[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 10:56:00



หัวข้อ: ทำไมสำนักทนายบางที่จึงมีคำว่า ทนายความชั้นหนึ่ง
เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554 10:56:00

(http://www.tnews.co.th/html/picture/tnews_1284560651_1088.jpg)

          ที่จริงแล้ว ตามกฎหมายฉบับเติม คือพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้ระบุไว้ว่า ทนายความได้แก่ ผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตจากเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งแบ่งเป็นทนายความชั้นหนึ่ง  มีสิทธิว่าความในศาลทั่วราชอาณาจักรและทนายความชั้นสอง  มีสิทธิว่าความในศาลในเขตจังหวัดรวม ๑๐ จังหวัดตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต และมีสิทธิว่าความในศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาเฉพาะคดีที่ศาลชั้นต้นในเขตจังหวัดดังกล่าวได้พิจารณาหรือสั่ง และมีสิทธิตามประเด็นไปว่าความในศาลอื่นได้ด้วย  ทนายความชั้นหนึ่งจะต้องเป็นสามัญสมาชิกหรือสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา  ส่วนทนายความชั้นสองจะต้องสอบความรู้ได้ตามที่เนติบัณฑิตยสภากำหนดให้มีการสอบ หรือมีอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชานิติศาสตร์จากสถานศึกษาที่เนติบัณฑิตยสภาเห็นว่ามีมาตรฐานการศึกษาที่ผู้ได้รับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรควรเป็นทนายความได้ ด้วยความแตกต่างดังนี้  ทนายความรุ่นเก่าที่เป็นทนายความชั้นหนึ่งก็มักจะนำข้อได้เปรียบที่ว่าความได้ทั่วราชอาณาจักรมาเป็นจุดขาย

          แต่ตามกฎหมายใหม่ คือ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๒๘ มิได้แบ่งทนายความออกเป็นทนายความชั้นหนึ่งและทนายความชั้นสองอีกแล้ว ทนายความทุกคนที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด จะมีศักดิ์และสิทธิเหมือนกันดังนั้นถ้าคุณพจนายังเห็นป้าย “ทนายความชั้นหนึ่ง” ที่หน้าสำนักงานทนายความอยู่อีก แสดงว่าเป็นป้ายเก่า



“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”