[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ อนามัย => ข้อความที่เริ่มโดย: wondermay ที่ 21 ธันวาคม 2553 16:57:48



หัวข้อ: "ไอ"
เริ่มหัวข้อโดย: wondermay ที่ 21 ธันวาคม 2553 16:57:48

"ไอ"
(http://www.uppicweb.com/x/i/ij/kidscoughingpic..jpg) (http://www.uppicweb.com/show.php?id=5d0469e2a3801c40e87eaf0a313abeb3)
Thanks: ฝากรูป (http://www.uppicweb.com)


    อาการ “ไอ” (cough หรือ tussis) เป็นอีกอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง (season change) เช่น เริ่มเข้าฤดูหนาว อากาศเริ่มเย็นลง เป็นต้น
    สาเหตุสำคัญของการไอมีมากมาย แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการเป็นไข้หวัด และมักจะหายได้เอง

 (:???:)ทำไม…จึงไอ?
    การไอเป็นกลไกหนึ่งของร่างกาย เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในทางเดินหายใจ เช่น มีฝุ่น เศษอาหาร เสมหะ เสลด เป็นต้น
    ซึ่งอาจเกิดจากการกีดขวางหรือการติดเชื้อ หรือการระคายเคืองของทางเดินหายใจ  เมื่อใดก็ตามที่มีสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้เกิดขึ้นของทางเดินหายใจ
    เช่น ที่คอ คอหอย หรือหลอดลม จะเกิดการกระตุ้นให้มีกระแสประสาทไปยังศูนย์ไอที่สมองส่วนกลาง ที่ศูนย์ไอแห่งนี้จะแปลความกระแสประสาทที่ได้รับ
    และส่งกระแสประสาทลงมาที่กล้ามเนื้อของทรวงอก กะบังลม และท้อง ให้บีบตัวพร้อมกันอย่างแรงไล่ลมออกจากปอดอย่างรวดเร็ว และเกิดอาการไอขึ้น

 (:???:)ไอ…เกิดจาก…สาเหตุใด..?
    สาเหตุของการไอ ได้แก่ การติดเชื้อไข้หวัด สิ่งแปลกปลอมเข้าไปขวางทางเดินหายใจ การสูบบุหรี่ โรคหืด
    โรคกรดจากกระเพาะอาหารย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร (Gastro-esophageal reflux diseases, GERD) โรคปอดบวม โรคหัวใจล้มเหลว
    และการใช้ยา angiotensin converting enzyme inhibitors (ACEI) เป็นต้น

 (:SL:)ชนิดของการไอ ทางการแพทย์มีการแบ่งอาการไอได้ 2 ชนิดคือ แบ่งตามระยะเวลาของการไอ และแบ่งตามการมีเสมหะ
   
* ไอชนิดเฉียบพลันและไอชนิดเรื้อรัง
ถ้ามีระยะเวลาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ จะจัดเป็น “ไอชนิดเฉียบพลัน” (acute cough) แต่ถ้ามีการไอติดต่อกันมากกว่า 3 สัปดาห์ จะเรียกว่า “ไอชนิดเรื้อรัง” (chronic cough)
        * ไอมีเสมหะและไอแห้ง (ไอไม่มีเสมหะ)
 การแบ่งชนิดของไอตามวิธีนี้ พิจารณาจาการมีเสมหะ (หรือเสลด) ที่มักประกอบกับอาการไอถ้าอาการไอโดยไม่มีเสมหะ จะเรียกว่า “ไอแห้ง” (ไอไม่มีเสมหะ หรือ dry cough)
และถ้าอาการไอแบบไม่มีเสมหะก็จะเรียกตรงตัวว่า “ไอไม่มีเสมหะ” (productive cough แต่จะไม่เรียกว่าไอเปียก)

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะอาการไอที่พบบ่อยได้แก่ ไอแห้ง ไอมีเสมหะ และไอจากยา ACE......
1.ไอแห้ง
ไอแห้งเป็นการไอที่ไม่มีเสมหะ (หรือไม่มีเสลด) มักเกิดจากการระคายเคือง หรือคันบริเวณลำคอ ซึ่งอาจเกิดจากเศษอาหารเล็กๆ ฝุ่นควัน กลิ่นฉุน บุหรี่ หรืออาการเย็น
โรคหืด โรค GERD โรคหัวใจล้มเหลวและไอที่เกิดจากการใช้ยา angiotensin converting enzyme inhibitors (ACEI) ไอแห้งแบบไม่มีเสมหะนี้ อาจมีอาการเสียงแหบหรือเสียงแห้งร่วมด้วยได้
               
  (:Y:) การดูแลรักษาอาการไอแห้งๆ การดูแลรักษาอาการไอแห้งๆ ควรยึดหลักของการดูแลด้วยตนเองที่ดี ดังนี้
                   1. ดื่มน้ำและเครื่องดื่มอุ่น บ่อยๆ และจำนวนมากๆ (ควรให้มากกว่า 8 แก้วต่อวัน) เพื่อช่วยให้ชุ่มชื่นลำคอ และลดอาการคัดจมูก
                        2. หลีกเลี่ยงอาหารแห้ง อาหารทอด อาหารมันๆ และอาหารเย็นๆ และงดสารระคาบเคือง เช่น บุหรี่ ฝุ่นควัน เป็นต้น
                        3. พักผ่อนอย่างเต็มที่


ถ้าปฏิบัติดูแลด้วยตนเองทั้ง 3 ข้อ ข้างต้นนี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการไอแห้งๆ ทุเลาลง และอาจหายได้เอง ส่วนยาที่ใช้ในการรักษาอาการไอแห้งๆ เป็นเพียงการช่วยบรรเทาอาการ
และมิได้เป็นส่วนสำคัญโดยตรงตัวอย่างยา ได้แก่ ยาแก้ไอน้ำดำ อมลูกกวาด หรือสมุนไพรไทย (เช่น มะแว้ง มะขามป้อม อบเชย น้ำผึ้ง มะนาว ชะเอม เป็นต้น)

2.ไอมีเสมหะ

ไอมีเสมหะ หรือมีเสลด เป็นอาการไอที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัด เกิดจากไวรัสภูมิแพ้ น้ำมูกลงคอ (postnasal drip)
ไอชนิดนี้ควรพิจารณาสีและลักษณะของเสมหะว่ามีลักษณะเช่นใด

                1. ไอมีเสมหะ “ใสๆ ไม่มีสี”
                         ถ้าเสมหะมีลักษณะใส ไม่มีสี ก็อาจเกิดจากไวรัสหรือภูมิแพ้ ซึ่งไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย กรณีนี้ควรรักษาตามอาการ เช่น ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ
                         และไม่มีความจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ เพราะว่าไม่มีการติดเชื้อของแบคทีเรีย
                2. ไอมีเสมหะ “ข้น สีเขียว หรือสีเหลือง”
                         ไอแบบมีเสมหะและมีลักษณะข้น สีเขียวหรือสีเหลือง แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งควรใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน (ถ้าไม่แพ้ยาเพนิซิลลิน)
                         หรืออีริโทรมัยซิน เป็นต้น ร่วมกับยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ ถ้าเสมหะมีสีชมพู หรือสีแดง หรือมีเลือดออกมาด้วย กรณีนี้ควรไปพบแพทย์

                 (:Y:) การดูแลรักษาอาการไอแบบมีเสมหะ 
                  การดูแลตนเองทั้ง 3 ข้อของอาการไอแห้งๆ ก็ใช้ได้ผลดีกับอาการไอชนิดมีเสมหะเช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่มีอาการไอจึงควรดื่มน้ำมากๆ บ่อยๆ หลีกเลี่ยงอาหารแห้ง อาหารทอด มันๆ
                  และอาหารเย็นๆ และงดสารระคายเคือง เช่น บุหรี่ ฝุ่นควัน เป็นต้น และควรพักผ่อนอย่างเต็มที่

ที่มา.. นิตยสารหมอชาวบ้านฉบับที่ 338 เมษายน 2550


(http://www.uppicweb.com/x/i/im/drinkingwaterstandards.jpg) (http://www.uppicweb.com/show.php?id=f296dd416ed3b0f3a7fe63a79071f317)
Thanks: ฝากรูป (http://www.uppicweb.com)

(:UU:) (:UU:)ยาแก้ไอที่วงการแพทย์ยอมรับคือ น้ำเปล่า โดยเฉพาะน้ำอุ่นยิ่งดี (:UU:) (:UU:)
ถ้าขาดสารน้ำในร่างกายจะทำให้กลไกในการกำจัดเสมหะเสียไป ทำให้เสมหะเหนียวข้น ยาขับเสมหะหรือตัวละลายเสมหะจะไม่สามารถช่วยอะไรได้เลยหากร่างกายขาดน้ำ
การให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นสิ่งพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหา ผู้ป่วยที่มีเสมหะ


ที่มา.. นิตยสารหมอชาวบ้านฉบับที่ 118 กุมภาพันธ์ 2532




หัวข้อ: Re: "ไอ"
เริ่มหัวข้อโดย: wondermay ที่ 21 ธันวาคม 2553 17:18:45
แหะๆทีนี้เกิดไอขึ้นมาเราก็ กินน้ำเยอะๆ จิบน้ำอุ่นบ่อยๆให้ชุมคอเรื่อยๆอย่าปล่อยให้ขาดน้ำนานไป ไม่ชอบทานยาน้ำแก้ไอ ที่บ้านก็ให้อมยาอมแทน ดีขึ้นๆอันนี้อมทั้งบ้าน!  (^^)
(http://www.uppicweb.com/x/i/ir/8852761000063.gif) (http://www.uppicweb.com/show.php?id=c5b3361fd18872cd3ebf12bad63d4a66)
Thanks: ฝากรูป (http://www.uppicweb.com)
ยาอมตะขาบ5ตัว ดีจริงแต่รสมันฝืนทน ก็เลยชอบอันล่างมากกว่า

(http://www.uppicweb.com/x/i/iu/l80139776.jpg) (http://www.uppicweb.com/show.php?id=0c9c54c1079b7e347afcc5d16d375335)
Thanks: ฝากรูป (http://www.uppicweb.com)

ยาอมแก้ไอ กำกิ๊กเผี่ยง



หัวข้อ: Re: "ไอ"
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 22 ธันวาคม 2553 12:11:20
โหชื่อ กำกิ๊กเผี่ยง มันทำมาได้ไงวะ

กะไม่ให้คนจำชื่อได้เลย 5555555555+

ส่วนตะขาบห้าตัวนี่ไม่ไหว ไม่ชอบตะขาบ



มีทางแก้ทั้งไอแบบมีเสมหะ แล้วก็ไำอแห้ง

แต่ไอเลิฟยูนี้ แก้ไม่ลง...

5555555555555555555555+

(เสี่ยวแดก)


หัวข้อ: Re: "ไอ"
เริ่มหัวข้อโดย: ยังทุกข์ ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 00:24:59
ตะขาบห้าตัว  เคยทานแต่มีผลข้างเคียง  คือปวดแก้วหู
อาจเป็นอาการข้างเคียงส่วนบุคคล