าใจเสียก่อน
แล้วจะรู้ว่า

เหตุใด พระพุทธเจ้า กล่าวกาลามะสูตร กับชาวกาลามะ
แต่ไม่มีชาวกาลามะสักคน ที่สงสัย
หรือไม่เชื่อพระพุทธองค์
ชาวกาลามะเหล่านั้น เข้าถึงโสดาบันผล
เพราะเชื่อพระพุทธองค์

ทั้งๆที่ในสูตรนั้น
กล่าวว่า อย่าเชื่อๆๆๆๆๆๆๆ

ความทึ่มของคุณ จึงอ่านกาลามาสูตร ได้แค่พิ้นผิวเท่านั้น

และความเห็นผิด ความเห็นเพี้ยนๆ ของคุณ
ที่ได้ชี้ไปแล้ว
นั่นแหละ คือสิ่งที่สมควรทำลายให้ย่อยยับ

ไม่ใช่แค่กล่าววาทะ
อย่างเช่น ไม่เนื่องด้วยวิธีการ ไม่เนื่องด้วยวิถี
นิพพานอยู่แว๊ววววววววว

แล้วคิดว่านั่นคือนิพพาน

นั่นคือ วาทะเดียรถีย์ ที่ไม่มีมรรค
เพราะความทึ่ม ความไม่รอบรู้ ที่จะแสดงธรรม

กลับไปสำนึกกรรม ตระหนักในกรรมให้ได้ก่อน
วิบากคุณ คุณก่อเอง
คุณย่อมเป็นไปตามกรรมคุณเอง
ไม่มีใครสร้างให้คุณ รับกรรมเอง ใช้วิบากไปเองครับ

 ;D ;D ;D






หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 24 ธันวาคม 2553 23:53:30
armageddon ชอบมองคนอื่นเป็นเดียรถีย์ เป็นเดรัจฉาน  เห็นว่าความเห็นของคนอื่นผิด  แต่ของตนเองถูกต้อง   

มองไกลตัวไปหรือเปล่าน้องarmageddon   เมื่อไรมองเห็นว่าตัวเองเป็นเป็นเดียรถีย์ เป็นเดรัจฉาน  และเห็นว่าความเห็นของตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ  เมื่อนั้นเธอจะพบเรา

 (^^) (^^) (^^)

 ;D ;D ;D

ฮ่าๆๆๆ
ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบพระคุณอย่างสูง

แล้วเมื่อไหร่จะตอบคำถาม

"ท่านเชื่อข้อความในพระไตรปิฎกเพราะเหตุใด"
"ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะเหตุใด"

กราบคารวะท่าน armageddon

เจ้าทึ่มขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ตลอดจนทีมงานร่วมอุดมการณ์ทุกท่าน หากความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างก็ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายผู้ได้นำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนผู้ที่เจ้าทึ่มได้กล่าวนอบน้อมไว้ข้างต้นนั้นเทอญ



 ;D ;D ;D

เห็นเดียรรัจฉาน ก็ต้องบอกว่าเดียรัจฉาน
เห็นเดียรถีย์ ก็ต้องบอกว่าเดียรถีย์
เห็นมารพลศักดิ์ แถไถมา
ก็ต้องบอก ว่าแถไปแถมา
นี่คือเห็นตามความเป็นจริง โดยไม่มีสิ่งปิดบังอำพราง

 ;D ;D ;D



หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: เจ้าทึ่ม ที่ 24 ธันวาคม 2553 23:59:51
กราบคารวะท่าน armageddon

"ท่านเชื่อข้อความในพระไตรปิฎกเพราะเหตุใด"
"ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะเหตุใด"

คำถามนี้ตอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไรนะ เอาไว้แค่นี้ก็แล้วกัน
ราตรีสวัสดิ์จ้า

เจ้าทึ่มขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ตลอดจนทีมงานร่วมอุดมการณ์ทุกท่าน หากความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างก็ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายผู้ได้นำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนผู้ที่เจ้าทึ่มได้กล่าวนอบน้อมไว้ข้างต้นนั้นเทอญ


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 25 ธันวาคม 2553 00:05:07
กราบคารวะท่าน armageddon

"ท่านเชื่อข้อความในพระไตรปิฎกเพราะเหตุใด"
"ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะเหตุใด"

คำถามนี้ตอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไรนะ เอาไว้แค่นี้ก็แล้วกัน
ราตรีสวัสดิ์จ้า

เจ้าทึ่มขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ตลอดจนทีมงานร่วมอุดมการณ์ทุกท่าน หากความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างก็ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายผู้ได้นำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนผู้ที่เจ้าทึ่มได้กล่าวนอบน้อมไว้ข้างต้นนั้นเทอญ


คุณเจ้าทึ่ม นี่ทึ่มสมชื่อ
กระทู้ข้างบน ที่พูดเรืองกาลามาสูตร
นั่นแสดงคำตอบเสร็จสิ้น สนิท ไปเรียบร้อยแล้ว
รวมทั้งคำตอบของ พวกกาลามะชนทั้งปวง
ที่เหตุใด เชื่อพระพุทธองค์

ทั้งๆที่ กาลามาสูตร กล่าวว่า อย่าเชื่อๆๆๆๆ

ทึ่มชมัด  (:SHOCK:)


ก่อนนอน ก็ฝากภาษิต
วัวเห็นแกหญ้า ขี้ข้าเห็นแก่นอน
ไปนอนฝันดีนะครับ

 ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: เจ้าทึ่ม ที่ 25 ธันวาคม 2553 10:33:13
กราบคารวะท่าน armageddon

เจ้าทึ่มถามถึง "ตัวท่าน"
ไม่ได้ถามถึง "พวกกาลามะชนทั้งปวง"

"ท่านเชื่อข้อความในพระไตรปิฎกเพราะเหตุใด"
"ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะเหตุใด"

การถกธรรมะนั้น หากมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและปรับความเข้าใจเพื่อประโยชน์แก่กันและกันแล้ว เราก็ควรตอบในสิ่งที่เราได้รับการถามด้วยใจซื่อตรง ชัยชนะจะเกิดแก่เราได้ก็ต่อเมื่อเราได้พัฒนาความเห็นของตัวเราให้ตรงขึ้น ไม่เกี่ยวกับการกระทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดดาลหรือเจ็บช้ำน้ำใจแต่ประการใด เมื่อเราถกธรรมะแล้วพบว่าใจเราไม่ปลอดโปร่ง นั่นแสดงว่าเรายังไม่เข้าใจในสิ่งที่ตนกล่าวออกไป เรายังมีการบ้านต้องทำต่อ เราก็เพียงแต่กลับไปพิจารณา ทดลองปฏิบัติต่อไปจนเข้าใจ...ก็เท่านั้นเอง

หากเราปรารถนาจะทำร้ายกันและกันแล้วก็ทำได้หลายประการ ไม่จำเป็นต้องพาดพิงถึงพระธรรมใดๆ ท่านปรารถนาจะทำร้ายเจ้าทึ่มใช่หรือไม่ ? หากเป็นเช่นนั้นก็ถือว่าท่านได้ประกาศเจตนารมณ์ไปเรียบร้อยแล้ว ไม่จำเป็นต้องพาดพิงถึง "กาลามสูตร" หรือ "ปรัชญาปารมิตา" ต่อไปอีก

เจ้าทึ่มขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ตลอดจนทีมงานร่วมอุดมการณ์ทุกท่าน หากความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างก็ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายผู้ได้นำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนผู้ที่เจ้าทึ่มได้กล่าวนอบน้อมไว้ข้างต้นนั้นเทอญ


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 25 ธันวาคม 2553 11:10:48

เวรกรรม

ดริฟกันสนั่นเมือง

(http://3.bp.blogspot.com/_wq9_aXxOXsw/TN0C_Tt2V9I/AAAAAAAAAD4/lGlUnyp7-is/s1600/drift.gif)



หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 25 ธันวาคม 2553 15:18:07
กราบคารวะท่าน armageddon

เจ้าทึ่มถามถึง "ตัวท่าน"
ไม่ได้ถามถึง "พวกกาลามะชนทั้งปวง"

"ท่านเชื่อข้อความในพระไตรปิฎกเพราะเหตุใด"
"ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะเหตุใด"

การถกธรรมะนั้น หากมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและปรับความเข้าใจเพื่อประโยชน์แก่กันและกันแล้ว เราก็ควรตอบในสิ่งที่เราได้รับการถามด้วยใจซื่อตรง ชัยชนะจะเกิดแก่เราได้ก็ต่อเมื่อเราได้พัฒนาความเห็นของตัวเราให้ตรงขึ้น ไม่เกี่ยวกับการกระทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดดาลหรือเจ็บช้ำน้ำใจแต่ประการใด เมื่อเราถกธรรมะแล้วพบว่าใจเราไม่ปลอดโปร่ง นั่นแสดงว่าเรายังไม่เข้าใจในสิ่งที่ตนกล่าวออกไป เรายังมีการบ้านต้องทำต่อ เราก็เพียงแต่กลับไปพิจารณา ทดลองปฏิบัติต่อไปจนเข้าใจ...ก็เท่านั้นเอง

หากเราปรารถนาจะทำร้ายกันและกันแล้วก็ทำได้หลายประการ ไม่จำเป็นต้องพาดพิงถึงพระธรรมใดๆ ท่านปรารถนาจะทำร้ายเจ้าทึ่มใช่หรือไม่ ? หากเป็นเช่นนั้นก็ถือว่าท่านได้ประกาศเจตนารมณ์ไปเรียบร้อยแล้ว ไม่จำเป็นต้องพาดพิงถึง "กาลามสูตร" หรือ "ปรัชญาปารมิตา" ต่อไปอีก

เจ้าทึ่มขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ตลอดจนทีมงานร่วมอุดมการณ์ทุกท่าน หากความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างก็ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายผู้ได้นำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนผู้ที่เจ้าทึ่มได้กล่าวนอบน้อมไว้ข้างต้นนั้นเทอญ


 ;D ;D ;D

สำนวนขอคารวะนั้น ให้เก็บไว้เองเถิดครับ
อย่าพูดให้เปลืองพลังงาน เสียประโยชน์เปล่าๆ

แค่ปากพุดเท่านั้น มันไม่ได้กลั่นออกมาจากใจ
พูดออกมาเป็นสิ่งที่ไร้ประโยน์

กาลามาสูตร ก็สอนให้เห็นสิ่ง ที่มีประโยชน์ และไร้ประโยน์ ได้ง่ายๆๆ
ฉะนั้น เก็บคำพูดปากเปล่าๆ ที่ไม่ได้กลั่นออกมาจากใจ
เอาไปเถิดครับ

เมื่อคุณเจ้าทึ่ม ยังอ่านไม่เข้าใจ ว่าทำไม ถึงเชื่อกาลามาสูตร
และคำตอบ ก็บอกแล้ว ว่าคนทั้งหมด ชาวกาลามะทั้งหมด ที่เชื่อพระพุทธเจ้า ที่เชื่อโดยกาลามาสูตร นั้นเห็นเช่นไร
แม้ชาวกาลามะจะเห็นได้เพียงไม่มาก อย่างน้อยๆ ก็ได้เห้นพระธรรม จนถึงโลกุตรธรรม กันถ้วนหน้า


คุณเจ้าทึ่ม ก็ยังทึ่มสมฐานานุภาพเสียจริงๆ ทึ่มอมตะจริงๆ

ข้าพเจ้า ก็จะตอบท่านเจ้าทึ่ม ว่า
ความเชื่อที่ข้าพเจ้าเชื่อ
เชื่อ ในกาลามาสูตร เพราะเห็นอย่างเดียวกัน รู้อย่างเดียวกัน เชื่ออย่างเดียวกัน  และเข้าใจอย่างเดียวกัน
ในสัจธรรมอันเดียวกัน   ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในกาลามาสูตร
และเป็นความเชื่อด้วยความแผ่ไพบูลย์ อันโล่งโปร่งทั้งสิบทิศ ของใจ
ไม่มีอะไรที่สะดุดด้วยความไม่เข้าใจ

นั่นคือผล ของ กาลามาสูตร ที่เข้าถึงใจ
อันเป็นความเห็นเดียวกัน รู้เดียวกัน เข้าใจเดียวกัน
เป็นผลของกาลามาสูตร

คุณเจ้าทึ่มเอ๋ย
คำแนะนำ อันวิปริต ของคุณ ที่จะมาแนะนำ ให้ทำร้ายกัน โดยไม่อาศัยพระธรรม
เป็นข้อเสนออันมืดบอด ทึ่มสมฐานะคุณโดยแท้

การทำร้ายกัน โดยไม่อาศัยธรรมะ
นั่นเป็นวิสัย ของมนุษย์เดียรัจฉาน  มนุษย์สเปโต มนุษย์เนรยิโก

มนุษย์ภูโต ธรรมดาๆ ยังยอมรับข้อเสนอของคุณที่ให้ทำร้ายกัน โดยไม่มีพระธรรมเลย  ยังยอมรับไม่ได้
คำเสนอของคุณที่ไม่อ้างอิงพระไตรปิฎก ไม่อ้างอิงพระธรรม  ช่างวิปริตทึ่มสมฐานานุภาพ ของคุณจริงๆ

ถ้าเห็นว่า เป็นการติเตียน เป็นการตำหนิ
นั่นก็เป็นมิจฉาทิฎฐิ ของคุณเอง

เพราะสภาวะที่ไม่อาจเลือกเฟ้นพระธรรมในข้อความที่โพสต์ได้

สิ่งที่ทำ ก็คือ ทำลายอวิชชา ความหลงผิด
เป็นทิฎฐิอันวิปริต ของคุณทึ่ม

ถ้าคุณเห้นว่า การยกพระธรรมมาชี้ความเห็นอันวิปริตของคุณ  มาทำลายอวิชชาของคุณทึ่ม เป็นการทำร้ายคุณทึ่ม

นั่นก็แสดงสภาวะ มนุษย์สามประเภท ที่ไม่เห็นธรรมะ
ไม่ได้ประโยชน์ อะไรจากธรรมะ
คือไม่รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์
อย่างกาลามาสูตร กล่าวไว้เลย

ที่มชมัด
 ;D ;D ;D





หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: WangJai ที่ 25 ธันวาคม 2553 16:01:12
กราบคารวะท่าน armageddon

เจ้าทึ่มถามถึง "ตัวท่าน"
ไม่ได้ถามถึง "พวกกาลามะชนทั้งปวง"

"ท่านเชื่อข้อความในพระไตรปิฎกเพราะเหตุใด"
"ท่านเชื่อกาลามสูตรเพราะเหตุใด"

การถกธรรมะนั้น หากมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและปรับความเข้าใจเพื่อประโยชน์แก่กันและกันแล้ว เราก็ควรตอบในสิ่งที่เราได้รับการถามด้วยใจซื่อตรง ชัยชนะจะเกิดแก่เราได้ก็ต่อเมื่อเราได้พัฒนาความเห็นของตัวเราให้ตรงขึ้น ไม่เกี่ยวกับการกระทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดดาลหรือเจ็บช้ำน้ำใจแต่ประการใด เมื่อเราถกธรรมะแล้วพบว่าใจเราไม่ปลอดโปร่ง นั่นแสดงว่าเรายังไม่เข้าใจในสิ่งที่ตนกล่าวออกไป เรายังมีการบ้านต้องทำต่อ เราก็เพียงแต่กลับไปพิจารณา ทดลองปฏิบัติต่อไปจนเข้าใจ...ก็เท่านั้นเอง

หากเราปรารถนาจะทำร้ายกันและกันแล้วก็ทำได้หลายประการ ไม่จำเป็นต้องพาดพิงถึงพระธรรมใดๆ ท่านปรารถนาจะทำร้ายเจ้าทึ่มใช่หรือไม่ ? หากเป็นเช่นนั้นก็ถือว่าท่านได้ประกาศเจตนารมณ์ไปเรียบร้อยแล้ว ไม่จำเป็นต้องพาดพิงถึง "กาลามสูตร" หรือ "ปรัชญาปารมิตา" ต่อไปอีก

เจ้าทึ่มขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ตลอดจนทีมงานร่วมอุดมการณ์ทุกท่าน หากความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างก็ขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายผู้ได้นำไปใช้ประโยชน์ตลอดจนผู้ที่เจ้าทึ่มได้กล่าวนอบน้อมไว้ข้างต้นนั้นเทอญ


เจ้าทึ่มเอ๋ย อย่างเจ้านี้ไม่ใช่แค่ทึ่มธรรมดาซะแล้ว
แต่ว่า โค-ตะ-ระ-ทึ่ม เลยละ

เจ้าไม่รู้ว่าการแสดงความศรัทธาใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้น
ไม่ใช่แค่มากล่าวคำ ขอนอบน้อม ฯ เพื่อปกป้องอัตตาตัวเอง
แต่ด้วยการเชื่อใจ ไว้ใจ วางใจ ในธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอน

แม้ว่าเจ้าจะออกมาแสดงความนอบน้อมถ่อมตน ด้วยการกล่าวคำคารวะ หรือกล่าวคำนอบน้อม ฯ
แต่การเสแสร้งด้วยเอาความคิดมิจฉาทิฏฐิแบบทึ่มๆ มาใช้
จึงไม่อาจปกปิดตัวตนแท้จริงของเจ้าได้ ว่าเจ้านั้นสำคัญตนขนาดไหน
 
ชาวกาลามะ เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ก็ยอมละวางทิฏฐิของตัวเอง
เชื่อตามพระพุทธเจ้าด้วยศรัทธาอย่างถึงใจ

แต่เจ้าทึ่มผู้กล่าวคำขอนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ฯ อยู่ทุกกระทู้
ยังคิดที่จะลองผิดลองถูกด้วยการเอามิจฉาทิฏฐิของตนเองมาพัฒนาความยึดมั่นในตนเองอีก
เพราะว่าเจ้านั้นทึ่มสมชื่อเสียจริงๆ
จึงไม่เห็นว่าธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์อย่างบริบูรณ์ ฯ
เจ้าจึงยึดมั่นถือมั่นในความคิดและวิธีการของตนเองอย่างเหนียวแน่น

เมื่อเจ้ายังต้องการความเข้าใจ นั่นยิ่งทำให้เจ้าห่างไกลจากสิ่งนั้น
ขณะถูกกระทบเจ้าคิดแต่ว่าตัวเองถูกทำร้ายให้เจ็บช้ำน้ำใจ
ไหลตามความคิดมิจฉาทิฏฐิจนมาร้องโอดครวญ
ไม่อาจนำความเข้าใจในสัมมาทิฏฐิมาใช้ได้เลย

กราบบูชาพระคุณพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ขออานิสงส์นี้ถึงแก่เจ้าทึ่ม ขอให้เจ้าทึ่มได้ดวงตาเห็นธรรม หายทึ่มจากมิจฉาทิฏฐิด้วยเถิด


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: WangJai ที่ 25 ธันวาคม 2553 16:05:39

เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร)
ว่าด้วย ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง
พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๕
เล่ม ๒๐ ข้อ ๕๐๕ หน้า ๑๗๙ - ๑๘๔

{น.๑๗๙}[๕๐๕]  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของพวกกาลามะ ชื่อว่าเกสปุตตะ พวกชนกาลามโคตรชาวเกสปุตตนิคม ได้สดับข่าวมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตรทรงผนวชจากศากยสกุลแล้ว เสด็จมาถึงเกสปุตตนิคม โดยลำดับ

ก็กิตติศัพท์อันงามของพระสมณโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์... ทรงเบิกบานแล้ว ทรงจำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนั้น ย่อมเป็นความดีแล

ครั้งนั้น ชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้เข้าไปเฝ้าผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งเฉยๆ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เมื่อต่างก็นั่งลงเรียบร้อยแล้ว จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตัวเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม ถึงพราหมณ์พวกนั้น ก็พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตนเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลงสงสัย ในสมณพราหมณ์เหล่านั้นอยู่ทีเดียวว่า ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย และท่านทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว มาเถิดท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายอย่าได้เชื่อถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำสืบๆ กันมา อย่าได้เชื่อถือ โดยตื่นข่าวว่าได้ยินอย่างนี้ {น.๑๘๐}อย่า ได้เชื่อถือ โดยอ้างตำรา อย่าได้เชื่อถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้เชื่อถือโดยคาดคะเน อย่าได้เชื่อถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้เชื่อถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฏฐิของตัว อย่าได้เชื่อถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้เชื่อถือ โดย ความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา

เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย

ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ เป็นประโยชน์
   พวกชนกาลามโคตร ต่างกราบทูลว่า เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอันความโลภ กลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่ง ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความโกรธเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์?
   กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตอันความ โกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อ สิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อม ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความหลงเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์?
   กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ มีจิตอันความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูด เท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคล ผู้หลงย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

{น.๑๘๑}พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย  ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล?
   กา. เป็นอกุศล พระเจ้าข้า
พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ?
กา. มีโทษ พระเจ้าข้า
พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ?
กา. ท่านผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า
พ. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์  เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร?
กา.ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้

พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย
 ท่าน ทั้งหลาย อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟัง.....อย่าได้ยึดถือโดยนับถือว่าสมณะ นี้เป็นครูของเรา  เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล  ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน  ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ สมบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้ง หลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย
เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้

ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย
 ท่าน ทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา.....อย่าได้ยึดถือโดยความ นับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ  ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ  ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่

ดูกรกาลามชนทั้งหลาย  ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความไม่โลภเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ เป็นประโยชน์?
   กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า
พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ถูกความโลภครอบงำ มีจิตไม่ถูกความโลภกลุ้มรุมนี้  ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูด เท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
{น.๑๘๒}กา. จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า

พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความไม่โกรธเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์?
   กา. เพื่อเป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตไม่ถูกความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่ พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น
กา. จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า

พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความไม่หลงเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์?
   กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า
พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่หลง ไม่ถูกความหลงครอบงำ มีจิตไม่ถูกความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูด เท็จ สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น
กา. จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า

พ.  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?  ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล?
   กา. เป็นกุศล พระเจ้าข้า
พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ?
กา. ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า
พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ?
กา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ พระเจ้าข้า
พ.  ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว  เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล  เพื่อความสุขหรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร?
กา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้

{น.๑๘๓} พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า  ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่สืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่าได้ยินว่าอย่างนี้  อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบ ใจว่าต้องกันกับทิฏฐิของตน อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทาน ให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่
เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น  เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้

ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นปราศจากความโลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีใจประกอบด้วยเมตตา  แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ อันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา... มีใจประกอบด้วยมุทิตา... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้  ทั้งเบื้องบน  เบื้องล่าง  เบื้องขวาง  แผ่ไปตลอดโลก  ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึง ความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้  ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ 

ดูกรกาลามชนทั้งหลาย  อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้  มีจิต ไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้  มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการ ในปัจจุบันว่า

    ก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็น เครื่องให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจ ข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
    ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
    ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใคร ๆ  ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้ ความอุ่นใจในข้อที่ ๓ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
    ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็นตนว่า เป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้งสองส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจในข้อที่ ๔ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

ดูกรกาลามชน{น.๑๘๔}ทั้งหลาย  อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตใจไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่าง นี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แลในปัจจุบัน

กา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้ เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระอริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มี จิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้  มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ท่านย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบัน...

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก  ฯลฯ ขอพระองค์โปรดทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป


http://www.navy.mi.th/newwww/code/special/budham/tp/tp200366.htm (http://www.navy.mi.th/newwww/code/special/budham/tp/tp200366.htm)


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: WangJai ที่ 25 ธันวาคม 2553 16:13:28
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ) อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส ) สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง ) วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ) สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ) โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ) อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ) สัตถา เทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ) พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ) ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความเจริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )

บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ) สันทิฏฐิโก ( เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง ) อะกาลิโก ( เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ) เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ) โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ) ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ )

บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว ) อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว ) ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว ) สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว ) ยะทิทัง ( ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ ) จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา ( คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ ) เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ) อาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ) ปาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ ) ทักขิเณยโย ( เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน ) อัญชะลีกะระณีโย ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี ) อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. ( เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ )

http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%AF (http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%AF)


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 25 ธันวาคม 2553 17:19:41


อนุโมทนาสาธุธรรม อันเป็นสัจจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าค่ะ น้องๆ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 26 ธันวาคม 2553 17:26:23
อ้างถึง
ความจริงแล้วคือการยอมรับโดยนัยว่า "อัตตา" นั้นมีธรรมชาติแห่ง "ความแปรปรวน ความไม่เที่ยง"
มิฉะนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องไปเรียกมันว่า "อมตะ" ตัวอย่างเช่น

"จิต" นั้นมีธรรมชาติแห่งการ "แปรเปลี่ยน"  
บางท่านจึงเรียกสภาวะที่มันอยู่ได้นานโดยไม่แปรเปลี่ยนว่าเป็น "จิตอันบริสุทธิ์ เป็นอมตะ เป็นนิจนิรันดร์"
จุดประสงค์ที่ใช้คำพูดเช่นนั้นก็เพื่อ "หลีกเลี่ยงภาวะสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง"
ไม่ให้ยึดอย่างสุดโต่งว่า "จิตเป็นอนัตตา"
เนื่องจากนักปฏิบัติธรรมบางท่านเมื่อฝึกมากเข้าก็อาจเผลอไปยึด "อนัตตา" เข้าเป็นตัวเป็นตน
ตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญทุกขกิริยาเพียงอย่างเดียวเพื่อละอัตตา
ถือเป็น "อัตตกิละมะถานุโยโค" เป็นภาวะสุดโต่งอย่างหนึ่งที่ตรงข้ามกับ "กามะสุขัลลิกานุโยโค"
สิ่งนี้แลที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนปัญจวคีย์ไว้ในธัมมะจักรกัปปะวตนสูตร
พวกเราควรเข้าใจให้ตรงว่า "จิตนั้นเป็นได้ทั้งอนัตตาและอัตตา...และไม่ควรยึดเป็นสรณะทั้งคู่"

รูปก็คือความว่าง
ความว่างก็คือรูป
แต่รูปก็คือรูป
ความว่างก็คือความว่าง

"สังสารวัฏ" นั้นมีธรรมชาติแห่งการ "แปรเปลี่ยน"
บางท่านจึงเรียกสภาวะที่มันอยู่ได้นานโดยไม่แปรเปลี่ยนว่าเป็น "นิพพาน"
จุดประสงค์ที่ใช้คำพูดเช่นนั้นก็เพื่อชี้ให้สาธุชนเห็นทางเลี่ยง "ภาวะสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง"
ไม่ให้ยึดอย่างสุดโต่งว่า "นิพพานเป็นอนัตตา"
เนื่องจากนักปฏิบัติธรรมบางท่านเมื่อฝึกมากเข้าก็อาจเผลอไปตั้ง "อนัตตา" เป็นจุดมุ่งหมายสุงสุดในการปฏิบัติธรรม
ถือเป็น "อัตตกิละมะถานุโยโค" เป็นภาวะสุดโต่งอย่างหนึ่งที่ตรงข้ามกับ "กามะสุขัลลิกานุโยโค"
สิ่งนี้แลที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนปัญจวคีย์ไว้ในธัมมะจักรกัปปะวตนสูตร
พวกเราควรเข้าใจให้ตรงว่า "นิพพานนั้นไม่มีชื่อเรียก...ไม่ว่าจะเป็นอนัตตาหรืออัตตา"

รูปก็คือความว่าง
ความว่างก็คือรูป
แต่รูปก็คือรูป
ความว่างก็คือความว่าง

คำว่า "อัตตา" หรือ "อนัตตา"นั้นเป็นเพียงคำคู่ตรงข้าม
เอาไว้ใช้คู่กันให้เห็น "มัชฌิมาปฏิปทา" เท่านั้น
เป็นเพียง "นิ้ว" ที่ชี้ในทิศตรงข้ามกันให้พวกเรามองเห็นทางเบื้องหน้าเท่านั้น

หากเรายึด "อัตตา" เราก็มองเห็นแต่ดิน
ในกรณีที่เรายึดมั่นในคำพูดมากเกินไปก็เปรียบเสมือนการจ้องมองแต่เพียงนิ้วที่ชี้ลงดิน
...เราไม่มีโอกาสมองเห็นดินด้วยซ้ำไป

หากเรายึด "อนัตตา" เราก็มองเห็นแต่ฟ้า
ในกรณีที่เรายึดมั่นในคำพูดมากเกินไปก็เปรียบเสมือนการจ้องมองแต่เพียงนิ้วที่ชี้ขึ้นฟ้า
...เราไม่มีโอกาสมองเห็นท้องฟ้าด้วยซ้ำไป

เมื่อพวกเรามุ่งมั่นกับการ "ก้มหน้าลงดิน"
ครูบาอาจารย์บางท่านจึง "ชี้ฟ้า" ให้พวกเราได้เงยหน้าขึ้น
จุดมุ่งหมายคือให้เรา "มองเห็นทางเบื้องหน้า"
ไม่ได้ตั้งใจให้เรามองฟ้าหรือมองนิ้วที่ชี้ขึ้นไปบนฟ้าแต่อย่างใด

เมื่อพวกเรามุ่งมั่นกับการ "แหงนหน้าขึ้นมองฟ้า"
ครูบาอาจารย์บางท่านจึง "ชี้ดิน" ให้พวกเราได้ก้มหน้าลง
จุดมุ่งหมายคือให้เรา "มองเห็นทางเบื้องหน้า"
ไม่ได้ตั้งใจให้เรามองดินหรือมองนิ้วที่ชี้ลงไปยังดินแต่อย่างใด
buddhismforliving.weebly.com[/b]

1.  พึงเข้าใจด้วยว่า...พระพุทธเจ้าเป็นผู้ให้นิยามคำว่า อัตตา และอนัตตา ไว้ในอนัตตลักขณะสูตร   ผมไม่ได้เป็นคนให้นิยามแต่อย่างใด

2.  คุณกำลังตีความผิดหลายเรื่อง  ในปรัชญาปารามิตา  จุดมุ่งหมายเพื่อสอนให้เห็นและเพ่งเห็นขันธ์ 5 เป็นความว่างเปล่า จึงจะข้ามพ้นทุกข์ไปได้  ข้อความเต็มๆของพระสูตรบทนี้มีว่า

รูปคือความว่างเปล่า ความว่างเปล่าคือรูป รูปไม่อื่นไปจากความว่างเปล่า ความว่างเปล่าไม่อื่นไปจากรูป  เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ว่างเปล่า

3. คำว่าจิตนั้นมี 2 แบบ 1. จิตที่คิดปรุงแต่ง 2. จิตที่ไม่คิดปรุงแต่ง    

จิตที่คิดปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศล  มันจะไปสร้างขันธ์ต่างๆของมนุษย์ เทพ พรหม ฯลฯ ขึ้นมา เป็นอายตนะเพื่อเข้าไปอยู่ เมื่อจิตที่ไม่คิดปรุงแต่งเข้าไปอยู่ในขันธ์ หรืออายตนะนั้น  ตัวมันจะพบว่าอายตนะภายในและภายนอกต่างๆที่ปรากฏแก่มัน ล้วนเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ความทุกข์จึงเกิดขึ้น  เราจึงเรียกภพภูมิและผู้ที่อยู่ในภพภูมินั้นเป็น"อนัตตา"

จิตที่ไม่คิดปรุงแต่ง จริงๆมันก็คิดปรุงแต่งเหมือนกัน เพียงแต่ไม่คิดปรุงแต่งเป็นกุศลเป็นอกุศลเท่านั้น และไม่คิดปรุงแต่งว่านี่เป็นตัวกูของกู  พูดง่ายๆคือ ไม่ยึดติดว่านี่เป็นข้า นี่เป็นของข้าเท่านั้น

คุณยังไม่เข้าใจว่า  พวกเราล้วนเป็นพุทธะ  ขณะนี้พวกเรากำลังฝันอยู่ สรรพสิ่งในความฝัน มันจึงเป็นอนิจจัง เป็นอนัตตา ไม่ใข่ตัวตนและไม่มีตัวตน  เมื่อเรายังไม่ตื่น  เราก็ยังไม่เห็นว่า กูกำลังฝันไปนี่หว่า  ยกเว้นไอ้คนที่ฝันที่เรียกว่า พุทธะ เท่านั้น มันมีตัวตน(อัตตา)

การไปยึดติดว่า นี่เป็นข้า นี่เป็นของข้า แม้ว่าจะน้อยสักเพียงใด จะนำไปสู่ภพภูมิใดภพภูมิหนึ่งในสังสารวัฏฏ์  รูปพรหมและอรูปพรหมต่างๆ ถ้าไม่เข้าใจในจุดนี้  จึงไม่พบพระนิพพาน พระนิพพานเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างรูปภพและอรูปภพ ไม่รับกิเลสตัณหาและความสุขของภพภูมิใดทั้งนั้น ไม่รับทั้งรูปและอรูปทั้งนั้น  จึงเกิดธรรมกาย ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างรูปและอรูป ระหว่างมีและไม่มี

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ  

"พระนิพพานอุปมาขนาดเท่าเส้นผม ผู้ที่จะผ่านพ้นในขั้นสุดท้ายไปได้หรอืไม่ได้อยู่เพียงนิดเดียวในการทำจิตตัดจุดนี้ได้หรือไม่เท่านั้น พระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้ปรินิพพานไประหว่างรูปฌานและอรูปฌาน เป็นการดับขันธ์ด้วยความบริสุทธิ์เหนือสมมติโดยสิ้นเชิง
/color]"

สำหรับนักวิปัสสนาคงจะไม่ชอบที่ผมพูดแบบนี้ เพราะท่านไม่เน้นฌาน ได้แค่ฌาน 1 ก็พอแล้ว  ผมจึงขอนำคำของหลวงปู่ดูลย์ อตโล มาลงดีกว่า:

หลวงปู่ดูลย์ อตโล

....พระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนหรอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่งคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันปกติของมนุษย์ ครอบพร้อมทั้งสติ และสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดมาครอบงำอำพรางให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป้นภาวะแห่งตนเองอย่างสมบูรณ์ ภาวะนันเรียกว่า มหาสุญญตา หรือจักรวาลเดิม หรือเรียกกว่า นิพพาน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ......

สรุป

กาเข้านิพพานทำได้โดยการตายแบบมีสติ และสัมปชัญญะ แบบตื่นเต็มที่  ไม่ถูกอารมณ์ใดๆทำให้หลงไหลไปในภพภูมิแห่งภวังคจิต(จิตใต้สำนึก)  อนึ่ง  การอยู่ฌานใดฌานหนึ่งก่อนตาย จะนำไปเกิดเป็นพรหมซึ่งเป็นของสมมุติ  ถ้ามีสติ และสัมปชัญญะ ก็จะไม่หลงไหล ไปเกิดเป็นพรหมชั้นนั้น

....ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร

และเข้าปฐมฌานไปจนถึงจตุตถฌานอีก เมื่อออกจากจตุตถฌาน ยังมิได้ทันได้เข้าสู่อากาสานัญจายตนะ พระองค์ก็ปรินิพพานในระหว่างนั้น

ในคำนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากจตุตถฌานในลำดับมา เสด็จปรินิพพาน คือ ในลำดับทั้ง ๒ คือ ในลำดับแห่งฌาน ในลำดับแห่งปัจจเวกขณญาณ.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้ว หยั่งลงสู่ภวังค์ แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้น   ชื่อว่าระหว่างฌาน ในลำดับ ๒ นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้ว พิจารณาองค์ฌานอีก หยั่งลงสู่ภวังค์ แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าระหว่างปัจจเวกขณญาณ. แม้ทั้ง ๒ นี้ก็ชื่อว่าระหว่างทั้งนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าฌานเสด็จออกจากฌาน พิจารณาองค์ฌานแล้วปรินิพพานด้วยภวังคจิต เป็นอัพยากฤตเป็นทุกขสัจจะ. สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ว่าพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก อย่างต่ำมดดำมดแดง ต้องกระทำกาละด้วยภวังคจิตที่เป็นอัพยากฤต เป็นทุกขสัจทั้งนั้นแล.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร




หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 26 ธันวาคม 2553 21:59:50
อ้างถึง
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ  

"พระนิพพานอุปมาขนาดเท่าเส้นผม ผู้ที่จะผ่านพ้นในขั้นสุดท้ายไปได้หรอืไม่ได้อยู่เพียงนิดเดียวในการทำจิตตัดจุดนี้ได้หรือไม่เท่านั้น พระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้ปรินิพพานไประหว่างรูปฌานและอรูปฌาน เป็นการดับขันธ์ด้วยความบริสุทธิ์เหนือสมมติโดยสิ้นเชิง
/color]"

สำหรับนักวิปัสสนาคงจะไม่ชอบที่ผมพูดแบบนี้ เพราะท่านไม่เน้นฌาน ได้แค่ฌาน 1 ก็พอแล้ว  ผมจึงขอนำคำของหลวงปู่ดูลย์ อตโล มาลงดีกว่า:

หลวงปู่ดูลย์ อตโล

....พระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนหรอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่งคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันปกติของมนุษย์ ครอบพร้อมทั้งสติ และสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดมาครอบงำอำพรางให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป้นภาวะแห่งตนเองอย่างสมบูรณ์ ภาวะนันเรียกว่า มหาสุญญตา หรือจักรวาลเดิม หรือเรียกกว่า นิพพาน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ......

สรุป

กาเข้านิพพานทำได้โดยการตายแบบมีสติ และสัมปชัญญะ แบบตื่นเต็มที่  ไม่ถูกอารมณ์ใดๆทำให้หลงไหลไปในภพภูมิแห่งภวังคจิต(จิตใต้สำนึก)  อนึ่ง  การอยู่ฌานใดฌานหนึ่งก่อนตาย จะนำไปเกิดเป็นพรหมซึ่งเป็นของสมมุติ  ถ้ามีสติ และสัมปชัญญะ ก็จะไม่หลงไหล ไปเกิดเป็นพรหมชั้นนั้น

....ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร

และเข้าปฐมฌานไปจนถึงจตุตถฌานอีก เมื่อออกจากจตุตถฌาน ยังมิได้ทันได้เข้าสู่อากาสานัญจายตนะ พระองค์ก็ปรินิพพานในระหว่างนั้น

ในคำนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากจตุตถฌานในลำดับมา เสด็จปรินิพพาน คือ ในลำดับทั้ง ๒ คือ ในลำดับแห่งฌาน ในลำดับแห่งปัจจเวกขณญาณ.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้ว หยั่งลงสู่ภวังค์ แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้น   ชื่อว่าระหว่างฌาน ในลำดับ ๒ นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้ว พิจารณาองค์ฌานอีก หยั่งลงสู่ภวังค์ แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าระหว่างปัจจเวกขณญาณ. แม้ทั้ง ๒ นี้ก็ชื่อว่าระหว่างทั้งนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าฌานเสด็จออกจากฌาน พิจารณาองค์ฌานแล้วปรินิพพานด้วยภวังคจิต เป็นอัพยากฤตเป็นทุกขสัจจะ. สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ว่าพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก อย่างต่ำมดดำมดแดง ต้องกระทำกาละด้วยภวังคจิตที่เป็นอัพยากฤต เป็นทุกขสัจทั้งนั้นแล.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร





หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 26 ธันวาคม 2553 22:11:15
1 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

"พระนิพพานอุปมาขนาดเท่าเส้นผม ผู้ที่จะผ่านพ้นในขั้นสุดท้ายไปได้หรอืไม่ได้อยู่เพียงนิดเดียวในการทำจิตตัดจุดนี้ได้หรือไม่เท่านั้น พระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้ปรินิพพานไประหว่างรูปฌานและอรูปฌาน  เป็นการดับขันธ์ด้วยความบริสุทธิ์เหนือสมมติโดยสิ้นเชิง

2 หลวงปู่ดูลย์ อตโล

....พระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนหรอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่งคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันปกติของมนุษย์  ครอบพร้อมทั้งสติ และสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดมาครอบงำอำพรางให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป้นภาวะแห่งตนเองอย่างสมบูรณ์ ภาวะนันเรียกว่า มหาสุญญตา หรือจักรวาลเดิม หรือเรียกกว่า นิพพาน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ......



ในคำนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากจตุตถฌานในลำดับมา เสด็จปรินิพพาน คือ ในลำดับทั้ง ๒ คือ ในลำดับแห่งฌาน ในลำดับแห่งปัจจเวกขณญาณ.  


 ;D ;D ;D






หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 26 ธันวาคม 2553 22:18:50
ปัจจเวกขณญาณ คือ ปัญญาที่พิจารณาให้รู้เห็นตามสภาพธรรมที่เป็นจริงนี้ เป็นมโนทวารวิถี มีมโนทวาราวัชชนจิตเป็นจิตนำวิถี แล้วมหากุสลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง สำหรับพระเสกขบุคคล หรือ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง สำหรับพระอเสกขบุคคล ดวงใดดวงหนึ่งก็เกิดทำกิจชวนะ ๗ ขณะ พิจารณาให้เกิดปัจจเวกขณญาณ

ก. ให้แจ้งในมัคคจิตที่ตนได้ประสบมาเมื่อกี้นี้อย่างหนึ่ง

ข. ให้แจ้งในผลจิตอย่างหนึ่ง

ค. ให้แจ้งในพระนิพพานอย่างหนึ่ง

ง. ให้แจ้งในกิเลสที่ละแล้วอย่างหนึ่ง

จ. ให้แจ้งในกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่อย่างหนึ่ง

การพิจารณา มัคค ผล นิพพาน รวม ๓ ประการนี้ จะต้องมีแน่นอน ส่วนลำดับแห่งการพิจารณานั้น ไม่มีกำหนดกฏเกณฑ์ว่าจะต้องพิจารณา มัคคก่อน หรือผลก่อน หรือนิพพานก่อน จะพิจารณาอะไรก่อนก็ได้ แต่ข้อสำคัญนั้นต้อง พิจารณาครบทั้ง ๓ ประการนี้ อย่างแน่นอน

สำหรับการพิจารณากิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่รวม ๒ ประการนี้ จะพิจารณาได้เฉพาะพระอริยเจ้าที่ได้ศึกษาพระปริยัติ ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระปริยัติก็ไม่มีความรู้พอที่จะพิจารณาได้ ดังนั้นการพิจารณา ๒ ประการหลังนี้ จึงกล่าวว่าไม่แน่นอน บ้างก็พิจารณา บ้างก็ไม่พิจารณา

อนึ่งการพิจารณากิเลสที่ยังคงเหลือนั้นเฉพาะผู้ที่บรรลุมัคคจิตครั้งที่ ๔ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่ต้องมีการพิจารณา เพราะพระอรหันต์ไม่มีกิเลสเหลืออยู่เลย จึงคงพิจารณาเพียง ๔ ประการ คือ มัคค ผล นิพพาน และกิเลสที่ละแล้วเท่านั้น

รวมปัจจเวกขณวิถี ที่เกิดภายหลังมัคควิถีนั้น ถ้าคิดจำนวนอย่างเต็มที่ ก็ได้ ๑๙ ประการ คือ

ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง                       โสดาปัตติมัคควิถี             มี      ๕      ประการ

ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง                       สกทาคามิมัคควิถี             มี      ๕      ประการ

ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง                       อนาคามิมัคควิถี               มี      ๕      ประการ

ปัจจเวกขณวิถีที่เกิดภายหลัง                       อรหัตตมัคควิถี               มี      ๔      ประการ

 ;D ;D ;D

แต่ก็มีบางที่

มีวาทะว่า.... ไม่เนื่องด้วยวิถึ..... ไม่เนื่องด้วยวิธีการ ......นิพพานอยู่แว๊วววววว

 ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 27 ธันวาคม 2553 15:19:50
มโนทวารวิถี (กล่าวตามนัยแห่งพระอภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์ โดยเฉพาะ) ไม่มีอตีตภวังค เพราะอารมณ์ที่ปรากฏทางมโนทวารวิถีนี้ ไม่ได้กระทบ ภวังคจิตก่อนเหมือนกับปัญจทวารวิถี หากแต่จิตเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงรับอารมณ์นั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทางปัญจทวารวิถีนั้น อารมณ์เป็นปัจจัยมากระทบมากระตุ้น เตือนจิต ให้จิตไหวตัวขึ้นรับอารมณ์ ส่วนทางมโนทวารวิถีนั้น จิตไหวตัวหน่วงเอา อารมณ์นั้น ๆ มาเอง

          เนื่องจากการที่จิตไหวตัว หน่วงเอาอารมณ์นั้น ๆ มาเองดังกล่าวนี้ มโนทวาร วิถีจึงมีกิจการงานที่จะต้องกระทำน้อยอย่าง วิถีจิตจึงมีน้อยเพียง ๓ อย่างเท่านั้น คือ

          ก. มโนทวาราวัชชนจิต ผู้ทำหน้าที่นำวิถี ได้หน่วงเอาอารมณ์นั้น ๆ มาเอง โดยตัดสินให้เป็นกุสล อกุสลเสร็จไปพร้อมกันในตัวเองทีเดียว อย่างที่ว่า ก่อเอง สานเอง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มโนทวาราวัชชนจิตได้คิดนึกเป็นกุสล อกุสล เอง ไม่มีจิตอื่นเป็นสื่อนำมาให้

          ข. แล้วชวนจิตก็เกิดขึ้น เสพอารมณ์นั้นโดยความเป็นกุสล หรืออกุสล ตามที่ มโนทวาราวัชชนจิตได้กำหนดนึกนั้น

          ค. และเพราะว่าอารมณ์ชัดแจ้งมาก มีกำลังมาก ตทาลัมพนะจึงต้องรับรู้ อารมณ์นั้นต่อจากชวนจิตอีกทอดหนึ่ง

          ส่วนทางปัญจทวารวิถี มีจิตอื่นทำกิจของเขามาก่อน คือ รับรู้อารมณ์มาก่อน เป็นหลายทอดหลายหน้าที่ แล้วจึงเสนอถึงโวฏฐัพพนะ ก็คือ มโนทวาราวัชชนะ นั่นเอง เป็นผู้ตัดสินกำหนดให้เป็นกุสล หรืออกุสล ขอให้ดูภาพวิถีจิต (หน้า ๗-๘) ประกอบด้วย จะเห็นได้ว่า ปัญจทวารวิถีมีกิจการงานต้องกระทำหลายอย่าง มีวิถีจิต มากถึง ๗ อย่าง

...


ก่อนที่ฌานวิถีจิตจะเกิดขึ้น     ต้องมีมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเกิด

ก่อนทุกครั้ง

 

มหากุศลชวนะขณะที่ ๑  เป็นบริกัมม์ คือ เป็นบริกัมม์ของอัปปนาสมาธิ เพราะ

                                       ปรุงแต่งอัปปนา   คือ  ถ้ามหากุศลซึ่งเป็นบริกัมม์ไม่

                                       เกิด  จิตขณะต่อไปและอัปปนาสมาธิ คือ ฌานจิตก็

                                       เกิดไม่ได้

มหากุศลชวนะขณะที่ ๒  เป็นอุปจาร เพราะเข้าไปใกล้อัปปนาสมาธิ

มหากุศลชวนะขณะที่ ๓  เป็นอนุโลม เพราะอนุกูลแก่อัปปนาสมาธิ

มหากุศลชวนะขณะที่ ๔  เป็นโคตรภู   เพราะข้ามพ้นกามาวจรภูมิ    เพื่อขึ้นสู่

                                       รูปาวจรภูมิ

 

                เมื่อมหากุศลชวนะขณะที่ ๔ ดับแล้ว   ชวนวิถีจิตขณะต่อไป  จึงเป็น

" รูปาวจรปฐมฌานกุศลจิต "

http://www.abhidhamonline.org/aphi/p4/034.htm (http://www.abhidhamonline.org/aphi/p4/034.htm)

 ;D ;D ;D



หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 27 ธันวาคม 2553 15:34:16
รูปาวจรปฐมฌานกุศลจิต เป็นอัปปนาสมาธิที่แนบแน่นในอารมณ์

ด้วยองค์ฌาน  ๕   ฉะนั้น ถึงแม้ว่ารูปาวจรฌานกุศลจะเกิดขึ้นครั้งแรกเพียงขณะ

เดียว    - เมื่อภวังคจิตเกิดคั่นหลายขณะดับไปแล้ว

           - มโนทวารวิถีจิตก็เกิดสืบต่อ  โดยมโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น รำพึงถึง

             องค์ของฌาน ๑ ขณะ  แล้วดับไป

- แล้วมหากุศลญาณสัมปปยุตตจิตก็พิจารณาองค์ฌานนั้น ๗ ขณะ

- แล้วภวังคจิตก็เกิดคั่น

- มโนทวารวิถีจิตเกิดขึ้นพิจารณาองค์ของฌานทีละองค์ ทีละวาระ  ขณะ

  ที่มโนทวารวิถีจิตเกิดขึ้น  พิจารณาองค์ฌาน แต่ละองค์  แต่ละวาระนั้น

  เป็นปัจจเวกขณวิถี ซึ่งต้องเกิดต่อจากฌานวิถีทุกครั้ง

 

               ปัญญาของผู้บรรลุรูปาวจรฌานกุศลจิต     จึงรู้ความต่างกันขององค์

ฌานทั้ง ๕ คือ รู้ความต่างกันของวิตกเจตสิกและวิจารเจตสิก    รู้ความแตกต่าง

กันของปีติเจตสิกและสุข (โสมนัสเวทนาเจตสิก)   และรู้ลักษณะของเอกัคคตา

เจตสิกที่เป็นอัปปนาสมาธิ

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=11041&PHPSESSID=e309f091763e5ccfa11c4ed6c548b5e7 (http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=11041&PHPSESSID=e309f091763e5ccfa11c4ed6c548b5e7)


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 27 ธันวาคม 2553 23:29:01


 ;D ;D ;D

นิพพานเป็นอัตตาตรงไหน ....

หนาย...ลองอธิบายในแง่พระอภิธรรมหน่อยสิ คุณเดียรถีย์พลศักดิ์

 ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 29 ธันวาคม 2553 00:49:07
 ;D ;D ;D

มาดูพระอภิธรรมกันให้ชัดๆ
จะได้หาย งง ในสภาพพระนิพพาน

ลองดูกันครับ  ว่าจะเชื่อคุณแถพลศักดิ์  หรือจะเชื่อพระอภิธรรมดี
ความน่าเชื่อถือได้ ควรจะเชื่ออันไหนมากกว่ากัน ?
 ;D ;D ;D



สภาพของนิพพาน

พระอภิธรรม
ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค    หน้าที่ : 84

เมื่อกล่าวโดยสามัญญลักษณะสภาพของนิพพานมีเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีการเกิดแก่ เจ็บ ตาย ใด ๆ ทั้งสิ้น

       แต่นิพพาน ไม่มีอนิจจลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน ไม่แปรผัน และนิพพาน ไม่มีทุกขลักษณะ  เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ทนอยู่ได้ ด้วยว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ และด้วยเหตุที่นิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า จึงมีสภาพที่ทน อยู่ หรือดำรงคงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่านั้นตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะมาปรุงแต่งให้ กลายเป็นไม่ว่างได้

       วิเสสลักษณะ ของนิพพาน มีเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน เท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน

       สนฺติ ลกฺขณา                มีความสุขสงบจากเพลิงทุกข์ เป็นลักษณะ

       อจฺจุต รสา                         มีความไม่แตกดับ เป็นกิจ (สัมปัตติรส)

       อนิมิตฺต ปจฺจุปฎฺฐานา           ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย เป็นอาการปรากฏ

     นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา         มีความออกไปจากภพ เป็นผล

       ปทฏฺฐานํ น ลพฺภติ          ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (เพราะนิพพานเป็นธรรม  ที่พ้นจากเหตุ จากปัจจัยทั้งปวง)

       สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ พ้นแล้วจากตัณหาเครื่อง ร้อยรัด ตรัสรู้  ธรรมส่วนหนึ่ง ธรรมที่ไม่ตาย ธรรมที่เที่ยง  ธรรมที่ปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ธรรมที่ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐยิ่งกว่า ธรรมนั้น คือ นิพพาน

      สภาพของนิพพาน ๕ ประการ ที่กล่าวข้างต้น มีความหมายดังนี้ คือ

๑. ปทํ แปลว่า นิพพานเป็นส่วนหนึ่ง เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ และมีอยู่โดยเฉพาะ ไม่คลุกเคล้าด้วยโลกียธรรม

๒. อจฺจุตํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ตาย ไม่มีความเกิด และไม่มี ความตาย ไม่มีแตกดับ

๓. อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่เที่ยง คือก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคต หมายความว่า เป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ ได้แก่ นิพพาน

๔. อสงฺขตํ แปลว่า นิพพาน ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย หมายความว่า นิพพานนี้ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป เพราะ จิต เจตสิก รูป นั้นเป็น ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ ได้แก่ นิพพาน

          บัญญัติ ก็เป็นอสังขตธรรมเหมือนกัน แต่ในที่นี้กล่าวเฉพาะ ธรรมที่เป็นปรมัตถ บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม ฉะนั้นอสังขตธรรม ในที่นี้จึงหมายถึง นิพพาน แต่อย่างเดียว

๕. อนุตฺตรํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างที่ไม่มีธรรมใด ๆ จะเทียมเท่า

 
 ;D ;D ;D

ขอโหวตหน่อย .....
ถ้าเชื่อพลศักด์  กด * 1
ถ้าเชื่อพระอภิธรรม  กด *2

 ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา (อสังขตธาตุ)?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 29 ธันวาคม 2553 01:54:53
;D ;D ;D

มาดูพระอภิธรรมกันให้ชัดๆ
จะได้หาย งง ในสภาพพระนิพพาน

ลองดูกันครับ  ว่าจะเชื่อคุณแถพลศักดิ์  หรือจะเชื่อพระอภิธรรมดี
ความน่าเชื่อถือได้ ควรจะเชื่ออันไหนมากกว่ากัน ?
 ;D ;D ;D



สภาพของนิพพาน

พระอภิธรรม
ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค    หน้าที่ : 84

เมื่อกล่าวโดยสามัญญลักษณะสภาพของนิพพานมีเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีการเกิดแก่ เจ็บ ตาย ใด ๆ ทั้งสิ้น

       แต่นิพพาน ไม่มีอนิจจลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน ไม่แปรผัน และนิพพาน ไม่มีทุกขลักษณะ  เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ทนอยู่ได้ ด้วยว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ และด้วยเหตุที่นิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า จึงมีสภาพที่ทน อยู่ หรือดำรงคงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่านั้นตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะมาปรุงแต่งให้ กลายเป็นไม่ว่างได้

       วิเสสลักษณะ ของนิพพาน มีเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน เท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน

       สนฺติ ลกฺขณา                มีความสุขสงบจากเพลิงทุกข์ เป็นลักษณะ

       อจฺจุต รสา                         มีความไม่แตกดับ เป็นกิจ (สัมปัตติรส)

       อนิมิตฺต ปจฺจุปฎฺฐานา           ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย เป็นอาการปรากฏ

     นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา         มีความออกไปจากภพ เป็นผล

       ปทฏฺฐานํ น ลพฺภติ          ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (เพราะนิพพานเป็นธรรม  ที่พ้นจากเหตุ จากปัจจัยทั้งปวง)

       สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ พ้นแล้วจากตัณหาเครื่อง ร้อยรัด ตรัสรู้  ธรรมส่วนหนึ่ง ธรรมที่ไม่ตาย ธรรมที่เที่ยง  ธรรมที่ปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ธรรมที่ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐยิ่งกว่า ธรรมนั้น คือ นิพพาน

      สภาพของนิพพาน ๕ ประการ ที่กล่าวข้างต้น มีความหมายดังนี้ คือ

๑. ปทํ แปลว่า นิพพานเป็นส่วนหนึ่ง เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ และมีอยู่โดยเฉพาะ ไม่คลุกเคล้าด้วยโลกียธรรม

๒. อจฺจุตํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ตาย ไม่มีความเกิด และไม่มี ความตาย ไม่มีแตกดับ

๓. อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่เที่ยง คือก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคต หมายความว่า เป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ ได้แก่ นิพพาน

๔. อสงฺขตํ แปลว่า นิพพาน ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย หมายความว่า นิพพานนี้ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป เพราะ จิต เจตสิก รูป นั้นเป็น ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ ได้แก่ นิพพาน

          บัญญัติ ก็เป็นอสังขตธรรมเหมือนกัน แต่ในที่นี้กล่าวเฉพาะ ธรรมที่เป็นปรมัตถ บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม ฉะนั้นอสังขตธรรม ในที่นี้จึงหมายถึง นิพพาน แต่อย่างเดียว

๕. อนุตฺตรํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างที่ไม่มีธรรมใด ๆ จะเทียมเท่า

 
 ;D ;D ;D

ขอโหวตหน่อย .....
ถ้าเชื่อพลศักด์  กด * 1
ถ้าเชื่อพระอภิธรรม  กด *2

 ;D ;D ;D


ข้อสงสัยข้อนี้ผมยินดีตอบ  ทั้งๆที่ตอบออกไป  คงจะมีคนเข้าใจน้อยมาก  แต่เมื่อเขาฝึกปฏิบัติไปเรื่อยๆ เขาจะเขาใจเอง

พึงระลึกว่า  ผมตอบ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคุณนะครับ  เพราะคุณมีทิฏฐิมานะ  ไม่ยอมรับแม้แต่เรื่องเดียว  ทั้งๆที่จนมุมในทุกเรื่อง  ผมตอบเพราะมันเป็นประโยชน์กับผู้อื่นนะครับ

คุณกำลังงงเรื่องจิตและขันธ์    จิตสังขารของคุณ กับขันธ์ 5 ของคุณ มันคนละเรื่องกัน  จิตสังขาร และแม้แต่นิพพานซึ่งเป็นจิตบริสุทธิ์หรือจิตปภัสสร ล้วนเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า  จิตไม่เคยตาย  ใครก็ฆ่าไม่ได้  ฆ่าได้แต่ขันธ์หรืออายตนะที่จิตไปอาศัยอยู่

อนัตตา = สิ่งที่เป็นขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับจิต(สังขาร) ซึ่งเป็นอาทิสมานกายหรือกายทิพย์
อัตตา = สิ่งที่เป็นธรรมขันธ์ ไม่ใช่นิพพานจิต

1. นิพพานเป็นจิต นิพพานจิตชี้ไม่ได้ ชี้ได้แต่ธรรมกาย ซึ่งเป็นอายตนะนิพพาน หรือขันธ์ที่จิตปภัสสรสร้างขึ้น

2. พระพุทธเจ้าตรัสกับพระมหากัสสปะว่า  “...กัสสปะ ตถาคตมีธรรมจักษุครรภ์อันถูกต้อง และนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริง ย่อมไม่มีลักษณะ"

2. พระนาคเสน มหาเถระ พระอรหันต์สมัยพุทธปรินิพพานไป ๕๐๐ ปี ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา กล่าวว่า:

..... พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น........(ตัวที่ชี้ให้ดูไม่ได้คือ จิต  ตัวที่ชี้ให้ดูได้ คือ ธรรมกาย ซึ่งเป็นอายตนนพพาน)

..... นิพพานมีอยู่จริง แต่ว่าไม่มีใครอาจแสดงให้เห็นได้ว่า นิพพานมีสี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น อย่างไร

 เปรียบเหมือน ลม ที่มีอยู่จริง แต่ก็ไม่มีใครสามารถ แสดงลมให้เห็นด้วย สี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น ได้

...... นิพพานเป็นของไม่ควรกล่าวว่าเกิดขึ้นแล้ว หรือยังไม่เกิด จักต้องเกิด ไม่ควรกล่าวว่าเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน

 ไม่ควรกล่าวว่า เป็นของต้องเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู รู้ด้วยจมูก ลิ้นกาย อย่างใดเลย.........

......นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส ....

...... นิพพานไม่มีของเปรียบ ไม่อาจชี้รูป หรือสัณฐาน วัย ประมาณ แห่งนิพพานได้ด้วยอุปมา หรือด้วยเหตุ หรือด้วยปัจจัย หรือด้วยนัย .....

...... นิพพานธาตุ อันสงบ อันเป็นสุข อันประณีตนั้นมีอยู่ ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อพิจารณาสังขารตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็กระทำให้แจ้งนิพพานธาตุด้วยปัญญา.....

...... ที่ตั้งของนิพพานไม่มี นิพพานไม่ได้ตั้งอยู่ในทิศใด แต่นิพพานมี ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไปของสังขารทั้งหลายด้วยโยนิโสมนสิการแล้ว ก็กระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน 


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัต
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 29 ธันวาคม 2553 09:06:32
;D ;D ;D

มาดูพระอภิธรรมกันให้ชัดๆ
จะได้หาย งง ในสภาพพระนิพพาน

ลองดูกันครับ  ว่าจะเชื่อคุณแถพลศักดิ์  หรือจะเชื่อพระอภิธรรมดี
ความน่าเชื่อถือได้ ควรจะเชื่ออันไหนมากกว่ากัน ?
 ;D ;D ;D



สภาพของนิพพาน

พระอภิธรรม
ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค    หน้าที่ : 84

เมื่อกล่าวโดยสามัญญลักษณะสภาพของนิพพานมีเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีการเกิดแก่ เจ็บ ตาย ใด ๆ ทั้งสิ้น

       แต่นิพพาน ไม่มีอนิจจลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน ไม่แปรผัน และนิพพาน ไม่มีทุกขลักษณะ  เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ทนอยู่ได้ ด้วยว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ และด้วยเหตุที่นิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า จึงมีสภาพที่ทน อยู่ หรือดำรงคงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่านั้นตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะมาปรุงแต่งให้ กลายเป็นไม่ว่างได้

       วิเสสลักษณะ ของนิพพาน มีเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน เท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน

       สนฺติ ลกฺขณา                มีความสุขสงบจากเพลิงทุกข์ เป็นลักษณะ

       อจฺจุต รสา                         มีความไม่แตกดับ เป็นกิจ (สัมปัตติรส)

       อนิมิตฺต ปจฺจุปฎฺฐานา           ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย เป็นอาการปรากฏ

     นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา         มีความออกไปจากภพ เป็นผล

       ปทฏฺฐานํ น ลพฺภติ          ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (เพราะนิพพานเป็นธรรม  ที่พ้นจากเหตุ จากปัจจัยทั้งปวง)

       สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ พ้นแล้วจากตัณหาเครื่อง ร้อยรัด ตรัสรู้  ธรรมส่วนหนึ่ง ธรรมที่ไม่ตาย ธรรมที่เที่ยง  ธรรมที่ปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ธรรมที่ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐยิ่งกว่า ธรรมนั้น คือ นิพพาน

      สภาพของนิพพาน ๕ ประการ ที่กล่าวข้างต้น มีความหมายดังนี้ คือ

๑. ปทํ แปลว่า นิพพานเป็นส่วนหนึ่ง เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ และมีอยู่โดยเฉพาะ ไม่คลุกเคล้าด้วยโลกียธรรม

๒. อจฺจุตํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ตาย ไม่มีความเกิด และไม่มี ความตาย ไม่มีแตกดับ

๓. อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่เที่ยง คือก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคต หมายความว่า เป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ ได้แก่ นิพพาน

๔. อสงฺขตํ แปลว่า นิพพาน ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย หมายความว่า นิพพานนี้ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป เพราะ จิต เจตสิก รูป นั้นเป็น ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ ได้แก่ นิพพาน

          บัญญัติ ก็เป็นอสังขตธรรมเหมือนกัน แต่ในที่นี้กล่าวเฉพาะ ธรรมที่เป็นปรมัตถ บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม ฉะนั้นอสังขตธรรม ในที่นี้จึงหมายถึง นิพพาน แต่อย่างเดียว

๕. อนุตฺตรํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างที่ไม่มีธรรมใด ๆ จะเทียมเท่า

 
 ;D ;D ;D

ขอโหวตหน่อย .....
ถ้าเชื่อพลศักด์  กด * 1
ถ้าเชื่อพระอภิธรรม  กด *2

 ;D ;D ;D


ข้อสงสัยข้อนี้ผมยินดีตอบ  ทั้งๆที่ตอบออกไป  คงจะมีคนเข้าใจน้อยมาก  แต่เมื่อเขาฝึกปฏิบัติไปเรื่อยๆ เขาจะเขาใจเอง

พึงระลึกว่า  ผมตอบ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคุณนะครับ  เพราะคุณมีทิฏฐิมานะ  ไม่ยอมรับแม้แต่เรื่องเดียว  ทั้งๆที่จนมุมในทุกเรื่อง  ผมตอบเพราะมันเป็นประโยชน์กับผู้อื่นนะครับ

คุณกำลังงงเรื่องจิตและขันธ์    จิตสังขารของคุณ กับขันธ์ 5 ของคุณ มันคนละเรื่องกัน  จิตสังขาร และแม้แต่นิพพานซึ่งเป็นจิตบริสุทธิ์หรือจิตปภัสสร ล้วนเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า  จิตไม่เคยตาย  ใครก็ฆ่าไม่ได้  ฆ่าได้แต่ขันธ์หรืออายตนะที่จิตไปอาศัยอยู่

อนัตตา = สิ่งที่เป็นขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับจิต(สังขาร) ซึ่งเป็นอาทิสมานกายหรือกายทิพย์
อัตตา = สิ่งที่เป็นธรรมขันธ์ ไม่ใช่นิพพานจิต

1. นิพพานเป็นจิต นิพพานจิตชี้ไม่ได้ ชี้ได้แต่ธรรมกาย ซึ่งเป็นอายตนะนิพพาน หรือขันธ์ที่จิตปภัสสรสร้างขึ้น

2. พระพุทธเจ้าตรัสกับพระมหากัสสปะว่า  “...กัสสปะ ตถาคตมีธรรมจักษุครรภ์อันถูกต้อง และนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริง ย่อมไม่มีลักษณะ"

2. พระนาคเสน มหาเถระ พระอรหันต์สมัยพุทธปรินิพพานไป ๕๐๐ ปี ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา กล่าวว่า:

..... พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น........(ตัวที่ชี้ให้ดูไม่ได้คือ จิต  ตัวที่ชี้ให้ดูได้ คือ ธรรมกาย ซึ่งเป็นอายตนนพพาน)

..... นิพพานมีอยู่จริง แต่ว่าไม่มีใครอาจแสดงให้เห็นได้ว่า นิพพานมีสี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น อย่างไร

 เปรียบเหมือน ลม ที่มีอยู่จริง แต่ก็ไม่มีใครสามารถ แสดงลมให้เห็นด้วย สี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น ได้

...... นิพพานเป็นของไม่ควรกล่าวว่าเกิดขึ้นแล้ว หรือยังไม่เกิด จักต้องเกิด ไม่ควรกล่าวว่าเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน

 ไม่ควรกล่าวว่า เป็นของต้องเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู รู้ด้วยจมูก ลิ้นกาย อย่างใดเลย.........

......นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส ....

...... นิพพานไม่มีของเปรียบ ไม่อาจชี้รูป หรือสัณฐาน วัย ประมาณ แห่งนิพพานได้ด้วยอุปมา หรือด้วยเหตุ หรือด้วยปัจจัย หรือด้วยนัย .....

...... นิพพานธาตุ อันสงบ อันเป็นสุข อันประณีตนั้นมีอยู่ ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อพิจารณาสังขารตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็กระทำให้แจ้งนิพพานธาตุด้วยปัญญา.....

...... ที่ตั้งของนิพพานไม่มี นิพพานไม่ได้ตั้งอยู่ในทิศใด แต่นิพพานมี ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไปของสังขารทั้งหลายด้วยโยนิโสมนสิการแล้ว ก็กระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน 

 ;D ;D ;D

จิตประภัสสร

  [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใด
นั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ
       [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ

       [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=161&Z=209 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=161&Z=209)


 ;D ;D ;D

พูดมาได้ ไม่อายปากเลยนะ 
อ่านข้อสี่สิบเก้าให้ดีๆ
ว่าจิตประภัสสร เปลี่ยนแปลงได้เร็วขนาดไหน
ตราบใดไม่สิ้นกิเลส 

ความเปลี่ยนแปลงได้เร็ว เช่นนี้แหละ เรียกว่า เป็นอนัตตา

อย่ามามั่ว กับนิพพาน
 ;D ;D ;D









หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัต
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 29 ธันวาคม 2553 09:16:43
อ้างอิงคำพูดคุณเดียรถีย์พลศักดิ์

..... นิพพานมีอยู่จริง แต่ว่าไม่มีใครอาจแสดงให้เห็นได้ว่า นิพพานมีสี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น อย่างไร

 เปรียบเหมือน ลม ที่มีอยู่จริง แต่ก็ไม่มีใครสามารถ แสดงลมให้เห็นด้วย สี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น ได้

...... นิพพานเป็นของไม่ควรกล่าวว่าเกิดขึ้นแล้ว หรือยังไม่เกิด จักต้องเกิด ไม่ควรกล่าวว่าเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน

 ไม่ควรกล่าวว่า เป็นของต้องเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู รู้ด้วยจมูก ลิ้นกาย อย่างใดเลย.........

......นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส ....

...... นิพพานไม่มีของเปรียบ ไม่อาจชี้รูป หรือสัณฐาน วัย ประมาณ แห่งนิพพานได้ด้วยอุปมา หรือด้วยเหตุ หรือด้วยปัจจัย หรือด้วยนัย .....

...... นิพพานธาตุ อันสงบ อันเป็นสุข อันประณีตนั้นมีอยู่ ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อพิจารณาสังขารตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็กระทำให้แจ้งนิพพานธาตุด้วยปัญญา.....

...... ที่ตั้งของนิพพานไม่มี นิพพานไม่ได้ตั้งอยู่ในทิศใด แต่นิพพานมี ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไปของสังขารทั้งหลายด้วยโยนิโสมนสิการแล้ว ก็กระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน   


 ;D ;D ;D

แล้วทีนี้ ก็เอานิพพานจิต  ที่คุณโพสต์เองนี่แหละ
ไปดูจิตประภัสสร ที่พระพุทธเจ้าตรัส

ก้างชิ้นใหญ่ ก็จะติดคอ ตำคอ คุณเอง

 ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัต
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 29 ธันวาคม 2553 12:41:16
;D ;D ;D

มาดูพระอภิธรรมกันให้ชัดๆ
จะได้หาย งง ในสภาพพระนิพพาน

ลองดูกันครับ  ว่าจะเชื่อคุณแถพลศักดิ์  หรือจะเชื่อพระอภิธรรมดี
ความน่าเชื่อถือได้ ควรจะเชื่ออันไหนมากกว่ากัน ?
 ;D ;D ;D



สภาพของนิพพาน

พระอภิธรรม
ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค    หน้าที่ : 84

เมื่อกล่าวโดยสามัญญลักษณะสภาพของนิพพานมีเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีการเกิดแก่ เจ็บ ตาย ใด ๆ ทั้งสิ้น

       แต่นิพพาน ไม่มีอนิจจลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน ไม่แปรผัน และนิพพาน ไม่มีทุกขลักษณะ  เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ทนอยู่ได้ ด้วยว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ และด้วยเหตุที่นิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า จึงมีสภาพที่ทน อยู่ หรือดำรงคงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่านั้นตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะมาปรุงแต่งให้ กลายเป็นไม่ว่างได้

       วิเสสลักษณะ ของนิพพาน มีเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน เท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน

       สนฺติ ลกฺขณา                มีความสุขสงบจากเพลิงทุกข์ เป็นลักษณะ

       อจฺจุต รสา                         มีความไม่แตกดับ เป็นกิจ (สัมปัตติรส)

       อนิมิตฺต ปจฺจุปฎฺฐานา           ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย เป็นอาการปรากฏ

     นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา         มีความออกไปจากภพ เป็นผล

       ปทฏฺฐานํ น ลพฺภติ          ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (เพราะนิพพานเป็นธรรม  ที่พ้นจากเหตุ จากปัจจัยทั้งปวง)

       สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ พ้นแล้วจากตัณหาเครื่อง ร้อยรัด ตรัสรู้  ธรรมส่วนหนึ่ง ธรรมที่ไม่ตาย ธรรมที่เที่ยง  ธรรมที่ปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ธรรมที่ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐยิ่งกว่า ธรรมนั้น คือ นิพพาน

      สภาพของนิพพาน ๕ ประการ ที่กล่าวข้างต้น มีความหมายดังนี้ คือ

๑. ปทํ แปลว่า นิพพานเป็นส่วนหนึ่ง เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ และมีอยู่โดยเฉพาะ ไม่คลุกเคล้าด้วยโลกียธรรม

๒. อจฺจุตํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ตาย ไม่มีความเกิด และไม่มี ความตาย ไม่มีแตกดับ

๓. อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่เที่ยง คือก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคต หมายความว่า เป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ ได้แก่ นิพพาน

๔. อสงฺขตํ แปลว่า นิพพาน ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย หมายความว่า นิพพานนี้ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป เพราะ จิต เจตสิก รูป นั้นเป็น ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ ได้แก่ นิพพาน

          บัญญัติ ก็เป็นอสังขตธรรมเหมือนกัน แต่ในที่นี้กล่าวเฉพาะ ธรรมที่เป็นปรมัตถ บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม ฉะนั้นอสังขตธรรม ในที่นี้จึงหมายถึง นิพพาน แต่อย่างเดียว

๕. อนุตฺตรํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างที่ไม่มีธรรมใด ๆ จะเทียมเท่า

 
 ;D ;D ;D

ขอโหวตหน่อย .....
ถ้าเชื่อพลศักด์  กด * 1
ถ้าเชื่อพระอภิธรรม  กด *2

 ;D ;D ;D


ข้อสงสัยข้อนี้ผมยินดีตอบ  ทั้งๆที่ตอบออกไป  คงจะมีคนเข้าใจน้อยมาก  แต่เมื่อเขาฝึกปฏิบัติไปเรื่อยๆ เขาจะเขาใจเอง

พึงระลึกว่า  ผมตอบ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคุณนะครับ  เพราะคุณมีทิฏฐิมานะ  ไม่ยอมรับแม้แต่เรื่องเดียว  ทั้งๆที่จนมุมในทุกเรื่อง  ผมตอบเพราะมันเป็นประโยชน์กับผู้อื่นนะครับ

คุณกำลังงงเรื่องจิตและขันธ์    จิตสังขารของคุณ กับขันธ์ 5 ของคุณ มันคนละเรื่องกัน  จิตสังขาร และแม้แต่นิพพานซึ่งเป็นจิตบริสุทธิ์หรือจิตปภัสสร ล้วนเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า  จิตไม่เคยตาย  ใครก็ฆ่าไม่ได้  ฆ่าได้แต่ขันธ์หรืออายตนะที่จิตไปอาศัยอยู่

อนัตตา = สิ่งที่เป็นขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับจิต(สังขาร) ซึ่งเป็นอาทิสมานกายหรือกายทิพย์
อัตตา = สิ่งที่เป็นธรรมขันธ์ ไม่ใช่นิพพานจิต

1. นิพพานเป็นจิต นิพพานจิตชี้ไม่ได้ ชี้ได้แต่ธรรมกาย ซึ่งเป็นอายตนะนิพพาน หรือขันธ์ที่จิตปภัสสรสร้างขึ้น

2. พระพุทธเจ้าตรัสกับพระมหากัสสปะว่า  “...กัสสปะ ตถาคตมีธรรมจักษุครรภ์อันถูกต้อง และนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริง ย่อมไม่มีลักษณะ"

2. พระนาคเสน มหาเถระ พระอรหันต์สมัยพุทธปรินิพพานไป ๕๐๐ ปี ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา กล่าวว่า:

..... พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น........(ตัวที่ชี้ให้ดูไม่ได้คือ จิต  ตัวที่ชี้ให้ดูได้ คือ ธรรมกาย ซึ่งเป็นอายตนนพพาน)

..... นิพพานมีอยู่จริง แต่ว่าไม่มีใครอาจแสดงให้เห็นได้ว่า นิพพานมีสี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น อย่างไร

 เปรียบเหมือน ลม ที่มีอยู่จริง แต่ก็ไม่มีใครสามารถ แสดงลมให้เห็นด้วย สี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น ได้

...... นิพพานเป็นของไม่ควรกล่าวว่าเกิดขึ้นแล้ว หรือยังไม่เกิด จักต้องเกิด ไม่ควรกล่าวว่าเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน

 ไม่ควรกล่าวว่า เป็นของต้องเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู รู้ด้วยจมูก ลิ้นกาย อย่างใดเลย.........

......นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส ....

...... นิพพานไม่มีของเปรียบ ไม่อาจชี้รูป หรือสัณฐาน วัย ประมาณ แห่งนิพพานได้ด้วยอุปมา หรือด้วยเหตุ หรือด้วยปัจจัย หรือด้วยนัย .....

...... นิพพานธาตุ อันสงบ อันเป็นสุข อันประณีตนั้นมีอยู่ ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อพิจารณาสังขารตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็กระทำให้แจ้งนิพพานธาตุด้วยปัญญา.....

...... ที่ตั้งของนิพพานไม่มี นิพพานไม่ได้ตั้งอยู่ในทิศใด แต่นิพพานมี ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไปของสังขารทั้งหลายด้วยโยนิโสมนสิการแล้ว ก็กระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน 

 ;D ;D ;D

จิตประภัสสร

  [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใด
นั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ
       [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ

       [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=161&Z=209 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=161&Z=209)


 ;D ;D ;D

พูดมาได้ ไม่อายปากเลยนะ 
อ่านข้อสี่สิบเก้าให้ดีๆ
ว่าจิตประภัสสร เปลี่ยนแปลงได้เร็วขนาดไหน
ตราบใดไม่สิ้นกิเลส 

ความเปลี่ยนแปลงได้เร็ว เช่นนี้แหละ เรียกว่า เป็นอนัตตา

อย่ามามั่ว กับนิพพาน
 ;D ;D ;D








;D ;D ;D

มาดูพระอภิธรรมกันให้ชัดๆ
จะได้หาย งง ในสภาพพระนิพพาน

ลองดูกันครับ  ว่าจะเชื่อคุณแถพลศักดิ์  หรือจะเชื่อพระอภิธรรมดี
ความน่าเชื่อถือได้ ควรจะเชื่ออันไหนมากกว่ากัน ?
 ;D ;D ;D



สภาพของนิพพาน

พระอภิธรรม
ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค    หน้าที่ : 84

เมื่อกล่าวโดยสามัญญลักษณะสภาพของนิพพานมีเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีการเกิดแก่ เจ็บ ตาย ใด ๆ ทั้งสิ้น

       แต่นิพพาน ไม่มีอนิจจลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน ไม่แปรผัน และนิพพาน ไม่มีทุกขลักษณะ  เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ทนอยู่ได้ ด้วยว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ และด้วยเหตุที่นิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า จึงมีสภาพที่ทน อยู่ หรือดำรงคงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่านั้นตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะมาปรุงแต่งให้ กลายเป็นไม่ว่างได้

       วิเสสลักษณะ ของนิพพาน มีเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน เท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน

       สนฺติ ลกฺขณา                มีความสุขสงบจากเพลิงทุกข์ เป็นลักษณะ

       อจฺจุต รสา                         มีความไม่แตกดับ เป็นกิจ (สัมปัตติรส)

       อนิมิตฺต ปจฺจุปฎฺฐานา           ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย เป็นอาการปรากฏ

     นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา         มีความออกไปจากภพ เป็นผล

       ปทฏฺฐานํ น ลพฺภติ          ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (เพราะนิพพานเป็นธรรม  ที่พ้นจากเหตุ จากปัจจัยทั้งปวง)

       สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ พ้นแล้วจากตัณหาเครื่อง ร้อยรัด ตรัสรู้  ธรรมส่วนหนึ่ง ธรรมที่ไม่ตาย ธรรมที่เที่ยง  ธรรมที่ปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ธรรมที่ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐยิ่งกว่า ธรรมนั้น คือ นิพพาน

      สภาพของนิพพาน ๕ ประการ ที่กล่าวข้างต้น มีความหมายดังนี้ คือ

๑. ปทํ แปลว่า นิพพานเป็นส่วนหนึ่ง เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ และมีอยู่โดยเฉพาะ ไม่คลุกเคล้าด้วยโลกียธรรม

๒. อจฺจุตํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ตาย ไม่มีความเกิด และไม่มี ความตาย ไม่มีแตกดับ

๓. อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่เที่ยง คือก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคต หมายความว่า เป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ ได้แก่ นิพพาน

๔. อสงฺขตํ แปลว่า นิพพาน ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย หมายความว่า นิพพานนี้ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป เพราะ จิต เจตสิก รูป นั้นเป็น ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ ได้แก่ นิพพาน

          บัญญัติ ก็เป็นอสังขตธรรมเหมือนกัน แต่ในที่นี้กล่าวเฉพาะ ธรรมที่เป็นปรมัตถ บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม ฉะนั้นอสังขตธรรม ในที่นี้จึงหมายถึง นิพพาน แต่อย่างเดียว

๕. อนุตฺตรํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างที่ไม่มีธรรมใด ๆ จะเทียมเท่า

 
 ;D ;D ;D

ขอโหวตหน่อย .....
ถ้าเชื่อพลศักด์  กด * 1
ถ้าเชื่อพระอภิธรรม  กด *2

 ;D ;D ;D


ข้อสงสัยข้อนี้ผมยินดีตอบ  ทั้งๆที่ตอบออกไป  คงจะมีคนเข้าใจน้อยมาก  แต่เมื่อเขาฝึกปฏิบัติไปเรื่อยๆ เขาจะเขาใจเอง

พึงระลึกว่า  ผมตอบ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคุณนะครับ  เพราะคุณมีทิฏฐิมานะ  ไม่ยอมรับแม้แต่เรื่องเดียว  ทั้งๆที่จนมุมในทุกเรื่อง  ผมตอบเพราะมันเป็นประโยชน์กับผู้อื่นนะครับ

คุณกำลังงงเรื่องจิตและขันธ์    จิตสังขารของคุณ กับขันธ์ 5 ของคุณ มันคนละเรื่องกัน  จิตสังขาร และแม้แต่นิพพานซึ่งเป็นจิตบริสุทธิ์หรือจิตปภัสสร ล้วนเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า  จิตไม่เคยตาย  ใครก็ฆ่าไม่ได้  ฆ่าได้แต่ขันธ์หรืออายตนะที่จิตไปอาศัยอยู่

อนัตตา = สิ่งที่เป็นขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับจิต(สังขาร) ซึ่งเป็นอาทิสมานกายหรือกายทิพย์
อัตตา = สิ่งที่เป็นธรรมขันธ์ ไม่ใช่นิพพานจิต

1. นิพพานเป็นจิต นิพพานจิตชี้ไม่ได้ ชี้ได้แต่ธรรมกาย ซึ่งเป็นอายตนะนิพพาน หรือขันธ์ที่จิตปภัสสรสร้างขึ้น

2. พระพุทธเจ้าตรัสกับพระมหากัสสปะว่า  “...กัสสปะ ตถาคตมีธรรมจักษุครรภ์อันถูกต้อง และนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริง ย่อมไม่มีลักษณะ"

2. พระนาคเสน มหาเถระ พระอรหันต์สมัยพุทธปรินิพพานไป ๕๐๐ ปี ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา กล่าวว่า:

..... พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น........(ตัวที่ชี้ให้ดูไม่ได้คือ จิต  ตัวที่ชี้ให้ดูได้ คือ ธรรมกาย ซึ่งเป็นอายตนนพพาน)

..... นิพพานมีอยู่จริง แต่ว่าไม่มีใครอาจแสดงให้เห็นได้ว่า นิพพานมีสี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น อย่างไร

 เปรียบเหมือน ลม ที่มีอยู่จริง แต่ก็ไม่มีใครสามารถ แสดงลมให้เห็นด้วย สี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น ได้

...... นิพพานเป็นของไม่ควรกล่าวว่าเกิดขึ้นแล้ว หรือยังไม่เกิด จักต้องเกิด ไม่ควรกล่าวว่าเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน

 ไม่ควรกล่าวว่า เป็นของต้องเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู รู้ด้วยจมูก ลิ้นกาย อย่างใดเลย.........

......นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส ....

...... นิพพานไม่มีของเปรียบ ไม่อาจชี้รูป หรือสัณฐาน วัย ประมาณ แห่งนิพพานได้ด้วยอุปมา หรือด้วยเหตุ หรือด้วยปัจจัย หรือด้วยนัย .....

...... นิพพานธาตุ อันสงบ อันเป็นสุข อันประณีตนั้นมีอยู่ ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อพิจารณาสังขารตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็กระทำให้แจ้งนิพพานธาตุด้วยปัญญา.....

...... ที่ตั้งของนิพพานไม่มี นิพพานไม่ได้ตั้งอยู่ในทิศใด แต่นิพพานมี ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไปของสังขารทั้งหลายด้วยโยนิโสมนสิการแล้ว ก็กระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน 

 ;D ;D ;D

จิตประภัสสร

  [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใด
นั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ
       [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ

       [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=161&Z=209 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=161&Z=209)


 ;D ;D ;D

พูดมาได้ ไม่อายปากเลยนะ 
อ่านข้อสี่สิบเก้าให้ดีๆ
ว่าจิตประภัสสร เปลี่ยนแปลงได้เร็วขนาดไหน
ตราบใดไม่สิ้นกิเลส 

ความเปลี่ยนแปลงได้เร็ว เช่นนี้แหละ เรียกว่า เป็นอนัตตา

อย่ามามั่ว กับนิพพาน
 ;D ;D ;D









หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

"จิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย แลไม่ใช่ของสูญหาย พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์.


พระเทพสิทธิมุนี
(พระอาจารย์โชฎก ญาณสิทธิ)

" พระอรหันต์มี ความว่างจากตัวตน-ของตน โดยสิ้นเชิง มีอิสระเหนือทุกอย่าง ที่เรียกว่า "ว่าง" นี้ คือไม่ใช่ว่างชนิดที่เขาพูดกันว่า เช่นว่า จิตนึกคิดอะไรไม่ได้ กายก็แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ แต่ที่ถูกนั้น เป็นความว่างจากกิเลส ว่างที่เฉลียวฉลาดที่สุด"


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัต
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 29 ธันวาคม 2553 12:55:14
อ้างอิงคำพูดคุณเดียรถีย์พลศักดิ์


ผมคงไม่อ่านอะไรที่คุณต้องการถามหรอต้องการถก  คุณต้องไปถามพ่อคุณ หรือเมียของคุณดูว่า  ข้อความของคุณดูถูกด่าว่าเขาตลอด  แล้วยังไปถามเรื่องสูงสุดที่ตัวคุณเองไม่มีทางรู้ แล้วตอบเองไม่ได้กับเขาอีก

เมื่อไรที่พ่อของคุณหรือเมียของคุณยอมตอบ  เมื่อนั้นผมจะมาตอบปัญหาต่างๆที่คุณสงสัย

เมื่อผมเป็นเดียรถีย์พลศักดิ์   จะมาถามผมทำไมล่ะ  ผมให้โอกาสคุณอีกครั้ง  กราบเท้าคุณพลศักดิ์ และคารวะผมเป็นอาจารย์  ถ้าอยากจะรู้คำตอบในสิ่งที่ตัวคุณเองสงสัยมาทั้งชีวิต และไม่มีทางรู้ได้ด้วยตนเอง  คิดจะยั่วผม  แล้วจะให้ผมตอบ เมินเสียเถิดน้อง.... (^^) (:BYE:)  (:BH:)


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัต
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 29 ธันวาคม 2553 16:00:23
อ้างอิงคำพูดคุณเดียรถีย์พลศักดิ์


ผมคงไม่อ่านอะไรที่คุณต้องการถามหรอต้องการถก  คุณต้องไปถามพ่อคุณ หรือเมียของคุณดูว่า  ข้อความของคุณดูถูกด่าว่าเขาตลอด  แล้วยังไปถามเรื่องสูงสุดที่ตัวคุณเองไม่มีทางรู้ แล้วตอบเองไม่ได้กับเขาอีก

เมื่อไรที่พ่อของคุณหรือเมียของคุณยอมตอบ  เมื่อนั้นผมจะมาตอบปัญหาต่างๆที่คุณสงสัย

เมื่อผมเป็นเดียรถีย์พลศักดิ์   จะมาถามผมทำไมล่ะ  ผมให้โอกาสคุณอีกครั้ง  กราบเท้าคุณพลศักดิ์ และคารวะผมเป็นอาจารย์  ถ้าอยากจะรู้คำตอบในสิ่งที่ตัวคุณเองสงสัยมาทั้งชีวิต และไม่มีทางรู้ได้ด้วยตนเอง  คิดจะยั่วผม  แล้วจะให้ผมตอบ เมินเสียเถิดน้อง.... (^^) (:BYE:)  (:BH:)


 ;D ;D ;D

คุณเดียรถึย์ .....จนตรอก ...

หาธรรมะมา ....มาตอบไม่ได้ ...
จะไปแว้งกัดเมีย.... กัดพ่อผม.....อีก

 ;D ;D ;D

คุณเดียรถีย์พ่นสาก

หาความน่าเชื่อถือไม่ได้...
จับแพะชนแกะ ไปวันๆ

ได้แต่แถไปวันๆ.... เอาศาสนาอื่นมามั่ว...มาตอบ...ส่งเดช

เป้นบุคลที่ความน่าเชื่อถือ ล้มละลาย...แล้ว

ลงเวทีไปได้เลย...

 ;D ;D ;D



หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัต
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 29 ธันวาคม 2553 16:12:30
 ;D ;D ;D

เอาพระอภิธรรม ...มาให้อ่านอีกรอบ
จะได้เห็นชัดๆ ว่า ...

โมฆะบุรุษ ....บิดเบือนพระธรรม ว่านิพพาน เป็นอัตตา 
แย้งพระอธิธรรม ...
แถมแอบอ้าง เชิดชูศาสนาอื่น นิกายอิ่น มาแถตอบมั่วๆ
อันเป็น ...วาทะของเหล่าเดียรถีย์ และปริพาชก

ล้มละลาย ความน่าเชื่อถือเสียแล้ว
ความประสงค์ ที่แฝงมา เพื่อทำลายพระศาสนาเถรวาท
ดั่งปนิธาน ที่คุณพลศักดิ์ ได้กล่าวย้ำเสมอๆ
ว่ามาเพื่อทำลายพระศาสนา

ของให้รู้ว่า ...ความพยายามของคุณ...
เป็นหมัน ...เสียแล้ว

 ;D ;D ;D


สภาพของนิพพาน

พระอภิธรรม
ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค    หน้าที่ : 84

เมื่อกล่าวโดยสามัญญลักษณะสภาพของนิพพานมีเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีการเกิดแก่ เจ็บ ตาย ใด ๆ ทั้งสิ้น

      แต่นิพพาน ไม่มีอนิจจลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน ไม่แปรผัน และนิพพาน ไม่มีทุกขลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ทนอยู่ได้ ด้วยว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ และด้วยเหตุที่นิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า จึงมีสภาพที่ทน อยู่ หรือดำรงคงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่านั้นตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะมาปรุงแต่งให้ กลายเป็นไม่ว่างได้

       วิเสสลักษณะ ของนิพพาน มีเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน เท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน

       สนฺติ ลกฺขณา                มีความสุขสงบจากเพลิงทุกข์ เป็นลักษณะ

       อจฺจุต รสา                         มีความไม่แตกดับ เป็นกิจ (สัมปัตติรส)

       อนิมิตฺต ปจฺจุปฎฺฐานา           ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย เป็นอาการปรากฏ

     นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา         มีความออกไปจากภพ เป็นผล

       ปทฏฺฐานํ น ลพฺภติ          ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (เพราะนิพพานเป็นธรรม  ที่พ้นจากเหตุ จากปัจจัยทั้งปวง)

       สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ พ้นแล้วจากตัณหาเครื่อง ร้อยรัด ตรัสรู้  ธรรมส่วนหนึ่ง ธรรมที่ไม่ตาย ธรรมที่เที่ยง  ธรรมที่ปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ธรรมที่ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐยิ่งกว่า ธรรมนั้น คือ นิพพาน

      สภาพของนิพพาน ๕ ประการ ที่กล่าวข้างต้น มีความหมายดังนี้ คือ

๑. ปทํ แปลว่า นิพพานเป็นส่วนหนึ่ง เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ และมีอยู่โดยเฉพาะ ไม่คลุกเคล้าด้วยโลกียธรรม

๒. อจฺจุตํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ตาย ไม่มีความเกิด และไม่มี ความตาย ไม่มีแตกดับ

๓. อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่เที่ยง คือก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคต หมายความว่า เป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ ได้แก่ นิพพาน

๔. อสงฺขตํ แปลว่า นิพพาน ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย หมายความว่า นิพพานนี้ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป เพราะ จิต เจตสิก รูป นั้นเป็น ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ ได้แก่ นิพพาน

          บัญญัติ ก็เป็นอสังขตธรรมเหมือนกัน แต่ในที่นี้กล่าวเฉพาะ ธรรมที่เป็นปรมัตถ บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม ฉะนั้นอสังขตธรรม ในที่นี้จึงหมายถึง นิพพาน แต่อย่างเดียว

๕. อนุตฺตรํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างที่ไม่มีธรรมใด ๆ จะเทียมเท่า

 ;D ;D ;D


ยังมีเวลาให้โหวตครับพี่น้อง


ถ้าเชื่อพลศักดิ์  กด* 1
ถ้าเชื่อพระอภิธรรม  กด *2

 ;D ;D ;D









หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัต
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 29 ธันวาคม 2553 16:33:14
ยืนยัน สภาวะเดียรถีย์ .... ของ.... เดียรถีย์พลศักดิ์ ...บุตรของพระเจ้า
ที่ชอบเอาศาสนาอื่น มามั่ว มาสอดแทรก

ลองอ่าน

   
 ;D ;D ;D

[๕๘๓] คำว่า ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้น ย่อม
เป็นผู้พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ ความว่า ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรม
คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค อื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ พลั้ง พลาด คลาด
เคลื่อนทางแห่งความหมดจด ทางแห่งความหมดจดวิเศษ ทางแห่งความหมดจดรอบ ทางแห่ง
ความขาว ทางแห่งความขาวรอบ ชื่อว่าพลาดจากอรหัตผล เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ ไม่เต็มเปี่ยม ไม่
เต็มรอบ คือ เป็นพวกเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่งความหมด
จด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=6685&Z=6832&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=6685&Z=6832&pagebreak=0)


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัต
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 29 ธันวาคม 2553 19:33:41
กราบเท้าผมเป็นอาจารย์เมื่อไร  ผมจะมาตอบคำถามและความสงสับของคุณ   ไม่งั้นสิ่งที่คุณสงสัย และอยากรู้อยากเห็น  จะไม่มีทางได้รับคำตอบเด็ดขาด

คนประเภทคุณ  ผมต้องสั่งสอนให้เข็ด  อยากพูดอะไรก็พูดไป (:BR:) (:BR:) (:BR:) (:BYE:) (:BYE:)

สงสัยเข้าไปให้หัวระเบิด  ก็ไม่มีทางได้รับคำตอบจากผม   (:SLE:) (:SLE:) (:SLE:)


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัต
เริ่มหัวข้อโดย: WangJai ที่ 30 ธันวาคม 2553 00:09:35
อ้างอิงคำพูดคุณเดียรถีย์พลศักดิ์


ผมคงไม่อ่านอะไรที่คุณต้องการถามหรอต้องการถก  คุณต้องไปถามพ่อคุณ หรือเมียของคุณดูว่า  ข้อความของคุณดูถูกด่าว่าเขาตลอด  แล้วยังไปถามเรื่องสูงสุดที่ตัวคุณเองไม่มีทางรู้ แล้วตอบเองไม่ได้กับเขาอีก

เมื่อไรที่พ่อของคุณหรือเมียของคุณยอมตอบ  เมื่อนั้นผมจะมาตอบปัญหาต่างๆที่คุณสงสัย

เมื่อผมเป็นเดียรถีย์พลศักดิ์   จะมาถามผมทำไมล่ะ  ผมให้โอกาสคุณอีกครั้ง  กราบเท้าคุณพลศักดิ์ และคารวะผมเป็นอาจารย์  ถ้าอยากจะรู้คำตอบในสิ่งที่ตัวคุณเองสงสัยมาทั้งชีวิต และไม่มีทางรู้ได้ด้วยตนเอง  คิดจะยั่วผม  แล้วจะให้ผมตอบ เมินเสียเถิดน้อง.... (^^) (:BYE:)  (:BH:)

 (^^) กิ๊วๆ หมดภูมิแล้วละซี ไม่มีปัญญาเอาธรรมะมาแก้ ก็ยังจะแถเอาหน้ารอด อะนะ

 ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัต
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 30 ธันวาคม 2553 00:55:48
 ;D ;D ;D


เดียรถีย์....จนตรอก...

เอาธรรมะ มาตอบไม่ได้ ก็แถ...โกยอ้าว

 ;D ;D ;D