[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ) => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 30 มกราคม 2554 13:17:20



หัวข้อ: ซูเปอร์ภูเขาไฟ ภัยพิบัติที่ส่งผลมหาศาล
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 30 มกราคม 2554 13:17:20
(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2011/01/28/7ij8dbhk9bbgejbb5kd7e.jpg)

(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2011/01/28/5icd9ifc9a67gbj8a6hh7.jpg)

(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2011/01/28/55a655ga6k7b599eijkjf.jpg)

นายโรเบิร์ต สมิธ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีพิบัติภัยที่เยลโลสโตน แห่งมหาวิทยาลัยยูทาห์
เปิดเผยว่าเปลือกโลกบริเวณอุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน
รัฐไวโอมิง มีการยกตัวผิดปกติถึงปีละ 3 นิ้ว
ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง นับเป็นสถิติการยกตัวมากที่สุดตั้งแต่มีการเริ่มบันทึก
ทางธรณีวิทยาเมื่อปี 2466 จากการศึกษาพบว่าบ่อหินละลายที่อยู่ลึกลงไปใต้เปลือกโลกนั้นอยู่ใกล้ผิวโลก ขึ้นมามาก
นั่นอาจเป็นสัญญาณจากธรรมชาติที่เตือนว่า “ซูเปอร์โวลคาโน” หรือภูเขาไฟขนาด ยักษ์ ที่ก่อตัวภายใต้พื้นที่
อุทยานแห่งชาติเยลโลสโตนกำลังนับถอยหลังรอวันปะทุใน อนาคตอันใกล้ สิ่งที่น่ากลัวที่สุดก็คือ
หากเกิดระเบิดออกด้วยแรงดันมหาศาล ก็จะมีอำนาจทำลายล้างทุกสิ่งบริเวณพื้นที่โดยรอบ

ปรากฏการณ์ซูเปอร์โวลคาโน ในพื้นที่ตอนกลางของสหรัฐปะทุนั้นเคยเกิดขึ้นมาแล้ว 3 ครั้งตั้งแต่ช่วง 2.1 ล้านปีก่อนโน้น
นั่นหมายความว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวมีวงจรการก่อกำเนิดเฉลี่ยทุกๆ 7 แสนปี ซึ่งในช่วงเวลาอันใกล้นี้ก็อาจจะครบรอบ
ช่วงเวลาดังกล่าวของวงจรแล้ว

ซูเปอร์โวลคาโน ก่อตัวคล้ายกับดอกเห็ดอยู่ภายใต้ผิวโลก โดยมีหินหลอมเหลวเป็นฐาน และมีชั้นก๊าซร้อนอยู่ด้านบน
หินร้อนใต้ผิวอุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน ได้ทะลุทะลวงชั้นหินขึ้นมาจากความลึก 400 ไมล์ มาจ่ออยู่ที่
ความลึก 30 ไมล์ใต้ผิวดินอยู่ในเวลานี้ ทั้งยังแผ่กระจายออกไปด้านข้างเป็นรูปหมวกเห็ด กว้างถึง 300 ไมล์

ภายในหมวกเห็ดจึงสะสมไว้ด้วยหินหลอมเหลวอุณหภูมิกว่า 800 องศาเซลเซียส และชั้นก๊าซพิษ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ที่รอการปะทุ ออกมาบนพื้นผิวโลก ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับการเปิดขวดโซดาที่ถูกเขย่า ที่ทั้งหินหลอมเหลว
จะพุ่งทะลักออกมาด้วยความเร็วสูง เพราะได้แรงดันจากก๊าซที่สะสมอยู่ภายใน

ด้วยสภาพเช่นนั้นการปะทุจึงจะมีพลังรุนแรงอย่างยิ่งจนยากที่จะเปรียบได้ มีการประเมินว่าหลังการปะทุผืนดิน 2 ใน 3
ของสหรัฐอเมริกาจะยุบตัวลงไป คล้ายกับลูกโป่งที่ถูกปล่อยลมกะทันหัน

ขณะเดียวกันชั้นบรรยากาศโลกจะเต็มไปด้วยเถ้าถ่านและก๊าซพิษที่นอกจากจะ เป็นภัยต่อสิ่งมีชิวตที่สูดดมเข้าไป
ทั้งยังจะทำตัวเป็นม่านกางกั้นแสงอาทิตย์ ที่ส่งมายังโลก ทำให้อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว พืชอาจไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
และจะเกิดฝนกรดตกลงมาเนื่องจากก๊าซซัลเฟอร์รวมตัวเข้ากับไอน้ำ มีฤทธิ์กัดกร่อนทุกสิ่งทุกอย่างที่สัมผัส

เหตุการณ์ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปเมื่อกว่า 65 ล้านปีก่อน อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งในอนาคตอันใกล้นี้
แต่คราวนี้ “ภัย” ของสิ่งมีชีวิตไม่ได้มาจากอุกกาบาตนอกโลก แต่เป็น “ภัย” ที่อยู่ภายใต้พื้นผิวของโลก นี่เอง


ที่มา : คม ชัด ลึก