[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 01 กรกฎาคม 2559 00:46:37



หัวข้อ: ปลูกรัก : ประตูสู่อิสรภาพ (ติช นัท ฮันห์)
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 01 กรกฎาคม 2559 00:46:37
(http://www.ruendham.com/images/mp3/satiroom/cover/baad6aji9f97jfkcabgca.jpeg)

 ประตูสู่อิสรภาพ

 ............ ......ประตูสู่อิสรภาพสามบานคือ ความว่าง ความไม่มีรูปลักษณะ ความ ไม่อยาก เป็นเรื่องที่รู้กันทั่ว ๆ ไปในสำนักพุทธศาสนาทุกแห่ง อย่าง แรก ๆ ความว่าง หรือสุญญตา......

 ......ว่าง มักหมายถึงว่างจากบางสิ่งบางอย่าง เราจึงต้องถามว่า ...... ว่างจาก อะไร ...... ถ้าเราดื่มน้ำหมดแก้ว แก้วนั้นก็ว่างจากน้ำ แต่ไม่ว่างจากอากาศ ความว่างไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรดำรงอยู่ ถ้าพระอวโลกิเตศวร บอกเราว่าสั่งขารทั้งห้านั้นว่าง เราต้องถามว่า ...... ว่างจากอะไร ...... ถ้าเรา ถามอย่างนั้น ท่านก็จะบอกเราว่า ...... ว่างจากการดำรงอยู่ที่แบ่งแยก ...... ซึ่งหมายความว่า ...... ' ก ' ย่อมปะกอบจากธาตุที่ ' ไม่ใช่ ก ' ...... กระดาษ แผ่นนี้ว่างจากการดำรงอยู่ที่แบ่งแยกเพราะมันไม่อาจอยู่ได้โดยตัวของ มันเอง มันต้องอิงอาศัยสิ่งอื่น ๆ อีกทุกอย่าง กระดาษแผ่นนี้ทำมาจาก ธาตุที่ไม่ใช่กระดาษเช่น ต้นไม้ แดด ฝน ดิน แร่ธาตุ เนื้อที่ กาลเวลา และจิตสำนึก มันว่างจากตัวตนที่แบ่งแยก แต่ก็เต็มด้วยสิ่งอื่น ๆ ทุก อย่าง ดังนั้น ความว่างจึงหมายถึงความเต็มพร้อม ๆ กันไปด้วย คำ สอนเกี่ยวกับการร่วมชีวิต การอิงอาศัย จึงเป็นเรื่องที่เราต้องทำความ กระจ่าง ความว่างประตูสู่อิสรภาพนี้เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติ ใช่แค่เรื่อง พูดคุยถกเถียงกัน จงมองทุกสิ่งทุกอย่างอย่างลึกซึ้ง แล้วเธอก็จะเห็น ธรรมชาติแท้จริงของความว่าง เมื่อทำอย่างนี้ได้เธอก็สามารถขจัด การแบ่งแยก ก้าวพ้นจากความกลัวการเกิดและการตาย ......

......ประตูสู่อิสรภาพประตูที่สองคือความไม่มีรูปลักษณะ อลักษณะ เรารู้ จักพระพุทธเจ้าด้วยรูปลักษณะของพระองค์ได้ละหรือ ถ้ามัวติดอยู่กับ ลักษณะแล้วไซร้ เราก็จะสูญเสียพระองค์ไป วัชรสูตรบอกว่า ...... ที่ใด มีการแบ่งแยกด้วยรูปลักษณะที่นั่นเป็นมายา ...... มายาเกิดจากรูปลักษณะ การปฏิบัติของเราจึงก้าวพ้นจากรูปลักษณะ ถ้าเราติดอยู่กับความคิด หรือรูปลักษณะแล้ว ประตูสู่อิสระภาพประตูนี้ก็จะปิดทันที เราต้องใช้ กุญแจความไม่มีรูปลักษณะไขประตูนี้เข้าไป อย่าพยายามใช้รูปลักษณะ เพื่อเข้าใจความเป็นจริง อย่าเชื่อสัญญาการรับรู้ของเธอมากเกินไป......

 ......ในวัชรสูตรพระพุทธเจ้าตรัสว่า ...... ดูก่อนสูภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็น ไฉน การเห็นตถาคตนั้นจักพึงเห็นได้ด้วยรูปลักษณะฤาหนอ ...... และ สุภูติทูลตอบว่า ...... ข้าแต่พระผู้มีพระภาค หามิได้ พระเจ้าข้า เมื่อ พระตถาคตตรัสถึงรูปลักษณะ แท้จริงแล้วมิได้มีรูปลักษณะอยู่เลย ...... สุภูติใช้ภาษาปรัชญาปารมิตา ท่านจึงพูดว่า ...... เมื่อพระตถาคตตรัสถึง รูปลักษณะ แท้จริงแล้วมิได้มีรูปลักษณะอยู่เลย ...... ถ้าเธอสามารถเห็น ธรรมชาติไร้รูปลักษณะของรูปลักษณะแล้ว เธอก็จะเห็ตถาคต เราจะ พบตถาคตได้อย่างไรเล่า พระพุทธเจ้าบอกเราว่าเราไม่อาจเห็นพระ องค์ด้วยความคิด เราใช้คำพูด ...... รูปลักษณะ ...... ตรงนี้ หรืออาจใช้ ...... เครื่องหมาย ...... ...... ลักษณะภายนอก ...... ...... ปรากฏการณ์ ...... หรือ ...... นิมิต ...... ก็ได้ รูปลักษณะหรือเครื่องหมายไม่อาจเป็นความจริงในตัวมันเองได้......

 ......แต่เพราะความหลงและความเคยชิน เราจึงมักเห็นอะไรผิด ๆ อยู่เสมอ เรามักติดอยู่กับการคิดปรุงแต่ง โดยเฉพาะความปรุงแต่งเกี่ยวกับเรื่อง ตัวตน บุคคล สัตวะและชีวะ เราแบ่งแยกระหว่างตัวตนและความไร้ ตัวตน ราวกับตัวตนไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความไร้ตัวตน เราเอาใจใส่ เลี้ยงดูตัวตนแต่ไม่ค่อยใส่ใจสิ่งไร้ตัวตน ถ้าเรามองสิ่งต่าง ๆ อย่างนี้ พฤติกรรมของเราก็ถูกกำหนดโดยการรับรู้ที่ผิด จิตใจของเราเปรียบ เสมือนดาบที่ตัดความเป็นจริงออกเป็นออกเป็นส่วน ๆ แล้วเราก็ทำราว กับชิ้นส่วนความเป็นจริงแต่ละส่วนนั้นเป็นอิสระแยกจากส่วนอื่น ๆ แต่ถ้าเรามองอย่างลึกซึ้ง เราก็สามารถขจัดเส้นแบ่งแยกความคิดปรุง แต่งทั้งหลาย แล้วเราก็จะเห็นความเป็นหนึ่งเดียวในหลาย ๆ สิ่ง และ เห็นหลาย ๆ สิ่งในความเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเป็นธรรมชาติแท้จริงของ ชีวิตที่อิงอาศัยกัน นี่คือหนทางที่จะเป็นอิสระจากความคิด ด้วยเหตุ นี้เอง พระพุทธเจ้าจึงทรงใช้ภาษาแห่งอิสรภาพตอบคำถามของสุภูติ ว่าสาวกท่าน เราจะเห็นประโยคคล้าย ๆ อย่างนี้อีกมากมายในวัชรสูตร ...... เพราะเหตุว่าพระโพธิสัตว์ไม่ใช่พระโพธิสัตว์ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า พระโพธิสัตว์ที่แท้จริง ...... การพูดวิธีนี้เรียกว่าวิภาษวิธีแห่งปรัชญา ปารมิตา พะพุทธเจ้าทรงใช้วิธีนี้เพื่อให้เราเป็นอิสระจากถ้อยคำและ ความคิด ......

......ต่อไปนี้ลองทำความเข้าใจวิภาษวิธีแห่งปรัชญาปารมิตาให้กว้างขวาง ขึ้นอีกสักหน่อย ...... เพราะเหตุว่าถ้วยนี้ไม่ใช่ถ้วย ดังนี้จึงได้ชื่อว่าถ้วย แท้จริง ...... เมื่อเรามอง ...... ก ...... สิ่งซึ่งเราสังเกตุ ซึ่งอาจเป็นถ้วย ตัวตน ภูเขา หรือรัฐบาล เราก็จะเห็นธาตุที่ ...... ไม่ใช่ ก ...... อยู่ในนั้นด้วย แท้จริง แล้ว ...... ก ...... ล้วนประกอบจากธาตุที่ ...... ไม่ใช่ ก ...... ดังนั้นเราอาจพูดได้ว่า ...... ก ...... คือ ...... ไม่ใช่ ก ...... พ่อย่อมประกอบจากธาตุที่ไม่ใช่พ่อ ซึ่งรวมทั้ง ลูก ๆ ด้วย ถ้าไม่มีลูกพ่อจะเป็นพ่อได้อย่างไรกัน เมื่อมองให้ลึกลงไป ในตัวพ่อ เราจะเห็นลูก ๆ อยู่ในตัวเขาด้วย ดังนั้นพ่อจึงใช่แค่พ่อ นี่ ย่อมเป็นความจริงสำหรับลูก ภรรยา สามี พลเมือง ประธานาธิบดี ทุก ๆ คนและทุก ๆ สิ่ง ......

......ตามหลักเอกลักษณ์ในเชิงตรรกวิทยาแล้ว ...... ก ...... ก็คือ ...... ก ...... ...... ก ...... จะ เป็น ...... ข ...... ไปไม่ได้ เพื่อจะปลดปล่อยตัวเราจากมโนทัศน์ เราจึงต้อง ก้าวพ้นจากหลักตรรกวิทยานี้ หลักการข้อแรกของวิภาษวิธีแห่งปรัชญา ปารมิตาก็คือ ...... ก ...... คือ ...... ไม่ใช่ ก ...... เมื่อเห็นอย่างนี้เรารู้ว่าสวัสดิภาพ ของ ...... ก ...... ย่อมขึ้นอยู่กับสวัสดิภาพของธาตุที่ ...... ไม่ใช่ ก ...... ด้วยสวัสดิ- ภาพของมนุษย์ย่อมขึ้นอยู่กับสวัสดิภาพของธาตุที่ ...... ไม่ใช่มนุษย์ ...... ในธรรมชาติด้วย เมื่อเธอมีการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับมนุษย์และ รู้ว่า มนุษย์ย่อมประกอบด้วยธาตุที่ไม่ใช่มนุษย์ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เราก็ สามารถเรียกมนุษย์ตามชื่อที่แท้จริงของเขาได้อย่างปลอดภัยแม้แต่ ต้นไม้ อากาศ ผู้หญิง ผู้ชาย หรือปลาก็เหมือนกัน เราควรมองพระ พุทธเจ้าโดยวิธีนี้ด้วย พระพุทธเจ้าย่อมประกอบด้วยธาตุที่ไม่ใช่ พระพุทธเจ้า การตรัสรู้ประกอบด้วยด้วยธาตุที่ไม่ใช่การตรัสรู้ ธรรมะ ประกอบด้วยธาตุที่ไม่ใช่ธรรมะ พระโพธิสัตว์ประกอบด้วยธาตุที่ ไม่ใช่พระโพธิสัตว์ คำพูดทำนองนี้มีอยู่ในปรัชญาปารมิตาวัชรสูตร เป็นหนทางปฏิบัติสำหรับประตูแห่งอิสรภาพประตูที่สอง คือประตู ของความไม่มีรูปลักษณะ ......

......ถ้าเราศึกษาประตูสู่อิสรภาพทั้งสามประตู แล้ว แต่ไม่ปฏิบัติ ประตู เหล่านี้ก็ไม่มีประโยชน์ การจะเปิดประตูความไม่มีรูปลักษณะเข้าไป สู่อาณาจักรความเป็นเช่นนั้นเอง หรือความเป็นจริงได้นั้น เราต้อง ปฏิบัติเจริญสติในชีวิตประจำวัน เมื่อเรามองทุกสิ่งทุกอย่างอย่าง ลึกซึ้ง เราก็จะเห็นธรรมชาติของการอยู่วมกัน เราเห็นว่าประธานา ธิบดีของประเทศเราประกอบด้วยธาตุที่ไม่ใช่ประธานาธิบดี ซึ่งรวม ถึงเศรษฐกิจ การเมือง ความเกลียดชัง ความรัก ความรุนแรง และ อื่น ๆ เมื่อมองให้ลึกซึ้งเข้าไปในตัวของคนที่เป็นประธานาธิบดี เราก็จะความเป็นจริงของประเทศและของโลก ทุก ๆ สิ่งเกี่ยวข้อง กับอารยธรมของเราจะพบเห็นได้นตัวเขา ไม่ว่าสมรรถะที่จะรัก จะเกลียด หรืออะไรอื่น ๆ อีกทุกอย่าง ของสิ่งหนึ่งย่อมรวมสิ่ง อื่น ๆ ทุกอย่างไว้ในตัว เราเป็นตัวแทนของรัฐบาลและประธานา ธิบดี ก็เพราะเขาเหล่านั้นสะท้อนให้เราเห็นถึงความเป็นจริงของ ประเทศ รวมทั้งวิธีที่เราคิดเรารู้สึก วิธีที่เราใช้ชีวิตและมีชีวิตใน แต่ละวันนั่นเอง เมื่อเรารู้จักว่า ...... ก ...... ไม่ใช่ ...... ก ...... เมื่อเรารู้ว่าประ ธานาธิบดีไม่ใช่ประธานาธิบดีของเรา แต่เขาก็คือเรา เราก็จะไม่ ตำหนิติเตียนเขา เมื่อรู้ว่าเขาประกอบด้วยธาตุที่ไม่ใช่ประธานาธิบดี เราก็จะรู้ว่าเราควรใช้พลังงานไปในทางใดเพื่อปรับปรุงรัฐบาล และประธานาธิบดีของเรา เราต้องดูแลธาตุที่ไม่ใช่ประธานาธิบดี และธาตุที่ไม่ใช่รัฐบาลในตัวและรอบ ๆ ตัวเรา นี่ไม่ใช่เรื่องที่จะ ถกเถียงกัน แต่เป็นเรื่องต้องปฏิบัติ ......

............ ที่ใดมีการแบ่งแยกกันด้วยรูปลักษณะที่นั่นเป็นมายา ...... ประโยคจาก วัชรสูตรปรากฏชัดเจนขึ้นมาทันที ถ้าเราไม่มองให้ลึกเข้าไปในความ เป็นจริง จนพบธรรมชาติแท้จริงของการอยู่ร่วมกัน เราก็จะถูกลวง โดยรูปลักษณะของลักษณะใด ๆ เราก็จะเห็นพุทธะเมื่อเห็นธรรมชาติ ของ ...... ก ...... ซึ่ง ...... ไม่ใช่ ก ...... แล้ว เราก็จะเข้าใจถึงความจริงของ ...... ก ...... ในวงการผู้นับถือนิกายเซน เรามักพูดกันว่า ...... ก่อนการปฏิบัติ ฉันเห็น ภูเขาเป็นภูเขา เห็นแม่น้ำเป็นแม่น้ำ พอเริ่มปฏิบัติภูเขาไม่ใช่ภูเขา แม่น้ำ ไมใช่แม่น้ำ และตอนนี้เมื่อปฏิบัติมาพอสมควรแล้ว ภูเขากับเป็นภูเขา แม่น้ำก็กลับเป็นแม่น้ำตามเดิม ...... นี่ไม่ใช่ยากที่จะเข้าใจ ......

 ......ถ้อยคำและความคิดแม้ที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและพระธรรมก็เป็นสิ่ง อันตราย อาจารย์เซนท่านหนึ่ง ...... แพ้ ...... คำ ...... พระพุทธเจ้า ...... มากเพราะ ท่านรู้ว่าหลายคนเข้าใจพระพุทธเจ้าผิด ๆ วันหนึ่งระหว่างสนทนาธรรม ท่านพูดว่า ...... ทุกครั้งเมื่อต้องพูดคำว่า ' พระพุทธเจ้า ' อาตมาจะไปล้าง ปากที่แม่น้ำสามครั้ง ...... ทุกคนในที่ประชุมพากันนิ่งเงียบจนชายคนหนึ่ง ลุกขึ้นพูดว่า ...... ท่านอาจารย์ครับ ผมก็รู้สึกอย่างนั้น ทุกครั้งที่ผมได้ยิน ท่านเอ่ยคำว่า ' พระพุทธเจ้า ' ผมก็ไปล้างหูที่แม่น้ำสามครั้งด้วย ...... ซึ่ง หมายความว่าเราต้องก้าวข้ามถ้อยคำ มโนทัศน และความคิด เข้าสู่ ประตูแห่งความไม่มีรูปลักษณะ ...... จงฆ่าพระพุทธเจ้าซะ ...... นี่เป็นวิธีพูด รุนแรง ซึ่งหมายความว่าเราต้องฆ่ามโนทัศน์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เพื่อเปิดโอกาสให้แก่พระพุทธเจ้าที่แท้จริง ......

 ......คำสอนเหล่านี้ในวัชรสูตร มีความสัมพันธ์ไกล้ชิดกับคำสอนในพระ สูตรจับงูให้ถูกวิธี เราต้องระวังไม่ยึดติดแม้กับคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังที่วัชรสูตรกล่าวว่า ...... ฉะนั้น บุคคลจึงไม่พึงยึดถือผูกพันอยู่กับธรรม หรือคิดว่าธรรมเป็นสิ่งไม่มีอยู่ ...... ถ้าเธอคิดว่าความคิดเกี่ยวกับธรรม เป็นอันตราย เธอก็อาจหันไปชอบความคิดว่าธรรมไม่มีอยู่ ซึ่งความคิด อย่างหลังนี้เป็นอันตรายยิ่งขึ้นไปอีก พระพุทธเจ้าทรงหมายความอย่าง นี้ ...... ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงกำหนดรู้ว่าธรรมที่เราแสดงมีอุปมา ดั่งพวงแพ แม้แต่สิ่งที่ตถาคตสอนก็ต้องละเสีย จักกล่าวไปใยถึงสิ่งที่ ไม่ได้เทศนา ...... เธอต้องฆ่าไม่แต่คำสอน แต่ต้องฆ่าสิ่งซึ่งไม่ใช่คำสอน ด้วย เพื่อจะได้เข้าถึงคำสอนที่แท้จริง แม้แต่ธรรมะก็ต้องละเสีย จัก กล่าวไปใยถึงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมะ......

 ......วิธีปฏิบัติดีที่สุดคือต้องปฏิบัติด้วยวิญญาณของการไม่ปฏิบัติ  อย่ายึดติด รูปแบบ สมมุติว่าเธอนั่งสมาธิได้ดีมาก ใคร ๆ ก็เห็นว่าเธอเป็นนักปฏิบัติ ที่ขยัน เธอั่งได้ดีไม่มีที่ติ แล้วเธอก็รู้สึกภูมิใจขึ้นมาหน่อย ๆ ขณะที่คน อื่น ๆ ตื่นสาย มาที่ธรรมศาลาไม่ตรงเวลา แต่เธอนั่งอยู่ตรงนั้นแล้วอย่าง สง่างาม ถ้าเธอรู้สึกอย่างนี้ ความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติก็จะถูกจำกัด แต่ถ้าเธอตระหนักว่าเธอปฏิบัติเพื่อทุกคน ต่อให้ทุกคนในชุมชนของเรา พากันหลับ และเธอนั่งอยู่คนเดียว การนั่งของเธอก็จะส่งผลต่อทุกคน แล้วเธอก็จะได้รับความสุขอย่างไม่อาจประมาณ เราควรปฏิบัติสมาธิกัน อย่างนี้ ปฏิบัติโดยไม่ยึดติดรูปแบบ ปฏิบัติด้วยจิตวิญญาณของการไม่ ปฏิบัติ......

......พระพุทธเจ้าทรงสอนปารมิตาหรือความสมบูรณ์หกประการ ประการ แรกคือทาน หือความมีน้ำใจกว้างขวาง การปฏิบัติทานาปารมิตานี้ควร ปฏิบัติโดยไม่ยึดติดรูปแบบ ...... เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญทานโดยไม่ยึดติด อยู่กับรูปลักษณะ สุขานิสงส์ที่ท่านได้รับย่อมไม่อาจหยั่งวัดหรือประมาณ ได้ ...... เมื่อเธออาสาทำความสะอาดครัว หรือขัดหม้อ ถ้าเธอปฏิบัติอย่าง พระโพธิสัตว์ ขณะทำงานนั้นเธอก็จะได้รับความสุขอันเลิศล้ำ แต่ถ้า เธอเกิดความรู้สึกว่า ...... ฉันทำงานมากกว่าใคร ๆ ไม่เห็นคนอื่นมาช่วยเลย ...... เธอก็จะทุกข์ เพราะการปฏิบัติธรรมของเธอขึ้นอยู่กับรูปแบบ แบ่งแยก ระหว่างตัวฉันและไม่ใช่ตัวฉัน......

......เวลาเธอตอกตะปูลงไปบนเนื้อไม้ แล้วพลาดไปโดนนิ้ว มือขวาของ เธอก็จะวางฆ้อนแล้วดูแลมือซ้าย มือขวาจะไม่คิดว่า ...... ฉันมือขวา กำลังจะช่วยเธอนะมือซ้าย ...... การช่วยมือซ้ายคือการช่วยมือขวาด้วย นี่คือการปฏิบัติที่ไม่ยึดรูปแบบ และความสุขที่ได้ย่อมไม่อาจประมาณ ได้ นี่คือวิธีที่พระโพธิสัตว์รับใช้และบำเพ็ญทาน ถ้าเราล้างจานด้วย ความโกรธและความรู้สึกแบ่งแยก เราก็จะได้ความสุขน้อยกว่าหนึ่ง ช้อนชา ......

 ......ปารมิตาประการที่สองที่พระโพธิสัตว์ปฏิบัติก็คือศีล ศีลาปารมิตา เราต้องบำเพ็ญศีลด้วยจิตวิญญาณเช่นนี้เหมือนกัน กล่าวคือไม่ติดอยู่ กับรูปแบบ เราไม่ควรพูดว่า ...... ฉันบำเพ็ญศีล แต่เธอไม่ทำ ฉันนี่สิถือ ศีลเคร่งครัด ...... มีหลายคนที่รับประทานมังสาวิรัติโดยไม่ยึดรูปแบบ เขาไม่เคยคิดด้วยซ้ำว่าเขาถือมังสาวิรัติ ส่วนคนอื่นไม่ถือ เขารู้แต่ว่า การถือมังสาวิรัตินั้นเป็นความสุข เป็นเรื่องที่เป็นไปตามธรรมชาติ ต้องมองว่าศีลเป็นเครื่องป้องกัน ไม่ใช่สิ่งที่จะมาจำกัดเสรีภาพ......

 ......นี่เป็นความจริงสำหรับการปฏิบัติปารมิตาอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะความ อดทน ( ขันติปารมิตา ) ความเพียร ( วิริยะปารมิตา ) และสมาธิ ( ธยานปารมิตา ) พระโพธิสัตว์ปฏิบัติปารมิตาเหล่านี้โดยไม่ติดอยู่ กับรูปแบบ ดังนี้การปฏิบัติของท่านเหล่านั้นจึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ ปฏิบัติ เธอปฏิบัติแต่เสมือนไม่ปฏิบัติ นี่คือรูปแบบลึกซึ้งที่สุดของ การปฏิบัติ......

 ......ปารมิตาประการที่หกคือความเข้าใจปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นรากฐาน ของปารมิตาทั้งปวง บางครั้งก็เปรียบเทียบปารมิตานี้เสมือนหม้อน้ำ ที่บรรจุปารมิตาอื่น ๆ ไว้ เธอต้องมีหม้อน้ำดี ๆ ไว้ใส่น้ำ ไม่อย่างนั้น น้ำจะซึมออกหมด ถ้าเธอไม่ปฏิบัติความเข้าใจอันเลิศแล้วไซร้เธอ ก็เป็นเสมือนหม้อดินดิบ ซึ่งน้ำย่อมซึมหายไป บางครั้งกล่าวว่า ปรัชญาปารมิตาเป็นมารดาของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งปวง ผู้บำเพ็ญการมองอย่างลึกซึ้ง ( วิปัสสนา ) ล้วนเป็นลูกของมารดา ปรัชญาปารมิตานี้ นี่เป็นภาพลักษณ์สำคัญของปรัชญาปามิตาสูตร......

......ประตูสู่อิสรภาพประตูที่สามคือความไม่ทะยานอยาก อปรานิหิตา หมายความว่าไม่เที่ยวไขว่คว้าสิ่งใด ๆ เราพบคำสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในหลาย ๆ พระสูตร ไม่เฉพาะพระสูตรฝ่ายมหายาน แม้ในพระสูตร รุ่นแรก ๆ อย่างเช่นพระสูตรจับงูให้ถูกวิธี ก็มีกล่าวถึงเรื่องนี้ ......

 ......เราทุกคนมีแนวโน้มที่จะต่อสู้ดิ้นรนทั้งกายและใจ เราเชื่อว่าความสุข จะมีได้ก็ในอนาคตเท่านั้น การตระหนักรู้ว่าเรามาถึงแล้ว ไม่ต้องเดิน ทางต่อไป รู้ว่าเราอยู่ตรงนี้แล้ว เหล่านี้ทำให้เรามีความสุขสงบได้ เหตุปัจจัยที่จะทำให้เราเป็นความสุขนั้นมีพร้อมอยู่แล้ว เพียงแต่เรา ได้ปล่อยตัวอยู่กับปัจจุบันขณะแล้ว เราก็สัมผัสความสุขนั้นได้ เรา แสวงหาอะไรเล่าเพื่อทำให้ชีวิตมีความสุข ทุกอย่างอยู่ตรงนี้พร้อม อยู่แล้ว เราไม่จำเป็นต้องเอาอะไรมาวางไว้ตรงหน้าแล้วเที่ยววิ่งไล่ ไขว่คว้าแล้วหลงเชื่อว่าถ้ายังไม่ได้สิ่งนั้นเราก็ยังไม่มีความสุข ของ สิ่งนั้นอยู่ในอนาคตตลอดเวลา แล้วเราก็ไม่อาจจับมันได้ เราอยู่ใน ดินแดนพิสุทธิ์อยู่ในอาณาจักรของพระเจ้าอยู่แล้ว เราเป็นพุทธะ อยู่แล้ว ขอเพียงแต่ให้เราตื่นขึ้นมาและรู้ว่าเราอยู่ตรงนี้เดี๋ยวนี้เท่านั้น เอง ...... ......คำสอนเบื้องต้นอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้าคือ เป็นไปได้ที่เราจะมี ความสุขอยู่กับปัจจุบันขณะ ทรรศตธรรม สุข วิหารี วลีภาษาสัน- สกฤต ซึ่งพูดถึงธรรม

เกี่ยวกับปัจจุบันขณะ ธรรมไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ถ้าเธอปฏิบัติธรรม ถ้าเธอมีชีวิตอยู่ด้วยธรรม สันติสุขก็จะเกิดกับ เธอเดี๋ยวนั้นทันที เมื่อเธอน้อมรับธรรมการรักษาก็เกิดขึ้นเดี๋ยวนั้น ทันที......

......คำสอนของพุทธศาสนามหายานพูดถึงความจริงไว้ในสองมิติคือ มิติ ประวัติศาสตร์และมิติอันเลิศ ในมิติประวัติศาสตร์ คล้าย ๆ มีอะไร บางอย่างให้เราต้องตระหนัก แต่ในมิติอันเลิศนั้นเธอกำลังเป็นสิ่งที่ อยากเป็น เราจะเข้าใจคำสอนเกี่ยวกับความไม่ทะยานอยากนี้ลึกซึ้ง ยิ่งขึ้นยิ่งขึ้นเมื่อเราพูดถึงคำสอนในสัทธรรมปุณฑริกสูตร ......


- ปลูกรัก -

(http://www.bloggang.com/data/maekai/picture/1198732205.jpg)

...... ปลูกรัก คือสิ่งที่หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ ได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องความรัก ในเพศบรรพชิตยามวัยหนุ่มของท่าน โดยนำคำสอนต่างๆ ของพระสูตรมหายานมาพิจารณาความรักของท่านได้อย่างลึกซึ้ง จนเข้าถึงความเป็นอิสระจากความรักอันลุ่มหลง ติดยึด และสัมผัสได้ถึงพลังแห่งความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ในจิตแห่งรักที่แท้จริงที่มีต่อสรรพชีวิต อันเป็นความรักที่หนักแน่นมั่นคง......

......ไม่จำกัดอยู่แค่บุคคลเดียว แต่เป็นความรักเมตตาที่พร้อมจะมอบให้กับทุกคน นอกจากคุณจะได้สัมผัสกับความหมายของ รักแรก ที่แท้จริงแล้ว ยังจะได้เรียนรู้ สัมผัสความรักแห่งพระพุทธองค์ โดยผ่านการศึกษาพระสูตรต่างๆ ของมหายาน อันช่วยเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างเกินกว่าความคิด และการกระทำที่เป็นแค่ตัวฉัน ของฉัน ถือเป็นความงดงามอย่างยิ่งที่หลวงปู่สามารถที่จะแลกเปลี่ยนพระสูตรมหายานต่างๆ ในเล่มนี้ ทำให้ได้เรียนรู้เข้าใจในคำสอนของพุทธมหายานมากขึ้น พร้อมทั้งยังได้รดน้ำเมล็ดพันธุ์จิตแห่งรักที่แท้จริงของเรา ผ่านพระสูตรเหล่านั้นด้วย......

จาก http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11028.0.html (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11028.0.html)