[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 11 มีนาคม 2554 12:24:03



หัวข้อ: ยึดติด
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 11 มีนาคม 2554 12:24:03
(http://www.taklong.com/pictpost/u/673741%20H.jpg)

http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma



ถ่ายภาพประกอบเนื้อหาโดย Sometime สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย



อารมณ์ของภาพที่สื่อ - ออกมาควันธูป Background ด้านหลังและผู้ที่เป็นแบบกำลังตั้งจิตขอพรอะไรเราไม่อาจจะทราบได้ จุด

Focus อยู่ที่ผู้เป็นแบบให้ถ่ายเป็นไปตามธรรมชาติและ Background ด้านหลังเบลอ ๆ ทำให้ผู้ที่เป็นแบบให้ถ่ายเด่นชัดขึ้น



ท่านอาจารย์..............แต่ว่ามีใครที่จะพิจารณาอริยสัจจธรรมที่ว่า.....................

ทุกข์นั้นตัณหามิได้สร้างแล้วย่อมไม่มา......................

ถ้าไม่มีตัณหาแล้ว ทุกข์ย่อมเกิดไม่ได้ แม้แต่ความเป็นเราด้วยตัณหา

ความเป็นเราด้วยทิฏฐิ ความเป็นเราด้วยมานะ ก็ไม่พ้นจากโลภมูลจิตเลย

ความเป็นเราด้วยทิฏฐิ คือ โลภมูลจิต{ทิฏฐิคตสัมปยุตจิต}เกิดร่วมกับ

สักกายทิฏฐิ ที่ยึดถือนามธรรมและรูปธรรม ว่าเป็นตัวตน ในขณะนั้นก็ควรจะพิจารณา

เป็นทุกข์แค่ไหน  

ทุกข์ทั้งหมดย่อมมาจากการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน หรือเป็นเรา

ซึ่งขณะนั้นก็เกิดร่วมกับโลภะ ความยินดีพอใจ ในความเห็นในการยึดถือนั้น

เพราะฉะนั้นถ้ามี

ปัญญาที่จะสามารถรู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา

เพียรละคลายการยึดถือนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นตัวตน

และสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมในวันหนึ่ง ๆ

ก็จะทำให้ความทุกข์เบาบางได้แม้ในขั้นของการพิจารณาว่า

สภาพธรรมที่กำลังปรากฏนั้น ๆ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

แต่ที่จะดับได้จริง ๆ เป็นสมุจเฉท ก็ต้องถึงโสตาปฏิมัคคจิต จึงจะดับการ

ยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นตัวตนและความเห็นผิดต่าง ๆ ได้

ถ้ายังไม่ถึงในบางกาลก็จะต้องเป็นทุกข์

เพราะการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน

และถ้ายึดถือเหนียวแน่นมาก

ทุกข์นั้นก็ต้องเพี่มมากขึ้น

อนึ่ง เงินทองนี้ ทำให้เกิดความโลภ

ความมัวเมาความลุ่มหลงความติดดังเครื่องผูก

มีภัย มีความคับแค้นมาก เงินทองนั้นไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนเลย

นรชนเป็นอันมาก

ประมาท มีใจเศร้าหมองแล้ว เพราะเงินทองเหล่านี้  

จึงต้องเป็นศัตรู วิวาทบาดหมางกันและกัน.

อาสวะทั้งหลายไม่ใช่หมดสิ้นไปเพราะเงินทองดอกนะ

กามทั้งหลายเป็นอมิตร เป็นผู้ฆ่า เป็นศัตรู เป็นดั่งลูกศรเสียบไว้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถาเล่ม 2 ภาค 4 หน้าที่ 416 สุภากัมมารธิดาเถรีคาถา



สนทนาธรรมมูลนิธิบ้านธรรมะบรรยายโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์สนใจฟังปาฐคาถาธรรมเรียนเชิญที่มูลนิธิ




หัวข้อ: Re: ยึดติด
เริ่มหัวข้อโดย: wondermay ที่ 11 มีนาคม 2554 14:44:41
ทุกข์ทั้งหมดย่อมมาจากการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน หรือเป็นเรา
ซึ่งขณะนั้นก็เกิดร่วมกับโลภะ ความยินดีพอใจ ในความเห็นในการยึดถือนั้น
เพราะฉะนั้นถ้ามี ปัญญาที่จะสามารถรู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา
เพียรละคลายการยึดถือนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นตัวตน
และสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมในวันหนึ่ง

อาจารย์คะหนูสงสัย

อย่างคนในวัยทำงาน
มีความมุมานะ เพียรพยายาม ในการทำงานให้ออกมาดี ด้วยความตั้งใจและสุจริต
แต่ลึกๆแล้วเหตุแห่งการกระทำนั้น ทั้งจากปัจจุยของตัวเอง ครอบครัว....ก็
มาจากความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ต้องการนู่นนี่ แม้ว่าอาจจะไม่ได้คาดหวังไว้มาก แต่ก็มีบ้าง
มันก็ดูเป็นเรื่องดีทีมีความเพียร แต่ว่ามันก็ดูเหมือนยึดติด
แต่ถ้าไม่ยึดติด ไม่ต้องการ มันจะไม่เกิดแรงบันดาลใจในการกระทำงาน หรือเปล่า (:KY:)



อีกกรณีคือ
คนป่วยที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้
แน่นอนว่าคนเหล่านี้ต้องยึดเอาคำสอนเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแหงๆ แต่ในขณะเดียวกันก็เคยได้ยินว่า
ความผูกพันก็สร้างกำลังอันน่าอัศจรรย์ให้อยู่ต่อไปได้อีกนานก็มี
หรือว่าการไม่ยึดติดกับสังขาร ไม่หวงชีวิต กับการที่ยังต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อ....มันคนละประเด็นกัน
แล้วหนทางที่ถูกที่ควรเป็นยังไง (:???:)


หัวข้อ: Re: ยึดติด
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 11 มีนาคม 2554 16:45:35
ทุกข์ทั้งหมดย่อมมาจากการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน หรือเป็นเรา
ซึ่งขณะนั้นก็เกิดร่วมกับโลภะ ความยินดีพอใจ ในความเห็นในการยึดถือนั้น
เพราะฉะนั้นถ้ามี ปัญญาที่จะสามารถรู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา
เพียรละคลายการยึดถือนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นตัวตน
และสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมในวันหนึ่ง

อาจารย์คะหนูสงสัย

อย่างคนในวัยทำงาน
มีความมุมานะ เพียรพยายาม ในการทำงานให้ออกมาดี ด้วยความตั้งใจและสุจริต
แต่ลึกๆแล้วเหตุแห่งการกระทำนั้น ทั้งจากปัจจุยของตัวเอง ครอบครัว....ก็
มาจากความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ต้องการนู่นนี่ แม้ว่าอาจจะไม่ได้คาดหวังไว้มาก แต่ก็มีบ้าง
มันก็ดูเป็นเรื่องดีทีมีความเพียร แต่ว่ามันก็ดูเหมือนยึดติด
แต่ถ้าไม่ยึดติด ไม่ต้องการ มันจะไม่เกิดแรงบันดาลใจในการกระทำงาน หรือเปล่า (:KY:)

อีกกรณีคือ
คนป่วยที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้
แน่นอนว่าคนเหล่านี้ต้องยึดเอาคำสอนเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแหง ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็เคยได้ยินว่า
ความผูกพันก็สร้างกำลังอันน่าอัศจรรย์ให้อยู่ต่อไปได้อีกนานก็มี
หรือว่าการไม่ยึดติดกับสังขาร ไม่หวงชีวิต กับการที่ยังต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อ....มันคนละประเด็นกัน
แล้วหนทางที่ถูกที่ควรเป็นยังไง (:???:)

อีกกรณีคือ
คนป่วยที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้
แน่นอนว่าคนเหล่านี้ต้องยึดเอาคำสอนเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแหง ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็เคยได้ยินว่า
ความผูกพันก็สร้างกำลังอันน่าอัศจรรย์ให้อยู่ต่อไปได้อีกนานก็มี
หรือว่าการไม่ยึดติดกับสังขาร ไม่หวงชีวิต กับการที่ยังต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อ....มันคนละประเด็นกัน
แล้วหนทางที่ถูกที่ควรเป็นยังไง (:???:)



(http://www.taklong.com/pictpost/u/673741%20H.jpg)


อ้า....เอ้อ....แอ้ สัญชาตญาณของมนุษย์มีอยู่คือ ความรักตัวกลัวตาย โรคที่รักษาไม่หาย อาจจะเป็นมะเร็งหรือโรคอื่นล้วนต้อง

ตายทั้งนั้น คนที่ พร้อมจะตายย่อมไม่หวั่นเกรงสิ่งใด ๆ ที่รออยู่ตรงหน้าคือ{ฉันพร้อมที่จะตายอยู่ทุกเวลา}คนผู้นั้นถ้าไม่ยึดติดสิ่งใด ๆ ถือว่า บรรลุ

ธรรมขั้นหนึ่ง ส่วนหนทางที่ถูกต้องนั้น คือ.....ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติเพราะว่าเราหนีไม่พ้นธรรมชาติได้ควรเดินทาง

สายกลาง คำตอบนี้อาจไม่ตรงประเด็นนัก อีก 1 ประเด็นก็คือ.....ยังไม่อยากตายเพราะยังมีห่วงมีธุระต้องทำเช่น ห่วงลูกยังเด็กเล็กนั้นก็คือการยึด

ติดทำให้ใจไม่เป็นสุขหนทางที่ถูกต้องคือ ต้องปล่อยวางก่อนจะตายเพราะว่า ทุก ๆ คนมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ย่อมหนี{กฏแห่งกรรม}ไม่พ้น




หัวข้อ: Re: ยึดติด
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 11 มีนาคม 2554 17:07:29
(http://www.taklong.com/pictpost/u/673741%20H.jpg)

อาจารย์คะหนูสงสัยอย่างคนในวัยทำงาน..........................

มีความมุมานะ เพียรพยายาม ในการทำงานให้ออกมาดี ด้วยความตั้งใจและสุจริต

แต่ลึก ๆ แล้วเหตุแห่งการกระทำนั้น ทั้งจากปัจจัยของตัวเอง ครอบครัว........ก็

มาจากความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ต้องการนู่นนี่ แม้ว่าอาจจะไม่ได้คาดหวังไว้มาก แต่ก็มีบ้าง

มันก็ดูเป็นเรื่องดีทีมีความเพียร แต่ว่ามันก็ดูเหมือนยึดติด

แต่ถ้าไม่ยึดติด ไม่ต้องการ มันจะไม่เกิดแรงบันดาลใจในการกระทำงาน หรือเปล่า........



อ้า......เอ้อ......แอ้......สำหรับข้อนี้นั้นมนุษย์ทุกผู้ - ทุกนามย่อมมีกิเลสเพราะฉะนั้น.....กิเลสตัณหาจึงเป็นแรงขับเคลื่อน
เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการเช่น บ้าน - รถ - สิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งบำรุง - บำเรอพูดตามภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่าทำเพื่อสนองตัณหามันเป็น
ส่วนหนึ่งจะว่าเป็นแรงบันดาลใจมันก็ใจแต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งก็ควรใช้หลัการเศรษฐกิจพอเพียงในยุคก่อนโน้นไม่มีสิ่งอำนวยควมสะดวกมนุษย์ก็อยู่กันได้ กิเลสนี่แหละน่ากลัวหมายเหตุ.......คำตอบนี้อาจมองเห็นภาพไม่ชัดเจนนัก




หัวข้อ: Re: ยึดติด
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 11 มีนาคม 2554 17:17:51
ทุกข์ทั้งหมดย่อมมาจากการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน หรือเป็นเรา
ซึ่งขณะนั้นก็เกิดร่วมกับโลภะ ความยินดีพอใจ ในความเห็นในการยึดถือนั้น
เพราะฉะนั้นถ้ามี ปัญญาที่จะสามารถรู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา
เพียรละคลายการยึดถือนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นตัวตน
และสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมในวันหนึ่ง

อาจารย์คะหนูสงสัย

อย่างคนในวัยทำงาน
มีความมุมานะ เพียรพยายาม ในการทำงานให้ออกมาดี ด้วยความตั้งใจและสุจริต
แต่ลึกๆแล้วเหตุแห่งการกระทำนั้น ทั้งจากปัจจุยของตัวเอง ครอบครัว....ก็
มาจากความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ต้องการนู่นนี่ แม้ว่าอาจจะไม่ได้คาดหวังไว้มาก แต่ก็มีบ้าง
มันก็ดูเป็นเรื่องดีทีมีความเพียร แต่ว่ามันก็ดูเหมือนยึดติด
แต่ถ้าไม่ยึดติด ไม่ต้องการ มันจะไม่เกิดแรงบันดาลใจในการกระทำงาน หรือเปล่า (:KY:)



อีกกรณีคือ
คนป่วยที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้
แน่นอนว่าคนเหล่านี้ต้องยึดเอาคำสอนเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแหงๆ แต่ในขณะเดียวกันก็เคยได้ยินว่า
ความผูกพันก็สร้างกำลังอันน่าอัศจรรย์ให้อยู่ต่อไปได้อีกนานก็มี
หรือว่าการไม่ยึดติดกับสังขาร ไม่หวงชีวิต กับการที่ยังต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อ....มันคนละประเด็นกัน
แล้วหนทางที่ถูกที่ควรเป็นยังไง (:???:)



(http://www.taklong.com/pictpost/u/673741%20H.jpg)

ทุกข์ทั้งหมดย่อมมาจากการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน หรือเป็นเราซึ่งขณะนั้นก็เกิดร่วมกับโลภะ ความยินดีพอใจ ในความเห็นในการยึดถือนั้นเพราะฉะนั้นถ้ามี ปัญญาที่จะสามารถรู้ความจริงว่าไม่ใช่เราเพียรละคลายการยึดถือนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นตัวตนและสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมในวันหนึ่ง



การเจริญสติปัฏฐานในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ยากแต่ควรเจริญถ้าไม่มีความเข้าใจถูก

มั่นคงตามลำดับ แล้วได้ยินคำว่า{สติปัฏฐาน}ก็หลงทางเพราะคิดว่าจะต้องไปทำ

หรือว่าทำแล้ว ปัญญาจะเกิด แต่จริง ๆ แล้วทั้งหมดของพระธรรมเพื่อให้เกิด ความเข้า

ใจถูก เห็นถูกตามลำดับขั้นในสิ่งซึ่งกำลังปรากฏถ้ามีการพูดเรื่องสติปัฏฐานแล้วก็มี

การเชิญชวนให้มีการปฏิบัติแล้วก็ คิดว่าอย่างนั้นเป็น{สติ}อย่างนี้เป็นสติอย่างนี้เป็น

กาย ต้องรู้ที่กาย อย่างนี้เป็นความรู้สึก ต้องรู้ที่ความรู้สึก นั่นไม่ใช่ความเข้าใจถูก



หัวข้อ: Re: ยึดติด
เริ่มหัวข้อโดย: wondermay ที่ 11 มีนาคม 2554 17:43:08
คิดว่าอย่างนั้นเป็น{สติ}อย่างนี้เป็นสติอย่างนี้เป็น

กาย ต้องรู้ที่กาย อย่างนี้เป็นความรู้สึก ต้องรู้ที่ความรู้สึก นั่นไม่ใช่ความเข้าใจถูก







อ่ออออ อื่มมมม


หัวข้อ: Re: ยึดติด
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 11 มีนาคม 2554 18:13:15
คิดว่าอย่างนั้นเป็น{สติ}อย่างนี้เป็นสติอย่างนี้เป็น

กาย ต้องรู้ที่กาย อย่างนี้เป็นความรู้สึก ต้องรู้ที่ความรู้สึก นั่นไม่ใช่ความเข้าใจถูก.....................อ่ออออ อื่มมมม



(http://www.taklong.com/pictpost/u/673741%20H.jpg)

(:BH:)โอ้.....เอ้า......อื้อ.....โอย.......เอ๋ง......เอ๋ง......เอ๋ง......อืม......ม.....เอียง (:BH:)

......................โปรดอ่านข้อความโดยตรง.......................

.......ปัญญาจักษุ..............



จักษุ มี 2 อย่างคือ..........................

มังสจักษุ ๑

ปัญญาจักษุ ๑

ในจักษุทั้ง 2 นั้นปัญญาจักษุมี 5 อย่าง คือ..................

พุทธจักษุ ๑

สมันตจักษุ ๑

ญาณจักษุ ๑

ทิพยจักษุ ๑

ธรรมจักษุ ๑

คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราเมื่อตรวจดูสัตวโลกได้เห็น

แล้วแลด้วยพุทธจักษุ ดังนี้ชื่อว่า พุทธจักษุ

คำนี้ว่า{สัพพัญญุตญาณ}เรียกว่า สมันตจักษุ ดังนี้ชื่อว่า.................

สมันตจักษุ

คำนี้ว่า{ดวงตาเห็นธรรม}เกิดขึ้นแล้วญาณเกิดขึ้นแล้ว ดังนี้

ชื่อว่า{ญาณจักษุ}

คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุเราได้เห็นแล้วแลด้วยทิพยจักษุอัน

บริสุทธิ์ดังนี้ชื่อว่า{ทิพยจักษุ}

มรรคญาณเบื้องต่ำ 3 นี้มาในคำว่า{ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี}

ไม่มีมลทินเกิดขึ้นแล้วดังนี้ชื่อว่า{ธรรมจักษุ}

ฝ่ายมังสจักษุมี 2 อย่าง คือ........

สสัมภารจักษุ ๑

ปสาทจักษุ ๑.

ก้อนเนื้ออันใดตั้งอยู่ที่เบ้าตาพร้อมด้วยหนังหุ้มลูกตาภายนอก

ทั้ง 2 ข้างเบื้องต่ำกำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา เบื้องบนกำหนดด้วยกระดูก

คิ้วผูกด้วยเส้นเอ็นอันออกจากท่ามกลางเบ้าตาโยงติดไปถึงสมองศีรษะ

สสัมภารจักษุ

ส่วนความใสอันใดเกี่ยวในสสัมภารจักษุนี้เนื่องในสสัมภารจักษุนี้อาศัยมหาภูต

รูป 4 มีอยู่ความใสนี้ชื่อว่า{ปสาทจักษุ}ใน

ที่นี้ท่านประสงค์เอา{ปสาทจักษุ}นี้

ปสาทจักษุนี้นั้นโดยประมาณก็สักเท่าศีรษะเล็นอาศัยธาตุทั้ง 4

อาบเยื่อตาทั้ง 7 ชั้นดุจน้ำมันที่ราดลงที่ปุยนุ่น 7 ชั้นอาบปุยนุ่น

ทุกชั้นอยู่ฉะนั้นให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตใน

วิถีมีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้นตั้งอยู่ ณ .ตำแหน่งเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง

{สรีรสัณฐาน}ที่อยู่ตรงหน้าในท่ามกลางแววตาดำที่แวดล้อมด้วยมณฑล

ตาขาวแห่งสสัมภารจักษุนั้น

ธรรมชาติใดย่อมเห็นฉะนั้น....ธรรมชาตินั้นชื่อว่า{จักษุ}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม 7 ภาค 1 หน้าที่ 214

(:BH:)โอ้...โอย....โหย......หิว เอ้า......พอเข้าใจหรือยัง (:BH:)