[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 21 พฤษภาคม 2558 15:03:58



หัวข้อ: จิตรกรรมวัดเขียน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 21 พฤษภาคม 2558 15:03:58
.

อ่างทอง เป็นดินแดนหนึ่งในภาคกลาง แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะเป็นแนวกึ่งกลางระหว่างอารยธรรมขอมและมอญโบราณ
ตามหลักฐานที่ปรากฏในจารึกภาษามอญ ที่ขุดพบวัตถุโบราณ
อันเป็นหลักฐานที่แสดงว่า "อ่างทอง" เคยเป็นชุมชนอารยธรรม "ทวารวดี"

ความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน
ทำให้จังหวัดอ่างทอง เต็มไปด้วยวัดวาอารามที่มีความเก่าแก่น่าสนใจมากมายกว่า ๒๐๐ วัด
อันเป็นสถานที่ที่น่าศึกษาประวัติศาสตร์ และเรื่องราวความเป็นมาของชนชาติไทยในอดีต  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57482354549897_4.JPG)
ภาพจิตรกรรมฝาหนังในอุโบสถวัดเขียน

จิตรกรรมวัดเขียน (WAT KHIAN)
ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง


วัดในจำนวนมากมายหลายร้อยวัดในอ่างทอง มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ให้เห็นอยู่หลายวัด

วัดเขียน เป็นวัดหนึ่งที่ขอนำท่านไปชมจิตรกรรมฝาผนัง ที่เขียนขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยได้รับอิทธิพลจากภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย เขียนแบบคตินิยมทั่วไป คือ ด้านหลังพระประธานเขียนลายดอกไม้ร่วง บนพื้นสีดำ ตอนบนสุดเป็นลายเฟื่องอุบะ ด้านตรงข้ามพระประธานเขียนเรื่องสุธนชาดก  ผนังด้านซ้ายพระประธานเขียนเป็นเรื่องทศชาติ เท่าที่ปรากฏมีมหาชนก สุวรรณสาม มโหสถ จันทกุมาร วิทูรบัณฑิต และเวสสันดร

บริเวณเหนือหน้าต่างของผนังทั้งซ้ายขวาเขียนลายหน้ากระดานรองรับภาพเทพชุมนุมชั้นเดียว ภายในเส้นสินเทา พื้นทาแดงชาด เหนือขึ้นไปเป็นภาพนักสิทธิ์ วิทยาธร เขียนได้สนุกสนานยิ่ง บ้างก็แต่งกายแบบจีนแมนจู ผมเปีย บ้างก็ดำทะมึน บ้างอุ้มมักกะลีผล บ้างก็ยิ้มเริงร่า ห้อยคอด้วยปลัดขิก บ้างก็ยกขวดเหล้าเท


• ประวัติวัดเขียน (เขียนโดย น. ณ ปากน้ำ)
วัดเขียน เป็นวัดเล็กๆ ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๕๐ บ้านคงกะพัน หมู่ที่ ๘ ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง บนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำน้อย มีหมู่บ้านและลำคลองโดยรอบบริเวณวัด เดิมถูกปล่อยให้รกร้างอยู่เป็นเวลานาน เมื่อมีผู้คนมาอาศัยอยู่มากขึ้นกลายเป็นชุมชน วัดแห่งนี้จึงเป็นศูนย์รวมของชุมชนในเวลาต่อมา

สำหรับคำว่า วัดเขียน อาจสันนิษฐานได้ ๒ กรณีคือ  
กรณีแรก เนื่องจากภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนที่สวยงามจึงเรียก วัดเขียน ตามอย่างโบสถ์เขียนหรือวิหารเขียนที่วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง  ตามแนวคิดของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  อีกกรณีหนึ่ง เดิมวัดนี้ชื่อ วัดเขียน อยู่แล้ว แต่เพื่อให้สมกับชื่อจึงมีการเขียนภาพไว้ในพระอุโบสถ

เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้างวัดแห่งนี้ จึงไม่สามารถกำหนดอายุที่แน่นอนได้ว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากสภาพแวดล้อมและลักษณะของวัดบริเวณใกล้เคียง สันนิษฐานว่าวัดเขียนและวัดบริเวณใกล้เคียงเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน และได้ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานก่อนจะมีการบูรณะขึ้นใหม่ แต่จากหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุสถานของวัดแห่งนี้ เช่น อุโบสถ ใบเสมา เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ล้วนสนับสนุนการกำหนดอายุของวัดแห่งนี้ว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น ดังนั้นก็เป็นที่น่าเชื่อว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถก็เป็นภาพที่เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายเช่นเดียวกัน


ศิลปะโบราณวัตถุสถานที่น่าสนใจภายในวัดเขียน ได้แก่ อุโบสถ อุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อุโบสถหลังเดิมมีขนาดย่อมก่ออิฐถือปูน มีประตูทางเข้าทางเดียวทางด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังพระประธานเป็นประตูหลอก ผนังด้านข้างมีหน้าต่างข้างละ ๓ บาน เป็นหน้าต่างสี่เหลี่ยมเล็กๆ ๒ บาน ที่เหลืออีกบานหนึ่งเป็นหน้าต่างหลอก เสาภายในอาคารเป็นเสาเหลี่ยมติดผนัง บัวหัวเสาเป็นหัวกลีบยาวซึ่งเป็นลักษณะของบัวหัวเสาในสมัยอยุธยาตอนปลาย

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาพระราชทานกฐิน ณ วัดเขียนนี้ เมื่อทรงทอดพระเนตรสภาพความทรุดโทรมของอุโบสถจนทำให้น้ำฝนไหลชะภาพเขียนภายในเสียหายเป็นอันมาก จึงทรงรับสั่งให้บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถขึ้นใหม่ จากนั้นจึงได้มีการสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้าง ๗.๔๐ เมตร ยาว ๙.๖๐ เมตร ครอบอุโบสถหลังเดิม แต่ยังคงลักษณะของอาคารหลังเดิมคือมีทางเข้าทางเดียว และเปลี่ยนโครงเครื่องบนใหม่ทั้งหมดทำเป็นหลังคาชั้นเดียวแต่มีชั้นลดเพิ่มเป็น ๒ ชั้น มุงหลังคาด้วยกระเบื้องแผ่นตามแบบปัจจุบัน

ใบเสมา ใบเสมาหินทรายสีขาวที่ตั้งอยู่รอบพระอุโบสถทั้ง ๘ ทิศ เป็นใบเสมาเก่าสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งลักษณะพิเศษของใบเสมาสมัยนี้คือ ใบเสมาจะทำด้วยหินทรายขาวทั้งหมดเป็นชนิดใบเสมานั่งแท่น ซึ่งตั้งอยู่บนฐานสิงห์และฐานบัวกลุ่ม เนื่องจากใบเสมามีขนาดเล็กและแบบบาง จึงต้องมีการก่ออิฐถือปูนเป็นฐานรองรับ มีแถบเส้นกลางขนาดใหญ่เท่าขอบเสมา ตรงกลางแถบจะมีนมเสมาซึ่งทำเป็นลายประจำยามลักษณะคล้ายทับทรวง ส่วนอกเสมาเหนือนมเสมาเป็นรูปดอกไม้กลมทั้งสองข้าง เรียกว่า ตาเสมา ยอดเสมาทำเป็นรูปมงกุฎครอบท้องเสมาเป็นลายประจำยามครึ่งเดียว และมีกระหนกตัวเหงาอยู่ที่เอวเสมา เนื่องจากการสร้างพระอุโบสถจะต้องมีการกำหนดพัทธสีมาในคราวเดียวกัน ดังนั้นจึงชื่อว่าพระอุโบสถหลังเก่านี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32217757238282_IMG_0045.JPG)
ภาพพระอุโบสถหลังเดิมของวัดเขียน ก่อนการบูรณะ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39858283392257_1.JPG)
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดพระเนตรสภาพความทรุดโทรมของอุโบสถ
จนทำให้น้ำฝนไหลชะภาพเขียนภายในเสียหายเป็นอันมาก จึงทรงรับสั่งให้บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถขึ้นใหม่

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18544894042942_2.JPG)
พระอุโบสถที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ ครอบอุโบสถหลังเดิม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/78514324501156_3.JPG)
พระประธานอุโบสถวัดเขียน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิตั้งอยู่บนฐานชุกชี
ล้อมรอบด้วยพระพุทธรูปอีกหลายองค์ เหนือพระเศียรพระประธานเป็นฉัตร ๗ ชั้น
(สังเกตให้ดีจะเห็นร่องรอยอุโบสถหลังเดิม และหลังใหม่ที่สร้างครอบ ปรากฎชัดเจนเหนือภาพ)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65691079530450_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74691602173778_2.JPG)
หน้าบันอุโบสถเดิมก่อนได้รับการบูรณะ
เป็นหน้าบันไม้ขนาดเล็กแกะสลักลวดลายเป็นลายเทพนมและลายกระจังรวนอ่อนช้อยงดงาม
ในคราวที่มีการปฏิสังขรณ์อาคารใหม่หลังจากได้เคยถูกทิ้งร้างมาครั้งหนึ่ง หน้าบันทั้ง ๒ ชิ้นได้ถูกรื้อลง
ท่านเจ้าอาวาสรูปก่อนหน้าปัจจุบัน ได้นำไปประกอบกับซุ้มประตูทางเข้าวัดด้านถนนชลประทาน


หัวข้อ: Re: จิตรกรรมวัดเขียน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 21 พฤษภาคม 2558 16:14:34
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66470790861381_b.JPG)

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในสมัยอยุธยาตอนปลายใช้สีเรียบแบนระบายบางๆ
โทนสีส่วนใหญ่เป็นแดงเขียนแบบคตินิยมทั่วไป จิตรกรสมัยโบราณท่านนิยมใช้สีแดงสดเป็นพื้น
เพื่อจะคัดทองคำของพระพุทธรูปในอาคารให้ดูแจ่มใสมลังเมลืองขึ้น

จึงนิยมต่อๆ กันมาว่าจะต้องระบายสีท้องฟ้าของปราสาท ภาพไตรภูมิ ภาพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ให้เป็นสีแดงเชื่อมกันหมด เพื่อที่จะให้เนื้อหาของโครงสร้างภาพเขียนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอด

จากนี้ในที่อื่นๆ เช่นที่ภายในช่องปราสาทก็เป็นสีแดงด้วย หรือภาพบางอย่าง เช่น ภาพวิวภูเขาต้นไม้
บางทีก็ระบายเป็นท้องฟ้าสีแดงเสียด้วย   ในสมัยรัตนโกสินทร์จะหันมานิยมเขียนแบบธรรมชาติ
คือระบายสีท้องฟ้าด้วยสีเทาดำๆ และเมฆสีขาว เป็นแบบธรรมชาตินิยม (Realism) มากขึ้น
ดังนั้น ในบางตอนก็เขียนรูปเป็นไปในแบบธรรมชาติ แต่บางตอนก็ยังคงแบบฉบับไอเดียลิสม์ (Idealism) แบบเดิมไว้

(น. ณ ปากน้ำ)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87145287377966_a.JPG)
การเขียนเบื้องหลังปราสาทใช้สีแดงชาด มีความนิยมกันมาแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/67295445832941_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/64842708408832_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28577181821068_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11981691627038_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39377220678660_5.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/47001987944046_6.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13872290195690_7.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15979209335313_8.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37915855149427_9.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26580467985735_10.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22506835560003_11.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70133692936764_12.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44381790732343_13.JPG)
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดเขียน  อำเภอวิเศษไชยชาญ  จังหวัดอ่างทอง


จิตรกรรมไทยโบราณนั้น มักจะเขียนบนแผ่นผนังที่เตรียมการลงพื้นและทาสีขาวเป็นสีพื้นเรียบร้อยแล้วด้วยสีฝุ่นผสมกาว  สีฝุ่นนั้นเป็นสีจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ดินแดง สีดินขาว สีดำจากเขม่าไฟ ซึ่งการจะนำสีต่างๆ มาเขียนก็จะต้องบดสีด้วยโกร่งอันทำด้วยดินเผาหรือดินเผาเคลือบ ใช้เวลาบดสีประมาณ ๑-๔ ชั่วโมง หากว่าก้อนสีจับตัวแข็งก็จะต้องแช่น้ำไว้สัก ๑ หรือ ๒ ชั่วโมง บางทีจิตรกรผู้เขียนจะนำเอาแอลกอฮอล์เทลงไปด้วย เพื่อให้สีละลายเร็วขึ้น

สีขาวนั้นจะใช้ปูนขาว เมื่อจะเอามาทาพื้นเป็นการลงพื้นก็จะเอาสีขาวที่บดแล้วมาผสมกับกาวยางไม้ เช่น กาวกระถิน กาวยางสน หรือกาวจากยางบง ในตำราของช่างเขียนบางคน ท่านใช้ดินขาวหรือดินสอพองมาบดละเอียดกับน้ำ แล้วเอากาวจากเม็ดมะขามต้มจนเหนียวเป็นกาวใส่ลงไปด้วย เรียกว่า "ฝุ่น"

สีดำน้้นเอาเขม่าจากก้นหม้อ ก้นกระทะในครัว เอามาบดปนไปกับน้ำและกาวธรรมชาติ เสร็จแล้วเป็นสีผสมกาวเรียกกันว่า "เขม่า" ส่วนสีจากดินธรรมชาติอื่นๆ เช่น สีเหลือง สีน้ำตาล สีน้ำตาลเข้มจนแดงจัด หรือสีน้ำตาลไหม้ น้ำตาลเหลือง ก็เรียกตามสีของดินสีนั้นๆ บางทีก็เอาสีจากดินผุหรือหินผุนำมาบดเช่นเดียวกัน แต่จำต้องบดนานเป็นพิเศษ แล้วเอาสีที่บดแล้วแต่ละสีแยกออก เทใส่ภาชนะที่มีฝาปิดได้ เช่น กระปุกหรือโกร่งขนาดย่อม เติมน้ำเล็กน้อยกันสีแห้ง แล้วปิดฝาทิ้งไว้ เมื่อจะใช้ก็เอามาบด แล้วตักเอาปริมาณที่ต้องการมาใส่ภาชนะเป็นจานเขียนสีก็จะมีสีต่างๆ นำมาใช้ได้ทันท่วงที

สีบางอย่างจะใช้ในการย้อมผ้า เป็นสีที่ใช้แช่เปลือกไม้หรือแท่งไม้อันเป็นสีค่อนข้างใส ไม่นิยมเอามาเขียนในงานจิตรกรรม หรือสีที่นำมาใช้ในการทำขนม เช่น สีของดอกอัญชัน สีแดงจากไม้ฝาง ฯลฯ นิยมใช้ในการย้อมผ้ามากกว่า

สีที่ใช้ในการเขียนรูปจิตรกรรมไทย มักเป็นสีประเภททำจากวัตถุธาตุ เช่น ดินสีต่างๆ หรือหินผุ จะทำให้สีอ่อนแก่ก็โดยการบดสีกับกาวผสมไว้แล้วในโกร่งที่เรียกว่า "น้ำยา"

จิตรกรรมที่เขียนตามผนังพระอุโบสถสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาหรือสมัยอยุธยาตอนต้นนั้นจำกัดในเรื่องการใช้สี เพราะมีสีที่ใช้จากสีวัตถุธาตุธรรมชาติในบ้านเมืองเรา เช่น ฝุ่นขาว เขม่าดำ สีดินแดง สีดินเหลือง มีอยู่เพียง ๔ สีเท่านั้น ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลางมีสีแปลกๆ ทำจากวัถุธาตุพวกสีฝุ่นจากหินผุ เช่น สีเขียว สีคราม ยิ่งสมัยอยุธยาตอนปลายก็มีสีสดใสอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกคือ สีเสน สีคราม สีเขียวสด ดังเช่นภาพเขียนในสมุดข่อยวัดหัวกระบือ บางขุนเทียน สมัยอยุธยาตอนปลาย

ในสมัยอยุธยาตอนปลายสุดหรือรัตนโกสินทร์มีสีสดใสจากจีนเข้ามาขาย เช่น สีแดงแสด สีแดงเสน สีชาด สีเหลืองสด สีเขียวแจ่มใส สีฟ้า ได้แยกผสมเป็นน้ำยาไว้พิเศษ เช่น สีดินแดง ทำจากดินแดงบด  เมื่อมาผสมกับสีชาดหรือสีแดงเสนก็จะมีสีแดงสด มีรสสีแดงฉ่ำ ถ้าจะใช้เป็นสีแดงทึบ เช่น สีน้ำตาลเข้ม ก็เอาเขม่าดำมาผสม หรือจะใช้เป็นสีแดงอ่อน เช่น สีดอกกุหลาบ ก็ผสมกับดินเหลืองและฝุ่นขาวเรียกว่า หงสบาท  คือสีของเท้าหงส์กับนกต่างๆ  สีเขียวเมื่อนำมาผสมกับดินผุหรือผสมกับฝุ่นขาวกลายเป็นสีเขียวอ่อนก็เรียกว่า สีก้านดอกมะลิ  เมื่อแซมเหลืองเข้าไปก็กลายเป็น สีตองอ่อน  เป็นสีเหมือนกับธรรมชาติที่เคยชิน ในภาษาช่างสมัยก่อนจึงมีชื่อสีต่างๆ เช่น สีขาบ คือสีน้ำเงินเหมือนสีนกตะขาบ  สีกรมท่า คือสีน้ำเงินเข้ม เป็นสีผ้านุ่งของข้าราชการกรมท่า  สีกลาโหม ก็คือสีน้ำตาลแดง  สีดอกบัวโรย  สีดอกอัญชัน  สีเขียวหัวเป็ด เป็นต้น
...น. ณ ปากน้ำ