[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปรษณีย์ => ข้อความที่เริ่มโดย: ใบบุญ ที่ 07 ตุลาคม 2558 19:17:41



หัวข้อ: คนแคระในอียิปต์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 07 ตุลาคม 2558 19:17:41
.
คนแคระในอียิปต์โบราณ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90416126367118_1.jpg)
โดยปกติแล้วชาวไอยคุปต์มักจะมีแบบแผนการสลักภาพบุคคลได้ออกมาเหมือนกันอย่างกับแกะ.

เมื่อ​ได้​ลอง​เพ่ง​พินิจพิจารณา​ภาพ “คน” ที่​ถูก​แสดง​เอา​ไว้​ใน​ศิลปะของ​ชาว​อียิปต์​โบราณ​ไม่​ว่า​จะ​บน​ผนัง​วิหาร​หรือ​แม้แต่​ผนัง​สุสาน​แล้ว​เรา​แทบ​จะ​มอง​ไม่​เห็น​ความ​แตก​ต่าง​ของ​บุคคล​ที่​ปรากฏ​อยู่​ใน​ภาพ​เลย​แม้แต่​น้อย เสมือน​ประหนึ่ง​ว่า​พวก​เขา​ถูก​โคลน​นิ่ง​ออก​มา​เป็น​โหลๆยัง​ไง​ยัง​งั้น ด้วย​ลักษณะ​ท่าทาง​การ​ยืน​ที่​ดู​แล้ว​เหมือน​กัน​ไป​หมด ศีรษะ​มอง​เห็น​จาก​ด้าน​ข้าง ลำ​ตัว​มอง​เห็น​จาก​ด้าน​หน้า แขน​ขา​มอง​เห็น​จาก​ด้าน​ข้าง ฯลฯ ซึ่ง​ก็​ถือ​ได้​ว่า​เป็น​หนึ่ง​ใน​เอกลักษณ์​ของ​ศิลปะ​ไอ​ย​คุปต์​ล่ะ​นะ​ครับ แต่​ถึง​กระนั้น​เมื่อ​ได้​ลอง​เพ่ง​มอง​ผนัง​สุสาน​ของ​ชาว​อียิปต์​โบราณ​ให้​ถ้วน​ทั่ว​แล้ว​ก็​จะ​พบ​ว่า​มี​ภาพ​บุคคล​ที่​ดู​แปลก​แตก​ต่าง​ออก​ไป​จาก “มาตรฐาน” ที่​พวก​เขา​มัก​จะ​สลัก​เอา​ไว้​บน​ผนัง​อยู่​เช่น​กัน พวก​เขา​เหล่า​นั้น​คือ “คน​แคระ” (Dwarf) ครับ!!


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22353364651401_2.jpg)
รูปสลักคนแคระที่มีแขนและขาที่สั้นกว่าปกติเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว.

จะ​ว่า​ไป​แล้ว​คง​ไม่​ใช่​เรื่อง​ผิด​ปกติ​ที่​จะ​มี “คน​แคระ” อยู่​ใน​อารยธรรม​อียิปต์​โบราณ​ด้วย​ล่ะ​นะ​ครับ เพราะ​แท้ที่จริง​แล้ว​คน​แคระ ซึ่ง​เกิด​จาก​ความ​ผิด​ปกติ​ของ​ร่างกาย​บาง​อย่าง​นั้น​มี​ปรากฏ​อยู่​ทั่ว​โลก​ทุก​ยุค​ทุก​สมัย​เลย​ครับ สิ่ง​ที่​น่า​สนใจ​ก็​คือ​สำหรับ​ชาว​ไอ​ย​คุปต์​แล้ว พวก​เขา​มอง “คน​แคระ” กลุ่ม​นี้​อย่างไร จะ​เหมือน​หรือ​แตก​ต่าง​จาก​มุม​มอง​ของ​พวก​เรา​แค่​ไหน ล้อมวง​เข้า​มา​ฟัง​กัน​เลย​ครับ

สิ่ง​หนึ่ง​ที่​นัก​อียิปต์​วิทยา​ค่อนข้าง​มั่นใจ​เป็น​อย่าง​มาก​เกี่ยว​กับ “คนแคระ” ก็​คือ​ชาว​ไอ​ย​คุปต์​ไม่​ถือว่า​เหล่า​คน​แคระ​เป็น​คน​ที่​มี​ความ​ผิด​ปกติ​แต่​อย่าง​ใด​ครับ ด้วย​เรา​ทราบ​ดี​ว่า​ชาว​ไอ​ย​คุปต์​มี​ตำรา​ปา​ปิรัส​ทางการ​แพทย์​มากมาย​หลาย​ม้วน ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ปา​ปิรัส​เอ็ด​วินส​มิ​ธ (Edwin Smith Papyrus) ซึ่ง​พูด​ถึง​การ​ผ่า​ตัด​และ​ศัลยกรรม หรือ​จะ​เป็น​ปา​ปิรัส​อี​เบอร์​ส (Ebers Papyrus) ที่​บรรจุ​สูตร​ยา​ขนาน​ต่างๆเอา​ไว้ แต่​ไม่​มี​ปา​ปิรัส​ทางการ​แพทย์​ม้วน​ใด​ที่​พูด​ถึง​อาการ​ของ​คน​แคระ​เลย นั่น​แปล​ว่า​พวก​เขา​ถือว่า​คน​แคระ​ก็​คือ​คน​ปกติ​ธรรมดา​สามัญ เพียง​แค่​ว่า​มี​รูปร่าง​ที่​เล็ก​กว่า​ชาว​ไอ​ย​คุปต์​ทั่วไป​เท่านั้น​เอง​ล่ะ​ครับ

ถ้า​ว่า​กัน​ใน​ด้าน​ภาษา​อียิปต์​โบราณ​หรือ​ที่​เรียก​กัน​ว่า​อักษร​เฮีย​โ​ร ก​ลิฟฟิค​แล้ว​นั้น ชาว​ไอ​ย​คุปต์​เรียก​คน​แคระ​ว่า “เดเ​นก” (dng) หรือ​ไม่​ก็ “เนมู” (nmw) อีก​คำ​หนึ่ง​ที่​ใช้ได้​เช่น​กัน​ก็​คือ “ฮู” (hw) โดย​จะ​มี​อักษร​ภาพ​ทำ​หน้าที่​กำกับ​ความ​หมาย (Determinative) เป็น​ภาพ​ของ​คน​แคระที่​มี​แขน​ขา​สั้น​แต่​มี​ลำ​ตัว​เท่ากับ​ชาว​ไอ​ย​คุปต์​ปกติ​ทั่วไป​ปรากฏ​อยู่​ด้าน​ท้าย​ของ​คำ​ด้วย

สำหรับ​การ​แสดงออก​ทาง​ศิลปะ​สำหรับ​คน​แคระ​นั้น ชาว​ไอยคุปต์​มัก​จะ​สลัก​ให้​พวก​เขา​มี​ศีรษะ​ที่​ค่อนข้าง​ใหญ่​กว่า​ปกติ มี​ลำ​ตัว​ยาว​กว่า​ปกติ ส่วน​แขน​และ​ขา​ก็​สั้น​กว่า​ปกติ ที่​สำคัญ​ก็​คือ​ชาว​ไอ​ย​คุปต์​จะ​สลัก​ให้​คน​แคระ​มี​ขา​ที่​โก่ง​โค้ง​งอ​เล็กๆ ด้วย​ครับ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12767442191640_3.jpg)
อักษรอียิปต์โบราณจารึกชื่อของคนแคระนามว่า “เฮด” โดยมีภาพของชายตัวเล็กสลักด้านล่างสุด.

ใน​สังคม​ของ​ชาว​ไอ​ย​คุปต์​นั้น พวก​เขา​แบ่ง​คน​แคระ​ออก​เป็น​สอง​ประเภท​หลักๆครับ ประเภท​แรก​คือ​คน​แคระ​ที่​เป็น​ชาว​อียิปต์​โบราณ​แท้ๆ ส่วน​อีก​ประเภท​หนึ่ง​เรียก​ด้วย​ภาษา​สมัยใหม่​ว่า “ปิกมี่” (Pygmy) ซึ่ง​เป็น​กลุ่ม​คน​ตัว​เล็ก​ที่​อาศัย​อยู่​ทาง​ตอน​ใน​ของ​ทวีป​แอฟริกา และ​ที่​สำคัญ​ก็​คือ​บ่อย​ครั้ง​ที่​ฟาโรห์​แห่ง​อียิปต์​โบราณ​ส่ง​คณะ​สำรวจ​ออก​ไป​ยัง​ดิน​แดน​เหล่า​นี้​ก็​มัก​จะ​มี​การ​นำ​เอา “ปิกมี่” กลับ​มา​ด้วย​โดย​มี​วัตถุประสงค์​หลัก​ก็​คือ​นำ​มาส​ร้าง​ความ​รื่นเริง​ให้​กับ​ราช​สำนัก​ใน​บทบาท​ของ “นัก​เต้นรำ” นั่นเอง​ครับ

หนึ่ง​ใน​หลักฐาน​ที่​ชัดเจน​ที่สุด​ที่​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​ชาว​ไอ​ย​คุปต์​เคย​นำพา​ปิกมี่​กลับ​มายัง​ดิน​แดน​ของ​พวก​เขา​ด้วย​ต้อง​ย้อน​กลับ​ไป​อ่าน​บันทึก​ใน​รัชสมัย​ของ​ฟาโรห์​เปปิ​ที่ 2 (Pepi II) แห่ง​ราชวงศ์​ที่ 6 ใน​สมัย​ราชอาณาจักร​เก่า​ซึ่ง​ครอง​ราชย์​อยู่​เมื่อ​ราว 2,200 ปี​ก่อน​คริสตกาล​ครับ ครั้ง​นั้น​ข้า​ราช​สำนัก​นาม​ว่า​ฮา​ร์​คุ​ฟ (Harkhuf) พร้อม​คณะ​สำรวจ​ถูก​ส่ง​ออก​ไป​ยัง​ตอน​ใน​ของ​แอฟริกา เป็นไปได้​ว่า​พวก​เขา​เดินทาง​ไป​ถึง​ดิน​แดน​แห่ง​พัน​ท์ (Punt) ซึ่ง​เป็น​นคร​ปริศนา​ที่​ยัง​ไม่​มี​ใคร​ทราบ​ว่า​อยู่​ที่​ใด แต่​น่า​จะ​อยู่​ใน​บริเวณ​ประเทศ​โซมาเลีย (Somalia) โดย​บันทึก​ที่​ว่า​นี้​อยู่​ใน​สุสาน​ของ​ฮา​ร์​คุ​ฟ​คน​นี้​ล่ะ​ครับ เขา​ได้​จารึก​เอา​ไว้​ว่า ครั้ง​หนึ่ง​เขา​ได้​เดินทาง​เข้าไป​ถึง​ตอน​ใน​ของ​แอฟริกา​และ​ได้​นำพา “เดเ​นก ​แห่ง​การ​เต้นรำ​ของ​พระเจ้า” (dng of the God’s dances) กลับ​มา​ด้วย หลังจาก​นั้น​ฟาโรห์​เปปิ​ที่ 2 ก็ได้​ตอบ​กลับ​ไป​โดย​มี​ใจความ​สำคัญ​ว่า...

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94109773884216_4.jpg)
อีกหนึ่งบทบาทของคนแคระในอียิปต์โบราณก็คือเป็นนักดนตรี.

“ขอ​ให้​เจ้า (ฮา​ร์​คุ​ฟ) เร่ง​ขึ้น​เหนือ​มา​โดย​ไว และ​จง​นำ​เอา​ปิกมี่​มา​กับ​เจ้า​ด้วย เพื่อ​เต้นรำ​ถวาย​แด่​เทพเจ้า​และ​สร้าง​ความ​สำราญ​ใจ​ให้​กับ​กษัตริย์​แห่ง​อียิปต์​บน​และ​อียิปต์​ล่าง ‘เน​เฟอร์​คา​เร’ (Neferkare) (พระนาม​ของ​เปปิ​ที่ 2) เมื่อ​ปิกมี่​ลง​เรือ​มา​กับ​เจ้า ให้​แต่งตั้ง​คน​ที่​เชื่อใจ​ได้​คอย​ดูแล​ปิกมี่​เหล่า​นั้น​ทั้ง​สอง​ข้าง​ของ​เรือ ดูแล​ไม่​ให้​พวก​เขา​ตกลง​ไป​ใน​น้ำ ถ้า​เจ้า​นำพา​ปิกมี่​มา​ได้​โดย​ปลอดภัย ข้า​จะ​ตก​รางวัล​ให้​กับ​เจ้า​อย่าง​งาม​เสีย​ยิ่ง​กว่า​ที่​เคย​เกิด​ขึ้น​ใน​รัชสมัย​ของ​ฟาโรห์​องค์​ก่อน​เสีย​อีก”

ข้อความ​โต้ตอบ​ระหว่าง​ฟาโรห์​เปปิ​ที่ 2 กับ​ฮา​ร์​คุ​ฟ​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​คน​แคระ​หรือ​ปิกมี่​นั้น​ส่วน​หนึ่ง​มี​บทบาท​หลัก​ใน​ฐานะ​นัก​เต้นรำ​ซึ่ง​สร้าง​ความ​สำราญ​ใจ​ให้​ทั้ง​กษัตริย์​และ​เทพเจ้า​ของ​ชาว​ไอ​ย​คุปต์ ว่า​แต่​ถ้า​เรา​วิเคราะห์​จาก​หลักฐาน​อื่นๆ บ้าง​ล่ะ เรา​จะ​พบ​เห็น​บทบาท​ใหม่​ของ​คน​แคระ​ใน​อารยธรรม​อียิปต์​โบราณ​อีก​หรือ​ไม่ คง​ต้อง​มา​ดู​ที่​การ​แสดงออก​ทาง​ศิลปะ​ของ​พวก​เขาครับ

ส่วน​ใหญ่​แล้ว หลักฐาน​เกี่ยว​กับ​คน​แคระ​ใน​อียิปต์​โบราณ​นั้น​มัก​จะ​ปรากฏ​ให้​เห็น​ใน​ศิลปะ​สมัย​ราช​อาณาจักร​เก่า​มาก​กว่า​สมัย​อื่นๆครับ ไม่​ว่า​จะ​เป็น​จาก​ภาพ​สลัก​บน​ผนัง​ก็ดี หรือ​รูป​สลัก​แบบ​ลอยตัว​ต่างๆก็ดี ล้วน​สะท้อน​ให้​เห็น​ถึง​บทบาท​นอกเหนือ​จาก​การ​เป็น “นัก​เต้นรำ​ของ​พระเจ้า” ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ผู้​ดูแล​ด้าน​ผ้า​ลินิน​หรือ​แม้แต่​ช่าง​ทำ​เครื่องประดับ แสดง​ให้​เห็น​ว่าความ​แปลก​ประหลาด​ทาง​ร่างกาย​ของ​พวก​เขา​แทบ​จะ​ไม่​เป็น​อุปสรรค​ต่อ​การ​ทำ​งาน​เลย​ครับ ยิ่ง​ไป​กว่า​นั้น​ยัง​มี​คน​แคระ​อีก​มากมาย​ที่​ได้​รับ​ตำแหน่ง​เป็น​ถึง​ขุนนาง​ชั้น​สูง อีก​ทั้ง​ยัง​มี​บทบาท​ที่​น่า​สนใจ​ใน​ราช​สำนัก​อียิปต์​โบราณ​อีก​ด้วย

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92981223430898_5.jpg)
บทบาทสำคัญที่สุดของคนแคระคือการเป็นนักเต้นรำ.

คน​แคระ​ชั้น​สูง​ท่าน​แรก​ที่​อยาก​แนะนำ​ให้​รู้จัก​มา​จาก​สมัย​ฟาโรห์​คู​ฟู (Khufu) เจ้าของ​พีระมิด​องค์​มหึมา​ที่สุด​ใน​อียิปต์​โบราณ​ที่​นคร​สุสาน​กิ​ซ่า คน​แคระ​ท่าน​นี้​ชื่อ “เซเ​นบ” (Seneb) ครับ สิ่ง​หนึ่ง​ที่​ทำให้​เรา​รู้จัก​เซ​เ​นบ​เป็น​อย่าง​ดี​ก็​คือ​รูป​สลัก​ที่​ค้น​พบ​จาก​สุสาน​ของ​เขา​ใน​ช่วง​ปี ค.ศ. 1925 ที่​กิ​ซ่า ปัจจุบัน​เก็บ​รักษา​เอา​ไว้​ที่​พิพิธภัณฑ์​แห่งชาติ ณ กรุง​ไคโร รูป​สลัก​ชิ้น​นี้​นอกจาก​จะ​แสดง​ให้​เห็น​ภาพ​ของ​คน​แคระ​แล้ว ยัง​แฝง​ไป​ด้วย​ความ​อบอุ่น​ของ​ครอบครัว​ของ​เขา​อีก​ด้วย​ครับ

คน​แคระ​ท่าน​ที่​สอง​ที่​อยาก​นำพา​ไป​ทำ​ความ​รู้จัก​ก็​คือ “เพเรนิ​อัง​ค์” (Pereniankh) ครับ คน​แคระ​ท่าน​นี้​เรียก​ได้​ว่า​มี​ความ​พิเศษ​มาก​กว่า​คน​แคระ​ท่าน​อื่นๆ ก็​ด้วย​ว่า​ใน​สุสาน​ของ​เขา​มี “มัมมี่” ที่​ช่วย​ยืนยัน​ความ​เป็น​คน​แคระ​ของ​เขา​อยู่​ด้วย​นั่นเอง​ครับ!!

เพเรนิ​อัง​ค์​มี​ชีวิต​อยู่​ใน​ช่วง​ราช​อาณาจักร​เก่า​เช่น​เดียว​กับ​คน​แคระ​เซ​เ​นบ เป็นไปได้​ว่า​เขา​รับ​ใช้​อยู่​ใน​รัชสมัย​ของ​ฟาโรห์​แห่ง​ราชวงศ์​ที่ 5 หรือ 6 สุสาน​ของ​เพเรนิ​อัง​ค์​ตั้ง​อยู่​ที่​กิ​ซ่า ใกล้​เคียง​กับ​สุสาน​ของ​เซ​เ​นบ​นั่น​ทำให้​นัก​อียิปต์​วิทยา​บาง​ท่าน​เสนอ​ว่า​บางที​เซ​เ​นบ​และ​เพเรนิ​อัง​ค์​อาจจะ​เป็น​ญาติ​ทาง​สายเลือด​ของ​กันและกัน​ก็​เป็นได้​ครับ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92876761696404_6.jpg)
รูปสลักของคนแคระนามว่าเซเนบ นั่งเคียงข้างภรรยาของเขาโดยมีลูกสองคนยืนอยู่ด้านล่าง.


มัมมี่​ของ​เพเรนิ​อัง​ค์​ทำให้​ทราบ​ว่า​​เขา​สิ้นลม​เมื่อ​อายุ​ราว 40 ปี กระดูก​ของ​เพเรนิ​อัง​ค์​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​เขา​มี​แขน​ขา​ที่​สั้น​ผิด​ปกติ​จริง ซึ่ง​ก็​สอดคล้อง​กับ​รูป​สลัก​ของ​เขา​ทุก​อย่าง นี่​จึง​ถือ​เป็น​ความ​น่า​ทึ่ง​อย่าง​หนึ่ง​ของ​ศิลปะ​อียิปต์​โบราณ​เลย​ก็​ว่า​ได้​ครับ​ที่​ช่าง​ศิลป์​ได้​ทำ​การ​ถ่ายทอด​ร่างกาย​ที่แท้​จริง​ของ​เพเรนิ​อัง​ค์​ออก​มา​ไว้​ที่​รูป​สลัก​ได้​อย่าง​ชัดเจน

หลายๆท่าน​อาจจะ​อยาก​ยกมือ​ถาม​ว่า นอกจาก​คน​แคระ​ใน​สมัย​ราช​อาณาจักร​เก่า​อย่าง​เซ​เ​นบ​และ​เพเรนิ​อัง​ค์​แล้ว ช่วง​สมัย​อื่นๆของ​อียิปต์​โบราณ​มี​ภาพ​คน​แคระ​ปรากฏ​อยู่​อีก​หรือ​ไม่ คำ​ตอบ​อยู่​ที่​บุรุษ​นาม​ว่า “ด​เจ​โฮ” (Djeho) ซึ่ง​เป็น​คน​รับ​ใช้​อยู่​ใน​บ้าน​ของ​ชน​ชั้น​สูง​ท่าน​หนึ่ง​ครับ

ด​เจ​โฮ​มี​ชีวิต​อยู่​ใน​ช่วง​ราชวงศ์​ที่ 30 รัชสมัย​ของ​ฟาโรห์​เน​คทา​เน​โบ​ที่ 2 (Nectanebo II) ซึ่ง​ครอง​ราชย์​อยู่​ใน​ช่วง​ประมาณ 360 ปี​ก่อน​คริสตกาล ภาพ​สลัก​ขอ​งด​เจ​โฮ​ความ​สูง​ราว 120 เซนติเมตร​ใน​ลักษณะ​หัน​ข้าง แขน​และ​ขา​ของ​เขา​สั้น​และ​ตัน​ผิด​ปกติ ตาม​แบบฉบับ​ของ​คน​แคระ​ปรากฏ​ให้​เห็น​ชัดเจน​บน​ฝา​โลง​ศพ​ของ​เขา​เอง นัก​อียิปต์​วิทยาเสนอว่าความ​สูง​นี้​เป็น​ขนาด “เท่าตัว​จริง” ขอ​งด​เจ​โฮ​ด้วย​ครับ

นอกจาก​ชน​ชั้น​สูง​แล้ว ชาว​ไอ​ย​คุปต์​ยัง​มี​เทพเจ้า​ที่​อยู่​ใน​ร่าง​ของ​คน​แคระ​ด้วย​นะ​ครับ ซึ่ง​เทพเจ้า​ที่​เชื่อ​ว่า​หลายๆท่าน​อาจจะ​รู้จัก​กัน​ดี​องค์​หนึ่ง​ก็​คือ​เทพเจ้า “เบส” (Bes) ครับ เบส​เป็น​เทพ​คน​แคระ​ที่​ดูแล​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​ของ​การ​คลอด​บุตร คอย​ช่วย​ดูแล​บ้าน ดูแล​เด็ก​ทารก อาจจะ​มี​หน้าตา​ที่​น่า​กลัว​สัก​หน่อย แต่​ก็​เพื่อ​ใช้​ขับ​ไล่​สิ่ง​ชั่ว​ร้าย​ต่างๆให้​ออก​ไป​จาก​ชาว​ไอ​ย–​คุปต์​นั่นเอง​ครับ

อีก​หนึ่ง​เทพเจ้า​คน​แคระ​เช่น​กัน​แต่​อาจจะ​รู้จัก​กัน​น้อย​กว่า​ก็​คือ​เทพ “พ​ทา​ห์” (Ptah) ครับ เทพ​พ​ทา​ห์​คือ​เทพเจ้า​แห่ง​งาน​ช่าง​เป็น​เทพเจ้า​อุปถัมภ์​แห่ง​นคร​เมมฟิส (Memphis) บ่อย​ครั้ง​เรา​มัก​จะ​พบ​เทพเจ้า​พ​ทา​ห์​ใน​ร่าง​ของ​บุรุษ​หัวโล้น​ใน​ชุด​ผ้า​พัน​มัมมี่​ยืน​ขา​ชิด​ถือ​คทา แต่​บาง​ครั้ง​เทพเจ้า​พ​ทา​ห์​ก็​จะ​ได้​รับ​การ​แสดงออก​ใน​ร่าง​ของ​คน​แคระ​เช่น​กัน​ครับ (แต่​ค่อนข้าง​น้อย​ครั้ง​มากๆเมื่อ​เทียบ​กับ​ร่าง​บุรุษ​มัมมี่) พ​ทา​ห์​ใน​ร่าง​คน​แคระ​มัก​จะ​เปลือย​กาย มี​แขน​ขา​สั้น ศีรษะ​ใหญ่ บาง​ครั้ง​มี​ปอย​ผม​ข้าง​เดียว (Sidelock of Youth) ซึ่ง​แสดง​ให้​เห็น​ถึง​ความ​เป็น​เด็ก​ด้วย ส่วน​ใหญ่​แล้ว​เทพเจ้า​พ​ทา​ห์​ใน​ร่าง​คน​แคระ​นั้น​มัก​จะ​ปรากฏ​ใน​รูป​ของ​เครื่องราง​ให้​ชาว​ไอ​ย​คุปต์​ได้​พก​ติดตัว​ไป​ไหน​มา​ไหน​ได้​โดย​สะดวก

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94375553602973_7.jpg)
ปิกมี่คือของขวัญล้ำค่าที่ฟาโรห์มักจะให้คณะสำรวจของพระองค์นำกลับมายังอียิปต์.

พูด​ถึง​คน​แคระ​ที่​เป็น​บุรุษ​มา​มาก​แล้ว หลายๆท่าน​อาจจะ​เริ่ม​สงสัย​ว่า​แล้ว​อียิปต์​โบราณ​มี​คน​แคระ​ที่​เป็น “สตรี” บ้างหรือ​ไม่ ซึ่ง​ก็​แน่นอน​ครับ​ว่า​มี แต่​หลักฐาน​อาจจะ​น้อย​กว่า​เมื่อ​เทียบ​กับ​คน​แคระ​ที่​เป็น​บุรุษ หนึ่ง​ใน​หลักฐาน​ของ​คน​แคระ​สตรี​อยู่​ใน​ร่าง​ของ​มัมมี่​ซึ่ง​นาง​เสีย​ชีวิต​จาก​การ​คลอด​บุตร โดยที่​ยัง​มี​ร่าง​ของ​เด็ก​ทารก​ปรากฏ​อยู่​ให้​เห็น​เป็น​หลักฐาน ส่วน​บทบาท​ใน​สังคม​ของ​คน​แคระ​หญิง​ก็​ไม่ได้​ด้อย​ไป​กว่า​คน​แคระ​ชาย​เท่าใด​นัก​ครับ เรา​ทราบ​ว่า​คน​แคระ​หญิง​เหล่า​นี้​บ้าง​ก็​ทำ​หน้าที่​เป็น​พยาบาล​คอย​ดูแล​เด็กๆ บ้าง​ก็​เป็น​หมอตำแย (Midwife) บ้าง​ก็​เป็น​นัก​เต้นรำ​ที่​คอย​สร้าง​ความ​สุนทรีย์​ให้​กับ​ชาว​ไอ​ย​คุปต์​ไม่​ต่าง​จาก​คน​แคระ​ที่​เป็น​บุรุษ​เลย​ครับ

นอกจาก​นั้น​แล้ว​ชาว​ไอ​ย​คุปต์​ยัง​ให้​เกียรติ​กับ​คน​แคระ​มากๆอีก​ด้วย​ครับ​ดัง​ที่​ปรากฏ​ใน​งาน​เขียน​ของ​พวก​เขา​ว่า “จง​อย่า​เย้ย​หยัน​คน​ตาบอด อย่า​ยั่วเย้า​คน​แคระ​หรือ​ขัด​ขา​คน​พิการ” นั่น​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​สำหรับ​ชาว​ไอ​ย​คุปต์​แล้ว พวก​เขา​ไม่ได้​มอง​ว่า​คน​แคระ​คือ​ตัว​ประหลาด​แต่​อย่าง​ใด มิ​หนำซ้ำ​คน​แคระ​ยัง​ได้​รับ​การ​นับถือ​อย่าง​สมเกียรติ​ด้วย ไม่​เช่น​นั้น​ก็​คง​จะ​ไม่​มี​เซ​เ​นบ เพเรนิ​อัง​ค์ ดเจโฮ หรือ​แม้แต่​เทพเจ้า​เบส​และ​พ​ทา​ห์​ใน​ร่าง​ของ​คน​แคระ​หรอก จริง​ไหม​ล่ะครับ?


โดย : ณัฐพล เดชขจร
ทีมงาน นิตยสาร ต่วย'ตูน