[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 31 มกราคม 2554 13:49:16



หัวข้อ: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 31 มกราคม 2554 13:49:16


(http://www.fungdham.com/images/monk-pic/cha/11.jpg)

ประวัติและปฏิปทา ของหลวงพ่อชา สุภทฺโท
 วัดหนองป่าพง
ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

(http://1.bp.blogspot.com/_ks7s40OFQT8/TAGR3pKvHsI/AAAAAAAABCA/9uuIj7CyGC8/s320/13.jpg)

๐ ชีวิตปฐมวัย

หลวงพ่อชา สุภทฺโท เป็นลูกอีสานโดยกำเนิด ท่านเกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของอำเภอวารินชำราบ ชื่อบ้านก่อ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๖๑ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย

ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ ของนายมา และนางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมมารดา ๑๐ คน ท่านเป็นคนช่างพูด และมีลักษณะผู้นำมาตั้งแต่เด็กๆ เมื่ออยู่กับหมู่เพื่อน ไม่ว่าจะเล่นหรือทำอะไรก็ตาม ท่านมักเป็นผู้วางแผนมอบหมายหน้าที่แก่คนอื่นเสมอ โดยปกติท่านเป็นคนอารมณ์ดี ร่าเริง วันไหนขาดท่าน เพื่อนๆ จะเงียบเหงา คุยหรือเล่นไม่ค่อยมีรสชาด

ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของท่าน คือ ความรักสันติ ไม่เคยมีใครเห็นท่านมีเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งเป็นปากเป็นเสียงกับใคร โดยเฉพาะการชกต่อยข่มเหงรังแกกับผู้อ่อนแอกว่านั้นยิ่งไม่มีเลย ตรงกันข้ามเมื่อเพื่อนฝูงมีปัญหาขัดใจกัน ท่านจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยคลี่คลายให้เรียบร้อยได้ด้วยความสามารถอันเป็นลักษณะเฉพาะตัว ประกอบกับปกติท่านเป็นคนมีน้ำใจโอบอ้อมอารี และให้ความเป็นธรรมแก่ทุกคนเสมอ เพื่อนๆ ก็เลยเกรงใจ

หลวงพ่อเติบโตขึ้นมาในบรรยากาศอบอุ่นและมั่นคง ครอบครัวของท่านจัดว่ามีฐานะมั่งคั่ง

ครอบครัวหนึ่งในหมู่บ้าน และมักสงเคราะห์ผู้ยากจนกว่าในยามข้าวยากหมากแพงอยู่เสมอ ตัวท่านเองเป็นเด็กที่มีกำลังวังชา กระฉับกระเฉงว่องไว ธาตุไฟแรง กินจุเป็นนิสัย แต่ความที่ท่านเป็นคนขยันไม่อยู่นิ่ง จึงสามารถช่วยงานในครอบครัวได้เป็นอย่างดีตั้งแต่อายุยังน้อย งานหลักที่เด็กชายชาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญมีอยู่ ๒ อย่าง คือ งานเลี้ยงควายและดูแลไร่ยาสูบ แต่งานหนักคืองานในไร่ยาสูบ ซึ่งมีถึง ๔ - ๕ ไร่ ปีหนึ่งๆ ต้องรดน้ำพรวนดิน ดูแลเก็บเกี่ยวจนได้ผลผลิตเป็นยาสูบ ซึ่งใช้แลกเปลี่ยนกับผลผลิตอย่างอื่น เช่น อาหารและสิ่งของเครื่องใช้กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง

๐ การบรรพชา

หลังจากนั้นไม่นาน เด็กชายชาได้ขอให้พ่อแม่พาตัวไปฝากเป็นลูกศิษย์วัด พ่อแม่ก็ไม่ขัดข้องและพาไปอยู่ในความอุปาระของพระอาจารย์ลีที่วัดบ้านก่อนอก เด็กชายชาจึงมีโอกาสได้เรียนรู้กฎระเบียบและกิจวัตรประจำวันต่างๆ เมื่อได้รับการอบรมพอสมควรและมีอายุถึงเกณฑ์บรรพชา ท่านเจ้าอาวาสเห็นว่าเป็นเด็กเรียบร้อย ทั้งขยันหมั่นเพียร รู้จักอุปัฏฐากรับใช้ครูอาจารย์ด้วยดีมาตลอด จึงจัดการให้ได้บรรพชาพร้อมกับเพื่อนๆ อีกหลายคน โดยมีพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง) เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม จ.อุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดบ้านก่อ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๔ ขณะนั้นหลวงพ่ออายุได้ ๑๓ ปีพอดี

เมื่อบรรพชาแล้วนอกจากการท่องบทสวดมนต์ต่างๆ สามเณรชาได้เรียนหลักสูตรนักธรรมตรีและเรียนหนังสือพื้นเมืองที่เรียกว่า “หนังสือตัวธรรม” อย่างเชี่ยวชาญ

ระหว่างที่บรรพชาอยู่นั้น สามเณรชาได้อุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์รูปหนึ่ง คือท่านอาจารย์ลัง จนได้รับความรักใคร่เอ็นดูจากท่านเป็นพิเศษ อาจารย์ลังได้เป็นธุระในการอบรมสั่งสอน และเอาใจใส่ดูแลการศึกษาเล่าเรียนของสามเณรอย่างใกล้ชิด เป็นเหตุให้ได้รู้จักกับครอบครัวของลูกศิษย์ด้วย เมื่อมีโอกาสว่างพระอาจารย์ลังก็มักชวนสามเณรกลับไปเยี่ยมบ้านและไปบ่อยขึ้นทุกที บางทีก็อยู่จนดึกจึงกลับวัด ในระยะหลังๆ พระอาจารย์ลังก็ปรารภเรื่องทางโลกบ่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่งก็ได้ชักชวนให้ลูกศิษย์ลาสิกขาบทไปด้วยกัน จิตใจของสามเณรน้อยก็หวั่นไหว เพราะศรัทธาในพระศาสนายังไม่หนักแน่นมั่นคงพอที่จะอยู่ต่อได้ ถ้าอาจารย์ของตนจากไป เมื่อถูกครูบาอาจารย์ชวนบ่อยๆ ก็เลยลาสิกขาตามไปในที่สุด ตอนนั้นอายุได้ ๑๖ ปี

ต่อมาไม่นาน ทิดลังก็ได้มาสู่ขอนางสาวสา ช่วงโชติ พี่สาวของเซียงชา (คำว่าเซียง เป็นภาษาของชาวไทยอีสาน ใช้เรียกคนที่เคยบรรพขาเป็นสามเณรมาก่อน) ไปเป็นภรรยา แต่ก็อยู่กินกันได้ไม่นาน



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 31 มกราคม 2554 13:50:32


(http://www.vcharkarn.com/uploads/3/3259.jpg)

๐ ความรัก

เพื่อนเที่ยวในวัยหนุ่มของเซียงชา ก็คือเซียงพุฒ ทุมมากรณ์ เพื่อนเล่นตั้งแต่วัยเด็กนั่นเอง ทั้งสองชวนกันไปเที่ยวสนุกสนานกับเพื่อนตามประสาหนุ่มชาวบ้านทั่วๆ ไป บางทีก็ชวนกันไปจีบสาวทั้งบ้านใกล้บ้านไกล และในที่สุดเซียงชาก็มามีความสัมพันธ์รักกับนางสาวจ่าย ซึ่งเป็นลูกติดแม่เลี้ยงของนายพุฒนั่นเอง เรื่องรักของนายชาและนางสาวจ่ายนี้ ทุกคนในครอบครัวของนายพุฒก็รู้ดี และไม่มีใครรังเกียจ โดยเฉพาะพ่อแม่ของสาวนั้น มีความพอใจรักใคร่นายชาเสมือนบุตรของตนเอง เพราะเห็นว่าเป็นคนหนุ่มที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อม ทั้งโดยส่วนตัวและฐานะทางครอบครัว พ่อแม่สาวถึงกับกีดกันหนุ่มอื่นขนาดไม่ยอมให้ขึ้นบันใดบ้านเลยทีเดียว

สองหนุ่มสาวได้ให้สัญญาต่อกันไว้ว่า จะรอจนกว่านายชาผ่านพ้นการเกณฑ์ทหาร แล้วบวชทดแทนคุณมารดาสัก ๑ พรรษาเสียก่อน หลังจากนั้นเมื่อทุกอย่างพร้อม ก็จะแต่งงานกันทันทีเวลานั้นนายชามีอายุได้ ๑๙ ปี ส่วนนางสาวจ่ายอายุเพียง ๑๗ ปี

ย่างเข้าฤดูฝน ทุกบ้านต่างขมีขมันจัดเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือในการทำนา นายชาก็เช่นเดียวกัน ได้จัดสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ บรรทุกเกวียน เคลื่อนย้ายออกไปสู่กระท่อมกลางนาแล้วก็ง่วนอยู่กับการเตรียมงาน มีการจัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น คราด ไถ แอก จอบ ไว้ให้พร้อมรอการปักดำทำนา

ส่วนทางบ้านของนายพุฒและนางสาวจ่าย บิดามารดาของคนทั้งสองปรึกษาหารือกันในเรื่องการทำนา ซึ่งกำลังเป็นปัญหาเพราะขาดแรงงานสำคัญ ทั้งสามีภรรยาเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะให้นางสาวจ่ายแต่งงานมีคู่ครองเสีย จะได้มีสามีมาช่วยทำนา แต่ก็มองไม่เห็นว่าจะให้แต่งกับใคร นายชาที่หมายปองอยู่นั้นเล่าก็ยังไม่พร้อมสักที คงต้องรออีกหลายปี ในที่สุดฝ่ายสามีจึงโพล่งออกมาว่า “ให้แต่งกับไอ้พุฒลูกชายของเรานี่แหละ” ด้วยเหตุผลและความเหมาะสม คือทั้งสองหนุ่มสาวรู้จักสนิทสนมกันดีอยู่แล้วเหมือนพี่น้อง แต่ไม่ได้ร่วมบิดามารดาเดียวกัน ประกอบกับเหตุผลทางเศรษฐกิจด้วย เข้าทำนอง “เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน” ส่วนนายพุฒและนางสาวจ่ายแม้จะรู้สึกกระอักกระอ่วน เพราะมีความรู้สึกต่อกันเหมือนพี่น้องจริงๆ แต่ก็ไม่กล้าปฏิเสธหรือขัดขืนความประสงค์ของพ่อแม่ได้

นายชาเมื่อได้ทราบข่าว รู้สึกชาไปทั้งตัว ซึมไปนาน แต่ในที่สุดนายชาก็ทำใจได้ไม่โกรธแค้นเพื่อน เพราะรู้ว่าเขาไม่มีเจตนาจะหักหลัง หากจำใจปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ใหญ่ ถึงอย่างนั้น ความผิดหวังครั้งนี้

                     (http://lab.music.gmember.com/cover/mv/0600601101.jpg)   

ก็เป็นบทเรียนเรื่องความไม่แน่นอนที่ถึงใจ กลายเป็นคำที่ท่านใช้บ่อยที่สุดในการอบรมลูกศิษย์ลูกหาของท่านในเวลาต่อมา

นายชายังรักษาความสัมพันธ์ฉันเพื่อนที่ดีกับนายพุฒเสมอ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่สำหรับแม่จ่ายนั้นตรงกันข้าม ท่านต้องระวังตัวมาก เมื่อบวชแล้ว ถ้าเห็นแม่จ่ายมาท่านต้องรีบหลบเข้าป่าไป เจ็ดปีแรกที่บวช ท่านยังตัดอาลัยในแม่จ่ายได้ไม่ขาดเลย จนออกธุดงค์เจริญกรรมฐานแล้วนั่นแหละ ความรู้สึกจึงค่อยจางหายไป

๐ การอุปสมบท

เมื่ออายุครบ ๒๑ และทราบว่าไม่ต้องเข้ารับราชการทหาร นายชาก็ตัดสินใจออกบวชด้วยความชื่นชมยินดีของพ่อแม่ กำหนดการอุปสมบทมีขึ้น ในวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ ณ พัทธสีมาวัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี

ท่านพระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการสวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ท่านได้รับฉายาว่า สุภทฺโท (ผู้เจริญด้วยดี)

พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดก่อนอก ๒ พรรษา ระหว่างนั้นได้ศึกษาพระปริยัติธรรมสอบได้นักธรรมชั้นตรี แม้ที่วัดนี้ท่านจะยังไม่ได้ฝึกฝนอะไร แต่ก็ได้พิจารณาเห็นความเป็นไปหลายสิ่งหลายอย่าง การบวชๆ สึกๆ ของพระภิกษุสามเณรทั้งหลาย ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องโง่มาก การบวชเป็นเรื่องยาก การสึกนั้นง่าย ท่านถือว่าคนพวกนี้มีบุญน้อยที่เห็นชีวิตแบบโลกดีกว่าชีวิตนักบวช นอกจากนี้ท่านยังต้องผจญกับความหิวความอยากที่กลุ้มรุมท่านเป็นอย่างมาก เพราะปกติท่านเป็นคนที่เจริญอาหารอยู่แล้ว ความอยากเกี่ยวกับอาหารการฉันจึงเล่นงานท่านอย่างหนักทีเดียว

(http://www.bhodhiyalaya.com/_files/news/2010_08_05_202157_2zod56kh.gif)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 31 มกราคม 2554 13:53:27


(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/245/21245/images/IMG_4539_resize.JPG)

๐ ออกศึกษาต่างถิ่น

ปี พ.ศ.๒๔๘๔ ท่านก็ได้ตัดสินใจออกแสวงหาความรู้ในต่างถิ่น โดยไปพำนักยังวัดสวนสวรรค์ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และไปเรียนหนังสืออยู่ที่สำนักเรียนวัดโพธิ์ตาก หลังจากนั้นก็เดินทางไปยังสำนักเรียนวัดบ้านหนองหลัก ตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี แต่ไม่ได้จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ เพราะเพื่อนของท่านไม่อยากอยู่ จึงเดินทางไปจำพรรษาอยู่ที่สำนักเรียนวัดเค็งใหญ่ อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านได้ศึกษานักธรรมชั้นโทและบาลีไวยากรณ์ และสอบนักธรรมชั้นโทได้ที่วัดนี้

ปี พ.ศ.๒๔๘๖ ท่านได้เดินทางกลับมาจำพรรษายังสำนักเรียนวัดบ้านหนองหลัก และได้ทุ่มเทกายใจศึกษาทั้งนักธรรมและบาลีอย่างเต็มที่ เมื่อออกพรรษาก็ได้รับข่าวว่าโยมบิดาป่วยหนัก ท่านลังเลอยู่นาน ห่วงโยมบิดาก็ห่วง เรื่องเรียนก็ห่วง แต่ในที่สุดก็ตัดสินใจเดินทางกลับบ้านไปดูโยมบิดาและตัดสินใจไม่กลับไปสอบ อยู่ดูแลโยมบิดาจนกระทั่งวาระสุดท้าย

ก่อนถึงแก่กรรม โยมบิดาได้ขอร้องท่านว่า “อย่าลาสิกขานะ อยู่เป็นพระอย่างนี้แหละดี สึกออกมามันยุ่งยากลำบาก หาความสบายไม่ได้” ก่อนหน้านี้ เมื่อได้ยินคำพูดแบบนี้ท่านจะนิ่งไม่โต้ตอบอะไร แต่ในครั้งนี้ ท่านกลับให้คำตอบกับโยมว่า “ไม่สึกหรอก จะสึกไปทำไม

จากคำสั่งเสียของโยมบิดา บวกกับจิตใจที่เริ่มเบื่อหน่ายต่อการศึกษา ซึ่งท่านรู้สึกว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงอยากจะศึกษาทางปฏิบัติดู ในที่สุดก็ท่านก็เปลี่ยนแนวคิดจากการมุเรียนด้านปริยัติ เริ่มชีวิตธุดงค์ออกเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์ตามที่ต่างๆ

ปี พ.ศ.๒๔๘๙ ท่านได้เดินทางไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาวงกต จังหวัดลพบุรี ที่นี่ท่านได้ทดลองวิธีการภาวนาหลายอย่าง ทั้งการนับลูกประคำ และการเจริญอานาปานสติแบบต่างๆ เป็นต้น และเริ่มหาวิธีกำจัดกามราคะ ซึ่งท่านเรียกว่าเป็นเรื่อง “ยากยิ่งสิ่งเดียว” สำหรับท่าน

พอออกพรรษาในปีเดียวกันนั้น หลวงพ่อก็ได้เดินธุดงค์ไปนมัสการหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต วัดหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร หลวงปู่มั่น ได้คลายความสงสัยข้องใจให้ท่านเกี่ยวกับเรื่องนิกายทั้งสองเสียได้ และนอกจากนั้นท่านยังหมดความลังเลสงสัยในหนทางประพฤติปฏิบัติ มีกำลังใจอาจหาญที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานให้ได้

หลวงพ่อพักอยู่สำนักหลวงปู่มั่นเพียง ๒ - ๓ วัน ก็ออกธุดงค์รอนแรมตามป่าเขาไปเรื่อยๆ ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิอยู่ที่ใด ก็มีความรู้สึกราวกับว่าหลวงปู่มั่นคอยติดตามให้คำแนะนำตักเตือนอยู่ตลอดเวลา การมากราบนมัสการหลวงปู่มั่นในครั้งนี้ ทำให้ศรัทธาของหลวงพ่อแกร่งกล้าขึ้น พร้อมที่จะเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการทำความเพียร

๐ หนองป่าพง

วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๗ หลวงพ่อและคณะธุดงค์ก็เดินทางมาถึงชายป่าดงดิบอันหนาทึบ ชาวบ้านเรียกว่า ดงหนองป่าพง ห่างจากบ้านก่อบ้านเกิดของท่านไม่ไกลนัก ต่อมาเห็นว่าควรตั้งเป็นสำนักสงฆ์ จึงได้เริ่มการปลูกสร้างเสนาสนะขึ้นด้วยแรงศรัทธาจากญาติโยมชาวบ้านก่อและบ้านกลาง มีกุฏิเล็กๆ ๓ - ๔ หลัง มุงด้วยหญ้าคา ปูด้วยฟากไม้ไผ่ ฝาทำด้วยใบตองชาดและต้นเลาต้นแขม ต่อจากนั้นหลวงพ่อก็พาญาติโยมออกไปปักเขตวัดเนื้อที่ประมาณ ๑๘๗ ไร่ และตัดถนนรอบ หลวงพ่อตั้งชื่อวัดว่า “วัดหนองป่าพง” แต่ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า วัดป่าพง

ในระยะเริ่มแรกของการก่อตั้งวัดนี้ พระภิกษุสามเณร รวมทั้งแม่ชีด้วย ต่างอยู่กันด้วยความลำบากทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งเครื่องห่มและเรื่องอาหารบิณฑบาต ถึงขนาดบางวันได้ฉันกล้วยแค่คนละครึ่งลูกก็มี แต่ทุกคนก็อยู่กันได้ด้วยธรรมปฏิบัติ กฎระเบียบหรือกิจวัตรต่างๆ ก็ไม่ต้องมีการจ้ำจี้จ้ำไชกันให้มากความ เพราะทุกคนที่อยู่ด้วยกันนั้นต่างมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรกันอยู่แล้ว เพียงแต่บอกกล่าวกันนิดหน่อยเมื่อมีการผิดพลาดในบางโอกาสเท่านั้น

สภาพปัจจุบันของวัดหนองป่าพง เป็นสำนักวัดป่าที่มีพระภิกษุสามเณรมาอาศัยประพฤติปฏิบัติธรรมเรือนร้อย มีกุฏิพระกว่า ๗๐ หลัง กุฏิแม่ชีกว่า ๖๐ หลัง นอกจากนั้นยังมีโบสถ์ ศาลาอเนกประสงค์ โรงฉัน เมรุเผาศพ เป็นต้น บนเนื้อที่ ๓๐๐ ไร่

นอกจากนั้น วัดหนองป่าพงยังมีวัดสาขาในประเทศไทย ๘๒ แห่ง ในต่างประเทศ ๘ แห่ง สาขาสำรองอีก ๕๑ แห่ง หลวงพ่อให้เหตุผลของการขยายสาขาไว้หลายประการ เป็นต้นว่า เพื่ออนุเคราะห์ญาติโยมผู้ต้องการสร้างวัดป่าใกล้บ้านของตนเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ การส่งพระออกไปตามคำนิมนต์ของชาวบ้านอย่างนี้ ถือเป็นการตอบสนองความต้องการของสังคม สำหรับพระเถระที่รับผิดชอบเป็นเจ้าของสำนักในแต่ละวัด ท่านก็ได้มีโอกาสใช้ความรู้ความสามารถที่ได้ศึกษามา สร้างประโยชน์แก่พระศาสนามากขึ้น และการที่หลวงพ่อคอยส่งคนเก่าออกจากวัดหนองป่าพงเรื่อยๆ ก็ทำให้มีที่ว่างสำหรับคนใหม่อยู่เสมอ

ปี พ.ศ.๒๕๒๐ หลวงพ่อได้ออกเดินทางไปเผยแผ่พุทธธรรมที่ประเทศอังกฤษ ตามคำนิมนต์ของนายยอร์ช ชาร์ป (George Sharp) ประธานมูลนิธิกิจการสงฆ์แห่งอังกฤษ (English Sangha Trust E.S.T) การเดินทางไปยังดินแดนตะวันตกในครั้งนี้ ส่งผลให้สำนัก BBC ประเทศอังกฤษ ส่งหนังสือติดต่อขอถ่ายทำภาพยนต์สารคดี เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่วัดหนองป่าพง และจากภาพยนต์สารคดีเรื่องนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จนทำให้ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ มูลนิธิกิจการสงฆ์แห่งอังกฤษจึงได้นิมนต์หลวงพ่อเดินทางไปเผยแผ่พระธรรมในประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง และครั้งหลังนี้หลวงพ่อใช้เวลาเดินทางเผยแผ่อยู่ถึงสองเดือน

จากการเดินทางไปตะวันตกสองครั้งของหลวงพ่อ ทำให้ปัจจุบันนี้มีสำนักสาขาของวัดหนองป่าพงในต่างประเทศกว่า ๑๐ แห่ง ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ คือ อังกฤษ สวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา


(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRENpP65iiaYPZFrdTWOcllV4NRpYpX1kWK4XP8CbHNVyxau88zuA)


มีต่อค่ะ



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 00:21:40

(http://www.fungdham.com/images/monk-pic/cha/23.jpg)

๐ การมรณภาพ

เมื่ออายุย่างสู่วัย ๖๐ หลวงพ่อก็มีอาการผิดปกติทางร่างกายเกิดขึ้น เริ่มจากรู้สึกว่า ร่างกายโงนเงน การทรงตัวไม่ค่อยดี มีอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ บางครั้งหลวงพ่อมีอาการทรุดหนัก แต่เมื่อลูกศิษย์ลูกหามาเยี่ยม ท่านจะนั่งพูดคุยด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ลูกศิษย์ต่างวิตกเรื่องการอาพาธของหลวงพ่อ แต่ท่านกลับห่วงการประพฤติปฏิบัติของลูกศิษย์มากกว่า

กลางเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๔ อาการอาพาธของหลวงพ่อทรุดลงอีก ศิษย์จึงกราบนิมนต์ท่านไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ขณะนั้นหลวงพ่อยังพอเดินเองได้ แต่ต้องพยุงบ้าง ผลการตรวจของแพทย์พบว่า ช่องภายในสมองมีขนาดโตผิดกว่าปกติ เป็นโรคน้ำไขสันหลังสมองคั่ง คณะแพทย์จึงได้ทำการผ่าตัด อาการดีขึ้นนิดหน่อย แต่ความจำไม่ค่อยดี

เมื่อกลับมาถึงวัดหนองป่าพง อาการกลับแย่ลงอีก ต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ลูกศิษย์จึงนิมนต์ท่านเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯ รับหลวงพ่อไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ผลการตรวจแพทย์ได้วินิจฉัยอาการป่วยของท่านว่า มีสาเหตุมาจากเนื้อสมองเสื่อมจากเส้นเลือดอุดตัน และเนื้อสมองตายเป็นหย่อมๆ รวมทั้งเป็นเบาหวานด้วย อาการทั่วไปไม่ดีขึ้นเลย หลังจากพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนานถึง ๕ เดือน ท่านพระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธมฺโม (รักษาการเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพงขณะนั้น) จึงตัดสินใจนิมนต์หลวงพ่อกลับวัดหนองป่าพง

หลวงพ่อได้เข้าพักในกุฏิพยาบาล ซึ่งสร้างขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตพระบรมราชินีนาถ และคณะศิษย์ได้ร่วมสมทบโดยเสด็จพระราชกุศล แม้หลวงพ่อจะอาพาธหนัก แต่บรรยากาศของวัดหนองป่าพงยังคงสงบและมั่นคง วัตรปฏิบัติของพระเณรดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะพระเถระร่วมกันปกครองหมู่คณะแทนหลวงพ่อและทุกๆ ปี จะมีการประชุมใหญ่ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน (วันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อ) พระสงฆ์จากทุกสำนักสาขาทั้งในและต่างประเทศ จะเดินทางมาร่วมปฏิบัติบูชารำลึกถึงคุณของหลวงพ่อ รวมทั้งประชุมกันในวันนั้น

อาการของหลวงพ่อมีแต่ทรงกับทรุดเรื่อยมา จนกระทั่งเช้ามืดวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๕ เวลา ๐๕.๒๐ น. หลวงพ่อได้ละสังขารไปด้วยอาการสงบ ภายในกุฏิพยาบาล ท่ามกลางความเศร้าสลดของบรรดาลูกศิษย์

ตลอดชีวิตสมณะของหลวงพ่อ ท่านได้สร้างคุณงามความดีมากมายเกินกว่าที่จะกล่าวถึงให้ครอบคลุมทั้งหมดได้ สำนักวัดหนองป่าพงและสาขาน้อยใหญ่ อันเป็นวัดซึ่งมุ่งประโยชน์ด้านปฏิบัติเพื่อนำผู้คนไปสู่ความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง ลูกศิษย์ลูกหาทั้งที่เป็นพระและฆราวาส ล้วนเป็นผู้ทรงธรรมวินัย และคนที่ท่านได้สร้างมานั้น ก็ได้ขยายบุญเขตกว้างขวางออกไปเรื่อยๆ โดยมีภาพลักษณ์ของหลวงพ่อเป็นตัวอย่าง เป็นขวัญและกำลังใจให้อย่างยอดเยี่ยม



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 00:24:37

(http://www.fungdham.com/images/monk-pic/cha/21.jpg)

๐ ปฏิปทาและวัตรปฏิบัติ

พระอาจารย์เที่ยง โชติธมฺโม ปรารภถึงคำสอนของหลวงพ่อว่า “จุดใหญ่ใจความที่หลวงพ่อเน้นหนักคือ เรื่องพระวินัยและการปฏิบัติ ข้อวัตรปฏิบัตินี่ทิ้งไม่ได้เลย หยุดไม่ได้ กิจสวดมนต์ ไหว้พระ ไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ให้หยุด...” เรื่องการเน้นหนักพระวินัยและข้อวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อนี้ พระครูบรรพตวรกิต ศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อ ได้ถ่ายทอดบรรยากาศอันเข้มขันในสมัยแรกๆ ไว้ว่า

กิจวัตรประจำวันก็ ตีสามตื่น มาประชุมทำวัตรเช้า โดยมากท่านจะมาก่อนลูกศิษย์ พอมาถึงศาลา ท่านก็นั่งสมาธิ ทำวัตรสวดมนต์ ทุกคนก็มาพร้อมหน้าพร้อมตากันและบางครั้งมีการเรียกชื่อ ถ้าพระเณรมีความย่อหย่อนในข้อวัตรปฏิบัติ หลบหน้าหลบหลัง ท่านก็เรียกชื่อถามหา ให้เวลา ๑๕ นาทีในการเดินมาถึงศาลา และเมื่อได้เวลา ๑๕ นาทีแล้ว ท่านก็เรียกชื่อ เสร็จแล้วจึงเริ่มทำวัตร นั่งสมาธิ ท่านก็อธิบายความหมายและสอนวิธีกำจัดนิวรณ์เบื้องต้น ทุกคนตั้งอกตั้งใจในการปฏิบัติ และท่านก็คอยมองอยู่เรื่อย ถ้านิวรณ์ครอบงำพระเณรองค์ไหน ท่านเห็นท่านก็ตะโกนไปเตือนให้รู้สึกตัวขึ้นมา

เมื่อถึงเวลาเลิก ท่านก็ย้ำเตือนอีกเรื่องทางกาย ทางกิริยาและจิต ท่านให้รู้ประจำอยู่เสมอ ทุกคนเงียบหมดถ้าท่านพูดขึ้นมา มีความเกรงกลัว ไม่กล้ากระดุกระดิก ไม่พูด หากจะพูดกันก็พูดค่อยที่สุด แล้วก็พากันจัดแต่งบริขารออกบิณฑบาต สายไกลก็ออกไปก่อน สายใกล้อยู่รอก่อน ส่วนท่านไปสายใกล้ ท่านไม่ไปบิณฑบาตที่บ้านก่อ ท่านบอกว่า ยังมีเชื้ออยู่ คือมีเชื้อยินดีกับสถานที่กับบุคคล ไปแล้วเห็นบ้านเรือนเห็นสถานที่เก่าๆ ที่เคยอาศัย เห็นพี่สาวน้องสาว เห็นลูกเห็นหลาน จิตจะวกไปติดอยู่ที่นั้น ถ้าไม่จำเป็นท่านไม่ไปบ้านก่อ ท่านไปบิณฑบาตบ้านกลาง

ช่วงที่สายไกลออกไปบิณฑบาตแล้ว ท่านก็จับไม้กวาด กวาดวัดก่อนออกบิณฑบาต กวาดแล้วก็เก็บไปด้วย บางวันไม่กวาดท่านก็เอาบุ้งกี๋มาเก็บใบไม้ตามทางเดินรอบๆ ศาลาเล็ก ลูกศิษย์ก็ทำด้วย เมื่อถึงเวลาก็ออกไปบิณฑบาต เราก็ทำกันอยู่อย่างนี้

ถึงเวลาบ่ายสามโมง ก็ปิดประตูหน้าต่างกุฏิ ถ้าตากจีวรตากผ้าไว้ก็ต้องเก็บเสียก่อน เพราะถ้ามีเหตุคือลมฝน จะได้ไม่ต้องวิ่งกลับไปเก็บ

การกราบก็มีอยู่ทุกครั้ง ก่อนลงจากกุฏิก็กราบ ถ้าไม่กราบลงเดินมาถึงกลางทางพอนึกขึ้นได้ ก็ต้องกลับไปกราบก่อน แล้วถือไม้กวาดและกาน้ำมาด้วย ผ้าสรงน้ำเอาหนีบรักแร้มาหรือไม่ก็พับแล้ววางไว้บนศีรษะ มาถึงศาลาก็เอาของวางลงแล้วเข้าไปกราบพระในศาลาใหญ่เสียก่อน กาน้ำวางไว้ที่อาสนะสงฆ์ ส่วนผ้าอาบน้ำนำออกมาด้วย ถ้ามีแดดก็เอาปิดศีรษะ แต่ไม่ใช่เอาคลุม เอาวางเป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วช่วยกันกวาดใบไม้ หลวงพ่อก็กวาด พระเณรกวาดเป็นแถว และไม่ได้ยินเสียงพูดคุยกัน ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ จะไม่พูดคุยกัน ได้ยินแต่เสียงทำงาน

เมื่อปัดกวาดเสร็จก็มาเตรียมน้ำใช้น้ำฉัน เมื่อก่อนก็ต้องตักและหามเอา หลวงพ่อเป็นคนจับเชือกและช่วยดึงถังน้ำขึ้นมา พระคอยรับถังน้ำ ตอนนั้นพระเณรก็มีไม่มากเท่าไร เริ่มตั้งแต่ ๖ องค์ ๘ องค์ ๑๐ องค์ เพิ่มขั้นเรื่อยๆ ตักน้ำขึ้นมาแล้วก็ช่วยกันหามไปทั้งคนแก่และหนุ่ม ได้ยินแต่เสียงทำงาน ไม่มีเสียงพูดคุยกัน ท่านคอยสังเกตตลอดเวลา พระเณรจึงมีความระมัดระวัง มีความยำเกรง และมีศรัทธากันจริงๆ

พอตักน้ำใช้น้ำฉันเสร็จ ก็เข้าไปในศาลาปัดกวาดปูอาสนะ คือกวาดข้างนอกก่อน กวาดไปตามลำดับ เพื่อไม่ให้ฝุ่นฟุ้งเข้าไปในศาลา กวาดข้างนอกศาลาเสร็จก็ถูศาลาและจัดอาสนะต่อจากนั้นก็สรงน้ำ เมื่อสรงน้ำแล้วก็แยกกันเข้าสู่ทางจรงกรม เดินจนถึงหกโมงเย็นพอได้ยินเสียงระฆัง จัดเก็บบริขารและปิดเสนาสนะ แล้วรีบมารวมกันที่ศาลา

เข้าศาลาตอนเย็น ท่านจะเทศน์เตือนเสมอให้มาก่อน อย่าให้ครูบาอาจารย์ต้องมารอ ทำวัตรสวดมนต์เสร็จท่านก็ขึ้นเทศน์บุพพสิกขา อธิบายโวหารให้ฟัง จบแล้วจึงไหว้พระ จากนั้นพระเณรก็แยกย้ายกันกลับกุฏิประมาณสี่ห้าทุ่ม บางวันอาจถึงหกทุ่มหรือตีหนึ่ง

จึงพอสรุปวัตรประจำวันของพระภิกษุสามเณรของวัดหนองป่าพงได้คร่าวๆ คือ

๐๓.๐๐ น. ตื่นนอน ทำวัตรเช้า ทำสมาธิ เดินจงกรม
๐๕.๐๐ น. ทำความสะอาดหอฉัน จัดอาสนะฉัน บิณฑบาต
๐๘.๐๐ น. ฉัน เก็บกวาดสถานที่ ฟังโอวาท กลับกุฏิ
๑๓.๐๐ น. ตักน้ำ ปัดกวาดลานวัด ฯลฯ
๑๗.๐๐ น. ฉันน้ำปานะ
๑๘.๐๐ น. ทำวัตรเย็น ฟังธรรม ทำสมาธิ เดินจงกรม
๒๒.๐๐ น. กลับกุฏิ (ไม่ควรนอนก่อน ๕ ทุ่ม)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการทำความเพียรจะดำเนินไปอย่างเข้มข้น หลวงพ่อก็เปิดโอกาสให้พระเณรได้มีเวลาผ่อนคลาย โดยการสนทนาธรรมอย่างเป็นกันเองกับท่านที่ใต้ถุนกุฏิบ้างเหมือนกัน บางครั้งบางหนหลวงพ่อก็แจกบุหรี่ให้ได้สูบกันด้วย (สมัยนั้นท่านยังฉันหมากและสูบบุหรี่) โดยต่อมาท่านได้ปรารภว่า แม้เขื่อนกับน้ำขนาดใหญ่ ก็ยังต้องมีที่ระบายน้ำเพื่อกันเขื่อนพัง สำหรับการประพฤติปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน เป็นเวลาที่พระเณรต่างก็รู้สึกชุ่มชื่น เบิกบานและบันเทิงในธรรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะโดยอุปนิสัยนั้น หลวงพ่อเป็นคนที่มีอารมณ์ขัน เพราะฉะนั้น แม้ท่านเป็นที่เคารพเกรงกลัวของบรรดาสานุศิษย์ราวกับหนูกลัวแมว ขณะเดียวกันท่านก็เป็นศูนย์รวมของความรักอย่างยิ่ง ทุกคนอยากเข้าใกล้ ฟังท่านคุยและซึมซับเอาจากท่าน ได้มากบ้างน้อยบ้างตามอัธยาศัยของตัวเอง

จนในสมัยเมื่อหลวงพ่อย่างเข้าสู่ปัจฉิมวัย ประกอบกับลูกศิษย์ลูกหาและญาติโยมที่ไปมาหาสู่วัดหนองป่าพงเพิ่มจำนวนและขยายวงกว้างขั้น หลวงพ่อก็ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนตามสมควรแก่กาลและแก่บุคคล


(http://multiply.com/mu/gun2gun/image/9/photos/15/1200x120/1/DSC-2804.jpg?et=%2CRaV3zMgC9XzW%2B%2CXze9%2COw&nmid=183791997)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 00:27:59

(http://www.fungdham.com/images/monk-pic/cha/18.jpg)

๐ การฝึกสมาธิ

หลวงพ่อให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการฝึกสมาธิภาวนาว่า

“เป็นการฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่นและมีความสงบ เพราะตามปกติจิตนี้เป็นธรรมชาติดิ้นรนกวัดแกว่ง ห้ามได้ยาก รักษาได้ยาก ชอบไหลไปตามอารมณ์ต่ำๆ เหมือนน้ำชอบไหลสู่ที่ลุ่มเสมอ พวกเกษตรกรเขารู้จักกั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกต่างๆ มนุษย์เรามีความฉลาดรู้จักเก็บรักษาน้ำ เช่น กั้นฝาย ทำทำนบ ทำชลประทาน เหล่านี้ก็ล้วนแต่กั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ทั้งนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ให้ความสว่างและใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ก็ยังอาศัยน้ำที่คนเรารู้จักกั้นไว้นี่เอง ไม่ปล่อยให้มันไหลลงสู่ที่ลุ่มเสียหมด จิตใจที่มีการกั้น การฝึกที่ดี ก็ให้ประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นกัน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า จิตที่ฝึกดีแล้วความสุขมาให้ การฝึกจิตให้ดี ย่อมสำเร็จประโยชน์ดังนี้เป็นต้น”

หลวงพ่อไม่ได้จำกัดวิธีการเจริญภาวนา ผูกขาดลงไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง แต่ท่านเน้นว่า “แนวทางการทำสมาธิใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง ไปสู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง” แต่ท่านก็สอนให้ภาวนา “พุทโธ” หรืออานาปานสติ โดยท่านให้เหตุผลว่า “เป็นสิ่งที่ง่ายและสบายแก่นักปฏิบัติ เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ตลอดเวลา ทุกอิริยาบถ ไม่ต้องสร้างหรือปรุงขึ้นมา”

“อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจ ข้อนี้เป็นศีล การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อไปจนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่าสมาธิ การพิจารณากำหนดลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยาก มิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่าปัญญา

การทำอานาปานสติภาวนา จึงกล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ไปพร้อมกัน และเมื่อทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้ครบ ก็ชื่อว่าได้เดินทางตามมรรคมีองค์ ๘ ที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นทางสายเอก ประเสริฐกว่าทางทั้งหมด เพราะจะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพาน เมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด

สำหรับอิริยาบถนั่งสมาธินั้น หลวงพ่อไม่พิถีพิถันมากนัก แต่ให้คำแนะนำสั้นๆ ง่ายๆ ว่า นั่งตัวตรง ดำรงสติมั่น เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ไม่นั่งหลังงอหรือหลังโกง ไม่เคร่งจนเกินไป ไม่เอียงไม่เอนไปทางซ้ายทางขวา ทำตัวให้สบายๆ นั่งเหมือนพระพุทธรูป

“เอาสติที่มันมีอยู่นี้ ตามลมเข้า ตามลมออก ตามลมเข้าไป ต้นลม กลางลม ปลายลม ให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ที่ลมเท่านั้น เมื่อเราฝึกเช่นนี้พอสมควรแล้ว สติก็มีอยู่ เข้าก็มีสติ ออกก็มีสติ กลางลมก็มีสติ ต้นลมก็มีสติ

จิตใจหรือความรู้สึกของเรา มันไม่มีเวลาหลีกไปเก็บเอาอารมณ์อื่น เพราะมันรู้อยู่ที่ตรงนี้ ทั้งลมเข้าลมออก ถ้าหากว่าจิตใจหรือความรู้สึกของเรา มันแส่ส่ายไปหาอารมณ์อื่น ก็แสดงว่าสติมันเผลอไปแล้ว ให้ตั้งสติขึ้นใหม่ ให้รู้จักว่ามันผ่านตรงนี้ๆ ดูไปเรื่อยๆ บางทีมันหนีไปที่ไหนตั้งนานแล้วก็ยังไม่รู้ อ้าวเผลอสติอีกแล้วก็ยกขึ้นมาใหม่ ถ้าเราทำอย่างนี้จะรู้จักต้นลม กลางลม ปลายลม ได้พอสมควร...”

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:xSVspg34vC0ZVM:http://www.bloggang.com/data/sweetpolarbear/picture/1181045808.jpg)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 00:33:34

(http://www.fungdham.com/images/monk-pic/cha/14.jpg)

๐ การเดินจงกรม

การเดินจงกรมนั้น คือการฝึกสมาธิในอิริยาบถเดินนั่นเอง เป็นอิริยาบถที่เหมาะเมื่อนั่งสมาธิพอสมควรแล้ว แต่ต้องการภาวนาต่อ ส่วนมากนักปฏิบัติมักจะสลับการนั่งสมาธิกับการเดินจงกรม อนึ่ง การเดินเป็นอุบายแก้ความง่วงเหงาหาวนอนที่ดี และเหมาะในเวลาฉันอาหารเสร็จใหม่ๆ หรือยามดึกดื่น พระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงค์ของการเดินจงกรมว่ามี ๕ อย่าง คือ

๑. อดทนต่อการเดินทางไกล
๒. อดทนต่อความเพียร
๓. มีอาพาธน้อย
๔. อาหารที่ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มรสแล้ว ย่อมย่อยไปด้วยดี
๕ สมาธิที่ได้ในขณะเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน

วิธีการเดินจงกรม หลวงพ่อให้กำหนดเส้นทางเดินจากระยะต้นไม้ ๒ ต้น หรือเครื่องหมายอะไรสักอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน ห่างกันราว ๗ - ๘ วา (๒๐ - ๓๐ ก้าว) แล้วตั้งใจเดินกลับไปกลับมา โดยมีสติสัมปชัญญะในอิริยาบถแห่งการเดินนั้น สำหรับการทำความรู้สึกในขณะเดินจงกรม หลวงพ่ออธิบายไว้ดังนี้

“ก้าวเท้าขวาออกก่อน ให้พอดีๆ ให้นึกพุทโธ พุทโธ ตามก้าวเดินนั้น ให้มีความรู้สึกในอารมณ์นั้นไปเรื่อยๆ ถ้าเกิดฟุ้งซ่านหรือเหนื่อยก็หยุด กำหนดจิตให้นิ่ง กำหนดลมหายใจให้สบายเมื่อสบายพอสมควรแล้ว ก็ทำความรู้สึกกำหนดการเดินอีก ให้มีความรู้ตัวอยู่เรื่อยๆ ต้นทางออกก็ให้รู้จัก รู้จักหมด ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ทำความรู้สึกให้ติดต่อกันเรื่อยๆ ขณะที่เราเดินจงกรม บางทีความหวาดความสะดุ้งมันเกิดขึ้นมา เราก็ทวนมันอีก มันเป็นของไม่แน่ ความกล้าหาญเกิดขึ้นมา อันนี้มันก็ไม่แน่นอนเหมือนกัน ไม่แน่ทั้งหมดนั่นแหละ ไม่รู้จักจับอะไร นี่ทำปัญญาให้เกิดเลยทีเดียว ทำปัญญาให้เกิด ไม่ใช่รู้ตามสัญญา (ความจำ) รู้จิตของเราที่มันคิดมันนึกอยู่นี้ มันคิดนึกทั้งหมด เกิดขึ้นมาในใจของเรานี้แหละ...”

เหนื่อยพอสมควรก็หยุด แล้วออกจากทางจงกรม ให้ระวังต้องมีสติให้ติดต่อ ไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ให้มีสติอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดตอน

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:wIavSJBB66AVLM:http://www.bloggang.com/data/intumarn/picture/1251635072.jpg)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 00:37:23

(http://gotoknow.org/file/yanuprom/m1.JPG)

๐ กุญแจภาวนา

หลวงพ่อได้กล่าวถึงวิธีการภาวนาไว้เป็นหลักหรือเป็นกุญแจไขไปสู่การภาวนาว่า

“การศึกษาธรรมะในทางพระพุทธศาสนานั้น เราศึกษาไปเพื่อหาทางพ้นทุกข์ เพื่อความสงบสุขเป็นจุดสำคัญ จะศึกษาเรื่องรูป เรื่องนาม เรื่องจิต เรื่องเจตสิกก็ตาม ก็เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์เท่านั้นจึงจะถูกทาง มิใช่เพื่ออย่างอื่นเพราะมันมีเหตุเกิดและมีที่ของมันอยู่แล้ว

ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้ถ้าเราเข้าใจเสียว่า มันเป็นเคลื่อนปุ๊บก็เป็นสังขาร มันอยากจะไปโน่นไปนี่ก็เป็นสังขาร ถ้าไม่รู้เท่าสังขาร ก็วิ่งตามมันไปเป็นไปตามมัน เมื่อจิตเคลื่อนเมื่อใด ก็เป็นสมมติสังขารเมื่อนั้น ท่านจึงให้พิจารณาสังขาร จิตมันเคลื่อนนั่นเอง

เมื่อมันเคลื่อนออกไปก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านให้พิจารณาอันนี้ ท่านจึงให้รับทราบสิ่งเหล่านั้นไว้ ให้พิจารณาสังขารเหล่านี้ ปฏิจจสมุปบาทธรรมก็เหมือนกัน อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

อุปมาเหมือนเราตกมาจากยอดไม้ก็ตุ๊บถึงโน่น ไม่รู้ว่ามันผ่านกิ่งไหนบ้าง จิตเมื่อถูกอารมณ์ ปุ๊บขึ้นมามา ถ้าชอบใจก็ถึงดีโน่น อันที่ติดต่อกันเราไม่รู้ มันไปตามที่ปริยัติรู้นั่นเอง แต่มันก็ไปนอกปริยัติด้วยมันไม่บอกว่า ตรงนี้เป็นนามรูป มันไม่ได้ให้ท่านมหาอ่านอย่างนั้นหรอก เหมือนกับการตกจากต้น ท่านพูดถึงขณะจิตอย่างเต็มที่ของมันจริงๆ

(http://board.palungjit.com/album_thumb/11/c8cae35329cbbc3cec81e217d465db84_11376.jpg?dl=1224243880)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 00:39:48

(http://1.bp.blogspot.com/_ks7s40OFQT8/TAGKR0TyRbI/AAAAAAAAA-Y/6ImYQpeaZ-0/s320/1.jpg)

๐ จิตและเครื่องปรุงแต่ง

สิ่งที่เรียกว่า จิต หรือเจตสิก นี้ พระศาสนามิใช่ให้เรียน เพื่อให้ติด ท่านให้รู้ว่าจิตหรือเจตสิกเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่านั้น มีแต่ท่าน ให้ปล่อยให้วางมัน เมื่อเกิดมาก็รับรู้ไว้ รับทราบไว้ ตัวจิตนี่เองมันถูกอบรมแล้ว ถูกให้พลิกออกจากตัวนี้ เกิดเป็นสังขารปรุงไป มันก็เลยมาปรุงแต่งเรื่อย ทั้งดีทั้งชั่วทุกอย่างให้เกิดเป็นไป สิ่งทั้งหลายเหล่านี้พระศาสนาให้ละ แต่ต้องเรียนให้รู้อย่างนี้เสียก่อนจึงจะละได้ ตัวนี้เป็นตัวธรรมชาติอยู่อย่างนี้ จิตก็เป็นอย่างนี้ เจตสิกก็เป็นอย่างนี้ ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้รวมแล้วเป็นนามหมด ท่านว่าจิตนี้ก็ว่าจิตมิใช่สัตว์ มิใช่ บุคคล มิใช่ตัว มิใช่ตน มิใช่เรา มิใช่เขา ธรรมนี้ก็สักว่าธรรมมิใช่ตัวตนเราเขา ไม่เป็นอะไรท่านให้เอาที่ไหน เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่เป็นขันธ์ ห้า ท่านให้วาง ภาวนาก็เหมือนกับไม้ท่อนเดียว วิปัสสนาอยู่ปลายท่อนนี้สมถะอยู่ปลายท่อนทางนั้น ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายท่อนไม้จะขึ้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ถ้ายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายทั้งสองก็จะขึ้นด้วย

อะไรจะเป็นตัววิปัสสนา อะไรจะเป็นตัวสมถะ ก็ตัวจิตนี่เอง และเมื่อจิตสงบแล้ว ความสงบเบื้องแรกสงบด้วยสมถะคือ สมาธิธรรม ทำให้จิตเป็นสมาธิมันก็สงบ ถ้าความสงบหายไปเกิดทุกข์ ทำไมอาการนี้จิตจึงให้ทุกข์ เพราะความสงบของสมถะเป็นตัวสมุทัย แน่นอนมัน ทีนี้เรามาทำจิตของเราให้เป็นผู้รู้ตื่นอยู่ คอยรักษาจิตของเราอยู่ถ้าแขกมาเมื่อไร โบกมือห้าม มันจะมานั่งที่ไหน มีที่นั่งที่เดียวเท่านั้นเราก็พยายามรับแขกอยู่ตรงนี้ตลอดวัน นี่คือพุทโธ ตัวตั้งมั่นอยู่นี่ ทำความรู้นี้ไง้จะได้รักษาจิต เรานั่งอยู่ตรงนี้แล้ว แขกที่เคยมาเยี่ยมเราตั้งแต่เราเกิดตัวเล็กๆ โน้น มาทีไรมาที่นี่หมด เราจึงรู้จักมันหมดเลยพุทโธอยู่คนเดียว

พูดถึงอาคันตุกะแขกที่จรมาปรุงมาแต่งต่างๆ นานาให้เราเป็นไปตามเรื่องของมัน อาการของจิตที่เป็นไปตามเรื่องของมันนี่แหละเรียกว่าเจตสิก มันจะเป็นอะไร จะไปไหนก็ช่างมัน ให้เรารู้จักอาคันตุกะที่มาพัก ที่รับแขกมีเก้าอี้เดียวเท่านั้นเอง เราเอาผู้หนึ่งไปนั่งครั้งต่อไปก็จะมาอีก มาเมื่อไรก็พบแต่ผู้นี้นั่งอยู่ ไม่หนีสักที มันจะมากี่ครั้ง เพียงพูดกันอยู่ที่นั่น เราก็จะรู้จักหมดทุกคน พวกที่ตั้งแต่เรารู้เดียงสา โน้นมันจะมาเยี่ยมเราหมดนั่นแหละ เพียงเท่านี้

นี่เรื่องอัตโนมัติของจิตที่เป็นอยู่ ไม่ได้แต่งมัน หัดเบื้องแรกมันเป็นเลย ถ้าเราทำอยู่อย่างนี้ ท่านจะมีอาการอย่างหนึ่งแปลกขึ้นมา คือ เวลาไปนอน ตั้งใจแล้วว่าจะนอน เคยนอนหรือนอนละเมอ กัดฟัน หรือนอนดิ้นนอนขวาง ถ้าจิตเป็นอย่างนี้แล้ว สิ่งเหล่านั้นฉิบหายหมด ถึงจะหลับสนิทตื่นขึ้นมาแล้ว มีอาการคล้ายกับไม่ได้นอนเหมือนไม่ได้หลับ แต่ไม่ง่วง เมื่อก่อนเราเคยนอนกรน ถ้าเราทำจิตใจให้ตื่นแล้วไม่กรนหรอก จะกรนอย่างไรคนไม่ได้นอน กายมันไประงับเฉยๆ ตัวนี้ตื่นอยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืน ตื่นอยู่ทุกเวลา คือ

พุทโธ ผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้แจ้ง ผู้สว่าง ตัวนี้ไม่ได้นอน เป็นของมันอยู่ ไม่รู้สึกง่วง ถ้าเราทำจิตของเราอย่างนี้ ไม่นอนตลอด ๒ - ๓ บางทีมันง่วง ร่างกายมันเพลีย พอง่วงเรามานั่งกำหนดเข้าสมาธิทันที ๕ นาที จะรู้สึกเท่ากับได้นอนตลอดทั้งคืนและวัน

(http://www.guitarthai.com/picpost/gtpicpost/A1809689.jpg)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 00:42:53

(http://www.fungdham.com/images/monk-pic/cha/22.jpg)

 ๐ การพิจารณาเข้าหาธรรม

ถ้าเราทำภาวนา อย่าให้กิเลสตัณหามันรู้เงื่อนรู้ปลายได้ ท่านจะเอาอย่างไร มันมาถามเรา จะเอาขนาดไหน จะเอาประมาณเท่าไรดึกเท่าไร มันมาทำให้เราตกลงกับมัน ถ้าเราไปว่าจะเอาสักสองยามแล้วก็มันจะเล่นงานเราทันที นั่งไปยังไม่ถึงชั่วโมงต้องร้อนรนออกจากสมาธิแล้วก็เกิดนิวรณ์ว่า มันจะตายหรือยังกันนะ ว่าจะเอาให้มันแน่พยาบาทตัวเอง ไม่มีคนพยาบาทก็เป็นทุกข์อีกนั่นแหละ ถ้าได้อธิฐานแล้วต้องเอาให้มันรอด หรือตายโน่น อย่าไปหยุดมันจึงจะถูก

เราค่อยทำค่อยไปเสียก่อน ไม่ต้องอธิฐาน
พยายามฝึกหัดไป บางครั้งจิตสงบ ความเจ็บปวดทางร่างกายก็หยุด เรื่องปวดแข้งปวดขามันหายไปเอง การปฏิบัติอีกแบบหนึ่งนั้นเห็นอะไรก็ให้พิจารณา ทำอะไรก็ให้พิจารณาทุกอย่าง อย่าทิ้งเรื่องภาวนา บางคนพอออกจากทำความเพียรแล้ว คิดว่าตัวเองหยุดแล้ว พักแล้ว พักแล้ว จึงหยุดกำหนดหยุดพิจารณาเสีย เราอย่าเอาอย่างนั้น เห็นอะไรให้พิจารณา เห็นคนดีคนชั่ว คนใหญ่คนโต คนร่ำรวย คนยากจน เห็นคนเฒ่าคนแก่ เห็นเด็กเห็นเล็ก ให้พิจารณาไปทุกอย่าง นี่เรื่องการภาวนาของเรา

การพิจารณาเข้าหาธรรมะนั้น ให้เราพิจารณาดูอาการเหตุผลต่างๆนานา มันน้อยใหญ่ ดำขาว ดีชั่ว อารมณ์ทุกอย่างนั่นแหละ ถ้าคิดเรียกว่ามันคิด แล้วพิจารณาว่ามันก็เท่านั้นแหละ สิ่งเหล่านี้อยู่ในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าไปยึดมั่นถือมั่นเลย นี่แหละป่าช้าของมันทิ้งมันใส่ลงตรงนี้ จึงเป็นความจริง

๐ นิมิต

“สิ่งเหล่านี้อย่าว่าเป็นของเรา สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงนิมิต คือ ของหลอกลวงให้เราชอบ ให้เรารัก ให้กลัว นิมิตเป็นของหลอกลวงใจเรา มันไม่แน่นอน ถ้าเห็นแล้วอย่าไปหมายมั่น ไม่ใช่ของเรา อย่าวิ่งตามมัน อาจพูดลืมตัวเองเป็นบ้าไปได้ ไม่กลับมาพูดกับเรา เพราะหนีจากคอกแล้ว ให้เชื่อตัวเองแน่นอน เห็นอะไรมาก็ตาม ถ้านิมิตเกิดขึ้นมาจิตตัวเอง จิตต้องสงบ มันจึงเป็น ถ้าเป็นมา ให้เข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้มิใช่ของเรา นิมิตนี้ให้ประโยชน์แก่คนมีปัญญา ให้โทษแก่คนไม่มีปัญญา

ทำความเพียรไปจนเราไม่ตื่นเต้นในนิมิต
มันอยากเกิดก็เกิด ไม่เกิดก็ไม่เกิด ไม่กลัวมัน เชื่อใจได้อย่างนี้ ไม่เป็นไร ทีแรกเราตื่น ของน่าดูมันก็อยากดู ความดีใจเกิดขึ้นมาอย่างนี้ก็หลง ไม่อยากให้มันดีก็ดี ไม่รู้จะทำอย่างไร ปฏิบัติไม่ถูกก็เป็นทุกข์ มันอยากดีใจช่างมัน ให้เรารู้ความดีใจนั่นเองว่าความดีใจนี้ก็ผิด ไม่แน่นอนเช่นกัน แก้มันอย่างนี้ อย่าไปแก้ว่า ไม่อยากให้มันดีใจ ทำไมจึงดีใจ นี่ผิดอยู่นะ ผิดอยู่กับของเหล่านี้ ผิดอยู่ใกล้ๆ ไม่ได้อยู่ไกลหรอก อย่ากลัวนิมิต ไม่ต้องกลัว เรื่องภาวนานี้พอพูดให้ฟังได้เพราะเคยทำมา ไม่ว่าจะถูกหรือไม่นะ ให้เอาไปพิจารณาเอาเอง”


(http://img156.imageshack.us/img156/9935/83348843.jpg)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 00:45:43

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/302/31302/blog_entry1/blog/2009-02-02/comment/391478_images/4_1233565935.jpg)

๐ นิวรณ์

นิวรณ์ คือธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี  พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่ามี ๕ ประการ คือ

๑. กามฉันทะ ความพอใจในกาม
๒. พยาบาท ความคิดร้าย ขัดเคืองใจ
๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านกระวนกระวาย กลุ้มใจร้อนใจ
๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

หลวงพ่อท่านให้ภาวนาตั้งท่าทีทัศนะต่อนิวรณ์ที่กำลังรุมเร้ารบกวนจิตใจอยู่ว่า เป็นครูบาอาจารย์หรือเครื่องทดสอบสติปัญญาของตน มากกว่าที่จะมองเห็นนิวรณ์เป็นตัวศัตรูที่น่าเกลียด อันอาจทำให้เกิดความตึงเครียดเป็น วิภวตัณหา ซึ่งเป็นเหตุให้ความไม่อยากให้นิวรณ์นั้นอยู่ในใจของตนทุกข์เพิ่มทวี อีกวิธีการหนึ่งที่หลวงพ่อสอนสำหรับแก้องค์นิวรณ์ คือคำว่า “ไม่แน่”

“เมื่อมันเกิดอะไรขึ้นมาในใจของเรานี่ มันเกิดเป็นอารมณ์ขึ้นมา ที่เราชอบใจก็ตาม เราเห็นว่ามันผิดมันถูกก็ตามเถอะ ให้เราตัดมันไปเลยว่า อันนั้นมันไม่แน่ จะเกิดอะไรขึ้นมาก็ช่างมันเถอะ สับมันลงไป ไม่แน่ ไม่แน่ อย่างเดียว ขวานเล่มเดียวสับลงไป ไม่แน่ทั้งนั้นแหละ มันแน่ตรงที่ไหนล่ะ ถ้าเห็นว่ามันไม่แน่ ทุกสิ่งทุกอย่าง ราคามันก็น้อยลง อารมณ์ทั้งหลายมันเป็นของที่ไม่มีราคาแล้ว ของที่ไม่มีราคาแล้วเราจะเอาไปทำไม

นอกจากนี้หลวงพ่อยังได้พูดถึงนิวรณ์แต่ละอย่างไว้ด้วย คือ

๑. กามฉันทะ

การบรรเทาความใคร่ในกามให้เบาบางลง ต้องใช้หลายวิธีด้วยกัน เพื่อควบคุมการคึกคะนองของจิต สิ่งที่หลวงพ่อเน้นอยู่เสมอ คือการกินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ความเป็นผู้มีอินทรีย์สังวร การเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค และใช้อสุภกรรมฐานเป็นอุบายเครื่องแก้

ท่านบอกว่า กามราคะจะบรรเทาลงได้ ด้วยการพิจารณาไตร่ตรองถึงความน่าเกลียดโสโครก การหลงติดอยู่ในรูปกายเป็นสุดโต่งข้างหนึ่ง ซึ่งเราต้องมองให้เห็นสิ่งตรงข้าม จงพิจารณาร่างกายเหมือนซากศพและเห็นการเปลี่ยนแปลงเปื่อยเน่า หรือพิจารณาอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ม้าม ไขมัน อุจจาระ และอื่นๆ จำอันนี้ไว้แล้วพิจารณาให้เห็นจริงถึงความน่าเกลียดโสโครกของร่างกาย เมื่อมีกามเกิดขึ้น ก็ช่วยให้เอาชนะกามราคะได้ เห็นเมื่อใดก็เท่ากับมองซากศพ เห็นผู้หญิงก็ซากศพ เห็นผู้ชายก็ซากศพ ตัวเราเองก็เป็นซากศพด้วยเหมือนกัน พยายามเจริญให้มาก บำเพ็ญให้อยู่ในใจนี้มากขึ้นอีก ท่านบอกว่ามันสนุกจริงๆ ถ้าเราทำ แต่ถ้ามัวอ่านแต่ตำราอยู่มันยาก ต้องทำเอาจริงๆ ทำให้มีกรรมฐานในใจเรา

๒. พยาบาท

ต่อเรื่องนี้ มีพระลูกศิษย์ผู้มีโทสจริตรูปหนึ่ง กราบเรียนถามหลวงพ่อว่า

“เมื่อผมโกรธควรจะทำอย่างไรครับ”

“ท่านต้องแผ่เมตตา ถ้าท่านมีโทสะในขณะภาวนาให้แก้ด้วยการแผ่เมตตา ถ้าใครทำไม่ดีหรือโกรธก็อย่าโกรธตอบ ถ้าท่านโกรธตอบท่านจะโง่ยิ่งกว่าเขา จงเป็นคนฉลาด สงสารเห็นใจเขา เพราะว่าเขากำลังได้ทุกข์ จงมีเมตตาเต็มเปี่ยมเหมือนหนึ่งว่าเขาเป็นน้องชายที่รักยิ่งของท่าน เพ่งอารมณ์เมตตาเป็นอารมณ์ภาวนา แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก เมตตาเท่านั้นที่จะเอาชนะโทสะและความเกลียดได้

บางครั้งนิวรณ์ตัวนี้เกิดขึ้นในลักษณะความไม่พอใจ หรือขัดเคืองกับการปฏิบัติของตัวเอง หลวงพ่ออธิบายว่า

“ใจวุ่นวาย ทำไมจึงวุ่นวาย เพราะมีตัณหา ไม่อยากให้คิด ไม่อยากให้มีอารมณ์ ความไม่อยากนี่แหละตัวอยาก คือวิภวตัณหา ยิ่งไม่อยากเท่าไรมันยิ่งชวนกันมา เราไม่อยากมันทำไมจึงมา ? ไม่อยากให้มันเป็นทำไมมันเป็น ? นั่นแหละเราอยากให้มันเป็นเพราะเราไม่รู้จักใจเจ้าของ (ตัวเอง)”

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR82ztg48Ymrcxg-VKUEZT3f8XoH11KRUHLN1fay6ZYRk018m3-fQ)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 00:48:41


(http://3.bp.blogspot.com/_HcstWOCYnkA/SpXO3S0KNvI/AAAAAAAAALM/xoTnXTF2kJM/s400/24.JPG)

๓. ถีนมิทธะ

พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบการถูกถีนมิทธนิวรณ์ครอบงำจิตว่า เสมือนการถูกกักขังไว้ในเรือนจำ มืดมิดอึดอัด ไม่เป็นอิสระ นิวรณ์ตัวนี้ทำให้นักปฏิบัติจำนวนไม่น้อยต้องหนักอกหนักใจ แต่อุบายในการแก้ไขความง่วงมีอยู่มากมายหลายวิธี หลวงพ่อกล่าวว่า

“มีวิธีเอาชนะความง่วงได้หลายวิธี ถ้านั่งอยู่ในที่มืด ย้ายไปอยู่ที่สว่าง ลืมตาขึ้น ลุกไปล้างหน้า

ตบหน้าตนเอง หรือไปอาบน้ำ ถ้ายังง่วงอยู่อีก ให้เปลี่ยนอิริยาบถ เดินให้มากหรือเดินถอยหลัง ความกลัวว่าจะเดินไปชนเอาอะไรเข้าจะทำให้หายง่วง ถ้ายังง่วงอยู่จงยืนนิ่งๆ ทำใจให้สดชื่น และสมมติว่าขณะนั้นสว่างเป็นกลางวัน หรือนั่งบนหน้าผาสูงหรือบ่อลึก จะไม่กล้าหลับ ถ้าทำอย่างๆ ก็ไม่หายง่วง ก็จงนอนเสีย เอนกายลงอย่างสำรวมระวัง และรู้ตัวอยู่จนกระทั่งหลับไป เมื่อรู้สึกตัวตื่นจงลุกขึ้นทันที อย่ามองดูนาฬิกาแล้วพลิกไปพลิกมา เริ่มต้นมีสติ ระลึกรู้ทันทีที่ตื่น

ถ้าง่วงนอนอยู่ทุกวัน ลองฉันอาหารน้อยลง สำรวจตัวเอง ถ้าอีก ๕ คำจะอิ่ม หยุดแล้วดื่มน้ำจนอิ่มพอดี แล้วกลับไปนั่งดูต่ออีก เฝ้าดูความง่วงและความหิว กะฉันอาหารให้อิ่มพอดี เมื่อฝึกปฏิบัติต่อไปอีก จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นและฉันน้อยลง ต้องปรับตัวเองให้ได้

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ

หลวงพ่อบอกว่า เวลาฟุ้งซ่านให้ตามดูว่าจิตของเรามันฟุ้งไปที่ไหน

“...ถ้ามันแวบไปแวบมา ก็ว่ามันแวบไปแวบมา ถ้ามันนิ่งเฉยๆ ก็ว่านิ่งเฉยๆ จะเอาอะไรล่ะ ให้รู้เท่าทันมันทั้งสองอย่าง วันนี้มันมีความสงบก็คิดว่า มันมาให้ปัญญาเกิด แต่บางคนเห็นว่าสงบนี่ดีนะ ชอบ ดีใจ วันนี้ฉันทำสมาธิมันสงบดีเหลือเกิน แน่ะ อย่างนี้ เมื่อวันที่สองมาไม่ได้เรื่องเลย วุ่นวายทั้งนั้นแหละ แน่ะ วันนี้ไม่ดีเหลือเกิน

เรื่องดีไม่ดีมันมีราคาเท่ากัน เรื่องดีมันก็ไม่เที่ยง เรื่องไม่ดีมันก็ไม่เที่ยง จะไปหมายมั่นมันทำไม ? มันฟุ้งซ่านก็ดูมันฟุ้งซ่านไปซิ มันสงบก็ดูมันสงบซิ อย่างนี้ให้ปัญญามันเกิด มันเป็นเรื่องของมันจะเป็นอย่างนี้ เป็นอาการของจิตมันเป็นอย่างนั้น เราอย่าไปยุ่งกับมันมากซิ ลักษณะอันนั้นอย่างเราเห็นลิงตัวหนึ่งนะ มันไม่นิ่งใช่ไหม โยมก็ไม่สบายใจเพราะลิงมันไม่นิ่ง มันจะนิ่งเมื่อไร โยมจะให้มันนิ่งโยมถึงจะสบายใจ มันจะได้เรื่องของลิงนะ ลิงมันเป็นเช่นนี้ ลิงที่กรุงเทพฯ มันก็เหมือนลิงตัวนี้แหละ ลิงที่อุบลราชธานีก็เหมือนลิงที่กรุงเทพฯ นั่นแหละ ลิงมันเป็นอย่างนั้นของมันเอง ก็หมดปัญหาเท่านั้นแหละ เอาอย่างนี้แหละจะได้หมดปัญหาของมันไป อันนี้ลิงก็ไม่นิ่ง เราก็เป็นทุกข์อยู่เสมอ อย่างนั้นก็ตายเท่านั้นแหละ เราเป็นลิงยิ่งกว่าลิงเสียแล้วกระมัง”

๕. วิจิกิจฉา

ความลังเลสงสัย เป็นนิวรณ์ที่มักเป็นอุปสรรคสำคัญของนักปฏิบัติ ที่มีการศึกษาในระดับสูง เพราะการศึกษาทางโลกทำให้คนคิดมากขึ้น รู้จักเปรียบเทียบ วิเคราะห์วิจัย ใช้เหตุผล ซึ่งมีประโยชน์มากในชีวิตประจำวัน แต่โทษที่อาจเกิดขึ้นก็คือ ผู้รู้มากมักสงสัยมาก นักปฏิบัติพวกนี้ตกเป็นเหยื่อของนิวรณ์ตัวนี้ จึงเป็นนักภาวนาจับจด ไม่เอาจริงเอาจัง หลวงพ่อเปรียบเทียบเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าฟัง คือ

“ผลไม้หนึ่งผล รสผลไม้มันหวาน เราก็รู้จัก มันหอมเราก็รู้จัก รู้จักทุกอย่าง แต่ว่ามันขาดอยู่อย่างหนึ่ง คือไม่รู้จักชื่อของผลไม้ว่าชื่ออะไร สิ่งนี้ก็เหมือนกัน ไม่ใช่ของจำเป็นอะไรหรอก ถ้าเรารู้จักว่าผลไม้ชื่ออะไร มันก็ไม่เพิ่มความหวานขึ้นมาอีก รสชาติก็ยังเหมือนเดิมอยู่ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงเหตุที่ควรจะรู้ก็ให้รู้ เหตุที่ไม่ควรจะรู้ก็ไม่ต้องรู้ ไม่รู้ชื่อของมันก็ไม่เป็นไร รสของมันเรารู้แล้ว...เรื่องชื่อก็ไม่จำเป็นเท่าไร ถ้ามีใครมาบอกก็รับไว้ แต่ถ้าไม่มีใครมาบอกก็อย่าเดือดร้อน

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTrPLZPdcFnzrpSK3LvRQlcU6o-4fGp5uttY4mrhIK6S9uy4g3nOg)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 00:51:41

(http://i271.photobucket.com/albums/jj142/paobunjin/1_display9.jpg)

๐ หลักธรรมสำคัญในการปฏิบัติ

พระอาจารย์เที่ยงได้วิเคราะห์สรุปหัวข้อธรรมะที่ท่านเห็นว่า เป็นหัวใจของคำสอนของหลวงพ่อ มี ๒ อย่าง คือ

๑. เน้นสติ

“เรื่องแรก ท่านก็บอกให้ตั้งสตินี่แหละให้คงที่ สตินี้ให้ติดต่อ สตินี้อย่าให้หลง อย่าให้เผลอ อย่าให้ขาด ท่านถึงได้บอกว่าธรรมะของท่านไม่มีเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องสั้น เบื้องยาวอะไร ท่านบอกว่า คล้ายๆ กับว่า ลูกมะพร้าวที่ผมปั้นกลมๆ ให้เป็นลูกอย่างนี้ ท่านให้ตั้งสติ ให้ปลูกศรัทธาความเชื่อ น้อมถึงพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถึงแม้ตัวท่านเองก็เคารพจริงๆ และสอนให้เราเคารพจริงๆ ตั้งจิตใจ มีสติ การตั้งสตินี้ ถึงแม้กราบก็ให้มีสติ ไม่ได้กราบก็ให้มีสติ ท่านบอกว่าถ้าเราเผลอไป หลงไป สติของเราก็ไม่ดี มันต้องบกพร่องอะไรอย่างหนึ่ง เมื่อจิตใจของเราไม่สงบ มันฟุ้งซ่าน จิตใจไม่เยือกเย็น ไม่ปกติ มันต้องมีสิ่งหนึ่งของเราที่มันผิดหรือจะต้องขาดสติ...

...ถ้าขาดสติจะไปทำกรรมฐานอะไร จะไปนั่งสมาธิอะไร ไปทำความบริสุทธิ์อะไร มันก็ไม่เป็นหรอก ต้องเรื่องสตินั่นแหละสำคัญ ความเยือกเย็นก็เกิดอยู่ที่สติ ความสงบก็เกิดอยู่ที่สติ ความสบายภายในภายนอกก็อยู่ที่สติ ธรรมวินัย ข้อปฏิบัติทั้งหลายทั้งปวงก็อยู่ที่สติ เราไม่มีสติจะเอาอะไรมารู้ ท่านสอนหลักความจริงของท่านอย่างนี้”

๒. ละทิฏฐิ

“เป็นพระเป็นเณร อย่าไปถือตนถือเขาถือเรา ถือชาติถือตระกูลอะไรกันไม่ได้ มันไม่เป็นศีลธรรม ปฏิบัติไม่เห็น เราต้องปล่อยทิ้งจริงๆ มุ่งละทิฏฐิมานะเท่านั้น ท่านไม่ให้มีทิฏฐิมานะ เป็นพระเป็นเณรอยู่ด้วยกัน อย่าไปเอาเรื่องเอาราวอะไรกันมากนัก ถือว่าเหมือนกันคล้ายกัน อย่าไปคิดเอาผิดเอาถูกกันอย่างนั้นอย่างนี้ การพูดว่ากันมันเป็นเรื่องธรรมดา คนเราเวลาผิดก็เรื่องของความผิด ก็ทิ้งมันไป อย่าไปยึดผิดยึดถูก ถ้าเราไปยึดมันก็ไม่ถูกธรรมวินัย ถ้าเราถูกมันไม่เป็นอย่างนั้นหรอก แต่นี่มันเป็นทั้งธรรมทั้งวินัยน่ะแหละ ถ้าเราไปยึดเสียแล้ว อย่าไปสอน รักษาวินัยเป็นอย่างนี้ ธรรมปัจจุบันเป็นอย่างนี้ มันไม่เป็นทั้งธรรมทั้งวินัยน่ะแหละ ยึดไม่เป็นธรรมก็ได้ ยึดไม่เป็นวินัยก็ได้ มันผิดทั้งนั้น

ถ้าถูกวินัยมันก็ถูกธรรม ปฏิบัติวินัยมันก็ปฏิบัติธรรมนั่นแหละ ท่านพูดคล้ายๆ กับว่ามันเป็นทางที่เนื่องกันไป ธรรมกับวินัยท่านไม่แยก ก็เหมือนอย่างที่ท่านสอนให้รักษาศีลธรรมนั่นแหละ ไม่ถูกศีลมันจะเป็นธรรมได้ยังไง หลักของท่าน ท่านสอนให้เนื่องกันไป ถ้ามันถูกแล้ว เราไม่ต้องไปคิดให้มากหรอก อย่างมรรค ๘ ที่ท่านสอนว่าปัญญาชอบน่ะ สิ่งที่ถูกก็ชอบเท่านั้นแหละ มันถูกทั้งหมดน่ะแหละ ที่ท่านเขียนเอาไว้ ท่านสอนเนื่องกันไปอย่างนี้ ท่านถึงได้บอกว่าธรรมของผมนี่ไม่มีสั้นมียาวนะ มันปั้นเข้าไปกลมๆ เหมือนผลส้มโอหรือมะพร้าว”

วัตรปฏิบัติของหลวงพ่อเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญว่า เป็นสิ่งที่จะเป็นตะแกรงร่อนคนได้ ดังนั้น แม้ท่านจะถูกการเสนอให้ได้รับการยกเว้นวัตรให้ ท่านก็ไม่ยอมรับ เพราะได้เห็นประโยชน์อันใหญ่หลวงนี้เอง วัตรปฏิบัติของท่านและลูกศิษย์จึงดำเนินไปอย่างเข้มข้นไม่มีย่อหย่อนยกเว้น ไม่ว่ากรณีใดๆ

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQUyC271mWgXnSxjR5kfSyT3Dmkt-hSE1NNT-Zx9fUVjpuKu4OFcQ)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 00:56:33

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/458/16458/images/LOTUS.jpg)


๐ แนวทางการเผยแผ่พระศาสนา

หลวงพ่อท่านเน้นนักหนาให้พระภิกษุสามเณร ต้องอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เอาจริงเอาจัง จะหละหลวมย่อหย่อนแม้แต่นิดเดียวก็ไม่ได้ วิถีทางแห่งนักปฏิบัติไม่ใช่วิถีทางที่สะดวกสบายตามใจกิเลส พระอาจารย์เที่ยง ได้ปรารภถึงความเอาจริงเอาจังของหลวงพ่อว่า

“หลวงพ่อท่านสอนยังไงต้องทำอย่างนั้น แต่ก่อนถ้าเดินต้องเดิน ไม่เดินไม่ได้ ถ้านั่งต้องนั่ง ลุกไม่ได้ ไม่ใช่พูดเล่นนะ ท่านพูดเล่นไม่เป็น ไม่ทำไม่ได้ ถ้าท่านเห็นต้องเรียกมาด่า เณรท่านก็ด่า พระก็ด่า เรียกประชุมเลย...จะไปนั่งเล่นที่โน่นที่นี่ ผลุบเข้าผลุบออกไม่ได้ ถามทันที ไปทำไม...มีคนไปปัสสาวะเป็นชั่วโมง คราวหลังจะไปปัสสาวะมาบอกผมนะ ผมจะไปดูด้วย

เพราะฉะนั้น จะไม่กลัวก็ไม่ได้ ไม่อยากทำก็ไม่ได้ เพราะท่านไม่ได้พูดเล่น ไม่ได้ปล่อยตามเรื่องตามราว ทางเดินจงกรมไม่มีก็ไม่ได้ ลานวัดไม่กวาดก็ไม่ได้ ข้ามวันหรือ ๒ วันไม่ได้ …กระดิกตัวไม่ได้เลย เล่นเหลาะแหละไม่ได้ ถ้าสั่งเลิกประชุม ปล่อยให้ทำความเพียรภาวนาตามลำพัง เห็นพระเณรเดินไปเดินมาเอาแล้ว คุณ คุณ ออกมาเพ่นพ่านอะไรอีกล่ะ ตาไวจริงๆ ไม่ปล่อยเลย นิดเดียวก็ไม่ปล่อย ถ้าให้เดิน ไม่เดินก็ไม่ได้ ถ้าเลิกแล้ว อยู่ก็ไม่ได้ เดี๋ยวเกิดเรื่อง พอเลิกต้องไปทันที แต่ถ้าไม่เลิกจะหนีไปไม่ได้ เป็นอะไรต้องบอก”

พระอาจารย์เอนกได้พูดถึงหลวงพ่อในแง่เดียวกันนี้ว่า

“...ภิกษุสามเณรจึงพากันกลัวนักกลัวหนา กลัวจะได้ฟังเทศน์กัณฑ์ใหญ่ มักพูดตักเตือนหมู่คณะเดี่ยวกันอยู่เสมอ ถ้าท่านรู้ว่าใครทำอะไรผิดขึ้นมา ท่านไม่ยอมปล่อยให้ข้ามวันข้ามคือเลย เรียกตัวมาอบรม หรือไม่ก็อบรมเป็นส่วนรวมเลย ท่านเข้มงวดกวดขันอยู่เสมอ ใครจะทำอะไรหรือมีกิจอะไรจำเป็นขนาดไหนก็ตาม ต้องไปกราบเรียนท่านเสียก่อนจึงจะทำได้ จะทำอะไรไปโดยพลการไม่ได้ ถ้าท่านรู้เป็นต้องได้ฟังเทศน์กัณฑ์ใหญ่แน่นอนทีเดียว

ใครไม่มาทำวัตรหรือมาทำวัตรไม่ทัน ช้าไป ๕ นาทีหรือ ๑๐ นาทีเป็นไม่ได้เลย เวลาเดินเข้าไปในบริเวณศาลา ก็ต้องเดินเบาที่สุดจนแทบไม่มีเสียง ใครเดินเสียงดังไม่ได้ เดี๋ยวโดนดุ เพราะมันรบกวนสมาธิของบุคคลอื่นที่ท่านนั่งอยู่ก่อนแล้ว มันจะเป็นบาปเป็นกรรมและเสียมารยาทของนักปฏิบัติ อีกทั้งยังขาดสติสัมปชัญญะ ไม่สำรวมอายตนะ เป็นเรื่องเสียหายมากสำหรับนักปฏิบัติเรา ท่านว่าอย่างนั้น...”

ลักษณะวิธีการสอนแบบตามจี้ตลอดของท่านนี้ อาจดูว่าจู้จี้เกินไป คงไม่เป็นที่น่าพอใจนักสำหรับคนที่ไม่ได้ตั้งใจเพื่อไปปฏิบัติขัดเกลาตน
แต่การสอนลักษณะเดียวกันนี้ก็คือวิธีการสอนที่พระพุทธองค์ทรงใช้มาแล้ว โดยพิจารณาได้จากพุทธพจน์ว่า

น เต อหํ อานนฺท ตถา ปรกฺกมิสฺสามิ
อานนท์ เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม

ยถา กุมฺภกาโร อามเก อามกมตฺเต
เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อที่ยังเปียกยังดิบอยู่

นิคฺคยฺหนิคฺคยฺหาหํ อานนฺท วกฺขามิ
อานนท์ เราจักขนาบแล้วขนาบอีก ไม่มีหยุด

ปวยฺหปวยฺหาหํ อานนฺท วกฺขามิ
อานนท์ เราจักชี้โทษแล้วชี้โทษอีก ไม่มีหยุด

โย สาโร โส ฐสฺสติ
ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้

นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช.

คนเรา ควรมองผู้มีปัญญาใดๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไป
ว่าคนนั้นแหละคือผู้ชี้ขุมทรัพย์ละ ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น

ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย.
เมื่อคบหาบัณฑิตชนิดนั้นอยู่ ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย

เพราะฉะนั้น พระภิกษุสามเณรผู้ตั้งใจที่จะปฏิบัติจริงๆ จึงน้อมรับวิธีการของท่านด้วยความยินดียิ่ง และไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมลูกศิษย์ลูกหาของท่านซึ่งได้ผ่านการอบรมจากสำนักแห่งนี้ จึงมีภูมิธรรมอันสามารถในการคุ้มครองตนได้อย่างแข็งแกร่ง อีกทั้งยังแผ่ขยายสู่เหล่าพุทธบริษัททั้งหลายได้อย่างถ้วนทั่ว


(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/308/20308/blog_entry1/blog/2008-08-28/comment/307952_images/128_1223188780.gif)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 01:01:03

(http://ih0.redbubble.net/work.2971608.3.flat,550x550,075,f.sun-setting-on-a-louisiana-rice-field.jpg)

๐ ภาษาคน ภาษาธรรม

เป็นที่น่าแปลกใจว่า บุคคลผู้มีความรู้ทางโลกเพียงแค่ ป.๑ อย่างหลวงพ่อ ทำไม่จึงมีลูกศิษย์ลูกหาชาวต่างประเทศ ที่อุทิศตนเป็นพุทธสาวกอย่างจริงจังจำนวนมากขนาดนั้น และลูกศิษย์ชาวตะวันตกของหลวงพ่อยังได้เป็นตัวแทนที่เข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้กว้างไกลออกไปยังต่างประเทศด้วย

เกี่ยวกับเรื่องการสอนพระชาวต่างประเทศนี้นี้ มีคนตั้งคำถามกับหลวงพ่อหลายครั้งหลายครา ทำนองว่า ท่านพูดภาษาฝรั่งไม่ได้ แล้วเขาก็พูดภาษาเราไม่ได้ แล้วท่านสอนเขาอย่างไร หลวงพ่อตอบในเชิงถามย้อนว่า

“ที่บ้านโยมมีสัตว์เลี้ยงไหม ? อย่างหมาแม่ หรือวัวควายอย่างนี้ เวลาพูดกับมัน โยมต้องรู้ภาษาของมันด้วยหรือเปล่า ? ” หรือไม่ก็ตอบอย่างคมคายว่า

น้ำร้อนก็มี น้ำฮ้อนก็มี ฮอทวอเตอร์ก็มี มันเป็นแต่ชื่อภายนอก ถ้าเอามือจุ่มลงไปก็ไม่ต้องใช้ภาษาหรอก คนชาติไหนก็รู้ได้เอง” เป็นต้น

เคล็ดลับในการสอนของหลวงพ่อ ก็คือท่านสอนด้วยการกระทำ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาอะไรมาก ท่านบอกว่า ถึงแม้มีลูกศิษย์เมืองนอกมาอยู่ด้วยมากๆ อย่างนี้ ก็ไม่ได้เทศน์ให้เขาฟังมากนัก พาเขาทำเอาเลย ทำดีได้ดี ถ้าทำไม่ดีก็ได้ของไม่ดี พาเขาทำดู เมื่อเขาทำจริงๆ เขาจึงได้ดีไป เขาก็เลยเชื่อ ไม่ใช่มาอ่านหนังสือเท่านั้น ทำจริงๆ จังๆ สิ่งใดไม่ดีก็ละมัน อันไหนไม่ดีก็เลิกมันเสีย มันก็เป็นความดีขึ้นมา

การสอนแบบ “พาเขาทำเอาเลย” นี้ บางทีหลวงพ่อก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า “ไม่ยากหรอก ดึงไปดึงมาเหมือนควาย เดี๋ยวมันก็เป็นเท่านั้นล่ะ” และที่หลวงพ่อนำมาใช้ผลได้เป็นอย่างดีนี้ ก็เพราะเป็นธรรมชาติ เป็นสิ่งที่หลวงพ่อท่านทำอยู่แล้วปฏิบัติอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นลูกศิษย์ถิ่นไหนชาติไหน ท่านก็สอนด้วยการพาทำเอาเลยมาแต่เดิมอยู่แล้ว ดังนั้นวิธีการสอนของท่านแบบนี้จึงเป็นไปอย่างธรรมชาติและสมบูรณ์ ในตัว

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ1UMLBoMFq1aAZOaB8hJlQw0O3nILjN7eZEdRVzp1IZSxCWtML)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 01:07:36

(http://www.watsriwanaram.com/images/webboards/976a4a4f771b609f4059b43ec6d636df.jpg)

๐ สตรี

เกี่ยวกับเรื่องสตรี หลวงพ่อท่านจะเข้มงวดเอากับลูกศิษย์ของท่านมาก เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า กามราคะ เป็นมารตัวสำคัญที่ทำให้พระต้องสึกหาลาเพศ เป็นอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ต่อการประพฤติปฏิบัติ ในพระวินัยบัญญัติก็มีหลายสิกขาบทที่วางหลักไว้อย่างเข้มงวด เพื่อกำกับการติดต่อกับมาตุคาม ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะสายเกินแก้

การที่ท่านเข้มงวดกับเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ ก็เนื่องจากว่าท่านเคยต้องผจญกับพญามารตัวนี้มาแล้วอย่างยากลำบาก อย่างที่ท่านเล่าไว้ เมื่อไปจำพรรษากับท่านอาจารย์กินรี กามราคะก็เล่นงานท่านอย่างรุนแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ขณะที่มีความเพียรปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ในวาระหนึ่งกามราคะก็เข้ามารุมเร้าอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ หรืออยู่ในอิริยาบถก็ใดก็ตาม ปรากฏว่ามีอวัยวะเพศของผู้หญิงลอยปรากฏเต็มไปหมด เกิดความรู้สึกรุนแรงจนแทนทำความเพียรไม่ได้ ต้องอดทนต่อสู้กับความรู้สึกและนิมิตเหล่านั้นอย่างลำบากยากเย็น หลวงพ่อเล่าว่า ความรู้สึกต่อกามราคะในครั้งนั้นย่ำยีจิตใจรุนแรงพอๆ กับความกลัวที่เกิดขึ้นในคราวที่ไปป่าช้าครั้งแรก เดินจงกรมก็ไม่ได้ เพราะองค์กำเนิดถูกผ้าเข้าก็มีอาการไหวตัว ต้องให้เข้าไปทำที่จงกรมในป่าทึบเพื่อเดินเฉพาะในเวลาค่ำมืด และเวลาเดินต้องถลกสบงพันเอวไว้ การต่อสู้กับกามราคะเป็นไปอย่างทรหดอดทน ขับเคี่ยวกันอยู่นานถึง ๑๐ วัน ความรู้สึกและนิมิตเหล่านั้นจึงสงบและขาดหายไป

เนื่องด้วยเรื่องนี้ หลวงพ่อเห็นว่าเป็นคติธรรมที่ดี โดยเฉพาะแก่พระหนุ่มวัยฉกรรจ์ เมื่อลูกศิษย์ทำการรวบรวมชีวประวัติของท่าน ก็รู้สึกไม่แน่ใจว่าสมควรจะเผยแผ่ต่อสาธารณชนหรือไม่ แต่หลวงพ่อก็ได้กำชับว่า

“ต้องเอาลง ถ้าไม่เอาตอนนี้ในหนังสือด้วย ก็ไม่ต้องพิมพ์ประวัติเลย”

หลวงพ่อเองก็ระวังตัวมาก ใต้ถุนกุฏิท่านซึ่งใช้เป็นที่รับแขกก็โล่ง ถ้ามีแขกผู้หญิงมา ต้องมีพระหรือเณร หรือโยมผู้ชายเป็นพยานรู้เห็นสิ่งที่หลวงพ่อสนทนากับผู้หญิงนั้นด้วย และท่านก็เตือนพระภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า “ระวังเถอะผู้หญิง อย่าไปใกล้มัน ไม่ใช่ใกล้ไม่ใช่ไกล แค่สายตาไปผ่านพริบเท่านั้นแหละ มันเป็นพิษเลย

ท่านกล่าวอธิบายพุทธพจน์ เกี่ยวกับเรื่องที่พระอานนท์ถามพระพุทธเจ้าในเรื่องการติดต่อกับผู้หญิง ว่า ไม่ให้เห็นดีกว่า ถ้าเหตุจะต้องเห็นมีอยู่ ก็ไม่ต้องพูดด้วย เหตุจะต้องพูดมีอยู่จะทำยังไง ต้องมีสติให้มาก นี่คือการปฏิบัติต่อสตรีเพศ


(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSXRWQb12MatsZvrfdm2W_kSWqwx3c3ShSKQy12vm71ByixM6WT5w)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 01:11:44

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/711/35711/images/lens/heartofgold.jpg)

๐ การตอบปัญหา

การตอบปัญหาของหลวงพ่อนั้น ท่านพยายามหาคำที่เข้าใจง่ายๆ คำพูดที่ชาวบ้านเขาใช้กันรู้จักกันดีนั้นแหละเป็นสื่อ และถ้าเป็นปัญหาที่ถามเพราะสงสัยอยากรู้เฉยๆ ท่านจะตอบแบบตัดปัญหา คือจะตอบแบบสั้นๆ ไม่อธิบายให้ยืดยาว เพราะการตอบปัญหาคนพวกนี้ ถ้าอธิบายมากย่อมไม่อาจจบลงได้ง่ายๆ แต่ถ้าเป็นข้อสงสัยในเรื่องของการปฏิบัติ ท่านจึงจะพยายามอธิบายจนผู้ถามหายสงสัยเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป

เคยมีคนถามเรื่องปฏิจจสมุปบาท (คนที่ถามปัญหาแบบนี้ ไม่ต้องสงสัยว่าจะต้องเป็นผู้ทรงภูมิความรู้ในด้านปริยัติอย่างมากทีเดียว) ท่านตอบว่า

“คุณเคยตกต้นไม้ไหม พอมือหลุดจากที่ มันจะไปถึงพื้น มันจะไปถึงทุกข์ วาระจิตจากนี้มาจะไม่รู้เลย อันนี้เราลืมหมดเลย ไม่มีสติในช่วงนี้ นั่นมันเร็วถึงขนาดนั้น มันไปถึงทุกข์นี้ ทุกข์มันจะเกิดได้เพราะเหตุนี้ เรียกว่า อิทัปปัจจยตา...”

อีกตัวอย่างหนึ่ง คนที่นับถือพระเจ้าไม่ยอมรับคำสอนเรื่องอนัตตา ของศาสนาพุทธ เหตุผลของเขา ก็คือ “จะเอาอะไรมารู้อนัตตาเล่า ถ้าไม่ใช่อัตตา” จึงมีชาวคริสต์ถามหลวงพ่อว่า “ใครรู้อนัตตา

หลวงพ่อจึงตอบกลับไปแบบปฏิปุจฉาพยากรณ์ว่า “แล้วใครรู้อัตตา

ต่อคำตอบนี้ คนถามถึงกลับนิ่งอึ้งไป เพราะไม่คาดคิดว่าจะโดนย้อมถามแบบนั้น และการย้อนถามดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงภูมิธรรมของผู้ตอบด้วย ถ้าถามต่อไปอีกก็มีแต่จะเพลี่ยงพล้ำเป็นแน่

การตอบปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ควรจะต้องพูดถึงในที่นี้ ก็คือท่าทีต่ออัพยากตปัญหา หรือปัญหาอันไม่ทรงพยากรณ์ ซึ่งท่านก็วางตัวได้เหมาะเสมอย่างยิ่งกับการต้องตอบปัญหาดังกล่าว เพราะท่านไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เลย เหมือนไม่สนใจ ท่านไม่กล่าวถึง ถ้ามีคนไปถามเรื่องนี้ท่านก็จะตัดบท หรือพูดชักนำออกไปในเรื่องของการประพฤติปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์เสีย ตัวอย่างเช่นครั้งหนึ่งมีคนไปถามท่านว่า

“เขาว่าหลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ เป็นจริงเหาะได้หรือเปล่า”
หลวงพ่อตอบได้อย่างน่าชม โดยทำให้เรื่องเหาะเป็นเรื่องน่าขันไปเสียว่า
“เรื่องเหาะเรื่องบินนี่ไม่สำคัญหรอก แมงกุดจี่มันก็บินได้”

มีครูคนหนึ่งถามท่านเกี่ยวกับการเหาะเหินเดินอากาศ ของพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล ซึ่งเคยอ่านพบว่าเป็นความจริงหรือไม่ ท่านตอบง่ายๆ ว่า

“ถามไกลตัวเกินไปแล้วล่ะครู มาพูดถึงตอสั้นๆ ที่จะตำเท้าเรานี่ดีกว่า”

หรือ เคยมีโยมถามเกี่ยวกับชาติหน้ามีจริงหรือไม่ หลวงพ่อได้ให้คำตอบไว้ค่อนข้างชัดเจนดังนี้

โยม “ชาติหน้ามีจริงไหมครับ ?”
หลวงพ่อ “ถ้าบอกจะเชื่อไหมล่ะ ?”
โยม “เชื่อครับ”
หลวงพ่อ “ถ้าเชื่อคุณก็โง่”
คำพูดดังกล่าวของหลวงพ่อเล่นเอาคนถามงง ไม่รู้จะพูดอะไรต่อ

“หลายคนถามอาตมาเรื่องนี้ อาตมาก็ถามเขาอย่างนี้เหมือนกันว่า ถ้าบอกแล้วจะเชื่อไหม ถ้าเชื่อก็โง่ เพราะอะไร ? ก็เพราะมันไม่มีหลักฐานพยานอะไรที่จะหยิบมาให้ดูได้ ที่คุณเชื่อเพราะคุณเชื่อตามเขา คนเขาว่าอย่างไร คุณก็เชื่ออย่างนั้น คุณไม่รู้ชัดด้วยปัญญาของคุณเอง คุณก็โง่อยู่ร่ำไป ทีนี้ถ้าอาตมาตอบว่า คนตายแล้วเกิดหรือว่าชาติหน้ามี อันนี้คุณต้องถามต่อไปอีกว่า ถ้ามีพาผมไปดูหน่อยได้ไหม เรื่องมันเป็นอย่างนี้ มันหาที่จบลงไม่ได้ เป็นเหตุให้ทะเลาะทุ่มเถียงกันไปไม่มีที่สิ้นสุด

ทีนี้ ถ้าคุณถามว่าชาติหน้ามีไหม อาตมาก็ถามว่า พรุ่งนี้มีไหม ถ้ามีพาไปดูได้ไหม อย่างนี้คุณก็พาไปดูไม่ได้ ถึงแม้ว่าพรุ่งนี้จะมีอยู่ แต่ก็พาไปดูไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น ถ้าวันนี้มี พรุ่งนี้ก็ต้องมี แต่สิ่งนี้มันเป็นของที่จะหยิบยกมาเป็นวัตถุตัวตนให้เห็นไม่ได้

ความจริงแล้ว พระพุทธองค์ท่านไม่ให้เราตามไปดูถึงขนาดนั้น ไม่ต้องสงสัยว่า ชาติหน้ามีหรือไม่มี ไม่ต้องถามว่า คนตายแล้วจะเกิดหรือไม่เกิด อันนั้นมันไม่ใช่ปัญหา มันไม่ใช่หน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราคือ เราจะต้องรู้เรื่องราวของตนเองในปัจจุบัน เราต้องรู้ว่า เรามีทุกข์ไหม ถ้าทุกข์ มันทุกข์เพราะอะไร นี้คือสิ่งที่เราต้องรู้ และเป็นหน้าที่โดยตรงที่เราจะต้องรู้ด้วย พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราถือเอาปัจจุบันเป็นเหตุของทุกอย่าง เพราะว่าปัจจุบันเป็นเหตุของอนาคต คือถ้าวันนี้ผ่านไป วันพรุ่งนี้มันก็กลายมาเป็นวันนี้ นี่เรียกว่าอนาคตคือพรุ่งนี้ มันจะมีได้ก็เพราะวันนี้เป็นเหตุ ทีนี้อดีตก็เป็นไปจากปัจจุบัน หมายความว่า ถ้าวันนี้ผ่านไป มันก็กลายเป็นเมื่อวานเสียแล้ว นี่คือเหตุที่มันเกี่ยวเนื่องกันอยู่ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้เราพิจารณาเหตุทั้งหลายในปัจจุบัน เท่านี้ก็พอแล้ว ถ้าปัจจุบันเราสร้างเหตุไว้ดี อนาคตมันก็จะดีด้วย อดีตคือวันนี้ที่ผ่านไป มันย่อมดีด้วย และที่สำคัญที่สุดคือ ถ้าเราหมดทุกข์ได้ในปัจจุบันนี้แล้ว อนาคตคือชาติหน้าก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดถึง

รูปแบบการสอนของหลวงพ่อ สอดคล้องสมดุลเป็นอย่างยิ่งกับข้อวัตรปฏิบัติของท่าน กล่าวคือการยึดเอาหลักความถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัยเป็นหลักเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังเน้นความเป็นพระเอาไว้ว่าต้องทรงวินัยอย่างเคร่งครัด เพราะวินัยเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติในจุดที่สูงขึ้นไป และในความเป็นพระนั้นต้องประกอบเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาไว้เป็นอารมณ์เสมอด้วย


(http://www.dhammada.net/wp-content/uploads/2010/11/Lotus_by_zloizloi-300x232.jpg)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 01:16:29

(http://www.baliclifftopvilla.com/img_villa/Mana%20-%20Swimming%20Pool%20and%20Ricefield%20View%20at%20Sunset.jpg)

๐ การปกครองและนิกาย

เรื่องข้องใจต่อความเป็นนิกายนี้ หลวงพ่อเคยสงสัยและก็ได้รับความกระจ่างจากหลวงปู่มั่นมาแล้ว หลังจากนั้นท่านก็ไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องนี้ แต่พอได้เป็นเจ้าอาวาสวัดใหญ่ที่มีพระภิกษุสามเณรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีปัญหาเรื่องนี้ให้หลวงพ่อต้องสะสาง

ครั้งหนึ่ง มีพระสายธรรมยุติมาขอจำพรรษาที่วัดหนองป่าพง หลวงพ่อได้ถามความเห็นของที่ประชุมสงฆ์ว่า จะรับให้พระอาคันตุกะเข้าร่วมลงอุโบสถด้วยหรือไม่ ซึ่งพระส่วนมากก็ลงความเห็นว่าไม่ควร ด้วยเหตุผลว่า “ทางฝ่ายเขาก็ปฏิเสธฝ่ายเราอยู่” หลวงพ่อได้ให้เหตุผลแย้งที่ประชุมด้วยมุมมองที่เฉียบคมอย่างยิ่งว่า

“การทำอย่างนั้นมันก็ดีอยู่ แต่มันยังไม่เป็นธรรมเป็นวินัย มันยังเป็นทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ มีความถือเนื้อถือตัวมาก มันไม่สบาย เอาอย่างพระพุทธเจ้าจะได้ไหม คือเราไม่ถือธรรมยุติไม่ถือมหานิกาย แต่เราถือพระธรรมพระวินัย ถ้าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจะเป็นธรรมยุติหรือมหานิกายก็ให้ลงได้ ถ้าไม่ดี ไม่มีความละอายต่อบาป ถึงเป็นธรรมยุติก็ไม่ให้ร่วม เป็นมหานิกายก็ไม่ให้ร่วม ถ้าเราเอาอย่างนี้ก็จะถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติ

จากแนวคิดที่ยึดพระธรรมวินัยหรือความถูกต้องเป็นใหญ่นี้ ถือได้ว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่จะต้องถือเอาเป็นตัวอย่างทีเดียว และนี่ก็คือการปกครองที่เรียกกันว่าธรรมาธิปไตย ซึ่งเป็นระบบที่นักปกครองทั้งหลายต้องหยิบยกขึ้นมาขบคิดกัน


(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTYwpL7aUahzN10wPgUVAz4xZf0SigQx9TxRe24IXtTqq9dxuOE)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2554 08:56:54

(http://www.vcharkarn.com/uploads/138/138590.jpg)

๐ ธรรมาธิปไตย

ในยุคที่ประชาธิปไตยเฟื่องฟู ใครๆ ก็มักเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองที่เหมาะสมที่สุดและยุติธรรมที่สุด อาจจะเป็นระบบที่สามารถประสานผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ ในสังคมได้ดีกว่าระบบอื่นๆ แต่สำหรับชุมชนนักบวชที่เรียกว่า สงฆ์ นั้น มีความแตกต่างจากชุมชนอื่นๆ ในสังคมมนุษย์อยู่หลายประการ ด้วยเหตุที่เป็นชุมชนอิสระ ไม่ขึ้นกับระบบและทั้งไม่ยุ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ต่างๆ ในสังคม ทั้งสมาชิกของชุมชนไม่รับผลประโยชน์จากการทำงานของตน แต่เป็นอยู่ด้วยปัจจัยเฉพาะที่เกื้อกูลแก่การประพฤติปฏิบัติ ที่คนในสังคมอุทิศถวายด้วยศรัทธาเท่านั้น ฉะนั้น ในวัดหรือในชุมชนสงฆ์จึงไม่มีกลุ่มผลประโยชน์ และที่สำคัญสมาชิกทุกคนของชุมชนอยู่ด้วยความสมัครใจ ด้วยจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน คือการปฏิบัติเพื่อพ้นจากความทุกข์ ทุกคนเต็มใจประพฤติตามกฎระเบียบของสงฆ์ด้วยความพอใจ และมีสิทธิที่จะออกจากการเป็นสมาชิกของชุมชน (ลาสิกขา) เมื่อไรก็ได้

เมื่อโครงสร้างของสังคมสงฆ์อยู่ในลักษณะนี้ ตราบใดที่ผู้บริหารปกครองหมู่คณะตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ที่เรียกว่าปกครองโดยชอบธรรม หรือด้วยระบบธรรมาธิปไตยแล้ว ท่านก็ไม่จำเป็นต้องฟังเสียงข้างมากเสมอไป และการที่ลูกศิษย์มาขออาศัยในอาวาสก็ได้มอบฉันทะไว้กับท่านเจ้าอาวาสด้วยศรัทธาในสติปัญญา จึงต้องยอมรับการตัดสินของท่าน เสมือนหนึ่งลูกยอมอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ฉันนั้น

อย่างไรก็ตาม พระภิกษุสามเณรทุกๆ รูป รวมทั้งเจ้าอาวาส ต้องปวารณาตัวไว้กับสงฆ์ว่า ถ้ามีการกระทำที่ไม่เหมาะสมด้วยประการใดก็ตาม ทุกรูปพร้อมที่จะรับฟังคำตักเตือนว่ากล่าวอยู่เสมอ และการประชุมสงฆ์อยู่เนืองนิตย์ก็เป็นโอกาสที่พระทุกรูป จะได้ยกปัญหาที่เกิดขึ้นมาปรึกษาพระสงฆ์

สรุปได้ว่า สงฆ์ต้องเป็นใหญ่ในกิจทั้งปวง แต่ต้องไม่ใช่พวกมากลากไป กรณีตัวอย่างของระบบธรรมาธิปไตยที่ชัดเจนที่สุดคือ กรณีที่มีโยมมาขอถวายรถยนต์แก่วัด

วันหนึ่ง หลังจากประชุมสวดปาฏิโมกข์แล้ว ก็เป็นโอกาสที่ได้พูดคุยปรึกษาหารือกันตามธรรมเนียม หลวงพ่อได้เล่าเรื่องที่มีโยมมาขอถวายรถยนต์ ซึ่งท่านยังมิได้ให้คำตอบแก่เขาว่าจะรับหรือไม่ และได้ถามความเห็นที่ประชุมสงฆ์ พระสงฆ์ทุกรูปต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะรับ ด้วยเหตุผลที่ว่าจะสะดวกเวลาที่หลวงพ่อจะไปเยี่ยมสำนักสาขาต่างๆ ซึ่งมีมากมายกว่า ๔๐ สาขา อีกทั้งเวลาพระเณรอาพาธเจ็บป่วยก็จะได้นำส่งหมอได้ทันท่วงที หลวงพ่อรับฟังข้อเสนอของบรรดาสานุศิษย์อย่างสงบ ในที่สุดท่านก็ได้ให้โอวาทแก่ที่ประชุมว่า

“สำหรับผมมีความเห็นไม่เหมือนกับพวกท่าน ผมเห็นว่าเราเป็นพระ เป็นสมณะ คือผู้สงบระงับ เราต้องเป็นคนมักน้อย สันโดษ เวลาเช้าเราอุ้มบาตรออกไปเที่ยวบิณฑบาต รับอาหารจากาชาวบ้านมาเลี้ยงชีวิตเพื่อยังอัตภาพนี้ให้เป็นไป ชาวบ้านส่วนมากเขาเป็นคนยากจน เรารับอาหารมาจากเขา เรามีรถยนต์ แต่เขาไม่มี นี่ลองคิดดูซิว่า มันจะเป็นอย่างไร เราอยู่ในฐานะอย่างไร เราต้องรู้จักตัวเอง เราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าไม่มีรถ เราก็อย่ามีเลยดีกว่า ถ้ามี สักวันหนึ่งก็จะมีข่าวว่ารถวัดนั้นวัดนี้คว่ำที่นั่น รถวัดนี้ไปชนคนที่นี่...อะไรวุ่นวาย เป็นภาระยุ่งยากในการรักษาเมื่อก่อนนี้จะไปไหนแต่ละทีมีแต่เดินไปทั้งนั้น ไปธุดงค์สมัยก่อนไม่ได้นั่งรถไปเหมือนทุกวันนี้ ถ้าไปธุดงค์ก็ธุดงค์กันจริงๆ ขึ้นเขาลงห้วยมีแต่เดินทั้งนั้น เดินกันจนเท้าพองทีเดียว แต่ทุกวันนี้พระเณรเขาไปธุดงค์มีแต่นั่งรถกันทั้งนั้น เขาไปเที่ยวดูบ้านนั้นเมืองนี้กัน ผมเรียกว่า ทะลุดง ไม่ใช่ ธุดงค์ เพราะดงที่ไหนมีทะลุกันไปหมด นั่งรถทะลุมันเลย ไม่มีรถก็ช่างมันเถอะ ขอแต่ให้เราประพฤติปฏิบัติให้ดีเข้าไว้ก็แล้วกัน เทวดาเห็นเข้าก็เลื่อมใสศรัทธาเองหรอก ผมไม่รับรถยนต์ที่เขาจะเอามาถวายก็เพราะเหตุนี้ ยิ่งสบายเสียอีก ไม่ต้องเช็ดไม่ต้องล้างให้เหนื่อย ขอให้ท่านทั้งหลายจงจำไว้ อย่าเห็นแก่ความสะดวกสบายกันนักเลย

หลักธรรมาธิปไตย จึงไม่ยึดติดอยู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ยึดติดที่หัวหน้าชุมชน ไม่ยึดติดที่เสียงข้างมาก ไม่ยึดติดที่ธรรมเนียมประเพณี แต่ต้องยึดความถูกต้องดีงามเป็นหลักใหญ่ ซึ่งวัดค่าได้โดยการตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกับหลักพระธรรมวินัยหรือไม่ ถ้าเอนเอียงหรือบิดเบือนออกนอกกรอบแห่งพระธรรมวินัย ย่อมถือได้ว่าผิดหลักธรรมาธิปไตย แม้ว่าจะตรงกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ หรือตรงกับขนบธรรมเนียมค่านิยมของสังคมก็ตามที


(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR_4fVyl9NNtYlBnMcI4AXvPkMvqzleTW590_lFu1TVK0IFTOk6)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2554 09:03:14

(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-22.jpg)

๐ การปกครองคณะสงฆ์

ในการปกครองคณะสงฆ์นั้น หลวงพ่อได้ตั้งกติกาสำหรับใช้ภายในสำนักวัดหนองป่าพงโดยเฉพาะ มีทั้งหมด ๑๕ ข้อ คือ

๑. พระภิกษุสามเณรห้ามขอของจากคนที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา ห้ามติดต่อกับ คฤหัสถ์และนักบวชที่เป็นวิสภาคกับพระพุทะศาสนา

๒. ห้ามบอกและเรียนดิรัจฉานวิชา บอกเลข ทำน้ำมนต์ หมอยา หมอดู

๓. พระผู้มีพรรษาหย่อน ๕ พรรษา ห้ามเที่ยวไปแต่ลำพังตนเอง เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็น หรือมีอาจารย์ผู้สมควรติดตามไปด้วย

๔. เมื่อจะไปทำอะไร ให้ปรึกษาสงฆ์ หรือผู้เป็นประธานเสียก่อน เมื่อเห็นว่าเป็นธรรม เป็นวินัยแล้ว จึงทำ อย่าทำตามอำนาจของตน

๕. ให้ยินดีในเสนาสนะที่สงฆ์จัดให้และทำความสะอาดเก็บกวาดกุฏิและถนนเข้าออกให้สะดวก

๖. เมื่อกิจสงฆ์เกิดขึ้นให้พร้อมกันทำ เมื่อเลิกให้พร้อมกันเลิก อย่าทำตนให้เป็นที่รับ เกียจของหมู่คณะ คือเป็นผู้มีมายาสาไถย หลีกเลี่ยงแก้ตัว

๗. เมื่อบิณฑบาต เก็บบาตรล้างบาตร กวาดวัด ตักน้ำ สรงน้ำ จัดโรงฉัน ย้อมผ้า ฟัง เทศน์เหล่านี้ ห้ามคุยกัน พึงตั้งใจทำกิจนั้นจริงๆ

๘. เมื่อฉันเสร็จแล้ว ให้พร้อมกันเก็บกวาดโรงฉันเสียก่อน แล้วจึงกราบพระพร้อมกัน จึงนำบริขารของตนกลับกุฏิโดยความสงบ

๙. ให้ทำตนเป็นผู้มักน้อยในการพูด กิน นอน ร่าเริง จะเป็นผู้ตื่นอยู่ด้วยความเพียรและจงช่วยกันพยาบาลภิกษุสามเณรป่วย ด้วยความเมตตา

๑๐. ห้ามรับเงินและทอง และห้ามผู้อื่นเก็บไว้เพื่อตน ห้ามซื้อขาย แลกเปลี่ยน

๑๑. เมื่อเอกลาภเกิดขึ้นในหมู่สงฆ์ ให้เก็บไว้เป็นกองกลาง เมื่อท่านองค์ใดต้องการ ให้สงฆ์อนุมัติให้แก่ท่านองค์นั้นตามสมควร

๑๒. ห้ามคุยกันเป็นกลุ่มก้อน ทั้งกลางวันและกลางคืน ในที่ทั่วไปหรือในกุฏิ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ถึงกระนั้นก็อย่าให้เป็นผู้คลุกคลี หรือเอิกเกริก เฮฮา

๑๓. การรับและส่งจดหมาย เอกสาร หรือวัตถุต่างๆ ภายนอก ต้องแจ้งต่อสงฆ์ หรือผู้เป็นประธานสงฆ์ให้ทราบ เมื่อท่านเห็นสมควรแล้ว จึงรับส่งได้

๑๔. พระเณรผู้มุ่งเข้ามาปฏิบัติในสำนักนี้ เบื้องต้นต้องได้รับใบฝากจากอุปัชฌาย์อาจารย์ของตน และย้ายหนังสือสุทธิมาให้ถูกต้องเสียก่อน จึงจะใช้ได้

๑๕. พระเณรที่เป็นอาคันตุกะมาพักอาศัย ต้องนำหนังสือสุทธิแจ้งสงฆ์ หรือผู้เป็นประธานสงฆ์ในคืนแรก และมีกำหนดให้พักได้ไม่เกิน ๓ คืน เว้นแต่มีเหตุจำเป็น

ข้อกติกาเหล่านี้ เมื่อผู้ใดฝ่าฝืน สงฆ์มีอำนาจบริหารได้เต็มที่

จากการได้ศึกษาวัตรปฏิบัติของวัดหนองป่าพงอย่างละเอียด เมื่อมองในแง่ของการปกครองแล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนมาก ว่าท่านได้ยึดหลักอปริหานิยธรรม หลักธรรมสำหรับนักปกครองไว้อย่างแน่วแน่มั่นคง ในที่นี้จะได้นำมาแสดงเป็นข้อๆ ดังนี้

อปริหานิยธรรม ว่าด้วยธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว สำหรับภิกษุทั้งหลาย มี ๗ ประการ คือ

๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

- เพื่อสนทนาพูดคุย พบปะ บอกกล่าวตักเตือนกัน ฯลฯ นับเป็นกิจวัตรที่สำนักวัดหนองป่าพงเน้นหนัก ไม่ให้ขาดตกบกพร่องเลย

๒. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
- ข้อนี้จะเห็นได้จากการที่ท่านให้ความสำคัญ และเคารพต่อความคิดความเห็นของสงฆ์ยิ่ง และไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามกิจของสงฆ์หรืองานของส่วนรวมต้องมาก่อนเสมอ

๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติ ให้สมาทานศึกษาอยู่ในสึกขาบททั้งหลายตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้

- แต่เมื่อใดก็ตามที่ความคิดเห็นของสงฆ์ไม่ถูกต้องตรงกับหลักพระธรรมวินัยแล้ว ท่านก็จะคัดค้านและยกเลิกมตินั้นเสีย ยึดเอาตามหลักธรรมเป็นใหญ่

๔. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง

- จะเห็นได้จากการเน้นวัตรปฏิบัติ ที่พระภิกษุสามเณรทั้งหลายต้องช่วยกันอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ ไม่ว่าเรื่องน้ำใช้น้ำฉัน การบีบนวด การล้างเท้า เป็นต้น

๕. ไม่ลุอำนาจตัณหา คือความอยากที่จะเกิดขึ้น

- เห็นได้จากวัตรปฏิบัติเรื่องการฉัน การห้ามรับเงินทอง ห้ามขอสิ่งของจากญาติโยม ให้ยินดีการอยู่ป่า เป็นต้น

๖. ยินดีในเสนาสนะป่า

- เป็นสิ่งที่สำนักหนองป่าพงปฏิบัติมาตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นผู้ติดความสะดวกสบาย

๗. ตั้งสติระลึกไว้ในใจว่า เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลดีงาม ซึ่งยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข

- คือการแสดงความเมตตายินดี สำหรับผู้ที่ตั้งใจที่จะเดินทางมาประพฤติปฏิบัติธรรมในที่แห่งนี้ ทางสำนักย่อมยินดีที่จะเอื้อเฟื้อในการบำเพ็ญธรรม

หลักธรรมแห่งความสามัคคีข้อนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า หากสงฆ์ปฏิบัติไว้อย่างมั่นคง ย่อมหวังความเจริญได้แน่นอน ความเสื่อมจะไม่มีเป็นอันขาด ข้อนี้ความรุ่งเรืองของวัดหนองป่าพงและสาขา น่าจะเป็นการยืนยันในผลสัมฤทธิ์ได้เป็นอย่างดี


(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTD1FSSKaDBDkI1RJvMK3UBOxTrafr-61_cbLWK-f4TE4MpX9h_)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2554 09:06:50

(http://thewindinmymind.exteen.com/images/UntilTomorrow/9855139.jpg)

๐ สำนักแม่ชี

สำนักแม่ชีอันเกิดมาจากกตัญญูธรรมของหลวงพ่อนี้ แยกจากสำนักของพระภิกษุอย่างสิ้นเชิง มีเสนาสนะ ตลอดจนศาลาธรรมที่ประกอบกิจวัตรต่างๆ อยู่ภายในอาณาเขตของตนเอง ซึ่งมีรั้วรอบขอบชิดเป็นสัดส่วน หลวงพ่อจึงมอบหมายงานบริหารให้แม่ชีได้ปกครองกันเอง โดยมีคณะกรรมการบริหาร ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าแม่ชีและแม่ชีอาวุโสรวม ๕ ท่านเป็นคนดำเนินงาน แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของประธานสงฆ์อีกต่อหนึ่ง หลวงพ่อได้กำหนดกติกาข้อปฏิบัติประจำสำนักรวมทั้งหมด ๒๑ ข้อ ซึ่งแม่ชีทุกคนก็ได้น้อมรับและต้องนำมาอ่านทบทวนในที่ประชุมทุกวันพระ ๑๕ ค่ำด้วย เพื่อความเป็นผู้ไม่ประมาทในข้อวัตร อันเป็นเสมือนไม้บรรทัดที่ไว้ใช้ขัดเกลาตนเอง ข้อวัตรทั้ง ๒๑ ข้อนั้นมีดังนี้

๑. ห้ามคลุกคลีหรือคุยกันเป็นกลุ่มก้อน ทั้งกลางวันและกลางคืน

๒. เวลาฉัน ล้างภาชนะ กวาด สรงน้ำ ให้พร้อมเพรียงกันด้วยความเรียบร้อยและมีสติ

๓. รักษาความสะอาดบริเวณกุฏิ เช่น เก็บกวาด ไล่ปลวกไล่มด เป็นต้น

๔. เป็นผู้มักน้อยสันโดษในการกิน การนอน การพูด ไม่ร่าเริงเอิกเกริกเฮฮา

๕. เมื่อเอกลาภเกิดขึ้นให้แบ่งกันบริโภคใช้สอยพอสมควรและเป็นธรรม

๖. เมื่อเจ็บป่วยให้ช่วยกันรักษาพยาบาลด้วยเมตตา

๗. ประกอบตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ด้วยเมตตาธรรมในเพื่อนชีทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๘. เคารพนับถือซึ่งกันและกันตามวัยวุฒิ

๙. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอ อย่าให้เป็นที่รังเกียจของหมู่คณะ

๑๐. ห้ามชีคนใดคนหนึ่งมีอำนาจปกครองหรือตั้งกติกาใดๆ ด้วยความเห็นผิด

๑๑. เมื่อเกิดความขัดข้องประการใดๆ รีบแจ้งให้ประธานสงฆ์ทราบเพื่อแก้ไข

๑๒. เมื่อจะไปไหนมาไหน ต้องแจ้งลาประธานสงฆ์ทุกครั้ง

๑๓. ห้ามถือสิทธิ์ในกุฏิที่ตนสร้างขึ้น

๑๔. ห้ามรับแขกที่เป็นเพศชายบนกุฏิของตน เว้นไว้แต่อาพาธเป็นบางครั้ง

๑๕. ห้ามแสดงหรือโฆษณาสิ่งอันไม่เป็นธรรมเป็นวินัย เพื่อเห็นแก่อามิสซึ่งเป็นมิจฉาชีพ เป็นเหตุนำความเสื่อมเสียมาสู่พระศาสนา

๑๖. ห้ามทำตนเป็นผู้รับใช้คฤหัสถ์ ซึ่งจะเป็นการประทุษร้ายตระกูล

๑๗. มีความเห็นร่วมกัน อย่าทะเลาะวิวาทกับใครๆ เพราะความเห็นผิด

๑๘. ห้ามติดต่อกับพระภิกษุ สามเณร แม่ชี และคฤหัสถ์ทั้งในและนอกวัด เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นที่เป็นธรรมะ

๑๙. ห้ามสัญจรไปมาเที่ยวเรี่ยไร

๒๐. ห้ามชายที่มีอายุ ๑๒ ปีขึ้นไป พักค้างคืนที่นี้ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็น

๒๑.ผู้ประสงค์จะมาบวชหรืออยู่สำนักนี้ ต้องมีผู้ปกครองนำมาฝากเป็นหลักฐาน และมีผู้อุปัฏฐากพอสมควร

ถ้าผู้ใดฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามกติกานี้ สงฆ์มีอำนาจบริหารได้เต็มที่

จะเห็นได้ว่าการกำหนดกติกาข้อปฏิบัติประจำสำนักชีนั้น หลวงพ่อได้ใช้หลักของการประพฤติปฏิบัติในวิถีชีวิตของท่านและสงฆ์ที่วัดหนองป่าพงนั่นเอง โดยเน้นที่ความมีระเบียบวินัย ความสามัคคี ความสำรวมระวัง เมตตาจิตและความเคารพซึ่งกันและกัน ตลอดจนความเป็นผู้มักน้อยสันโดษตามวินัยนักบวชอีกด้วย การกำหนดกติกาในการปฏิบัติเช่นนี้ ทำให้หัวหน้าแม่ชีหรือประธานในการปกครองบริหารงานได้ง่ายขึ้น เพราะถือหลักตายตัวที่หลวงพ่อกำหนดไว้นี้เอง ไม่ใช่อำนาจของแม่ชีคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ

การที่หลวงพ่อต้องเคร่งครัดและละเอียดรอบคอบ ในการปกครองพระภิกษุสามเณรและแม่ชีนั้น ก็เป็นเพราะท่านตระหนักถึงอันตราย ซึ่งอาจเกิดจากความใกล้ชิดของเพศตรงข้าม ท่านได้ตั้งกฎระเบียบ ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้พระเณรและแม่ชีมีการติดต่อคลุกคลีกันได้เลย พระที่วัดหนองป่าพงอาจอยู่ถึง ๕ ปี ๑๐ ปี โดยไม่เคยได้พูดกับแม่ชีเลยแม้แต่คำเดียว แม่ชีจะเข้ามาในเขต “วัดพระ” เฉพาะตอนเช้าเพื่อทำอาหาร เสร็จแล้วก็รีบกลับ ถ้าบังเอิญสวนทางกับพระโดยไม่มีทางเลี่ยงจะต้องนั่งลงพนมมือและก้มหน้า ในเวลาต่อมาสำนักสาขาหลายแห่งมีแม่ชีประจำอยู่ด้วย แม่ชีในสำนักสาขาก็ได้ถือข้อวัตรปฏิบัติอันเดียวกันนั้น และมีมติสงฆ์ในการอนุญาตให้แม่ชีอยู่ประจำ เฉพาะในวัดที่ประธานสงฆ์มีอายุพรรษา ๒๐ พรรษาขึ้นไปแล้วเท่านั้น

             (http://thummada.com/php_upload2/mutchusri-02.jpg)

เกี่ยวกับเรื่องแม่ชีนี้ พระครูบรรพตวรกิต ได้เล่าว่า

“เรื่องผู้หญิงท่านว่าให้ตั้งความระมัดระวังไว้เป็นพิเศษ แม้ท่านจะไม่มีประสบการณ์ในเรื่องของครอบครัว แต่ท่านก็ปกครองได้เรียบร้อยดี ไม่มีเรื่องราว ไม่มีอธิกรณ์อะไร ท่านระวังตัวมาก ไม่ว่าจะเป็นการวางตัวของท่าน หรือการพูดจา ท่านไม่เคยปล่อยให้แม่ชีได้มีโอกาสใกล้ชิดสนิทสนม ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม ท่านถือครุธรรม ๘ ประการ เวลาพูดด้วย ท่านก็ไม่มองหน้า คำพูดก็ไม่เคยล้อเล่นอย่างทางโลก อันจะเป็นเหตุให้ขาดความเคารพ”

หลวงพ่อได้ฝึกแม่ชีมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกแล้ว ให้มีความเป็นตัวของตัวเองสูง แม่ชีจึงเป็นลูกศิษย์ที่อยู่ใกล้ก็เหมือนอยู่ไกล เพราะไม่มีโอกาสได้พบท่านเป็นส่วนตัว ในขณะที่ฝ่ายพระภิกษุสามเณรหรือแม้แต่ญาติโยม ถ้ามีปัญหาหรืออยากพบก็ไปกราบหลวงพ่อได้ ส่วนแม่ชีได้รับการอบรมเป็นส่วนรวมอาทิตย์ละครั้ง หรือ ๒ อาทิตย์ครั้งหนึ่ง ในเรื่องการเทศของหลวงพ่อนี้ แม่ชีบุญยู้ พิมพ์วงษ์ หนึ่งในแม่ชียุคแรกๆ บวชเมื่ออายุเพียง ๒๔ ปีเท่านั้น (บวชพร้อมกับแม่ชีคำ เคนประคอง อายุ ๒๓ ปี) ได้สรุปไว้ว่า มี ๓ ระดับ และ ๒ ลีลา แล้วแต่จริตนิสัยของแม่ชีแต่ละคน กล่าวคือ

๑. ระดับทั่วไป (สำหรับแม่ชีบวชใหม่)

ท่านจะสอนเรื่องการอยู่ด้วยกัน การทะเลาะเบาะแว้ง การแก่งแย่งกัน ให้รู้จักองค์ของศีล

๒. ระดับกลาง

จะสอนให้ฝึกละโลภ โกรธ หลง ละมานะทิฐิ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ให้รู้จักหลักปฏิบัติอย่างไร

๓. ระดับสูง

เป็นเรื่องของการเจริญภาวนาว่า ปฏิบัติแล้วเห็นอะไร เป็นอย่างไร จะไปไหน จะทำอย่างไร

                (http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQCjdNnDloRN5ley1JuyeHvf-oBKTeHdG6FRIhmtS8zTN-F8j39eA)

ส่วนเรื่องลีลาหรือรูปแบบการเทศน์นั้น ถ้าโดยปกติทั่วไปท่านก็จะเทศน์แบบนิ่มนวลเยือกเย็น แต่ถ้าพวกที่นิสัยสันดานหยาบ ท่านก็จะหยาบยิ่งกว่านั้นอีก

อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อก็มิได้ละเลยความรู้สึกของแม่ชี แม้ท่านวางตัวเหินห่าง ความเมตตากรุณาของท่านที่แสดงออกมาด้วยการกระทำทุกอย่างทุกประการ ก็เป็นเสมือนที่พึ่งอันอบอุ่น เป็นหลักอันมั่นคงที่แม่ชีทุกคนมีอยู่ประจำแล้วในใจ กระนั้นก็ตาม เมื่อถึงกาลถึงสมัยที่หลวงพ่อเข้าไปให้การอบรม ท่านก็ถือโอกาสชี้แจงความจริงใจของท่านแก่ที่ประชุมแม่ชีด้วยเหมือนกัน

(http://kbusociety.eduzones.com/th/wp-content/uploads/2010/04/med_1.jpg)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2554 09:11:59

(http://www.dangcarry.com/admin/upload/tamnan/1269324870_3956.jpg)

๐ สรุป

การเดินทางแสวงหาสัจธรรม ของหลวงพ่อได้ให้คำตอบกับตัวท่านและเหล่าศิษย์ว่า ความจริง “การธุดงค์” ไม่ได้หมายถึงการแบกกลด ถือบาตร เดินไปโน่นมานี้แต่อย่างใดเลย แต่มันคือการสมาทานถือข้อวัตรปฏิบัติ ในการขัดเกลากกิเลสอย่างเอาจริงเอาจังต่างหาก ดังนั้น สำนักวัดหนองป่าพง จึงเกิดขึ้นด้วยบรรยากาศที่สงบร่มรื่น เอื้อต่อการปฏิบัติดังกล่าวนั้นเป็นอย่างยิ่ง

การปฏิบัติตามข้อวัตรปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจัง คือเครื่องมือในการขัดเกลากิเลสที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังที่หลวงพ่อเรียกว่า “ตะแกงร่อนคน” ถ้าวัตรปฏิบัติบกพร่องก็ยังถือว่าไม่ผ่านตะแกง ยังต้องมุมานะปฏิบัติกันต่อไปจนกว่าจะผ่านได้ การปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การมาเฝ้านั่งทำสมาธิ เดินจงกรมเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตอย่างปกติด้วย ทุกขณะของการเป็นอยู่ ย่อมถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมทั้งนั้น ต้องพยายามรักษาจิตให้ห่างไกลจากสิ่งรบกวนอยู่ตลอดเวลา

                        (http://www.dhammathai.org/articles/data/imagedb/R132-3.jpg)

การที่ตัวของหลวงพ่อเอง ได้ถือข้อวัตรปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจัง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตนี้เอง ที่เป็นเครื่องมือในการสอนเหล่าศิษยานุศิษย์ได้เป็นอย่างดี เรียกว่าสอนด้วยการทำให้ดูเลยไม่ต้องพูดจาให้มากความ รวมถึงการที่ท่านมีบุคลิกยิ้มแย้มแจ่มใส น้ำเสียงคำพูดที่นุ่มนวล และวิธีการสอนที่เฉียบขาดในบางครั้ง สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้ท่านเป็นที่พึ่ง เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนทั้งหลายไว้ได้

ในการปกครองหมู่คณะ นอกจากการยึดมั่นในพระธรรมวินัยเป็นหลักใหญ่ตายตัว ตามแนวทางแห่งธรรมาธิปไตยแล้ว การยกหลักอปริหานิยธรรม เป็นหัวใจในการปกครองหมู่คณะด้วย ย่อมเป็นข้อยืนยันถึงความรุ่งเรืองไม่เสื่อมสลายของหมู่คณะได้เป็นอย่างดี ยิ่งประกอบกับความฉลาดเฉียบแหลมส่วนตัวของท่านในการปกครอง บอกกล่าว สั่งสอนตักเตือนลูกศิษย์ด้วยแล้ว จึงไม่ต้องสงสัยเลยถึงความรุ่งเรือง ที่ปรากฏแห่งสำนักวัดหนองป่าพงและสาขา ซึ่งได้เปล่งรัศมีปกคลุมทั่วทั้งแดนสยาม และยังส่องสว่างไปสู่ชาวโลกในต่างแดนอีกด้วย

                 (http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTKMC-kJ9kF8CKnhe6euo6MM5TgZ50FODlQs5ZaI3YoyMDBJaA0OQ)

อดทน

ความอดทนเป็นคุณธรรมที่หลวงพ่อย้ำมากในการสอนของท่าน อย่างที่ท่านพูดอยู่บ่อยๆ ว่า ความอดทนนี้เป็นแม่บทของการปฏิบัติ และตัวท่านเองก็ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมข้อนี้เช่นเดียวกัน ในการปฏิบัติของท่าน จะเห็นได้ว่าหลวงพ่ออยู่อย่างอุกฤษฏ์หลายปี ชนิดที่ว่าเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับคนที่ไม่มีน้ำอดน้ำทนถึงขนาด สมัยที่ยังเป็นหนุ่มและกามราคะกลุ้มรุมท่านก็ได้อาศัยความอดทนนี่เองช่วยให้ผ่านพ้นอุปสรรคสำคัญของวัยหนุ่มมาได้ตลอดรอดฝั่ง


เมตตา

ด้วยเหตุที่หลวงพ่อมองเห็นทุกชีวิต ทุกรูปนามที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นั้นเป็นสามัญลักษณะ เมตตาธรรมของท่านจึงสม่ำเสมอทั่วหน้ากันหมด ไม่มีขีดขั้นไม่มีประมาณ เพราะท่านไม่มีอกุศลจิตกีดกันแบ่งแยก แต่ปรารถนาให้ทุกชีวิตได้ถึงความพ้นทุกข์เช่นเดียวกัน และก็เป็นไปอย่างบริสุทธ์ ไม่หวังสิ่งตอบแทน ไม่ว่าในด้านรูปธรรมเช่นปัจจัยเงินทอง หรือเอกลาภอื่นๆหรือในด้านนามธรรม เช่น ยศฐานบรรดาศักดิ์ ชื่อเสียงความเคารพนับถือ เมตตาของหลวงพ่อนั้นเห็นได้ชัด ในการอบรมสั่งสอนลูกศิษย์บรรพชิตและฆราวาสท่านทุ่มเทความอุตสาหะวิริยะ อุทิศเวลาให้กับการฝึกและขัดเกลาลูกศิษย์จริงๆ จนกล่าวได้ว่างานสร้างคนเป็นงานอันดับหนึ่งของท่านทีเดียว


มุ่งสอนสัจ

อุบายปฏิบัติตามนัยแห่งอริยสัจสี่ ที่หลวงพ่อยึดเป็นหลักในการอบรมสั่งสอนสานุศิษย์ พอมองเห็นได้จากตัวอย่างคือ


ทุกข์

หลวงพ่อพยายามให้ศิษย์เห็นตามความเป็นจริง โดยสอนย้ำเสมอว่า ทุกข์เกิดขึ้นมาแล้ว ไม่อยากให้มันทุกข์ มันก็ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นทุกข์ มันก็ไม่รู้จักทุกข์ไม่รู้จักทุกข์ มันก็เอาทุกข์ออกไม่ได้ ความจริงทุกข์นี้แหละจะทำให้เราฉลาดขึ้น ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เรารู้จักพิจารณาทุกข์ คนเป็นทุกข์ควรพิจารณาทุกข์ มิใช่ว่าหนี ไม่อยากทุกข์ ทุกข์เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ตรงนี้ไม่ถูก ตรงนี้ไม่สบาย คนเราก็เหมือนกัน ทุกข์จะพาให้เราไปหาครูอาจารย์และความสงบในที่สุด เมื่อการกำหนดรู้ความทุกข์มีความสำคัญมากถึงขนาดนี้ หลวงพ่อจึงให้ความทุกข์ เป็นภารกิจประจำวันที่ลูกศิษย์ต้องเผชิญ แต่โดยธรรมของชาติของมนุษย์เรา ไม่มีใครชอบความทุกข์ พยายามหลบหลีกหรือกลบเกลื่อนอยู่เสมอ หลวงพ่อจึงเน้นหนักเรื่องความอดทน ว่าเป็นแม่บทของการปฏิบัติเป็นเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง


สมุทัย

การฝืนความทะยานอยากในทุกข์ทุกกรณี เพื่อกำจัดต้นเรื่องของความทุกข์ ที่เกิดกลุ่มรุมจิตใจเป็นทางปฏิบัติที่หลวงพ่อพาพระเณรปฏิบัติ เพราะเชื่อตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า มรรค ผล นิพพาน มีอยู่ มันมีอยู่ตามพระองค์ตรัสสอน แต่ว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดจากการปฏิบัติ เกิดจากการทรมาน กล้าหาญ กล้าฝึก กล้าคิด กล้าแปลง กล้าทำ กล้าทำนั้นอย่างไร ท่านให้ฝืนใจตัวเอง ใจเราคิดไปทางนี้ท่านให้ไปทางโน้น ใจเราคิดไปทางโน้นท่านให้มาทางนี้ ทำไมท่านจึงให้ฝืนใจ เพราะใจถูกกิเลสเข้าพอกมาเต็มที่แล้ว มันยังไม่ได้ฝึกหัดดัดแปลง มันยังไม่เป็นศีลยังไม่เป็นธรรม เพราะใจมันยังไม่แจ้ง ไม่ขาว จะไปเชื่อมันอย่างไรได้ ที่พระพุทธเจ้าท่านออกบวช ก็เพราะท่านเห็นอย่างนั้น เปลี่ยนแปลงฝืนเรื่อยมา ถ้าหากว่าใครไม่พิจารณาให้แยบคาย ก็จะไม่เห็นความรู้สึกของเจ้าของ


นิโรธ

หลวงพ่อสอนเรื่องนิโรธ ด้วยการกล่าวถึงผลของการปฏิบัติ ซึ่งแต่ละครั้งที่ท่านพูดถึงภาวะจิตที่เห็นธรรมแล้ว ย่อมเป็นแรงบันดาลให้ลูกศิษย์ได้เร่งการปฏิบัติของตนเอง แต่ถ้าจะว่าไปแล้ว นิโรธที่หลวงพ่อแสดงด้วยตัวเองของท่าน เป็นประจักษ์พยาน ที่ชัดแจ้งถึงผลของการปฏิบัติ


มรรค

การเจริญมรรคที่เป็นสัมมาปฏิปทาหรือสัมมามรรคนั้น หลวงพ่อย้ำว่าต้อประกอบด้วยองค์ทั้ง ๘ ประการ จะเอาหมวดศีลแต่อย่างเดียว หมวดธรรมอย่างเดียว หมวดสมาธิอย่างเดียว หรือหมวดปัญญาอย่างเดียวไม่ได้ ท่านพูดอยู่เสมอเรื่องความสัมพันธ์ขององค์มรรคต่างๆ โดยเน้นในแง่ของศีล ในเมื่อศีลเป็นบาทฐานของการเจริญสมาธิและปัญญาที่ขาดไม่ได้ หลวงพ่อจึงให้ความสำคัญแก่เรื่องวินัยอย่างมาก ถ้าศีลอย่างนัย ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ สมาธิและปัญญาก็ไม่เกิดท่านเน้นและย้ำเสมอว่า สมาธิที่ถูกต้องจะต้องประกอบด้วยสติและความเพียร และต้องเป็นไปเพื่อปัญญา เพื่อความดับทุกโดยตรง ท่านไม่ให้ความสนใจเรื่องที่ไม่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ เช่น เรื่องไสยศาสตร์หรืออิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เป็นต้น

ทางสายกลาง ซึ่งตรงกับอริยมรรคนั่นเอง ก็เป็นสิ่งที่หลวงพ่อกล่าวถึงบ่อยๆ ท่านให้คำจำกัดความของทางสายกลางง่ายๆ บางทีเป็นคำเดียวว่า พอดี หรืออีกนัยหนึ่ง ท่านพูดถึงการไม่หลงติดในความสุขหรือความทุกข์ เป็นความหมายของทางสายกลาง เมื่อได้เห็นความสุขแล้วให้พิจารณาความสุขนั้น ท่านไม่ได้ติดอยู่ในความสุข คือท่านให้วางทั้งสุขและทุกข์ การวางทางทั้งสองได้นี้ เป็นสัมมาปฏิปทา ท่านเรียกว่าเป็นทางสายกลาง


๐ เปรียบเทียบท่านพุทธทาสและหลวงพ่อชา

ท่านพุทธทาสและหลวงพ่อชา มีลักษณะของผู้บรรลุคุณธรรมขั้นสูง เป็นผู้อยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ เหนือดีเหนือชั่ว นอกเหตุเหนือผล การกำเนิดของสวนโมกข์และวัดหนองป่าพง จึงถือว่าเป็นนิมิตดีของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาซึ่งเลิศไปคนละด้าน แต่ผสมผสานกลมกลืนเป็นสิ่งเดียวกันได้ ขณะที่สวนโมกข์เน้นไปที่การผลิตธรรมะทางตำรา หลวงพ่อชาได้นำหลักการของท่านพุทธทาส กระจายลงไปสู่พื้นที่ ทั้งในและนอกประเทศจนเกิดสานุศิษย์มากมาย และจะขยายตัวเป็นทวีคูณไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้ง แนวความคิดเรื่องการตั้งสวนโมกข์นานาชาติของท่านพุทธทาส ก็เชื่อว่าคงได้อิทธิพลจากหลวงพ่อชาเรื่องการตั้งวัดป่านานาชาติ จนได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาไปสู่ต่างประเทศ


(http://sites.google.com/site/patijja/_/rsrc/1262847925591/wan-ni-chaw-phuthth-suksa-laea-ptibati-tam-khir/thrng-saedng-reuxng-thi-pen-pi-di-yak/DSC08715.JPG?height=165&width=200)



หัวข้อ: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2554 10:15:21

(http://i229.photobucket.com/albums/ee134/sangjan/rose/rose4.jpg)

๐ ความเป็นสากล

จากการศึกษาหลักธรรมทั้งของท่านพุทธทาสและหลวงพ่อชา ชี้ให้เห็นว่าผู้บรรลุคุณธรรมขั้นสูง รู้แจ้งเห็นจริง จะไม่ติดในนิกาย ไม่ติดในความเป็นพุทธ คริสต์ อิสลาม ไม่ติดในความคิดว่าคริสต์จะกลืนพุทธหรือพุทธจะกลืนคริสต์ โดยเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ชื่อต่างๆ เป็นเพียงสิ่งสมมติ แท้ที่จริงในพุทธศาสนามีนิกายเดียว คือนิกายของพระพุทธองค์ ไม่มีมหายาน ไม่มีหินยาน ไม่มีมหานิกาย ธรรมยุต สันติอโศก ธรรมกาย ในศาสนาก็เช่นกัน ไม่มีพุทธ ไม่มีคริสต์ ไม่มีอิสลาม แต่มีเพียงศาสนาเดียวซึ่งเป็นสากล สอนให้คนทำดี ละชั่ว และทำใจให้ผ่องใส

                          (http://www.fungdham.com/images/monk-pic/cha/13.jpg)

การสอนธรรมะอยู่ที่การปฏิบัติให้เป็นแบบอย่าง พุทธศาสนาที่อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ เรียบง่ายเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์ของรัฐเช่นเดียวกับวัดป่าทั้งหลาย มีพระที่เป็นพระ มิใช่พระเพียงรูปแบบ ไม่วุ่นวายกับการสร้างวัดวาอาราม เพราะถือว่าพระมีหน้าที่สร้างวัดภายในใจคน และจะเป็นผู้สร้างวัดให้เอง ไม่ฟุ้งเฟ้อ สุรุ่ยสุร่าย หรือสะสมกอบโกยไม่สร้างความแตกแยก ตำหนิติเตียนหรือเพ่งโทษผู้อื่น แต่มีหน้าที่ขัดเกลาหรือสำรวจจิตของตนเอง ความคิดที่เป็นสากลไม่ติดยึดในสมมติของท่าน เห็นได้จากคำปรารภในการสร้างโบสถ์วัดหนองป่าพง โบสถ์หลังนี้จะไม่ทำพระเครื่องหากิน จะไม่ให้เดือดร้อนทางบ้านเมือง จะไม่เรี่ยไร รูปแบบจะเป็นทรงไทยหรือแบบไหนก็ไม่สำคัญ เพราะมันเป็นเพียงรูปร่าง หาใช่ความหมายของศาสนาที่แท้

ความเสื่อมเสียของวัฒนธรรมไทยไม่ใช่การเปลี่ยนรูปแบบทางวัตถุ แต่มันเสื่อมเสียที่ความประพฤติ ถ้าวงการศาสนาจะทรงแต่รูปแบบศิลปศาสนาวัตถุไว้ แต่ไม่มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง มันก็ไม่มีอะไรดีขึ้นมานอกจากมีวัตถุซ้ำซาก รูปแบบโบสถ์ควรเป็นแบบง่ายๆ แต่แข็งแรง ทนทาน ประหยัด และให้ได้ประโยชน์ใช้สอยมีขนาดพื้นกว้างสามารถจุภิกษุอย่างน้อย ๒๐๐ รูป ไม่ต้องมีหน้าต่างประตู เพราะวัดไม่มีวัตถุสิ่งของมีค่าอะไรจะเก็บรักษา ไม่ต้องมีผนังกำแพงกั้น ควรให้ต้นไม้เป็นผนังกำแพงแทน เพียงแต่ให้มีหลังคาคุ้มแดดคุ้มฝน ขอให้โบสถ์ตั้งอยู่บนเนินดินสูงคล้ายภูเขา เนื่องจากภูเขาเป็นที่สูงสะอาด บริสุทธิ์อากาศดี เหมาะที่จะเป็นที่สังฆกรรมของสงฆ์ ขอให้มีเครื่องตกแต่งสิ้นเปลืองน้อยที่สุด สิ่งฟุ่มเฟือยมีราคาแพงไม่ควรนำมาใช้ ให้นึกถึงประโยชน์มากกว่าความสวยงาม


(http://www.fungdham.com/images/cha.gif)
(http://www.fungdham.com/images/chaname.gif)
   

๐ แหล่งที่มา

คณะศิษยานุศิษย์. อุปลมณี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, พ.ศ.๒๕๓๕.
คณะศิษย์, ใต้ร่มโพธิญาณ : พระโพธิญาณเถระ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, พ.ศ.๒๕๓๕.

พระไตรปิฎกภาษาบาลีและภาษาไทย ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๐, ๑๓, ๑๔, ๒๒, ๒๕, ๓๕.กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา, พ.ศ.๒๕๒๓.
พระธรรมปิฎก, พจนาจุกรมพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พ.ศ.๒๕๓๘.

พระโพธิญาณเถระ, กุญแจภาวนา. กรุงเทพฯ : สยามการพิมพ์, พ.ศ.๒๕๔๐.
พระโพธิญาณเถระ, อาหารใจ. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, พ.ศ.๒๕๔๐.

พระโพธิญาณเถระ, นอกเหตุเหนือผล. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, พ.ศ.๒๕๓๔.
พุทธทาสภิกขุ. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บุพนิมิต, พ.ศ.๒๕๓๔.

ชยสาโร ภิกฺขุ, พอดี. กรุงเทพฯ : ปาปิรุส พับลิเคชั่น, พ.ศ.๒๕๓๘.
ชยสาโร ภิกฺขุ, หลวงพ่อชาคุยกับลูกหลาน. กรุงเทพฯ : ปาปิรุส พับลิเคชั่น, พ.ศ.๒๕๔๒.
หลวงพ่อธรรมงาม. คำสอนและการตอบปัญหาธรรมของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, ๒๕๓๔.


คัดลอกมาจาก : http://www.dharma-gateway.com/ (http://www.dharma-gateway.com/)
: http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6753 (http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6753)
ขอบพระคุณ
ผู้รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปัน : สาวิกาน้อย
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ



หัวข้อ: Re: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: คนดีศรีอยุธยา2 ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2554 12:14:42
 (:LOVE:)   (:LOVE:)  (:LOVE:)
 ;D  ;D  ;D  ;D (:SR:)  (:SR:)  (:SR:) สาธุ อยากให้อ่าน มากๆ อ่านแล้วอยากให้เข้าใจ เพราะคำสอนของท่าน เน้น ความ ง่าย
จะบอกว่าเลียนแบบ เซ็น ก็ไม่ได้
เพราะในครั้งพุทธกาล ก็เคยมีภิกษุ ผู้มีปัญญา สามารถ ตอบปัญหา แบบสั้นๆได้
ชื่อ ว่า ตอบปัญหาพระยามิรินท์  บางที่เรียก มิริทปัญหา


หัวข้อ: Re: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2554 12:39:38
สาธุ อนุโมทนาครับ


หัวข้อ: Re: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: คนดีศรีอยุธยา2 ที่ 03 กุมภาพันธ์ 2554 11:51:39
เสียดาย หนังสือของหลวงพ่อชา หายากมากเพราะเขาไม่พิมพ์ขาย น่าเสียดายมาก ทำไมเขาถึงหวงในพระธรรมไม่รู้
เราถูกฝรั่งมันหลอกให้ งมงายกับคำว่าลิขสิทธิ์
แต่ตอนที่พระองค์ทรงประกาศพระศาสนา ธรรมะของพระองค์ ไม่มีการหวงแหนเลยนะ  เศร้าใจกับความคิดของคนที่โดนฝรั่งต้ม จ้องแต่จะหาค่าลิขสิทธิ์ เศร้าจังเลย
เพราะธรรมะที่หลวงพ่อชาท่านกลั่นออกมา ชาวบ้านอ่านแล้วเข้าใจง่าย
ไม่มีคำศัพย์ที่ต้องแปลเลย
ขอขอบคุณทุกคนที่เอามาเผยแพร่ครับ


หัวข้อ: Re: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 03 กุมภาพันธ์ 2554 19:37:49
ใช่ครับ

ธรรมะหลวงปู่เข้าใจง่ายมาก

ผมชอบมาก

แต่หนังสือนี่ที่บ้านก็มีหลายเล่มนะครับ

ผมเริ่มมาฟังทางหลวงปู่ชา ก็เพราะหนังสือธรรมะหลวงปู่ชา กับเทปธรรมะหลวงปู่นี่แหละครับ


หัวข้อ: Re: Re: ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
เริ่มหัวข้อโดย: คนดีศรีอยุธยา2 ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2554 21:06:53
ผมชอบตอนที่ท่านตอบ มันเห็นภาพง่ายๆ
เสีนดายมีอยู่ตอน ที่มีพราะที่ชอบธุดวค์ มากล่าวในเชิงยกตนข่มท่าน
ต่อหวงพ่อชา ท่านเลยดัดนิสัย ยอให้เดินเท้าเปล่าแล้วห้ามขึ้นรถ
แล้ว มีข้อปุจฉา ที่น่าสนใจ ผมจำได้แต่โครงสร้าง ว่า ท่านกล่าวถึง
ความสงบอยู่ที่ใด ที่ถ้าหรือ ถ้าถ้ำนั้นทำให้คน นิพพานได้เป็นอรหันต์ได้ ท่านจะขอซื้อ
มันอ่านแล้ว เก๊ต เลย เสียดายจำไม่ได้ไปอ่านในเล่มไหม
เลยตามหาไม่เจอ