[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 05 เมษายน 2553 18:55:36



หัวข้อ: หลักการใช้(สติ)พิจารณาอาการ 32 สั้น ๆ แต่ได้ใจความ
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 05 เมษายน 2553 18:55:36
(http://www.seesod.com/storage32/EqQZzqUEqi1270456964/l.jpg)

http://www.fungdham.com/download/song/allhits/29.mp3

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรพิจารณาร่างกายนี้ ซึ่งมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นปฏิกูลชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่ปลายผมจรดฝ่าเท้าดังนี้ว่าในกายนี้ มีแต่สิ่งที่เป็นปฏิกูล เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลาไส้ใหญ่ สาไส้เล็ก อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำ้ตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุทั้งหลาย อุปมาดุจถุงมีปาก 2 ข้าง
บรรจุธัญพืชชนิดต่าง ๆ คือข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดงา ข้าวสาร ไว้เต็มถุง คนตาดีเปิดถุงนั้นออก พิจารณาแยกประเภทได้ว่านี้เป็นข้าวสาลี นี้เป็นข้าวเปลือก นี้เป็นถั่วเขียว นี้เป็นถั่วเหลือง นี้เป็นเมล็ดงา นี้เป็นข้าวสาร ฉันใดภิกษุก็ควรพิจารณาร่างกายนี้ซึ่งมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
เต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นปฏิกูลชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่ปลายผมจรดฝ่าเท้า
ในกายนี้มีแต่สิ่งที่เป็นปฏิกูล
เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ก็เป็นสิ่งปฏิกูล ที่เราหลงว่าสวยว่างามนั้นที่แท้จริงแล้วกายนี้เป็นของปฏิกูลทั้งนั้น ผม
เป็นต้น ถ้าดูโดยลักษณะของเส้นผมอาจไม่เห็นถึงความน่ารังเกียจ แต่เมื่อเอาไปเผาไฟ กลิ่นของเส้นผมนั้นเป็นสิ่งน่าน่ารังเกียจยิ่ง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ถ้าเปรียบเหมือนกับผักสำหรับแกงที่เกิดในน้ำคร่ำที่ไหลออกจากบ้านขังอยู่ใน ที่ไม่สะอาดย่อมเป็นสิ่งน่าเกลียดไม่น่าบริโภคฉันใด แม้เส้นผมทั้งหลายก็น่ารังเกียจฉันนั้น..............เพราะถูกหล่อเลี้ยงด้วยน้าที่ซึมออกมาจากแต่ละส่วนต่าง ๆ มีน้ำเหลือง เลือด มูตร กรีส น้ำดี
และเสมหะ เป็นต้น เพราะเกิดในที่ไม่สะอาดดุจผักเกิดที่กองคูถ อาการทั้ง 32 นั้นล้วนเป็นสิ่งปฏิกูล น่ารังเกียจ แล้วที่เรามีชีวิตอย่างดิ้นรนเดือดร้อนอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อหล่อเลี้ยงร่าง ปฏิกูลนี้หรือ และที่เรายึดว่าบุคคลนี้เป็นของเรานั้นเรากาลังยึดสิ่งปฏิกูลมิใช่หรือ ถ้าผู้
พิจารณาเห็นความจริง อย่างนี้ได้ก็จะไม่หลงยึดในอัตตาตัวตนว่าเป็นเรา - เขา ผู้ปฏิบัติควรนาวิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณามีวิธีการปฏิบัติโดยสรุปเหมือนกับอิริยาบถ แต่เปลี่ยนคำว่ากายให้เป็นไปตามอาการ 32


หัวข้อ: Re: หลักการใช้(สติ)พิจารณาอาการ 32 สั้น ๆ แต่ได้ใจความ
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 05 เมษายน 2553 19:02:31
(http://www.seesod.com/storage32/EqQZzqUEqi1270456964/l.jpg)



......................................หลักการใช้สติพิจารณากายเป็นธาตุ.................................

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรใช้สติพิจารณากายนี้ไปตามส่วนต่าง ๆ ให้เห็นเป็นเพียงธาตุ โดยปราศจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ว่ากายนี้มีสภาพเป็นธาตุดิน ธาตุน้า ธาตุไฟ ธาตุลม ภิกษุทั้งหลาย อุปมาดุจคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้มีความชานาญครั้นฆ่าโคแล้ว แบ่งเนื้อโคออกเป็นส่วน ๆ นั่งเฝู้าดูอยู่ที่ทางใหญ่สี่แพร่งฉันใด ภิกษุก็ควรพิจารณากายนี้ไปตามส่วนต่าง ๆ ให้เห็นเป็นเพียงธาตุว่ากายนี้มีสภาพเป็นธาตุดิน ธาตุน้า ธาตุไฟ ธาตุลม อธิบาย การปฏิบัติในหมวดนี้ เป็นการปฏิบัติที่ต่อเนื่องมาจากหมวดการพิจารณาอาการ 32 นั่นเอง การพิจารณาในอาการ 32 เริ่มต้นที่การพิจารณาอาการ 32 แต่ถ้าผลปรากฏว่าผู้พิจารณาได้สภาวะของความเป็นปฏิกูล การพิจารณานั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นการพิจารณาในหมวดปฏิกูล แต่ถ้าได้สภาวะของความเป็นธาตุ 4 ปรากฏ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ได้ชื่อว่าเป็นการพิจารณาโดยความเป็นธาตุ ธาตุ มี 42 คือ จาก 32 ให้เพิ่มธาตุไฟ 4 คือ
ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ปุวยไข้ ไฟที่ยังกายให้แก่ ทำให้ทรุดโทรม ไฟที่เผาหรือย่อยอาหาร ที่กิน ที่ดื่ม ธาตุลม 6 คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบนลมที่พัดลงเบื้องล่าง ลมในท้อง ลมในไส้ ลมในอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก - เข้า
ผู้ปฏิบัติควรนา วิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณา มีวิธีการปฏิบัติโดยสรุปเหมือนกับอิริยาบถ แต่เปลี่ยนคาว่ากายให้เป็นธาตุ
จบหลักการใช้สติพิจารณากายโดยความเป็น ธาตุ โดยสังเขป
การเจริญวิปัสสนาในหมวดปุาช้า 9 ข้อ....................................................


หัวข้อ: Re: หลักการใช้(สติ)พิจารณาอาการ 32 สั้น ๆ แต่ได้ใจความ
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 05 เมษายน 2553 19:21:09
(http://www.seesod.com/storage32/EqQZzqUEqi1270456964/l.jpg)


หลักการใช้สติพิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูกในป่าช้าที่ 4
ภิกษุควรพิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูกของศพซึ่งถูกทิ้ง ไว้ในป่าช้า ซึ่งปราศจากเนื้อหนังแต่ยังมีเลือดเปื้อนเปรอะ
มีเอ็นรึงรัดอยู่ดังนี้ว่า กายนี้มีสภาพและมีลักษณะดุจโครงกระดูกนี้ ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้
หลักการใช้สติพิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูกในป่าช้าที่ 5
ภิกษุควรพิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูกของศพซึ่งถูกทิ้งไว้ในปุาช้า ซึ่งปราศจากเนื้อและเลือดแต่ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่
ดังนี้ว่า.......................................กายนี้มีสภาพ และมีลักษณะดุจโครงกระดูกนี้ ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้
หลักการใช้(สติ)พิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูกในป่าช้าที่ 6
ภิกษุควร................พิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูกของศพซึ่งถูกทิ้งไว้ในปุาช้า ซึ่งปราศจากเอ็นรึงรัดกระจุยกระจายไปตามทิศต่าง ๆ เช่น
กระดูกมืออยู่ทางทิศหนึ่งกระดูกเท้าอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกแข้ง กระดูกขา กระดูกสะเอว กระดูกหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกหน้าอก
กระดูกแขน กระดูกไหล่ กระดูกคอ กระดูกคาง กระดูกฟัน กะโหลกศีรษะอยู่ทิศหนึ่ง ๆ ดังนี้ว่า กายนี้มีสภาพ และมีลักษณะดุจโครงกระดูกนี้
ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้
หลักการใช้สติพิจารณากายให้เห็นดุจท่อนกระดูกในป่าช้าที่ 7
ภิกษุควร พิจารณากายให้เห็นดุจท่อนกระดูกของศพซึ่งถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งเป็นท่อนกระดูกสีขาวเหมือนสีสังข์ ดังนี้ว่ากายนี้มีสภาพและมีลักษณะดุจท่อนกระดูกนี้ ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้
หลักการใช้สติพิจารณากายให้เห็นดุจกองกระดูกในป่าช้าที่ 8
ภิกษุควร พิจารณากายให้เห็นดุจกองกระดูกของศพซึ่งถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งกองอยู่ด้วยกันเกินกว่า 1 ปี ดังนี้ว่า กายนี้มีสภาพและมีลักษณะดุจกองกระดูกนี้ ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้

............จบ...........หลักการใช้(สติ)พิจารณาอาการ 32 โดยสังเขป ตอนที่ 1.............


หัวข้อ: Re: หลักการใช้(สติ)พิจารณาอาการ 32 สั้น ๆ แต่ได้ใจความ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 05 เมษายน 2553 20:15:54

(http://picdb.thaimisc.com/s/sigh/104-9.jpg)

ท่านคานธีก่อนสิ้นลมเปล่งว่า ราม ราม

จีซัส กล่าวไว้ในลูกาว่า
Luke 23:46 -- Then Jesus, crying with a loud voice, said,
"Father,
into thy hands I commit my spirit!" And having said this he breathed his last.


คำสุดท้ายนั้นจะถูกบรรจุไว้ในจุติจิตก่อนสิ้นลม
และเหมือนล็อคแคซูลจนเกิดเป็นปฎิสนธิจิต
เพราะฉนั้นความคิดหรือคำพูดสุดท้ายจึงสำคัญมาก
 


อย่างจูเลียส ซีซาร์กล่าวว่า
เจ้าด้วยหรือ บรูตูส
นั่นคือความรู้สึกผิดหวังที่ลูกเลี้ยงตนก็เข้าร่วมสังหารตน

ในขณะที่เีรายังมีลมหายใจอยู่บนโลกใบนี้
จงตั้งอยู่บนความไม่ประมาทดั่งคำปัจฉิมวาจาของพระพุทธองค์ด้วยเถิด

คำพูด: นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต ฯ
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
 

 (:-_-:)

เราเป็นเพี่ยง...ผู้มาเยือนโลกใบนี้...แล้วจากไป...ไม่มีใครครอบครอง..
สิ่งไดได้จริง

 (:LOVE:)   http://w4.thaiwebwizard.com/member/kiat/showdetail.asp?boardid=650 (http://w4.thaiwebwizard.com/member/kiat/showdetail.asp?boardid=650)

(http://picdb.thaimisc.com/s/sigh/104-5.jpg)

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:KM9E_iOmM-99eM:http://file.siam2web.com/sawannirandr/ch01/2009314_37873.jpg)