[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 27 มกราคม 2559 19:46:44



หัวข้อ: โบราณสถานวัดน้อย จ.น่าน วัดที่เชื่อกันว่าเล็กที่สุดในประเทศไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 27 มกราคม 2559 19:46:44
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95544686623745_3.jpg)
พระพุทธรูปและแผงพระพิมพ์ไม้ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารวัดน้อย

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46383648655480_4.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66379047185182_2.jpg)
รูปทรงของวัดเป็นวิหาร ก่ออิฐ ฉาบปูน ขนาดพอๆ กับศาลพระภูมิ
มีขนาดกว้าง ๑.๙๘ เมตร ยาว ๒.๓๔ เมตร สูง ๓.๓๕ เมตร
แบบศิลปะล้านนา สกุลช่างน่าน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49290139352281_1.jpg)
เชื่อกันว่า โบราณสถานวัดน้อย เป็นวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย


โบราณสถานวัดน้อย
วัดที่เชื่อกันว่าเล็กที่สุดในประเทศไทย

โบราณสถานวัดน้อย ตั้งอยู่ในพื้นที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน หรือภายในบริเวณคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน ที่เรียกว่า “หอคำ” ใกล้กับวัดช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา เชื่อว่าพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๖๓ กราบบังคมทูล ถึงจำนวนวัดในเมืองน่าน ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แต่ปรากฏว่านับจำนวนเกินไปหนึ่งวัด จึงได้สร้างวัดองค์น้อยแห่งนี้ขึ้นมาให้ครบตามจำนวนที่กราบบังคมทูลไป พระองค์เข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๕ เพียงครั้งเดียว ใน พ.ศ.๒๔๑๖ วัดน้อยคงสร้างหลังจากนั้น

รูปทรงของวัดเป็นวิหารก่ออิฐถือปูน  ขนาดกว้าง ๑.๙๘ เมตร ยาว ๒.๓๔ เมตร สูง ๓.๓๕ เมตร แบบศิลปะล้านนา สกุลช่างน่าน มีพระพุทธรูปและแผงพระพิมพ์ไม้ประดิษฐานอยู่ภายใน เชื่อว่าเป็นวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83940290245744__3648_3592_3657_3634_3609_3656.gif)
ภาพเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
ภายหลังขึ้นเป็นเจ้าเมืองน่าน เมื่อตอนอายุ ๖๓ ปี

(http://www.thailandoutdoor.com/2continents/AngleOfLuangprabang_files/droppedImage_26.jpg)
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๓
เป็นต้นราชสกุล ณ น่าน ท่านถึงแก่พิราลัยด้วยพระโรคชรา
ในวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๑ สิริรวมชนมายุได้ ๘๗ ปี

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60295318025681_220px_3627_3617_3656_3629_3617.jpg)
เจ้าศรีพรหมา (หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา)
ธิดาในพระเจ้าสุริยะพงศ์ผริตเดช เจ้าประเทศราชผู้ครองนครน่าน
ภาพนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
ทรงฉายให้ด้วยฝีพระหัตถ์และทรงตั้งไว้ในห้องพระบรรทม

ปี พ.ศ.๒๔๔๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า "พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์" เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน

ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้สร้างหอคำ (คุ้มหลวง) เป็นที่ประทับเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ แทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของเจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ ลักษณะตัวอาคารโอ่โถงงดงามก่ออิฐถือปูนแข็งแรง ตกแต่งอ่อนช้อยสวยงามด้วยลายลูกไม้ นับเป็นสถาปัตยกรรมก่อสร้างที่ดีเด่นแห่งหนึ่งของเมืองไทย  

ด้านหน้าหอคำ มีข่วงสำหรับจัดงานพิธีต่างๆ (คล้ายสนามหลวง ในกรุงเทพมหานคร) ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จหรือขบวนรับแขกเมืองสำคัญ และในปี พ.ศ.๒๔๗๔ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน ถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ.๒๕๑๑ จังหวัดน่าน ได้มอบหอคำให้กรมศิลปากรใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน จนกระทั่งปัจจุบัน

ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านมีโบราณวัตถุ ตลอดจนสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดี และชาติพันธุ์วิทยาประจำท้องถิ่น มาจัดแสดงให้ชมอย่างมีระบบและระเบียบสวยงาม คือ ส่วนที่เป็นห้องจัดแสดงชั้นล่าง จัดแสดงชาติพันธุ์วิทยาเกี่ยวกับล้านนา เช่น ลักษณะอาคารบ้านเรือนและเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน การทอผ้าและผ้าพื้นเมืองน่านแบบต่างๆ ที่สวยงาม การสาธิตงานประเพณีและความเชื่อต่างๆ เช่น การแข่งเรือ จุดบ้ั้งไฟสงกรานต์ และพิธีสืบชะตา เป็นต้น

ที่น่าสนใจในการจัดแสดงห้องโถงข้างล่างนี้ ยังมีการจัดแสดงเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่และเครื่องใช้ของชนกลุ่มน้อยในเมืองน่าน รวม ๕ เผ่าด้วยกัน คือ ไทลื้อ แม้ว เย้า ถิ่น และผีตองเหลือง ส่วนบริเวณห้องจัดแสดงชั้นบน เป็นการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน การสร้างเมืองและโบราณสถานที่สำคัญ รูปถ่ายโบราณ งานประณีตศิลป์ เครื่องใช้เงินตรา อาวุธ ศิลาจารึก และเครื่องถ้วยชามที่ค้นพบในเมืองน่าน


ที่สำคัญที่สุดได้แก่ ห้องเก็บ “งาช้างดำ” ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุคู่เมืองน่าน ตามประวัติกล่าวไว้ว่าได้มาจากเมืองเชียงตุง ตั้งแต่ครั้งโบราณ เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย เจ้านายบุตรหลานจึงมอบให้เป็นสมบัติของแผ่นดินพร้อมหอคอย ลักษณะของงาช้างดำนี้เป็นงาปลีเปลือกสีน้ำตาลเข้า ขนาดความยาว ๙๗ เซนติเมตร วัดโดยรอบ ๔๗ เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ ๑๘ กิโลกรัม ส่วนปลายมนมีจารึกอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยกำกับไว้ว่า “กิ่งนี้หนักหนึ่งหมื่นห้าพัน” หรือประมาณ ๑๘ กิโลกรัม ไม่สามารถประเมินราคาได้ ท่านที่สนใจไปชมกันได้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดน่าน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/69076239814360_7.jpg)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
(อยู่ระหว่างการปรับปรุง - ภาพ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๘)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92466667087541_8.jpg)
อนุสาวรีย์เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ผู้เป็นเจ้าของหอคำ
ตั้งอยู่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60576814868383_6.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62240707791513_9.jpg)
ต้นลีลาวดี หรือลั่นทม ผลัดใบในฤดูหนาว
ข้างรั้วด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/43756039440631_5.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89826773396796_IMG_2433.jpg)