[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: phonsak ที่ 29 ธันวาคม 2553 19:58:20



หัวข้อ: ท่านเข้าใจเรื่อง อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม หรือยัง?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 29 ธันวาคม 2553 19:58:20
ท่านเข้าใจเรื่อง อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม หรือยัง?
 
อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม ก็เป็นธรรมอันลุ่มลึกที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพบ และนำมาสอน

1. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนไม่มั่นคงและถึงทั่วแล้วซึ่งสักกายะ คือความทุกข์" ดังนี้"

พวกเราก็คือ จิต(สังขาร)ที่ทำให้เกิดขันธ์ 5 ในมนุษย์และสัตว์ และพวกเทพพรหมเปรต ฯลฯ ที่มีขันธ์ 4, 3, 2,1 แล้วแต่ภพภูมิที่เขาอยู่ และสถานะที่เขาเป็น (ยกเว้นพระนิพพาน)
 
2. ทุกสรรพสิ่งและสรรพชีวิต ต้นไม้ น้ำ .... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหมในชั้นโลกีย์ทุกชั้น ...ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ มีสภาพเป็นอนิจจัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แต่นิพพานเป็นสภาวะที่ต่างออกไป คือ มันเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ และไม่เป็นอนิจจัง พระพุทธองค์ทรงตรัสเรียกอนัตตา ที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ และไม่เป็นอนิจจัง ว่า "อัตตา"

3. ด้วยเหตุนี้ จากข้อ 1 และ 2 ในความว่างที่เป็นสุญญตา จึงแบ่งเป็น

(1.) ความว่างที่ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป = อนัตตา

(2.) ความว่างที่เที่ยง และไม่เป็นทุกข์ ไม่มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ ไม่เกิดขึ้น ไม่ตั้งอยู่ และไม่ดับไป = อัตตา

พระเทพสิทธิมุนี (พระอาจารย์โชฎก ญาณสิทธิ)

" พระอรหันต์มี ความว่างจากตัวตน-ของตน โดยสิ้นเชิง มีอิสระเหนือทุกอย่าง ที่เรียกว่า "ว่าง" นี้ คือไม่ใช่ว่างชนิดที่เขาพูดกันว่า เช่นว่า จิตนึกคิดอะไรไม่ได้ กายก็แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ แต่ที่ถูกนั้น เป็นความว่างจากกิเลส ว่างที่เฉลียวฉลาดที่สุด

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

" สูญในพระนิพพานมีขอบเขต สูญจากกิเลสเท่านั้น รสของพระนิพพานมีอยู่ พระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับไปไหน เป็นอนัตตาธรรม เราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา เหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลายมันก็ไม่ถูก เรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก"

สรุป

อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม เป็นความว่าง ความว่างมี 2 แบบ

 1. ความว่าง ที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มูลเหตุของการเกิดมาจากอวิชชาและกิเลส

2. ความว่าง ที่เป็นนิจจัง สุขขัง อัตตา(อนัตตาที่เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่เป็นอนิจจัง) เป็นผลมาจาก จิตว่างจากกิเลส หรือ จิตสูญจากกิเลส


หัวข้อ: Re: ท่านเข้าใจเรื่อง อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม หรือยัง?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 30 ธันวาคม 2553 01:00:19
 ;D ;D ;D

แถไปอีก ..

เอาพระอภิธรรม มาไล่เดียรถีย์ต่อ

   

เอาพระอภิธรรม ...มาให้อ่านอีกรอบ
จะได้เห็นชัดๆ ว่า ...

โมฆะบุรุษ ....บิดเบือนพระธรรม ว่านิพพาน เป็นอัตตา 
แย้งพระอธิธรรม ...
แถมแอบอ้าง เชิดชูศาสนาอื่น นิกายอิ่น มาแถตอบมั่วๆ
อันเป็น ...วาทะของเหล่าเดียรถีย์ และปริพาชก

ล้มละลาย ความน่าเชื่อถือเสียแล้ว
ความประสงค์ ที่แฝงมา เพื่อทำลายพระศาสนาเถรวาท
ดั่งปนิธาน ที่คุณพลศักดิ์ ได้กล่าวย้ำเสมอๆ
ว่ามาเพื่อทำลายพระศาสนา

ของให้รู้ว่า ...ความพยายามของคุณ...
เป็นหมัน ...เสียแล้ว

   
 ;D ;D ;D

สภาพของนิพพาน

พระอภิธรรม
ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค    หน้าที่ : 84

เมื่อกล่าวโดยสามัญญลักษณะสภาพของนิพพานมีเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีการเกิดแก่ เจ็บ ตาย ใด ๆ ทั้งสิ้น
      แต่นิพพาน ไม่มีอนิจจลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน ไม่แปรผัน และนิพพาน ไม่มีทุกขลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ทนอยู่ได้ ด้วยว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ และด้วยเหตุที่นิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า จึงมีสภาพที่ทน อยู่ หรือดำรงคงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่านั้นตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะมาปรุงแต่งให้ กลายเป็นไม่ว่างได้

       วิเสสลักษณะ ของนิพพาน มีเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน เท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน

       สนฺติ ลกฺขณา                มีความสุขสงบจากเพลิงทุกข์ เป็นลักษณะ

       อจฺจุต รสา                         มีความไม่แตกดับ เป็นกิจ (สัมปัตติรส)

       อนิมิตฺต ปจฺจุปฎฺฐานา           ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย เป็นอาการปรากฏ

     นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา         มีความออกไปจากภพ เป็นผล

       ปทฏฺฐานํ น ลพฺภติ          ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (เพราะนิพพานเป็นธรรม  ที่พ้นจากเหตุ จากปัจจัยทั้งปวง)

       สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ พ้นแล้วจากตัณหาเครื่อง ร้อยรัด ตรัสรู้  ธรรมส่วนหนึ่ง ธรรมที่ไม่ตาย ธรรมที่เที่ยง  ธรรมที่ปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ธรรมที่ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐยิ่งกว่า ธรรมนั้น คือ นิพพาน

      สภาพของนิพพาน ๕ ประการ ที่กล่าวข้างต้น มีความหมายดังนี้ คือ

๑. ปทํ แปลว่า นิพพานเป็นส่วนหนึ่ง เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ และมีอยู่โดยเฉพาะ ไม่คลุกเคล้าด้วยโลกียธรรม

๒. อจฺจุตํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ตาย ไม่มีความเกิด และไม่มี ความตาย ไม่มีแตกดับ

๓. อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่เที่ยง คือก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคต หมายความว่า เป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ ได้แก่ นิพพาน

๔. อสงฺขตํ แปลว่า นิพพาน ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย หมายความว่า นิพพานนี้ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป เพราะ จิต เจตสิก รูป นั้นเป็น ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ ได้แก่ นิพพาน

          บัญญัติ ก็เป็นอสังขตธรรมเหมือนกัน แต่ในที่นี้กล่าวเฉพาะ ธรรมที่เป็นปรมัตถ บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม ฉะนั้นอสังขตธรรม ในที่นี้จึงหมายถึง นิพพาน แต่อย่างเดียว

๕. อนุตฺตรํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างที่ไม่มีธรรมใด ๆ จะเทียมเท่า

   


ยังมีเวลาให้โหวตครับพี่น้อง


ถ้าเชื่อพลศักดิ์  กด* 1
ถ้าเชื่อพระอภิธรรม  กด *2



หัวข้อ: Re: ท่านเข้าใจเรื่อง อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม หรือยัง?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 30 ธันวาคม 2553 01:16:16
 ;D ;D ;D

คุณปริพาชก พลศักดิ์ เอ๋ย
พระพุทธเจ้า บัดนี้ ไม่มีอัตตาแล้ว
หมดสิ้นกิเลสสิ้นเชิงแล้ว

พระองค์ยังทรงพระชมน์ชีพ
และก็ไมได้มีว่าง....... แบบสองมาตรฐาน ........แบบคุณปริพาชกพลศักดิ์หรอกครับ


 ;D ;D ;D


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตามีอยู่หรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตามีอยู่ไซร้ คำพยากรณ์นั้นก็จักไปร่วมกับลัทธิของพวกสมณพราหมณ์ ผู้เป็นสัสสตทิฏฐิ

ดูก่อนอานนท์ เราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตา ไม่มีหรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตาไม่มีไซร้ คำพยากรณ์นั้นก็จักไปร่วม กับลัทธิของพวกสมณพราหมณ์ผู้เป็นอุจเฉททิฏฐิ

ดูก่อนอานนท์ เราอัน วัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตามีอยู่หรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตามี อยู่ไซร้ คำพยากรณ์ของเรานั้น จักอนุโลมเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งญาณว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาบ้างหรือหนอ.

อา. หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากเราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตา ไม่มีหรือ จะพึงพยากรณ์ว่า อัตตาไม่มีไซร้ คำพยากรณ์นั้นคงจักเป็นไป เพื่อความหลงงมงายแก่วัจฉโคตรปริพาชกผู้งมงายอยู่แล้ว่า เมื่อก่อนอัตตา ของเราได้มีแล้วแน่นอน บัดนี้ อัตตานั้นไม่มี ดังนี้.  

จบ อานันทสูตรที่ ๑๐


หัวข้อ: Re: ท่านเข้าใจเรื่อง อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม หรือยัง?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 30 ธันวาคม 2553 01:24:01

 ;D ;D ;D

แล้วก็เอาสูญตาธรรมอันบริสุทธิ์   ที่ไม่มีสองมาตรฐาน
มาให้คุณปริพาชกพลศักดิ์ ทัศนา

ความว่างนี้.... ไม่มีสองมาตรฐาน..... จำไว้


 ;D ;D ;D

[๓๔๒] ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่
บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมา-
*บัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวก
ใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จัก
บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้
ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น
ย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูกรอานนท์ เพราะ
ฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอัน
บริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ




หัวข้อ: Re: ท่านเข้าใจเรื่อง อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม หรือยัง?
เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 30 ธันวาคม 2553 01:25:23
 ;D ;D ;D

แด่คุณปริพาชกพลศักดิ์ .....ที่ล้มละลายทางธรรม  (:POO:) (:POO:) (:POO:)


หัวข้อ: Re: ท่านเข้าใจเรื่อง อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม หรือยัง?
เริ่มหัวข้อโดย: phonsak ที่ 30 ธันวาคม 2553 02:01:04
จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา


จิตนั้นเป็นสุญญตา หรืออนัตตาธรรม ซึ่งเป็นของว่าง

ในความว่างที่เป็นสุญญตา จิตไม่บริสุทธิ์และจิตบริสุทธิ์จะสร้างอายตนะหรือขันธ์แตกต่างกัน

(1.) อายตนะหรือขันธ์ ที่จิตซึ่งว่างเข้าไปอยู่  ถ้าเกิดจากจิตที่มีกิเลสตัณหา(จิตสังขาร)  อายตนะหรือขันธ์นั้น จะไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป (เกิด แก่ เจ็บ ตาย) = อนัตตา

(2.) อายตนะหรือขันธ์ ที่จิตซึ่งว่างเข้าไปอยู่  ถ้าเกิดจากจิตที่ไม่มีกิเลส ไม่มีตัณหา อายตนะหรือขันธ์นั้น จะเที่ยง และไม่เป็นทุกข์ ไม่มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ เป็นนิจจังแทน  ไม่เกิดขึ้น ไม่ตั้งอยู่ และไม่ดับไป  (ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย) = อัตตา  

จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนเพื่อให้ทิ้ง  จิตที่มีกิเลส ตัณหา ที่สร้างขันธ์หรืออายตนะ ที่ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป (เกิด แก่ เจ็บ ตาย) = อนัตตา

จุดมุ่งหมายที่ต้องทิ้งจิตไม่บริสุทธิ์  ก็เพื่อจะได้ จิตที่ไม่มีกิเลส ไม่มีตัณหา ที่สร้างขันธ์หรืออายตนะ ที่เที่ยง และไม่เป็นทุกข์ ไม่มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ เป็นนิจจัง ไม่เกิดขึ้น ไม่ตั้งอยู่ และดับไป (ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย) = อัตตา